มรรคกับศีล สมาธิ ปัญญา- พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโธ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 18 มีนาคม 2010.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    มรรคกับศีล สมาธิ ปัญญา<o></o>

    ข้อปฏิบัติอริยสัจจ์คือที่ท่านว่าทุกข์สมุทัยนิโรธมรรคนั้นคือศีลสมาธิปัญญาคือข้อปฏิบัติอยู่ในใจคำว่าศีลสมาธิปัญญาที่เป็นอยู่นี้ที่นับมือให้ดูนี้มิใช่ว่ามันอยู่ที่มือมันอยู่ที่จิตอย่างนั้นต่างหาก<o></o>

    ทั้งศีลทั้งสมาธิทั้งปัญญาเป็นอยู่อย่างนั้นมันหมุนอยู่ตลอดกาลตลอดเวลาอาศัยรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์อะไรเกิดขึ้นมามรรคนี้จะครอบงำอยู่เสมอถ้ามรรคไม่กล้ากิเลสก็ครอบได้ถ้ามรรคกล้ามรรคก็ฆ่ากิเลสถ้ากิเลสกล้ามรรคอ่อนกิเลสก็ฆ่ามรรคฆ่าใจเรานี่เองถ้ารูปเวทนาสัญญาสังขารเกิดขึ้นมาในใจเราไม่รู้เท่ามันมันก็ฆ่าเรามรรคกับกิเลสเดินเคียงกันไปอย่างนี้ผู้ปฏิบัติคือใจจำเป็นจะต้องเถียงกันไปอย่างนี้ตลอดทางคล้ายมีคนสองคนเถียงกันแท้จริงเป็นมรรคกับกิเลสเท่านั้นเองที่เถียงกันอยู่ในใจของเรามรรคมาคุมเราให้พิจารณากล้าขึ้นเมื่อเราพิจารณาได้กิเลสก็แพ้เราเมื่อมันแข็งมาอีกถ้าเราอ่อนมรรคก็หายไปกิเลสเกิดขึ้นแทนย่อมต่อสู้กันอยู่อย่างนี้จนกว่าจะมีฝ่ายชนะจึงจะจบเรื่องได้ถ้าพยายามตรงมรรคมันก็ฆ่ากิเลสอยู่เรื่อยไปผลที่สุดทุกข์สมุทัยนิโรธมรรคก็อยู่ในใจอย่างนี้นั่นแหละคือเราได้ปฏิบัติอริยสัจจ์<o></o>

    ทุกข์เกิดขึ้นมาด้วยวิธีใดทุกข์ก็เกิดมาจากเหตุคือสมุทัยเป็นเหตุ“เหตุอะไร”เหตุคือศีลสมาธิปัญญานี้อ่อนมรรคก็อ่อนเมื่อมรรคอ่อนกิเลสก็เข้าครอบได้เมื่อครอบได้ก็เป็นตัวสมุทัยทุกข์ก็เกิดขึ้นมาถ้าทุกข์เกิดขึ้นมาแล้วตัวที่จะดับสิ่งเหล่านี้ก็หายไปหมดอาการที่ทำมรรคให้เกิดขึ้นคือศีลสมาธิปัญญาเมื่อศีลยิ่งสมาธิยิ่งปัญญายิ่งนั่นก็คือมรรคเดินอยู่เสมอมันจะทำลายตัวสมุทัยคือเหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์ขึ้นมาได้ระหว่างที่ทุกข์เกิดไม่ได้เพราะมรรคฆ่ากิเลสอยู่นี้ในระหว่างกลางนี้ตรงจิตที่ดับทุกข์ทำไมจึงดับทุกข์ได้เพราะศีลสมาธิปัญญายิ่งคือมรรคนี้ไม่หยุดอาตมาว่าปฏิบัติอย่างนี้เรื่องจิตเรื่องเจตสิกไม่รู้ว่าไปอยู่ไหนมันมารวมอยู่นี่ถ้าจิตพ้นสิ่งเหล่านี้ก็แน่แล้วมันจะไปทางไหนไม่ต้องไปไล่มันมาก<o></o>

