ฟังแต่พระพุทธเจ้า องค์เดียวเท่านั้น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย sawok B, 2 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. sawok B

    sawok B เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +230
    พระพุทธองค์ทรงกำชับ ว่าให้ฟังแต่คำของพระองค์เท่านั้น
    คำของคนอื่นห้ามฟัง เพราะคนอื่น ไม่ใช่พระสัพพัญญู แม้แต่สาวกพระองค์เอง พระองค์ก็ไม่ให้ฟังคำของสาวกเหล่านั้น นอกจากสาวกจะเอาคำของพระองค์มาสอน คือ พุทธวจน นั้นเอง พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า สาวกผู้มีปัญญาวิมุติ(มีความเลิศทางปัญญา) ก็เป็นแค่ผู้เดินตามเท่านั้น ส่วนพระองค์เป็น ผู้บัญญัติคำสอน เป็นผู้รู้มรรคก่อน เป็นผู้ฉลาดในมรรค ดังนั้น ชาวพุทธทั้งหลายจะศึกษาคำสอนของใคร ระหว่าง คำของพระพุทธเจ้า กับคำแต่งขึ้นใหม่ของสาวก ดังพระสูตรนี้ว่า
    ภิกษุทั้งหลาย สุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่ง
    ขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละ
    สลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว
    ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่า
    วอยู่; เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
    และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของ
    ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ
    ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้น
    มากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิต
    เพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่า
    เรียน จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้
    เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้
    เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้, ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้
    ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย
    เธอก็บรรเทาลงได้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่
    มีการลุล่วงไปได้ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่
    ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่; จัดเป็น
    บริษัทที่เลิศแล.
    (ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๕ ๒,
    พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๒๐/๙๒/๒๙๒)

    พระองค์ ทรงห้าม สาวกเติมคำสอน หรือตัดคำสอนของพระองค์ออก
    แม้จะเป็นพระอรหันต์มีความเลิศทางปัญญาก็ตามพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาติ ดังพระสูตรที่ว่า
    อปริหานิยธรรม (ข้อ ๓)
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่
    เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทาน
    ศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด,
    ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อม
    เลย อยู่เพียงนั้น.
    (ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๐๖,
    พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๒๓/ ๒๑/๒๑)

    เหตุที่พระพุทธเจ้า ไม่ให้สาวกบัญัติคำสอน เพราะ สาวกพูดแล้วไม่เป็นอกาลิโก และสาวกไม่ใช่พระสัพพัญญู แม้พระอรหันต์เลิศทางปัญญาก็ตาม พระพุทธเจ้า ก่อนจะพูด พระองค์ได้เข้าสมาธินิมิต ทุกคำพูดจึงไม่ผิดพลาด ต่างจากสาวก สาวกจะทำให้คำพูดของตนเองถูกทั้งหมดเลย ไม่ได้ ต้องมีผิด ไม่มีสาวกคนใหน หรือพระอรหันต์รูปใหนจะกำหนดสมาธิในการพูด เพื่อไม่ให้คำพูดผิด นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสคำใดออกไป ย่อมถูกต้องทั้งหมด ไม่มีคำว่า ขอพูดใหม่ ไม่มี
    พระพุทธองค์ทรงกำหนดสมาธิในการพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด

    อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดงกระทั่ง
    คำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธิ
    นิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่
    กระทำให้มีความเป็นจิตเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยิน
    ว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
    (พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๒๔๗,
    พระไตรปิฎก สยามรัฐ ๑๒/๔๖๐/๔๓๐)

    คำพูดของพระองค์ย่อม เข้ากันได้ ไม่ขัดแย้งกัน แต่สาวกทำได้ไหม ทำไม่ได้หรอก เพราะ การที่คนเราจะทำให้คำพูดไม่ขัดแย้งกันนั้นทำได้ยาก หรืออาจทำไม่ได้เลย นอกจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น แม้พระอรหันต์เลิศทางปัญญาก็ไม่สามารถทำได้
    คำพูดของพระองค์ย่อม เข้ากันได้ ไม่ขัดแย้งกัน

    ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้
    อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรี ที่ตถาคต
    ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหว่าง
    นั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออกซึ่งถ้อยคำใด
    ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียว
    ทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.
    (พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๒๘๕,
    พระไตรปิฎก สยามรัฐ ๒๕/๓๒๑/๒๙๓)

    คำสอนที่สาวกคนใหนก็ทำไม่ได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกละ พวกเธออัน
    เรานำเข้าไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งให้ผล
    ได้ไม่จำกัดกาล ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชน
    พึงรู้ได้เฉพาะตน คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
    นี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ควรเรียกให้มา
    ชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ เรา
    อาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
    (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับสังคายนา ในพระบรมราชูปถัมภ์
    พ.ศ.๒๕๓๐, เล่ม ๑๒ ข้อ ๔๐๗ หน้า ๔๕๖)

    เมื่อไปแต่คำของสาวก ไม่ฟังคำพระพุทธเจ้า เป็นเหตุให้พระสัจธรรมหายไป ดังพระสูตรนี้

    ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของ
    กษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลอง
    อานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หา
    เนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น
    (ทุกคราวไป). ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลาย
    คราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลอง
    หมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น;
    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่าย
    อนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง)
    เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
    เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ
    สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ย
    หูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่
    ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่ง
    ขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละ
    สลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว
    ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่า
    วอยู่; เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
    และจักสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของ
    ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ
    ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้น
    มากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิต
    เพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่า
    เรียน จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้
    เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้
    เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้, ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้
    ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย
    เธอก็บรรเทาลงได้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่
    มีการลุล่วงไปได้ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่
    ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่; จัดเป็น
    บริษัทที่เลิศแล.
    (ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๕ ๒,
    พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๒๐/๙๒/๒๙๒)


    สาวกเป็นแค่ผู้เดินตาม แค่เผยแผ่โดยใช้คำของพระพุทธองค์เท่านั้น
    ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
    ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้
    คนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกัน
    แล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้ง
    มรรค) เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุทั้งหลาย !
    ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค)
    เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
    เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่าง
    กัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุ
    ผู้ปัญญาวิมุตต์.
    (อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๗ ๒๑,
    พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๑๗/๘๑/๑๒๕)


    ชาวพุทธทั้งหลาย พร้อมหรือยังที่จะ ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และจะทำตามกัลยาณวัตรของพระองค์

