รวมปริศนาธรรม ๑๓ ข้อ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย น้องหน่อยน่ารัก, 30 มีนาคม 2008.

  1. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    รวมปริศนาธรรม ๑๓ ข้อ

    <O:p</O:p

    ๑) เวทนาห้า มีทุกขเวทนา อริยสัจสี่ ก็มีคำว่า ทุกขสัจ ไตรลักษณ์ ก็มีทุกขัง ทั้งสามคำเหมือนกันไหม ต่างกันอย่างไร ในเชิงอรรถและพยัญชนะ?<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เอตอบ : เหมือนกัน ทุกข์เหมือนกันนี่นา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทุกข์ ในเวทนาห้า มีชื่อเต็มว่า “ทุกขเวทนา” เป็นเวทนาธรรม ที่เป็นทุกข์ จึงไม่ใช่ลักษณะธรรม ไม่ใช่ไตรลักษณ์เลย ทุกขัง ในไตรลักษณ์ หมายถึง สัจธรรมอันเป็นลักษณะแห่งสรรพสิ่ง ต้องมีการกระทบกระทั่งบีบเค้นกัน ไม่มีอะไรที่สามารถหลบเลี่ยงการกระทบกระทั่งบีบเค้นกันได้ และทุกขังในไตรลักษณ์นี่เอง ก็เป็นที่มาแห่งทุกข์ได้ หากบุคคลไม่เข้าใจมัน แต่หากเข้าใจมัน ทุกขัง ในไตรลักษณ์ก็ยังมีอยู่ แต่ทุกขเวทนาในจิตคน (โทมนัสเวทนา) ย่อมไม่มีแก่ผู้เข้าใจมัน ไม่มีแก่ผู้บรรลุธรรมอีก ดังนั้นทุกขัง ในไตรลักษณ์ ก่อ ทุกขเวทนาได้ แต่ไม่ก่อโทมนัสเวทนา ในผู้บรรลุธรรม และไม่ก่อทั้ง ทุกขเวทนา และโทมนัสเวทนา ในผู้ดับขันธปรินิพพาน

    ๒) อริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดังนั้น คนที่ทุกข์ย่อมมีอริยสัจใช่ไหม?<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เอตอบ : น่าจะใช่นะ ทุกข์ ในอริยสัจ เมื่อทุกข์ ก็ตรงแล้วกับในอริยสัจนี่นา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    งั้น ทุกคนก็มีดวงตาเห็นอริยสัจสี่กันหมดแล้วสิ เพราะทุกข์กันทุกคน พระพุทธเจ้า กว่าจะตรัสรู้อริยสัจสี่ได้ ท่านต้องตรัสรู้ก่อน ถึงได้ปัญญาธรรมเป็นอริยสัจสี่ อย่างนี้ ก็ไม่ต้องปฏิบัติธรรมอะไร เพราะต่างก็เห็นทุกข์ เห็นอริยสัจกันแล้ว?

    <O:p</O:pเอตอบ : อ้าวแล้วเมื่อทุกข์แล้วยังไม่พบทุกข์ในอริยสัจ แล้วจะพบตอนไหน?

    <O:p</O:pทุกข์ในอริยสัจ ไม่ได้แปลว่ามีความทุกข์ อาการจิตที่เสวยทุกข์ เรียกว่า ทุกขเวทนา ในเวทนาห้า ไม่ใช่ ทุกขสัจ ในอริยสัจสี่ ทุกขสัจ ในอริยสัจสี่ หมายถึง สัจธรรมความจริงที่ว่า มนุษย์ก็มีทุกข์พ้นไปไม่ได้ นอกเสียจากจะกำจัดตัวทุกข์ ไม่สามารถหนีได้ ไม่สามารถกลบเกลื่อนด้วยการแสวงหาสุขมาแทนที่ได้ ต้องกำจัดทุกข์เท่านั้น ซึ่งก็ต้องกำจัดที่ สมุทัยสัจ คือ กำจัดที่เหตุแห่งทุกข์ ซึ่งก็คือ อาสวะกิเลส ต่างๆ นั่นเอง ดังนั้น เวลามีความทุกข์ แต่คิดไม่ได้แบบนี้ ก็เป็นทุกขเวทนา ไม่ใช่ ทุกขสัจ

    <O:p</O:p๓) ตทังคนิโรธ (นิโรธจากการตัดกิเลสชั่วคราว) มีในผู้ไม่บรรลุโสดาบันได้หรือไม่?