    ต้นกะบกต้นนี้ใบเป็นอย่างไรหยิบมาดูใบเดียวเท่านั้นก็เข้าใจได้แล้วมันมีสักหมื่นใบก็ช่างมันใบกะบกเป็นอย่างนี้ดูใบเดียวเท่านี้ใบอื่นก็เหมือนกันหมดถ้าจะดูลำต้นกะบกต้นอื่นดูต้นเดียวก็รู้ได้หมดดูต้นเดียวเท่านั้นต้นอื่นก็เหมือนกันอีกเช่นกันถึงมันจะมีแสนต้นก็ตามอาตมาดูเข้าใจต้นเดียวเท่านั้นก็พอแล้วอาตมาคิดว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้<o></o>

    <o></o>
    มรรคเป็นเหตุความสงบเป็นผล<o></o>

    ศีลก็ดีสมาธิก็ดีปัญญาก็ดีสิ่งทั้งสามประการนี้ท่านเรียกว่ามรรคอันมรรคนี้ยังมิใช่ศาสนาอีกซ้ำยังไม่ใช่สิ่งที่พระศาสดาต้องการอย่างแท้จริงเลยแต่ก็เป็นหนทางที่จะดำเนินเข้าไปเหมือนกับที่ท่านมหามาจากกรุงเทพฯจะมาวัดหนองป่าพงท่านมหาคงไม่ต้องการหนทางต้องการถึงวัดต่างหากแต่หนทางเป็นสิ่งจำเป็นแก่ท่านมหาที่จะต้องมาฉะนั้นถนนที่ท่านมหามานั้นมันไม่ใช่วัดมันเป็นเพียงถนนมาวัดเท่านั้นแต่ก็จำเป็นต้องมาตามถนนจึงจะมาถึงวัดได้<o></o>

    ศีลก็ดีสมาธิก็ดีปัญญาก็ดีถ้าจะพูดว่านอกศาสนาแต่ก็เป็นถนนเข้าไปถึงศาสนาเมื่อทำศีลให้ยิ่งสมาธิให้ยิ่งปัญญาให้ยิ่งแล้วผลคือความสงบเกิดขึ้นมานั่นเป็นจุดที่ต้องการเมื่อสงบแล้วถึงได้ยินเสียงก็ไม่มีอะไรเมื่อถึงความสงบอันนี้แล้วก็ไม่มีอะไรจะทำฉะนั้นพระศาสดาจึงให้ละจะเป็นอะไรก็ไม่ต้องกังวลอันนี้เป็นปัตจัตตังแล้วจริงๆมิได้เชื่อใครอีก<o></o>

    หลักของพระพุทธศาสนาจึงมิได้มีอะไรไม่มีฤทธิ์ไม่มีปาฏิหารย์อย่างอื่นทั้งหลายทั้งปวงสิ่งเหล่านี้พระศาสดามิได้สรรเสริญแต่มันก็อาจทำได้เป็นได้สิ่งเหล่านี้เป็นโมหธรรมพระศาสดาไม่สรรเสริญท่านสรรเสริญผู้ที่ทำให้พ้นจากทุกข์ได้เท่านั้นซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติอุปกรณ์เครื่องปฏิบัตินั้นได้แก่ ทานศีลสมาธิปัญญาจะต้องฝึกหัดอย่างนี้<o></o>

    อันนี้คือทางดำเนินเข้าไปก่อนจะถึงได้ต้องมีปัญญามาก่อนนี้เป็นมรรคมรรคมีองค์แปดประการรวมแล้วได้แก่ศีลสมาธิปัญญาถ้ากิเลสหุ้มขึ้นมาก็เกิดไม่ได้ถ้ามรรคกล้าก็ฆ่ากิเลสสองอย่างเท่านี้ที่จะต่อสู้กันไปตลอดจนปลายทางทีเดียวรบกันไปเรื่อยไม่มีหยุดไม่มีสิ้นสุด<o></o>

    <o></o>
    การปฏิบัติต้องอาศัยความอดทน<o></o>

    อุปกรณ์เครื่องปฏิบัติก็เป็นของลำบากอยู่ต้องอาศัยความอดทนอดกลั้นต้องทำเองให้มันเกิดมาเองเป็นเอง<o></o>

