สงสัยและขอสอบถามถึงวิธีการทำบุญค่ะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย PKHKYUHYUN, 8 เมษายน 2013.

  1. PKHKYUHYUN

    PKHKYUHYUN Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +91
    เนื่องด้วยจากกระทู้นี้

    วิธีทำบุญง่ายๆ และได้บุญใหญ่ ครบทั้ง ทาน ศีล ภาวนา...สบายๆเอาไปประกอบและปรับใช้
    http://palungjit.org/threads/วิธีทำ...-ศีล-ภาวนา-สบายๆเอาไปประกอบและปรับใช้.408188/

    ว่าด้วยเรื่อง " ที่ให้นำเงินที่ตั้งใจจะใส่บาตรก่อน แล้วเริ่มสวดมนต์ "

    สงสัยค่ะ ว่าเงินที่ใส่ในบาตรหรือกระปุกออมสินสำหรับร่วมการสวดมนต์นั้น ถ้าเราใส่ไว้จนมากพอแล้ว เราสามารถนำออกเงินนั้นไปถวายให้วัดหรือมูลนิธิหรือพิธีกรรมต่างๆทางศาสนาได้ไหมค่ะ จะบาปหรือเปล่าค่ะ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อยากจะบอกว่า เอาเงินไปใช้ผิดประเภท โทษหนัก หนักเท่าย้ายฐานเจดีย์ ครับ

    ถ้าตัว จขกท เงินนั้น ตั้งใจว่าเป็นของ สงฆ์ เช่น วิหารทาน หรือ สังฆฑาน ก็ต้องเอาไปถวายให้ตรงตาม ที่ตัวเองตั้งใจ ครับ

    แต่ถ้าเรา ตั้งใจว่าเป็น วิหารทาร หรือ สังฆฑาน แล้ว แต่นำไปใช้เรื่องอื่นๆ ไม่ตรงตามประเภท นี่ มีโทษ ครับ

    หรือ พวก มูลนิธิ นี่ เหมือนกันครับ เพราะ ไม่รู้ มูลนิธิอะไร มูลนิธิ อาหารหมาแมว หรือ ของหน่วยงานราชการ หรือ ส่วนตัว ก็ไม่ได้ครับ

    ทำบุญ แล้วต้องรู้จัก ฉลาดเลือก ครับ


    เหมือนหว่านเมล็ดพัน ลงบน หิน ฉันใด เราก็ได้รับผลนั้นตอบแทน

    .

    ส่วนคำถามของ จขกท นั้น

    ผมแนะนำว่า ใช้งานให้ถูกประเภท ครับ

    ถ้าตัวเอง ตั้งใจว่า ทำบุญ ของๆ สงฆ์ แล้ว ก็ควร ที่จะ นำไปใช้ในเรื่อง ของ สงฆ์ ให้ตรงตามประเภท ครับ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2013
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ตอบข้อ 1 ถูกต้องตามพระท่านว่าครับ แต่ก็ยังมีได้บุญมากกว่าทำกับพระสงฆ์อีกนะครับ

    1 . ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

    2 . ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 5 แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    3 . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 8 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล 8 แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    4 . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 8 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล 10 คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    5 . ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล 10 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร 227 ข้อ
    พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร 227 ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น " พระ " แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า " สมมุติสงฆ์ " พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น " พระ " ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ " พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า " และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

    6 . ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ( ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น )

    7 . ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    8 . ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    9 . ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    10 . ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    11 . ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    12 . ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    13 . การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า " การถวายวิหารทาน " แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน " อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น " โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ " ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

    14 . การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ( 100 หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " ธรรมทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ "

    15 . การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " อภัยทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ " การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู " ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ " ละโทสะกิเลส " และเป็นการเจริญ " เมตตาพรหมวิหารธรรม " อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร 4 ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร 4 นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร 4 ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง " พยาบาท " ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง

    อย่างไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่น ๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า " ฝ่ายศีล " เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน ให้มากกว่าระดับศีลอีกก็คือ "ภาวนา" อย่างหลังนี้เป็นบุญใหญ่ที่สุดครับ

    แต่ถึงอย่างไรก็ควรรู้ไว้เฉย ๆ นะครับ ไม่ใช่ว่ารู้แล้วไปเลือกทำนะครับ ต้องทำตามเหตุการที่อำนวยให้ทำ ถ้าทำได้ก็ทำทุกอย่าง ไม่ต้องเลือกเฉพาะเจาะจงนะครับ อย่างความเห็นที่ 2 ที่คุณบอกมานั่นแหละครับ ทำอย่างนั้นน่ะถูกแล้วครับ การให้ที่ไม่หวังในความดีตอบแทน แต่ทำเพราะเห็นว่าสมควรทำนั้นเป็นสมบัติของสวรรค์ชั้นยามานะครับ (ชั้น 3 ยามาภูมิ) แต่ต้องมีศีลด้วยนะครับ แค่ศีล 5 ก็พอ

    ตอบข้อ 2 เนื้อนาบุญในทางพุทธศาสนา หมายถึง พระสงฆ์ที่ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบแล้ว หรือพระสุปฏิปัน ที่เปรียบพระสุปฏิปันโนดังนาบุญอันยิ่งใหญ่นี้ก็คือ บุญที่เกิดจากพระสุปฎิปันโน ที่พวกเราได้หว่านได้เก็บเกี่ยวโดยการทำบุญหรือโน้มเอาคำสอนมาปฎิบัติเพื่อพ้นทางแห่งทุกข์นี่ก็คือบุญใหญ่ เราจึงแสวงหาทางบุญได้จากเนื้อนานี้เอง

    คำว่าพระสุปฎิปันโนคือ บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุรุษ

    สี่คู่คือ 1. โสดาปัตติมรรค - โสดาปัตติผล
    2. สกิทาคามิมรรค - สกิทาคามีผล
    3. อนาคามิมรรค - อนาคามิผล
    4. อรหัตตมรรค - อรหัตตผล

    หรือว่า พระอริยสงฆ์นั่นเองครับ
    แก้ไขเมื่อ 30 พ.ย. 50 19:26:53

    จากคุณ : ชีพชาวพุทธ -
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/11/Y6080645/Y6080645.html
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ

    ลองคิดตามแบบนี้นะครับ


    มีซองขาวจากวัด ร่วมบุญ วิหารทาน บลาๆๆ มา

    แล้ว ก็เอาเงิน ตั้งใจ ร่วมบุญ 100 บาท ใส่ลองในซองนั้น

    แล้วเวลาผ่านไป เรายังถือว่า เงินที่เราตั้งใจ นั้น ยังเป็นเงินของเรา

    แล้ว เราไปเอาเงินใน ซองนั้น ไปใช้ทำอย่างอื่นแทน


    ถ้าทำแบบนี้ โดนไปเต็มๆ รับกรรมไปเต็มๆ ครับ


    เรื่องของ ศาสนาพุทธ นี่ พูดตรงๆ นะ ไม่ใช่เรื่อง เล่นๆ นะครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...