พระโพธิสัตว์คือใคร?

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    ถ้าจะว่ากันตามภาษาชาวบ้านร้านช่องทั่วไป พระโพธิสัตว์ก็คือหน่อเนื้อเชื้อไขของพระพุทธเจ้า หมายถึงบุคคลที่ประกอบไปด้วยทศบารมี และมีจิตตั้งมั่นอยู่ในภูมิทั้งสิบ อีกนัยหนึ่งก็คือบุคคลที่จ่อคิวจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติถัดไป เรียกว่าเข้าไปสู่แดนพุทธภูมิแล้ว รอเพียงเสด็จเข้าสู่จุดโฟกัสของศูนย์กลางพุทธภูมิ บรรลุถึงพุทธภาวะเต็มรูปแบบเท่านั้น

    ลองมาดูที่มาที่ไปของพระโพธิสัตว์กันเสียหน่อย

    พุทธศาสนามหายานให้ความสำคัญอยู่มาก ก็ต้องมีเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ที่น่าสนใจในแง่การศึกษาค้นคว้าอยู่บ้าง โดยเฉพาะคนไทย รับหมด ไม่ว่าจะเป็นอะไร แต่ก็ไม่ค่อยศึกษาค้นคว้าที่มาที่ไปกันนัก ถึงขนาดเชื่อว่าถ้าไปรู้มากเข้าแล้ว ก็จะทำให้ขาดความขลังไป

    คติของชาวตะวันตกนั้นเขาจะศึกษาเป้าหมายเสียก่อนอย่างละเอียดลออ เมื่อได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ทะลุปรุโปร่งแล้ว ด้วยความเข้าใจนั้นนั่นเองจะเป็นเครื่องเจริญศรัทธาหรือยังซึ่งความเชื่อถือ ให้งอกงามขึ้นมา ส่วนชาวตะวันออก ตรงข้าม อะไรก็ตามรับเอาไว้ก่อน ด้วยความศรัทธาเชื่อถือเกิดขึ้นก่อนเป็นเบื้องแรก ยิ่งเห็นเป็นเรื่องพิศดารพันลึกเกินมนุษย์มนาแล้วล่ะก็ แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว แล้วก็เชื่อถือชนิดหัวหกก้นขวิดกันเลยทีเดียว เรียกว่าศรัทธากันจนสำลัก แล้วค่อยมาศึกษาค้นคว้ากันทีหลัง

    บุคคลหรืออริยบุคคลที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเข้าสู่ความเป็นพุทธะได้ นั้น จะต้องมีบารมีแต่เดิมมาก่อน ซึ่งต้องบำเพ็ญบารมีนั้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานทีเดียว เสมือนการสะสมสตางค์ทีละสลึง กว่าจะได้เงินจำนวนเป็นล้านบาทนั้น ต้องใช้เวลามากเหลือเกิน

    [​IMG]ความ ที่อดทนหยอดลงกระปุกทีละสลึงอย่างนี้ เพื่อหวังให้ครบล้านบาท นั่นล่ะครับเป็นบารมีชนิดหนึ่ง (ในจำนวนสิบหรือทศบารมี) ซึ่งต้องใช้ความตั้งใจอย่างมาก แล้วต้องเป็นความตั้งใจที่แน่วแน่มั่นคงต่อเนื่องไม่ขาดตอน พูดได้ว่ามีปณิธานที่มั่นคงยิ่งเสียกว่าภูผาสิงขร ทั้งหนักแน่นและมั่นคง

    พระโพธิสัตว์จึงไม่จำเป็นต้องเป็นนักบวชหรือนักพรต หรือเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นใครที่ไหนก็ได้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและต่อเนื่อง ก็ย่อมได้ชื่อว่าพระโพธิสัตว์ เป้าหมายสูงสุดคือการได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพุทธะ เพียงแต่ตั้งใจอธิษฐานหรือตั้งปฏิญาณ(ปณิธาน) ต่อสิ่งที่ตนเชื่อมั่นหรือต่อจิตใจของตนเองว่า ปรารถนาจะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ โดยไม่เลือกว่าเป็นใคร , ที่ไหนและเวลาใด

    แล้วมีความจริงใจจริงจัง ด้วยความมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายเต็มเปี่ยมไม่ย่อท้อ ไม่หย่อนยาน ด้วยความมั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน ดังคำคมที่ว่า " ภูผาสิงขรไม่สั่นไหวด้วยแรงลมฉันใดแล้ว จิตเมตตาแห่งปณิธานโพธิสัตว์ ย่อมไม่สั่นไหวด้วยความสงสัยลังเลฉันนั้น" ปฏิบัติตนให้เป็นไปตามที่อธิษฐานจิต หรือปฏิญาณที่ได้ตั้งไว้แต่แรกเสมอไป