    <O:p</O:pเอตอบ : นิโรธ เห็นมีคนบอกว่าหมายถึงนิพพานนั่นแหละ ส่วนตทังคนิโรธ น่าจะหมายถึง ตทังคนิพพานได้นะ แต่ถ้าคนไม่บรรลุนิพพาน งั้นก็ไม่น่ามีตทังคนิโรธนะ

    <O:p</O:pได้ ในผู้ฝึกสติปัฏฐานสี่ มีสติที่ไวมาก เห็นกระบวนการเกิดกิเลสในจิตตนเป็นลำดับ ตั้งแต่จิตเริ่มปรุงแต่งร่วมกับเจตสิก จนเป็นนาม นามประเภทที่มีกิเลส ดังนั้น เขาจึงตัดได้ไวก่อนที่จะเกิด คือ ตัดทันทีช่วงที่เจตสิกเข้ามาปรุงร่วมกับจิต เขาอาจไม่ได้บรรลุธรรมอะไรเลยสักอย่าง ไม่บรรลุโสดาบันเลย เป็นคนที่ดูดีมาก มีคุณธรรมมาก ไม่มีโกรธ โลภ หลง เลย (แบบชั่วคราว) แต่หากจิตเขาไม่พุ่งไปสู่การตัดชาติภพ คือ ใช้สติปัฏฐานตัดกิเลส เพียงเพื่อให้ตนเองเป็นที่ยอมรับในวงสังคมปฏิบัติธรรมแล้ว ย่อมไม่ใช่โสดาบันเลย ดังนั้น แม้ได้ ตทังคนิโรธ แบบนี้ ก็ไม่ใช่ว่ามีปัญญาโสดาบัน ตรงกันข้าม พระโสดาบัน อาจโกรธด่าคนแหลก แต่ท่านก็เป็นโสดาบันได้ ดังนั้น จะดูแต่ว่าคนนี้สำรวม ดูดี ดูไม่หลุดเลย แล้วจะเหมาว่าบรรลุธรรมนั้น ไม่ได้เลย

    <O:p</O:p๔) คนไม่มีกิเลส จัดเป็นคนที่บรรลุธรรมหรือยัง?

    <O:p</O:pเอตอบ : หมดกิเลส ก็น่าจะบรรลุธรรมแล้วสิ

    <O:p</O:pยัง เพราะหากไม่มีปัญญา แม้ไม่มีกิเลส ก็ไม่ได้บรรลุธรรมเลย ยกตัวอย่างเช่น พวกพรหม ที่เกิดเป็นมนุษย์ยุคแรก ก็ไม่ต้องกิน ไม่ต้องสืบพันธ์ จึงไม่มีกิเลส แต่ก็ไม่บรรลุธรรม เพราะขาด “ปัญญา” ไม่แจ้งภัยแห่งวัฏสงสาร ไม่แจ้งว่า การเวียนว่ายตายเกิดไม่จบสิ้นนั้น ไม่พ้นทุกข์ได้ นอกจากจะสิ้นชาติภพ จึงไม่ใช่ผู้บรรลุธรรม

    <O:p</O:p๕) คนมีคุณธรรมมาก ไม่ทำผิดเลย จัดเป็นคนที่บรรลุธรรมหรือยัง?

    <O:p</O:pเอตอบ : น่าจะได้นะ เพราะไม่มีทำผิดเลยนี่นา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ยัง เหตุผลเดียวกันกับคนไม่มีกิเลส คนบางคน ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ไม่เคยทำเลวเลย แต่เขาไม่ทราบว่าภัยแห่งสังสารวัฏคืออะไร และจิตไม่ตรงต่อการทำให้สิ้นไปซึ่งชาติภพ เขาจึงไม่บรรลุธรรมอะไรเลย แม้ไม่เคยทำผิดก็ตาม ตรงกันข้าม คนที่บรรลุธรรม สามารถทำผิดได้ เช่น พระอรหันต์สุภัททะ ที่ปรามาสพระธรรมวินัย

    <O:p</O:p๖) คนที่บรรลุธรรม ไม่ใช่คนดีได้ไหม ไม่มีคุณธรรมได้ไหม?