    <o></o>
    ละทิ้งความคิดทั้งหมด<o></o>

    นักปริยัติชอบสงสัยเช่นเวลานั่งสมาธิถ้าจิตสงบปั๊บเอมันเป็นปฐมฌานละกระมังชอบคิดอย่างนี้พอนึกอย่างนี้จิตมันถอนเลยถอนหมดเลยเดี๋ยวก็นึกว่าเป็นทุติยฌานแล้วกระมังอย่าเอามาคิดพวกนี้มันไม่มีป้ายบอกมันคนละอย่างไม่มีป้ายบอกว่า“นี่ทางเข้าวัดหนองป่าพง”มิได้อ่านอย่างนั้นมันไม่บอกมีแต่พวกเกจิอาจารย์มาเขียนไว้ว่าปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตยฌานมาเขียนไว้ทางนอกถ้าจิตเราเข้าไปสงบถึงนั้นแล้วไม่รู้จักหรอกรู้อยู่แต่ว่ามันไม่เหมือนปริยัติที่เราเรียนถ้าผู้เรียนปริยัติแล้วชอบกำเข้าไปด้วยชอบนั่งคอยสังเกตว่าเอเป็นอย่างไรมันเป็นปฐมฌานแล้วหรือยังนี่มันถอนออกแล้วไม่ได้ความทำไมจึงเป็นอย่างนั้นเพราะมันอยากพอตัณหาเกิดมันจะมีอะไรมันก็ถอนออกพร้อมกันนี่แหละเราทั้งหลายต้องทิ้งความคิดความสงสัยให้หมดให้เอาจิตกับกายวาจาล้วนๆเข้าปฏิบัติดูอาการของจิตอย่าแบกคัมภีร์เข้าไปด้วยไม่มีคัมภีร์ในนั้นขืนแบกเข้าไปมันเสียหมดเพราะในคัมภีร์ไม่มีสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง<o></o>

    ผู้ที่เรียนมากๆรู้มากๆจึงไม่ค่อยสำเร็จเพราะมาติดตรงนี้ความจริงแล้วเรื่องจิตใจอย่าไปวัดออกมาทางนอกมันจะสงบก็ให้มันสงบไปความสงบถึงที่สุดมันมีอยู่ปริยัติของอาตมามันน้อยเคยเล่าให้มหาอมรฟังเมื่อคราวปฏิบัติในพรรษาที่๓นั้นมีความสงสัยอยู่ว่าสมาธิเป็นอย่างไรหนอคิดหาไปนั่งสมาธิไปจิตยิ่งฟุ้งยิ่งคิดมากเวลาไม่นั่งค่อยยังชั่วแหมมันยากจริงๆยิ่งยากยิ่งทำไม่หยุดทำอยู่อย่างนั้นถ้าอยู่เฉยๆแล้วสบายเมื่อตั้งใจว่าจะทำให้จิตเป็นหนึ่งยิ่งเอาใหญ่มันยังไงกันทำไมจึงเป็นอย่างนี้<o></o>

    ต่อมาจึงคิดได้ว่ามันคงเหมือน……….ใจเรานี้กระมังถ้าว่าจะตั้งให้หายใจน้อยหายใจใหญ่หรือ………พอดีดูมันยากมากแต่เวลาเดินอยู่ไม่รู้ว่าหายใจเข้าออกตอนไหนในเวลานั้นดูมันสบายแท้จึงรู้เรื่องว่าอ้ออาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้เวลาเราเดินไปตามปกติมิได้กำหนดลมหายใจมีใครเคยเป็นทุกข์ถึงลมหายใจไหม? ไม่เคยมันสบายจริงๆถ้าจะไปนั่งตั้งใจเอาให้มันสงบมันก็เลยเป็นอุปาทานยึดใส่ตั้งใส่หายใจสั้นๆยาวๆเลยไม่เป็นอันกำหนดจิตเกิดมีทุกข์ยิ่งกว่าเก่าเพราะอะไรเพราะความตั้งใจของเรากลายเป็นอุปาทานเข้าไปยึดเลยไม่รู้เรื่องมันลำบากเพราะเราเอาความอยากเข้าไปด้วย<o></o>

