เรื่องเด่น ธรรมผุด หรือ กิเลสผุด แล้วก็อ้างเลห์คิดเออเองว่าเป็น ธรรมผุด หลอกตัวเอง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 5 พฤศจิกายน 2013.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    article_116-min.jpg


    รรมผุด หรือ กิเลสผุด แล้วก็อ้างเลห์คิดเออเองว่าเป็น ธรรมผุด

    หลอกตัวเองเข้าใจผิดๆ



    หลวงตามหาบัวเมตตาตอบปัญหา
    เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด


    โยม : เขาบอกคนเราทุกข์เพราะสิ่งที่ผุดขึ้นในจิตใช่ไหมครับ

    หลวงตา : มันไม่ใช่เสมอไป ทุกข์เพราะสิ่งที่ผุดขึ้นในจิต ธรรมผุดขึ้นในจิตก็ได้ กิเลสผุดขึ้นในจิตก็ได้เข้าใจไหม ถ้ากิเลสผุดขึ้นในจิตแล้วสร้างทุกข์ ถ้าธรรมผุดขึ้นในจิตแล้วสร้างสุขเข้าใจไหม เพราะอย่างนั้นมันจึงไม่เสมอไป ให้ผุดเป็นธรรมแล้วเป็นสุขเข้าใจไหม



    เทศน์อบรมพระสงฆ์และฆราวาส
    ณ ศาลาสวนแสงธรรม กรุงเทพฯ
    เมื่อค่ำวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
    สายบุญสายกรรมมีอยู่


    ...พอพิจารณารวมลงมาถึงจุดนั้นก็มีความรำพึงขึ้นมาว่า ทำไมจิตดวงเดียวนี้จึงเป็นได้หลายอย่างนัก เวลามันจะคว่ำโลกธาตุนะ จิตดวงเดียวนี้ทำไมจึงเป็นได้หลายอย่างนัก เดี๋ยวว่าดี เดี๋ยวว่าชั่ว เดี๋ยวว่าสุข เดี๋ยวว่าทุกข์ แม้จะไม่มีมากมายแต่ก็เป็นเครื่องหมายให้ทราบแล้วว่าสิ่งเหล่านี้มี เศร้าหมองก็มีตามธรรมขั้นนั้น ผ่องใสก็มีในธรรมขั้นนั้น ยังไม่ใช่ขั้นหลุดพ้น รำพึงว่าดีว่าชั่วก็มีตามธรรมขั้นนี้ สุขทุกข์ก็มีอยู่ตามธรรมขั้นนี้

    พออันนี้ยุติลงไปปั๊บมันรำพึงในขณะที่มันจะเป็นขึ้นมา มันรำพึงว่าทำไมจิตดวงเดียวนี้มันจึงเป็นได้หลายอย่างนัก เดี๋ยวว่าดี เดี๋ยวว่าชั่ว เดี๋ยวว่าสุข เดี๋ยวว่าทุกข์ หาความแน่นอนไม่ได้ มันเป็นอะไร จิตก็จิตดวงเดียว รู้อย่างเดียว ทำไมมันจึงมีหลายสันพันคมมากนัก นี่เป็นความรำพึงในขณะนั้น สักเดี๋ยวธรรมะอันหนึ่งผุดขึ้นมาละ ครั้งสุดท้ายนะ พอพิจารณาสิ่งเหล่านี้ยุติลง จิตสงบลง แล้วพระธรรมผุดขึ้นมาเป็นคำๆ คำว่าสุขก็ดี คำว่าทุกข์ก็ดี คำว่าเศร้าหมองก็ดี คำว่าผ่องใสก็ดี ธรรมเหล่านี้เป็นอนัตตานะ นี้เป็นคำสอนผุดขึ้นมาเป็นคำๆ ในหัวใจเรานี้แหละ

    พอคำสอนอันนี้สอนขึ้นมาดับลงไปเท่านั้น จิตตอนนั้นจะว่าทำงานอะไรก็ไม่ทำ จะว่าเจาะจงอะไรก็ไม่เจาะจง จะว่าเผลอไปที่ไหนก็ไม่เผลอ อยู่กลางๆ ไม่ทำงานอะไรเลย นั่นละขณะโลกธาตุหวั่นไหวขึ้นที่นั่น พอว่าเท่านั้นจิตก็นิ่งอยู่ท่ามกลางแห่งความวางเฉย จะว่าตั้งหน้าเฉยเสียจริงๆ ก็ไม่ใช่ เพราะจิตนี่มันละเอียดสุดยอดแล้ว ว่าวางเฉยมันก็ยังหยาบนะ เฉยอันนั้นไม่ใช่เฉยอย่างนี้ ทีนี้พอคำดำรินี้ตกลงไปทั้งสองอย่าง ที่ว่าธรรมเหล่านั้นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เศร้าหมองก็ดี ผ่องใสก็ดี เหล่านี้เป็นอนัตตานะ

