ผมเพิ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นายมาก, 4 พฤศจิกายน 2014.

  1. นายมาก

    นายมาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +13
    สวัสดีครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่ เรียกผมว่านายมากละกัน คือผมเพิ่งเริ่มหัดนั่งสมาธินะครับเลยอยากหาคำแนะนำ เริ่มทำนี้มีนั่งสมาธิหลังตื่นนอน หลังออกกำลังกาย แล้วก็ก่อนนอนครับ โดยผมใช้เป็นวิธีกำหนดที่ลมหายใจ หายใจเข้าสั่นแต่ให้เต็มปอดโดยดูลมที่เข้าจากจมูกแล้วความรู้สึกไปหยุดที่ท้อง หยุดหายใจซักพักกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจในท้อง หายใจออกยาวๆจากท้องไล่มาถึงจมูกให้ลมหายใจออกให้หมด หยุดสักพักรอให้ร่างกายต้องการลมหายใจเข้าเองไม่ได้รีบนำเข้า (อ่านผ่านไปเห็นเขาบอกให้รอร่างกายเราต้องการจึงค่อยนำเข้าไม่ใช้หายใจเข้าทันทีเมื่อหายใจออก เพราะมันเป็นความอยากที่จะหายใจ) แล้วก็ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเลยหลังจากนั่งสมาธิ คือไม่รู้ว่าต้องทำอะไรดี เลยอยากจะมาหาคำแนะนำนะครับ
    ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  2. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ลองอ่าน คัมภีร์ วิสุทธิมรรค ครับ
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    เหอๆ

    ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
    หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
    เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
    ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า



    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์</center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" align="center" background="" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)

    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
    หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
    เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
    ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
    จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
    สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
    อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
    ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
    ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
    หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
    ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
    จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก
    ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
    ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
    รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก
    ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว
    อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
    ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ
    ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย
    ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
    ไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ
    เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ
    ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา
    ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ-
    *ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความ-
    *เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
    สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ
    เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน
    ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม
    นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม
    เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น
    วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส
    ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
    ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต
    ตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้
    มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
    นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อม
    เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิ
    สัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
    </center>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2014
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
    หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
    เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
    ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า



    ไม่ต้องไปกังวลสงสัยอะไร จะเป็นนิวรณ์ขวางสมาธิผลการปฏิบัติป่าวๆ


    แนะนำสั้นๆ นะครับ

    มีสติ สติตั้งมั่น รู้ รู้ลมหายใจครับ สั้นก็รู้ว่าสั้น ยาวก็รู้ว่ายาว ไม่มีลม ไม่หายใจ ก็มีสติตั้งมั่น ว่า ลมไม่มี ครับ

    มีสติ รู้อยู่ รู้ลมหายใจ ไม่ใช่ว่า ฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่นๆ คิดเรื่องต่างๆนาๆ จิตยังไม่เป็นสมาธิ คิดออกไป แล้วจะได้สมาธิอย่างไร


    อานาปานสติ เป็นสมถะกรรมฐาน ครับ



    ละที่บอกว่าไม่รู้ว่าทำอะไรต่อ


    ผมก็ต้องบอกว่า จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตสงบลงเข้าสมาธิ หรือยังนะครับ

    ถ้ายัง จิตยังไม่เป็นสมาธิ ก็แสดงว่า จิตยังไม่สงบ นั้นเองครับ

    สงบจากอะไร สงบจาก กิเลส นิวรณ์5 ภายในจิต นั้นละครับ ^^

    สงบจาก นิวรณ์5 เมื่อไหร่ จิตก็เป็นสมาธิ ครับ


    ปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อให้ จิตเป็นสมาธิ ครับ ไม่ได้ปฏิบัติ เพื่อนั่งทนเฉยๆ ^^

    .

    *************************************************************************************************************************************


    นั่งหลับตาเฉยๆ โดยไม่ภาวนา ไม่พิจารณาอะไรเลย ถือว่าเป็นสมาธิ ??​


    ถาม : ถ้าเราทำสมาธิแล้วเราไม่กำหนดลมหายใจ ไม่กำหนดภาพ ไม่ภาวนา ไม่พิจารณาอะไรเลย จะถือว่าทำสมาธิหรือเปล่า หรือเรียกว่านั่งหลับตาเฉยๆ ?

