ลิลิตโองการแช่งน้ำ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 23 เมษายน 2010.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ลิลิตโองการแช่งน้ำ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

    ลิลิตโองการแช่งน้ำ เป็นวรรณคดีที่เก่าแก่มาก แต่งขึ้นในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑

    ลิลิตโองการแช่งน้ำฉบับนี้ แต่งขึ้นด้วยโคลงห้า และร่ายดั้น อันเป็นเอกลักษณ์ เพราะเป็นวรรณคดีเพียงเรื่องเดียวที่ใช้โคลงห้าที่เหลือรอดจนถึงปัจจุบัน ลิลิตโองการแช่งน้ำ จึงเป็นวรรณกรรมทางการเมืองที่เก่าแก่เรื่องหนึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ ในการที่จะพิทักษ์พระราชอำนาจ โดยพระมหากษัตริย์อาจมุ่งให้ผู้ถือสัตย์เกิดความเกรงกลัวและยึดมั่นในคำสัตย์สาบานของตนอีกประมาณหนึ่ง เป็นเสมือนการตรวจสอบอำนาจและความจงรักภักดีของข้าราชการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสวยน้ำสาบานด้วย ทำให้มุ่งหมายขอบเขตของการแช่งน้ำจากการแสดงความจงรักภักดี เป็นประกาศตัวเป็นพวก พระมหากษัตริย์ทรงลดฐานะลงมา กระทำ สัญญาประชาคมทางใจกับข้าราชการ เป็นทำนองต่างฝ่ายจะซื่อตรงต่อกัน

    ลิลิตโองการแช่งน้ำ เป็นวรรณกรรมเก่าแก่ ใช้สำหรับอ่านหรือสอนในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่งเป็นพิธีที่ประกอบขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีของ ข้าราชการและขุนนาง เชื่อกันว่าลิลิตโองการแช่งน้ำแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นคือรัชสมัยของพระรามาธิบดี ที่ ๑ เนื่องจากมีข้อความตอนหนึ่งว่า “ผู้บ่ดีบ่ซื่อใครใจคอใจคด ขบถเจ้าผู้ผ่านเกล้าอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักพรรดิศรราชาธิราช ท่านมีอำนาจ มีบุญ”
    เนื้อเรื่องของลิลิตโองการแช่งน้ำแบ่งเป็น ๕ ส่วนด้วยกัน กล่าวคือ
    ๑. คำสดุดีเทพเจ้าทั้ง ๓ องค์ ในศาสนาพราหมณ์หรือตรีมูรติ ประกอบด้วยร่าย ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศรและพระพรหม พระผู้ประทับเหนือหลังครุฑ "สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี"(พระนารายณ์) พระผู้ประทับบนวัวเผือก "เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเปนปิ่น" (พระศิวะ) และผู้ประทับ "เหนือขุนห่าน" (พระพรหม) เป็นร่ายสามบทสั้นๆ ต่อมาเป็นเรื่องไฟล้างโลก การ สร้างโลก และการอภิเษกพระเจ้าแผ่นดิน
    ๒. กล่าวถึงกำเนิดโลก และสังคมมนุษย์ อัญเชิญเทพยดา พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีต่างๆ มาเป็นพยาน ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า การอัญเชิญพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย มาเป็นพยานในพิธีซึ่งมีคติความเชื่อเรื่องผีบ้านผีเรือน เทวดาชั้นต่าง ๆ และเทวดาอารักษณ์ ที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาจึงต้องเชิญมาเพื่อให้เป็นพยานและเป็นหูเป็นตามิให้ผู้คิดคดทรยศ ความเชื่อเรื่องเทวดา หรือเทพเจ้าต่าง ๆ นี้ เป็นคติพราหมณ์แต่มีคติทางพุทธมาเจือปนจากการอัญเชิญพระรัตนตรัยมาเป็นพยาน
    ๓. คำสาปแช่งผู้ทรยศ คิดไม่ซื่อต่อเจ้าแผ่นดิน ให้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งจากสัตว์ร้ายจากคมหอกคมดาบ ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า เป็นเนื้อหาที่ยาวที่สุดในบรรดา ๕ ส่วน
    ๔.คำอวยพรผู้ที่มีความจงรักภักดี คือเมื่อยังมีชีวิตอยู่ให้ได้รับความดีความชอบปูนบำเหน็จจากพระเจ้าแผ่นดิน ให้เจริญด้วยพร ๔ ประการ เมื่อตายไปให้เทวดานำขึ้นไปสู่สวรรค์เป็นต้น
    ๕. ถวายพระพรเจ้าแผ่นดิน เป็นร่ายสั้นๆ เพียง ๖ วรรค

    พระราชพิธีตรีสัจจปานกาลหรือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นพิธีพราหมณ์ เกิดจากความเชื่อเรื่องคำสัตย์สาบาน และความเชื่อเรื่องเทพเจ้า การล้างโลก การสร้างโลก ตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ประกอบกับความจำเป็นด้านการปกครองบ้านเมือง เนื่องจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นครั้งแรก ต้องการความซื่อสัตย์สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของบรรดาข้าราชบริพารทั้งหลายทำให้ต้องมีพระราชพิธีดื่มน้ำสาบานตน
    การถือน้ำครั้งกรุงเก่ากระทำที่วัดศรีสรรเพชญ์ แล้วย้ายไปที่วิหารพระมงคลบพิตร เมื่อถือน้ำแล้ว นำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปกราบถวายบังคมทูลพระรูปพระเจ้าอู่ทอง แล้วพากันเข้าไปถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินพร้อมกัน
    พิธีเริ่มโดยพระมหาราชครูเชิญพระขันหยก มีรูปพระนารายณ์ทรงศรตั้งอยู่กลางขัน แล้วกรมแสงหอกดาบเชิญพระแสงศรพรหมาสตร์ ประลัยวาต และอัคนิวาต ถอดฝักส่งให้พระครูอ่านโองการแช่งน้ำและแทง พระแสงศรองค์ละ ๓ ครั้ง เมื่อกล่าวถึงพระนารายณ์ แทงพระแสงศรปลัยวาต เมื่อกล่าวถึงพระอิศวร แทงพระแสงศรอัคนิวาต เมื่อกล่าวถึงพระพรหม แทงพระแสงสรพรหมมาสตร์
    เมื่ออ่านโองการแช่งน้ำจบแล้ว พระอาลักษณ์อ่านคำประกาศสาบานตน แล้วกรมพระแสงหอกดาบเชิญพระแสงตามลำดับ พระมหาราชครูแทงพระแสงในหม้อและขันสาคร แล้วแจกน้ำให้ข้าราชการบริพารดื่ม

    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
    คณะราษฎร์ นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันตรีควง อภัยวงศ์ นายร้อยโทแปลก คีตะสังคะ เป็นต้น ได้ทำการยึดพระราชอำนาจการปกครองแผ่นดินจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะราษฎร์ได้สั่งยกเลิกพระราชพิธีทั้งหมดในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย

    พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาหรือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หมายถึง พระราชพิธีอันเป็นมงคล..แห่งความซื่อสัตย์...ที่ใช้น้ำเป็นเครื่องกำหนด เรียกอย่างย่อว่า... พระราชพิธีถือน้ำ.....
    อันเป็นการดื่มน้ำที่แทงด้วย พระแสงราชศัสตรา เป็นการสาบานตน เพื่อแสดงความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเอง หากตั้งอยู่ในความสัตย์..

    จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญในด้านการปกครอง โบราณกำหนด ผู้ที่ถือน้ำในพิธีดื่มน้ำสาบานไว้ ได้แก่ .....
    บรรดาข้าราชการประจำ ทหารที่ถืออาวุธ ศัตรู..ผู้ที่เข้ามาขอพึ่ง..พระบรมโพธิสมภาร..

