พลังจิต และอิทธิปาฏิหาริย์ ควรสนใจหรือไม่เพียงใด?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 1 พฤษภาคม 2009.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]


    บ่อยครั้งที่พบว่าคนเป็นจำนวนมากที่มาปฏิบัติธรรมในวัด แต่กลับให้ความสนใจในเรื่องพลังจิตและอิทธิปาฏิหาริย์มากกว่าการปฏิบัติธรรมจริงๆ

    ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่สนใจในเรื่องสมาธิและนั่งสมาธิตั้งแต่อายุเพียง 10 กว่าขวบ โดยเริ่มต้นจากวันหนึ่ง ขณะที่ค้นดูหนังสือของผู้ปกครองก็ไปพบหนังสือฝึกนั่งสมาธิของพระชื่อดังเล่มหนึ่ง เปิดดูก็พบภาพการนั่งสมาธิขวาทับซ้าย ตัวตรง หลับตา และภาวนา ผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อได้พบภาพเช่นนั้นก็เกิดความสนใจมาก ประทับใจในสรรพคุณของการนั่งสมาธิ ซึ่งได้ระบุว่านั่งแล้วหากจิตสงบได้นานก็จะสามารถเห็นโน่นเห็นนี่ มีพลังจิต สามารถมีหูทิพย์ ตาทิพย์ หายตัว เหาะเหินเดินอากาศ น่าสนุกเหลือเกิน สรรพคุณเหล่านี้ทำให้ผู้เขียนเลื่อมใส และทดลองปฏิบัติดูบ้าง ชะรอยคงมีบุญเก่าอยู่บ้างจึงนั่งสมาธิแล้วเห็นโน่นเห็นนี่ สนุกเพลิดเพลินดี เป็นการนั่งสมาธิครั้งแรก รู้สึกจิตสงบดี การเห็นดังกล่าวทำให้ติดใจ และมีความเข้าใจว่าการนั่งสมาธินั้น ก็เพื่อที่จะให้มีพลังจิตเป็นมนุษย์เหนือมนุษย์ ตามประสาเด็กๆ ตั้งแต่นั้นมาก็นั่งสมาธิแบบนี้มาเรื่อยๆ ธรรมะจริงๆ เป็นอย่างไรก็ไม่รู้ รู้แต่เรื่องสมาธิ คาถาอาคม ผู้เขียนสนใจมาตลอดจนกระทั่งโต ก็ยังนั่งสมาธิแบบมีกิเลส มีประสบการณ์ต่างๆ นานา บางครั้งก็ตกภวังค์ คววามรู้สึกตัวหายไปเลย บางครั้งก็รู้สึกตัวเบาตัวลอย แต่เมื่อออกจากสมาธิ จิตใจก็ยังเหมือนเดิม คือมีกิเลสเหมือนเดิม บางครั้งกิเลสมากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก
    ในช่วงหนึ่งของชีวิตได้มีโอกาสเรียนรู้การนั่งสมาธิแบบธิเบตจากหนังสือเล่มหนึ่ง ผู้เขียนเกิดความสนใจมาก จึงทดลองปฏิบัติดู ซึ่งก็ได้ผล สามารถทำสมาธิแบบธิเบตได้

    ที่เล่าให้ฟังก็เพราะอยากจะบอกว่าถ้าจะพูดถึงเรื่องสมาธิหรือเรื่องพลังจิตแล้วเป็นเรื่องที่มีอยู่จริง ใครฝึกสมาธิถึงขั้นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ (สมาธิอย่างละเอียด) ก็สามารถนำเอาสมาธิที่เกิดจากความสงบไปใช้ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เช่นกัน แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ทำได้หรือไม่ได้ แต่อยู่ที่ว่าทำดีหรือไม่ดี ทำแล้วอันตรายหรือไม่ และเป็นทางที่ควรจะมุ่งหรือหลีกเลี่ยง
    คนทั่วไปมักจะตื่นเต้นที่จะศึกษาทดลองในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์หรือพลังจิต จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวพุทธส่วนมากยังยึดติตอยู่กับไสยศาสตร์ เครื่องรางของขลัง จนพากันหลงเข้าใจว่านั่นคือธรรมะ ผู้คนไปวัดเพื่อขอพระเครื่อง ไปดูหมอ ไปลงนะหน้าทอง แต่ไม่เคยรู้เลยว่าธรรมะที่แท้จริงคืออะไร
    ถ้าจะเปรียบเหมือนการเดินทาง ทั้งที่มีจุดมุ่งหมายที่จะเดินทางไปยังสิ่งที่ดีงามคือนิพพาน (การพ้นทุกข์) แต่เมื่อเดินทางไปพักเดียวก็เจอบ้านที่สวยงามหลังหนึ่งอยู่ข้างทาง ก็เลยแวะบ้านหลังนั้น เมื่อเข้าไปในบ้าน ปรกกฏว่ามีสิ่งต่างๆ ที่ถูกใจ เกิดความพอใจจึงเลิกที่จะเดินทางต่อไป ทำให้ไม่สามารถไปถึงจุดหมายที่ดีงามที่แท้จริงได้

    พลังจิต อิทธิปาฏิหาริย์เหล่านั้นแม้มีอยู่จริง แต่ไม่ใช่ทางที่จะทำให้พ้นทุกข์เสมอไป แต่อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติหลงติดกับอำนาจของพลังจิตนั้น เหมือนกับคนที่ว่ายน้ำและไปเจอน้ำวนก็จะถูกน้ำวนดูดให้จมลง ไม่สามารถจะฝืนแรงน้ำวนเอาชีวิตรอดได้
    การทำสมาธิจริงอยู่ จิตจะต้องผ่านขั้นตอนของปีติ เกิดอาการเห็นโน่นเห็นนี่ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องพบทุกคน เมื่อพบกับปรากฏการณ์เหล่านี้ เราไม่ควรสนใจหรือยึดติดแต่ควรผ่านไปเลย ไม่ใส่ใจกับสิ่งเหล่านี้ ทำจิตให้มีสติ พิจารณาในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้เห็นความจริงที่แอบแฝงอยู่จะดีกว่า จงออกมาจากบ้านข้างทางที่เราแวะเข้าไป เพื่อเดินทางต่อไปดีกว่า เพราะทางเดินยังอีกไกล การแวะบ้านเป็นการเสียเวลาอย่างยิ่ง