    <o></o>
    สภาวธรรมเกิดเองเป็นเองพอดี<o></o>

    วันหนึ่งขณะที่เดินจงกรมอยู่เวลาประมาณห้าทุ่มกว่ารู้สึกแปลกๆมันแปลกมาแต่ตอนกลางวันแล้วรู้สึกว่าไม่คิดมากมีอาการสบายๆเขามีงานอยู่ในหมู่บ้านไกลประมาณสิบเส้นจากที่พักซึ่งเป็นวัดป่าเมื่อเดินจงกรมเมื่อยแล้วเลยมานั่งที่กระท่อมมีฝ่าแถบตองบังอยู่เวลานั่งรู้สึกว่าคู้ขาเข้าเกือบไม่ทันเอ๊ะจิตมันอยากสงบมันเป็นเองของมันพอนั่งจิตก็สงบจริงๆรู้สึกตัวหนักแน่นเสียงเขาร้องรำอยู่ในบ้านมิใช่ว่าจะไม่ได้ยินยังได้ยินอยู่แต่จะทำให้ไม่ได้ยินก็ได้แปลกเหมือนกันเมื่อไม่เอาใจใส่ก็เงียบไม่ได้ยินจะให้ได้ยินก็ได้ไม่รู้สึกรำคาญภายในจิตเหมือนวัตถุสองอย่างตั้งอยู่ไม่ติดกันดูจิตกับอารมณ์ตั้งอยู่คนละส่วนเหมือนกระโถนกับกาน้ำนี่ก็เลยเข้าใจว่าเรื่องจิตเป็นสมาธินี่ถ้าน้อมไปก็ได้ยินเสียงถ้าว่างก็เงียบถ้ามันมีเสียงขึ้นก็ดูตัวผู้รู้ขาดกันคนละส่วน<o></o>

    จึงพิจารณาว่า“ถ้าไม่ใช่อย่างนี้มันจะใช่ตรงไหนอีก”มันเป็นอย่างนี้ไม่ติดกันเลยได้พิจารณาอย่างนี้เรื่อยๆจึงเข้าใจว่าอ้อ! อันนี้ก็สำคัญเหมือนกันเรียกว่าสันตติคือความสืบต่อขาดมันเลยเป็นสันติแต่ก่อนมันเป็นสันตติทีนี้เลยกลายเป็นสันติออกมาจึงนั่งทำความเพียรต่อไปจิตในขณะที่นั่งทำความเพียรคราวนั้นไม่ได้เอาใจใส่ในสิ่งอื่นเลยถ้าเราจะหยุดความเพียรก็หยุดได้ตามสบายเมื่อเราหยุดความเพียรเจ้าเกียจคร้านไหมเจ้าเหนื่อยไหมเจ้ารำคาญไหมเปล่าไม่มีตอบไม่ได้ของเหล่านี้ไม่มีในจิตมีแต่ความพอดีหมดทุกอย่างในนั้น<o></o>

    <o></o>
    ประสบการณ์การรู้ธรรมวาระ<o></o>

    ถ้าเราจะหยุดก็หยุดเอาเฉยๆนี่แหละต่อมาจึงหยุดพักหยุดแต่การนั่งเท่านั้นใจเหมือนเก่ายังไม่หยุดเลยดึงเอาหมอนลูกหนึ่งมาวางไว้ตั้งใจจะพักผ่อนเมื่อเอนกายลงจิตยังสงบอยู่อย่างเดิมพอศีรษะจะถึงหมอนมีอาการน้อมในใจไม่รู้มันน้อมไปไหนแต่มันน้อมเข้าไปน้อมเข้าไปคล้ายกับมีสายไฟอันหนึ่งไปถูกสวิตช์ไฟเข้าไปดันกับสวิตช์อันนั้นกายก็ระเบิดเสียงดังมากความรู้ที่มีอยู่นั้นละเอียดที่สุดพอมันผ่านตรงจุดนั้นก็หลุดเข้าไปข้างในโน้นไปอยู่ข้างในจึงไม่มีอะไรแม้อะไรๆทั้งปวงก็ส่งเข้าไปไม่ได้ส่งเข้าไปไม่ถึงไม่มีอะไรเข้าไปถึงหยุดอยู่ข้างในสักพักหนึ่งก็ถอยออกมาคำว่าถอยออกมานี้ไม่ใช่ว่าเราจะให้มันถอยออกมาหรอกเราเป็นเพียงผู้ดูเฉยๆเราเป็นเพียงผู้รู้เท่านั้นอาการเหล่านี้เป็นออกมาๆก็มาถึงปกติจิตธรรมดา<o></o>

