วิธีแก้ไขอกุศลกรรม ให้กลายเป็นอโหสิกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 13 ตุลาคม 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [FONT=&quot]วิธีแก้ไขอกุศลกรรม ให้กลายเป็นอโหสิกรรม[/FONT][FONT=&quot]<O>[/FONT]

    [FONT=&quot]</O>[/FONT][FONT=&quot]“บาป” จะเป็นอโหสิกรรม ได้หรือไม่ [/FONT][FONT=&quot]?<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]“อกุศลกรรม” จะแก้ไข ไม่ให้มีโอกาสส่งผล จนกลายเป็นอโหสิกรรม ได้หรือไม่ [/FONT][FONT=&quot]?<O>[/FONT]

    [FONT=&quot]</O>[/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่มีความเชื่อในเรื่องกรรม และผลของกรรม ย่อมจะไม่กล้าทำบาป ก็จริงอยู่ แต่ในบางคราว อาจมีการพลั่งเผลอกระทำกรรมชั่วลงไป หรือจะโดยเจตนาก็ตาม เช่น มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น ด้วยอาศัยกิเลสต่างๆ มี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น และเมื่อได้กระทำลงไปแล้ว ก็รู้สึกกลัวในการที่จะต้องได้รับผลแห่งการกระทำอกุศลของตนนั้น ทำให้เกิดความเสียใจ กลุ้มใจยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ยิ่งทำให้อกุศลเพิ่มขึ้น และมีกำลังมากยิ่งขึ้น จนสามารถส่งผลได้โดยแน่นอน ทั้งในภพนี้และภพหน้า ตลอดจนภพต่อๆ ไปอีกด้วย[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O>[/FONT]

    [FONT=&quot]</O>[/FONT][FONT=&quot]ดังนั้น การกระทำอกุศลกรรรมของบุคคลเช่นนี้ ก็ย่อมไม่มีโอกาสที่จะกลายเป็นอโหสิกรรมไปได้เลย วิธีแก้ไขอกุศลกรรม ที่ตนได้กระทำไปแล้ว ให้กลายเป็นอโหสิกรรมได้นั้น คือหลังจากที่ตนได้กระทำอกุศลกรรมไปแล้ว และมีความรู้สึกสำนึกผิดเกิดขึ้น จะต้องกระทำเหตุ ๓ ประการ ดังนี้ [/FONT][FONT=&quot]:-<O>[/FONT]

    [FONT=&quot]</O>[/FONT][FONT=&quot]๑)[/FONT][FONT=&quot]ต้องทำการอธิษฐานใจตนเองว่า “เราจะไม่กระทำทุจริต หรือทุราชีพเช่นนี้ อีกต่อไป”[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]

    [FONT=&quot]๒)[/FONT][FONT=&quot]ต้องไม่หวลกลับไปคิดถึง เรื่องนั้นอีกเพราะเป็นการตอกย้ำเรื่องราวนั้นให้เป็น “อกุศลอาจิณณกรรม” ทางมโนทวาร (เช่น ทางกายทำไปเพียงครั้งเดียว แต่ทางใจที่หวลคิดคำนึงถึงบ่อยๆ นั้น เป็นการทำบาปทางใจที่ไม่มีจบสิ้น)[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]

    [FONT=&quot]๓)[/FONT][FONT=&quot]พยายามสร้าง “กุศลอาจิณณกรรม” ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เช่น มีการเรียนการสอนปริยัติธรรม อ่านหนังสือธรรมเสมอๆ ฟังธรรมเนื่องๆ สวดมนต์ไหว้พระ ใส่บาตร อุทิศส่วนกุศล แผ่เมตตา หรือรักษาศีล ๕ หรือถือบวชเนกขัมมะ เป็นปะขาว เป็นชี เป็นเณร เป็นพระ หรือมีการเจริญภาวนา ได้แก่ การเจริญสมถกรรมฐาน หรือเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่เนื่องๆ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O>[/FONT]
    [FONT=&quot]</O>[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้ามีการประพฤติปฏิบัติ ดังกล่าวมานี้ได้เป็นประจำจนตลอดชีวิต ก็จะมีผลปรากฏได้ดังนี้[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]

    ·[FONT=&quot]อกุศลทิฏฐธัมมเวทนียกรรม[/FONT][FONT=&quot] (กรรมชั่วที่ให้ผลในปัจจุบันชาติ) จะกลายเป็นอโหสิกรรมไปได้[/FONT]
    ·[FONT=&quot]อกุศลอุปปัชชเวทนียกรรม[/FONT][FONT=&quot] (กรรมชั่วที่จะให้ผลในชาติที่ ๒) ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมไปได้เช่นกัน[/FONT]
    ·[FONT=&quot]อกุสลอปราปริยเวทนียกรรม[/FONT][FONT=&quot] (กรรมชั่วที่จะให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงนิพพาน) แม้กรรมประเภทนี้จะไม่กลายเป็นอโหสิกรรมไปได้ก็จริง แต่ก็ทำให้กาส่งผลของอกุศลกรรมชนิดนี้เบาบางลงไปได้ ด้วยอำนาจแห่งกุศลอาจิณกรรมนั่นเอง แต่หากประสงค์จะให้อกุศลกรรมประเภท “อปราปริยเวทนียกรรม” เป็นอโหสิกรรมไป บุคคลผู้เป็นเจ้าของการกระทำนั้น จะต้องถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการในทุกๆ ชาติ นับตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไป[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]การถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการ คือ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]

