สติเกิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 18 มิถุนายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    เมื่อใด ที่ "สติ" เกิด...ระลึก ได้

    เมื่อนั้น

    "สติ" ทำหน้าที่ ครอบงำ "ธรรม" ที่เป็นความประมาท

    ทั้งหมด.



    .



    ขณะที่ "สติ" เกิด
    ....ระลึกได้

    หาก ยิ่งเกิดความชำนาญ ยิ่งคล่องแคล่ว.


    ขณะนั้น เป็น พละ

    "สติ" เป็น "พละ"


    ไม่ว่า จะเป็น สภาพธรรมใด ๆ

    "สติ" ระลึกได้ ทั้งหมด.!


    นี่ คือ "ธรรมของจริง" ในชีวิตประจำวัน.

    ซึ่ง "สติ" เท่านั้น

    ที่สามารถ ระลึก "ลักษณะ" นั้น ๆ ได้.



    .



    แม้แต่ ความคิด ด้วย "มานะ" ว่า

    "ใครจะมีโอกาสรู้อย่างนี้" ก็เป็น " ธรรมะ"
    ....ไม่ใช่เรา.!

    ใคร จะมีโอกาส
    ...
    ไม่ใช่เรา.!



    .



    เพราะฉะนั้น

    เราสามารถเห็น ตามความเป็นจริง ว่า

    ความยาก ของ พระธรรม

    มีอย่างนี้.



    .



    แต่ ทุกอย่าง ที่ว่า ยาก

    อีก ๑๐ ปี
    ...ก็ง่ายขึ้นได้.


    เพราะ "เหตุ" คือ

    "สติ" ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของสภาพธรรม

    ที่กำลังปรากฏ

    ตามปกติ ตามความเป็นจริง

    ในชีวิตประจำวัน.


    โดยที่ ไม่ขาดการฟัง การศึกษา การพิจารณา

    และ ค่อย ๆ เข้าใจขึ้น ๆ


    จนกว่า "สติ" ค่อย ๆ เกิดขึ้น

    จนกว่าจะชินขึ้น ๆ



    .



    ที่สำคัญ คือ
    ...ค่อย ๆ เข้าใจ

    "จับด้ามมีด"

    คือ อย่างนี้.!



    .



    ความเข้าใจ นั้น ต้องเริ่มด้วย
    ...ความเข้าใจ

    "ลักษณะ"

    ของ นามธรรม และ รูปธรรม

    เข้าใจ

    "ลักษณะ"

    ของ จิต เจตสิก รูป

    ประกอบกัน.


    จนกว่าจะ "เข้าใจจริง ๆ"

    จนกระทั่งสามารถ ละ ความยึดถือ

    ว่า "เป็นตัวตน" ออกได้.



    .



    เพราะ เข้าใจ จริง ๆ ว่า สภาพธรรม

    คือ จิต เจตสิก รูป

    หรือ

    นามธรรม และ รูปธรรม เท่านั้น

    ที่กำลังทำกิจ หน้าที่ของตน ๆ

    ตามเหตุ ตามปัจจัย

    ไม่มีใครบังคับบัญชา


    และมีอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวันนี้เอง

    ซึ่ง "สติ" สามารถ ระลึกรู้ "ลักษณะ"

    ของ สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นได้


    เมื่อ "สติ" เกิด
    ...ระลึก ได้.



    เพราะฉะนั้น

    ความเข้าใจ "ลักษณะ" ไม่ใช่ เข้าใจเพียง "ชื่อ"


    แม้จิต จะเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา

    คือ

    เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง

    เป็นวิบากบ้าง.


    แต่

    สิ่งใด ที่หมดไปแล้ว
    ....ก็หมดไปแล้ว.!

    สบายมาก ไม่ต้องกังวล

    ไม่ต้องไปนึกถึง

    แต่

    นึกถึง
    ...ด้วย กุศลจิต ได้.!

    หมายความว่า

    ถ้านึกถึง ด้วย "อกุศลจิต"

    ก็จะเป็น "การสะสมอกุศล"



    .



    อย่างนี้.....ทรัพย์สมบัติมหาศาล

    ก็ซื้อไม่ได้.


    และ เป็นเรื่องของ "การอบรม" จริง ๆ

    เป็น "บุญ" ของใครก็ตาม ที่สะสมมา

    ที่จะมี สัทธา ที่จะมี การฟังพระธรรม

    และ

    มี "ความเข้าใจในพระธรรม"

    ที่ได้ฟัง.