    จะขอเปรียบเทียบอีกเรื่องหนึ่งในการหลงเรื่องของพลังจิตนั้น ก็เหมือนกับว่า เราเดินทางไปเที่ยวงานวัดแห่งหนึ่งที่มีการละเล่น มีร้านค้ามากมายให้เราแวะชมได้ชั่วนาตาปี แต่ละร้านก็น่าสนใจ ตื่นเต้น แปลกใหม่ ทำให้เรานั้นติดใจหลงใหลไปเรื่อยๆ ไม่คิดที่จะออกจากงานวัดเลยจึงทำให้เสียเวลาไปอย่างน่าเสียดาย
    ก็เหมือนกับการหลงในเรื่องพลังจิต อิทธิปาฏิหาริย์ ใครบอกว่าที่นั่นมีอาจารย์ดี มีการเข้าทรงดี มีเจ้าพ่อเจ้าแม่ดี เราก็ไปหาไปเลื่อมใส หากใครจิตไม่เข้มแข็งก็มักจะถูกหลอก ซึ่งก็มีปรากฏให้เห็นบ่อยๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีจริง แต่อาจไม่ได้มีประโยชน์ต่อการพ้นทุกข์ ยิ่งจะเพิ่มทุกข์ให้ยืดยาวขึ้นอีก เหมือนตัวอย่างที่ผู้เขียนยกให้ฟังแล้วคือการไปเที่ยวงานวัด ยิ่งแวะร้านไหนก็ยิ่งสนุกตื่นเต้น แต่ไม่มีสาระอะไรเลยทำให้เราเสียเวลาและห่างทางพ้นทุกข์มากขึ้นเท่านั้น

    ทำไมถึงบอกว่าการสนใจเรื่องพลังจิตทำให้ห่างทางพ้นทุกข์ ก็เพราะเรื่องพลังจิตนี้ จิต ต้องยึดมั่นถือมั่นจึงจะเกิดผล ซึ่งเมื่อยึดมั่นแล้ว หากยึดมั่นเกินพอดีก็ยากที่จะถอดถอนหรือละวางเพื่อยกจิตไปปฏิบัติวิปัสสนา ดังที่ผู้เขียนเคยเขียนถึงความแตกต่างระหว่างสมถะกับวิปัสสนาว่า การปฏิบัติวิปัสสนานั้นต้องมีสมาธิแต่เป็นเพียงระดับกลางๆ และเมื่อจะเริ่มพิจารณาต้องลดระดับสมาธิลงมาแค่ระดับสมาธิเล็กน้อยเท่านั้น หากผู้ปฏิบัติสมาธิใช้สมาธิแนบแน่นเกินไป ก็เป็นการยากที่จะถอยลงมาเพื่อให้เกิดสติ เพราะเมื่อมีสมาธิแนบแน่นจิตจะสงบนิ่ง และเกิดพลัง เมื่อเกิดพลังแล้ว (หากไม่มีสติ) ก็จะหลงยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตน สำคัญตนผิด หรือไม่ก็เกิดความยินดีพอใจกับพลังจิตนั้น จนไม่สามารถจะถอนตัวออกได้ เหมือนกับคนที่เดินทางที่แวะบ้านข้างทาง เมื่อแวะแล้วก็จะไม่เดินทางต่อไปแล้ว เสน่ห์ของพลังจิตนี้มีมาก มีแรงดึงดูดมาก คนทั่วไปถ้าไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนเข้าใจการเกิดดับของรูปนาม จะหลงเพลิดเพลินอยู่กับพลังจิต การปฏิบัติวิปัสสนาเท่านั้นที่จะทำให้เกิดสติปัญญาแก้ความหลงผิดนี้ได้ ผู้ที่มีปัญญาจึงไม่ควรหลงใหลในเรื่องของพลังจิต เพราะหากไม่มีปัญญาแล้ว ไม่ใช่ทางที่พ้นทุกข์แน่นอน

    จะขอยกตัวอย่างของการหลงอีกเรื่องหนึ่ง สมมุติว่าคนๆ หนึ่ง ใครก็ได้ ฝึกสมาธิจนได้ผล มีพลังจิต มีจิตสงบ สามารถเห็นนรกสวรรค์ ติดต่อกับวิญญาณได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ สามารถรักษาโรค ทำนายอนาคตได้ ความสามารถเหล่านี้เมื่อเกิดกับผู้ใดแล้วทำให้ผู้นั้นเหนือกว่ามนุษย์ทั่วไป(ที่ไม่ได้ฝึก) เมื่อผู้คนรู้ก็จะยกย่องสรรเสริญ ก็จะเริ่มมีลาภสักการะ มีคนเรียกเป็นอาจารย์ มีลูกศิษย์ลูกหา ซึ่งแน่นอนคนนั้นต้องยินดีที่เป็นเช่นนี้ อย่างน้อยก็ต้องยินดีที่ได้ทำประโยชน์ให้ผู้อื่น แต่อย่างว่า คนเราสมัยนี้มีความทุกข์มากมายเหลือเกิน จึงพากันหาผู้ที่จะดับทุกข์ให้ตน ไม่นานคนนั้นอาจจะจำเป็นต้องตั้งสำนักเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น จะไม่ช่วยก็ไม่ได้ เพราะตนเองมีอำนาจวิเศษแล้ว ก็ต้องสร้างบุญบารมีเพิ่ม เมื่อมีลูกศิษย์มากขึ้น กิจการก็เจริญรุ่งเรือง และอาจเป็นธุรกิจกลายๆ ความเป็นอยู่ดีขึ้น...