    <O:p</O:pเอตอบ : ไม่น่าจะได้นะ คนมีธรรม ก็ต้องเป็นคนดีสิ

    <O:p</O:pได้ คือ ตัดทั้งกุศลและอกุศล ตัดทั้งบุญและบาป หมดกิจทั้งดีและเลวจึงไม่ใช่ทั้งคนดี ไม่ใช่คนมีคุณธรรม แต่ก็ไม่ใช่คนเลว เช่น พระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ปลีกเร้นอยู่ในป่า ไม่ได้ช่วยเหลือใครเลย เก็บตัวอย่างเดียว หลีกเร้นทั้งจากกรรมทั้งดีและชั่วเท่านั้น

    <O:p</O:p๗) พระพุทธศาสนา มุ่งสอนให้สร้างบุญมากๆ ใช่ไหม?

    <O:p</O:pเอตอบ : น่าจะใช่มั้ง เห็นก็ทำแบบนั้นกันนี่นา ใครนับถือพุทธจริงจัง ก็ต้องทำบุญมาก พระท่านก็สอนให้เราทำบุญให้ท่านมากๆ พุทธธังฯ เอาสตางค์ใส่ตู้ แบบนี้

    <O:p</O:pไม่ใช่เลย แม้จะมีหลัก ทาน, ศีล, ภาวนา แต่มีทาน ก็เพื่อละกิเลส เพื่อทำลายความตระหนี่ เพื่อการบรรลุธรรม หมดสิ้นกิเลส ไม่ใช่เพื่อสร้างบุญ ดังนั้น พระพุทธศาสนาจริงๆ จึงสอนให้ละทั้งบุญและบาป ไม่หลงผลบุญ ไม่หลงสวรรค์อีก ตัดอย่างเดียว

    <O:p</O:p๘) พระพุทธศาสนา มุ่งสอนให้เป็นคนดีใช่ไหม?

    <O:p</O:pเอตอบ : น่าจะใช่นะ หลวงพ่อฯ บอกให้เป็นคนดี ให้ทำงานให้ท่านมากมายเลยละ พระท่านน่าสงสาร ไม่ทำอะไรแล้ว ท่านสอนให้เราทำ เราเลยทำ แต่ท่านก็ไม่ทำอะไรเลย บางทีวัดสกปรกไม่น่าเข้า ท่านก็สอนให้เราเป็นคนดี เราก็เข้าไปทำให้

    <O:p</O:pไม่ใช่ ไม่ใช่ทั้งคนดีและไม่ใช่คนเลว เพราะคนดีในสังคม คือ คนที่ช่วยเหลือสังคม อุปการะครอบครัวอย่างดี แต่สำหรับผู้บรรลุธรรมแล้ว ละครัวเรือนสิ้น ทั้งยังปลีกตัวจากสังคม สนใจแต่การทำให้คนบรรลุธรรมตามตน คือ ปฏิบัติ ไม่ใช่เพื่อดีหรือเลว หรือเพื่อเป็นคนดี อะไรเลย พ้นจากการ “เป็น” ทุกอย่าง แม้เป็นคนดีก็ไม่เอา การที่พระสงฆ์สอนให้คนอื่นทำความดี ให้ทำบุญมากๆ อาจเป็นเพราะกิเลสของท่านเอง ที่ต้องการได้ปัจจัยจากเรามากๆ จะได้รู้สึกว่าตนเองบวชแล้วก้าวหน้า แท้แล้วผิดถนัด จริงๆ แล้วเราต้องทำบุญด้วยปัญญา คือ ไม่ใช่มากเกินจนไปเลี้ยงกิเลส หรือน้อยเกิน

    <O:p</O:p๙) พระพุทธศาสนา มุ่งสอนให้เห็นแก่ตัวเป็นเบื้องต้นก่อนใช่ไหม?

    <O:p</O:pเอตอบ : อ่าว ไม่ใช่ครับ สอนให้เป็นคนไม่เห็นแก่ตัว

    <O:p</O:pใช่ สอนให้คนเห็นแก่ตัวอย่างถูกต้องด้วยปัญญา คือ เอาตัวรอดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดให้ได้ก่อน ละทิ้งครัวเรือนเอาตัวมาปฏิบัติให้พ้นให้ได้ก่อน จึงค่อยไปช่วยคนอื่นทีหลัง ไม่ใช่ ยังเอาตัวเองไม่รอด ยังหลงอยู่ แล้วไปช่วยคนอื่น แล้วหลงไปด้วยกัน เพราะตนเองยังเอาตัวไม่รอด ยังหลง จึงพาคนอื่นหลงทางไปด้วย ดังนั้น จึงต้องเห็นแก่ตัวก่อน แล้วเมื่อตนบรรลุแล้ว จึงค่อยตอบแทนสังคมในภายหลัง

    <O:p</O:p๑๐) พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สอนให้มีคุณธรรม จริยธรรมใช่ไหม?