    นอกจากนั้นยังกำหนดโทษสำหรับ ข้าราชการ ที่ไม่มารวมพิธีถือน้ำถึง....ตาย
    ยกเว้นผู้ที่เจ็บป่วย และ มีข้อห้ามไม่ให้ใส่แหวนนาก แหวนทอง ร่วมในพิธี
    ห้ามกินอาหารก่อนเข้าพิธี หากผู้ใด ดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา แล้วยื่นต่อให้แก่กันหรือดื่มแล้วเททิ้ง...โดยไม่ได้เทใส่ผม.... มีโทษ ..เป็น กบฏ !!!!

    การถือน้ำ ของข้าราชการประจำ ทำปีละ ๒ ครั้ง คือในเดือนห้า ขึ้น ๓ ค่ำ และ ในเดือนสิบแรม ๑๓ ค่ำ พิธีนี้กระทำต่อกันมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย......!!!

    อนึ่ง ! ในการเสกทำน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้น พราหมณ์จะเชิญ พระแสงราชศัสตรา มาแทงน้ำรวมทั้งหมด ๑๓ พระองค์ ได้แก่...
    พระแสงศร ๓ องค์
    พระแสงขรรค์ชัยศรี
    พระแสงดาบคาบค่าย
    พระแสงราชศัสตรา ประจำรัชกาลที่ ๑ - ๗

    แล้วใช้ พระแสงราชศัสตราสำหรับแผ่นดินนี้ แทงน้ำ ประกอบการอ่าน โองการ..แช่งน้ำ..ซึ่งเป็น โคลงห้าหรือโคลงแช่งน้ำ หรือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ อันเป็นวรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้เกิดความน่าเกรงกลัว หากจะกระทำผิดจาก ....สัตย์สาบาน..และ ..เกิดศรัทธาที่จะกระทำความดี นับเป็นจิตวิทยาทางการปกครอง ที่ควบคุมจิตใจและความประพฤติของข้าราชการ ทหาร ให้ตั้งอยู่ใน ความซื่อสัตย์สุจริต และ จงรักภักดีต่อพระประมุขของชาติ

    หลังพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี แล้ว ผู้รับจะยืนกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตน โดย พราหมณ์จะตักน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดื่ม จากนั้นสมาชิกราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีถวายคำนับ เดินไปยังขันสาคร พราหมณ์จะตักน้ำให้ผู้รับฯ ดื่มต่อไป

    โดยปกติ การประกอบพระราชพิธี จะกำหนดไว้ ๒ วัน วันแรกเป็นการเสกน้ำที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ ๒ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ ดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ที่ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


