มี คติธรรม คำสอน ดีๆ มาฝาก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พระ บารมี, 13 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. พระ บารมี

    พระ บารมี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +1,476
    คติธรรม คำสอน<O:p</O:p

    หลวงพ่อ วิรัตน์ จันทสโร วัดเขาพนมสัจจฉัพพรรณรังษี (วัดเขาชี)<O:p</O:p
    -----------------------------------------------------------------------------------
    การปฏิบัติธรรม คือการเอาธรรมชาติที่ดีงามออกมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ และปรับปรุงในส่วนทีไม่ดีไม่งาม
    การปฏิบัติธรรม คือการดูจิตเรา ดูความนึกคิดของเราเท่านั้น ไม่ให้หวั่นไหว ไม่ยี่หระ ไม่สะทกสะท้านกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่มากระทบ ให้ดูตัวเรา พิจารณาในตัวเรา ในกิริยา เดิน ยืน นั่ง นอน
    ให้มองดูตัวเองให้มาก ไม่ต้องมองคนอื่น และรอบข้าง จิตอย่าคิดไปไกลตัว ให้รู้จักอดทน อดกลั้น ดูอารมณ์จิต อะไรจะเกิดให้ดูอารมณ์ให้ทันอย่าคล้อยตาม แต่ให้รู้จักละ รู้จักวาง และพยายามดูจิตเราให้ทันจิต เราเองทุกขณะ และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ไม่ให้มีอดีต อนาคต ให้มีแต่ปัจจุบัน เพราะการนึกถึง อดีต หรืออนาคต ก็เป็นกรรม ให้ระลึกดูลมหายใจ เพียงอย่างเดียว และให้ใช้คำภาวนา อะไรก็ได้คำหนึ่งเช่นคำว่า “พุทโธ” ให้ดูลมหายใจ ให้ถอดถอนความพอใจ และความไม่พอใจ ในขณะลมหายใจเข้า-ออก ให้พิจารณาอารมณ์ พิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดีให้ถอดถอนออกให้หมด ไม่มีดี ไม่มีชั่ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
    การนึกถึง-คิดถึง อดีต อนาคต จะเป็นการต่อเวร ต่อกรรม ทำให้เราทุกข์ทรมานไม่มีที่สิ้นสุดอีกต่อไป ให้ดูลมหายใจเข้า-ออก ให้พิจารณาไปเรื่อยๆ ว่ามีสุข มีทุกข์ ฯลฯ ให้ถอดถอนให้สุด พิจารณาสิ่งที่ดี สิ่งที่ชั่ว ทุกอย่างเมื่อพิจารณาแล้วปล่อยละ ปล่อยวาง เพราะทุกอย่างไม่เที่ยงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด
    ให้ตั้งสติสัมปชัญญะ ให้ดูลมเข้า-ออก พิจารณาถอดถอนความพอใจและไม่พอใจออกให้หมด ให้ได้จะได้ไม่ต้องมาเกิดอารมณ์ต่างๆ ความนึกคิดต่างๆมากก็ตาม น้อยก็ตาม ถ้าเรามีอารมณ์ เหล่านั้นเราก็ต้องไปเกิดอีก
    หลวงพ่อสอนด้านปัญญา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา การสอนของพระทุกรูป ทุกสาย ก็ต้องจบด้วยปัญญา ไม่ว่าศาสตร์ไหน สายไหน เพราะว่า <O:p</O:p
    “ สัตว์โลกทั้งหลาย ทั้งปวง ต่างอยู่ในกองทุกข์” ทั้งนั้น<O:p</O:p