    <O:p</O:pเอตอบ : ก็น่าจะใช่นี่นา

    <O:p</O:pไม่ใช่ ศาสนาที่สอนให้มีคุณธรรมและจริยธรรม คือ ลัทธิขงจื้อ เท่านั้น ไม่ใช่พุทธศาสนา และไม่ใช่เต๋าด้วย ลัทธิเต๋าก็ไม่ได้สอนให้มีคุณธรรมหรือจริยธรรม สอนให้เห็นสรรพสิ่งที่มีทั้งด้านดีและเลว และการหลุดพ้นจากทั้งสองสิ่งตรงข้ามต่างหาก

    <O:p</O:p๑๑) คุณธรรม จริยธรรม ทำให้โลกสงบสุขใช่ไหม?

    <O:p</O:pเอตอบ : ก็น่าจะใช่นะ

    <O:p</O:pไม่ใช่ คุณธรรม จริยธรรม ทำให้โลกสงบจริง แต่อาจไม่สุขก็ได้ คือ เงียบด้วยความยอมจำนน เช่น ลัทธิขงจื้อ ถูกพระจักรพรรดิจีน ใช้เป็นเครื่องมอมเมา ให้คนยอมแก่ตน ไม่มีการแย่งชิง แม้จะต้องขาดปัญญา อยู่อย่างยากลำบาก ก็ต้องจงรักภักดีต่อกษัตริย์ จนตัวตาย ก็ยอม ทำให้บางยุคสมัย แม้มีความสงบเงียบ แต่ไม่มีความสุข การบรรลุธรรมแบบพุทธต่างหาก ที่จะทำให้โลกสงบ และสุขได้จริง ทั้งสงบและสุข

    <O:p</O:p๑๒) การสอนจริยธรรม คุณธรรม ไม่ใช่การบรรลุธรรม ก็ไม่ต้องสอนกันดีไหม?

    <O:p</O:pเอตอบ : ไม่ดี ก็สังคมมันก็ยุ่งเหยิงน่ะซี

    <O:p</O:pจะว่าไม่ดีก็ไม่ได้ เพราะหลายครั้งที่โลกมนุษย์สงบ แต่พวกเขาหลงโลก จึงไม่พบธรรม และเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุด และไหลลงอบายต่ำลงเรื่อยๆ เพราะความเสื่อมจากการประมาทในธรรมนั่นเอง ดังนั้น ความไม่สงบ สงคราม และความไร้คุณธรรมความดี ก็เป็นสิ่งดี ต่อการเตือนคนให้ไม่ประมาท ไม่หลงโลก ให้ตื่นขึ้นจากความฝัน มาพบกับความเป็นจริงที่โหดร้าย ดังนั้น พระพุทธเจ้า จึงไม่จุติในยุคที่มนุษย์อายุยืนเกินไป เพราะความอนิจจังนั้นเห็นได้ไม่บ่อย คนจะหลงโลกกันมาก แต่จะว่าดีก็ไม่ได้ เพราะหากมีมากเกิน หรือไม่มีเลย บุคคลไม่มีพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรมเลย ก็สอนไม่ได้อีก ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ตรัสรู้ในยุคที่มนุษย์เลวเกินไป หากยุคนั้นคนดีอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องมีสอนอีก แต่หากไม่มีเลย ก็ต้องมีสอนจริยธรรมบ้าง

    <O:p</O:p๑๓) มีอะไรจะถามไหม?<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เอตอบ : รู้สึกว่าจะตอบผิดหมดเลย นี่ยังจัดเป็นชาวพุทธได้ไหมนี่?

    <O:p</O:pไม่ได้หรอก ถ้ายังไม่บรรลุโสดาบัน ก็ยังไม่จัดเป็นชาวพุทธที่แท้จริง เป็นแค่สมมุติ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มีนาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...