    ถ้าเห็นว่า พระพุทธเจ้า ยังเป็นศาสดาอยู่ ก็จงทำตามพระศาสดา และเผยแผ่คำสอนของพระพุทธองค์ ด้วยการ ใช้พุทธวจนในการสอนเถอะ
    อย่าลืมสิ ว่าพระพุทธเจ้า เป็นผู้ บัญญัติพุทธศาสนา ก่อตั้งพระศาสนา เป็นผู้บัญญัติธรรมวินัย ในทุกวันนี้ เป็นผู้สร้างพระสงฆ์ จนถึง ณ ทุกวันนี้ ชาวพุทธทั้งหลาย พร้องหรือยัง ที่จะเต็มร้อยกับพระพุทธเจ้าเราองค์เดียว จะศึกษาแต่คำสอนพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว

    พระพุทธเจ้า บอกว่า ถ้าคำใหนพระองค์ไม่ได้ตรัสไว้ ไม่ได้สอน แต่มีสาวกอื่นสอน ถ้าเธอได้ยินหรือฟังมา ถ้าไม่ใช้ของพระพุทธเจ้าสอน ก็ละทิ้งเสีย
    ดังพระสูตรนี้
    หลักใหญ่เพื่อตรวจสอบวินิจฉัยธรรมวินัย (มหาปเทส ๔)
    เมื่อมีผู้กล่าวอ้างในแบบต่างๆ ว่า “นี้เป็นพุทธวจน” เพื่อ
    สอบสวนเทียบเคียงพระธรรมวินัย
    (๑) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ
    ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
    “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
    (๒) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ
    ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วย
    ปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรม
    นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
    (๓) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ
    ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูต
    เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับ
    เฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น
    คำสอนของพระศาสดา”...
    (๔) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ
    ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร
    เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้
    สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
    นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
    เธอทั้งหลายยังไม่พึงรับรอง ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าว
    ของผู้นั้น เธอพึงกำหนดเนื้อความเหล่านั้นให้ดี แล้วนำไป
    สอบสวนในสูตร นำไปเทียบเคียงในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะ
    เหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้
    พึงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาค
    พระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นจำมาผิด” เธอทั้งหลาย
    พึงทิ้งเหล่าคำนั้นเสีย ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงใน
    สูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้พระ
    ดำรัส ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้น
    รับมาด้วยดี” เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทส...นี้ไว้.
    (มหาปเทส ๔ พระไตรปิฎกแปลไทย มจร. ๑๔/๕๓/๔๑,
    มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที่. ๑๐/๑๔๔/๑๑๒

    นี้ก็เพียงพอที่จะให้รู้ว่า พระพุทธเจ้าทรงกำชับให้ฟังเฉพาะคำสอนของพระองค์เพียงองค์เดียว ถ้ามีพระรูปใด หรือปุถุชนคนใด นำคำสอนที่เรียกว่า พุทธวจนมากล่าวอยู่ เราก็ย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
     
  2. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    PANTIP.COM : Y10380758 ถามลูกศิษย์พระอาจารย์คึกฤทธิ์ []

    คำว่า "ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น"

    หากท่านพิจาณาแล้วว่าไม่ใช่พุทธวจนะ พระองค์ก็ได้ตรัสไว้แล้ว ว่าให้ทิ้งคำเหล่านี้ไปเสีย

    และหากท่านอ่านพระสูตรที่พระองค์ได้ตรัสเอาไว้และิพิจารณาให้ดี ก็ัจักได้ทราบว่า พระองค์ทรงบอกว่า คำที่คนแต่งขี้นใหม่นั้น ถึงแม้จะมีอักษรสละสลวย ก็ตาม เป็นเรื่องนอกแนว ถ้ามีคนนำมาพูด ก็จักไม่ฟัง

    อันนี้ก็ชัดเจนตรงที่พระองค์ได้บอกว่า จักไม่ฟัง คำที่คนแต่งขึ้นใหม่

    และพระองค์ก็แนะนำว่า ถ้าใครนำคำที่เป็นคำตถาคตมากล่าว ก็ให้เงียหูฟัง ให้ตั้งใจฟัง

    ดังพระสูตร

    "ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อย กรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก

    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้งเป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,

    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วย ดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้.

    ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้ "
    ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น.๓๕๒
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (ผมขออนุญาติเลือกฝ่าย พระผู้มีพระภาคตรัส ครับ)

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบางประการ พึงบังเกิด
    ขึ้นได้ในธรรมวินัยนี้ คือ

    ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัส)
    และฝ่ายหนึ่งเป็น

    ภิกษุสงฆ์
    ภิกษุณีสงฆ์
    อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย
    โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
    หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
    (กล่าว)

    ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคตรัสหม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้น
    ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
     
  4. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมศึกษา
    ศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือ ศึกษาศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อม
    ศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิดดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เรา
    ไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
    ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
    เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับเพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมี
    ศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง
    อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการ
    ศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าว
    ล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งหมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ
    เลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง
    ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
    นี้เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขา
    นุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๒๙๖/๔๐๗ ข้อที่ ๓๐๑
     
  5. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,354
    อนุโมทนาครับ
    เริ่มมีคำตถาคต เผยแผ่
    อยู่ในเวปพลังจิตมากขึ้นทุกทีๆ

    เป็นสิ่งที่ดีมากๆครับ เพราะ
    ตถาคตผู้เจริญ ได้บอกสอนไว้
    ชัดเจนว่า..

    ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็น
    คำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
    เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมี
    ผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี
    ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และ

    ย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากัน
    เล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็น
    อย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ?” ดังนี้.

    ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.
    ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัย
    ในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้.


    คำแต่งใหม่ของสาวกไม่อาจเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้
    เมื่อพระอาทิตขึ้น แสงของหิงห้อย ก็หมดค่าลง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    ตรัสจากพระโอษฐ์

    ทรงบัญญัติ ให้ใช้ธรรม และวินัย ที่พระองค์ได้บัญญัติไว้แล้ว เป็นศาสดาแทนพระองค์
    อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
    ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว
    พวกเราไม่มีพระศาสดา ดังนี้
    อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น
    อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
    ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
    ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
    โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
    (มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘)
    อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยานวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด
    บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย...
    เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า...
    เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย

    และตรัสไว้ด้วยพระเมตตาด้วยว่า
    "อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี

    ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;

    มีธรรมเป็นประทีปมีธรรม เป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น เป็นสรณะ เป็นอยู่อานนท์!