    ตอบ : คงจะนั่งหลับตาเฉยๆ ยกเว้นอย่างเดียวว่า มีความเคยชิน สามารถเข้าฌานระดับใดระดับหนึ่งได้คล่องมาก ถ้าอย่างนั้นเราสามารถจะดิ่งไปสู่ระดับนั้นได้เลย

    แต่ถ้าเราไม่มีการกำหนดใดๆ เลย ไม่มีทางที่จะทรงตัวเป็นสมาธิได้ เพราะจิตเราต้องคิดเป็นปกติ ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง

    ถาม : หรือจะย้อนมาปฏิบัติเหมือนเดิม จับลมหายใจเหมือนเดิม ?

    ตอบ : ลมหายใจเป็นพื้นฐานของกรรมฐานทุกกองเลย คุณจะทิ้งลมหายใจไม่ได้

    ถาม : แล้วถ้านั่งสมาธิไม่เคยเห็นแสงสี ไม่เคยเห็นภาพ ?

    ตอบ : ถือว่าโชคดีที่สุดในโลก ไม่อย่างนั้นคุณจะติดอีกเยอะ



    สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2014
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    จขกท. ระวังจะเป็นอัตตกิลมถานุโยคนะครับ : )
     
  6. นายมาก

    นายมาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +13
    ตอนนี้ผมเริ่มปรับเป็นการดูลมปกติแล้วครับ แต่มันยังไม่ค่อยชินเท่าไหร่เลยพยายามทำสมาธิจับดูลมตลอดเวลาให้มันชิน ถือซะว่าที่ทำอยู่ตอนเริ่มทำเป็นประสบการณ์ละกัน ยังไงก็ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำครับ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาดูกัน

    เมื่อหลายวันก่อน ดู สารคดีเรื่องหนึ่ง ตัวคนทำสารคดี ตั้งประเด็นในการ ถ่ายทำ
    และวิจัย โดยเอา ตัวเองเข้าสมาทานสิกขาบท

    หัวข้อของเขาคือ " สมองสามารถพัฒนาได้ " คือ ตัวเขาจริงๆ เนี่ยะ เขาไม่ค่อย
    ฉลาด ทำอะไรตรงๆ แต่พอจะมี ไอเดีย อยากรู้อยากลอง ก็เลย สรรหาวิธีต่างๆ
    นานา ที่ทำให้ " สมองมันสมาร์ท "

    ก็นะ ฝาหรั่งเนี่ยะ เข้าเน้นไปที่ ตัวเนื้อสมอง ว่า สามารถฝึกหัดให้ใช้ได้เต็มที่
    จากปรกติมนุษย์ใช้ การทำงานสมองเพียงแค่ 5% นอกนั้นไม่ได้ใช้

    ทีนี้

    ตอนหนึ่ง เขาไปเห็น คนที่เอากุญแจและโซ่มามัดตัวเอง แล้ว จับถ่วงน้ำ
    แล้ว กว่าจะขึ้นมาแสดงตัวว่า หลุดออกจากพันธนาการ ใช้เวลาอยู่ในน้ำตั้ง 4นาที

    เรียกว่า ไม่หายใจตั้ง 4 นาที

    เจ้าของรายการเลยตั้งประเด็นว่า ไอ้คนนี้ สมองมันต้องสมาร์ทมากๆ ถึงได้ กำจัด
    ความวิตก ในการอยู่ใต้น้ำโดยไม่กลัวตายได้ตั้ง 4 นาที

    ก็เลยเข้าไปถาม ว่า เอออหนะ เออแหนะ ท่านเจ้าขา ท่านฝึกอย่างไร ถึงได้ไม่หาย
    ใจได้ 4 นาที


    แปลกแต่จริงๆ คนๆนั้นแนะนำคนทำรายการว่า " เราฝึกสมาธิ โดยใช้ จินตภาพ "
    จึงสามารถระงับ " กามวิตก พยาบาทวิตก และ วิหิงสาวิตก " อยู่ในน้ำได้ 4 นาที
    โดยที่ ภายใน 30 วินาทีแรก ก็สามารถแก้พันธนาการได้หมดแล้ว แต่จะแกล้ง
    ไม่ขึ้นสู่ผิวน้ำ จะนั่งทำสมาธิต่อ รอให้ครบ 4 นาที แบบว่า ให้ หัวใจคนดูระห้อย
    ด้วยความสังเวชว่า นักแสดงคงตายแหงแก๋ แล้วเขาก็ โผล่ขึ้นมา มันเลยทำให้
    คนดู ได้ ปิติ ยินดี สุดๆ ที่ นักแสดงของเขารอด