    เมื่อเป็นปกติดังเดิมแล้วคำถามก็มีขึ้นว่า“นี่มันอะไร?”คำตอบเกิดขึ้นว่า“สิ่งเหล่านี้ของเป็นเองไม่ต้องสงสัยมัน”พูดเท่านี้จิตก็ยอมเมื่อหยุดอยู่พักหนึ่งก็น้อมเข้าไปอีกเราไม่ได้น้อมมันน้อมเองพอน้อมเข้าไปๆก็ไปถูกสวิตช์ไฟดังเก่าครั้งที่สองนี้ร่างกายแตกละเอียดหมดหลุดเข้าไปข้างในอีกเงียบยิ่งเก่งกว่าเก่าไม่มีอะไรส่งเข้าไปถึงเข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมันพอสมควรแล้วก็ถอยออกมาตามสภาวะของมันในเวลานั้นมันเป็นอัตโนมัติมิได้แต่งว่าจงเป็นอย่างนั้นจงเป็นอย่างนี้จงออกอย่างนี้จงเข้าอย่างนั้นไม่มีเราเป็นเพียงผู้ทำความรู้ดูอยู่เฉยๆมันก็ถอยออกมาถึงปกติมิได้สงสัยแล้วก็นั่งพิจารณาน้อมเข้าไปอีกครั้งที่สามนี้โลกแตกละเอียดหมดทั้งพื้นปฐพีแผ่นดินแผ่นหญ้าต้นไม้ภูเขาโลกเป็นอากาศธาตุหมดไม่มีคนหมดไปเลยตอนสุดท้ายนี้ไม่มีอะไร<o></o>

    เมื่อเข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมันไม่รู้ว่ามันอยู่อย่างไรดูยากพูดยากของสิ่งนี้ไม่มีอะไรจะมาเปรียบปานได้เลยนานที่สุดอยู่ในนั้นพอถึงกำหนดเวลาก็ถอนออกมาคำว่าถอนเราก็มิได้ถอนหรอกมันถอนของมันเองเราเป็นผู้ดูเท่านั้นก็เลยออกมาเป็นปกติสามขณะนี้ใครจะเรียกว่าอะไรใครรู้เราจะเรียกอะไรเล่า<o></o>

    <o></o>
    พลิกโลกพลิกแผ่นดิน<o></o>

    ที่เล่ามานี้เรื่องจิตตามธรรมชาติทั้งนั้นอาตมามิได้กล่าวถึงจิตถึงเจตสิกไม่ต้องอะไรทั้งนั้นมีศรัทธาทำเข้าไปจริงๆเอาชีวิตเป็นเดิมพันเมื่อถึงวาระที่เป็นอย่างนี้ออกมาแล้วโลกนี้แผ่นดิ้นนี้มันพลิกไปหมดความรู้ความเห็นมันแปลกไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างในระยะนั้นถ้าคนอื่นเห็นอาจจะว่าเราเป็นบ้าจริงๆถ้าผู้ควบคุมสติไม่ดีอาจเป็นบ้าได้นะเพราะมันไม่เหมือนเก่าสักอย่างเลยเห็นคนในโลกไม่เหมือนเก่าแต่มันก็เป็นเราผู้เดียวเท่านั้นแปลกไปหมดทุกอย่างความนึกคิดทั้งหลายทั้งปวงนั้นเขาคิดไปทางโน้นแต่เราคิดไปทางนี้เขาพูดมาทางนี้เราพูดไปทางโน้นเขาขึ้นทางโน้นเราลงทางนี้มันต่างกับมนุษย์ไปหมดมันก็เป็นของมันเรื่อยๆไป<o></o>

    ท่านมหาลองไปทำดูเถอะถ้ามันเป็นอย่างนี้ไม่ต้องไปดูไกลอะไรหรอกดูจิตของเราต่อๆไปมันอาจหาญที่สุดอาจหาญมากนี่คือเรื่องกำลังของจิตเรื่องกำลังของจิตมันเป็นได้ถึงขนาดนี้<o></o>