    ภิกษุพวกใดเป็นผู้ใคร่ ในสิกขา,ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ใน สถานะอันเลิศที่สุดแล."
    มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐ / ๑๕๙ / ๑๒๘

    พระพุทธองค์ขอน้อยมาก
    คามณิ ! ...เพราะเหตุว่า ถึงแม้เขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดงสักบทเดียว
    นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น
    ตลอดกาลนาน
    สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๗/๖๐๓.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2013
  7. nai_Prathom

    nai_Prathom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +694
    ขออนุญาตถามสักหน่อย ผมมีข้อสงสัย

    ข้อแรกสมมติว่า ผมได้ฟังเทศน์หลวงตามหาบัว ท่านได้พูดถึงการปฏิบัติที่ละเอียดซึ่งไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎกหรือบางทีพระพุทธท่านอาจไม่ได้พูดโดยละเอียดไว้ อย่างนี้ผมควรเชื่อไหม?

    ข้อสอง ยกตัวอย่างการตีความปฏิจจสมุปบาทโดยท่านพุทธทาส ไม่ตรงกับพระพุทธโฆษาจารย์ และในพระไตรปิฎกไม่ได้อธิบายนัยยะโดยละเอียด ผมควรจะเชื่อใครดี?

    ข้อสาม สมมติว่าบุคคลผู้หนึ่งตั้งตัวเป็นอาจารย์สอนธรรมะ แล้วนำพระพุทธวจนะมาเผยแพร่ แล้วมีการตีความไปตามความเห็นของตน แต่ไม่มีการพูดถึงธรรมะภาคปฏิบัติ อย่างนี้ผมควรเชื่อไหม?

    ข้อสี่ ถ้าในอนาคตข้างหน้า มีผู้ตั้งตัวเป็นอาจารย์สั่งสอนธรรมะกันมากมาย โดยเพียงยึดเอาพระพุทธวจนะเป็นหลัก ท่านคิดว่าจะเกิดปัญหาอย่างใดตามมาบ้าง?

    โดยความเห็นส่วนตัวของผม ผมจะไม่ปลงใจเชื่อใครก็ตามที่เพียงนำพระพุทธวจนะมาเผยแพร่ แล้ววางตัวราวกับว่า ตัวเขาเองนั้นเป็นผู้ที่น่าเคารพเลื่อมใส เพราะคงเป็นการยากที่ใครจะไปรู้ถึงนิสัยสันดานอันแท้จริงของเขา

    และผมก็ยังเคารพนับถือครูบาอาจารย์ที่เป็นพระป่าในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อยู่เหมือนเดิม เพราะท่านเหล่านั้นไม่ได้นำพระพุทธวจนะมาท่องให้เราฟัง แต่ท่านได้ปฏิบัติตนงามสมกับเป็นพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าจริง

    สุดท้ายอยากจะฝากไว้ว่า การนำพระพุทธวจนะมาเผยแพร่นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ได้เปิดช่องโหว่เอาไว้มากมาย จะไปฟังอะไรจากใครที่ตั้งตัวเป็นผู้สอน ต้องดูกำพืดนิสัยเขาให้ดี หรือจะให้ง่ายที่สุด ก็ไปซื้อหนังสือที่รวบรวมพระพุทธวจนะมาอ่านก็เป็นอันจบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2013
  8. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (จะมีใครที่ อธิบายเก่งกว่า ตถาคต หรือครับ)

    ๖. พุทธสูตร
    ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
    [๑๒๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
    เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เทวดาและมนุษย์
    ต่างพากันเรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา
    หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ...
    สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เราเรียกว่า ผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.

    [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นจะมีอะไรเป็นข้อแปลกกัน จะมีอะไรเป็นข้อ
    ประสงค์ที่ยิ่งกว่ากัน จะมีอะไรเป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    กับภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา?

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้
    มีพระภาคเป็นรากฐาน เป็นแบบฉบับ เป็นที่อิงอาศัย ขอประทานพระวโรกาส ขออรรถแห่ง
    ภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคทีเดียวเถิด ภิกษุทั้งหลาย ได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว
    จักทรงจำไว้.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
    ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด ยังประชุมชนให้รู้จักมรรคที่ใครๆ
    ไม่รู้จัก บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้จักทาง ประกาศทางให้ปรากฏ ฉลาดในทาง.


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สาวกทั้งหลาย ในบัดนี้ เป็นผู้ที่ดำเนินไปตามทาง เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
    อันนี้แล เป็นข้อแปลกกัน อันนี้ เป็นข้อประสงค์ยิ่งกว่ากัน อันนี้ เป็นเหตุทำให้ต่างกัน
    ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.

    จบ สูตรที่ ๖.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    หน้าที่ ๖๓/๓๑๐ ข้อที่ ๑๒๕ - ๑๒๖
     
  9. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ใครแต่งอะไรขึ้นมาใหม่เหรอครับ...?
     
  10. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766

    เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

    คำเทศน์ของหลวงปู่ชา หลวงตามหาบัวและพระสายวัดป่า หรือแม้กระทั่ง คำสอนของพระอาจารย์มิตซูโอะ ท่านสาวกเหล่านี้ได้อธิบายข้อธรรม ท่านไม่ได้แต่งขึ้นใหม่
    เมื่อคืนได้อ่านสัมมาทิฎฐิตามคำอธิบายของพระสารีบุตร นิพนธ์โดยสมเด็จพระสังฆราช ท่านระบุไว้ชัดว่า พระมหาเถระอธิบายตามคำของพระพุทธองค์ แม้พระสารีบุตรท่านก็ไม่ได้แต่งขึ้นใหม่ สมเด็จฯท่านก็นำคำของพระมหาเถระมาอธิบายโดยอ้างอิงบาลีคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลักไว้

    มีพุทธวจนอีกหลายหมวดโดยเฉพาะ หมวดพระอภิธรรม หากไม่มีสาวกอธิบายแล้ว ยากนักที่จะมีชาวบ้านทั่วไปที่ไม่ได้เรียนบาลีมา เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ ยกตัวอย่าง เนื้อความในคัมภีร์มหาปัฏฐาน24 หรือ มาติกา22 เป็นต้น
    จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีพระสงฆ์มาอธิบายบาลีเหล่านี้
    นอกจากนั้นในการแปลจากบาลีเป็นไทยหลายจุดไม่ตรงความหมายดั้งเดิมในพระบาลี เพราะภาษาไทยมีข้อจำกัดไม่ได้ผันคำเหมือนภาษามคธ บางทีแปลยาวไปเพื่อจะอธิบายก็มี ลองเรียนบาลีแล้วกลับไปอ่านพระไตรปิฎกฉบับบาลีแล้วจะรู้ความแตกต่างขององค์ธรรม