    โองการแช่งน้ำ

    ๏ โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเปนแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักรคทาธรณี ภีรุอวตาร อสูรแลงลาญทัก ททัคนี (ทักขิณ) จรนายฯ
    ๏ โอมปรเมศวราย ผายผาหลวงอคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเป็นปิ่น ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่ง แกว่งเพชรกล้า ฆ่าภิฆนจัญไรฯ
    ๏ โอมชัยชัย ไขโสฬศพรหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินก่อฟ้า หน้าจตุรทิศ ไทยมิตรดา มหากฤตราไตร (ไกร) อมรรตัยโลเกศ จงตรีศักดิท่าน พิญาณปรมาธิเบศ ไทธเรศสุรสิทธิ์ฯ
    <TABLE style="POSITION: relative" align=center><TBODY><TR><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD></TD><TD>๏ พ่อเสวยพรหมานฑ์</TD><TD>ใช่น้อย</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ประถมบุณยภาร</TD><TD>ดิเรก</TD></TR><TR><TD></TD><TD>บูรพภพบรู้กี่ร้อย</TD><TD>ก่อมาฯ</TD><TD></TD></TR><TR><TD>นานา</TD><TD>อเนกน้าว</TD><TD>เดิมกัลป์</TD></TR><TR><TD>จักร่ำ</TD><TD>จักราพาฬ</TD><TD>เมื่อไหม้</TD></TR><TR><TD>กล่าวถึง</TD><TD>ตระวันเจ็ด</TD><TD>อันพลุ่ง</TD></TR><TR><TD></TD><TD>น้ำแล้งไข้</TD><TD>ขอดหาย ฯ</TD></TR><TR><TD>เจ็ดปลา</TD><TD>มันพุ่งหล้า</TD><TD>เป็นไฟ</TD></TR><TR><TD>วะวาบ</TD><TD>จัตุราบาย</TD><TD>แผ่นขว้ำ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ชักไตรตรึงษ์</TD><TD>เป็นเผ้า</TD></TR><TR><TD></TD><TD>แลบ่ล้ำ</TD><TD>สีลอง ฯ</TD></TR><TR><TD>สามรรถ</TD><TD>ญาณครอบเกล้า</TD><TD>ครองพรหม</TD></TR><TR><TD>ฝูงเทพ</TD><TD>นองบนปาน</TD><TD>เบียดแป้ง</TD></TR><TR><TD></TD><TD>สรลมเต็มพระ</TD><TD>สุธาวาศ</TD><TD>แห่งหั้น</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ฟ้าแจ้งจอด</TD><TD>นิโรโธ ฯ</TD></TR><TR><TD>กล่าวถึง</TD><TD>น้ำฟ้าฟาด</TD><TD>ฟองหาว</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ดับเดโช</TD><TD>ฉ่ำหล้า</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ปลาดินดาว</TD><TD>เดือนแอ่น</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ลมกล้าป่วน</TD><TD>ไปมา ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>แลเป็นแผ่น</TD><TD>เมืองอินทร์</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เมืองธาดา</TD><TD>แรกตั้ง</TD></TR><TR><TD> ขุนแผน</TD><TD>แรกเอาดิน</TD><TD>ดูที่</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ทุกยั้งฟ้า</TD><TD>ก่อคืน ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>แลเป็นสี่</TD><TD>ปวงดิน</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เป็นเขายืน</TD><TD>ทรง้ำหล้า</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เป็นเรือนอินทร์</TD><TD>ถาเถือก</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เป็นสร้อยฟ้า</TD><TD>จึ่งบาน ฯ</TD></TR><TR><TD>จึ่งเจ้า</TD><TD>ตั้งผาเผือก</TD><TD>ผาเยอ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ผาหอมหวาน</TD><TD>จึ่งขึ้น</TD></TR><TR><TD></TD><TD>หอมอายดิน</TD><TD>เลอก่อน</TD></TR><TR><TD></TD><TD>สรดึ้นหมู่</TD><TD>แมนมา ฯ</TD></TR><TR><TD>ตนเขา</TD><TD>เรืองร่อนหล้า</TD><TD>เลอหาว</TD></TR><TR><TD></TD><TD>หาวันคืน</TD><TD>ไป่ได้</TD></TR><TR><TD></TD><TD>จาวชิมดิน</TD><TD>แสงหล่น</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เพียงดับไต้</TD><TD>มืดมูล ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ว่นว่นตา</TD><TD>ขอเรือง</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เป็นพระสูรย์</TD><TD>ส่องหล้า</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เป็นดาวเมือง</TD><TD>เดือนฉ่ำ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เห็นฟ้าเห็น</TD><TD>แผ่นดิน ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>แลมีค่ำ</TD><TD>มีวัน</TD></TR><TR><TD></TD><TD>กินสาลี</TD><TD>เปลือกปล้อน</TD></TR><TR><TD>........</TD><TD></TD></TR><TR><TD>บ่มี</TD><TD>ผู้แต่งต้อน</TD><TD>บรรณา ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เลือกผู้เป็น</TD><TD>ยิ่งยศ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เป็นราชา</TD><TD>อะคร้าว</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เรียกนามสมมติ-</TD><TD>ติราช</TD></TR><TR><TD>เจ้าจึ่ง</TD><TD>ตั้งท้าวจ้าว</TD><TD>แผ่นดิน ฯ</TD></TR><TR><TD>สมมติ</TD><TD>แกล้วตั้งอาทิตย์</TD><TD>เดิมกาล</TD></TR><TR><TD>สายท่าน</TD><TD>ทรงธรณินทร์</TD><TD>เรื่อยหล้า</TD></TR><TR><TD>วันเสาร์</TD><TD>วันอังคาร</TD><TD>วันไอยอาทิ์</TD></TR><TR><TD>กลอยแรก</TD><TD>ตั้งฟ้ากล่าว</TD><TD>แช่งผี ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เชียกบาศก์ด้วย</TD><TD>ชันรอง</TD></TR><TR><TD>ชื่อพระ</TD><TD>กรรมบดี</TD><TD>ปู่เจ้า</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ท่านรังผยอง</TD><TD>มาแขก</TD></TR><TR><TD>(กลอย)</TD><TD>แรกตั้งขวัญเข้า</TD><TD>ธูปเทียน ฯ</TD></TR><TR><TD>เหล็กกล้า</TD><TD>หญ้าแพรกบั้น</TD><TD>ใบตูม</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เชียรเชียรใบ</TD><TD>บาตน้ำ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>โอมโอมภูมิ</TD><TD>เทเวศร์</TD></TR><TR><TD></TD><TD>สืบค้ำฟ้า</TD><TD>เที่ยงเฮย</TD><TD>ย่ำเฮย ฯ</TD></TR><TR><TD>.....</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ผู้ใดเภท</TD><TD>จงคด</TD></TR><TR><TD></TD><TD>พาจกจาก</TD><TD>ซึ่งหน้า</TD></TR><TR><TD>ถือขัน</TD><TD>สรดใบพลู</TD><TD>ตานเสียด</TD></TR><TR><TD></TD><TD>หว้ายชั้นฟ้า</TD><TD>คู่แมน ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>มารเฟียดไท</TD><TD>ทศพล</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ไตรแดนจักร</TD><TD>อยู่ค้อย</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ธรรมาระคน</TD><TD>ปรัตเยก</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ห้าร้อยเทียร</TD><TD>แม่นเดียว ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>อเนกถ่อง</TD><TD>พระสงฆ์</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เชียวจรรยา</TD><TD>ยิ่งได้</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ขุนหงษ์ทอง</TD><TD>เกล้าสี่</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ชระอ่ำฟ้าใต้</TD><TD>แผ่นหงาย ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ฟ้าฟัดพรี</TD><TD>ใจยัง</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ใจตายตน</TD><TD>บ่ใกล้</TD></TR><TR><TD>(ทั้ง)</TD><TD>สี่ปวงผี</TD><TD>หาวแห่ง</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>พื้นใต้ชื่อ</TD><TD>กามภูมิ ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ฟ้าชระแร่ง</TD><TD>หกคลอง</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ครูมคลองแผ่น</TD><TD>เผือกช้าง</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ผีกลางหาว</TD><TD>หารแอ่น</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เสียงเงือกงูว้าง</TD><TD>ขึ้นลง ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ฟ้ากระแฉ่น</TD><TD>เรือนผยอง</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เอาธงเป็น</TD><TD>หมอกหว้าย</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เจ้าผาดำ</TD><TD>สามเส้า</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>หันอย้าวปู่</TD><TD>สมิงพราย ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เจ้าผาหลวง</TD><TD>ผาลาย</TD><TD>ช่วยดู ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>แสนผีพึง</TD><TD>ยอมท้าว</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เจ้าผาดำ</TD><TD>ผาเผือก</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ดีร้ายบอก</TD><TD>คนจำ ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>กำรูคลื่น</TD><TD>เปนเปลว</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ผีพรายผี</TD><TD>ชระมื่นถ้ำ</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD>………</TD></TR><TR><TD></TD><TD>บ่ซื่อน้ำ</TD><TD>ตัดคอ ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ตัดคอเร็ว</TD><TD>ให้ขาด</TD></TR><TR><TD>บ่ซื่อ</TD><TD>มล้างออเอา</TD><TD>ใส่เล้า</TD></TR><TR><TD>บ่ซื่อ</TD><TD>น้ำอยาดท้อง</TD><TD>เปนรุ่ง</TD></TR><TR><TD>บ่ซื่อ</TD><TD>แร้งกาเต้า</TD><TD>แตกตา ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เจาะเพาะพุง</TD><TD>ใบแบ่ง</TD></TR><TR><TD>บ่ซื่อ</TD><TD>หมาหมีหมู</TD><TD>เข่นเขี้ยว</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เขี้ยวชาชแวง</TD><TD>ยายี</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ยมราชเกี้ยว</TD><TD>ตาตาว</TD><TD>ช่วยดู ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ชื่อทุณพี</TD><TD>ตัวโตรด</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ลมฝนฉาว</TD><TD>ทั่วฟ้า</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ฟ้าจรโลด</TD><TD>ลิวขวาน</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ขุนกล้าแกล้ว</TD><TD>ขี่ยูง</TD><TD>ช่วยดู ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เคล้าฟ้าเคลือก</TD><TD>เปลวลาม</TD></TR><TR><TD></TD><TD>สิบหน้าเจ้า</TD><TD>อสุร</TD><TD>ช่วยดู</TD></TR><TR><TD>...</TD></TR><TR><TD></TD><TD>พระรามพระลักษณ์</TD><TD>ชวักอร</TD></TR><TR><TD></TD><TD>แผนทูลเขา</TD><TD>เงือกปล้ำ</TD><TD>ช่วยดู ฯ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ปล้ำเงี้ยวรอน</TD><TD>ราญรงค์</TD></TR><TR><TD>ผีดง</TD><TD>ผีหมื่นถ้ำล้ำ</TD><TD>หมื่นผา ฯ</TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE><TBODY><TR><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD>๏ มาหนน้ำหนบก</TD><TD>ตกนอกขอกฟ้าแมน</TD><TD>แดนฟ้าตั้งฟ้าต่อ</TD><TD>หล่อหลวงเต้า</TD></TR><TR><TD>ทังเหง้าภูตพนัสบดี</TD><TD>ศรีพรหมรักษ์</TD><TD>ยักษ์กุมาร</TD><TD>หลายบ้านหลายท่า</TD></TR><TR><TD>ล้วนผีห่าผีเหว</TD><TD>เร็วยิ่งลมบ้า</TD><TD>หน้าเท่าแผง</TD><TD>แรงไถยเอาขวัญ</TD></TR><TR><TD>ครั้นมาถึงถับเสียง</TD><TD>เยียชระแรงชระแรง</TD><TD>แฝงข่าวยินเยีย</TD><TD>ชระรางชระราง</TD></TR><TR><TD>รางชางจุบปากเยีย</TD><TD>จะเจี้ยวจะเจี้ยว</TD><TD>เขี้ยวสระคาน</TD><TD>อานมลิ้นเยีย</TD></TR><TR><TD>ละลาบละลาบ</TD><TD>ตราบมีในฟ้าในดิน</TD><TD>บินมาเยีย</TD><TD>พะพลุ่งพะพลุ่ง</TD></TR><TR><TD>จุ่งมาสูบเอา</TD><TD>เขาผู้บ่ซื่อ</TD><TD>ชื่อใครใจคด</TD><TD>ขบถเกียจกาย</TD></TR><TR><TD>หว้ายกะทู้ฟาดฟัน</TD><TD>คว้านแคว้นมัดศอก</TD><TD>หอกดิ้นเด้าเท้าทก</TD><TD>หลกเท้าให้ไป่มิทันตาย</TD></TR><TR><TD>หงายระงมระงม</TD><TD>ยมพบาลลากไป</TD><TD>ไฟนรกปลาบปลิ้นดิ้นพลาง</TD><TD>เขาวางเหนืออพิจี</TD></TR><TR><TD>ผู้บดีบซื่อ</TD><TD>ชื่อใครใจคด</TD><TD>ขบถแก่เจ้า</TD><TD>ผู้ผ่านเกล้าอยุทธยา</TD></TR><TR><TD>สมเด็จพระรามาธิบดี</TD><TD>ศรีสินทรบรมมหา</TD><TD>จักรพรรดิศรราชาธิราช</TD><TD>ท่านมีอำนาจมีบุญ</TD></TR><TR><TD>คุณอเนกา</TD><TD>อันอาศรัยร่ม</TD><TD>แลอาจข่มชัก</TD><TD>หักกิ่งฆ่า</TD></TR><TR><TD>อาจถอนด้วยฤทธานุภาพ</TD><TD>บาปเบียนตน</TD><TD>พนธุพวกพ้องญาติกามาไสร้</TD><TD>ไขว้ใจจอด</TD></TR><TR><TD>ทอดใจรัก</TD><TD>ชักเกลอสหาย</TD><TD>ตนทั้งหลายมาเพื่อจะทำขบถ</TD><TD>ทดโหร่ห์แก่เจ้าตนไสร้</TD></TR><TR><TD>จงเทพยดาฝูงนี้</TD><TD>ให้ตายในสามวัน</TD><TD>อย่าให้ทันในสามเดือน</TD><TD>อย่าให้เคลื่อนในสามปี</TD></TR><TR><TD>อย่าให้มีศุขสวัสดิเมื่อใด ฯ</TD></TR><TR><TD>๏ อย่ากินเข้าเพื่อไฟ</TD><TD>จนตาย</TD><TD>อย่าอาไศรยแก่น้ำ</TD><TD>จนตาย</TD></TR><TR><TD>นอนเรือนคำรนคา</TD><TD>จนตาย</TD><TD>ลืมตาหงายสู่ฟ้า</TD><TD>จนตาย</TD></TR><TR><TD>ก้มหน้าลงแผ่นดิน</TD><TD>จนตาย</TD><TD>สีลองกินไฟต่างง้วน</TD><TD>จนตายฯ</TD></TR><TR><TD>๏ จงไปเป็นเปลวปล่อง</TD><TD>น้ำคลองกลอกเป็นพิษ</TD><TD>คาบิดเปนเทวงุ้ม</TD><TD>ฟ้ากระทุ่มทับลง</TD></TR><TR><TD>แล่งแผ่นดินปลงเอาชีพ</TD><TD>จรเข้ริบเสือฟัด</TD><TD>หมีแรดถวัดแสนงขนาย</TD><TD>หอกปืนปลายปักครอบ</TD></TR><TR><TD>ใครต้องจอบจงตาย</TD><TD>งูเงี้ยวพิษทั้งหลายลุ่มฟ้า</TD><TD>ตายต่ำหน้ายังดิน ฯ</TD></TR><TR><TD>๏ อรินทรหยาบหลาบหล้า</TD><TD>ใครกวินซื่อแท้ผ่านฟ้า</TD><TD>ป่าวอวยพรฯ</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="POSITION: relative" align=center><TBODY><TR><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD>อำนาจ</TD><TD>แปล้เมือแมน</TD><TD>อมรสิทธิ</TD></TR><TR><TD>มีศรี</TD><TD>บุญพ่อก่อ</TD><TD>เศกเหง้า</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ยศท้าวตริ</TD><TD>ไตรจักร</TD></TR><TR><TD></TD><TD>มิ่งเมืองบุญ</TD><TD>ศักดิ์แพร่</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เพิ่มช้างม้า</TD><TD>แผ่วัวควาย</TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="POSITION: relative" align=center><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๏ เพรงรัตนพรายพรรณยื่น</TD><TD>เพิ่มเขาหมื่นมหาไชย</TD><TD>ใครซื่อเจ้าเติมนาง</TD><TD>ใครซื่อรางควายทอง</TD></TR><TR><TD>ใครซื่อฟ้าสองอย้าวเร่งยิน</TD><TD>ใครซื่อสินเภตรา</TD><TD>ใครซื่อใครรักเจ้ายศยง</TD><TD>จงกลืนชนมาให้ยืนยิ่ง</TD></TR><TR><TD>เทพายศล่มฟ้า</TD><TD>อย่ารู้ว่าอันตราย</TD><TD>ใจกล้าได้ดังเพชร</TD><TD>ขจายขจรอเนกบุณย์</TD></TR><TR><TD>สมเด็จพระรามาธิบดี</TD><TD>ศรีสินทรบรมมหา</TD><TD>จักรพรรดิศรราชเรื่อยหล้า</TD><TD>ศุขผ่านฟ้า</TD></TR><TR><TD>เบิกสมบุญ</TD><TD>พ่อสมบุญฯ</TD></TR></TBODY></TABLE>




    โองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีที่ใช้คำเก่า แต่เป็นคำไทยแม้เป็นส่วนมาก ทำให้อ่านเข้าใจยาก ทำให้นักวิจารณ์สับสน ซึ่งแตกต่างจากวรรณคดีที่ใช้ภาษาบาลีหรือสันสกฤต ที่สามารถสืบหาความหมายได้ง่ายกว่า เช่น ลิลิตยวนพ่าย ซึ่งใช้คำศัพท์บาลีสันสกฤตปะปนอยู่ตลอดทั้งเรื่อง

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยมีพระราชดำริ ว่า "โองการแช่งน้ำนี้เรียกว่า โคลง เขียนเป็นหนังสือพราหมณ์ แต่เมื่อตรวจดูจะกำหนดเค่าว่าเป็นโคลงอย่างไรก็ไม่ได้สนัด ได้เค้าๆ บ้างแล้วก็เลือนไป แต่เนื้อความนั้นเป็นภาษาไทย ถอยคำที่ใช้ลึกซึ้งที่ไม่เข้าใจบ้างก็มี..." ("พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล", พระราชพิธีสิบสองเดือน)

    คำศัพท์ในโองการแช่งน้ำมีการผสมผสาน เริ่มตั้งแต่คำศัพท์บาลีและสันสกฤต โดยเฉพาะในช่วงต้นที่เป็นการบูชาเทพเจ้าทั้งสาม เช่น โอม สิทธิ มฤตยู จันทร์ ธรณี เป็นต้น

    นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ไทยโบราณ มีลักษณะของคำโดดพยางค์เดียวเป็นส่วนใหญ่ หลายคำปรากฏอยู่ในเอกสารภาษาไทย และจารึกภาษาไทยสมัยสุโขทัย และอยุธยา นอกจากนี้ยังปรากฏคำในภาษาถิ่นของไทยด้วย เช่น สรวง แผ้ว แกล้ว แล้งไข้ แอ่น แกว่น ฯลฯ
    สำหรับคำเขมรนั้นปรากฏไม่มากนัก เช่น ถวัด แสนง ขนาย ขจาย ฯลฯ
    ในส่วนของสำนวนภาษานั้นมีลักษณะการแช่งที่ปรากฏทั่วไปในสังคมไทย เช่น "ขอให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี"


    เชื่อกันว่าโองการแช่งน้ำฉบับนี้ แต่งขึ้นด้วย โคลงห้า ที่นิยมใช้กันในอาณาจักรล้านช้างในยุคเดียวกันนั้น กล่าวคือ บาทหนึ่ง มี ๕ คำ เป็นวรรคหน้า ๓ คำ วรรคหลัง ๒ คำ หนึ่งบทมี ๔ บาท นิยมใช้เอกโท (เอกสี่ โทสาม) แต่สามารถเพิ่มสร้อยหน้า และสร้อยหลังบาทได้ ทั้งนี้ยังมีร่ายสลับ จึงนิยมเรียกว่า ลิลิต แม้จะไม่สอดคล้องกับธรรมเนียมการแต่งลิลิตทั่วไป ที่มักจะแต่งร่ายสุภาพร้อยกับโคลงสุภาพ หรือร่ายดั้นร้อยกับโคลงดั้น ก็ตาม
    ตามหลักแล้ว ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า เข้าลิลิต
    วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ สำหรับโองการแช่งน้ำ แม้จะเคยเรียกกันว่า ลิลิตโองการแช่งน้ำ มาก่อน แต่ในปัจจุบันนักวรรณคดีส่วนใหญ่สมัครใจที่จะเรียกชื่อโดยไม่มีคำว่าลิลิต ทั้งๆ ที่ในโองการแช่งน้ำ ก็แต่งด้วยร่ายสลับโคลง ทว่าเป็นร่ายโบราณ สลับกับโคลงห้า ซึ่งไม่ปรากฏแบบแผนที่ไหนมาก่อน