    พูดง่ายๆ คือว่ายังเป็นวัฏวนไม่ควรจะยึดมั่นถือมั่น ไม่ควรจะตายใจกับมัน ความหมายว่าอย่างนั้น พอว่าอย่างนั้นแล้วจิตหยุดพัก ทีนี้จะว่าทำอะไรก็ไม่ทำ จะว่าเจาะจงกับสิ่งใดก็ไม่ใช่ จะว่าเผลอไปไหนก็ไม่เผลอ อยู่กลางๆ อย่างนั้น สักเดี๋ยวก็ผางขึ้นมาเลยที่นี่ โหย เหมือนฟ้าดินถล่มเลยนะ ลักษณะอันหนึ่งเป็นภาพที่ปรากฏขึ้นมาในขณะที่จิตมันคว่ำวัฏจักรนั้นน่ะมันเหมือนหน่อมะพร้าว หน่อมะพร้าวมันคว่ำ มันเป็นต้นมะพร้าวเล็กๆ มันเป็นภาพนะ ภาพละเอียด เป็นข้อเทียบเคียงกันกับจิตที่ละเอียดในขณะนั้น

    พอว่าเท่านั้นแล้วมันก็พรึบ ทีนี้ต้นมะพร้าวเล็กๆ นี้เหมือนกับว่ามันคว่ำลงไปเลย คว่ำลงไปพร้อมกันกับจิตที่แสดงโลกธาตุไหวนั่นละ พรึบลงพร้อมกันเลย คราวนี้มันจ้าขึ้นมา โอ้โห นี่ฟังเสียท่านทั้งหลายฟัง เทศน์คำนี้ดูเรายังไม่เคยเทศน์ที่ไหน หากจะมีบ้างก็นานแสนนานถึงจะได้พูดคำนี้ขึ้นมา พอต้นมะพร้าวเล็กๆ คว่ำลงพร้อมกับขณะที่จิตมันพลิกตัวพรึบเท่านั้นละมันก็จ้าขึ้นมาเลย ทีนี้แดนโลกธาตุเหมือนหนึ่งว่าหวั่นไหวไปหมดเลย ร่างกายนี้สะดุ้งผึงเลยนะ อยู่ธรรมดาเรานี้ละแต่เวลามันแสดงฤทธิ์เดชของจิตที่มันแสดงลวดลายในเวลานั้นมันเหมือนโลกธาตุหวั่นไหวนะ คือเป็นเรื่องหนักมาก เป็นเรื่องที่ว่าอัศจรรย์มาก อะไรก็มากๆๆ เกินไปหมดนั่นแหละ

    นั่นละที่ว่าเหมือนโลกธาตุคว่ำ หรือว่าเหมือนโลกธาตุไหว เหมือนฟ้าดินถล่มตอนนั้นนะ มันพลิกลงผึง จากนั้นมาก็จ้าเลย พอจ้าแล้ว โอ้โห ทีนี้หมดขณะจ้าเสียก่อน พอคลี่เรื่องจ้าลงไปแล้วทีนี้มันจ้าไปหมด มองไปไหนนี้มันครอบโลกธาตุ โอ้โห จิตดวงนี้ทำไมเป็นอย่างนี้ จิตของเราทำไมเป็นอย่างนี้ เราไม่เคยคาดเคยคิดว่าจะเป็นอย่างนี้ได้ ทีนี้ทำไมเป็นอย่างนี้ คำว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ที่เราเคยระลึกติดหัวใจเรามาตั้งแต่วันระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆได้มาจนกระทั่งถึงบัดนี้ บัดนี้พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างไร เป็นแล้วนะนั่น พุทโธ ธัมโม สังโฆ รวมเป็นอันเดียวเป็นธรรมแท่งเดียว มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างไร นั่นพร้อมรับความอัศจรรย์...


    http://www.luangta.c...ID=4531&CatID=2


    [​IMG]

    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๖
    ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

    หลวงปู่มั่นท่านอยู่ในป่า ท่านไปศึกษากับใคร? ท่านไปศึกษากับใคร?”