    นอกจากนั้นประสบการณ์การปฏิบัติจากพระอริยะสงฆ์เป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นข้อพิสูจน์ด้วยความจริงที่เห็นได้ จับต้องได้ จึงเป็นการเรียนรู้จากผู้จริง
     
  11. พูน

    พูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +2,479
    ลงมือปฏิบัติ จะเห็นว่าไม่ขัดแย้งกันครับ ไม่ว่าจะเป็นพระอริยสงฆ์ ท่านไหน ที่เราเคารพ กล่าวชื่อท่านมา เกือบทั้งหมดใน Web นี้ ไม่มีขัดกับพุทธพจน์ทั้งสิ้น
     
  12. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    ลองหาคำเหล่านี้ให้หน่อยสิว่าพุทธเจ้าเทศสอนตรัสไว้รึป่าว ถ้าเจอในภาษาไทยแล้ว ให้ไปดูในบาลีด้วยว่าเขาแปลถูกรึป่าว

    สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน...พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส ตรัสไว้เพียง "สมถ" กับ "วิปัสสนา" เฉยๆ
    กรรมฐาน...พระพุทธเจ้าตรัสไว้แต่เป็นการค้า,การขาย, การไถ, การงานของฆราวาส
    ศิล ๒๒๗ ข้อ..พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส ที่ตรัสไว้มีศีล ๒,๔๐๐ กว่าข้อ
    กรวดน้ำ...พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส
    ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์...พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส
    ๕,๐๐๐ ปีอายุพุทธศาสนา...พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส
    รูปฌาน กับ อรูปฌาน...พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส ที่ตรัสไว้คือ รูปสัญญา กับ อรูปสัญญา
    เจตสิก ๘๐ ดวง, เจตสิก ๑๐๐ ดวง...พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส ตรัสไว้แค่ ๙ คำ
    ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ...พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส
    หทัยวัตถุ...พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส
    โสฬสญาณ...พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส

    นี่คือเหตุที่ทำให้ศาสนาเสื่อมเร็วขึ้น คำเหล่านี้แต่งขึ้นมาใหม่หรือไม่ ลองหาพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มาลบล้าง
    ถามหน่อยพระส่วนใหญ่สอนกันรึป่าวล่ะ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถ้ายังสอนอยู่กับเข้ากับพระสูตรนี้เลย

    ***********************************
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้,
    สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรอง
    ประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
    เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ
    เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิต
    เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษา
    เล่าเรียน.


    ***********************************

    มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ ที่ทำให้ พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
    ***********************************
    ภิกษุ ท. !
    ๔ ประการอะไรบ้างเล่า ? ๔ ประการคือ :-
    (๑) ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุเล่าเรียนสูตร อันถือ
    กันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันผิด; เมื่อบทและ
    พยัญชนะใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมายก็มีนัยอันคลาดเคลื่อน.
    ภิกษุ ท. ! นี้เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้
    พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
    (๒) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเป็น
    คนว่ายาก ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้เป็น คนว่ายาก ไม่อดทน
    ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยความเคารพหนักแน่น.
    ภิกษุ ท. ! นี้เป็น มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้
    พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

    (๓) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด
    เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจน ทรงธรรม
    ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เอาใจใส่
    บอกสอนใจความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่น ๆ; เมื่อท่าน
    เหล่านั้นล่วงลับดับไป สูตรทั้งหลายก็เลยขาดผู้เป็นมูลราก
    (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป.
    ภิกษุ ท. ! นี้เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้
    พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
    (๔) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุชั้น
    เถระ ทำการสะสมบริกขาร ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา
    มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่ง
    วิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อ
    บรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำ
    ให้แจ้ง ผู้บวชในภายหลังได้เห็นพวกเถระเหล่านั้นทำ
    แบบแผนเช่นนั้นไว้ ก็ถือเอาไปเป็นแบบอย่าง จึงทำให้เป็น
    ผู้ทำการสะสมบริกขารบ้าง ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา
    มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่ง

    วิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง
    เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำ
    ให้แจ้ง ตามกันสืบไป.
    ภิกษุ ท. ! นี้เป็น มูลกรณีที่สี่ ซึ่งทำให้พระ
    สัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
    ภิกษุ ท. ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้แล ที่ทำให้
    พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.


    ***********************************

    ถ้าคิดว่าพระสูตรข้างบนเขาแปลคลาดเคลื่อน ท่านลองแปลเองก็ได้นะ จะแปลมุมไหนก็ได้แบบนี้หมด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2013
  13. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    เนื้อความที่ว่าฟังพระพุทธเจ้าเท่านั้นหมายความว่าถ้าธรรมใดสอดคล้องกับที่พระศาสดาสอน ก็เท่ากับฟังพระพุทธเจ้าเช่นกัน แต่ถ้าสิ่งใดขัดแย้งกับที่พระศาสดาสอนก็พึงละทิ้งสิ่งนั้นเสีย

    แม้แต่ในพระไตรปิฎกก็ไม่ได้มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีคำสอนของสาวกเช่น พระสารีบุตร พระอานนท์ พระมหากัจจายนะ ฯลฯ ด้วยเช่นกัน แต่คำสอนของสาวกนี้สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า

    เช่นมีครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสคาถาโดยย่อ แล้วภิกษุบางกลุ่มไม่เข้าใจ .พระมหากัจจายนะ เลยอธิบายขยายความให้ พอพระเหล่านั้นไปถามพระพุทธเจ้า ท่านก็รับรองสุภาษิตของพระมหากัจจายนะ โดยตรัสว่า "แม้เราตถาคตก็จักตอบเช่นนั้นเหมือนกัน" สสรุปคือ
     
  14. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    สรุปคือ ครูบาอาจารย์ ไม่ว่าระดับไหนก็ตาม เช่น พระสังฆราช ,หลวงตามหาบัว, หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ฯลฯ ควรตรวจสอบคำสอนของท่านเหล่านั้นเสมอว่า ตรงกับพระพุทธเจ้าหรือไม่ ถ้าตรงก็รับไว้ไม่ตรงก็ทิ้งเสีย

    เรื่องเคยมีมาแล้ว มีคนแต่งหนังสือ แล้วอ้างชื่อพระสงฆราช ที่บอกว่าอภัยทานเหนือกว่าธรรมทาน คนที่ไม่ฟังพระพุทธเจ้าก็จะพยายามหาช่องทางทำความเข้าใจหรือพยายามอธิบายว่า เพราะอย่างนั้นอย่างนี้ มีน้อยคนที่จะกล้าบอกตรงๆว่าผิดเพราะไปค้านกับพระพุทธเจ้าที่ว่า ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง

    สุดท้ายเรื่องก็กระจ่างขึ้นมาว่า พระสังฆราชไม่ได้กล่าวว่าอภัยทานเหนือกว่าธรรมทาน แต่เป็นเพราะมีผู้ด้อยความรู้ที่ไม่ปรากฏนาม ไปแอบอ้างชื่อพระสังฆราช ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่า พระสังฆราชกล่าวบิดเบือนพระพุทธพจน์

    คือถ้าเราเชื่อพระพุทธเจ้าแต่แรก ก็จะบอกได้เลยว่าผิดโดยไม่ต้องสนใจว่า พระสังฆราชจะเป็นผู้กล่าวหรือไม่ก็ตาม ถ้าไม่ตรงกับพระพุทธเจ้าคือผิดทั้งนั้น
     
  15. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าสิ่งที่คุณยกมานั้นคืออะไร

    เช่น กรรมฐาน คุณรู้มั้ยว่าหมายถึงอะไร..?
    กรวดน้ำ หมายถึงอะไร...?
    ทำไมถึงมีศีล ๒๒๗ คุณรู้มั้ย...?
    ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์หมายถึงอะไรมาจากไหน คุณรู้มั้ยครับ..?

    ผมว่าคุณน่าจะเคยเรียนบาลี
    ถ้าอย่างนั้นผมถามหน่อย ถ้าไม่มีอรรถกถาเลย แปลบาลีได้มั้ย...?

    แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าสั่งให้สาวกของพระองค์ใช้หลักอะไรในการสอน...?

    และ..ตั้งแต่ใช้พระพุทธวัจนนะมา คุณได้เป็นพระอริยเจ้าแล้วหรือยัง
    คุณพิสูจน์แล้วหรือยัง...?

    ผมไม่ห้ามถ้าใครจะใช้พระพุทธวัจจนะในการนำทางปฏิบัติ
    ดีมากด้วย ผมไม่ค้าน
    แต่... อย่าประมาทคำครูบาอาจารย์
    พระพุทธเจ้าไม่ได้เทศน์แบบเดียว เรื่องเดียว แล้วสาวกทั้งหลายเป็นพระอริยเจ้านะครับ
    ท่านมีลีลาหลายแบบมาก
    ที่ครูบาอาจารย์ท่านพูดท่านสอนนั้น ท่านก็มีอุบายของท่าน
    และท่านก็รู้ธรรมของท่าน

    มีหลายอย่างที่สมัยนั้นรู้โดยไม่ต้องอธิบาย
    แต่สมัยนี้ไม่มีใครเข้าใจเลย

    พระพุทธเจ้าตรัสเช่นไร
    พระอัสสชิกล่าวเช่นไรเมื่อครั้งแสดงธรรมแก่พระสารีบุตร
    ทั้งสองท่านตรัส/พูดเหมือนกันหรือ

    อย่าประมาทไป บาลีทั้งหลายล้วนแล้วท่องจำมาแต่สาวกทั้งนั้น
    ลองหาอ่านเรื่องราวแห่งการสังคายนาดูสิครับ
    ตอนนี้เริ่มจะเป็นแบบครั้งแรกๆอีกครั้งหนึ่งแล้ว
    เชื่อแต่สิ่งที่เคยได้ยิน... ได้อ่าน...
     
  16. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    กรรมฐาน คุณรู้มั้ยว่าหมายถึงอะไร..?
    กรวดน้ำ หมายถึงอะไร...?
    ทำไมถึงมีศีล ๒๒๗ คุณรู้มั้ย...?
    ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์หมายถึงอะไรมาจากไหน คุณรู้มั้ยครับ..?

    อธิบายให้ฟังหน่อยสิครับว่ามายังไง จะได้รู้ว่ามาสมัยพระพุทธเจ้า หรือหลังพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว
    ผมได้อธิบายความเชื่อของผมไปแล้ว คุณลองอธิบายความเชื่อของคุณมาบ้างสิ



    **************************************
    ความเป็นมาของพระไตรปิฏก
    - ๔๕ ปีก่อน พ.ศ. พระพุทธเจ้าตรัสรู้
    ที่มหาโพธิพฤกษ์ แคว้นมคธ

    - ๒ เดือนจากนั้น ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    แก่เบญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี

    - หลังจากนั้นไม่นาน ทรงส่งพระอรหันตสาวก ๖๐ รูป ไปประกาศ ศาสนา ด้วยพุทธพจน์
    "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อนประโยชน์สุขแก่คนจำนวนมาก เพื้อเกื้อกูลแก่ชาวโลก"

    - เสด็จปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา
    "ดูการภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่าสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด"

    - การสังคายนาครั้งที่ ๑ (อินเดียในปัจจุบัน) สาธยายทรงจำ (มุขปาฐะ) ธรรม+วินัย
    จัดทำหลังจากพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน ประชุมสงฆ์ อรหันต์ ๕๐๐ รูป ทำสังคายนาจัดระเบียดหมวดหมู่พระพุทธวจนะ
    แล้วก็มีการท่องจำนำสืบต่อๆ กันมา เพื่อปรารภเหตุความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา

    - การสังคายนาครั้งที่ ๒ (อินเดียในปัจจุบัน) สาธยายทรงจำ (มุขปาฐะ) ธรรม+วินัย พ.ศ. ๑๐๐
    เนื่องมาจากพระภิกษุวัชชีบุตรกลุ่มหนึ่งได้ปฏิบัติย่อหย่อนทางพระวินัย ๑๐ ประการ

    - การสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่ อโศการาม เมืองปาตลีบุตร (อินเดียในปัจจุบัน) สาธยายทรงจำ (มุขปาฐะ) ธรรม+วินัย พ.ศ. ๒๓๕
    สอบสวนชำระสะสางพระธรรมวินัย กำจัดเดียรถีย์ผู้ปลอมบวช ได้พัฒนาไปสู่รูปแบบ และกระบวนความคิดที่แตกต่างกัน กว่า ๑๘ กลุ่ม (นิกาย)
    หากมองเป็นการแตกแยกที่นะไปสู่
    **พุทธศาสนาสายเถรวาท(หินยาน: ให้ความสำคัญ ธรรม+วินัย)
    **และ อาจาริยวาท(มหายาน: ความคิดอิสระ ไม่สนวินัย)

    - การสังคายนาครั้งที่ ๔ (ศรีลังกา) สาธยายทรงจำ (มุขปาฐะ) ธรรม+วินัย+อรรถกถา พ.ศ. ๒๓๘
    ได้มีการจัดรวบรวมคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งพระไตรปิฏกเอง และอรรถกถา(คำอธิบายพระไตรปิฏก)
    ให้เป็นระบบอีกครั้ง โดยการนำคณะสงฆ์ของพระมหินทเถระ(โอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช)
    ในขณะที่ไปประกาศศาสนาให้มั่นคง มีพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นผู้อุปถัมภ์