    นะ

    จินตภาพ ที่เขาฝึก นั้น ก็คือ การฝึกการ กลั้นหายใจ ให้มีจังหวะทั้งสิ้น 4 จังหวะ
    คือ หายใจเข้าไปพอให้รู้สึกว่า " อยู่ที่ปลายตะหมูก อยู่ที่คอ อยู่ที่ลิ้นปี่ อยู่ในปอด"
    ทั้งจังหวะเข้า และ จังหวะออก โดยให้ จินตนาการเอา ไม่ต้องไป ทะลึ่ง อัดลมหาย
    ใจให้อยู่ตามจุด

    ซึ่งตรงนี้ ก็ฟังดูแล้ว เหมือนกับ เคสที่เจ้าของกระทู้ ฝึกอยู่

    ถ้าทำไปเรื่อยๆ ก็จะ สามารถหายใจได้ โดยที่ไม่มีลมเข้าออกจาก จมูก

    ทั้งนี้ ทางวิทญศาตาร์เขาพบว่า ( คือ เขาเอา หมอนั้น และ หมอนี่ คือ ทั้งนัก
    แสดง และ คนขอฝึก ไปจับแสกน ) เขาพบว่า อากาศในเลือดกลับมีได้อย่างปรกติ
    เหมือนกับ " การหายใจด้วยภาวะปรกติ " แล้วเขาก็สรุปออกมาว่า มันเป็นเรื่อง
    ของการ แลกเปลี่ยนลมระหว่างเซลล์ หรือ หายใจจากผิวหนัง หรือ หายใจโดยเลือด
    มันไปหาเอาจากช่องว่างในตัวในส่วนอื่นๆ ที่มีเก็บไว้ ทำให้หายใจโดยไม่ต้องหายใจ
    ผ่าน ตะหมูก ได้4นาที

    คนฝึก หรือ คนทำรายการนั้น ครั้งแรก ที่เรียนจบ จับโยนลงน้ำ พร้อมพันธนาการ
    เขาก็สามารถแก้ โซ่ และ กุญแจ ออกได้ ในเวลาไม่ถึง นาที แล้วหลังจากนั้นก็
    ให้นั่ง ทำสมาธิต่อ ซึ่ง ครั้งแรกเขาฝึกได้ นาทีเศษๆ ครั้งที่สองเพิ่มขึ้นมาหน่อย
    เพราะไปเข้าคอส ดับพยาบาทวิตก เสริม ( ฝาหรั่งเขามี คอส angry management
    ซึ่งเป็นการเอา อารมณ์มาเป็นตัวเจตสิก อาศัยระลึก การเกิด ดับ ..คอสเขา พัฒนามาก
    จากเดิม ที่ให้นั่งล้อมวง ระบาย ความอัดอั้นแบบ 6 Hat )

    สุดท้ายเนี่ยะ คนดูหลับ !!! คือ ตัวผมที่ดูทีวี เนี่ยะ หลับ เดชะบุญ แฟนเขาดูต่อ
    เขาเลยบอกว่า ไอ้หมอนั่นสุดท้ายมันกลั้นลมหายใจได้ 3 นาที จากการฝึก 1 เดือน

    นะ........

    นั่นคือ เรื่องการฝึก สมาธิอย่างหนึ่ง เอาเป็นว่าทำได้ ฝึกได้ และ สามารถฝึกให้
    หายใจโดยไม่ใช่ จมูก ได้

    ถ้าฝึกดีๆ เจ้าของกระทู้ จะเห็น อารมณ์ตอนที่ไปกำหนดหยุด ตามจุด มันจะมี
    การรับรู้การ เคลื่อนของกองลม จะเห็น ลมมันเคลื่อน แต่ ลมที่เคลื่อนนั้นไม่
    ได้เกิดจาก ท่อลม ของตน เนี่ยะ ถ้าฝึกแล้ว นมสิการธรรมแบบนี้ จะ หยุดหาย
    ใจได้ โดยที่ ยังสามารถทำโน้น ทำนี่ได้ สารพัด ไม่ใช่ นั่งจุมปุ๊ก ไม่กระดุกกระดิก

