ธรรมะ...สอนศิลปะการใช้ชีวิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พงษ์ญาดา, 27 กันยายน 2010.

  1. พงษ์ญาดา

    พงษ์ญาดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2009
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +1,871
    <TABLE class=style8 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="99%" border=0><TBODY><TR><TD class=Content vAlign=top align=left> ธรรมะ...สอนศิลปะการใช้ชีวิต



    [​IMG]


    ชีวิตของคนเราล้วนมีปัญหาเกิดขึ้น และต้องเรียนรู้ที่จะแก้ไขเรื่องที่คาใจนั้น ให้ได้อยู่ตลอดเวลาอาจเป็นปัญหาที่เล็กน้อย กระทั่งเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นแต่เราผู้เกี่ยวข้องกับปัญหาก็ควรรู้จักเกี่ยวข้องอย่างผู้รู้จักปล่อยวาง และเข้าใจ แม้จะไม่สามารถละวางได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ก็ควรรู้จักวางใจให้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความรู้เท่าทัน แล้วปัญหาที่มีอยู่ย่อมมีทางคลี่คลายลงได้ในสักวัน​

    การสอนให้ผู้อื่นให้ทำตาม ไม่ควรสอนในขณะที่ตัวเองมีความโกรธ และเต็มไปด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวแต่ควรสอนในขณะที่สติปัญญามีอยู่อย่างบริบูรณ์ และควรสอนด้วยความปรารถนาดีที่มาจากใจ เพราะหากสอนโดยการใช้อารมณ์ ผู้ถูกสอนจะไม่จำคำสอนที่ถูกว่ากล่าวตักเตือน แต่เขาจะจดจำใบหน้าที่ดุร้าย และกิริยาที่แสดงความเกรี้ยวกราดของผู้สอน นั่นถือว่าเป็นความทรงจำที่เลวร้ายของผู้ถูกสอนตราบนานเท่านานคำพูดที่คนเราเปล่งออกมาแต่ละครั้ง ถือว่าเป็นพลังงานของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะใหม่เสมออาจเป็นไปในทางที่ดี หรือเลวร้าย ก็อยู่ที่เราผู้ออกคำสั่งเป็นหลัก ด้วยเหตุที่คำพูดล้วนมาจากใจเป็นผู้กรองข้อมูลของถ้อยคำปราชญ์ จึงเตือนให้รู้จักคิดเสียก่อนแล้วจึงค่อยพูดเพราะเมื่อเปล่งวาจาออกไปแล้ว นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง ที่เราไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรก็ตามมา ​

    สุนทรภู่กวีเอกแห่งแผ่นดินสยาม จึงกล่าวให้ข้อคิดเกี่ยวกับการพูดไว้ว่า​

    “ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
    มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
    แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
    จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”


    การค้นพบว่าตัวเองชอบอะไรนั้น ชื่อว่าเป็นคุณค่าอย่างหนึ่งของการได้เกิดมา แต่การค้นพบความเป็นอิสระที่มีอยู่ในตัวเอง แล้วนำไปสู่การดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสงบมีค่ายิ่งกว่า เพราะทำให้เรารู้จักจัดระเบียบชีวิตของตัวเองได้ง่ายขึ้น แม้ว่าจะไม่ยิ่งใหญ่ในความรู้สึกของคนอื่นแต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ตัวเราค้นพบความสุขที่อยู่ใกล้ ๆซึ่งถือว่าเป็นความสุขที่เรียบง่าย แต่งดงามในความทรงจำของการได้ชีวิตมา คนที่ไม่รู้จักการดำเนินชีวิตอย่างผู้มีปัญญา ชื่อว่าเป็นชีวิตที่มืดบอดจากความดีงามทั้งหลาย เพราะเมื่อสติปัญญาถูกปิดบัง การเห็นสิ่งต่าง ๆย่อมกลับกลายเป็นความพร่ามัวไปในที่สุด แม้ว่าเราจะชื่อว่ามีตาที่มองเห็น แต่หากไร้ปัญญาในการทำความเข้าใจ เราก็เป็นได้แค่คนตาดีที่ไม่สามารถแสวงหาความดีงามมาประดับชีวิตได้เช่นเคย​

    โปรดทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่มีอะไรที่เราไม่รู้เสียเลย และก็ไม่มีอะไรที่เรารู้ไปเสียทุกอย่าง ถ้าเราทำความเข้าใจอย่างนี้อยู่เสมอ เราจะรู้ว่า ควรจะปัดปัญหาที่เปรียบเสมือนเส้นผมที่บังตาไม่ให้เราเห็นภูเขาคือ ความจริงที่อยู่เบื้องหน้าได้อย่างไร

    [​IMG]



    บางครั้งปัญหาของชีวิตก็เกิดจากเรื่องเล็ก ๆ ที่เราไม่เคยมอง กระทั่งก่อตัวเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นในเวลาต่อมา เศษผงเล็ก ๆ ที่เข้าตาคนอื่น เรามักจะช่วยเอาออกจากตาของเขาได้ แต่เมื่อปัญหาอันเปรียบเหมือนเป็นผงเล็ก ๆ ที่เข้าตาตัวเอง เรากลับมีความรู้สึกว่ามันช่างยากลำบาก ที่จะทำให้ออกไปจากตาได้

    ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามปัญหาเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ชิด แต่ควรรู้จักมองปัญหาที่ใกล้ตัวด้วยใจที่มีวิจารณญาณ เพื่อไม่ให้สิ่งที่เกิดขึ้นกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ยิ่งในโอกาสต่อไป





    การปรับทัศนคติของชีวิตถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะหากรู้จักปรับความเห็นในมุมที่เป็นบวก เราย่อมรู้จักที่จะคัดเลือกสิ่งดีให้กับตัวเอง แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายก็ตาม แต่หากมีทัศนคติที่ติดลบมองโลกแต่แง่ร้ายในฝ่ายเดียว เราย่อมเหมือนคนที่อยู่ในมุมที่คับแคบ ย่อมก่อให้เกิดความอึดอัดขัดเคือง แม้จะมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ไม่สามารถมองเห็นได้เพราะเรามองว่าทุกอย่างเป็นเรื่องเลวร้ายไปเสียหมดอนาคตที่ควรจะถูกต่อยอดเป็นความดีงามจึงยุติบทบาทลงในทันที​



    บางครั้งการพ่ายแพ้ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ชีวิตรู้สึกแย่เสมอไป เพราะหากเคยได้รับแต่ชัยชนะเพียงอย่างเดียวเราย่อมไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกอีกด้านหนึ่งที่เป็นความผิดหวัง ด้วยเหตุที่ไม่เคยแพ้ เมื่อวันหนึ่งความผิดหวังเข้ามาเยือน ย่อมทำให้เราระทมตรมตรอมจากภาวะที่พ่ายแพ้นั้น แต่หากเรียนรู้ที่จะแพ้บ้างในบางโอกาสที่เหมาะสมเพื่อยอมรับที่จะแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้ดีขึ้น เมื่อชัยชนะใหม่มาครอบครอง เราย่อมรู้จักรสชาติของความสมหวังอย่างรู้คุณ




    การที่เราผิดพลาดแล้วได้รับการให้อภัยจากผู้อื่นถือว่าเป็นความโชคดีอย่างมากของชีวิต เพราะเป็นการได้รับโอกาสที่จะแก้ไขสิ่งบกพร่องให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันเราก็ควรรู้จักที่จะพัฒนาตนเองให้ดีกว่าเดิม มิใช่ยินดีกับการได้รับการให้อภัยแล้วหยุดเรียนรู้ที่จะแก้ไข เพราะเมื่อวันหนึ่งที่ไม่มีใครเห็นใจ เราจะเดียวดายจากคนรอบข้างที่เคยเห็นคุณค่าในตัวเรา เพราะเราเป็นผู้ผลักไสให้เขามองเราว่าเป็นคนไร้ค่าด้วยตัวของเราเอง



    [​IMG]


    ที่มา : ธรรมะสอนศิลปะการใช้ชีวิต โดย พระมหาวีระพันธ์ ชุติปัญโญ​









    </TD></TR><TR><TD vAlign=center></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...