"ศักติ ออนทัวร์"คู่มือสักการะเจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวีฉบับสมบูรณ์

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 25 กันยายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td align="left" valign="top"><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">23 กันยายน 2549 13:18 น.</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="center">[​IMG]</td></tr></tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td class="body" align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="280"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="280">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> ไม่ว่าค่ำคืนของวันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2549 ท้องฟ้าจะปลอดโปร่ง ,มีฝนพรำ หรือฝนตกหนัก ขบวนแห่เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวียังคงดำเนินต่อไปตามกำหนดการ ไม่มีเลื่อน ไม่มีงด สเตปบายสเตปตามแบบที่เคยปฏิบัติดังเช่นทุกปี เพราะประเพณีนี้ดำเนินมากว่าร้อยปีบนถนนย่านธุรกิจ “สีลม” การงดแห่แทบจะนับครั้งได้ อย่างเช่นในสมัยสงครามครั้งที่ 2 หรือในช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะชุลมุน วุ่นวาย

    วันนี้เรียก “วิชัยทัสมิ” เป็นวันฉลองชัยให้กับพระแม่เจ้า ผู้เป็นศักติแห่งพระเทวาธิเทพ ศิวะ ศังกร

    ศักติ หมายถึงความสูงส่ง,อำนาจ,ความสามารถ หรือเครื่องสนับสนุนชีวิตให้คงอยู่ อุดมคติของลัทธินี้ แสดงภาพบุคลาธิษฐานในรูป “อิสตรี” เพื่อสนับสนุนภารกิจของมหาเทพ มีฤทธิ์อำนาจเช่นเดียวกับเทพเจ้า และในบรรดารูปสตรีหรือศักติที่มีบทบาทมากที่สุดคือ “พระแม่ศักติ (ศักติศิวา) ”ผู้เป็นปฐมกำเนิดแห่งพระนางสตี, นางปารวตี (พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี) และปางอวตารอื่นๆ

    METRO LIFE ร่วมประกาศพระนามสรรเสริญพระแม่เจ้าศรีมหาอุมาเทวี และตั้งใจให้เป็นคู่มือแนะนำสำหรับคนที่ตั้งใจไปร่วมงาน , เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของอินเดียสไตล์ที่คนไทยไม่ค่อยรู้ ทั้งเปิดใจและของสะสมของบรรดาแฟนพันธุ์แท้ “เทพเจ้า” รวมถึงแนะจุดนัดพบเพื่อนฝูงก่อนเดินเข้าร่วมงานด้วยกัน
    ผู้ไม่มีธุระต้องผ่านในย่านนั้น กรุณาหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="500">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> เทศกาลนวราตรี

    วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) พราหมณ์สายอินเดียใต้ นิกายศักติ นับถือ “พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี” เป็นใหญ่, วัดเทพมณเฑียร สมาคมฮินดูสมาช เสาชิงช้า พราหมณ์สายอินเดียเหนือ ไวณพนิกาย นับถือ “พระวิษณุเทพ” เป็นใหญ่ ครั้นถึงเทศกาลนวราตรี (วันขึ้น 1 – 9 ค่ำเดือน 11) ต่างก็ประกอบพิธีกรรมที่แตกต่างกันไป เกี่ยวข้องกันว่า เมื่อพระราม ซึ่งเป็นนารายณ์อวตารก่อนกรีธาทัพรบกับอสูรทศกัณฐ์นั้น ได้ตั้งแท่นบูชาขอพรจาก “เจ้าแม่ทุรคา” (ปางหนึ่งของพระอุมา) เพราะฉะนั้น สายอินเดียเหนือจึงระลึกถึงมหากาพย์รามายนะพร้อมกันไป

    “มารีอามัน” คือพระนามของพระแม่เจ้าที่ผู้ประธานของวัดแขกสีลม นางคือ เทวีผู้ปัดเป่าและรักษาไข้ทรพิษ เป็นเทพสตรีที่ชาวอินเดียใต้ให้ความนับถือมาก เมื่อชาวอินเดียเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ตั้งศาลสถิตพระแม่เจ้าได้ จึงได้ตั้งศาลไม้เล็กๆขึ้นที่ใต้ต้นสะเดา กลางไร่อ้อย ย่านหัวลำโพง ต่อมาศาลไม้ได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา นายไวตีฯและญาติมิตรศรัทธาพระแม่เจ้าจึงตั้งใจสร้างวัดพระศรีมหาอุมาเทวีขึ้น โดย นายไวตรีประเดียอะจิ นายนารายเจติ นายโกบาระตี ได้ขอแลกที่ดินกับสวนผักของนางปั้น ที่ริมถนนสีลมเพื่อสร้างวัดตามลัทธิศักติ ใช้สถาปัตยกรรมของอินเดียตอนใต้เป็นแบบในการก่อสร้าง และจดทะเบียนในรุปของมูลนิธิ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2458

    วันวิชัยทัสมิ “ม้าทรง”ในขบวนแห่ปัจจุบันมี 3 พระองค์ ในนามของ พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี (ทูนหม้อกลาฮัม ), เจ้าแม่กาลี (เสียบตรีศูลที่กระพุ้งแก้ม) และพระขันทกุมาร (เสียบเหล็กแหลมที่แก้ม เกี่ยวผลมะนาวตามร่างกายและแบกกาวาดี)

    คนส่วนใหญ่คิดว่า หลังขบวนแห่กลับเข้าวัด แล่นลูกธนูปลดธงสิงห์ที่เสาเอกหน้าโบสถ์ เป็นอันเสร็จกิจ แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า หลังจากนั้น ไม่เกิน 3 - 5 วัน (สอบถามได้จากวัด) สานุศิษย์จะร่วมกันสรงน้ำพราหมณ์ และพราหมณ์ผูกด้ายมงคลสีแดงให้นั่นแหละถึงจะเรียกว่า “ฟินนาเล่” ของแท้

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="280"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="280">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> 10 ถาม – ตอบที่ควรรู้
    1. ไปวัดเวลาไหน

    - ปกติ วัดพระศรีมหาอุมาเทวีจะเปิดให้บูชาตั้งแต่ 06.00 – 20.00 น. เฉพาะวันศุกร์ถึง 21.00 น.

    - วันศุกร์ที่ 22 กันยายน เวลา 19.30 น. อัญเชิญองค์พระพิฆเนศวรออกแห่รอบโบสถ์ 3 รอบ – คนแน่นเอี๊ยด เนื่องจากวัดคับแคบ ยืนอยู่ตรงไหนต้องอยู่กับที่ตรงหน้า ห้ามเดินเข้า-ออก จนกว่าพิธีจะเสร็จสิ้น อยากร่วมพิธีควรอยู่ในวัดตั้งแต่ 5 โมงเย็น

    - ระหว่างวันที่ 23 กันยายน – 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลนวราตรี วัดจะตกแต่งอย่างสวยงาม คึกครื้น และขยายเวลาปิดถึงเที่ยงคืน ผู้นับถือพระแม่ศรีมหาอุมาเทวี ควรมาสักการะสักครั้ง ส่วนวันวิชัยทัสมิค่อยว่าและตัดสินใจกันอีกทีก็ได้

    - ระหว่างนี้ ช่วงกลางคืนจะมีผู้คนจะมาสักการบูชากันมากกว่ากลางวัน

    - อยากมาชมแค่ซุ้มและไหว้พระแม่ศรีมหาอุมาเทวีที่วัด แต่ไม่อยากร่วมขบวนแห่ในวันที่ 2 ตุลาคม ควรเลือกช่วงเวลา 3 ทุ่ม เมื่อขบวนเคลื่อนเข้าสู่ถนนปั้นเพื่อออกสาทรเหนือแล้ว ช่วงนี้ถนนสีลมฝั่งถนนปั้นคนจะเบาลง เดินชมได้สะดวก

    - อย่าลืม อยากได้ด้ายมงคลผูกข้อมือ อย่าลืมเช็กกับเจ้าหน้าที่วัดว่า หลังวันแห่สรงน้ำพราหมณ์กันวันไหน

    2. ขบวนแห่วันวิชัยทัสมิ

    - พิธีกรรม ภายในวัดเวลา 15.00 – 16.00 น. (โดยประมาณ) ระหว่างที่พราหมณ์อาบน้ำคนทรง และประกอบพิธีอัญเชิญเทพประทับ “ม้าทรง” เพื่อความเรียบร้อย มีกฎว่า คนในห้ามออก – คนนอกห้ามเข้า คนในวัดจะแน่นมากที่สุด เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมจึงเปิดวัดให้เข้า-ออกตามปกติ

    - ขบวนแห่จะเริ่มออกจากวัด เวลา 19.00 น. ตั้งต้นที่หน้าวัดพระศรีมหาอุมาเทวีฝั่งถนนปั้น เลี้ยวขวาออกถนนสีลม เลี้ยวกลับที่แยกเดโชเข้าถนนปั้น ถนนสาทรเหนือ เข้าถนนสุรศักดิ์ ออกถนนสีลมกลับสู่พระโบสถ์ เป็นอันเสร็จพิธีในคืนนี้