    ที่มา th.wikisource.org , th.wikipedia.org , www.dektriam.net , www.prachataiboard.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2010
  2. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    ขอบคุณพี่สร้อยคนเก่งมาก ๆ เยยนะจ้ะ ^__^
     
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    โองการแช่งน้ำ

    โองการ แปลว่า คำศักดิ์สิทธิ์ คำประกาศของกษัตริย์ สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า โอมการ หมายถึง อักษรโอม โอม คือคำย่อ ที่ใช้กล่าวนำในการสวดของพราหมณ์ ย่อมาจาก อ. อุ. ม. (อ่านว่า อะ - อุ - มะ)
    อ. หมายถึงพระศิวะหรือพระอิศวร
    อุ. หมายถึงพระวิษณุหรือพระนารายณ์
    ม. หมายถึงพระพรหม

    ประกาศแช่งน้ำเป็นโองการที่พราหมณ์ใช้อ่านหรือสวดในพิธีศรีสัจจปานกาลหรือพิธีถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยา คำว่า พัทธ น่าจะมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ผูกมัด และคำว่า สัตยา น่าจะได้จากคำว่า สัตฺยปาน ในภาษาสันสกฤต แปลว่า น้ำสัตยสาบาน (สัจจปานเป็นรูปบาลี) ต่อมาคำว่า พิพัทธ์สัตยา เปลี่ยนไปเป็น พิพัฒน์สัตยา

    พิธีดื่มน้ำหรือถือน้ำสาบานถือเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ กระทำต่อกษัตริย์ เพื่อแสดงความจงรักภักดี ไทยได้แบบอย่าง มาจากขอม ซึ่งรับมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง พิธีกรรมที่ทำคือทำพิธีให้น้ำศักดิ์สิทธิ์ (น้ำพิพัฒน์สัตยา) แล้วนำน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้มาตั้งในพิธี แทงอาวุธลงในน้ำ ให้บรรดาผู้ที่ทำพิธีดื่มน้ำสาบานตน

    ผู้ที่ถือน้ำในพิธีดื่มน้ำสาบานได้แก่ข้าราชการประจำ ศัตรูที่เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทหารที่ถืออาวุธ การถือน้ำ ของข้าราชการประจำทำปีละ ๒ ครั้ง คือในเดือนห้า ขึ้น ๓ ค่ำ และในเดือนสิบ แรม ๑๓ ค่ำ พิธีนี้กระทำต่อกันมาจนถึงพ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
    โองการแช่งน้ำจัดได้ว่าเป็นวรรณคดีประเภทร้อยกรองที่เก่าแก่ที่สุด สันนิษฐานว่าแต่งในสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) โดยดูจากคำว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิศรราช" ที่ปรากฏในตอนท้ายเรื่อง ๒ แห่ง พระนามนี้คล้ายกับพระนามเต็มของ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์" และยังคล้ายกับพระนามที่ปรากฏ ในกฎหมายตราสามดวง เมื่อกล่าวถึงกฎหมาย "พีสูทดำน้ำพีสูทลุยเพลิง" พ.ศ. ๑๘๙๙ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ว่า "พระบาทสมเดจ์พระเจ้ารามาธิบดี ศรีสินทรบรมจักรพรรดิศรบวรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้า"
    เนื้อเรื่องเริ่มด้วยการสรรเสริญเทพเจ้าทั้งสาม คือพระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม กล่าวถึงเหตุการณ์ ไฟล้างโลก น้ำท่วมโลก การสร้างโลก การเลือกผู้มีอำนาจมากเป็นพระราชา เรียกว่าสมมติราชา กล่าวสาปแช่ง ผู้ทรยศพระเจ้าแผ่นดิน และสรรเสริญ ผู้ที่จงรักภักดี

    คำประพันธ์ที่ใช้คือโคลงกับร่าย (ลิลิต) โคลงในวรรณคดีเรื่องนี้เป็น (กล)โคลงสี่ดั้น เวลาอ่านต้องถอดกลโคลง เพื่อให้ออกมาในรูปโคลงสี่ เช่น



    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD align=right width="35%">นานาอเนกน้าว</TD><TD width="15%"></TD><TD>เดิมกัลป์</TD></TR><TR><TD width="35%">จักร่ำจักราพาฬ </TD><TD width="15%"></TD><TD>เมื่อไหม้</TD></TR><TR><TD width="35%">กล่าวถึงตระวันเจ็ด</TD><TD width="15%"></TD><TD>อันพลุ่ง</TD></TR><TR><TD width="35%">อันพลุ่งน้ำแล้งไข้</TD><TD width="15%"></TD><TD>ขอดหาย</TD></TR><TR><TD align=right width="35%">กล่าวถึงน้ำฟ้าฟาด</TD><TD width="15%"></TD><TD>ฟองหาว</TD></TR><TR><TD width="35%">ฟองหาวดับเดโช</TD><TD width="15%"></TD><TD>ฉ่ำหล้า</TD></TR><TR><TD width="35%">ฉ่ำหล้าปลาดินดาว</TD><TD width="15%"></TD><TD>เดือนแอ่น</TD></TR><TR><TD width="35%">เดือนแอ่นลมกล้าป่วน</TD><TD width="15%"></TD><TD>ไปมา </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


    สำนวนภาษาในโองการแช่งน้ำเก่ากว่าภาษาในวรรณคดีเรื่องอื่นๆ ในยุคเดียวกัน เช่นยวนพ่าย ส่วนใหญ่ใช้คำไทยโบราณ เช่นเรียกเขาพระสุเมรุว่า ผาหลวง เรียกเขาไกรลาสว่า ผาเผือก เรียกเขาคันธมาทน์ว่า ผาหอมหวาน มีข้อความสาปแช่งตามความเชื่อ แบบไทยเก่าๆ เช่น ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี

    โองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีที่นำไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองการปกครอง ทำให้เห็นวิธีการประกาศฐานะ และอำนาจของกษัตริย์ สำนวนภาษาไทยที่เก่าแก่นั้น อาจเป็นเพราะ ได้นำโองการของเก่ามาปรับปรุงใช้ใหม่ เพราะพระเจ้าอู่ทอง ทรงปกครองสุพรรณภูมิ หรือสุพรรณบุรีมาก่อนที่จะทรงตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์แรก แห่งกรุงศรีอยุธยา เรื่องนี้ยังชี้ให้เห็นถึง ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา และความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของคำสาปแช่ง ซึ่งฝังแน่นในจิตใจคนไทยมาช้านาน