    [FONT=&quot]๑)[/FONT][FONT=&quot]ปุพเพ จ กตปุญญตา[/FONT][FONT=&quot]: การเป็นผู้เคยสร้างสมกุศลไว้แต่ปางก่อน<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]๒)[/FONT][FONT=&quot]ปฏิรูปเทสวาส[/FONT][FONT=&quot]: การได้อยู่ในถิ่นฐานที่ประกอบด้วยศีลธรรม<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]๓)[/FONT][FONT=&quot]สัปปุริสูปนิสสย[/FONT][FONT=&quot]: การได้คบหาสมาคมกับพวกสัปบุรุษ<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]๔)[/FONT][FONT=&quot]สัทธัมมัสสวณะ[/FONT][FONT=&quot]: การได้ฟังพระสัทธรรม[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]๕)[/FONT][FONT=&quot]อตัตสมุมมาปณิธิ[/FONT][FONT=&quot]: การตั้งตนไว้ในทางที่ถูก[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ในการที่จะทำตน[/FONT][FONT=&quot]ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการทุก ๆ ชาติได้นั้น มีความสำคัญอยู่ที่การกระทำในภพนี้ กล่าวคือ จะต้องประพฤติตนให้เป็นผู้อยู่ในศีลธรรม มีการบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนาอยู่เสมอ ๆ แล้วตั้งความปรารถนาว่า [/FONT][FONT=&quot]:-<O></O>[/FONT]

    [FONT=&quot]๑)[/FONT][FONT=&quot]ขอให้การบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้านี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยไปทุกๆ ชาติ[/FONT]
    [FONT=&quot]๒)[/FONT][FONT=&quot]ขอให้ได้เกิดอยู่ในสถานที่ที่ประกอบด้วยศีลธรรมทุกๆ ชาติไป[/FONT]
    [FONT=&quot]๓)[/FONT][FONT=&quot]ด้วยอำนาจการฟัง และการศึกษาธรรมะของข้าพเจ้านี้ ขอจงเป็นไปพลวปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้โอกาสฟัง และศึกษาธรรมะที่ถูกต้องทุกๆ ชาติ[/FONT]
    [FONT=&quot]๔)[/FONT][FONT=&quot]ด้วยอำนาจแห่งการที่ข้าพเจ้าได้ประพฤฒิกาย วาจา ใจ ในทางที่สุจริตนี้ ขอจงเป็นอุปนิสัยปัจจัย ให้ข้าพเจ้าได้มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม และได้ประพฤติอยู่แต่ในทางสุจริตทุกๆ ชาติไป[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]การปฏิบัติที่ทำให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย คุณสมบัติ ๕ ประการ เมื่อผู้ใดประพฤติได้ครบถ้วน ดังกล่าวมานี้โดยอาศัย ศรัทธา รยะ สติ สมาธิ ปัญญา อย่างแก่กล้าแล้ว ก็อาจสามารถทำให้ผู้นั้นได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการในภพต่อๆ ไปได้ทุกๆ ชาติ จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน และเมื่อเป็นเช่นนี้ อุศลกรรมปริยเวทนียรรม นั้น ก็ไม่มีโอกาสที่จะส่งผลได้ จะกลายเป็นอโหสิกรรมไปในที่สุด[/FONT][FONT=&quot]<O>[/FONT]

    [FONT=&quot]</O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่แนวทางที่กล่าวมานี้ ไม่ใช่จะเป็นไปได้โดยง่าย เพราะบุคคลที่จะมีการปฏิบัติ ให้เป็นไปโดยสมบูรณ์ดังกล่าวนั้น ก็หาได้ยากมาก[/FONT][FONT=&quot] นอกจากจะเป็นบุคคลที่มีบารมีแก่กล้าเท่านั้น จึงจะกระทำให้สำเร็จลงไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากเราเชื่อคำสอน และกลัวโทษภัยที่จะต้องประสบกับความทุกข์ในภายหน้า ก็จะทำให้เกิด “ความเพียร” ไม่ย่อท้อ เพื่อความดับทุกข์อันจะเกิดมีแก่ตนได้[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2009
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    หมายเหตุ :-<O>
    </O>
    อกุศลกรรมที่เคยกระทำไปแล้ว จะเบาบางลงไปได้นั้น จะต้องไม่เป็น “ครุกรรม” คือ กรรมอย่างหนัก ที่กรรมอื่นๆ ไม่อาจจะปิดกั้นได้ อันได้แก่
    <O></O>

