"พระไตรปิฎก"ยุคดิจิตัล จากหนังสือสู่โทร.มือถือ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 22 มกราคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    [​IMG]

    สภาพระไตรปิฎกสากล ร่วมกับ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกองทุนสนทนาธรรมนำสุข ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เปิดการประชุมผู้นำระดับนานาชาติด้านพระไตรปิฎกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ณ โรงแรมปาร์คนายเลิศ แรฟเฟิลส์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพฯ


    นำโดยนายโลกุพันดาระ ประธานรัฐสภาแห่งประเทศศรีลังกา, น.พ.แบริดาล จากราชอาณาจักรสวีเดน และผู้แทนจากประเทศไทย จีน ฝรั่งเศส มาเลเซีย และสิงค์โปร์

    สภาพระไตรปิฎกสากล ได้ก่อตั้งขึ้นในสวีเดน สืบเนื่องจากการที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฎกในนานาประเทศ ได้พระราชทานพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน 40 เล่ม ชุดสมบูรณ์ชุดแรกของโลก เป็นปฐมฤกษ์ 3 ชุด ในปีพ.ศ.2548 แก่ประธานาธิบดีแห่งศรีลังกา ศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยอุปซาลาแห่งสวีเดน

    การประชุมสภาพระไตรปิฎกสากล มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการสวดภาษาบาลีในพระไตรปิฎกสากลชุดพระราชทานดังกล่าว ซึ่งกองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ ได้นำเสนอการพัฒนาฐานข้อมูลพระไตรปิฎก เป็นระบบเสียงดิจิตอล
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    นายพงศ์เอก ติรศิริชัย อาสาสมัครกองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ ผู้พัฒนาหลักคำสอนในพระไตรปิฎก เป็นระบบเสียงดิจิตอล เปิดเผยว่า การพัฒนาหลักคำสอนในพระไตรปิฎกเป็นระบบเสียงครั้งนี้ เรียกว่า "พระไตรปิฎกเสียงบาลีสังวัธยาย" หรือ "พระไตรปิฎกเสียง" โดยใช้ฐานข้อมูลของพระไตรปิฎก ฉบับสังคายนาสากล ฉบับ พ.ศ.2500 อักษรโรมัน

    สาเหตุที่ทางกองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ พัฒนาหลักคำสอนในพระไตรปิฎกครั้งนี้ เพราะเห็นว่าเป็นอีกช่องทางที่จะสามารถเผยแผ่หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาไปสู่สากลได้ เนื่องจากข้อมูลเสียงจะสามารถเข้าสู่คนหมู่มากได้ง่ายกว่าการอ่าน รวมทั้งจะทำให้ชาวต่างชาติเปล่งเสียงตามภาษาบาลีในพระไตรปิฎกได้อย่างถูกต้อง

    นายพงศ์เอก กล่าวต่อว่า ขั้นตอนในการดำเนินการ คือ จะมีผู้อ่านคำสอนในพระไตรปิฎก ฉบับสังคายนาสากลฯ ที่มีอยู่ประมาณ 40 เล่ม แบ่งอ่านเป็นบท บทละประมาณ 3 นาที และนำมาบันทึกเสียงลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบว่ามีการอ่านที่ถูกต้องตามหลักภาษาบาลีหรือไม่ ก่อนที่จะนำเสียงคำอ่านมาใส่ลงในเว็บไซต์ http://tipitaka.lib.nu.ac.th เพื่อให้คนที่สนใจเข้ามาโหลดได้ ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สำหรับการที่พัฒนาหลักคำสอนในพระไตรปิฎกซึ่งเป็นภาษาบาลี มาอ่านและบันทึกเสียงเป็นระบบเสียงดิจิตอล จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศการสื่อสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการโหลดเสียงคำอ่านพระไตรปิฎกลงในโทรศัพท์มือถือได้ด้วย

    ล่าสุด กองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ ได้ทำการพัฒนาหลักคำสอนในพระไตรปิฎกเป็นข้อมูลเสียงแล้ว 1 บท จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 คือ บทมงคลสูตร โดยได้รับเกียรติจากนายสิริ เพ็ชรชัย ประธานกองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ ซึ่งถือเป็นผู้ที่สอบผ่านเปรียญธรรม 9 ประโยค ได้เป็นคนแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นผู้อ่านให้

    ในขณะเดียวกัน ทางหอพระไตรปิฎกนานาชาติ จุฬาฯ กำลังดำเนินการคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมมาอ่านภาษาบาลีในพระไตรปิฎก ฉบับสังคายนาสากลฯ ในเล่มอื่นๆ ด้วย

    "นับเป็นความสำเร็จรายแรกของโลก และเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีธรรมะ ที่มีการอ่านหลักคำสอนในพระไตรปิฎกมาพัฒนาเป็นระบบเสียงดิจิตอล และนอกจากการทำเป็นระบบเสียงแล้ว ทางกองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ ยังพัฒนาเป็นภาพคลิปวิดีโอสั้นๆ ประมาณ 3-4 นาที เพื่ออธิบายตามหลักคำสอนของพระไตรปิฎกในบทนั้นๆ ด้วย ซึ่งจะสามารถโหลดได้ทาง http://tipitaka.lib.nu.ac.th ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเช่นกัน" นายพงศ์เอกกล่าว

    ด้านนายอรรณพ คุณาวงษ์กฤต ประธานสภาพระไตรปิฎกสากล กล่าวว่า สำหรับจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคำสอนในพระไตรปิฎก เป็นระบบเสียงและคลิปวิดีโอนี้ เพื่อเพิ่มช่องทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สากล และเพื่อให้ทุกคนสามารถฟังธรรมะได้ทุกที่โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและสารสนเทศต่อไป

    ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาพระไตรปิฎกยุคใหม่แก่มวลชาวโลกอย่างแท้จริง
     
  2. tassanai_k

    tassanai_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,518
    โมทนา สาธุ

    น่าชื่นใจนะครับ เพื่อเป็นการเผยแผ่ศาสนาให้ดำรงสืบต่อไป
     
  3. jomr0547

    jomr0547 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2006
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +261
    โมทนาด้วยครับ
     
  4. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,702
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,015
    พัฒนาพระไตรปิฎกที่พลังจิต ก็จะพัฒนา version นี้ด้วยในอนาคต
    แล้วนำเสียงอ่านที่โครงการของ http://tipitaka.lib.nu.ac.th
    ได้อ่านไว้แล้ว นำมาลงในพระไตรปิฎกเว็ปเรา
     
  5. onewayjesus

    onewayjesus สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    อยากอ่านพระไตรปิฏกเล่มหลัง ๆ บ้างจัง

    อ่านแต่เล่มหน้า ๆ หรือเล่มกลาง ก็ได้แต่คำสอน หากว่าได้อ่านเล่นใกล้จะนิพพาน คงจะเข้าใจอะไรบ้างล่ะ ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย
     
  6. avicha

    avicha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +472
    ของผมใช้ PDA ครับ เเปลงไฟล์เป็น E-Book มีพระไตร 45 เล่มติดกระเป๋าทุกวันเลย อ่านมาได้ 11 เล่มเเล้วครับ ว่างๆก็ควักมาอ่าน อิอิอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...