    เราเรียกว่า กามวิตกมันรำงับ พยาบาวิตรำงับ วิหิงสาวิตกรำงับ บรรลุเจโตสมาธิบางประการ

    แต่ เสียดายเขาไม่เคยได้ยิน เรื่องการ วิปัสสนา เขาจึงพอใจแค่ การฝึกสมาธิอันยอด
    เยี่ยมแบบนั้นเฉยๆ



    ทีนี้

    เจ้าของกระทู้ หากสนใจ ต้องการ ยกวิปัสสนา ก็ไม่ยาก

    ให้เห็นสภาวะ หมดการดิ้นรน หมดการแสวงหา หมดกริยาของจิต(ที่เกิดจาก กามวิตก
    พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ) เป็น สภาวะธรรมอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

    พอวันไหน เราว่าง เราฝึก แล้ว เราประกอบมันได้ ทำมันสำเร็จ ก็เกิด " ความพอใจ "
    แล้วพอ "ความพอใจ" เกิดแล้ว ก็เกิดความคลายใจ รับรู้ว่า ทำได้ แล้วก็ หยุดการ
    ประกอบไป

    พอมาอักวัน นึกขึ้นมาได้ ถึงการทำสมาธิอันยอดเยี่ยม แต่วันนี้ น้อมเท่าไหร่ ก็น้อม
    ไม่ได้ ทั้งที่ ระลึกได้ในการวางอารมณ์ แต่ มันตั้งไม่ได้นาน เกิด ความไม่พอใจ
    ที่เห็นว่า วันนี้ เพลานี้ประกอบไม่ได้

    อาศัย ความพอใจที่เกิดดับ และ ความไม่พอใจที่เกิดดับ ยกขึ้นเป็น สภาพธรรมอีก
    อย่างหนึ่ง พอยกแล้ว มันจะเหมือนรู้สึกว่า มาสุดขอบ สุดเขต อะไรสักอย่าง
    โดยที่ไม่รู้ว่า ฝากโน้นมีอะไร แต่มันแค่รู้ว่า มาสุดขอบ

    พอเห็นแบบนั้น ความที่ไม่รู้ มันยังครอบงำอยู่ มันจะพากลับไป วนเวียน อยู่กับ
    ความพอใจ ไม่พอใจ ในการประกอบ ซ่้ำๆซากๆ ชนิด ผ่านมา แสนอสงไขยเวลา
    ก็ยังชำนาญได้แค่นี้

    นะ

    เอาเท่านี้ก่อน

    เอาแค่ พอจะเอะใจ สนใจ เรื่องวิปัสสนาไหม ถ้ามี ก็ว่ากันต่อ

    ถ้าไม่มี จะพอใจว่า ทำได้แค่นี้ก็ยอดเยี่ยมแล้ว ก็ว่ากันไป
    จะมาหาว่า หมัดดาวเหนือ ไม่กระแซะไม่ได้หน่า
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้าเมื่อไหร่ คุณเจ้าของกระทู้ ยกวิปัสสนา ร่วมด้วยนะ

    จะเห็นเลยว่า กองลมที่ปราณีตกว่า ลมหายใจ มันก็ทำงาน ตลอดเวลา

    ใช่ว่า จะต้องกลั้นลมหายใจ แล้ว มันจึงเกิด

    ดังนั้น จิตที่ฝึกดีแล้ว จะสามรถ สอดส่อง เข้าไป นมสิการ กองลมทั้งปวง
    โดยไม่ไปติดบัญญัติว่า ต้องกลั้นใจเสียก่อน จึงรู้ได้

    เมื่อความจำเป็นในการตั้งท่า กลั้นลมหายใจ อัดลมหายใจ หยุดลมหายใจ ไม่ใช่
    สิ่งจำเป็น ไม่ใช่สิ่งที่จะมาบังตาอันวิเศษได้ เราก็หายใจไปปรกติ หรือ ไม่ปรกติ
    ก็เรื่องของ ลมจมูก