    ใครทำใครได้ บุญใครบุญมัน เราได้ ให้เรารีบเร่งมุ่งสร้างคุณงามความดี อย่าลืมว่า ซีวิตเรา เราหิวไม่มีใครกินแทนเราได้ ไม่มีใครทำแทนเราได้ ไม่มีใครรู้แทนเราได้ ตัวเราเองต้องรู้ตัวเอง เช่น เราสุข เราทุกข์ เราก็รู้ของเราเอง เราจะเป็นจะตาย เราก็รู้ของเราเอง ไม่มีใครมารู้กับเรา ช่วยเราได้ ทุกอย่างให้เราฝึก ไม่ยี่หระกับมัน ไม่สะทกสะท้านกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ ทุกอย่างให้เราอยู่แบบปกติ ยึด “ทางสายกลาง” พยายามฝึกจิตให้ได้ ให้หมั่นภาวนา “ใครทำ ใครได้”
    สมาธิ นั่งสงบ คือ นั่งดูจิต คือ ฝึกไม่ยี่หระทุกอย่างให้ทุกอย่างเป็นเรื่องปกติ ให้ดูจิตว่าคิดอะไร ให้จับหลักให้ทันความรู้สึก นึกคิด ดีก็รู้ ไม่ดีก็รู้ คิดดีก็รู้ คิดไม่ดีก็รู้ แต่ไม่สนใจกับมัน ไม่เอาใจใส่ ไม่คล้อยตาม ไม่ปรุงแต่ง คือฝึกละ ฝึกวาง ควรพยายามฝึกให้คล่องแคล่ว ว่องไว ฝึกบ่อยๆ จนคล่อง ให้กำหนดดูจิตตัวเอง โดยใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” คือ ผู้รู้ คิดดีก็รู้ คิดไม่ดีก็รู้ ไม่ปรุงแต่ง นี่คือ “ช่องทางแห่ง มรรค๔ ผล๔ นิพพาน”
    การพูดดีก็เป็นกุศล พูดไม่ดีก็เป็นอกุศล ของเขา เขาว่าอะไรก็ของเขาทั้งหมด ให้มีความคิดของตัวเอง อย่าเป็นทาสอารมณ์ กับมัน ให้รู้ทันอารมณ์ รู้สติ ให้เห็นจิตตัวเอง รู้ทันจิตเจ้าของเพียงอย่างเดียว ดูอารมณ์ตัวเอง แต่อย่าเป็นไปตามอารมณ์นั้น เรามีหน้าที่ทำอะไร เราก็ทำให้ดีที่สุด แต่ไม่ยินดี ยินร้าย กับเหตุการณ์นั้นๆ ทุกกรณี
    หากมีตัวน้อยใจอย่าไปใส่อารมณ์ อารมณ์ก็ดีคือ อารมณ์เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับลง เพราะฉะนั้นอย่าไปใส่ใจให้ฝึกไปเรื่อยๆ เป็นก็ให้รู้ว่าเป็น เมื่อมีเหตุการณ์ให้ดูเหตุการณ์ไปเรื่อยๆ ทั้งหมดมันเป็นผลกรรมเก่าที่เราเคยทำไว้ มันจะร้องไห้ก็ดูมันไปซ้ำๆซากๆ จิตมันจะแกร่งขึ้นมาเอง ทนได้ ทนไม่ได้ ก็ให้ดูไป “สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม” เพราะเราไหลกระเสือกกระสน มาหลายภพหลายชาติ อารมณ์ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นให้ดู และพิจารณาถ้าร้องไห้ให้เราอุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร และขออโหสิกรรม
    ถ้าไม่อยากเกิดอีกให้รู้ทันอารมณ์ ให้พิจารณา ไม่ไหลตามอารมณ์ไป ปรุงแต่งทุกชนิดที่เกิดขึ้นทั้งอารมณ์ดี อารมณ์ร้าย อารมณ์พอใจ ไม่พอใจและทุกๆอารมณ์ให้นิ่งเฉยสงบ ให้รู้แต่จิตใจตัวเอง ไม่ต้องรู้อย่างอื่น ไม่ต้องมีเหตุผล ไม่ต้องมีอะไรทั้งสิ้น ให้ทำตามเหตุปัจจัย หน้าที่ปัจจุบันให้ดี และทำดีนั่นแหละ คือปัญญาธรรม เพราะไม่ได้ทำตามอารมณ์
    กรรมเราคือ กรรมของเรา กรรมเขาคือ กรรมของเขา ให้เอาพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ทาน บารมี บุญ ทุกอย่างในโลกมันเป็นมายาหลอก มนุษย์ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแต่ไร้สาระ แต่เรามาอาศัยโลกอยู่ให้เราทำดีตอบแทนคุณให้กับโลก และเป็นทรัพยากรโลกในทางที่ดี รวมทั้งเป็นสิ่งประเสริฐสูงสุด คือ ให้ทำดีที่สุด อย่าลืมว่าเรามาอาศัยโลกอยู่ชั่วขณะเท่านั้น