    ถอดคำประพันธ์

    โอม ขอความสำเร็จจงมีด้วยอานุภาพของพระนารายณ์ ผู้ทรงสิริและแกล้วกล้า ซึ่งสถิตในสรวงสวรรค์ พระผู้พ้นจากความตาย ประทับเหนืออาสนะ คือ งู ทรงมีอำนาจครอบงำทั้งฟ้าทั้งดิน ทรงครุฑเป็นพาหนะ พระกรทั้งสี่ถืออาวุธสี่อย่าง คือ สังข์ จักร คทา และธรณี (คือดอกบัว) ทรงแบ่งภาคมาเกิดเป็นผู้ที่น่ากลัวเพื่อปราบอสูร และทรงใช้อคนิบาต (คือ สายฟ้า) ทำให้อสูรแหลกลาญ (ในพิธี พราหมณ์จะแทงพระแสงศรปลัยวาต)
    โอม พระผู้เป็นใหญ่สูงสุด คือพระอิศวรหรือพระศิวะ พระผู้ประทับอยู่บนเขาใหญ่ คือเขาไกรลาส อย่างสง่างาม ประทับบนหลังวัวเผือก ทรงเอาพญานาค ทำเป็นสังวาลคล้องพระอังสา เอาพระจันทร์มาเสียบบนพระเมาลี(มวยผม)เป็นปิ่น ทรงมีพระเมาลีใหญ่ มีพระเนตรสามองค์ที่งดงาม ทรงกวัดแกว่งวชิราวุธที่มีฤทธิ์ ทรงกำจัดหรือทำลายอุปสรรคความไม่เป็นมงคล ให้หมดไป (ในพิธี พราหมณ์จะแทงพระแสงศรอคนิวาต)
    (มีความสับสนในการบรรยายว่า สายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ เป็นอาวุธของพระอิศวร พระอิศวรมีอาวุธเรียกว่า ตรีศูล คือสามง่าม หรือหอกสามแฉก)
    โอม ขอชัยชนะจงมีแด่พระพรหม พระผู้เผยความรู้เรื่องพรหมสิบหกชั้นฟ้า ทรงมีพระเศียรแผ่ออกไปโดยรอบ ประทับเหนือดอกบัวทองอันบานแล้ว ทรงพญาหงส์เหาะไป ทรงสร้างดินและฟ้า คือโลก ทรงมีสี่พักตร์ที่ผินไปในแต่ละทิศ ทรงมีความเป็นเพื่อน ทรงกระทำงานอันยิ่งใหญ่ คือสร้างโลกทั้งสาม ทรงเป็นผู้ไม่ตาย และเป็นใหญ่ในโลกทั้งสาม ทรงมีศักดิ์ คืออำนาจในโลกทั้งสาม ทรงเป็นใหญ่สูงสุดและเป็นผู้มีญาณวิเศษ ทรงไว้ซึ่งความสำเร็จที่เกรียงไกร ทรงครองจักรวาลมาช้านาน ทรงมีภาระอันเป็นบุญยิ่งใหญ่เป็นองค์แรก ทรงสร้างโลกมาก่อนแล้วไม่รู้กี่ร้อยครั้ง (ในพิธี พราหมณ์จะแทงพระแสงศรพรหมาสตร์)
    เท้าความย้อนไปถึงยุคเดิมที่ผ่านมามากมายหลายยุค จะกล่าวถึงเมื่อจักรวาลถูกไฟไหม้ กล่าวถึง ดวงอาทิตย์เจ็ดดวง ขึ้นมาในท้องฟ้า (หรือดวงอาทิตย์เจ็ดดวงทำให้น้ำเดือด) น้ำงวดแห้งหายไป
    น้ำมันของปลาเจ็ดตัวพุ่งขึ้น ทำให้โลกลุกเป็นไฟ ไฟไหม้อบายภูมิทั้งสี่พินาศไป ทำให้สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลายเป็นเถ้าถ่าน แต่ไฟไม่ไหม้เลยไปถึงรูปพรหมชั้นที่สี่ (หรือไฟไหม้แผ่ไปทั้งสี่ทาง)
    ผู้ที่ได้ฌานสามารถไปเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเทพจำนวนมาก ขึ้นไปเบียดเสียดบนสวรรค์ ราวกับเม็ดแป้ง สลอนเต็มสวรรค์ชั้นสุทธาวาสนั้น ฟ้าสว่างอยู่จนกระทั่งไฟดับลง
    กล่าวถึงน้ำฝนตกลงมาเป็นระลอกคลื่นเต็มท้องฟ้า ดับไฟจนชุ่มฉ่ำไปทั้งโลก ปลา ดิน ดาว และเดือน เคลื่อนหายไปอย่างรวดเร็ว ลมบรรลัยกัลป์พัดปั่นป่วนอย่างแรง
    เมื่อพระพรหมทอดสายตามองไป ก็เกิดเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อันเป็นที่อยู่ของพระอินทร์ขึ้น พระพรหม ได้สร้างสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นก่อนที่จะเนรมิตสถานที่อื่นๆ พระพรหมได้พิจารณาดูสถานที่ต่างๆ ที่เคยมีสวรรค์ชั้นต่างๆ ตั้งอยู่ แล้วสร้างสวรรค์ทุกชั้นทุกแห่งให้กลับคืนมาดังเดิม
    พระพรหมมองไปด้วยพระเดชานุภาพ เกิดเป็นทวีปทั้งสี่ขึ้น เกิดเป็นเขาพระสุเมรุ อันเป็นภูเขาใหญ่ที่สุดในจักรวาล และเป็นภูเขาสีทอง ซึ่งมีวิมานของพระอินทร์ อันสว่างสุกใสอยู่บนยอดเขา พระพรหมทรงสร้างเขาสัตบริภัณฑ์ ซึ่งงดงาม ประดุจสร้อยประดับท้องฟ้าขึ้น
    พระพรหมทรงสร้างเขาไกรลาส เขาพระสุเมรุ และเขาคันธมาทน์ขึ้น กลิ่นง้วนดินหอม โชยขึ้นไปข้างบน จนถึงพรหมโลก ทำให้เหล่าพระพรหมใคร่จะได้ชิมง้วนดินนั้น จึงพากันเหาะลอยลงมายังโลกมนุษย์
    ร่างพระพรหมที่พากันเหาะมานั้นส่องสว่าง เพราะมีรัศมีออกจากกาย ในเวลานั้น ยังไม่มีการแบ่งเวลา เป็นกลางวัน กลางคืน อาศัยแสงรัศมีที่ส่องจากกายพระพรหมเท่านั้น ที่ให้ความสว่างแก่โลก ครั้นพระพรหมพากันชิมง้วนดิน แสงสว่างจากกายก็หายไป ทั่วทั้งโลกมืดมิดราวกับดับไต้
    เหล่าพระพรหมพยายามส่องตามองฝ่าความมืดไป แล้วอ้อนวอนขอแสงสว่างจากพระพรหมผู้สร้างโลก พระพรหมจึงประทานดวงอาทิตย์เพื่อให้แสงสว่างแก่โลก ทั้งยังประทานดวงจันทร์และดวงดาวด้วย ทำให้โลกสุกสว่าง เห็นฟ้าและแผ่นดิน
    จากนั้นมาจึงเกิดมีเวลากลางวันกลางคืน พระพรหมที่มาอยู่ยังโลกมนุษย์กินข้าวสาลีที่ไม่มีเปลือกเป็นอาหาร และอยู่กันอย่างสงบสุข คือเสมอกัน ไม่มีทั้งฝ่ายที่รับบรรณาการและฝ่ายที่ต้องจัดส่งบรรณาการ
    คนทั้งหลายพากันเลือกผู้มียศสูงสุดหรือมีอำนาจมากเป็นพระราชา เรียกว่า สมมติราชา แล้วพระสมมติราชา ก็แต่งตั้งพระราชาองค์อื่นๆ ให้ปกครองดินแดนทั้งหลาย
    พระสมมติราชาผู้กล้าหาญได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์พระองค์แรกตั้งแต่ตอนต้นกัลป์ และเชื้อสายของพระองค์ ก็ปกครองโลกสืบกันต่อมา ในคราวแต่งตั้งพระสมมติราชานั้นมีการเชิญผี คือเทพยดามาร่วมในพระราชพิธีแช่งน้ำที่จัดขึ้นในวันเสาร์ วันอังคาร หรือวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันแข็ง
    ในพิธีถือน้ำ ได้อัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้าผู้เป็นเทพแห่งการคล้องช้างมาร่วมในพิธี พระกรรมบดีได้เหาะมาเป็นแขก ในพิธี ในการประกอบพิธีมีการนำเชือกบาศที่ใช้คล้องช้างมาวางไว้ในขันที่มีพานรอง และมีการตั้งขวัญข้าว และธูปเทียน
    ในบาตรน้ำมนตร์มีการแทงเหล็กกล้า คืออาวุธ หญ้าแพรกที่แหลมคม และใบมะตูม ขอเชิญพระภูมิเจ้าที่ ผู้ปกครองโลกมานาน และมีความเที่ยงธรรม มาร่วมในพิธี แล้วพราหมณ์ย่ำฆ้องถี่ๆ
    ผู้ที่เอาใจออกหาก คิดทรยศพระเจ้าแผ่นดิน ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ผู้นั้นถูกเอาตัวไปยมโลกโดยเร็ว ให้เห็นทันตา เมื่อคนที่คิดทรยศถือขันน้ำสาบานที่มีใบพลูสดใส่อยู่ ขอให้แน่นท้องขึ้นมาทันที
    ขอเชิญพระยามารที่ไม่พอใจให้พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาร่วมในพิธี เพื่อสอดส่องหาคนที่คิดคดทรยศ ขอเชิญพระพุทธเจ้า ผู้มีกำลังทั้งสิบ พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้รู้ทางธรรมแต่เฉพาะพระองค์ มาช่วยสอดส่องดู ขอเชิญบรรดาพระสงฆ์ มาช่วยดู ขอเชิญพระผู้ทรงหงส์ทอง เป็นพาหนะ ผู้มีสี่เศียร คือพระพรหม มาช่วยดู ขอเชิญพระอินทร์ ผู้มีใจอันประเสริฐมาช่วยดู ขอเชิญท้าวจตุโลกบาล เทพเจ้าแห่งสวรรค์หกชั้น อากาศเทวดา ผู้นำไปอย่างรวดเร็ว และเทพเจ้าแห่งเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่าจนเรือนปลิว มาช่วยดู
    ขอเชิญเทพยดาประจำเขาตรีกูฏ มาช่วยดู
    ขอเชิญเทพยดาประจำเขากาฬกูฏ และพระอิศวรผู้เป็นใหญ่แห่งเขาไกรลาส มาช่วยดู
    ขอเชิญพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่แห่งเขาพระสุเมรุ และเทพยดาประจำเขาจิตรกูฏ มาช่วยดู ขอเชิญผีพราย ผีสูงใหญ่ดำมืด มาช่วยดู
    ขอให้พญายมราชตวัดสายตาอันคมดุจดาบ มาช่วยดู ขอให้พระพาย เทพแห่งลม พระพิรุณ เทพแห่งฝน ผู้ทำเสียงกึกก้องทั่วฟ้า มาช่วยดู ขอให้เทพผู้แกล้วกล้าและทรงนกยูงเป็นพาหนะ คือ พระสกันทกุมาร มาช่วยดู
    ขอให้อสูรผู้มีสิบหน้า คือทศกัณฐ์ มาช่วยดู ขอให้แผ่นดินที่รองรับเขาที่เอานาคชักให้ตั้งตรงขึ้น (หมายถึง เขาพระสุเมรุ) มาช่วยดู
    สิ่งใดดี สิ่งใดร้าย ให้ผู้เข้าร่วมในพิธีจำไว้ น้ำสาบานที่ไหลกรูเป็นเปลวไฟ ตัดคอคนคิดไม่ซื่อให้ขาดทันที ขอให้น้ำสาบานที่ตกถึงท้องคนคิดทรยศ กลายเป็นเหยี่ยวขนาดใหญ่ เจาะกระเพาะและท้องแยกออกเป็นหลายส่วน ขอให้ถูกเขี้ยวอันคมกริบราวกับดาบทำร้าย ขอให้ถูกทุณพี (สันนิษฐานว่าหมายถึงควายที่ชื่อทรพี ในเรื่องรามเกียรติ์) ตัวเปลี่ยวขวิด ขอเชิญรามสูรผู้ถือขวานเป็นอาวุธและลิ่วโลดไปในท้องฟ้า มาร่วมในพิธีด้วย
    ถ้าไม่ซื่อตรงต่อคำสาบาน ขอให้น้ำสาบานตัดคอ ให้เอาไปใส่คุก ขอให้แร้งกามารุมจิกตาให้แตก ขอให้หมา หมี เสือ กัดให้ตาย
    ไฟลุกไหม้แผ่ขยายไปทั่วท้องฟ้า (เคลือก น่าจะเป็นคำคู่กับ เคล้า)
    ขอเชิญพระรามและพระลักษมณ์ผู้ติดตามนางสีดา ผู้ปราบพญานาคมาช่วยดู (ชวัก แปลว่า ชัก ตาม)
    ขอให้เทพยดาอารักษ์ที่อยู่ประจำป่า ประจำถ้ำ ประจำภูเขา ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนั้น เดินทางมาทั้งทางน้ำทางบก ขอเชิญเทวดาทั้งที่อยู่นอกเขตฟ้าเขตสวรรค์ และที่อยู่บริเวณฟ้าจรดดินมาร่วมในพิธี