    - การสังคายนาครั้งที่ ๕ (ศรีลังกา) ธรรม+วินัย+อรรถกถา จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร (โปตถกาโรปนะ) พ.ศ. ๔๕๐
    เพื่อต้องการจารึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรลงในใบลาน ด้วยเกรงว่าการถ่ายทอดโดยระบบท่องจำอาจวิปริตคลาดเคลื่อน

    - เมื่อราว พ.ศ.๖๐๐
    พระพุทธรูป เริ่มคิดประดิษฐ์ขึ้นในคันธารราฐ เป็นของพวกโยนก (คือฝรั่งชาติกรีก)
    ค้นพบหลักฐานทางที่สำคัญ ที่ อัฟกานิสถาน (ช่วงเวลา ศตวรรษที่ ๒-๘)

    - มีการสันนิษฐานว่าพุทธศาสนา มาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ (ประเทศไทยปัจจุบัน) เป็นครั้งแรก พ.ศ.๘๐๐
    ในยุคก่อนสมัยทวาราวดี

    - สังคายนาครั้งที่ ๖ ทำในลังกา พ.ศ.๙๕๖
    พระพุทธโฆสาจารย์ ชายอินเดีย ได้แปลและเรียบเรียบอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี
    ในรัชสมัยพระเจ้ามหานาม การสังคายนาครั้งนี้มิได้ชำระพระไตรปิฏกหากแต่ชำระอรรถกถา ทางลังกาจึงไม่นับเป็นการสังคายนา

    - จารึก ภาษา บาลี อักษร ปัลลวะ
    พุทธศตวรรษ ๑๒ ที่ลพบุรี
    เนื้อหา
    สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
    คำแปล
    เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จังมีผัสสะ
    พุทธศตวรรษ ๑๒-๑๔ ที่เพชรบูรณ์
    ๑. เวทนานิโรโธ เวทนานิโรธา ตณฺหานิโธ ตณฺหานิโรธา...โหติ
    ๒. ปจจฺยา ชรามรณโสกปริเทว ทุกฺขโทมนสฺสา
    คำแปล
    ๑. ...ดับเวทนา เพราะดับเวทนา ตัณหาก็ดับ...
    ๒. ...ปัจจัย ชรา มรณะ โสก รำพัน ทุกข์ เสียใจ...

    - พุทธศตวรรษ ๑๓-๑๔ ที่ ลพบุรี วัตถุจารึก ศิลา หินดินดาน

    - สมัยที่ ๑ เมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๐๒๐
    การชำระและจารึกกับการพิมพ์ พระไตรปิฏกในประเทศไทย ชำระและจารลงในใบลาน สมัยพระเจ้าติโลกราช

    - สมัยที่ ๒ สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่๑ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๓๓๐
    ใช้เวลา ๕ เดือน จึงสำเร็จ ทรงสละพระราชทรัพย์ จ้างช่างจาร จารึกพระไตรปิฏกลงในใบลาน และให้แปลฉบับอักษรลาว
    อักษรมอญ เป็นอักษรขอม สร้างใส่ตู้ไว้ในหอมณเฑียรธรรม และสร้างพระไตรปิฏกถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง

    - พม่าสร้างพระไตรปิฏกหินอ่อน พ.ศ.๒๔๑๕

    - มีการก่อตั้ง Pali text society พ.ศ. ๒๔๒๐ - ๒๔๗๐
    เพื่อรวบรวมคำสอนทางพระพุทธศาสนาภาษาบาลีจากทั่วโลก เช่น ศรีลังกา และพม่า มาแปลงเป็น
    อักษรโรมันและแปลเป็นภาษาอังกฤษ แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๗๐

    - สมัยที่ ๓ สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๓๑
    คัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลานเป็นตัวไทย และชำระแก้ไข และพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม
    ด้วยเทคนิคการพิมพ์ครั้งแรกในโลกและส่งไปยังสถาบันต่างๆ กว่า ๒๖๐ แห่ง ทั่วโลก

    - สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๗ พระไตรปิฏก ฉบับสยายรัฐ (บาลีสยายรัฐ) พ.ศ.๒๔๗๓
    ตรวจชำระพระไตรปิฏกที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ สอบทานกับพระไตรปิฏกฉบับอักษรโรมัน อักษรพม่า และอักษรลังกา
    แล้วจัดพิมพ์เป็นหนังสือครบ ๔๕ เล่ม เป็นครั้งแรก พิมพ์สำเร็จ พ.ศ.๒๔๗๓

    - พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับสยายรัฐ (ฉบับหลวง) พ.ศ.๒๔๙๙
    การแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยฉบับสมบูรณ์
    เริ่มตันในสมัยรัชกาลที่ ๘ จัดพิมพ์สำเร็จใน พ.ศ. ๒๔๙๙
    ได้เป็นหนังสือ ๘๐ เล่ม ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๔ จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒
    และมีการลดจำนวนลงเป็น ๔๕ เล่มเท่ากับฉบับสยายรัฐที่เป็นภาษบาลี

    - สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๙ พระไตรปิฏกและอรรภกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยลัย พ.ศ.๒๕๒๕
    โดยมีการนำเอาพระสูตร และอรรถกถา อธิบายพระสูตรแต่ละพระสูตรมาพิมพ์เชื่อมต่อกันไป เพื่อช่วยให้ท่านที่ไม่เข้าใจ
    ข้อความในพระสูตร สามารถหาคำตอบได้จากอรรถกถาในเล่มเดียวกัน

    - พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๓๗
    เนื่องจากตันฉบับที่เป็นฉบับสยายรัฐนั้นมีไม่เพียงพอที่จะจำหน่ายจ่ายแจกและนำมาศึกษาเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย
    **************************************


    ความเป็นมาของพระไตรปิฏกมีช่วงไหน ปีไหนที่ไม่เป็นไปตามความเชื่อของท่านโปรดชี้แนะด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2013
  17. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    "เชื่อพระพุทธเจ้าจริง พระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร ลองทำตามให้เป็นเช่นที่พระองค์ตรัสโดยไม่กังขา ไม่มียกเว้น และต้องมั่นใจว่ามันต้องได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย แบบนี้เรียกว่าเชื่อหรือศรัทธาในพระพุทธเจ้าจริงๆ ไม่ใช่ศรัทธาแต่ปาก แล้วบอกว่าที่พระองค์ตรัสทำไม่ได้หรอก ทำไม่ได้แล้ว ต้องทำแค่นั้นแค่นี้พอ

