พื้นฐานการปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อการปฏิบัติที่ได้ผล

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Phanudet, 29 ธันวาคม 2011.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง.

    <O:p</O:p
    ...แต่ทว่าการเจริญพระกรรมฐานจะเป็นกสิณก็ดี อนุสสติก็ดี หรืออสุภกรรมฐานก็ดี อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พรหมวิหาร ๔ ก็ตามทั้งหมด และเวลาขึ้นต้นใหม่ๆขึ้นเหมือนกัน การขึ้นต้นของกรรมฐานทั้งหมดก็คือ

    หนึ่งก่อนที่ทุกคนจะภาวนาหรือพิจารณาอย่างอื่นให้นึกถึงไตรลักษณญาณเสียก่อน ไตร แปลว่า สาม ญาณ คือ ความรู้ คือรู้ในลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. อนิจจัง ความไม่เที่ยง ๒.ทุกขัง ความทุกข์ ๓.อนัตตา การสลายตัว ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่าร่างกายของเรานี่มีสภาพไม่เที่ยง มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นและก็แปรปรวนค่อยๆ แก่ไป ทีละน้อยๆ ในท่ามกลาง ในที่สุดมันก็ตาย ร่างกายของเราถ้ายังทรงชีวิตอยู่เพียงใดก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ทุกข์คือความหิว ความกระหาย ความหนาว ความร้อน ความป่วยไข้ไม่สบาย การปวดอุจจาระ ปัสสาวะ การพลัดพลากจากของรักของชอบใจ ความตายที่จะมีถึงที่สุด ทั้งหมดนี้ทุกข์หมดเมื่อเราคิดอย่างนี้แล้วก็คิดว่าเราจะหนีการเกิดเพราะเกิดเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ ไอ่การทุกข์ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนี้มันมาจากการเกิด ถ้าเราไม่เกิดมันก็ไม่ตาย ถ้าเราไม่เกิดมันก็ไม่ป่วย ถ้าเราไม่เกิดมันก็ไม่หิว อย่างนี้เป็นต้น
    <O:p</O:p
    วิธีที่จะหนีความเกิดทั้งหมดนี้ เฉพาะนักเรียนหรือญาติโยมก็ตามปฏิบัติเหมือนกัน เฉพาะนักเรียนเป็นกฎปฏิบัติของโรงเรียนโดยเฉพาะ ทุกคนต้องปฏิบัติได้ เพราะก่อนจะเข้าโรงเรียนนี้ทุกคนยืนยันว่าจะปฏิบัติในคุณธรรมตามที่จะกล่าวต่อไปและเจริญกรรมฐานได้ด้วย ว่าทุกคนต้องได้มโนมยิทธิแล้วจึงเข้าโรงเรียนนี้ได้ ก็เป็นอันว่านักเรียนทุกคนก่อนจะเข้ามาก็ได้กรรมฐานคือมโนมยิทธิและก็ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามนี้ คือ
    <O:p</O:p
    สังคหวัตถุ ๔ คำว่า สังคห แปลว่า การสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มี ๔ อย่าง คือ ๑. ทาน การให้ ให้รู้จักสงเคราะห์ซึ่งกันและกันตามสมควร ๒.ปิยะวาจา พูดดี พูดเป็นที่รักของบุคคลผู้รับฟัง ๓.อัตถจริยา การช่วยเหลือการงาน เขาทำไม่ไหวเราช่วย ๔.สมานัตตตา คือไม่ถือตัวไม่ถือตน รวมความแล้วลักษณะ ๔ ประการนี้คือ ๑.รู้จักสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ๒.พูดดีเป็นที่รักของบุคคลผู้รับฟัง ๓.ช่วยเหลือการงานซึ่งกันและกัน ๔.ไม่ถือตัวไม่ถือตนซึ่งกันและกัน ถ้าทั้ง ๔ อย่างนี้ใครทำได้บุคคลนั้นจะเป็นที่รักของทุกคนที่ประสบพบเห็นและคบหาสมาคม เพราะเป็นเสน่ห์ใหญ่จับใจบุคคลผู้พบเห็นและคบหาสมาคม <O:p</O:p
    และก็คุณธรรมขั้นที่ ๒ คือ