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>ตกนอกขอกฟ้าแมน</TD><TD width="10%"></TD><TD>อยู่นอกขอบฟ้าและสวรรค์ </TD></TR><TR><TD vAlign=" top">แดนฟ้าตั้งฟ้าต่อ</TD><TD></TD><TD>แดนที่ฟ้าและดินมาเชื่อมต่อกัน บริเวณฟ้าจรดดิน
    สวรรค์และโลกมนุษย์มาเชื่อมต่อกัน คนโบราณเชื่อว่า
    แต่เดิมคนและเทวดาไปมาหาสู่กันได้
    ชาวโลกสามารถสร้างบันไดทองพาดขึ้นไปเมืองฟ้าได้

    </TD></TR><TR><TD>หล่อ </TD><TD></TD><TD>เคลื่อนลงจากที่สูง</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ขอเชิญผีบรรพบุรุษ เจ้าป่า พระศรีพรหมรักษ์ยักษ์กุมาร ผีหลายบ้าน ผีหลายท่าน้ำ ผีห่า ผีเหวหรือผีทั้งหลายในป่าช้า ให้มาร่วมในพิธีนี้อย่างรวดเร็วยิ่งกว่าลมพายุ ขอเชิญผีที่มีหน้าใหญ่เท่าแผง มีอำนาจยิ่งใหญ่ และทำให้คนตกใจกลัว มาร่วมในพิธี


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD></TD><TD>เหง้าภูติพนัสบดี</TD><TD width="5%"></TD><TD>ผีบรรพบุรุษ เจ้าป่า</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ศรีพรหมรักษ์ยักษ์กุมาร</TD><TD></TD><TD>บริวารของพระอิศวร </TD></TR><TR><TD></TD><TD>หน้าเท่าแผง </TD><TD></TD><TD>หน้าใหญ่ (แผง เป็นเครื่องกำบังชนิดหนึ่ง สานเป็นแผ่นๆ อย่างเสื่อลำแพน)</TD></TR><TR><TD></TD><TD vAlign=top>แรงไกยเอาขวัญ</TD><TD width="5%"></TD><TD>มีอำนาจมาก ทำให้คนตกใจกลัว
    (ไกย น่าจะเป็นไกร แปลว่า ยิ่ง, เอาขวัญ แปลว่า ทำให้ตกใจ)