    <o></o>
    ทางแยกของวิปัสสนากับอิทธิปาฏิหาริย์<o></o>

    นี่เป็นเรื่องกำลังของสมาธิขณะนี้ยังเป็นกำลังของสมาธิอยู่ถ้าเป็นสมาธิชั้นนี้มันสุดของมันแล้วมันไม่สะกดมันไม่เป็นขณะมันสุดแล้วถ้าจะทำวิปัสสนาที่นี่คล่องแล้วจะใช้ในทางอื่นก็ได้ตั้งแต่บัดนี้ต่อไปจะใช้ฤทธิ์ใช้เดชใช้ปาฏิหาริย์ใช้อะไรๆอาจใช้ได้ทั้งนั้นนักพรตทั้งหลายเอาไปใช้ใช้ทำน้ำมนต์น้ำพรใช้ทำตะกรุดคาถาได้หมดทั้งนั้นถึงขั้นนี้แล้วมันไปของมันได้มันก็ดีไปอย่างนั้นแหละดีเหมือนกับเหล้าดีกินแล้วก็เมาดีไปอย่างนั้นใช้ไม่ได้<o></o>

    ตรงนี้เป็นที่แวะพระศาสดาท่านก็แวะตรงนี้นี่เป็นแท่นที่จะทำวิปัสสนาแล้วเอาไปพิจารณาทีนี้สมาธิไม่ต้องเท่าไรดูอาการภายนอกเลยดูเหตุผลพิจารณาเรื่อยไปถ้าเป็นอย่างนี้เราเอาความสงบนี้มาพิจารณารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ที่มากระทบอารมณ์แม้จะดีจะชั่วสุขทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเหมือนกับคนขึ้นต้นมะม่วงแล้วเขย่าลูกหล่นลงมาเราอยู่ใต้ต้นมะม่วงคอยเก็บเอาลูกไหนเน่าเราไม่เอาเอาแต่ลูกที่ดีๆไม่เปลืองแรงเพราะไม่ได้ขึ้นต้นมะม่วงคอยเก็บอยู่ข้างล่างเท่านั้น<o></o>

    <o></o>
    วิปัสสนาคือพิจารณาให้เกิดปัญญา<o></o>

    ข้อนี้หมายความว่าอย่างไรอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงเกิดมาแล้วเอาความรู้มาให้เราหมดมิได้ไปปรุงแต่งมันลาภยศนินทาสรรเสริญสุขทุกข์มันมาเองเรามีความสงบมีปัญญาสนุกเฟ้นสนุกเลือกเอาใครจะว่าดีว่าชั่วว่าร้ายว่าโน่นว่านี่สุขทุกข์ต่างๆนานาเป็นต้นล้วนแต่เป็นกำไรของเราหมดเพราะมีคนขึ้นเขย่าให้มะม่วงหล่นลงมาเราก็สนุกเก็บเอาไม่กลัวจะกลัวทำไมมีคนขึ้นเขย่าลงมาให้เราลาภก็ดียศก็ดีสรรเสริญนินทาสุขทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เปรียบเหมือนมะม่วงหล่นลงมาหาเราเราเอาความสงบมาพิจารณาเก็บเอาเรารู้จักแล้วลูกไหนดีลูกไหนเน่าเมื่อเริ่มพิจารณาสิ่งเหล่านี้อาการที่พิจารณาออกจากความสงบเหล่านี้แหละเรียกว่าปัญญาเป็นวิปัสสนาไม่ได้แต่งมันหรอกวิปัสสนานี้ถ้ามีปัญญามันเป็นของมันเองไม่ต้องไปตั้งชื่อมันถ้ามันรู้แจ้งน้อยก็เรียกว่าวิปัสสนาน้อยถ้ามันรู้อีกขนาดหนึ่งก็เรียกว่าวิปัสสนากลางถ้ามันรู้ตามความเป็นจริงก็เรียกว่าวิปัสสนาถึงที่สุดเรื่องวิปัสสนานี้อาตมาเรียกปัญญาการไปทำวิปัสสนาจะทำเอาเดี๋ยวนั้นๆทำได้ยากมันต้องเดินมาจากความสงบเรื่องมันเป็นเองทั้งหมดไม่ใช่เรื่องเราจะไปบังคับ


    คัดลอกจาก มรรคกับศีล สมาธิ ปัญญา- พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโธ) | OpenBase.in.th
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...