    จากตัวอย่างข้างต้น เส้นทางในอนาคตของคนๆ นั้นจะเป็นอย่างไร ขอให้คิดกันเอาเอง เรื่องพลังจิตอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ส่วนที่ดีและมีประโยชน์มีอยู่ หากนำไปใช้ในทางที่ถูกที่ควรเพื่อประโยชน์ในการสร้างศรัทธา สงเคราะห์ผู้ที่มีความทุกข์ รวมทั้งการชี้ทางให้เกิดปัญญาก็ได้ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนา แต่ความเสี่ยงนั้นก็มีอยู่มากเหมือนกัน ที่ยกเรื่องนี้ก็เพราะมีความเป็นห่วงว่าพุทธศาสนิกชนจะยึดถือพลังจิต อิทธิปาฏิหาริย์ สำคัญมากกว่าธรรมะแท้ๆ ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นหากเข้าใจในเรื่องนี้แล้ว อย่างน้อยหากผู้ใดประสบกับเรื่องเหล่านี้ก็ขอให้พิจารณาให้ดีเท่านั้น พิจารณาดูว่าเรื่องดังกล่าวสวนทางกับหลักธรรมชาติหรือไม่ เป็นสิ่งที่ทำให้พ้นทุกข์หรือเพิ่มทุกข์ และถ้าเป็นสิ่งที่ทำให้ยึดมั่นในตัวตน สะสมลาภยศ ฟุ้งเฟ้ออยู่ในความสุขทางโลก คิดว่าจะทำให้มีปัญญาพิจารณาหาทางพ้นทุกข์ได้หรือไม่...น่าคิด

    ผู้ใดได้พบและเรียนรู้วิปัสสนากรรมฐานแล้ว ขอให้ท่านรู้ว่าท่านโชคดีมากแล้ว ที่ไม่หลงในเปลือกของธรรมะ ท่านได้มีโอกาสเข้าถึงแก่นธรรมะแล้ว จงศึกษาเรื่องจิต พัฒนาจิต พัฒนาสติ กำหนดอิริยาบถ พิจารณาดูสภาวธรรมที่เกิดขึ้น พยายามแยกรูปนาม แล้วท่านจะเป็นผู้โชคดี เป็นผู้ที่มีความฉลาดในชีวิตคนหนึ่ง และกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่ไม่เสียชาติเกิดเลยทีเดียว
    -------------------------------------------------------



    ที่มา http://forums.thaieurope.net/index.php?topic=215.0
     
  2. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    สมาธิทิเบตเป็นอย่างไรครับ อยากรู้อ๊า..
     
  3. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870



    มนตราทิเบต เครื่องมือฝึกสติและสมาธิ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TD vAlign=top align=left>วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11309 มติชนรายวัน


    มนตราทิเบต เครื่องมือฝึกสติและสมาธิ

    โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช



    [​IMG]ธงมนต์ 5 สี ประกอบด้วยสีฟ้า สีเขียว สีแดง สีขาว และสีเหลือง ที่นำชายต่อชายมาผูกร้อยเข้าด้วยกันเป็นกระโจมหลังใหญ่ โบกสะบัดเกิดเป็นเสียงกราวใหญ่ก้องไปในสายลม

    "สถูปมนต์" แห่งนี้เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติศาสนกิจ ของ ศูนย์ขทิรวัน มูลนิธิพันดารา ซึ่งศึกษาวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาในทิเบต ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    รวมทั้ง "ศาลาวสุตาราม" ศาลาอเนกประสงค์ที่อยู่ใกล้กัน ที่ใช้เป็นสถานที่นับตั้งแต่ไหว้พระ สวดมนต์ ทำสมาธิ สอนหนังสือ ฯลฯ

    บ่ายวันนี้หลังจากเสร็จสิ้นมื้อเที่ยงแล้ว ศาลาแห่งนี้จึงเป็นสถานที่สอน "ศิลปะการเขียนมนตราแบบทิเบต" โดยมีอาจารย์เยินเต็น จากทิเบต เป็นผู้สอน

    จุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อเป็นการฝึกสติและสมาธิ หนึ่งในกิจกรรม บอดี้แอนด์ไมนด์ ดีท็อกซ์ (Body&mind Detox) ที่นิตยสารวูแมน แอนด์ โฮม จัดขึ้นเป็นครั้งแรก

    พอได้เวลา สมาชิกทั้งหลายมาชุมนุมกันบนศาลา รับอุปกรณ์การเขียน ซึ่งก็คือ กระดาษ น้ำหมึก และปากกาไม้ไผ่ ต่างตั้งอกตั้งใจเขียนกันอย่างเต็มที่

    ขณะที่อาจารย์เยินเต็นหยิบชอล์กแสดงการเขียนตัวอักขระโบราณ ที่เรียกว่า "คัลลิกราฟี" (Calligraphy) ลงบนกระดานดำที่ตั้งบนขาหยั่งด้านหน้าลูกศิษย์ที่มารวมตัวกันอย่างเฉพาะกิจโดยมีเบาะเล็กๆ รองนั่งอยู่กับพื้นศาลา พร้อมกับโต๊ะตัวน้อยคนละตัว

    แม้ว่าคอร์สวันนี้บรรดานักเรียนจะหัดเขียนเพียงแค่คำว่า "โอม อา หุง" แต่การใช้ปากกาไม้ไผ่หัวตัด เขียนตัวอักขระให้มีความหนาบางตามจังหวะให้ได้สวยงามนั้นไม่ใช่ง่าย กระนั้น ทุกคนก็ตั้งใจกันอย่างเต็มที่ แล้วยกขึ้นอวดกันอย่างภาคภูมิใจ

    รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ ประธานมูลนิธิพันดารา อธิบายให้ฟังถึงคอร์สการเขียนอักขระโบราณว่า ภาษาทิเบตนั้นมีตัวอักษร 30 ตัว มีสระ 4 ตัว แต่วันนี้สอนเขียนคำว่า "โอม อา หุง" เพราะหัวใจของศาสนาพุทธทั้งหมดอยู่ที่คำนี้
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD style="COLOR: #ffffff">[​IMG]
    (บน) สถูปมนต์ในศูนย์ขทิรวัน ที่หัวหิน (ล่าง) อาจารย์เยินเต็นสอนการเขียนคัลลิกราฟี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "โอม อา หุง" หมายถึง กาย วาจา และใจของพระพุทธเจ้า (โอม-กาย อา-วาจา หุง-ใจ) โดยเสียง อา นั้นถือเป็นเสียงเดิมแท้ คือมีมาแต่ดั้งเดิม เช่น เด็กเล็กเวลาที่หิวหรือดีใจมักจะออกเสียง อา ฉะนั้น เวลาที่ฝึกเขียนคำว่า "โอม อา หุง" ก็จะนึกถึง กายวาจาใจของพระพุทธเจ้า คือ กายที่ใสบริสุทธิ์ วาจาที่ปราศจากการพูดว่าร้าย การพูดมุสาทั้งหลาย และใจที่ปราศจากการคิดร้ายต่อผู้อื่น"