    3. ต้องกินเจหรือเปล่า

    - ทุกปีนั้นวันวิชัยทัสมิ ยังอยู่ในช่วงกินเจ หรือกินเจวันสุดท้าย (กินเช้ามื้อเดียว) จึงถือโอกาสกินให้ครบทุกมื้อแล้วมางานแห่พระแม่ศรีมหาอุมาเทวีก่อนจะลาเจ

    - ปีนี้ปฏิทินจีนมีเดือน 7 (2 หน) กินเจเลยขยับเลื่อนไปวันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม เพราะฉะนั้น ถ้าเคร่งครัดมากก็อาจจะกินล่วงหน้าสัก 3 วัน หรือกินเฉพาะวันแห่ก็ได้ แต่สำหรับคนมือใหม่ ไม่ต้องก็ได้ ไม่มีสูตรตายตัว

    4. แต่งกายอย่างไรดี

    - ปกติที่เห็นคนแต่งขาวกันนั้น เพราะพ่วงมาจากเทศกาลกินเจ ไม่มีกฎบังคับว่าต้องเป็นสีขาว

    - เน้นสีสันสดใสได้ เพราะเป็นงานเฉลิมฉลอง บางคนในช่วงระหว่าง 22 กันยายน – 1 ตุลาคม ใส่สาหรีมาก็ยังได้ หรือจะมาในชุดปัญจาบีก็ได้

    - อยากใส่ส่าหรีอีกเรื่องต้องรู้ อย่าใช้ส่าหรีขาวทั้งผืน เพราะประเพณีคนอินเดียจริงๆแล้ว เค้าใช้สำหรับใส่เพื่อไปร่วมงานศพเท่านั้น คนไทยไม่รู้คิดว่าสีขาวแทนความบริสุทธิ์

    - ประเภทโชว์โน่นนี่ ควรงด เพราะนี่คืองานวัด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพียงแต่ใส่ให้ถูกกาลเทศะเท่านั้นก็พอ

    - เลือกเนื้อผ้าที่ระบายลมได้ดี เพราะคนเยอะ อบอ้าว และร้อนมาก

    - อยากแต่งแบบอินเดียสไตล์ พุ่งตรงไปที่ตรงแขก พาหุรัดมีให้เลือก ใส่สบายได้อารมณ์แขกๆ เท่จะตาย

    - ไม่ควรหิ้วอะไรให้เป็นภาระ กระเป๋าใบเดียวพอแล้ว แต่ระวังเรื่องมิจฉาชีพที่แฝงตัวมายืมเงินไปใช้โดยไม่บอกกล่าวเท่านั้น เดินสักพักมือแตะกระเป๋าหน่อย เพื่อความไม่ประมาท เดี๋ยวกลับบ้านไม่ได้ไม่รู้ด้วย

    - ไม่ควรนุ่งกระโปรงสั้น อาจจะเดินเหินสะดวก แต่อย่าลืมว่า ระหว่างขบวนผ่านต้องถอดรองเท้าคุกเข่าลงกับพื้น เพื่อแสดงความเคารพและขอพร

    - กางเกงสะดวกสุด ทั้งชาย - หญิง

    - รองเท้า เน้นมากๆเพราะงานนี้เดิน เดินและเดิน ส้นสูง,รองเท้าหุ้มส้นทั้งหลายอาจจะไม่เหมาะ เพราะฉะนั้น ไม่ชาย – หญิง คีบแตะเหมาะที่สุด

    - ไม่ควรพกหรือใส่เครื่องประดับของมีค่า เอาไว้แต่งโชว์ที่บ้านปลอดภัยกว่า

    - ควรทำใจสำหรับเสื้อผ้าชุดนี้ เพราะอาจจะเลอะผงศักดิ์สิทธิ์ (สีฝุ่นและสีแดง) ที่ม้าทรงโปรยประทานพรให้ บางคนนิยมพับเก็บชุดนี้ไว้ในที่อันควร เพื่อเป็นที่ระลึก

    5. เดินทางแบบไหนสะดวก

    - รถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีช่องนนทรี แล้วทอดน่องมาเรื่อยๆ เดินสัก 2 ป้ายรถเมล์ก็ถึง

    - รถไฟฟ้ามหานคร ต่อ BTS ที่ศาลแดง หรือมอเตอร์ไซค์ ค่ารถประมาณ 30 บาท

    - เรือด่วนเจ้าพระยา ขึ้นท่าสะพานตากสิน ต่อรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีศาลาแดง หรือรถเมล์ หรืออื่นๆตามสะดวก

    - แท็กซี่สะดวกที่สุด ปิดถนนตรงไหน เดินตรงนั้น

    - รถประจำทาง สาย 79, 63, 15, 77 ฯลฯ รถปรับอากาศสาย 504, 514, 177, 79

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="270"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="270">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> 6. ที่จอดรถยนต์

    - โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ข้ามสะพานลอย เดินเข้าถนนปั้น

    - ริมถนน บริเวณสถานีรถไฟฟ้า BTS ช่องนนทรีย์

    - ที่จอดรถโรงแรม อาทิ โรงแรมนารายณ์, โรงแรมโซฟิเทล

    - ต้นถนนสีลม อาทิ ห้างโรบินสัน (สีลม) ชั่วโมงละ 20 บาท ปิด 4 ทุ่ม, ตึกซีพีทาวเวอร์ ชั่วโมงละ 30 บาท เกิน 8 ชั่วโมงเหมาจ่าย 240 บาท ปิด 5 ทุ่ม แล้วเดินทางต่อด้วยพาหนะตามความสะดวก

    หมายเหตุ ไม่ควรนำรถยนต์มาทั้งนี้เพื่อความสะดวก ตอนกลับ เส้นทางที่เหมาะกับการเรียกรถที่สุดคือ สาทรเหนือ ส่วนฟากสีลม เรียกรถยากมาก ถึงมากที่สุด

    7. ชวนเพื่อนไปดีมั้ย

    - อยากชวนเพื่อนไปเดินเป็นเพื่อน คิดให้ดี ควรเลือกเพื่อนที่มีศรัทธาเหมือนกัน ซี้ซั้วชักชวนไปจะโดนค่อนขอดว่า งมงายไสยศาสตร์ หรือประเภทเพื่อนขี้บ่น ไม่ชอบเดิน ไม่ชอบเบียดกับผู้คนแออัด ประเภทนี้อย่าชวนไป เสียอารมณ์เราเปล่าๆ

    - ถ้าได้เพื่อนพันธุ์แท้ “เทพเจ้า” ก็จะสนุกและได้อารมณ์ร่วม มีประเด็นให้คุยกันเมื่อผ่านซุ้มบูชา เพราะพันธุ์แท้ยังไงก็ไม่กลัวเหน็ดเหนื่อย ดึกดื่นแค่ไหน ฝนตกหรือเปล่า สู้ตายอยู่แล้ว

    - เดินคนเดียวสบายใจที่สุด ไม่ต้องห่วงหน้า พะวงหลัง จะกลับเมื่อไหร่ก็ได้ ตัดสินใจง่าย

    หมายเหตุ พ่อ แม่อยากพาลูกเด็กเล็กแดงไปด้วย ควรเลือกช่วงระหว่างเทศกาลดีกว่างานแห่ ช่วงเช้าสาย แดดยังไม่เปรี้ยงของวันเสาร์ – อาทิตย์ที่ 23,24,30 กันยายน และ1 ตุลาคม ดีกว่ามั้ง

    8. ที่บ้านมีเทวรูปพระอุมา อยากตั้งซุ้ม

    - วัตถุประสงค์ของการตั้งซุ้มบูชา ประการแรก. เพื่อถวายสักการะต่อพระแม่เจ้าที่ตนศรัทธา เคารพนับ
    ถือ ประการที่สอง . เทวรูปบางองค์ที่เช่ามานั้น อาจจะยังได้ผ่านพิธีเบิกเนตร (เนื่องจากวัดแขกจะเบิกเนตรให้กับเทวรูปที่เช่าบูชาในวัดเท่านั้น) หรือเทวรูปที่เบิกเนตรแล้ว แต่อยากนำมาชาร์จแบตฯเพิ่มเพื่อเสริมพลัง ก็ใช้งานนี้แหละ

    - กรณีที่มีเทวรูปแต่ไม่ได้เบิกเนตรและไม่ได้มาตั้งซุ้มเอง หากมีเพื่อนมาตั้งซุ้มอยู่ อาจจะขอเพื่อนนำเทวรูปมาร่วมประดิษฐานก็ได้ (แต่อย่าลืมช่วยเรื่องปัจจัยค่าใช้จ่ายด้วย)

    - ปกติคนนิยมมาจับจองที่ตั้งแต่ 9 โมงเช้า บางคนยึดหัวหาดกันตั้งแต่ตี 5 – 6 โมงเช้า และเปลี่ยนผลัดแตะมือเพื่อนเปลี่ยนกะในตอนเที่ยง

    - จะพ่นสีฉีดสเปรย์ปักเขตจองลงพื้นถนน หรือขึงเชือกจองตั้งแต่ตี 3 ไม่ผิดกติกา บางรายมาทีหลังแต่อยากได้พื้นที่ตรงขึงเชือก เอากรรไกรตัดซะเลย เจ้าของเดิมมา ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ บอกว่า “ไม่เห็นเชือกเลยนี่คะ” อย่างนี้ก็มีวิวาทะเล็กๆเรียกน้ำย่อย เรื่องนี้วัดไม่เกี่ยวไปว่ากันเอง

    - เลือกพื้นที่ เมื่อขบวนออกจากถนนปั้น จะเลี้ยวขวา ไปยังถนนเดโช เพราะฉะนั้น ซุ้มบริเวณเกาะกลางถนนและร้านค้า คือจุดแรกที่ขบวนผ่านในลำดับแรก ลำดับสองคือ สองฟากฝั่งในถนนปั้น ลำดับสามคือ สาทรเหนือ ลำดับสี่คือถนนสุรศักดิ์ บริเวณหน้าโรงแรมฮอลิเดย์อิน จนกลับวัด คือลำดับสุดท้าย

    - พื้นที่สุดเจ๋ง คนนิยม ไม่ต้องพะวงเรื่องรถราจะวิ่งมาเสย คือ ถนนปั้น เพราะปิดการจราจรตั้งแต่หัววัน

    - หน้าบ้านและร้านค้าที่ขบวนจะผ่านห้ามจับจอง

    - การจัดซุ้มเป็นงานเหนื่อย ต้องมีคนช่วยทำงานกันจริงๆ จะต้องวางแผน กำหนดหน้าที่แต่ละคนให้ดีที่สุด !!