    เราพยายามฝึกปฏิบัติ ให้ละให้วางให้คิดว่าทุกอย่างไม่เที่ยง ไม่กระเสือกกระสนตามอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นพยายามดูจิตให้ทัน รู้ว่ามันเกิดให้มันเกิดตั้งสติไว้ ทุกอย่างเกิดขึ้นและดับลงในที่สุด เราก็หมดทุกข์ คือ มันเกิดขึ้นก็ให้รู้ว่า มันเกิดไม่ต้องคิดปรุงแต่งต่อ มันก็จบ เราก็หมดทุกข์ น้อยใจก็ให้รู้ว่าน้อยใจ อย่าปรุงแต่งต่อก็เท่านั้น
    การเข้มแข็งของพระพุทธเจ้า คือจิตไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ต่างๆ นิ่งสงบ สติอารมณ์อยู่เนืองๆ ให้ดูว่าไม่ให้มีอะไรมากระทบจิตเราได้ ก็พอแล้ว อย่าให้อะไรมาบงการจิตเราได้ ให้ปล่อยละ ปล่อยวาง คือตัดไว ให้สร้างตัวรู้มาก่อนคือ ดูเหตุการณ์ ดูพฤติกรรมของจิตให้เป็นคือ รอบรู้ในกองสังขาร คือ “ตัวปัญญา”
    ทุกอย่างอยู่ที่จิตหมด แก้ก็แก้ที่จิตเรา ดี ชั่ว สุข ทุกข์ นรก สวรรค์ มีทุกข์ มีสุข หมดทุกข์ ก็ตัวเรา ไม่มีใครทำให้เราได้ นอกจากตัวเรา
    การกระทำใดๆ ให้หมั่นภาวนา เพราะจะทำให้เกิด มีสติสัมปชัญญะ ความแน่วแน่ มั่นคง จิตใจ แข็งแกร่งไม่อ่อนแอ ไม่วอกแวก มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่ต้องสนใจอยู่ที่ตัวเราให้ตัวเราเป็นผู้พิจารณา มีความมุ่งมั่นไม่ใส่ใจความคิดของผู้อื่น “แต่เอามาพิจารณาดู เพื่อปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาตัวเอง” การพิจารณา เช่นนี้เป็นตัวที่เรียกว่า “ปัญญาเกิด”
    ธรรมฤทธิ์เปิดโลก :พลังธรรมทั้งหลายทั้งปวงในสากลจักรวาลนี้ รวมลงมาอยู่ที่ลมหายใจ เข้า-ออก ของเรานี้ พยายามหายใจและให้มีพลังที่รุนแรงและรวดเร็วให้เต็มร้อย อานุภาพที่มีแสนยานุภาพจะเกิดเองอย่างมหัศจรรย์ ถอดถอนอาถรรพ์ ทุกๆ ประการ ที่เป็นอัปมงคลวิบากกรรมทั้งหลาย ทั้งปวงทุกกรณี จะถอดถอนได้เองโดยธรรมชาติอย่างมหัศจรรย์ เมื่อเราพร้อมด้วยพลังธรรมแห่งพระพุทธเจ้า จะมีพลังพุทธานุภาพที่ประเสริฐ ดวงตาธรรม ปัญญาธรรม เจริญเองโดยบริบูรณ์
    สิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือ สิ่งที่ซ่อนเร้นในตัวเราอาถรรพ์กรรม อาถรรพ์เวรต่างๆ ที่ข้ามภพข้ามชาติทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่เป็นตัวทำให้ชีวิต ไม่ประสบความสำเร็จต่างๆ และประสบความสำเร็จต่างๆ เช่นกัน
    ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน : การรักษาจิตอยู่เนืองๆ ทุกขณะนั้น ให้รู้อยู่มิให้อาการ ของจิตเราเกิดขึ้นได้ในทางอกุศล (ทุกข์) ในทุกๆ กรณีพึงเจริญปฏิบัติให้จิตใจเราเกิดขึ้น แต่เพียงกุศล (สุข) อยู่เนืองๆ ในทุกๆ กรณีนั้นแหละคือ การเอาตัวรอดพ้นจากภัยพิบัติ ในทุกข์ในชาตินี้และชาติต่อๆ ไปแล
    นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย : ควรทราบอยู่เสมอว่าการที่จิตเจตนา หรือการกระทำต่างๆ ของเรานั้นเป็น ภพ-ชาติ-ชรา-มรณะ ทุกประการ โดยทุกกรณี ไม่มียกเว้นเลยในทุกๆกิริยาอาการชั่วแวบๆ ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งหลายทั้งปวง เหล่านั้นคือภพชาติๆที่เวียนเกิด เวียนว่ายอยู่เนืองๆนั่นเอง ไม่มีการยกเว้นแล
    วัฏจักรวังวน : พวกเราชาวโลกทั้งหลาย เวียนว่าย ตายๆ เกิดๆ หาประมาณมิได้ เดี๋ยวผุดเป็นนั่นเป็นนี่อยู่ตลอดกาล สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ลำบากบ้าง สบายบ้าง ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันจบ แต่ต้องทรมานอยู่ตลอดไป ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ จิตดีก็เป็นสิ่งประเสริฐ จิตต่ำทรามก็เป็นทุกข์ทรมานแสนสาหัสตลอดไป
    มาดูจิต จิตกร : ธรรมชาติ ที่เกิดระหว่างการปรุงแต่งสรรสร้างของสิ่งทั้งมวล เมื่อก่อเกิดกำเนิดจะต้องมีการเจริญ ไม่ว่าอะไรทั้งหมดทั้งปวง แต่ที่พิสดารที่สุดคือ “จิต” อารมณ์รู้สึกได้ในสุข,ทุกข์,ไม่สุข,ไม่ทุกข์ จิตจะปรุงแต่งไปเป็นเรื่องๆ เหมือนนิยายทั้งนั้น แล้วแต่จินตนาการของแต่ละเหตุ และปัจจัยที่เจอ รู้สึกต่อเหตุการณ์นั้นๆโดยทุกกรณี “เหมือนจิตกร” สร้างสรรค์ กระทำ ปรุงแต่ง จินตนาการ ที่ได้ฝังเป็นนิสัย สันดานจริตทั้งหลายเหล่านั้นไม่ว่าเล็ก,น้อย,ใหญ่โตหรือดี-ชั่ว ของสรรพสัตว์ และสรรพสิ่งทั้งมวล
    ชีวิต : ชีวิตเหมือนฝุ่นละอองที่ปลิวไป ปลิวมา ฟุ้งกระจายไปตาม “ยถา” ไม่มีวันหยุดตลอดกาล ข้ามภพข้ามชาติไปเรื่อยๆ ตามวิบากกรรมทั้งดี-ชั่ว หาที่จะหยุดสงบลงไปได้ ไม่ว่ากลางวัน กลางคืน “เมื่อใด” ฝึกจิตสมาธิสงบไร้อุปาทาน จินตนาการปรุงแต่ง กระทำไม่ว่าดี หรือชั่ว เมื่อนั้นก็ หมดการปลิว
    กรรมวิบัติ : ชีวิตของธรรมชาติทั้งหลายทั้งมวล ดิน น้ำ ลม ไฟ พร้อมทั้งสรรพสิ่งนาๆ ย่อมมีความต้องการอยู่ในตัวมันเองทั้งหมด บริบูรณ์เต็มที่ เพื่อความสมดุลของธรรมชาติ แต่ไม่ว่าอะไรก็ตาม ถ้าหากมีความต้องการเกินความจำกัดแห่ง......ธรรมชาติแล้ว สิ่งนั้นก็ “วิปริต” หรือ “วิปลาส” ผิดธรรมชาติ ของธรรมชาติจึงจัดว่า “กรรมวิบัติ” นั่นเอง
    ความเจริญ-ความเสื่อม : ความเจริญก็เช่นกัน เมื่อมีจิตใจปลูกฝัง ยินดี พอใจ ฝังจิตเป็นนิสัย,สันดาน จิตทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ว่าเล็กๆ น้อยๆ ใหญ่โต หรือดี-ชั่วของสรรพสัตว์ หรือสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งมวลทุกสิ่ง ทุกๆประการ ก็ถึงแห่งความเสื่อม-ความเจริญ แล.