    รศ.ดร.กฤษดาวรรณอธิบายเพิ่มเติมว่า "คนไทยอาจจะคุ้นกับการเขียนตัวอักษรจีนด้วยพู่กัน ซึ่งก็เป็นคัลลิกราฟีแบบหนึ่ง แต่คอร์สนี้เลือกใช้ปากกาไม้ไผ่ซึ่งเป็นการเขียนแบบโบราณ เพราะเขียนยากกว่า เท่ากับเป็นการฝึกสมาธิด้วย"

    การเขียนคัลลิกราฟี จึงเป็นมากกว่าการคัดลายมือ เพราะโยงถึงการฝึกสมาธิด้วย บางรายนำวิธีนี้ไปใช้เมื่อรู้สึกเครียด เกิดความวิตกกังวล และพบว่าเมื่อนั่งเขียนไปเรื่อยๆ จะรู้สึกผ่อนคลาย จากที่เคยโกรธเพื่อนก็โกรธน้อยลง

    "เวลาขีดเส้นแต่ละเส้นให้ดูว่าจิตเราอยู่ที่ไหน ใจอยู่ที่ไหน เมื่อเส้นเริ่มต้นลากไปจนถึงตรงกลางจนถึงสุดท้าย ใจเราอยู่ตรงนั้นหรือเปล่า ถ้าใจมุ่งที่อักขระสมาธิจะเกิด ฉะนั้น การเขียนให้งดงามต้องใช้ความพยายาม แต่ก็ต้องผ่อนคลายด้วย คือทำอย่างมีความสุข ซึ่งในทิเบตพระสงฆ์จะได้รับการฝึกเขียนคัลลิกราฟีเป็นประจำ

    "คัลลิกราฟีนอกจากจะใช้เขียน "มนตรา" แล้ว ยังใช้เขียนคำที่มีความหมายดีๆ เช่น คำว่า "กรุณา" ดังเช่นพระอาจารย์ทิเบตที่นิยมเขียนคัลลิกราฟีให้กับลูกศิษย์ เป็นการแทนความคิดผ่านปากกาไม้ไผ่
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD style="COLOR: #ffffff">[​IMG]
    (จากซ้าย) สอนการเขียนอักขระอย่างใกล้ชิด, มือใหม่หัดเขียน, รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ ประธานมูลนิธิพันดารา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "เราไม่ได้สอนภาษาทิเบต แต่สอนเขียนอักขระศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้นึกถึงสิ่งที่อักขระศักดิ์สิทธิ์ถ่ายทอด แล้วฝึกให้เขาได้มีวิริยะในการทำสิ่งนี้ มีจิตที่ไม่วอกแวก ถ้าทำดีมากๆ จะเป็นสิ่งสวยงาม เห็นแล้วมีความสุข เป็นบุญตาของคนที่ได้เห็น"

    ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันมีผู้ที่สามารถเขียนคัลลิกราฟีไม่มาก อย่างบางหมู่บ้านในทิเบตจะมีไม่กี่คนที่เขียนได้ เวลาที่มีงานคนที่เขียนคัลลิกราฟีก็จะได้รับการไหว้วานให้ช่วยเขียนคำดีๆ ให้

    เช่นเดียวกับตามวัดหลายๆ แห่งที่มีพระบางรูปทำหน้าที่คัดคัมภีร์โบราณ โดยถือว่าเป็นการทำเพื่อสั่งสมบุญบารมีนั่นเอง

    ประธานมูลนิธิพันดารา เล่าถึงระบบการศึกษาของชาวทิเบตว่า แม้ว่าวัดจะยังคงทำหน้าที่เป็นเสมือนสถานที่ให้การศึกษา แต่ปัจจุบันด้วยค่านิยมของชาวทิเบตเกี่ยวกับการศึกษาเปลี่ยนไป คนส่วนมากอยากเรียนภาษาจีนมากกว่าภาษาทิเบต ขณะเดียวกัน ถ้าพ่อแม่เลือกได้ก็จะไม่ส่งลูกไปเรียนภาษาทิเบต แต่ส่งไปเรียนในเมืองใหญ่ของจีน เพื่อว่าลูกจะได้มีงานดีๆ ทำ มีอนาคตที่ไกล

    "ชาวทิเบตยังคงใช้ภาษาทิเบตพูดคุยสื่อสารกัน โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกที่ยังเหนียวแน่นกับการใช้ภาษาทิเบต ถ้าที่เมืองใหญ่อย่างลาซา จะพูดทั้งภาษาจีนและภาษา (ทิเบต สำเนียง) ลาซา แต่มักจะเขียนไม่ได้"

    สำหรับ อาจารย์เยินเต็น ผู้ประสานงานของมูลนิธิ และเป็นอาจารย์สอนภาษาทิเบตนั้น อุปสมบทตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เพราะในทิเบตนั้นการบวชเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อๆ กันมานานนักแล้ว เป็นเหมือนสัญญาของเด็กผู้ชาย โดยเฉพาะครอบครัวใดมีลูกชายหลายคน จะให้ลูกชาย 1 คนถือบวชไปตลอดชีวิต เพื่อให้วัดมีผู้สืบต่อพระศาสนา จึงมีไม่น้อยที่เมื่อบวชแล้วจะบวชไปตลอดชีวิต

    อาจารย์เยินเต็นย้อนเล่าถึงชีวิตเมื่อครั้งที่ยังอยู่ในสมณเพศว่า แม่พาไปบวชตั้งแต่ยังเป็นเด็กน้อย ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม ยังไม่มีวัดเป็นกิจจะลักษณะเช่นทุกวันนี้ การเรียนเขียนคัลลิกราฟีจึงเป็นการฝึกด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากการเรียนไวยากรณ์ เรียนกวีนิพนธ์จนสามารถแต่งบทกวีได้เอง จึงเริ่มหัดเรียนคัลลิกราฟี