    - รถบรรทุกเทวรูป, แท่นตั้งบูชา (โต๊ะ), ดอกไม้, เครื่องบวงสรวง รวมถึงผู้ช่วย ทุกอย่างต้องพร้อมสรรพกำลัง นัดหมายต้องตรงเวลา การจัดและตกแต่งควรแล้วเสร็จเมื่อเวลา 17.00 น. โดยประมาณก่อนที่ขบวนจะเคลื่อนออกจากวัด

    - เครื่องบวงสรวง นอกเหนือจากถาดผลไม้มงคลแล้ว สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลย คือ มะพร้าวห้าว (จำนวนมาก) บวกจำนวนไม่จำกัด วัดกันที่จำนวนเงินและกำลังคนที่จะช่วยทุ่ม ต่ำสุดน่าจะประมาณ 100 ลูกขึ้นไป / ซุ้ม ขาดไม่ได้อีกเช่นกัน การบูร – ธูปหอม - กำยาน ซื้อไว้เลยอย่าไปอั้น จุดธูป ถวายกำยาน และโหมไฟบูชาตลอดจนกระทั่งเก็บโต๊ะ

    - ผลไม้สักการะ อาจจะใช้ 1 – 2 ถาดก็ได้ ที่หิ้งบูชาประจำซุ้มหนึ่ง อีกถาดสำหรับถือไปถวายบูชาเมื่อรถขบวนผ่าน (อนุโลมใช้ถาดเดียวกันได้) อย่าลืมมาลัยดอกดาวเรือง 1 พวง

    - ถาดที่ต้องเดินไปถวายบูชานั้น เพื่อความสะดวก ควรงดภาชนะที่ทำด้วยแก้ว หรือประเภทของเหลวที่
    อาจจะกระฉอกเลอะเทะ เช่นน้ำแดง นมสดขวดใหญ่ เป็นต้น ที่สำคัญต้องมีมะพร้าวห้าวผ่าซีก ใส่ใบพลู หมากแห้ง (เป็นแว่น) พร้อมการบูร ที่จุดติดไฟแล้ว ของเติมแต่งในมะพร้าวผ่าซีก อาจจะมีกำยาน,ดอกไม้ที่ฉีกแล้ว(เล็กน้อย) และบางคนก็นิยมซุกใบกะเพรา(ตากแห้ง) 2-3 ใบกับกานพลู 2-3 ก้านอยู่ในถาดผลไม้ด้วย

    - งบประมาณ มากกว่า หนึ่งหมื่นบาทแน่นอน สวยงาม อลังการงานสร้างมากเท่าไหร่ หมายถึงเม็ดเงินต้องดับเบิลเป็นทวีคูณ เตรียมเงินสดใส่กระเป๋าไว้เลย เพราะซื้อของประเภทนี้งดรับบัตรเครดิต

    - ถามว่า เจ้าของซุ้มกลัวอะไรที่สุด คำเดียวสั้นๆ “ฝน” !! เพราะจัดตั้งแท่นบูชาอยู่กลางแจ้ง ไม่มีที่กำบังหลบฝนโดยเฉพาะในช่วงปลายฝนอย่างเดือนตุลาคม เอาแน่เอานอนกับธรรมชาติไม่ได้ซะด้วย

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="400">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> 9. สัญลักษณ์ที่ควรรู้

    กล้วยน้ำว้า แทนความอุดมสมบูรณ์
    มะพร้าว ผลไม้กลางหาว แทนความเยือกเย็น และเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ จึงนิยมตอกมะพร้าวเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์บนท้องถนนตลอดเส้นทางยาตราของเหล่าทวยเทพ
    อ้อย แทนความหวานชื่น ความเจริญเติบโต
    ผลมะนาว เป็นสื่อกลางของพระเจ้า ใช้กำจัดภูตผี วิญญาณสิ่งชั่วร้ายได้
    การบูร เผาผลาญให้เกิดความบริสุทธิ์
    ไม้สะเดา (แขก) เป็นไม้สัญลักษณ์ของพระศรีมหาอุมาเทวี ม้าทรงวันวิชัยทัสมิจะใช้ใบสะเดาแขก (ควินิน) เป็นเครื่องประดับ และประพรมเทวมนต์ให้กับสานุศิษย์

    10. อื่นๆ

    - ไม่ควรนำเด็กไปร่วมงานแห่ด้วยในทุกกรณี เพราะคนแน่นเอี๊ยดขนาดนี้ คุณต้องอุ้มเด็กตลอดเวลาจะสร้างภาระให้แก่คุณ และสร้างความลำบากให้แก่ลูก

    - ควรพกถุงพลาสติกติดตัวไว้ในกระเป๋ากางเกงสักใบ เผื่อฝนตกจะได้เก็บโทรศัพท์มือถือและเอกสารสำคัญต่างๆ

    - เนื่องจากคนแน่นมาก บางขณะต้องเบียดกับคนอยู่กับที่นานๆ อาจเป็นลมได้เพราะฉะนั้น ต้องมียาดมติดตัวไว้ หน้ามืด วิงเวียน งัดขึ้นมาสูดดมทันที

    - ถ้ามีคนเป็นลม กรุณาช่วยเหลือหรือแหวกทางให้ด้วย

    - ขณะที่นั่งจับจองพื้นที่เพื่อรอขบวนเทพมาประทานพร ประพรมน้ำมนต์ และโปรยฝุ่นศักดิ์สิทธิ์ อย่าบังหน้าโต๊ะของซุ้มต่างๆ เพราะเทพจะเข้าไปประทานพรไม่สะดวก และเป็นชนวนให้เกิดเรื่องวิวาทได้

    - ผู้มาใหม่ เจอะใครทายทัก พึงพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะมีเจ้าตำหนักทั้งหลายมาหาศิษย์ใหม่ที่นี่ เก๊บ้าง จริงบ้าง มือใหม่ด้อยประสบการณ์อาจโดนต้มตุ๋นได้ง่าย เพราะฉะนั้น ... เข้าวัด จำไว้อย่างหนึ่งว่า “เมื่อเราก้มกราบท่าน ท่านก็ให้พรแล้ว”

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="250"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="250">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> กลัศบูชา

    กลัศบูชา คือ การถวายบูชา “เทพประธาน” ด้วยมะพร้าว

    อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ 1. หม้อ (ภาชนะสำหรับใส่น้ำ), ใบมะม่วง 5 ใบ (คัดขนาดใบที่ใกล้เคียงกัน ใบไม่มีรอยขาดแหว่ง หรือกัดแทะจากแมลง), มะพร้าวห้าว 1 ลูก(เหลาเนื้อเนียน ยอดแหลม), ผงเจิมสีแดง (บางแห่งใช้เพียงเท่านี้)

    สูตร METRO LIFE ใช้เป็นภาพประกอบ มีของเพิ่มเติม อาทิ ใบพลู 1 ใบ, หมากลูกแห้งจากอินเดีย 1 ลูก(ซื้อได้จากตรอกแขก พาหุรัด ร้านขายหมากพลูไม่มี) เงิน 1 บาท และดอกไม้ประดับ

    หมายเหตุ - บางแห่งใช้ผ้า(ดิบ) แดงหุ้มมะพร้าว ผูกยอดด้วยกลุ่มด้ายศักดิ์สิทธิ์

    ภาชนะสำหรับกลัศบูชาเช่น หม้อดิน หรือ หม้อทองเหลืองหรือหม้อทองแดง หม้อแต่ละใบจะมี
    ลวดลาย บ่งบอกถึงเทพประธาน

    หมายเหตุ คนไทยไม่รู้เรียก “บายศรีแขก”