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


    <CENTER><TABLE width="75%"><TBODY><TR><TD>เยีย</TD><TD>ทำ</TD><TD width="10%"></TD><TD>ชระแรง</TD><TD>แรง กำลัง พลัง อำนาจ</TD></TR><TR><TD>แฝงข่าว</TD><TD>แอบฟังความเป็นไปต่างๆ</TD><TD width="10%"></TD><TD>ชรราง</TD><TD>ไม่กระจ่าง</TD></TR><TR><TD>รางชาง</TD><TD>เห็นชัด</TD><TD width="10%"></TD><TD>สรคาน</TD><TD>สรคราญ งาม</TD></TR><TR><TD>อาน</TD><TD>กิน เซ่น ทำให้คม</TD><TD width="10%"></TD><TD>มลิ้น</TD><TD>ลิ้น</TD></TR><TR><TD>ละลาย</TD><TD>ทำให้หายไป</TD><TD width="10%"></TD><TD>พะพลุ่ง </TD><TD>พุ่งขึ้น</TD></TR><TR><TD>เกียจ </TD><TD>โกง</TD><TD width="10%"></TD><TD>วาย</TD><TD>ตี</TD></TR><TR><TD>กระทู้</TD><TD>เสา</TD><TD width="10%"></TD><TD>ควาน</TD><TD>กวาด </TD></TR><TR><TD>แควน </TD><TD>ลำบาก</TD><TD width="10%"></TD><TD></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    เมื่อผีมาถึงก็ทำเสียงดัง แอบฟังความเป็นไปอย่างลับๆ บางตนดูดปากเสียงอึกทึก อวดเขี้ยวงาม แลบลิ้นทำให้คนตกใจ ผีฟ้าผีดินมากันไม่ขาดสาย มาสูบเอาตัวผู้ทรยศลงดินไป เอาไม้ตีกระหน่ำ มัดศอกให้ลำบาก เอาหอกแทงเท้าให้ดิ้นเร่าๆ จนยืนไม่ติดพื้น ให้ถลกหนังเท้า แต่อย่าให้ถึงตาย จนล้มหงายร้องครวญคราง แล้วให้ยมบาล มาลากตัวไปนรกอเวจี ถูกไฟนรกไหม้ดิ้นไปมา ผู้คิดไม่ซื่อ ขบถต่อสมเด็จพระรามาธิบดีผู้ครองกรุงศรีอยุธยา ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงมีอำนาจ บุญ คุณเป็นอันมาก เปรียบเหมือนคนที่มาอาศัยร่มเงาต้นไม้ แล้วยังบังอาจทำลายกิ่งไม้ ถอนต้นไม้นั้น ขอให้คนที่ทำบาปนี้ รวมทั้งญาติพวกพ้องต้องเดือดร้อน ใครชวนเพื่อนและคนทั้งหลายให้คิดขบถต่อพระเจ้าแผ่นดิน ขอให้เทวดา บันดาลให้คนเหล่านี้ตายในสามวัน อย่าให้พ้นในสามเดือน อย่าให้คลาดเคลื่อนในสามปี อย่าให้มีความสุข เมื่อกินข้าว ขอให้ข้าว กลายเป็นไฟเผาคนผู้นั้นจนตาย ไม่สามารถพึ่งน้ำจนตาย นอนในเรือนขอให้ร้องครวญครางจนตาย ให้นอนหงายตาค้างจนตาย นอนคว่ำจนตาย
    ขอให้คนทรยศ ไปเกิดเป็นปล่องไฟที่ถูกไฟเผาตลอดเวลา ดื่มน้ำคลอง ให้น้ำกลายเป็นพิษ นอนในบ้าน ให้หญ้าคาที่มุงบ้าน เป็นดาบปลายงุ้มทำร้ายเอา ให้ฟ้าถล่มทับ แผ่นดินแยกสูบเอาชีวิตไป ให้อยากกินไฟเหมือนเมื่อพรหม อยากกินง้วนดิน (กลิ่นหอมของดินที่ถูกไฟเผา เรียกว่า ง้วนดิน, สี แปลว่า กิน, ลอง น่าจะเป็น ลลวง แปลว่า ซ้ำๆ)


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD width="20%">กลอก</TD><TD width="5%"></TD><TD>กลับ</TD><TD width="20%"></TD><TD width="20%">ตาวงุ้ม </TD><TD width="5%"></TD><TD>ดาบปลายงุ้ม</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ขอให้ผู้ทรยศถูกจรเข้คาบไป ถูกเสือกัดกิน ถูกเขี้ยวเล็บและนอของหมีแรดทำร้าย ถูกหอก ศร ปักทั่วร่าง ให้ตายด้วยคมจอบ พิษงู ตายในลักษณะหน้าทิ่มดิน ขอให้เจ้าเมืองขึ้นทั้งหลายที่ทรยศ ไปขึ้นแก่เมืองอื่นๆ จงตายดังที่แช่งไว้ ส่วนผู้ที่กล้าหาญ สัตย์ซื่อ พระเจ้าแผ่นดินจะทรงประกาศอวยพร


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD width="18%"></TD><TD>แสนง</TD><TD width="10%"></TD><TD>เสนง เสน่ง เขนง แปลว่า เขาสัตว์ ในที่นี้หมายถึง นอ </TD></TR><TR><TD></TD><TD>ขนาย </TD><TD></TD><TD>เขี้ยวหมู</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ปืน </TD><TD></TD><TD>ศร</TD></TR><TR><TD></TD><TD vAlign=top>ลุ่มฟ้า </TD><TD width="10%"></TD><TD>โลกมนุษย์)</TD></TR><TR><TD></TD><TD>นรินทร </TD><TD></TD><TD>ผู้เป็นใหญ่ ในที่นี้หมายถึง เจ้าเมืองขึ้น </TD></TR><TR><TD></TD><TD vAlign=top>กวิน </TD><TD width="10%"></TD><TD>แกว่น กล้า</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    พระเจ้าแผ่นดินทรงมีอำนาจเต็มถึงสวรรค์เท่าเทวดา พระยศแผ่ไปทั้งสามโลก พระองค์พระราชทานขวัญ และกำลังใจ ให้ผู้ที่ซื่อสัตย์ จงรักภักดี ด้วยการพระราชทานเมือง ยศถาบรรดาศักดิ์ ช้างม้าวัวควาย แก้วแหวนเงินทอง เพิ่มความเจริญรุ่งเรืองให้เขาเหล่านั้นอีกมากมาย


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD align=left>อำมร</TD><TD width="20%"></TD><TD>อมร เทวดา </TD><TD></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ขอให้ผู้ที่สัตย์ซื่ออย่าได้มีอันตราย ให้คุณความดีแผ่กระจายไป เป็นสิริมงคลแก่วงศ์ตระกูล ได้รับพระราชทานผู้หญิง ควายที่มีทองประดับ ให้เทวดาและพระเจ้าแผ่นดินทรงรับรู้โดยเร็ว ให้ได้รับพระราชทานเงินทองเต็มเรือ ยศ
    ขอให้ผู้ที่ซื่อสัตย์ถูกฉกตัวไปสู่สวรรค์หลังจากตาย ให้โลกทั้งสามดำรงอยู่
    ขอเทวดาบันดาลให้ผู้ที่สัตย์ซื่อมียศสูงๆ ขึ้น และมีใจกล้าแข็งดังเพชร
    ขอให้สมเด็จพระรามาธิบดีผู้ทรงปกครองแผ่นดินสืบมาทรงมีความสุข ขอให้ทรงนำความสุขสมบูรณ์มาให้แก่ประเทศยิ่งๆ ขึ้นไป

    ที่มา : www.baanjomyut.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2010
  4. พรรณนา

    พรรณนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    415
    ค่าพลัง:
    +1,178
    ทุกวันนี้ยังมีอยู่ใช่ไหมครับพี่สร้อยฟ้า...แต่จะพิธีกรรมละเอียดแบบนี้ด้วยไหม
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ทุกวันนี้ ยังมีพระราชพิธีนี้อยู่จ่ะ..........
     

แชร์หน้านี้

Loading...