    อาจารย์เยินเต็นบวชมา 27 ปี เพิ่งลาสิกขามาไม่นานก่อนจะมาเป็นผู้ช่วยทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับทิเบตศึกษา รวมทั้งเป็นอาจารย์สอนภาษาทิเบตที่มูลนิธิพันดารา

    "ชาวทิเบตที่เขียนหนังสือเป็น ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเขียนคัลลิกราฟีได้ เพราะการเขียนคัลลิกราฟีเป็นมากกว่าการคัดลายมือ เป็นสิ่งที่โยงไปถึงการทำสมาธิ เป็นการบ่มเพาะสิ่งดีๆ ในใจ"

    ส่วนการนำการเขียนมนตรามาสอนในกิจกรรมครั้งนี้ รศ.ดร.กฤษดาวรรณบอกว่า เป็นการนำมาประยุกต์ใช้กับการทำสมาธิ ซึ่งถ้าฝึกบ่อยๆ จะทำให้มีจิตที่นิ่งมากๆ เหมือนอาจารย์เยินเต็นที่ได้ประโยชน์จากการเขียนคัลลิกราฟี

    สำหรับคนที่สนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับทิเบต มูลนิธิพันดารายินดีต้อนรับ เพราะความรู้เกี่ยวกับทิเบตศึกษาในเมืองไทยยังมีการเผยแพร่น้อยมาก และด้วยเหตุนี้มูลนิธิพันดาราจึงก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความรู้เรื่องนี้โดยตรง ลองเปิดเข้าไปทำความรู้จักก่อนก็ได้ที่ http://thousandstarfoundation.blogspot.com

    "อยากให้มีคนที่สนใจเรื่องทิเบตศึกษากันมากๆ" ประธานมูลนิธิพันดารา บอกความตั้งใจ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]


    การฝึกสมาธิตามแบบธิเบต นอกจากต้องการจิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว ยังต้องการอำนาจจิตด้วย รูปแบบการฝึกจึงมุ่งเพ่งความคิดให้แน่วแน่ลงไปในสิ่งเดียว หากสามารถรวมพลังจิตทำนองเดียวกับการรวมแสงอาทิตย์ จะทำให้ได้พลังจิตอย่างมหาศาล[๑๓]

    การปฏิบัติสมาธิจะต้องหลอมรวมร่างกาย ความคิด และประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน ด้วยดวงจิตที่มีสติควบคุมจดจ่อ เป็นอารมณ์เดียว และจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้ครบถ้วน จึงจะบังเกิดผลขึ้นมาได้ในเวลาอันควร การปฏิบัติทุกขั้นตอนจะต้องไม่รีบร้อน ให้ทำแบบช้า ๆ เพื่อให้ทั้งร่างกาย ความคิด และประสาทสัมผัส สามารถผสมผสานเข้าสู่กระบวนการได้อย่างถูกต้อง และผลที่เกิดขึ้นจะได้ไม่ขาดตกบกพร่อง[๑๔]

    ขั้นตอนการฝึกสมาธิ มีดังนี้

    ๑. การพักผ่อน

    ๒. การกำหนดลมหายใจ

    ๓. การฝึกความสงบ

    ๔. การภาวนา

    ๕. การเพ่งกสิณ

    การดำเนินการปฏิบัติสมาธิ ควรปฏิบัติเรียงลำดับไป โดยก่อนเริ่มปฏิบัติ จะให้ผู้เรียนอธิษฐานจิตเสียก่อน เพื่อเป็นการแสดงความตั้งใจจริงในการปฏิบัติและต้องการให้เกิดผลดีตามมาด้วย

    คำอธิษฐาน[๑๕]

    ขอให้วันนี้และวันต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะควบคุมและกำหนดความนึกคิดทั้งหมด

    ขอให้วันนี้และวันต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะควบคุมจิตปรารถนาและความนึกคิด เพื่อประโยชน์เกิดเป็นความบริสุทธิ์ของดวงวิญญาณ

    ขอให้วันนี้และวันต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะควบคุมมโนภาพและความนึกคิด เพื่อประโยชน์อันเป็นความสำเร็จในการปฏิบัติจิตของข้าพเจ้า

    จากการอธิษฐานจิตตามข้อความข้างต้น ก็จะมาถึงขั้นตอนแรกคือ

    การพักผ่อน

    การพักผ่อนร่างกายให้เต็มที่ก่อนการภาวนา คือการนอนเหยียดแขน ขา ออกไปในท่าที่สบายที่สุด แต่ไม่ควรให้สบายมากถึงขนาดนอนหลับไป การตื่นขึ้นตอนเช้ามืดจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของการปฏิบัติสมาธิเพราะร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในระหว่างการนอนหลับตลอดคืน

    วิธีการนอนพักของชาวธิเบต เป็นการฝึกให้สร้างมโนภาพในขณะนอนว่าในตัวของเราเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีคนตัวเล็กอยู่เต็มไปหมด ขณะนี้โรงงานนี้จะปิดกิจการชั่วคราว เครื่องจักรจะหยุดทำงานทั้งหมด และคนงานต้องทยอยกันออกจากโรงงาน เป็นการผ่อนคลายร่างกายที่ละส่วนทั้งหมด โดยเริ่มจากปลายนิ้วเท้าก่อน ตลอดจนไปถึงลำตัว และศีรษะ วิธีนี้จะทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และจะต้องฝึกอย่างนี้จนสามารถนอนหลับได้ทันทีเมื่อล้มตัวลงนอน ทั้งนี้เพื่อการพักผ่อนที่แท้จริง แม้แต่ท่านจะมีเวลานอนหลับเพียงระยะสั้น ๆ ก็ตาม[๑๖]

    การกำหนดลมหายใจ

    เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการปฏิบัติสมาธิ เพื่อผ่อนคลายความเครียดทางจิตใจ และเพื่อฝึกการกำหนดรู้ของสติสัมปชัญญะ