    ขั้นตอนทำกลัศบูชา

    1. เทน้ำบริสุทธิ์ใส่ในหม้อ
    2. นำหมากแห้ง พร้อมเหรียญบาท วางไว้บนใบพลูและหย่อนใส่หม้อ
    3. นำใบมะม่วงที่เตรียมไว้วางเรียงรายรอบหม้อ
    4. นำมะพร้าวห้าววางไว้เหนือหม้อ ขณะวางลูกมะพร้าวด้วยมือขวา ให้กล่าวว่า “ ข้าพเจ้าขอบูชาต่อกลัศ
    โดยขออัญเชิญพระวิษณุเทพอยู่บนปากแห่งภาชนะ อัญเชิญพระศิวะเทพประทับอยู่ที่คอของภาชนะ และอัญเชิญพระพรหมเป็นฐานของภาชนะ ขออัญเชิญพระแม่ศักติและพระโอรสประทับอยู่ใจกลางภาชนะใบนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาเทพทุกพระองค์ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวนี้

    จากนั้นสั่นระฆัง และรำลึกน้อมบูชาต่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ โดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอบูชา โดยอัญเชิญพระแม่คงคา,พระแม่ยมุนา,พระแม่โคทวรี,พระแม่สรัสวดี,พระแม่นรมัท,พระแม่สินธุ และพระแม่กเวรีมาประทับอยู่ ณ น้ำบริสุทธิ์ในภาชนะนี้เพื่อให้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์

    สุดท้าย กล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาเทพเจ้าผู้เป็นประธาน (เอ่ยพระนาม) เหนือกลัศนี้ ด้วยการกราบไหว้ ถวายผงเจิมและประดับด้วยดอกไม้เพื่อเป็นเทวบูชา”

    5. จัดเรียงใบมะม่วงให้สวยงาม
    6. ใช้ผงเจิมที่ลูกมะพร้าวด้วยนิ้วนาง
    7. ตกแต่งด้วยดอกไม้ มาลัยให้สวยงาม
    8. นำกลัศนั้นขึ้นทูนบนศีรษะ และตั้งกลัศนี้ไว้ในที่อันควร เป็นเวลา 1 วัน
    9. ถือว่า น้ำในหม้อกลัศนี้คือ น้ำศักดิ์สิทธิ์ ใช้อาบเพื่อเป็นสิริมงคล เหรียญบาทเก็บไว้เป็นขวัญถุง หรือสะสมไว้เพื่อทำบุญ
    10. มะพร้าวเก็บไว้จนแห้ง แล้วจำเริญในน้ำในโอกาสต่อไป

    หมายเหตุ - หากมีผ้า(ดิบ) แดงหุ้มมะพร้าวอยู่
    ต้องแก้ด้ายมงคล แล้วนำผ้า – ด้าย และมะพร้าวจำเริญน้ำไป
    - ช่วงนำไปจำเริญน้ำ เหลียวซ้ายและขวาให้ดี ว่าไม่มีเทศกิจอยู่ ไม่งั้นอาจจะต้องโดนเสียค่าปรับ

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="300"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="300">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> - หม้อรูปพระคเณศ และขนานข้างด้วย อักษร “โอม” และรูปตรีศูล
    - หม้อพระลักษมี 8 ปาง มีรูป ธนลักษมี,ไอศวรรยลักษมี,วิชัยลักษมี,สันทนลักษมี,คชลักษมี,วีรลักษมี, ธัญญลักษมีและอธิลักษมี
    - หม้อนารายณ์ 10 ปาง มีรูป มัตสยาวตาร,กูรมาวตาร,วราหาวตาร, นรสิงหาวตาร,วานาวตาร,ปรศุรามวตาร, รามาวตาร,กฤษณาวตาร,พุทธาวตาร,กาลกิยาวตาร
    - หม้อเทพนพเคราะห์
    - ส่วนพระอุมา นิยมตั้งเป็นหม้อดิน !! หรือถ้าใครไม่มีหม้อทองเหลือง,ทองแดง อนุโลมใช้เป็นหม้อดินได้หมด แล้วกำหนดเทพประธานเอา

    หมายเหตุ หม้อกลัศ มีขนาดให้เลือกทั้งเล็ก,กลาง,ใหญ่ ราคาแตกต่างกันไป หม้อทองเหลือง ราคาแพงกว่าหม้อชนิดอื่น

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="244"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="244">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> เทวพัสตราภรณ์

    ชาวฮินดูหรือชาวไทยที่มีเทวรูปเทพเจ้าฮินดูไว้บูชา นิยมตกแต่งเทวรูปให้มีความสวยงาม ด้วยการนุ่งห่มผ้า อีกทั้งเนื้อผ้าที่ใช้นั้นก็ต้องให้เหมาะสมกับฤดูกาลด้วย การนุ่งผ้าที่หลากหลายนั้น ผู้สันทัดกรณีท่านหนึ่งบอกผ่านเมโทรไลฟ์ว่า การนุ่งห่มอาภรณ์ให้แก่องค์เทพแบ่งออกเป็น4 ชนิดใหญ่ๆ คือ

    1.ปัตยรา - ลักษณะคล้ายๆ กางเกงอินเดีย สวมคู่กับเสื้อและมีผ้าคลุมไหล่

    2. ส่าหรี - นุ่งถวายองค์เทวี ต้องจีบหน้านางด้านหน้าให้ได้ขนาดตามที่ต้องการและสวยงาม

    3. แหล่งการ์ - กระโปรงที่เย็บสำเร็จแล้ว ใช้ผ้าชิ้นๆ จับให้เป็นรูปกระโปรงตามที่ต้องการ

    4. โชตี - นุ่งให้กับองค์เทพที่เป็นเพศชายเท่านั้น ลักษณะคล้ายนุ่งผ้าของพราหมณ์ นุ่งชนิดนี้ต้องมีผ้า “จุนนะลี” คือผ้าคล้องคอประกอบ ถึงจะสมบูรณ์

    หน้าร้อน ใช้เนื้อบางเบาหน่อยเช่นผ้าไหมแคชเมียร์ หรือชีฟองเนื้อบาง หน้าหนาวใช้ผ้าที่เนื้อหนาขึ้นมาหน่อยเช่นผ้าฝ้าย เป็นต้น

    ก่อนที่จะนุ่งห่มเทวพัสตราภรณ์ชำระล้างองค์เทวรูปเทพเจ้าด้วยน้ำมงคล 9 ชนิดคือ

    1. น้ำผสมผงเจิมสีแดงที่เรียกกันว่า “กุมกัม”
    2. น้ำผสมผงเจิมสีเหลืองที่ได้มาจากต้นจันดารา
    3. น้ำผสมการบูร
    4. น้ำผสมน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์
    5. น้ำผสมน้ำมันเนย
    6. น้ำผสมผงขี้ธูปและกำยาน
    7. น้ำมันจันทน์
    8. น้ำมะพร้าว
    9. น้ำนมวัวบริสุทธิ์ที่ผสมน้ำหอมจากธรรมชาติ

    เสร็จแล้วโรยงาดำ แทนสัญลักษณ์เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่าให้เรียบร้อย
    เช็ดเทวรูปให้แห้งสนิท แล้วจึงเริ่มแต่งเทวพัสตราภรณ์


    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="220"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="220">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> นวราตรี บูชาเจ้าแม่ปางไหน

    เทศกาลนวราตรี ตลอดทั้ง 9 วัน 9 คืนนั้น ในแต่ละวันจะบูชาปางอวตารต่างๆของพระแม่ศรีมหาอุมาเทวี ซึ่งแตกต่างกันไป ดังนี้

    วันแรก – เจ้าแม่มหากาลี
    วันที่สอง - เจ้าแม่ทุรคา สังหารมหิงสาสูร
    วันที่สาม – เจ้าแม่จามุนดา สังหารยักษ์สองพี่น้อง จันทรและมุนดา
    วันที่สี่ – เจ้าแม่กาลี สังหารและดูดเลือดอสูรมาธู
    วันที่ห้า – เจ้าแม่นันทา ลูกสาวของคนเลี้ยงสัตว์
    วันที่หก – รักธาฮันตี สังหารอสูรด้วยการใช้ฟันกัดจนตาย
    วันที่เจ็ด - เจ้าแม่สักกัมพารี
    วันที่แปด - เจ้าแม่ทุรคา สังหารยักษ์ทุรคา
    วันที่เก้า - เจ้าแม่ลัคภรมาธี สังหารยักษ์อรุณา

    อุแม่เจ้า !!
    UMA เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า OMA นางเมนกา แม่ของนางปารวตีอุทานขึ้นเพื่อลูกสาวบอกว่า จะไปบำเพ็ญตบะเพื่อให้พระศิวะรับเป็นชายา ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา เรียก “อุมาไหมวตี” ชาวบ้านทั่วๆไปรู้จักกันในนาม “เจ้าแม่ศรีอุมาเทวี” นอกจากนี้คำนี้ ยังเป็นรากศัพท์ของคำอุทานในภาษาไทยว่า “อุแม่เจ้า”

    ขบวนแห่เริ่มเคลื่อนออกจากหน้าโบสถ์ เวลา 19.00 น.
    ขบวนที่ 1 คือ ขบวนของคนทรงองค์เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวี (Sri Maha Uma Devi)
    ขบวนที่ 2 คือ ขบวนราชรถของพระกัตตรายัน (Lord Kathavarayan)
    ขบวนที่ 3 คือ ขบวนคนทรงพระขันธกุมาร (โอรสของเจ้าแม่อุมาเทวี)
    ขบวนที่ 4 คือ ขบวนราชรถของพระขันธกุมาร (Lord Subrammanya)
    ขบวนที่ 5 คือ ขบวนบุษบกขององค์เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวี ,พระพิฆเนศวร และพระกฤษณะ (Sri Maha Uma Devi, Lord Ganesh, Lord Krishna)