    พรหมวิหาร ๔ คือ ๑.เมตตา ความรัก ๒.กรุณา ความสงสาร ๓.มุทิตา มีจิตอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยากัน ๔.อุเบกขา วางเฉย เมื่อตื่นเช้าเราจะมีความรู้สึกและทำกำลังใจว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั่วโลก ถ้าใครได้รับความลำบากเราจะสงสารสงเคราะห์ให้มีความสุขตามกำลัง ถ้าใครได้ดีเราจะพลอยยินดีด้วย ถ้าใครเพลี่ยงพล้ำมีความทุกข์ถ้าเราช่วยไม่ได้เราจะเฉยไม่ซ้ำเติม อันนี้เป็นคุณธรรมขั้นที่ ๒ ของนักเรียนจะต้องปฏิบัติ และญาติโยมพุทธบริษัทปฏิบัติด้วยก็ดี เพราะเป็นพื้นฐานเดิมในการเจริญพระกรรมฐานเป็นการปูพื้นฐานเพื่อการเจริญกรรมฐาน
    <O:p</O:p
    ในขั้นต่อไปคือ ศีล ๕ ร่วมกรรมบถ ๑๐
    ทางกาย ๑.ไม่ฆ่าสัตว์ ๒.ไม่ลักทรัพย์ ๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม ๔.ไม่ดื่มสุราและเมรัย

    ทางวาจา มี ๔ คือ ๑.ไม่พูดปด ๒.ไม่พูดคำหยาบ ๓.ไม่พูดส่อเสียดยุให้เขาแตกร้าวกัน คือนินทาชาวบ้าน ๔.ไม่พูดวาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์

    ทางด้านจิตใจ มี ๓ อย่าง คือ ๑.ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นใดมาเป็นของเราโดยไม่ชอบธรรม ๒.ไม่อาฆาตจองล้างจองผลาญใคร ความโกรธอาจจะมี โกรธแล้วก็แล้วกันไป ๓.ยอมรับนับถือคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและปฏิบัติตาม
    <O:p</O:p
    ทั้งหมดนี้ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทก็ดี ภิกษุสามเณรและบรรดาเด็กนักเรียนก็ตามทั้งหมด ความจริงแล้วต้องปฏิบัติได้ เพราะว่าเราเกิดมาเป็นมนุษย์เราพ้นอบายภูมิไปแล้ว ถ้าเราปฏิบัติตามกฏและคุณธรรมที่กล่าวมานี้ไม่ได้ก็หมายความว่าเราต้องไหลลงอบายภูมิไปใหม่ ตายจากความเป็นคนต้องลงนรก เป็นสัตว์นรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นแล้วมันหนักหรือเบา
    <O:p</O:p
    ต่อไปนี้เรามาพูดถึงเรื่องกสิณ พื้นฐานที่พูดมาเมื่อกี้นี้มีความจำเป็นที่การจะปฏิบัติกรรมฐาน กรรมฐานจะทรงตัวหรือไม่ทรงตัวก็อาศัยพื้นฐานตามที่กล่าวมาแล้ว ถ้าพื้นฐานตามที่กล่าวมาแล้วครบถ้วน ฌานสมาบัติหรือสมาธิที่ได้จะไม่เคลื่อนจะไม่เศร้าหมอง...


    ที่มา : คัดบางส่วนจากเรื่อง เตโชกสิณ นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๑๔ ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๐ หน้าที่ ๖๗-๖๙. ถอดความโดย ศรีโคมคำ.<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มกราคม 2012
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260

    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2011
  3. เกิดมานาน

    เกิดมานาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2009
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +2,547
    ผมขออนุโมทนาอย่างยิ่งในสุดยอดธรรมที่ท่านนำมาชี้แนะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  4. ่jeab

    ่jeab Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +27
    โมทนาบุญค่ะ สาธุ
    ขอบพระคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ กำลังจะเริ่มฝึกปฏิบัติ ได้มาถูกทางแล้วค่ะ
     
  5. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,029
    ขอโมทนาสาธุ กราบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม กราบพระศรีอาริยเมตไตรย กราบพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ กราบพระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ กราบพระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย กราบหนึ่ง กราบสอง กราบสาม กราบสี่ กราบห้า กราบหก [www.marateebook.com]
     

แชร์หน้านี้

Loading...