ว่าด้วยห้วงบุญห้วงกุศล

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 2 กันยายน 2009.

แท็ก: แก้ไข
  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


    ๙. ปุญญาภิสันทสูตร
    ว่าด้วยห้วงบุญห้วงกุศล

    [๑๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นเพื่อส่ิงที่น่าปรารถนา น่าใตร่ น่าพอใจ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ๘ ประการ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะนี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เป็นเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขประการที่ ๑.

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล ฯลฯ ประการหี่ ๒.

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผลเป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อส่ิงที่น่าปรารถนา น่าใตร่ น่าพอใจ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขประการที่ ๓.

    ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นมหาทาน อันบัณฑิตรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสาย เป็นของเก่า ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งแล้ว อันบัณฑิตไม่ทอดทิ้งอยู่ จักไม่ทอดทิ้ง อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่คัดค้าน ๕ ประการเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผุ้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน อันบัณฑิตรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสาย เป็นของเก่า ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งแล้ว อันบัณฑิตไม่ทอดทิ้งอยู่ จักไม่ทอดทิ้ง อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่คัดค้าน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ประการที่ ๔.

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ (นี้เป็นทานประการที่ ๒ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล ฯลฯ ประการที่ ๕)

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ (นี้เป็นทานประการที่ ๓ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล ฯลฯ ประการที่ ๖.

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ฯลฯ (นี้เป็นทานประการที่ ๔ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล ฯลฯ ประการที่ ๗)

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๕ ที่เป็นมหาทาน อันบัณฑิตรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสาย เป็นของเก่า ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งแล้ว อันบัณฑิตไม่ทอดทิ้งอยู่ จักไม่ทอดทิ้ง อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่คัดค้าน ภิกษุทั้งหลายนี้ เป็นห้วงบุญห้วงกุศล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผลเป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่่ น่าพอใจ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขประการที่ ๘.

    ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้แล นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข.

    ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙ จบ

    อรรถกถาปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙

    พึงทราบวินิจฉัยในปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
    คำว่า ทาน (ทานานิ) ได้แก่ เจตนาทานทั้งหลาย.
    เนื้อความของคำมีอาทิว่า อันบัณฑิตรู้ว่าเป็นเลิศ (อคฺคญฺญานิ) ดังนี้ เคยกล่าวไว้แล้วนั่นแล.

    อรรถกถาปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙ จบ

    ๑๐. สัพพลหุสสูตร (พม่า. ทุจริตวิบากสูตร.)
    ว่าด้วยวิบากอย่างเบาที่สุดแห่งการล่วงกรรมบถ

    [๑๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

    ภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

    ภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

    ภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

    ภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้ามาเกิดเป็นมนุษย์.

    ภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

    ภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ให้กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือ (ผู้อื่นไม่เชื่อคำพูด) ให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

    ภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุดย่อมยังความเป็นเป้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

    สัพพลหุสสูตรที่ ๑๐ จบ


    อรรถกถาสัพพลหุสสูตรที่ ๑๐

    พึงทราบวินิจฉัยในสัพพลหุสสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
    คำว่า ปาณาติบาต (ปาณาติปาโต) ได้แก่ เจตนาเป็นเหตุทำสัตว์มีปราณให้ตกล่วงไป.
    คำว่า อย่างเบาที่สุด (สพฺพลหุโส) ได้แก่ เพลากว่าวิบากทั้งหมด.
    คำว่า ยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไป (อปฺปายุกสํวตฺตนิโก) ได้แก่ เป็นผู้มีอายุน้อยเพราะกรรมวิบากนิดหน่อยนั้น หรือเมื่อพอให้ปฏิสนธิพอออกจากท้องมารดาแล้ว ย่อมย่อยยับ ความจริง วิบากเห็นปานนี้ ไม่ใช่เป็นวิบากเครื่องไหลออกจากกรรมอะไรๆ อื่น นี้เป็นทางดำเนินไปเฉพาะแห่งปาณาติบาตเท่านั้น.
    คำว่า ยังความพินาศแห่งโภคะ (โภคพฺยสนสํตฺตนิโก) ได้แก่ ทรััพย์เพียงกากณิกหนึ่ง ไม่ตั้งอยู่ในมือโดยประการใด อทินนาทานย่อมยังความวอดวายแห่งโภคสมบัติให้เป็นไปโดยประการนั้น.
    ชื่อว่า ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไป (สปตฺตเวรสํวุตฺตนิโก โหติ) ได้แก่ ย่อมสร้างเวรพร้อมกับศัตรู. จริงอยู่ ผู้นั้นมีศัตรูมาก อนึ่งผู้ใดเห็นเขาเข้า เขาย่อมยังเวรให้เกิดในผู้นั้น ไม่ดับไป ด้วยว่าวิบากเห็นปานนั้น เป็นวิบากเครื่องไหลออกแห่งความผิดในภัณฑะ (ภรรยา) ที่คนอื่นเขารักษาคุ้มครอง.
    ข้อว่า ย่อมยังการถูกกล่าวด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไป (อภูตพฺภกฺขานสํวตฺตนิโก โหติ) ได้แก่ ย่อมทำการกล่าวตู่ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงให้เป็นไป. กรรมที่ผู้หนึ่งผู้ใดทำแล้ว ย่อมไปตกบนผู้นั้นนั่นแล.
    คำว่า ยังการแตกจากมิตรให้เป็นไป (มิตฺเตหิ เภฺทนสํวตฺตนิโก) ได้แก่ ย่อมยังความแตกจากมิตรให้เป็นไป เขาทำบุคคลใดๆ ให้เป็นมิตร บุคคลนั้น ย่อมแตกแยกไปเทียว.
    คำว่า ย่อมยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไป (อมนาปสทฺทสํวตฺตนิโก) ได้แก่ ย่อมยังเสียงที่ไม่พอใจให้เป็นไป วาจานั้นใด เป็นคำเสียดแทง หยาบคาย เผ็ดร้อน ขัดข้อง ตัดเสียซึ่งความรัก เขาย่อมได้ฟังแต่วาจานั้นเท่านั้นในที่ๆ ไปแล้วไปเล่า ย่อมไม่ได้ฟังเสียงที่น่าชอบใจ เพราะว่าวิบากเห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นทางดำเนินไปแห่งผรุสวาจา.
    คำว่า ยังคำไม่น่าเชื่อให้เป็นไป (อนาเทยฺยวาจาสํวตฺตนิโก) ได้แก่ ย่อมยังคำที่ไม่ควรยึดถือให้เป็นไป ย่อมถึงความเป็นผู้ที่จะถูกล่าวว่า "ท่านพูดไปทำไม ใครจะเชื่อคำท่าน" นี้ชื่อว่าเป็นทางดำเนินไปแห่งสัมผัปปลาปะ.
    ข้อว่า ย่่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไป (อุมฺมตฺตกสํวตฺตนิโก โหติ) ได้แก่ ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไป ด้วยว่า มนุษย์เป็นบ้าหรือมีจิตฟุ้งซ่านหรือหูหนวก เป็นใบ้เพราะการดื่มสุรานั้น นี้เป็นวิบากเครื่องไหลออกแห่งการดื่มสุรา.
    ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะฝ่ายเสื่อมเท่านั้นแล.

    อรรถกถาสัพพลหุลสูตรที่ ๑๐ จบ
    อรรถกถาทานวรรคที่ ๔ จบ

    พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล
    พระสุตตันตปิฎก
    อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    ภาค ๔
    ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย
    เล่ม ๓๗
    หน้า ๔๐๘-๔๑๓



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...