    **************

    คธา เพิ่มทรัพย์
    ภารตดนตรี

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="350">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> คธา เพิ่มทรัพย์เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนจิตรลดา ก่อนที่จะได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับ High School ที่สหรัฐอเมริกา เขาสนใจศิลปะการดนตรีตั้งแต่ตอนที่สมัยวัยเด็ก และได้มีโอกาสศึกษาดนตรีเพิ่มเติมเมื่ออยู่ที่สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังสนใจการปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ และการฝึกโยคะ รับประทานมังสวิรัติมากว่า 15 ปี

    คธา เพิ่มทรัพย์ มีความสามรถเล่นดนตรีคลาสสิกของอินเดียประเภท “กลองทรับบล้า (TABLA)” ได้อย่างเชี่ยวชาญ การเล่นกลองดังกล่าวเป็นศิลปะชั้นสูงของอินเดียที่ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ผสมผสานกัน กลองทรับบล้าเป็นเครื่องดนตรีที่ต้องใช้พลังนิ้วในการเล่น ดังนั้น ผู้เล่นจึงจำเป็นต้องมีสมาธิมาก เขาบอกว่า กลองทรับบล้านี้จะนำมาแสดงเฉพาะในงานพิธีมงคลใหญ่ๆ หรือการบวงสรวงเทพเจ้าชั้นสูงเท่านั้น....

    คธาได้ศึกษากลองทรับบล้าขั้นพื้นฐานจากคุรุที่มีชื่อเสียงของอินเดีย คือ ดร. ชาลีนิวาส ราโอ เป็นเวลา 2 ปี และเรียนต่อระดับสูงสุดกับศิลปินแห่งชาติชาวอินเดีย “บัณฑิต สุเรช ทาลวอร์คก้าร์” ที่เมืองตักศิลา (PUNE) ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนทั้งหมด 5 ปี ปัจจุบัน คธาต้องเรียนอีก 3 ปีถึงจะสำเร็จขั้นสูงสุด ดังนั้น เขาจึงเป็นคนไทยคนแรกและเป็นชาวต่างชาติคนเดียวที่ได้ศึกษากลองทรับบล้าชั้นสูง

    ดนตรีอินเดียมีไว้สำหรับเล่นเพลงสรรเสริญเทพเจ้า อาทิ พระคเณศ พระกฤษณะ พระศิวะโดยปรัชญาแล้ว ดนตรีจะทำหน้าที่เป็นตัวนำหรือตัวเชื่อมที่พามนุษย์ไปเป็นส่วนหนึ่งกับเทพเจ้าฮินดู โดยผ่านการสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าด้วยการ “ร้อง เล่น และเต้น” ถึงจะครบสูตร

    “ดนตรีอินเดียไม่ใช่แค่เล่นได้และเล่นเป็นเท่านั้นนะครับ การเรียนดนตรีที่นั่นต้องเป็นไปทีละขั้น จะไม่มีการก้าวข้ามขั้นเด็ดขาด พอได้เทคนิคทุกอย่างแล้ว คุรุทุกๆ ท่านจะสอนว่า ให้ทิ้งเทคนิคเหล่านั้นให้หมด เพื่อที่จะได้ก้าวข้ามไปสู่ความรู้และความสามารถทางจิตวิญญาณ เรียกง่ายๆ ว่าทำทุกอย่าง ฝึกทุกอย่างก็เพื่อที่จะบรรลุจุดสูงสุดทางจิตวิญญาณครับ” คธา เพิ่มทรัพย์กล่าวกับ METRO LIFE

    “ ความงดงามของดนตรีอินเดีย ไม่ใช่แค่การลืมเทคนิคเท่านั้น หากแต่ต้องลืมความเชื่อและศรัทธาด้วย ลึกซึ้งมากนะครับ” ศิลปินหนุ่มกล่าวต่อไป

    ดนตรีเหนือ - ใต้ต่างกัน
    “ดนตรีทางตอนเหนือจะเน้นที่อารมณ์ของการเล่นเป็นสำคัญไม่ค่อยมีแบบแผนตายตัว จังหวะสามารถยืดได้ หดได้ตามใจของผู้เล่นที่เห็นว่าเหมาะสม แต่ถ้าเป็นดนตรีจากทางใต้จะมีแบบแผนและจารีตตายตัว เน้นการเล่นแบบลงจังหวะที่ถูกต้องตามแบบที่ถูกถ่ายทอดมา ว่าง่ายๆ คือดนตรีทางใต้มีจังหวะที่เเน่นกว่า เป็นอย่างไรแต่เดิมมาก็จะเป็นอย่างนั้น” หนุ่มผู้หลงใหลในดนตรีจากชมพูทวีปยืนยัน
    “อินเดียตอนใต้จะเด่นในเรื่องกลอง ซึ่งเรียกกันเป็นภาษาพื้นถิ่นว่า “โคลน” เป็นกลองสองหน้า นอกจากนั้นก็จะมี “มาจิงกรัม” เป็นกลองสองหน้าอีกประเภทหนึ่งชนิดที่ให้เสียงดังกังวานมากๆ ซึ่ง “มาจิงกรัม” นี้ในคัมภีร์พระเวทระบุว่า พระคเณศทรงเล่นเป็นประจำ... ส่วนอินเดียตอนเหนือจะ โชว์ความสามารถในการดีไซน์รูปแบบการเล่นที่โดดเด่นด้วยตัวเอง โดยอิงแบบแผนเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เสน่ห์อยู่ที่ไม่ซ้ำซากจำเจ” คธา เพิ่มทรัพย์อธิบาย

    “ผม” – อินเดียตอนกลาง
    “สำนักที่ผมไปเรียนนี้จริงๆ อยู่ทางอินเดียตอนกลาง แต่คุรุจิ อาจารย์ของผม ท่านเป็นคนที่สามารถรวบรวมเอาเอกลักษณ์ทั้งทางเหนือและใต้มารวมกันได้ รูปแบบการเล่นดนตรีของผมจึงถ่ายแบบจากท่านมาคือจะเป็นเหนือก็ไม่ใช่ จะว่ามาจากอินเดียใต้ก็ไม่เชิง อยู่ตรงกลางๆครับ ”

    “ผมใช้วิธีเรียนแบบที่เรียกกันว่า คุรุศิชาปรัมปรา คือเอาตัวเองเข้าไปรับใช้คุรุในอาศรม ไม่ได้เรียนในห้องอย่างสมัยปัจจุบันนี้ คุรุศิชาปรัมปราเป็นรูปแบบของการศึกษาที่เก่าแก่มากๆ ครับ ปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเวทแล้ว ว่าง่ายๆ คือ ผมใช้ชีวิตอยู่กับครูทั้งวัน เพื่อจะได้ซึมซาบดนตรีอินเดียเข้าไปข้างในถึงตัวจิตวิญญาณ”

    วีณา ผกาวัต ต้นแบบดนตรีอินเดีย

    ดนตรีอินเดียเสียงวีณาที่หนักแน่นแต่ทว่าแอบซ่อนความอ่อนหวานอยู่ในที คธา เพิ่มทรัพย์พูดถึงเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า

    “วีณาเป็นเครื่องดนตรีอินเดียที่เก่าแก่มาก อายุก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 ปีเป็นอย่างน้อย การเล่นจะใช้กลองที่เรียกว่า ผกาวัต เป็นเครื่องประกอบจังหวะ มันจึงมีข้อสันนิษฐานว่า เครื่องดนตรีอินเดียทั้งสองชิ้นนี้น่าจะเป็นต้นแบบให้กับเครื่องดนตรีในสมัยต่อๆมา ทั้งพัฒนามาเป็น ทรับบล้า และ ซิต้าร์ เมื่อ 400– 500 ปีผ่านมา ”


    มาห่ม “ส่าหรี” กันมั้ย

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="540"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="540">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> อินเดียสไตล์ทั้งที ไม่พูดถึงส่าหรีคงจะไม่ครบสูตร การนุ่งและห่มส่าหรีก็เป็นภูมิปัญญาอินเดียที่ชาญฉลาดมาก เพราะสามารถนำผ้ามาขึ้นคลุมศีรษะกันแดดเปรี้ยงร้อนระอุได้ ใช้ผ้าหนาหน่อยป้องกันความหนาวเย็นของอากาศได้ แล้วสาหรีก็เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงชนชาตินี้ได้ชัดเจนที่สุด

    ผ้าส่าหรีแต่ละผืนจะมีความยาว โดยประมาณ 5 หลา ส่วนที่เป็นปลายผ้าด้านหนึ่งจะต่อด้วยผ้าพื้นสีกลมกลืนกันกับท้องผ้ามาอีกประมาณครึ่งหลา ผ้าพื้นนี้มีไว้สำหรับนำไปตัดเป็นเสื้อตัวในที่เรียกว่า “เสื้อเบลาท์” ในลักษณะเสื้อเอวลอยรัดรูป

    การนุ่งส่าหลีนั้นเริ่มจาก....