    กลและมายา : โลกกว้างใหญ่ไพศาลมากมายดาษดื่นนาๆ ประการ ล้วนแต่ดิ้นลนกระเสือกกระสน ทุรนทุราย ไม่มีวัน และเวลาที่จะจบสิ้นเลย แม้ชั่ววินาทีเดียว หมู่มวลแห่งธรรมชาติจะกลืนย่อยสลายไป สูญไปในที่สุดไม่มีอะไรเหลือเลย นี่แหละ กลและมายาที่คลุกเคล้ากลมกลืนล่อลวงให้ธรรมชาติ สรรพสิ่งหลงหมุนเวียนเกิดๆ ตายๆ อยู่ แล.
    สัจธรรม : ที่แท้นั่นเหมือนกันกับจิตใจ ดี-ชั่ว-สุข-ทุกข์-พอใจ-ไม่พอใจ มันก็เป็นเพียงจิตใจดวงเดียวเท่านั้น ไม่เลือก วัน คืน เดือน ปี เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดกาล
    ไม่หัวซา : ก็คือ ไมหัวซาทุกๆ อย่างไม่ว่าใครก็ตาม เรื่องอะไรก็ตามไม่ไปหัวซา แล้วก็เป็นแก้วเต็มดวง หมดขันธ์ ๕ ทุกๆ อย่างก็เป็นกิจวัตร และหน้าที่รับผิดชอบเท่านั้นเอง เพื่อใช้กรรมจนกว่ากรรมจะหมด (ตาย) จะอยู่ที่ไหนก็ตาม ที่วัดหรือธุดงค์ คือการไปฝึกการไม่หัวซาของอารมณ์ใจที่เกิดอยู่ประจำของสัตว์โลก ไม่มีเวลาใด จะว่างเว้นได้เลย ไม่หัวซาในเรื่องใดก็ตัดภพชาติได้หนึ่งชาติ เชิญเขา เกิด-ตาย เลยรู้ตามอารมณ์ แต่ไม่ไปหัวซาทุกประการก็หมดภพชาติเท่านั้นเอง เราต้องดูอะไรที่ยังบกพร่องให้ได้ ถึงเป็นผู้รู้ “ธรรม”
    ผู้ประเสริฐ : หมู-หมา-กา-ไก่-วัว-ควาย-ม้า-กุ้ง-หอย-ปู-ปลา ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น ไม่มีกรณียกเว้น แต่มนุษย์ที่ประเสริฐกว่า ที่รู้ดี-รู้ชั่ว-รู้ผิด-รู้ถูก ที่เป็นคุณพิเศษกว่าเท่านั้นเอง นอกนั้นเหมือนกันหมด ถึงแม้พลาดประมาทแล้ว สำนึกในโทษ ไม่กระทำต่อไปก็ยิ่งดีประเสริฐยิ่ง แล
    สุข-ทุกข์ : บางวันมีแต่ความสุข บางวันมีแต่ความทุกข์ นี่แหละสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่เหตุบังเอิญ
    วิถีชีวิตของภูมิทั้ง ๓ : ความต้องการและความไม่ต้องการ แม้นมีอยู่ในชีวิตของรูปใดก็ตาม ก็ชีวิต “สัตว์” ในภูมินั้น และตกอยู่ในเพลิง ในฉัพพรรณทันใด ไม่มีข้อยกเว้น “ทุกข์” ในทุกๆ กรณี “แต่” มีอยู่สถานะเดียว เพียงเท่านั้นแล ไม่ว่าชีวิตเหล่าใด ในภูมิทั้ง ๓....... รู้อยู่ในวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงจะรอดพ้นจาก “เพลิงมหันตภัย” แล
    ความรู้ที่แท้จริง : ความจริงก็ดี ความไม่จริงก็ดี ความชั่วก็ดี ความดีก็ดี ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี ความฉลาดก็ดี ความโง่ก็ดี สิ่งที่เรารู้ก็ดี สิ่งที่เราไม่รู้ก็ดี สิ่งที่เราเห็นก็ดี สิ่งที่เราไม่เห็นก็ดี สิ่งที่เราชอบก็ดี สิ่งที่เราไม่ชอบก็ดี ความรู้สึกในสิ่งใด ในสิ่งทั้งปวง นั่นแหละ คือ ความรู้แท้จริงบริสุทธิ์แท้ แล...