    ·ปัญจานันตริยกรรม คือ อกุศลกรรม ๕ อย่าง ที่จะนำไปสู่นิรภูมิแน่นอน ได้แก่ ฆ่าแม่ ฆ่าพ่อ ฆ่าพระอรหันต์ ท้ายพระพุทธเจ้าตนถึงห้อพระโลหิต และมำสังฆเภท คือ ยุยงให้พระสงฆแตกหมู่ แตกคณะกัน
    ·นิตยมิฉาทิฏฐิกรรม คอ อกุศลกรรมที่มีความเห็นผิด มี ๓ ประการ ได้แก่ (๑) นัติถิกทิฏฐิ คือ ไม่เชื่อผลของกรรม (๒) อเหตุกทิฏฐิ คือ ไม่เชื่อ เหตุของกรรม (๓) อกิริยทิฏฐิ คือ ไม่เชื่อบุญ ไม่เชื่อบาป<O></O>
    ที่มา :-<O></O>
    กัมมจตุกกะ
    กรรมหมวด ๔ ว่าโดยเวลาให้ผลของกรรม จากวิถีมุตตสังคหะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่มที่ ๒ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา<O></O>
    เวลาให้ผลแห่งกรรม มี ๔ ข้อ คือ
    ๑)ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันชาติ (ภพนี้)<O></O>
    ๒)อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด (ภพหน้า)<O></O>
    ๓)อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆ ไป<O></O>
    ๔)อโหสิกรรม กรรมที่ไม่ส่งผลอีก<O></O>
    <O></O>
    บุญญสิกขา พิมพ์คัดลอกเป็นธรรมทาน <O></O>
    จาก หนังสือ “บทสวดมนต์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มหาราชปริตร พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์” <O></O>
    เรียบเรียบโดย คุณสุนัฐชา ฉายาวัฒนะ (กลุ่มเพื่อนร่วมธรรม)
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2009
  3. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    มีวิธีแก้อกุศลกรรมให้กลายเป็นอโหสิกรรมได้ดีเนอะ งั้นก็ต้องมีวิธีแก้กุศลกรรมให้กลายเป็นอย่างอื่นได้ด้วยซิครับผมเห็นมีแต่แก้กรรมชั่วให้ดีไม่เคยเห็นมีการแก้กรรมดีเลย กรรมคือการกระทำของเรานะครับกรรมชั่วก็เราทำกรรมดีก็เราทำอีกอุปมาอุปมัยเราตักพริกก็ต้องกินพริกเราตักน้ำตาลก็ต้องกินน้ำตาลมีเรอะครับตักพริกมาไม่กินแต่จะกินน้ำตาลที่ชาวบ้านคนอื่นตักมาแล้วเค้าจะให้หรือครับแล้วโยนพริกไปให้ชาวบ้านเค้าก็ไม่กินหรอกครับแล้วตักพริกมาก็โยนพริกทิ้งบอกฉันไม่กินได้หรือในโลกนี้เป็นวิสัยที่ไม่พึงหวังได้ เพราะฉะนั้นอย่าได้เชื่อในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่างท่านโมกขลานะพระอรหันต์ยังต้องชดใช้เลยไม่มีทางหนีพ้นหรอกครับ เป็นแต่การสนองนั้นมีเหตุและปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาเป็นตัวแปรท่านอาจจะกินพริกจริงแต่พริกนั้นอาจจะเผ็ดน้อยลงถ้าท่านมุ่งมั่นทำแต่กรรมดี เช่นมีน้ำแก้วหนึ่งผสมเกลือให้ท่านกินกับมีกาละมังผสมเกลือให้ท่านกินอะไรจะเค็มกว่ากันครับแต่ที่แน่ๆท่านต้องกินน้ำนั้นแน่ๆครับ การทำกรรมดีก็เปรียบเสมือนการเติมน้ำเข้าไปละลายเกลือให้เค็มน้อยหน่อยแต่ยังไงๆก็คือเกลืออยู่ดี กรรมก็เช่นกันเมื่อทำกรรมชั่วต้องชดใช้แต่จะชดใช้แบบไหนก็แล้วแต่เหตุและปัจจัยอื่นๆอีก เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากกินเกลือก็จงอย่าตักเกลือถ้าไม่อยากชดใช้กรรมชั่วก็อย่าทำชั่ว สาธุ
     
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471



    ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม
    อนุโมทนา สาธุค่ะ
    รักษา กาย วาจา ใจ ไม่ก่อ อกุศล - เขามาซ้าย เราไปขวา - รู้จักสำนึกสมาลาโทษ ลดมานะ ละทิฐิ เพียงใจตน หมั่นปะกลบด้วยวาระบุญกุศลร่วมกัน สาธุ
     
  5. บูนโบ้

    บูนโบ้ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +12
    ขออนุโมธานิค่ะ
     
  6. ลุงชาลี

    ลุงชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,958
    ค่าพลัง:
    +4,763

แชร์หน้านี้

Loading...