    การสูดลมหายใจให้ลึก และเป็นจังหวะสม่ำเสมอ วิธีการคือ ให้สูดลมเข้าไปอย่างช้า ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วกลั้นลมไว้ภายในสัก ๒-๓ วินาที แล้วค่อยระบายลมออกอย่างช้า ๆ สิ่งสำคัญก็คือจะต้องมีสติ ตามกำหนดรู้กองลมตลอดสายคือรู้ลมเข้า รู้ลมกลั้นอยู่ภายใน และรู้ว่าลมกำลังระบายออกมาให้ทำซ้ำ ๆ เช่นนี้หลายครั้ง จะรู้สึกว่าทั้งร่างกายและความคิด เมื่อติดตามกองลมอยู่เสมอ จิตใจจะค่อย ๆ สงบลงไปได้[๑๗]

    การฝึกความสงบ

    การฝึกความสงบ สามารถฝึกได้ทั้งอิริยาบถนั่งหรือนอนก็ได้ แต่ให้เป็นอิริยาบถที่สบาย พยายามให้ความคิดในใจหยุดนิ่งที่สุด มีคำพูดที่สอนกันต่อ ๆมาในธิเบตว่า ìBe still and Kniw I withinî ซึ่งอาจแปลความว่า ìถ้าสงบได้จริง ๆ แล้ว จะทราบได้ว่า ตัวเราอยู่ภายในนี่เองî ในขณะที่ฝึกความสงบนี้ให้ละความกังวลใจออกไป แล้วจะเห็นผลภายในเวลาเพียงเดือนเดียวว่า ความรู้สึกนึกคิดพวกเราเปลี่ยนไปในทางที่เข้มแข็งขึ้น และการจะให้จิตวิญญาณ พัฒนาได้เร็ว จะต้องทำความเข้าใจกับความสงบให้ดี การพูดน้อยลงหรือพูดเท่าที่จำเป็นก็เป็นสิ่งส่งเสริมในการพัฒนาจิตใจ[๑๘]

    ในระหว่างขั้นตอนของการฝึกความสงบ หรือ ก่อนจะเลิกการอบรมมีข้อแนะนำให้รวบรวมสมาธิจิต เพื่อแผ่เมตตาตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

    ๑. เริ่มต้นด้วยการคิดถึงความรัก ความรักที่มีต่อตนเอง ต่อคนอื่น ตลอดจนแผ่ความรัก ไปยังสัตว์ทั้งหลายอย่างไม่กำหนดขอบเขต เท่าที่เวลาและกำลังสมาธิของท่านจะทำได้

    ๒. หลังจากได้แผ่การะแสจิตระลึกถึงผู้ที่กำลังตกทุกข์ได้ยากทั้งหลาย โดยจะต้องตั้งใจนึกให้เขาเหล่านั้นพ้นจากความทุกข์ เป็นกระแสพลังที่ต้องการปลดไถ่โทษให้แก่สัตว์ทั้งหลาย[๑๙]

    ๓. เป็นการตั้งความคิดแผ่ความสุขนี้ไปยังสัตว์ทั้งหลาย อนึ่งนอกจากความสุขที่แผ่ออกไปแล้ว อาจนึกยินดีกับความดีงามที่เกิดกับมนุษย์ที่ปฏิบัติดีว่าเป็นเรื่องที่ดี เรื่องที่น่าจะน้อมอนุโมทนา เห็นด้วยกับความสุขความดีงามของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น

    ๔. เป็นการแผ่เมตตาของผู้ที่สำเร็จสมาธิจิต ขั้นที่เกิดความสงบ ความวิเวกในดวงจิต ใจของผู้ที่ยกสู่ความสงบในขั้นฌาน จะปล่อยวาง ความเกลียดและความรักในระดับโลกีย์ เป็นจิตที่ยอมรับว่าชีวิตจะต้องเป็นไปตามกรรม กระแสเมตตาของสมาธิระดับนี้จะเป็นกระแสที่ร่มเย็น มีความแรงของจิตที่แผ่ออกไปได้กว้างขวาง[๒๐]

    การภาวนา

    เป็นการสาธยายมนตราซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง ซึ่งคำภาวนาที่นิยมมีหลายคำ โดยท่านลามะอาจารย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับจริตของผู้ปฏิบัติ ตัวอย่างคำภาวนาเช่น โอม มณีปัทเม หุม[๒๑]

    การภาวนาเพียงสองสามครั้งจะไม่เพียงพอให้เกิดพลังจิตที่จะไปผลักดันให้ดวงจิตภายในตื่นขึ้นมาได้Ý แต่ต้องภาวนาโดยการตั้งใจจริงและทำสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นให้จิตชั้นในเริ่มตื่นขึ้นมารับรู้[๒๒] บางครั้งก็ใช้เครื่องช่วยในการภาวนาของชาวธิเบต เป็นกงล้อกลมหมุนได้มีแกนกลางและหมุนลอกรวมร้อยแปดจุด เมื่อภาวนาครบหนึ่งคาบ นักปฏิบัติก็จะหมุนกงล้อไปหนึ่งครั้ง เหมือนกับการชักลูกประคำของชาวฮินดู จิตจะต้องจดจ่ออยู่กับคำภาวนาและจำนวนคาบที่ได้ภาวนาไปแล้ว สติสัมปชัญญะจะต้องตื่นอยู่เสมอเพื่อไม่ให้หลงลืมจำนวนครั้ง[๒๓]

    การเพ่งกสิณ

    การเพ่งกสินของชาวธิเบต[๒๔]มีหลายแบบ แต่ที่นิยมมากก็คือการเพ่งแสงสว่าง ที่เรียกกันว่า ìอาโลกกสิณî ทั้งนี้ ครูอาจารย์ธิเบตสมัยก่อนวางแนวไว้ให้ลูกศิษย์เดินตามเรียงลำดับขั้นไป[๒๕]

    ขั้นแรก ผู้เขาฝึกจะต้องผ่านการสอบอารมณ์จากท่านลามะอาจารย์มาแล้ว ว่าระดับสมาธิก้าวเข้าสู่ขั้นกลาง (อุปจารสมาธิ) เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะก้าวมาฝึกให้ได้สมาธิในขั้นสูง (อัปปนาสมาธิ) ดังนี้