    แต่การรู้ กองลมทั้งปวงอันปราณีต จะไม่มีทางหายไปจาก การรู้ของจิต

    รู้เก่งๆ จะเห็น กองลมเหล่านั้นเคลื่อนแสนโกฏิ กิจกรรม ภายใน ลมหายใจ
    เข้าออกเพียงครั้งเดียว

    รู้เก่งๆ จะไม่ไปมุ่งเอาแต่กองลม จิตจะฉลาดในการ เห็นปิติ อุเบกขาธรรม เอกัคคตาอารมณ์
    อันเป็น สิ่งปราณีตยิ่งกว่า มันเคลื่อนอาบทั่วกาย หัวจรดเท่า ได้ทุกขณะจิต ยิบๆ แย๊บๆ
    เต็มไปหมด โดยไม่ขึ้นกับท่า ทาง เวลา สถาณที่

    ยังมี การยกวิปัสสนา ที่ยิ่งๆ ขึ้นไปอีกนะ แค่นี้ จิ๊บๆ เด็กเล่นขายของ เขาฝึกได้ คนไม่มี
    ศาสนาก็ยังพอฝึกได้
     
  9. นายมาก

    นายมาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +13
    ขอบคุณครับคุณนิวรณ์ ไว้ผมจะลองศึกษาดูนะครับ เพราะเวลาในระหว่างวันผมไม่มีอะไรต้องทำ คือวิทยาลัยเลิกเที่ยงกว่า ติดแค่ทำการบ้านนิดๆหน่อย ฮ่าๆผมยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นวัยเรียนอยู่เลย ที่สนใจการทำสมาธินี้ก็หลังจากสึกจากการเป็นเณรแล้ว ได้มีโอกาศคุยเรื่องพวกนี้กับพระอาจารย์ที่คุมผมมาซักหน่อย เลยเกิดความสนใจมาหาอ่านวิธีทำสมาธพวกนี้เพิ่มครับ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ฮั่นแน่ ยังไม่ทันฝึกเลย เจาะช่องเพื่อออกจากสิกขา ซะแล้ว

    ตามดู พวกข้ออ้างต่างๆ ไว้ด้วยนะ กามวิตก มันไม่รำงับ พอขึ้น ปีสอง เมื่อไหร่
    จะเริ่มฝึกยาก ปีสามจะเขวเรื่อง สุขจากความโดดเดี่ยว พอปีสี่จะเริ่มกินหญ้า
    หากมี ปีห้า โอยยยยย .......จะจบไหม งานทางโลก งานทางธรรม

    มีเวลาก็ฝึกเลย

    เข้าห้องน้ำ ยิงกระต่าย ปั่นปากกา เอามาฝึกได้หมดแหละ

    เพราะ คนเราหายใจตลอดเวลา แม้นไม่หายใจ การหายใจ มันก็มีของมันตลอด
    เวลา ไม่มีใครไปทำลายได้ เพราะมันได้มาตามวิบาก

    แต่ถ้า วาสนาหมด กำลังยิ้มอยู่ คุยอยู่ เพลินอยู่ รู้ลมหายใจอยู่ ก็ หารอดได้ไม่

    เว้นไว้ว่า สมาทานสิกขาได้แล้ว
     
  11. นายมาก

    นายมาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +13
    อ่าผมบวชหน้าไฟน่ะครับ แต่มีโอกาศได้อยู่วัดหลายวันหน่อยเลยมีโอกาศได้คุยกับพระอาจารย์ ที่เรียกพระอาจารย์เพราะตอนเด็กๆเคยไปบวชภาคฤดูร้อนครับ แล้วก็ฝึกกำหนดรู้ลมหายใจนี้ผมจะพยายามฝึกให้รู้อยู่ตลอดครับ ที่บอกว่าจะไว้ศึกษาเพิ่มคือเรื่องวิปัสสนากับอื่นๆครับ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เห็นจากบอร์ดไหน มีลิงค์ไหมครับ
     