    1. นำชายผ้าด้านหนึ่งมาห่อลำตัวให้ผ้าด้านซ้ายสั้นกว่าด้านขวามือ คล้ายๆ กับการใส่ผ้าซิ่น จากนั้นก็ขมวดให้แน่นๆที่สุด ไว้ที่เอว ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดเพราะการนุ่งจะหลุดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้ค่ะ...
    2. จับจีบชายผ้าด้านขวามือ ชายผ้าด้านที่เหลือเป็นจีบหน้านางขนาดกว้างประมาณไม่เกิน 3 นิ้วฝ่ามือเรา หน้านางที่ว่านี้ต้องจีบทบประมาณ 3-5 ทบจะเป็นขนาดที่กำลังดีและสวยเวลาที่ก้าวเดิน...
    3. ยัดจีบหน้านางเข้าไปในชายพกซึ่งขมวดไว้ที่เอว...
    4. นำชายผ้าด้านที่เหลือพันรอบตัวก่อน 1 รอบ แล้วจึงพาดขึ้นบนไหล่ซ้าย...
    5. ง่ายๆ ไม่ยากเลย แต่สวยสง่าแบบสาวภารตะ
    6. ส่วนเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็นต่างหู ,สร้อยคอ,กำไล และบันดิ (ติดหน้าผาก)


    ************

    คู่หูแฟนพันธุ์แท้ “ตำนานเทพเจ้า”

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="220"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="220">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> กลายเป็นคู่มิตร หลังตกรอบ “แฟนพันธุ์แท้” ป้อม - เขมกร สิงหกันต์กับ โจ – ดนัย นาควัชระ ที่มักจะไปไหนต่อไหนด้วยกัน เหมือนๆกัน แม้จังหวะการเริ่มต้นของแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่เหมือนกันตรงที่ชื่นชอบและศรัทธาใน “เทพเจ้า”

    ป้อม เขมกร สิงหกันต์ Managing Diractor ของ บ.เอ๊กอี๊เอ๊ก ณ รวย จำกัด (Eight e Eight naruy CO., LTD สะสมหนังสือ – ซีดี “เทพเจ้า”

    คนเขียนคนโปรด – ศ.ดร. ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา , กรุณา – เรืองอุไร กุศลาสัย
    “ หนังสือเนี่ยสะสมมาเป็นสิบปีเหมือนกัน เนื่องจากเราสนใจเรื่องเกี่ยวกับอินเดีย เพราะฉะนั้น อะไรที่เป็นอินเดียจะสะสมหมด อย่างงานของอาจารย์ศักดิ์ศรี มักจะแปลจากนิทาน เป็นเรื่องสั้นๆ เหมือนกับเกร็ด อ่านง่าย บางเรื่องเราอ่านปุ๊บ รู้เลย เรื่องนี้เคยทำเป็นหนังมาแล้ว อย่างในเล่ม “ภารตนิยาย” มีความหนาถึง 900 กว่าหน้าท่านตั้งชื่อเรื่องโดยใช้นามของตัวละครในเรื่องเป็นหลักเช่น รัมภา,อโศกสุนทรี,ชัมพุเกศวร,มณีกัณฐ์, ชีวมูตวาหน ฯลฯ เป็นเรื่องเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยที่เราหาอ่านไม่ได้จากตำนานเทพเล่มไหน เพราะบางเรื่องคือเกร็ดที่แทรกอยู่กับเรื่องใหญ่อื่นๆ ท่านแปลได้ลึกซึ้ง อ่านแล้วซาบซึ้งใจมาก เราได้เรียนรู้ที่แตกต่างจากความเชื่อแบบสูตรสำเร็จว่า เจ้าแม่กาลี หรือปางดุร้ายอีกหลายพระนามที่คนเชื่อกันตลอดมาว่า ท่านโปรดการเสวยโลหิต ความจริง ไม่ใช่ นั่นคือมายาเพื่อทดลองใจ จนเมื่อคนคนนั้นจนตรอก หาทางออกไม่ได้ คิดจะปลิดชีวิตเพื่อแสดงความภักดี ท่านก็จะแสดงกฤษดาภินิหารให้เห็นและประทานพรให้ ”

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="400">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> หนังเรื่องโปรด – พระศิวะ (OM NAMAH SHIVAYE)

    “พระศิวะเรื่องนี้ช่อง 7 สีเคยนำมาฉายเมื่อหลายปีที่แล้ว เจ.บิ๊คฟิล์มได้รับลิขสิทธิ์ทำเป็น Boxest มี 2 ชุด ชุดแรก(กล่องเหลือง) แผ่นที่ 1-30 ชุดสอง กล่องแดง (แผ่นที่ 31 – 58) มีผู้แสดงเป็นพระศิวะ 2 คน คนแรกจะเล่น 20 แผ่นแรก ที่เหลือเป็นหน้าที่ของคนที่ 2 เรื่องนี้ชอบในเรื่องของเทคนิคและความสนุกสนาน จากการที่เราดูหนังประเภทเดียวกันในยุคก่อน ดูเรื่องนี้แล้วตื่นตา ตื่นใจกว่าเยอะ เราจะเห็นและรู้ว่าเทคนิคเปลี่ยนไปแล้วนะ ไม่เชย เนื้อหาเองก็แตกต่างจากตำนานเดิมที่เราเคยรู้มา เรื่องนี้ นอกจากเราจะได้รู้เรื่องพระศิวะแล้ว เรายังได้รู้เรื่องเทพพระองค์อื่นๆควบคู่กันไปด้วย อีกอย่างการเลือกนักแสดงที่เล่นบทพระศิวะ (คนแรก) นั้นเหมาะสมมาก ใช่เลย ดวงตาแสดงความเมตตาได้ลึกซึ้งมาก มีความเยือกเย็น สุขุม ขณะที่คนหลังจะจริงจัง เร่าร้อนและดวงตาดุดันกว่า ”

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="350">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> “ อันดับแรกเลย เราเป็นนักสะสม สิ่งที่ได้ตามมาเป็นอันดับสองคือ การบูชา เมื่อเราเป็นคนสะสมเชิงบูชาก็ต้องศึกษาเรื่องของท่านให้ถูกต้อง” โจ – ดนัย นาควัชระ บอกกับ METRO LIFE

    ย้อนหลังไปเมื่อ 4 ปีที่แล้ว โจ – ดนัยตั้งใจที่จะเป็นนักบินของบริษัทการบินไทย ก็เลยไปเที่ยวตระเวน บนบานศาลกล่าวว่า “ถ้าลูกได้เข้าถึงรอบสุดท้าย ลูกจะขอเป็นศิษย์และบูชาท่านตลอดไป”

    ปาฏิหาริย์มีจริง ปกตินักบินจะต้องเป็นคนจบสายวิทย์ แต่สำหรับโจ จบสายศิลป์ ไม่รู้เรื่องฟิสิกส์ เคมี ชีว แต่ทำข้อสอบได้มาถึงรอบสุดท้าย จนรู้สึกว่า “นี่มันไม่ใช่ตัวเราคนเดียวแล้ว ถึงได้ศรัทธามาก”

    สัจวาจาที่พลั้งปากไปนั้นต้องปฏิบัติ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ไหน เพราะตามหลักประเพณีนั้นต้องมี “ครูหลัก” !! จึงไปจุดธูปบอกกับท้าวมหาพรหม เอราวัณกับพระแม่ศรีมหาอุมาเทวีที่วัดแขก สีลมว่า “ ขอถวายตัวเป็นศิษย์ บูชาทุกพระองค์ก็แล้วกัน” นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นจนกลายเป็นนักสะสมเทวรูปในเวลาต่อมา

    เมื่อ METRO LIFE ก้าวย่างขึ้นห้องพระบนชั้น 2 ของบ้านพัก อดคิดในใจไม่ได้ว่า “นี่มันศาลเจ้านี่หว่า”

    เมื่อดนัย นาควัชระ มาเป็นอาจารย์สอนพิเศษภาษารัสเซียที่ สถาบัน EK Center หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงเริ่มเช่าเทวรูปพระสรัสวดี องค์อุปถัมภ์ด้านการศึกษาจากย่านตรอกแขก พาหุรัดมาบูชาเป็นองค์แรก นำเข้าบ้านครั้งแรกคิดอยู่ว่า ที่บ้านจะรับได้หรือเปล่า เพราะเริ่มคิดจะสะสมเทวรูปแล้ว จึงบอกกับท่านว่า

    “อย่าให้มีปัญหาใดๆกับทางบ้านเลย อย่ามีอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นคนขัดขวางหรือแม้แต่เรื่องการเงิน”
    “จงเป็นดั่งนั้น” เทพคงจะประทานพรให้อย่างนั้น เพราะไม่มีอะไรเกิดขึ้น !! ทั้งวันแรกและวันต่อๆมา

    เดือนแรกต้องพูดว่า “ ชอปทุกวัน” !! ได้เทวรูปติดไม้ติดมือวันละ 1 องค์ พอเดือนที่ 2และ 3 เป็นอาทิตย์ละ 2 องค์ อยากได้องค์ไหนแล้วหาไม่ได้ จะใช้การอธิษฐานจิตขอให้เจอ ไม่เกิน 2 วันได้สมใจถูกต้องตามเทวลักษณะ งดงาม ประทับใจตั้งแต่แรกเห็น