    เชื่อพระพุทธเจ้าแต่อย่ายึดติด พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้สาวกองค์ใดยึดติดท่าน และท่านไม่เคยกล่าวไม่ว่าที่ใดว่าให้เชื่อท่านฟังท่านเท่านั้น ไม่มีในพระไตรปิฎกที่พระองค์กล่าวเช่นนี้ มีแต่กล่าวว่าอย่าบัญญัติในสิ่งที่พระองค์มิได้บัญญัติ การบัญญัติว่าต้องเชื่อฟังพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น เป็นการบัญญัติสิ่งที่พระองค์มิได้บัญญัติ ในทางวินัยมีโทษหนักนะ ใครอย่าทำเช่นนั้น

    ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประชาธิปไตย ไม่มีการบังคับให้เชื่อให้ทำให้ฟังใคร เพราะการทำแบบนั้นจะทำให้ศาสนาเสื่อมได้ จะมีคนเอาศาสนาไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดได้ ศาสนาที่มีการบังคับ สังคมของพวกเขาจะไม่มีความสงบสุข เห็นๆกันอยู่ ถ้าเราเอาวิธีการแบบนั้นมาใช้ แทนที่จะเป็นผลดีกับเป็นผลร้าย เหตุการณ์ภายหน้า น่าเป็นห่วง

    ถ้ารักศาสนาขอให้เอาธรรมะง่ายๆ มาใช้มาปฏิบัติอย่างจริงจังจนได้ผล นั่นแหละ เป็นการเผยแพร่ศาสนาที่แท้จริง ศาสนาเราเป็นเรื่องธรรมชาติ เราทำได้ผล คนต่างศาสนาเขาเห็นดีเห็นงามเขาก็เอาไปลองทำตามเอง โดยไม่จำเป็นต้องเที่ยวบังคับขู่เข็ญให้ใครต้องฟังใคร จงใช้ตัวเราเองและผลการปฏิบัติของเราเป็นป้ายโฆษณาสินค้าของศาสนาเรา

    "ไร้สาระ" คือธรรมะที่ง่ายที่สุด ที่เป็นพุทธพจน์ ไม่ใช่ต้องเชื่อพระองค์ ฟังพระองค์ แต่ทดลองใช้ดู มันดับทุกข์ได้ค่อยเชื่อ

    เราไม่จำเป็นต้องไปรู้ธรรมะอะไรมากหรอก ก็ปฏิบัติธรรมได้ รู้แล้วดับทุกข์ไม่ได้ อยากรู้ไปทำไม เอาไว้ดับทุกข์ได้แล้วค่อยเรียนรู้ยังได้ ตอนนี้มีทุกข์อยู่ไหม ถ้ามีทุกข์หาทางดับทุกข์ก่อนเลยด้วยวิธีของพระพุทธเจ้า

    พ้นทุกข์กับเพิ่มทุกข์ มันอยู่ที่อยากทำกับอยากรู้ อยากทำมันพ้นทุกข์ อยากรู้มันเพิ่มทุกข์ เข้ามาเพจนี้ ถามใจตนเองว่าอยากรู้หรืออยากทำ ถ้าอยากรู้เพื่อนำไปทำ อันนี้คบกันได้ แต่ถ้าอยากรู้อย่างเดียว อย่าเสียเวลา ที่นี่ไม่มีความรู้ให้เพราะทั้งวันเพจนี้มีพูดเรื่องเดียว เรื่อง"ไร้สาระ"

    "สะมะสุโขภิกขุ"
     
  18. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ถ้าครูบาอาจารย์ ที่ไหนสอนอะไรที่ไม่มีในพระไตรปิฎกให้พิจารณา ว่า ตรงกับหลัก 8 ข้อนี้หรือไม่ ถ้าตรงก็คือเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นกัน

    ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ       
    1. วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด, ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ (detachment; dispassionateness) มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ, การเสริมความติด       
    2. วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด, ความไม่ประกอบทุกข์ (release
    from bondage) มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์      
     3. อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส (dispersion of defilements) มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส       
    4. อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย, ความมักน้อย (wanting little) มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่, ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่     
      5. สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ (contentment) มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ      
     6. ปวิเวก คือ ความสงัด (seclusion; solitude) มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่       
    7. วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร (energy; exertion) มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน     
      8. สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย (being easy to support) มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก

      ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ คือคำสอนของพระศาสดา; หมวดนี้ ตรัสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี

    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=294
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 มีนาคม 2013
  19. sawok B

    sawok B เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +230
    อย่าใช้ความรู้ตัวเองน่ะครับ เพราะมันจะขัดแย้งพระพุทธเจ้า
    เพราะเมื่อขัดแย้งกัน ถ้าบอกว่า ของตนมันถูกแล้ว จะขึ้นชื่อว่า กล่าวตู่ธรรมวินัยที่พระศาสดาบัญญัติ
    พระพุทธเจ้า ตรัสบอกไว้ดีแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. sawok B

    sawok B เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +230
    กรวดน้ำ พระพุทธเจ้าไม่สอน ละทิ้ง
    กรรมฐานพระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นที่ตั้งของการงานหรือการกระทำ เพราะแปลตามตัว กรรม คือการกระทำ ฐานคือ ที่ตั้ง
    ศีล ๒๒๗ ไม่มี ศีลมีเป็น สองพันกว่าข้อ ทั้งวินัยปิกฎ แต่ในนำมาสวดปาฏิโมกแค่ ๑๕๐ ข้อ นอกนั้นพระพุทธเจ้าไม่ให้ท่อง ภิกษุในปัจจุบันท่องไปก็แปลกันไม่ได้ ถึงแปลได้ก็ไม่ทำตาม
    ๘๔๐๐ พระธรรมขันธ์ มาจากพระอานนท์บัญญัติ แต่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าบัญญัติ

    ใครเป็นอริยะ ไม่เป็นอริยะ คนทั้งหลาย ไม่สามารถรู้ได้
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ไม่พึงถือประมาณในบุคคล ว่าคนนี้เป็น อรหันต์ คนนี้ไม่เป็น คนนี้ได้คุณวิเศษ คนนี้ไม่มีคุณวิเศษ
    คนที่เป็นอริยะ เขาพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เป็นธรรมที่อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน.

    แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าสั่งให้สาวกของพระองค์ใช้หลักอะไรในการสอน...?
    ตอบ พระพุทธองค์ให้ใช้คำสอนของพระองค์เองเท่านั้น ในการบอกสอน
    ถ้าภิกษุนั้นสอนผิด จำมาผิด อธิบายผิด พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นเหตุเสื่อมศาสนา เวลาสอน พระพุทธองค์ให้ยกพุทธวจนขึ้นแสดง

    ผมไม่ห้ามถ้าใครจะใช้พระพุทธวัจจนะในการนำทางปฏิบัติ
    ดีมากด้วย ผมไม่ค้าน
    แต่... อย่าประมาทคำครูบาอาจารย์
    พระพุทธเจ้าไม่ได้เทศน์แบบเดียว เรื่องเดียว แล้วสาวกทั้งหลายเป็นพระอริยเจ้านะครับ
    ท่านมีลีลาหลายแบบมาก
    ที่ครูบาอาจารย์ท่านพูดท่านสอนนั้น ท่านก็มีอุบายของท่าน
    และท่านก็รู้ธรรมของท่าน

    ตอบ ครูบาอาจารย์ ถ้าใช้ความเห็นตัวเอง มันย่อมขัดแย้งกับพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว เช่น พระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนกรวดน้ำ แต่สาวกสอนกรวดน้ำ
    แต่พระพุทธเจ้า บอกว่า การอุทิศบุญ คือการตั้งจิต ให้ปราศจากนิวรณ์ ๕ แล้วจึงแผ่ไปยัง ทิศที่ ๑ ๒ ๓ ๔ และแผ่ไปตลอดทั่วโลกธาตุ แต่สาวกสอนกรวดน้ำ ได้สอนการเตรียมจิตไหม ว่าเตรียมจิตยังไง ถ้ากรวดน้ำ ไม่เตรียมจิตให้ปราศจากนิวรณ์๕ การอุทิศบุญ เป็น ศูนย์ การจะอุทิศบุญ แผ่เมตตา อยู่ที่จิตทั้วหมด ไม่ได้อยู่ที่น้ำ หรือวัตถุ เช่น กรวดน้ำ แต่จิตคิดนู้น คิดนี่ ไม่ละนิวรณ์ ๕ แล้วบุญจะเกิดหรอ มันไม่ได้อยู่ที่ สวดบทยถา น่ะ สวดไปก็เหมือนเดิม พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน สาวกแต่งขึ้นเอง บทยถา นี่ พระพุทธเจ้าบอกไว้ว่า จิตที่ละนิวรณ์ทั้ง ๕ วิธีเดียวจะอุทิศหรือแผ่เมตตาได้ เห็นไหม สาวกสอนผิดกันมาก ถ้ายังไม่ละทิ้งกรวดน้ำนี่ เป็นเหตุเสื่องศาสนาได้ คือ จำมาผิด สอนผิด คนปฏิบัติตามก็ปฏิบัติผิดอีก แล้วก็เรื่องนั่งสมาธิ พระพุทธเจ้าให้รู้ลมหายใจ
    แต่สาวก บอกให้บริกรรม พุทโธ สัมมาอรหัง ยุบพอง แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อเธอหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ สั้นก็รู้ ยาวก็รู้
    ไม่มีบริกรรม เพราะการบริกรรมเป็นการปรุงแต่งจิต แต่สมาธิ จะไม่ปรุงแต่งจิต
    มีแต่ กายสังขาร พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทำให้จิตสังขารให้รำงับหายใจเข้า ทำจิตสังขารให้รำงับหายใจออก ไม่ได้บอกว่า เจริญจิตสังขารหายใจเข้า เจริญจิตสังขารหายใจออก เพราะการมีจิตสังขารคือ ความปรุงแต่งของจิต การบริกรรมก็เป็นการปรุงแต่งจิตเช่นกัน เมื่อจิตปรุงแต่ง จิตก็ไม่หลุดพ้น เห็นไหม มันขัดกันมากเหมือน สาวกภาษิตกับพุทธภาษิต มีอีกเยอะที่ สาวกทำขัดพระพุทธเจ้า ในข้อวินัย พระพุทธเจ้าบัญญัติห้ามรับเงิน แต่สาวกรับเงินกันเต็มเลย เห็นไหมขัดกัน พระพุทธเจ้า สั่งห้ามทำน้ำมนต์ เสกเป่า แต่สาวกทำเต็มกันเลย สาวกบอกว่า ศักสิทธิ์ พระพุทธเจ้าบอกว่า ติรัจฉานวิชา วิชาขัดต่อการเป็นอริยะ ฉนั้น ใครทำน้ำมนต์ เสกเป่า เสกพระเครื่อง ไหว้ผี ไหว้เจ้าอยู่
    แม้แต่โสดาบันยังไม่ได้เลย ห่างกันมา จะป่วยกล่าวไปใยถึง อรหันต์

    เห็นไหมขัดกันกับพระพุทธเจ้าอีกแล้ว ถ้าปล่อยแบบนี้ไปเรื่อง ศาสนาก็จะยิ่งเสื่อมลงทุกวันๆ ศาสนาจะเจริญ ไม่ใช่ว่า มีพระพุทธรูปเยอะ มีวัดเยอะ มีพระเยอะ เพราะพุทธเจ้าบอกเหตุแห่งความเจริญศาสนาว่า
    ภิกษุ จำมาถูก บอกสอนถูก อย่างเช่นที่สาวกที่ยกตัวอย่างไปนี้ คือจำมาผิด บอกสอนผิด ทำให้ศาสนาเสื่อม แต่เมื่อจำมาถูก บอกสอนถูก ศาสนาเจริญ แบบนี้น่ะ ถ้าจะขัดแย้งก็ไปขัดกับธรรมวินัยเองน่ะครับ เพราะผมก็ใช้ความเห็นตามพระพุทธเจ้าและธรรมวินัย ไม่ได้ทำตามความเห็นสาวกคนใหนหรือพระอรหันต์รูปใด ในประเทศไทยมีพระอรหันต์เยอะน่ะ แต่หันซ้าย หันขวานี่สิ แย่ พระอรหันต์อะไร ปลุกเสกพระ ทำน้ำมนต์ ทำมนต์พิธี ซึ่งพระพุทธเจ้าบอกว่า มันขัดต่อทางบรรลุธรรม ขัดกับสิ้นเชิง แค่ดูก็รู้แล้วว่า ไม่ใช่อรหันต์ มีแต่ หันซ้าย หันขวา ขอลาภชาวบ้าน ลอกชาวบ้าน สอนชาวบ้านไม่ให้ถึงแก่นแท้ๆ สักที
     

แชร์หน้านี้

Loading...