  13. นายมาก

    นายมาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +13
    ตอบคุณมาจากดิน คือช่วงที่ผมเริ่มอยากฝึกผมอ่านมันเกือบจะทุกเว็บเลยครับเกี่ยวกับการทำสมาธิ ในเว็บนี้ก็เคยเปิดเจออยู่ ผมเห็นเว็บนี้มีอะไรให้อ่านเยอะเลยบุ๊คมาร์คไว้แล้วกลับมาสมัครสมาชิกครับ ระหว่างนั้นก็ท่องไปทั่วตามเว็บเพื่อหาวิธีฝึกสมาธิครับ ขอโทษจริงๆที่ไม่สามารถจำเว็บที่อ่านเจอได้ ไว้ยังไงผมจะพยายามหาให้ละกันครับ
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไม่เป็นไรครับ คือแค่ข้องใจคำพูดที่ว่า "อยากหายใจ" เท่าที่ดูๆคนเราตั้งแต่เกิดมาเนี่ย มันก็หายใจเองโดยอัตโนมัติ (โดยไม่ต้องนึกอยาก) จนลืมไปว่าแต่ละวันเวลาตนเองหายใจเข้าหายใจออกด้วยซ้ำ
     
  15. นายมาก

    นายมาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +13
    อาครับเท่าทีจำได้เขาบอกว่า ร่างกายเรามันหายใจเองอัตโนมัติ ปล่อยให้มันเป็นไปเอง ไม่ใช่ไปกำหนดบังคับมันให้หายใจ มันเป็นกิเลสที่อยากหายใจ ไรนี้ละครับที่จำได้คร่าวๆนะ
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    อ้อ ถ้ายังงั้นก็ถูก ร่างกายมันก็หายใจของมันเองอย่างว่า เพราะฉะนั้น เราก็ดูลมหายใจเข้าๆออกๆไป มันเป็นยังไงก็รู้ยังงั้น
     
  17. นายมาก

    นายมาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +13
    แล้ววิปัสสนานี้มันคือยังไงครับ แค่รู้ว่าเกิดอะไร แล้วปล่อยผ่าน ? แล้วที่ใช้การวิปัสสนาร่วมกับการนั่งสมาธิ นี้กำหนดดูแค่ที่ท้องหรือครับ หรือต้องดูลมร่วมด้วย
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถามนิวรณ์ดู เห็นเขาว่าไม่ยาก
     
  19. ชาครัว

    ชาครัว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +4
    ทำใจสบายๆครับ เรื่องนั่งสมาธิมันมีอย่างหนึ่ง คือ ถ้าเรานั่งไปโดยไม่หวังอะไรซักอย่าง มันจะได้ชานเพิ่มมาเรื่อยๆ แต่พอเรายิ่งหวังจะได้พัฒนาการสมาธิมันยิ่งล้าหลังลงหรือเหมือนไม่ได้อะไรเลย
    คุณไม่จำเป็นต้องปั้นใจปั้นจิตอะไรหรอกครับ แค่บอกตัวเองว่ากูนั่งงั้นๆแหละขอให้สงบๆเล็กน้อยๆ
    หลังออกสมาธิคุณจะเป็นคนที่คิดเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ลามกจกเปตรสุนทรีไปถึงไหนก็เรื่องของคุณ
    ปฎิบัติต่อเนื่องไปเรื่อยๆเดี๋ยวมันจะมีอะไรเข้ามาเอง ไม่จำเป็นต้องเชื่อที่ผมบอกแต่ลองทำดูเดี๋ยวรู้เอง
    ท่านที่กำลังคิดว่าโพสผมบอกแบบนี้ไม่ดีอย่างนู่นนี้ ท่านคิดไปเถอะ แต่ผมขอเตือนท่านบางท่านไว้ว่า ท่านคงรู้จักกรรมบท10ดี อย่างนั้นคิดให้ดีถ้าจะมาจาบจ้วงผม กรรมบท10น่ะคร้าบ แสดงความเห็นแย้งได้แต่ถ้ามาจาบจ้วงผมในใจมาแบ่งระดับผมล่ะก็ บางท่านจะโดนกรรมบท10โดยไม่รู้ตัว
    ก็ลองดูได้น่ะครับ มาลบโพสผมสิ มาลบโพสผมสิเดี๋ยวรู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2014
  20. นายมาก

    นายมาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +13
    ตอบคุณซาครัวครับ ผมไม่ว่าไม่โกรธคุณหรอกครับ เพราะผมมาหาคำแนะนำ ใครแนะนำหรือติมาผมรับฟังหมดครับ : )
     

แชร์หน้านี้

Loading...