    คุณสมบัติต่อเนื่องของผู้เป็นโพธิสัตว์ ( สัตว์ผู้ประเสริฐมีความรู้เป็นเครื่องประดับ) จำต้องมีเป็นเบื้องต้นคือ ทศบารมี ( บารมี 10 ประการ) ผมจะขอยกอ้างเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ ไม่แจกแจงลงไปในรายละเอียด ไม่ต้องการให้ยืดยาวมากความออกไป ทศบารมี ได้แก่

    1.) ทาน คือ การให้ปัน

    2.) ศีล คือ การประพฤติดีละชั่ว

    3.) ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้น
    4.) วิริยะ คือ ความเพียรความพยายามโดยธรรม

    5.) สมาธิ คือ ความตั้งใจมุ่งมั่นในการบำเพ็ญญาณ

    6.) ปัญญา คือ ความรู้ความเห็น ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นจากการบำเพ็ญญาณ

    7.) อุบาย คือ ความฉลาดโดยธรรม ในการใช้ความรู้ความเห็นที่ได้มา

    ( ในคัมภีร์วิมลกีรติสูตรของมหายาน ให้ความสำคัญบารมีในสองข้อหลังนี้มาก(6. ปัญญา และ 7. อุบาย) ตีความ "อุบาย" ได้เท่ากับเป็น “ บิดา ” ของพระโพธิสัตว์ โดยมีปัญญาบารมีเป็น “ มารดา ” หากขาดซึ่งบารมีทั้งสองเสียแล้ว พระโพธิสัตว์ก็ย่อมอุบัติขึ้นมิได้ อุปมาว่าถ้าไม่มีพ่อไม่มีแม่ย่อมเกิดเป็นคนไม่ได้ฉันนั้น)

    [​IMG]ผู้ ที่มีปัญญาและอุบาย หรือพูดง่ายๆว่ามีความรู้และฉลาด ถ้ามีจิตแห่งความละโมบโลภมาก อิจฉาริษยา อาฆาตมาดร้ายเป็นกมลสันดาน ทะเยอทะยานอย่างบ้าๆ แทนที่จะทำประโยชน์เพื่อคนทั่วไป ก็จะใช้บารมีสองข้อนี้ เป็นไปเพื่อตนเองและพวกพ้อง ที่สุดก็จะนำมาซึ่งความอยุติธรรมแก่ผู้อื่นไม่สิ้นสุด

    ด้วยปัญญาและอุบายนั้น ก็จะทำให้ผู้คนจำนวนมาก ต้องได้รับความเดือดร้อน มีให้เห็นกันอยู่ทุกวันในทุกวงการ อย่างนี้ไม่มีวันเข้าใกล้ความเป็นโพธิสัตว์ได้เลย แม้ว่าสองประการนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง แต่หากผู้ที่มีคุณสมบัติสองประการนี้ แต่ขาดซึ่งเมตตาแล้ว ปัญหาต่างๆก็จะตามมา ฉะนั้นพระโพธิสัตว์จึงต้องมีคุณธรรมในหมวดความเมตตาอยู่เป็นพื้นฐานเสมอ

    อุบายบารมีของพระโพธิสัตว์ จึงต้องตั้งมั่นอยู่บนฐานใหญ่คือปฏิญาณแต่แรก นั่นคือเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณาอันมั่นคง ไม่คลอนเคลน เป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของผู้อื่นเป็นสำคัญ ซึ่งได้กล่าวอ้างไว้แล้วในตอนต้นนั่นเอง

    อีก 3 บารมีที่เหลือได้แก่

    8.) ปณิธานบารมี คือ ความมุ่งมั่นอันแรงกล้าที่จะพาสรรพสัตว์ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ข้ามให้พ้นห้วงทุกข์เพื่อเข้าสู่นิพพาน (น่าจะหมายถึงแดนสุขาวดีพุทธเกษตรมณฑล)

    9.) พลบารมี คือ ความพยายามและความมีเมตตาที่ได้สั่งสอนให้เกิดขึ้นแล้ว บำเพ็ญไว้ให้มีอยู่อย่างมั่นคงเสมอต้นเสมอปลาย ,

    10.) ญาณบารมี คือ ความรู้แจ้งเห็นจริงอย่างสมบูรณ์ในทุกสรรพสิ่ง ไร้ขีดขั้นจำกัด

    [​IMG]วิ ริยบารมีหรือความเพียร พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวทรงพระราชนิพนธ์เผยแผ่มาแล้ว ด้วยทรงตระหนักถึงบารมีข้อนี้คือความเพียร ซึ่งพสกนิกรทั้งหลายควรให้ความสำคัญในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ความนั้นได้กล่าวถึง พระศากยมุนีพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็น พระมหาชนกโพธิสัตว์ เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี ( ความเพียรพยายามอันชอบด้วยธรรม) อันเป็นหนึ่งในทศชาติก่อนได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ

    หลังจากได้บำเพ็ญบารมี 10 ประการข้างต้นโดยสมบูรณ์แล้ว สภาวะแห่งจิตของพระโพธิสัตว์ก็จะเจริญเข้าสู่ ภูมิ 10 ( ไม่ใช่บารมีสิบ แต่เป็นอีกระดับหนึ่งสูงขึ้นไป มีสิบคุณสมบัติที่แยบยลเช่นกัน) พร้อมกับได้เจริญฌานให้สูงขึ้นเป็นลำดับไป

    ผมจะไม่แจกแจงในรายละเอียดส่วนนี้ แต่ด้วยภูมิ 10 นี้ที่ว่านี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พระโพธิสัตว์แตกต่างไปจากพื้นฐานเดิม ซึ่งบางคัมภีร์หรืออรรถกถาจารย์บางท่านก็เรียกพระโพธิสัตว์ในระดับนี้ว่า พระมหาสัตว์ คือ เหนือกว่าสัตว์ทั้งปวง มีบุญญฤทธิ์อิทธิฤทธิ์เป็นอเนกอนันต์ ได้ฌานบารมีในขั้นสูง
    คติของพระพุทธศาสนามหายานต่อ พระโพธิสัตว์ นั้น นอกจากการบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ยังเป็นเสมือนผู้ช่วยเผยแผ่พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าด้วย

    มีหน้าที่บำเพ็ญบารมีเพื่อสู่พุทธภาวะ, มีหน้าที่ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์, มีหน้าที่ช่วยเหลือพุทธกิจของพระพุทธเจ้าคือ เผยแผ่พระสัทธรรม

    ในภูมิ 10 นั้น มีอยู่คุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้พระโพธิสัตว์แบ่งแยกออกเป็น 2 คุณลักษณะอย่างชัดเจน พระโพธิสัตว์ที่มุ่งบำเพ็ญบารมีด้วยการโปรดสรรพสัตว์นั้น หากมีปณิธานอันแรงกล้า ก็จะตั้งปฏิญาณว่า “ หากยังไม่บรรลุซึ่งหน้าที่ในการช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากห้วงทุกข์ ก็จะไม่ขอตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ” หมายความว่าจะไม่ขอเสด็จเข้าสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า

    [​IMG]อย่างนี้เรียกว่า พระฌานิโพธิสัตว์ (หรือธยานิโพธิสัตว์ก็เรียก) มีพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ , พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์เป็นอาทิ

    ส่วนพระโพธิสัตว์ที่จะต้องบรรลุพระสัมมาสัมพุทธะเพื่อเป็นพระศาสดาให้พระพุทธศาสนาสืบต่อไปในโลกนั้น เรียกว่า พระมานุษิโพธิสัตว์ ซึ่งในพุทธศาสนาทุกนิกายและแทบทุกคัมภีร์ล้วนมีความสอดคล้องต้องกันว่า มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นคือ พระศรีอารยเมตตรัยมานุษิโพธิสัตว์ ซึ่งประทับบำเพ็ญพระบารมี ณ โลกธาตุสวรรค์ชั้นดุสิต

    ก็ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีในรูปเคารพของพระสังกัจจายน์จีน หรือพระอ้วนพุงพลุ้ย นั่งยิ้มปากกว้างอย่างอารมณ์ดีนั่นล่ะครับ พระโพธิสัตว์พระองค์นี้จะเสด็จมาตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โปรดและสืบพระพุทธศาสนาต่อจากพระศากยมุนีพระพุทธเจ้าในมนุษย์โลก กาลข้างหน้าต่อไป

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมายถึง ตรัสรู้ด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้บรรลุตามได้, ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสรู้ด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถสอนผู้อื่นให้บรรลุตามได้ ตามคติพระพุทธศาสนาเชื่อว่าในกัลป์หนึ่งจะมีผู้ที่ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าได้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ส่วนปัจเจกพุทธเจ้านั้นมีจำนวนมากมายแต่ละโลกธาตุ

    และพระโพธิสัตว์ที่จะจุติมาตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อไป ก็คือพระศรีอารยเมตตรัยมนุษิโพธิสัตว์นั่นเอง



    ที่มา
     
  2. joeydarkman

    joeydarkman Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +54
    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ
     
  3. เมทิกา

    เมทิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    952
    ค่าพลัง:
    +2,393
    จุดจุดจุดคืออาไร

    วางไข่หรา....(ล้อเล่นนะตัว)
     

แชร์หน้านี้

Loading...