    บุญ- บาป: ผลของการสร้างความดี ทำให้มีชีวิตพบแต่ความสุข ประสบความสำเร็จ มีความเจริญรุ่งเรือง พบแต่ความสันติสุข ความไพบูลย์ และความเป็นสิริมงคลในชีวิต และพร้อมจะติดตามไปทุกภพ ทุกชาติ หาประมาณมิได้ - ผลของการสร้างบาปและสร้างกรรมชั่ว จะทำให้ทุกร้อน ชีวิตพบแต่อุปสรรค สิ่งอัปมงคล มีแต่ปัญหา เคราะห์เข็ญ กรรมเวร อาถรรพ์ร้ายต่างๆ ความทุกร้อน ทรมานทั้งร่างกาย และจิตใจ รวมทั้งหน้าที่การงานต่างๆ
    ธรรมะ : ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ และการปฏิบัติธรรม ไม่ขึ้นอยู่กับการเวลา ที่เราจะสร้างธรรมชาติทั้งกายและใจไปในลักษณะที่ประเสริฐสูงสุดได้ตลอดอยู่เนืองๆ
    ธรรมะ : จะทำให้โลกอยู่อย่างสงบมีสันติสุข ไม่มีการแก่งแย่ง ทุกคนจะมีความรับผิดชอบต่อตนเอง รู้หน้าที่ของตนเองโดยธรรมชาติอย่างอัตโนมัติ
    ธรรมะ : คือ ธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเรานั่นเอง ไม่ต้องดูไกลตัว การปฏิบัติธรรมให้เรานำเอาธรรมชาติที่ดี ที่งาม ที่มีอยู่ในตัวเราออกมาใช้ เช่น การอ่อนน้อมถ่อมตน มีสำมาคารวะ มีความโอบอ้อมอารี ส่วนธรรมชาติที่ไม่ดีไม่งาม เราควรขจัดออกไป เช่น พวกขี้เกียจ ขี้น้อยใจ ขี้รำคาญและนิสัยที่ไม่ดีทั้งหลาย และปรับปรุงในส่วนที่ไม่ดีให้ดียิ่งขึ้น
    เพราะฉะนั้นธรรมมะ คือ ธรรมชาติที่ดีที่งามนั่นเองและนำธรรมชาติที่ดีที่งามนี้มาประพฤติ ปฏิบัติ ให้เกิด ประโยชน์ ส่วนธรรมชาติที่ไม่ดีก็ขจัดออกไปและปรับปรุงจึงเรียกว่า “การปฏิบัติธรรม”
    การเห็นธรรม จึงไม่ใช่การเห็นสิ่งที่วิเศษต่างๆ *
    กลลวง-มายา : จงอย่าทำจิต และ อารมณ์ต่างๆ เช่น ความรัก ความโกรธ ความโลภ ความหลงต่างๆ หรือปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง เพราะทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแต่เป็นกลลวง เป็นมายาทั้งสิ้นและจะไม่มีที่สิ้นสุด ในสังสาร วัฎวังวน<O:p</O:p

    <O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...