    การเพ่งดูภาพตนเองในกระจกต้องทำหลังจากการพักผ่อนสักครู่ เมื่อจิตรวมลงสู่ความสงบด้วยแสงไฟ ท่านั่งในอาการสงบเพ่งดูรอบศีรษะและคอของตนเอง หากจิตสงบพอจะเห็นรังสีเล็ก ๆ ตามขอบศีรษะ ลำคอ และร่างกายโดยทั่วไป สิ่งสำคัญจะต้องใจเย็นรีบร้อนไม่ได้ เพราะเรื่องสมาธิจิตขึ้นอยู่กับความตั้งในและความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ[๒๖]

    ขั้นที่สอง หลังจากที่ได้ฝึกเพ่งกสิณในขั้นแรกได้สำเร็จ เกิดผลตามสมควรแล้ว จึงเริ่มตนฝึกขั้นต่อไป

    การเพ่งลูกแก้วโดยที่ถูกต้องจะต้องเพ่งกสิณตลอดเวลา จนเกิดอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต สำหรับการฝึกในขั้นต้น จะฝึกสร้างดวงกสิณของลูกแก้วภายในใจก่อนเมื่อสามารถจดจำลักษณะลูกแก้วได้อย่างชัดเจนแล้ว สามารถสร้างมโนภาพจนจิตเกิดพละกำลังพอเพียงแล้ว จึงมาเริ่มฝึกโดยวิธีลืมตาดูลูกแก้ว เพื่อให้จิตแน่วแน่เข้าสู่อัปปนาสมาธิ[๒๗]

    สรุปแล้วการฝึกสมาธิแบบธิเบต เป็นการฝึกโดยเริ่มต้นจากความผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ แล้วค่อยฝึกลมหายใจให้ยาวและลึก พร้อมกับคำภาวนา เมื่อใจสงบดีแล้วก็มาฝึกเพ่งกสิณกันต่อ ซึ่งกสินที่ชาวธิเบตนิยมทำกันมากก็คือ กสินแสงสว่าง และการเพ่งลูกแก้ว โดยมุ่งให้เกิดอำนาจทางจิตมี ตาทิพย์ เป็นต้น


    http://dou_beta.tripod.com/MD101_03_th.html <!-- / message -->
     
  5. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    มรณสติแบบธิเบต


    ความตายเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในพุทธศาษสน์ศึกษา เป็นเรื่องจำเป็นต่อการเรียนรู้ วิธีบรรลุมรรควิถีแบบพุทธมีอยู่ ๓ วิธี คือ หินยาน มหายาน และวัชรยาน ทั้ง ๓ วิธีต่างก็มีการฝึกฝนให้มีมรณสติ เพียงแต่มีวิธีการปลีกย่อยต่างกันเท่านั้น "ตรีมูล"

    มรณสติหมายถึงการพิจารณาสิ่ง ๓ สิ่งคือ

    ๑.ธรรมชาติอันแท้จริงของความตาย
    ๒.ความไม่แน่นอนของเวลาตาย
    ๓.เมื่อถึงเวลาตายไม่มีอะไรเลยที่มีคุณค่าอย่างแท้จร ิงนอกจากการฝึกจิต
    สิ่งทั้งสามนี้เรียกว่า"ตรีมูล"

    ๑.การพิจารณาธรรมชาติอันแท้จริงของความตาย
    ๑.๑พระยามัจจุราชจะมาทำลายเราวันใดวันหนึ่งอย่าง แน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว ไม่มีอะไรต้านได้
    ๑.๒เวลาของเราล่วงพ้นไปทุกที ชีวิตของเรา ก้าวเข้าสู่จุดจบทุกขณะ
    ๑.๓ในชั่วชีวิตของเรา เราให้เวลากับความเพียรทางจิต น้อยมาก "ผู้ที่มีอายุถึง ๖๐ ปี หลังจากที่หักลบเวลานอน กิน แสวงหาปัจจัยสี่ และอื่นๆ เช่น กิจกรรมบันเทิงต่างๆออกไปแล้ว จะมีเวลาเหลือเพียง ๕ ปีสำหรับการบำเพ็ญเพียรทางจิต เวลาส่วนนี้อาจสูญไปกับการปฏิบัติที่ ผิดพลาดอีกด้วย"

    ๒.การพิจารณาความไม่แน่นอนของเวลาตาย
    ๒.๑ไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาว แก่เฒ่า หรืออยู่ในวัย กลางคนก็ตาม ความตายย่อมมาเยือนได้เสมอ ในเมื่อความตายมาถึงได้ทุกขณะ เราจึงต้องระลึกรู้อยู่เสมอว่าเราอาจตายเมื่อใดก็ได้
    ๒.๒สาเหตุของความตายมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน แต่เครื่องยังชีพมีอยู่น้อยมาก เครื่องยังชีพนั้นก็อาจเป็นสาเหตุให้เราตายได้ เช่นอาหารอาจเป็นพิษ บ้านอาจถล่ม เราอาจต้องเสียชีวิตในระหว่างการแสวงหาปัจจัยสี่ หรือระหว่างการปกป้องทรัพย์สินของเรา
    ๒.๓ ร่างกายของเราล้วนเปราะบาง ความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในสิ่งแวดล้อมของเราหรื อในระบบภายในร่างกายของเรา ก็อาจทำให้เราตายได้

    ๓.การพิจารณาว่าเมื่อถึงเวลาตายไม่มีอะไรเลยที่มีคุณ ค่าอย่างแท้จริงนอกจากการฝึกจิต
    ๓.๑ แม้ว่าเราจะแวดล้อมอบอุ่นไปด้วยมิตรสหายนับร้อย แต่ย่อมไม่มีใครสักคนติดตามเราไปได้ในมรณภูมิ
    ๓.๒ แม้เราจะมีทรัพย์สินมากมาย เมื่อตายไปแล้วก็เอาไปไม่ได้สักเศษธุลี เราต้องก้าวสู่มรณภูมิอย่างเปล่าเปลือยและโดดเดี่ยว
    ๓.๓ร่างกายจะถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง ไม่มีสิ่งใด สืบเนื่อง ยกเว้นกระแสจิตสำนึกและกรรมดีกรรมชั่วที่จิตพาไปเท่า นั้น ในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่ หากเราผูกพันอยู่กับทรัพย์สมบัติ เราย่อมใช้ชีวิตอยู่อย่างสูญเปล่าและสร้างแต่กรรมชั่ ว จิตของเราจะมีแต่ความทุกข์โทมนัส ราวกับบุคคลที่เพิ่งรู้ตัวว่าได้ดื่มยาพิษเข้าไปนานจ นสายเกินแก้ เราจึงควรตั้งใจมั่นแต่บัดนี้ แม้จะต้องเสี่ยงชีวิตก็ตามว่า เราจะไม่ยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลของ โลกธรรมแปด เราต้องหลีกเลี่ยงประโยชน์สุขทางโลก เช่นเดียวกับหลีกเลี่ยงสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย
    ข้อเสียของการละเลยมรณสติ