    ดังนั้น .... นักสะสมอย่าง โจ – ดนัย นาควัชระ จึงครบเครื่องทั้งเทวรูปฮินดู , เทพเจ้าจีน, พระบูชา – เกจิอาจารย์ ตลอดจนพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายาน (จีน)และวัชรยาน (ทิเบต)

    “นอกจากนั้น พี่ก็มาคิดว่า เมื่อเราบูชาเทพเจ้าทุกๆพระองค์อย่างที่เราตั้งใจไว้แล้ว เราก็ควรบูชาคนของแผ่นดินด้วย ดังนั้นจึงเริ่มสะสมงานพระรูปย่อของบุรพกษัตริย์และราชินีด้วย”

    อัปเดตล่าสุด !! ตอนนี้กำลังสะสมงานอียิปต์

    แหล่งชอป
    เทวรูปเทพฮินดู - ตรอกแขก พาหุรัด , งานเทพเจ้าจีน - ร้านประจำแถบเยาวราช ใกล้กับวัดเล่งเน่ยยี่ , งานทิเบต - ร้านค้าใกล้กับวัดแขกสีลม งานไทย – ร้านเจริญชัยการช่าง เสาชิงช้า มีหลักในการพิจารณางานอยู่ว่า

    หนึ่ง – ต้องถูกต้องตามเทวลักษณะ
    สอง - ขนาดต้องใหญ่พอสมควร

    “ เนื่องจากเราเป็นนักสะสมกึ่งบูชาก็เลยไม่ได้เจาะจงลงไปว่า ต้องเป็นศิลปะสมัยโจละ หรือศิลปะอินเดียใต้ เนื่องจากอินเดียเน้นไปที่ความศรัทธามากกว่าความสวย ดังนั้น ถ้าต้องการงานที่สวยแล้วล่ะก็ งานไทยที่เลียนแบบอินเดีย สวยงามและมีรายละเอียดกว่าเยอะ ส่วนตัว ... ชอบศิลปะของงานไทยที่ทำเลียนแบบเทวลักษณะอินเดีย”

    โจ – ดนัย นาควัชระ ไม่นิยมขอพรกับองค์เทพ จุดประสงค์ของการบูชาคือ ศรัทธาในทิพยภาวะ เห็นความศักดิ์สิทธิ์ในเทวานุภาพ

    “ ถ้าเราบูชาเพื่อที่จะขอโน่น ขอนี่ ตามนิสัยของมนุษย์นี่ขอกันไม่รู้จักพอหรอก เหมือนสมัยก่อนที่เรายังไม่ได้ศึกษาก็คิดว่า จะได้ต้องบนท่านเท่านั้น เมื่อเราขอ ท่านก็ต้องแบ่งบารมีมาช่วย เมื่อเรายืมบารมีท่านมา วันหนึ่งเราก็ต้องใช้คืน เหมือนคนยืมเงิน ยังไงก็ต้องคืนจริงมั้ย ทำไม ... เราไม่สร้างบารมีด้วยตัวเองเพื่อให้เป็นเกราะคุ้มครองตัวเรา”

    *************

    ต้น - ธนเดช “หมอฟาดเปรี้ยง”
    ทำหนังสือ “ตำนานเทพ” ชอบดูหนังอินเดีย

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="400">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> ไม่ค่อยมีคนรู้หรอกว่า ทุกวันนี้ยังมีภาพยนตร์อินเดียฉายที่เมืองไทย แต่คนไทยสายเลือดอินเดียอย่าง ต้น – ธนเดช ธนเดชสวัสดิ์ หมอ(ดู)ฟาดเปรี้ยงไม่เคยพลาดสักโปรแกรมที่จะซื้อบัตรชม !! ราคาบัตร 250, 300, 400 บาท เช่าสถานโรงภาพยนตร์ชั้นดีที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์พลาซาบ้าง, เซ็นทรัล พระราม 3 เพื่อฉายให้ชมกันในช่วงสั้นๆเพียงไม่กี่วัน ระหว่างที่หนังแวะพักที่เมืองไทยก่อนไปฉายจริงที่สิงคโปร์ ภาพยนตร์อินเดียเหล่านี้มี บริษัท กู้ดวิว เป็นตัวแทน คนที่อยากดูหนังอินเดีย โทร.ไปสอบถามรายละเอียดที่ 0-9488-2620

    “โปรแกรมหนังใหม่ๆของปีนี้ เราดูหมดทุกโปรแกรม ฉายกันรอบดึก ประมาณ 3 วัน เรื่องไหนที่มีคนชมมากจะขยายเป็น 5 วัน ดูแล้วจะรู้ว่า หนังแขกทุกวันนี้น่ะพัฒนาไปไกลแล้ว หนังแขกแต่ละเรื่องจะมีความยาวประมาณ 3 ชั่วโมง เดี๋ยวนี้ไม่มีประเภทวิ่ง 7 ภูเขา 7 ป่าช้าแล้ว” ต้น - ธนเดช กล่าวกับ METRO LIFE

    “สูตรหนึ่งที่อินเดียไม่เคยทิ้งคือ นิยมสร้างหนังเพลง ร้อง เต้น แสดงถึงให้เห็นถึงศิลปะ ,วัฒนธรรรม, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม้ว่าทุกวันนี้จะมีแร็ป มีแดนซ์สมัยใหม่ตามสังคมของโลกที่เปลี่ยนไป แต่ก็ยังมีกลิ่นของแขกที่ประยุกต์เข้าไป ส่วนระบำส่าหรีก็ยังมีอยู่”

    ไม่ได้บ้า แต่อาการนี้เรียกว่า “คลั่ง” เพราะเจ้าตัวบอกว่า บางเรื่องที่ไม่ได้เข้ามาที่เมืองไทย ยอมลงทุนบินไปดูถึงสิงคโปร์ ส่วนที่มาเลเซียจะเป็นหนังจากอินเดียใต้ โปรแกรมหนังเปลี่ยนทุกสัปดาห์ เสาร์-อาทิตย์มีรอบมิดไนต์

    “เป็นคนไทยคนเดียวที่ไปนั่งดูหนังที่สิงคโปร์ ถ้าไม่มีซับฯก็จับใจความเอา แต่ถ้ามีซับฯอังกฤษสบาย ทะลวงได้ทุกเรื่อง ขึ้นต้น ลงท้าย ตรงกลางเป็นยังไงเข้าใจหมด”

    ฝังใจหนังแขกตั้งแต่เด็ก

    ที่วังบูรพาในยุครุ่งเรืองสุดๆ มีโรงหนังอยู่ 3 แห่งคือ คิงส์ , ควีน และแกรนด์ สมัยนั้น ที่เมืองไทยมีหนังแขกเข้ามาฉายอย่างเป็นทางการ โรงภาพยนตร์ที่เด่นๆในการฉายหนังพวกนี้อาทิ เท็กซัส, ควีนส์ คาเธ่ย์

    “โรงหนังควีนส์สมัยนั้นใช้สโลแกนว่า ควีนส์ ยุคพัฒนากลิ่นหอมเย็นชื่นใจ แม่เป็นคนชอบดูหนังแขก เราเก่งภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ จะให้เพื่อนชื่อวันชัยลอกการบ้าน แต่มีข้อแลกเปลี่ยน เพราะพ่อวันชัยเป็นคนเดินตั๋วอยู่ที่ชั้นบ็อก (ชั้น 2 ) โรงหนังควีนส์ เพราะฉะนั้น หนังแขกทุกโปรแกรมได้ดูหมด ดาราดังๆในยุคนั้นอาทิ มุมตัส,ราเยส คานนา, เฮน่า มาลินี, ซีน่า อามาน,จีเทรนด้า หนังยุคนั้นที่เราประทับใจ อาทิ ช้างเพื่อนแก้ว,บ็อบบี้,สามพี่น้อง,โชเล่ย์,ธรณีกรรแสง สุขเศร้าเคล้าน้ำตา”

    รู้ว่าแม่ชอบหนังแขก ถึงกับปรึกษาครู เขียนจดหมายภาษาอังกฤษง่ายๆ ส่งไปหาดาราที่โน่น เพื่อขอรูปให้แม่เป็นของขวัญวันเกิด สมใจ !! ตื่นเต้นกันทั้งบ้าน

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="320"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="320">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> ทัวร์วัดแขกใต้ที่มาเลเซีย

    ฐานะของหมอดูไพ่ทาโร่ห์ ใช้ชื่อรองที่ต่างประเทศว่า “โทนี่” !! สร้างชื่อโด่งดังที่มาเลเซีย หลายปีก่อนปักหลักอยู่ยาว เมื่อมีภาระต้องมาปฏิบัติกิจที่เมืองไทย ทุกวันนี้... เดินทางเดือนละครั้งๆละ 7-10 วันเพื่อไปดูหมอให้กับลูกค้าที่จองคิวไว้ ที่นั่น ... มีวัดทางอินเดียใต้ วัดซึ่งโทนี่นิยมไปประจำคือ วัดศรีมินดัชชี่ กับวัดมูรูกัม ไปเองบ้าง พาลูกค้าไปไหว้ขอพรบ้าง

