"ธุดงค์คือ การประกาศพรหมจรรย์" (หลวงปู่ชา สุภัทโท)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย วิริยะ13, 25 กรกฎาคม 2024 at 05:21.

  1. วิริยะ13

    วิริยะ13 สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,904
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,519
    ค่าพลัง:
    +12,478
    3หลวงปู่ชา สุภทฺโท (13).jpg


    .
    "ธุดงค์คือ การประกาศพรหมจรรย์"

    " .. ฉะนั้นการเดินธุดงค์นี้ จึงเป็นของสำคัญมาก "ที่เดินธุดงค์นี้ก็ไม่ใช่ว่า การเดินนั่นมันเป็นธุดงค์" การไปนั้นมันเป็นธุดงค์ "ตัวธุดงค์จริง ๆ นั้น คือข้อปฏิบัติ" ไม่ใช่การเดินเข้าไปในป่านั้นเป็นธุดงค์ "ธุดงค์นั่น คือการปฏิบัติ" ไปประกาศพรหมจรรย์ไม่ใช่ว่า ไปประกาศพระศาสนา เพราะว่าการประกาศพระศาลนานั้น ต้องบรรยาย ต้องประกาศ ต้องแสดงธรรมกับประชาชนทัว ๆ ไป

    "ที่พระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญให้ไปธุดงค์นี่คือ ไปประกาศพรหมจรรย์ พรหมจรรย์นั้นคือข้อปฏิบัติอันละเอียดมาก" ไม่ใช่การพูดการเรียนเฉย ๆ คือไปประกาศความจริง "เรียกว่า พรหมจรรย์"

    "พรหมจรรย์ที่มันจะเศร้าหมองด่างพร้อยได้" เช่น ผมยกตัวอย่างว่า "เราได้ยินเสียงร้องเพลง ก็ดีร้องไห้ก็ดี แล้วเรามีความยินดีปลื้มใจชื่นใจในเสียงนั้น อันนี้ก็พรหมจรรย์เศร้าหมองแล้ว" หรือว่าเราระลึกถึงกาลเก่า เช่น "เมื่อเราเป็นหนุ่ม ได้ใปพูดหยิกหยอก คิดชื่นกันกับผู้หญิงในกาลก่อน" เมื่อเราเป็นฆราวาสอยู่นั้น

    "เมื่อระลึกขึ้นได้แล้วละก็ยินดี ร่าเริง เพลินใจ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น อันนี้พรหมจรรย์เราเศร้าหมองแล้ว พรหมจรรย์เราด่างพร้อยแล้ว" อย่างนี้เป็นต้น "เรียกว่าพรหมจรรย์ คือปฏิปติจิตภายในอันนี้ แสดงถึงข้อปฏิบัติ"

    ดังนั้นเมื่อท่านไปนี้ "ท่านจะต้องพยายามไปประกาศพรหมจรรย์และพระศาสนาพร้อมกันให้คนเข้าใจ" การพูด การเรียน "การกระทำอันนี้เรียกว่า การประกาศพระศาสนา ประกาศธรรมะ"

    ส่วนจิตใจของท่านซึ่งเป็นภายใน "อันนั้นเรียกว่า พรหมจรรย์ ที่เป็นส่วนลึก ส่วนลึกยังไง" เช่นว่า มันยังมีความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรสอยู่ "อันนั้นเรียกว่า พรหมจรรย์ยังไม่สำเร็จ พรหมจรรย์ยังไม่จบ" ยังมีพรหมจรรย์ "อันนี้ยังไม่บริสุทธิ้ยังไม่พันทุกข์ อันนี้เป็นส่วนลึกของสมณะปฏิบัติ"

    ดังนั้นการไปธุดงค์นี้ "เรียกว่าเราเดินไป เข้าไปในป่าเพื่อให้เห็นวิเวกทางกาย ไปพบ ป่าช้า ไปพบหุบเขา ไปพบป่าชัฏ เราก็แวะเข้าไปทำความเพียร" หรืออาศัยอยู่ที่นั่น ได้ความวิเวก .. "

    "อุปลมณี" (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2024 at 10:00

แชร์หน้านี้

Loading...