    ๑.ทำให้ไม่สนใจการปฏิบัติธรรม ปล่อยเวลาทั้งหมดไปกับการแสวงหาโลกียสุข
    ๒.แม้เราอาจปฏิบัติธรรมอยู่บ้าง แต่ก็จะเป็นเพียงการผัดวันประกันพรุ่ง
    ๓.การปฏิบัติอาจไม่บริสุทธิ์ ปะปนกับความทะเยอทะยานในทางโลกียะ เช่นจับจ้องจะเป็นผู้มีชื่อเสียง
    ๔.แม้เราจะเริ่มต้นปฏิบัติธรรม ตอนแรกเราอาจท้อถอย
    ๕.เราอาจจะสร้างกรรมชั่วอยู่เรื่อยๆ
    ๖.เราอาจตายด้วยความเสียใจ ความตายย่อมมาถึงสัก วันหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าเราขาดสติ ความตายจะมาถึงโดยไม่รู้ตัว ในช่วงเวลาอันวิกฤตนั้น เราย่อมมองเห็นได้ว่า ทรัพย์สมบัติอำนาจ ล้วนแต่ไร้ความหมาย เมื่อเราขาด มรณสติ เราย่อมทอดทิ้งการฝึกฝนทางจิตและเหลือแต่มือเปล่า ดวงจิตก็ท่วมท้นไปด้วยความวิปโยค

    ข้อดีของมรณสติ

    ๑.ทำให้ชีวิตมีเป้าหมาย เราจะมุ่งแสวงหาความเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้ง
    ๒.มรณสติเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรงต่อความหลงผิด เช่นเดียวกับก้อนหินที่ถูกฆ้อนทุบจนแหลกละเอียด
    ๓.เป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มปฏิบัติธรรมแต่ละอย่าง เพราะทำให้เราลงมือปฏิบัติธรรมและปฏิบัติได้อย่างดี
    ๔.เป็นสิ่งสำคัญในช่วงกลางของการปฏิบัติธรรม
    พราะทำให้เรามีความพากเพียรในการปฏิบัติอย่างจริงจัง และอย่างบริสุทธิ์
    ๕.เป็นสิ่งสำคัญในตอนปลายของการปฏิบัติธรรม เพราะทำให้เราบรรลุการปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์
    ๖.เราจะตายอย่างมีความสุข และปราศจากความเสียใจแต่อย่างใด

    ย่อสาระสำคัญจากหนังสือ "มรณสติแบบธิเบต" โดย แววตะวัน
    เกลน เอช. มุลลิน เขียน

    ภัทรพร สิริกาญจน แปลและเรียบเรียง
    ศูนย์ไทย - ธิเบตศึกษา โทร. 223 - 4915 ,222 -5696-8
     
  6. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ตำนานลี้ลับ มัมมี่ ธิเบต


    เหนือขึ้นไปยังเทือกเขาหิมาลัย ยังคงมีความน่าพิศวงที่สูญหายจากหน้าประวัติศาสตร์ของธิเบต
    ความจริงที่ยังคงรอการขุดค้น เพื่อเปิดเผยความลับเกี่ยวกับจิตใจมนุษย์ที่ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนเราในปั
    จจุบัน


    ณ ดินแดนที่สูงถึง 12,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล มีการขุดค้นพบศพมัมมี่ของชายชาวธิเบตในท่านั่งสมาธิ ในสภาพที่สมบูรณ์แบบและปรากฏดวงตาข้างขวาจ้องมองอยู่มาชั่วกาลนาน ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดที่รู้ความเป็นมาของมัมมี่ตนนี้ แต่คนท้องถิ่นก็นับถือร่างของเขาดุจดังเทพเจ้า เขาคือใครกันและร่างของเขาอยู่มาได้อย่างไรจนถึงปัจจุบัน


    ปรากฏการณ์ความลึกลับนี้ทำให้วิคเตอร์ แมร์ หนึ่งในสุดยอดผู้วชาญระดับโลกเกี่ยวกับมัมมี่และทีมงานนักวิทยาศาสตร์ตัดสินใจเ
    ข้าไปไขปริศนานี้ เป็นไปได้หรือที่มนุษย์ผู้หนึ่งสามารถดองศพตนเองไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยตนเอง


    ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงเดินทางไปยังสถานที่นั้น พร้อมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ล่าสุด และส่งผลทดสอบต่อไปยังห้องปฏิบัติการอันดับหนึ่งของโลก การสืบสวนได้เปิดเผยความลับของการนั่งสมาธิว่าสามารถทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารของร
    ่างกายลดลงถึงร้อยละ 40 ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในวัฒนธรรมโบราณนี้เองที่ทำให้สุขอนามัยของคนเราเปลี่ยนแปลงไปตลอ
    ดกาลจากวิธีการรักษาใหม่ๆ ที่ได้ริเริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 21



    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    .....................................................................................................................
    เชิญชม คลิปวิดีโอ ตำนานลี้ลับ มัมมี่ธิเบต ได้ที่
    http://www.palungdham.com/t1030.html

    http://www.palungdham.com/t1031.html
     
  7. neung48

    neung48 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +457
    สนใจพอขำๆอะพอได้ ถ้าหมกหมุ้นนี้เข้าขั้นยึดติ จะไปต่อไม่ได้นะเออ
     

แชร์หน้านี้

Loading...