    ศรีมินดัชชี่ เป็นปางหนึ่งของพระอุมาซึ่งมีนกแก้วเกาะที่พระหัตถ์ ส่วนมูรูกัมคือ พระขันธกุมาร แพตเทิร์นวัดที่มาเลเซีย พระคเณศจะตั้งที่ด้านนอก ใต้ต้นสาละ มีกระดิ่งใบใหญ่แขวนอยู่ และเปิด-ปิดเป็นเวลา

    “วัดที่นั่นจะเปิด – ปิดเป็นเวลา รอบเช้า 10.00-14.00 น. แล้วปิดวัดให้เทพเจ้าพักผ่อน เปิดอีกรอบ 18.00 – 20.00 น. พราหมณ์ที่นั่นจะน่ารักพาผู้มาสักการะไป และนำสวดให้ทีละองค์ คุณจะเอาองค์มาเบิกเนตร ก็จะพาเราไปที่เซ็นเตอร์กลางของวัด สวด อารตีไฟ แล้วเจิมเบิกให้ ไม่คิดค่าใช้จ่าย แล้วถ้าเกิดบ้านไหน มีเทวรูปหลายพระองค์ อยากได้พราหมณ์จากวัดไปสวด พราหมณ์จะยกกันไปเป็นกลุ่ม ก่อกองกูณฑ์ให้ ไม่ต้องเสียเงิน แค่เลี้ยงอาหารเจ ทุกอย่างแต้งกิ้ว”

    บูรูกัม หรือวัดของพระขันธกุมารวัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้รับการยอมรับและบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก
    “ที่นี่จะขายเป็นคูปอง 50 บาท 100 บาท ถ้าเป็นพิธีใหญ่ 200 บาท มีนมขาย แต่ไม่มีดอกไม้ เครื่องบูชาขายเป็นแพ็กเกจ มีแต่น้ำหอมที่เค้าเรียกว่า โรสฟลาวเวอร์ ขวดขาวๆ มีผงเจิม ผงขมิ้นเสร็จสรรพ”

    ไตปูชัม -คเณศจตุรถิ

    โทนี่เป็นหมอดูที่ได้รับการยอมรับในรัฐปีนัง ปีหนึ่งเมื่อมีโอกาสไปวัด พราหมณ์ที่นั่นต้อนรับด้วยการคล้องผ้าและมาลาดอกไม้ในงานคเณศจตุรถิ(วันขึ้น 4 ค่ำเดือน 10 วันคล้ายวันประสูติของพระคเณศ)และเชื้อเชิญให้นำหน้าในขบวนแห่ฉลองพระคเณศ ถือว่า ไม่ธรรมดา

    “งานไตปูซัมปีละครั้ง ประมาณเดือนมกราคม ที่มาเลเซียยิ่งใหญ่มาก คนร่วมงนเป็นแสน ผลิตภัณฑ์ร้านค้ามาตั้งบูทประชันกัน ตกแต่งซุ้ม 3 วันล่วงหน้า ทุ่มทุนสร้าง ลงทุนบูทนึงไม่ต่ำกว่า 4-5 แสนบาท ดูว่าใครสวยกว่ากัน จัดงาน 2 วันแล้วรื้อทิ้ง เนื่องจากวัดศรีมินดัชชี่ตั้งอยู่บนเขา คนก็จะแบกนมขึ้นไปทรงเทวรูปกัน น้ำนมเมื่อสรงแล้วก็จะไหลลงมาตามร่องเขาที่เขาทำไว้ เป็นทะเลน้ำนมเลย

    ของสะสมสุดรัก - แผ่น DVD หนังอินเดียสมัยใหม่ และหนังสือต่างประเทศ

    ขอบอกว่า นี่เป็นเพียงส่วนน้อย หรือให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น
    “ แผ่นดีวีดีบางส่วนได้มาจากร้านซันนี่ที่ตรอกแขกพาหุรัด ที่นี่จะมีภาพยนตร์อินเดีย ซีดีเพลงของนักร้องอินเดียทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีอินเดีย นักร้องมีตั้งแต่รุ่นคลาสสิกจนถึงนักร้องวัยรุ่นของอินเดีย , MVใหม่ๆ อัปเดตที่เห็นใน MTV., ตลอดจนสรรเสริญพระเจ้าในสไตล์ดนตรีแบบอินเดียเหนือ บางส่วนหาซื้อมาจากมาเลเซีย, ปีนัง และที่อื่นๆบ้าง ไม่แคร์เรื่องที่ว่าจะมีซับฯอังกฤษหรือเปล่า ไม่มีก็เดาเอาว่าขึ้นต้นลงท้ายแบบนี้ แต่ไม่ชอบพวกหนังอินเดียพากย์ไทย เพราะที่ปั๊มแผ่นขายกันเกลื่อนตอนนี้ เป็นหนังสมัยรุ่นคุณแม่ เก่าถึงเก่ามาก”

    “ หนังสือต่างประเทศพวกนี้มีทั้งแบบเดินซื้อที่เมืองไทย,สั่งจอง มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศทุกครั้ง ทุกประเทศจะไม่ยอมพลาดที่จะเดินเข้าร้านหนังสือ บางเล่มก็ลงทุนหิ้วมาจากต่างประเทศ หนักหน่อยก็เอาวะ เพราะว่าบ้านเราภาษีหนังสือนำเข้าแพงมาก บางเล่มเมืองไทยตั้งราคาไว้ที่ 8 พันบาท แต่เมืองนอก บางเล่มบวกก็แล้วคูณก็แล้ว ราคาแค่ 5 พันบาทก็ต้องยอมหิ้วมา”

    หนังสือ “108 เทพแห่งสรวงสวรรค์”

    “ ก่อนที่เราจะเป็นหมอดูอาชีพในทุกวันนี้ เราได้ทำหนังสือเกี่ยวกับตำนานเทพเจ้า โดยใช้หัวหนังสือว่า 108 เทพแห่งสรวงสวรรค์ แล้วก็ออกซีรีส์ไปเป็นองค์นั้น องค์นี้ เล่มล่าสุดจะพิมพ์ปลายเดือนนี้คือ พระศรีมหาอุมาเทวี ซึ่งค้างคาไว้นานกว่า 5 ปีมาแล้ว แต่เล่มนี้จะไม่ผ่านสายส่งอย่างหนังสือล็อตที่แล้ว ฉะนั้นจะ ไม่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาด ลงทุนเองทั้งหมด สวยงามตระการตา มีทั้งภาพใหม่ๆจากอินเดีย ภาพใหม่จากหนังสือต่างประเทศที่อุตส่าห์ลงทุนสะสมและแบกมาจากเมืองนอก สำคัญกว่านั้น คุณจะรู้จักปางใหม่ของพระอุมามากขึ้น เพราะคนไทยรู้จักแค่พระแม่อุมา, เจ้าแม่ทุรคา,เจ้าแม่กาลีเท่านั้น ราคาเล่มละ 500 บาท ต้องสั่งจอง พิมพ์จำนวนจำกัด”

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="220"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="220">[​IMG] </td></tr></tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table> ไพ่นกแก้วหาย !!

    เจ้าแม่ศรีมินดัชชี่ นั้นคือ ปางหนึ่งของพระแม่อุมามีนกแก้วจับอยู่ที่พระหัตถ์ ที่มาเลเซียนับถือกันมาก เป็นปางที่ให้พรในเรื่องสุขภาพและความรัก !! ไปมาเลเซียเพื่อดูหมอครั้งล่าสุด ปรากฏว่า ไพ่ทาโร่ห์รูปผู้หญิงที่มีนกแก้วเกาะบนมือหายไป ทั้งยังเขม่นตาอีกต่างหาก !! หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ ... ไม่เคยเป็นอย่างนี้

    เพื่อนคนหนึ่งที่มาเลเซีย บอกว่า
    “โทนี่ ยูรู้มั้ย พวกหมอดูเค้านิยมบูชาเจ้าแม่ศรีมินดัชชี่กัน”

    เท่านั้นแหละ ... ไม่ต้องค้นแล้ว พุ่งตรงไปร้านขายเทวรูปทันที เช่าบูชาแล้วเอาไปให้พราหมณ์ที่วัดเบิกเนตรทันที กลับมาถึง ... หยิบไพ่สำรับนั้น มาดูอีกที “ไพ่ครบไม่หายสักใบ” !! แบบนี้ก็มีด้วย

    METRO LIFE เลยถือโอกาสในรูปลักษณะมาให้ชม เพราะปางนี้ที่เมืองไทยหายาก ไม่ค่อยพบ !!
    “เทวรูปสำริดที่มาเลเซียถูกมากๆเมื่อเทียบกับเมืองไทย เทียบราคาให้เห็นชัดๆ ที่นี่ราคา 18,000 บาท ที่นั่นแค่ 4,500 บาทเอง เป็นงานสำริดแท้ๆ เบิกเนตรแล้วเอามาบูชาที่เมืองไทยเริดกว่าเยอะ”
    เปิดไพ่คิดเท่าไหร่

    “มาตรฐานเดียวกันไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ไทยหรือมาเลเซีย ราคา 1,000 บาทขาดตัว”

    ชื่อ ธนเดช ธนเดชสวัสดิ์
    ฉายา หมอฟาดเปรี้ยง
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ประทีป โทร.0-1837-8724

    </td></tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> *** อ่านข่าวเกี่ยวข้องต่อ

    - "อาหารนวราตรี" ของกินย่านวัดแขก สีลม

    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...