    หลวงปู่มั่นท่านตอบทันทีเลยนะ

    “ข้าพเจ้าฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา ข้าพเจ้าฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา”

    คำว่าข้าพเจ้าฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา หมายความว่าผู้ที่ปฏิบัตินะพอจิตมันสงบแล้วเวลามันผุดขึ้นมา ธรรมมันจะมีข้อธรรมะขึ้นมาในหัวใจตลอดเวลา สิ่งนั้นจะมาเตือนใจเราตลอดเวลา นี่ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา นี่ถ้าธรรมมันเกิดขึ้นมาแบบนั้น
    ธรรมตรง ใจคด

    ................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 สิงหาคม 2021
  2. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    ยังมี ธรรมแตก อีกอย่างหนึ่งครับ

    แต่หัก กะ แตกฉาน ^_^
     
  3. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ปัญญาสติกับนามรูปดับ เพราะวิญญาณดับ


    "ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ข้าพระองค์กราบทูลถามแล้ว
    ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมนั้น คือปัญญาและสติกับนามรูป แก่ข้าพระองค์เถิด ;
    ปัญญาและสติกับนามรูปนั้นจะดับไปในที่ไหน?

    ดูก่อนอชิตะ! ท่านถามปัญหานั้นข้อใด เราจะแก้ปัญหาข้อนั้นแก่ท่าน :
    นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด,
    ปัญญาและสติกับนามรูปนั้น ก็ย่อมดับไปในที่นั้น, เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ แล.



    - สุตฺต. ขุ. ๒๕/๕๓๐/๔๒๕. - จูฬนิ. ขุ. ๓๐/๒๐-๒๑/๘๐,๗๕.


    �Ҥ � : �ѭ��ʵԡѺ����ٻ�Ѻ �����ԭ�ҳ�Ѻ
     
  4. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    หมด "อาหาร" ก็นิพพาน

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในอาหารคือคำข้าวก็ดี
    ในอาหารคือผัสสะก็ดี ในอาหารคือมโนสัญเจตนาก็ดี
    ในอาหารคือวิญญาณก็ดี
    แล้วไซร้,

    วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในสิ่งนั้นๆ.
    วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในที่ใด, การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมไม่มีในที่นั้น;
    การก้าวลงแห่งนามรูป ไม่มีในที่ใด, ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายย่อมไม่มีในที่นั้น;
    ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด, การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    การบังเกิดในภพใหม่ต่อไปไม่มีในที่ใด, ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น;

    ชาติชราและมรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด, ภิกษุทั้งหลาย! เราเรียก“ที่”นั้นว่า เป็น“ที่ไม่โศกไม่มีธุลีและไม่มีความคับแค้น” ดังนี้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเรือนยอดหรือศาลาเรือนยอด
    ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก. ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา
    แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ส่องเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้วจักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั้นเล่า ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในด้านทิศตะวันตก พระเจ้าข้า !”.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้นจักปรากฏที่พื้นดิน พระเจ้าข้า !”.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหน ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้นจักปรากฏในน้ำพระเจ้าข้า !”.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหนอีก ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้นย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว พระเจ้าข้า !”.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้นแล :
    ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในอาหารคือคำข้าวก็ดี ในอาหารคือผัสสะก็ดี
    ในอาหารคือมโนสัญเจตนาก็ดี ในอาหารคือวิญญาณก็ดี แล้วไซร้,
    วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในอาหารคือคำข้าวเป็นต้นนั้นๆ.
    วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในที่ใด, การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    การก้าวลงแห่งนามรูป ไม่มีในที่ใด, ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด, การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด, ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น;

    ชาติชรามรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด, ภิกษุทั้งหลาย! เราเรียก“ที่”นั้นว่า เป็น “ที่ไม่โศก ไม่มีธุลี และไม่มีความคับแค้น” ดังนี้.

    (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๔-๑๒๖/๒๔๘-๒๔๙.
    ฉบับ ๓ ก้าวย่างอย่างพุทธะ ๑๑๓

    E-Tipitaka | Read
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    article_116-min-jpg.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...