    ขณะที่มี มดไต่ตามตัว แล้วเกิด "ความรู้สึกรำคาญ"

    ขณะนั้น

    "ธาตุดิน" กำลังปรากฏ.


    หมายความว่า

    ขณะนั้น

    แม้ "ธาตุดิน" กำลัง ปรากฏ

    แต่เป็น "การกระทบ" ที่เบา ๆ เท่านั้น.


    แต่

    ขณะนั้น "ความรู้สึกรำคาญ"

    กำลังปรากฏ.


    ซึ่ง เป็น "ล้กษณะ" ของ เวทนาเจตสิก

    ที่กำลังปรากฏ นั่นเอง.!


    .


    เพราะฉะนั้น ขณะนั้น

    จะต้องมี "รูป" แข็ง หรือ อ่อน (ธาตุดิน)

    เกิดขึ้น เป็น "เหตุ"

    ที่ทำให้ "ความรู้สึกอย่างนั้น" เกิดขึ้น.!


    เพราะฉะนั้น

    "เหตุ"

    คือ การกระทบกัน ของ รูป

    (คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม)

    ที่กระทบ กับ "กายปสาทรูป"



    แต่ ขณะนั้น

    "เวทนาเจตสิก" เป็นใหญ่ ในการ "รู้สึก"

    ขณะนั้น

    เป็น "เวทนินทรีย์"


    และ

    ถ้า "เวทนาเจตสิก" ไม่เกิด

    "จิต"

    ก็ไม่สามารถที่จะ รู้ "ลักษณะของเวทนาเจตสิกนั้น ๆ" ได้.

    และ

    "เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน"

    ก็ มี ไม่ได้.!


    แต่ เป็นเพราะว่า

    "เวทนาเจตสิก" มีจริง และเกิด ปรากฏกับ "จิต" ในขณะนั้น

    ความรู้สึก ทุกขเวทนา สุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จึงมีได้.



    "สติ" สามารถที่จะ ระลึก ตรง "ลักษณะ"

    ของ "เวทนาเจตสิกนั้น ๆ"


    คือ รู้ ว่า

    "เวทนาเจตสิกนั้น ๆ" เป็น สภาพธรรม ชนิดหนึ่ง

    ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

    และเกิดขึ้น เพียงชั่วขณะที่สั้นแสนสั้น

    แล้ว ดับไปทันที.



    .



    การอบรมเจริญปัญญา ที่เป็น การเจริญสติปัฏฐาน นั้น

    "จิต" จะต้อง รู้ อารมณ์

    คือ "ทำกิจ" เพียง "รู้ลักษณะของอารมณ์" เท่านั้น.


    โดย ขณะนั้น

    "สติ"

    ทำกิจ "ระลึก ตรง ลักษณะ"

    และ

    "ปัญญา"

    ทำกิจ "รู้ ตรง ลักษณะ"

    ตามปกติ ตามความเป็นจริง ของ "สภาพธรรม" (ที่มี "ลักษณะ")

    ที่กำลังเป็น "อารมณ์" ของ "จิตนั้น ๆ"



    .



    เพราะฉะนั้น

    "สติ"

    จึงเป็นใหญ่ โดยเป็น "สตินทรีย์"

    และ

    "ปัญญา"

    จึงเป็นใหญ่ โดยเป็น "ปัญญินทรีย์"





     
  2. นุภาวัฒน์

    นุภาวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    774
    ค่าพลัง:
    +270
    หลายกระทู้แล้ว มีกระทู้นี่ที่ค่อยเข้าใจหน่อย ตามไม่ทันจริงๆครับ อนุโมทนาสาธุครับ
     
  3. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    สาธุ
    ขอโมทนาครับ

    แต่หากยังไม่ถึงอริยะมรรค อริยะผล
    เสื่อมครับ
    "สติเสื่อม"
    แล้วยิ่งควานหาก็ยิ่งหาย หลุดมือไป ไม่น่าเชื่อ
    อย่าประมาทนะครับ
     
  4. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    พละ อินทรีย์

    ต้องบำรุงมา บ่มเพาะมา

    สติ ศรัทธา วิริยะ สมาธิ ปัญญา มีตั้งหลายอย่าง
    ไม่ใช่ บอกมี มันมี ขึ้นมาซะงั้น

    แล้วหากยังไม่ถึง อริยะมรรค อริยะผล เสื่อม
    ไม่ต้องกังวล ได้วิปัสสนาแน่ๆ

    ยิ่งมีเยอะๆยิ่งดี ยิ่งเจ็บปวด
    เวลาเสื่อมไป แล้วคิดว่ายังมีอยู่ในตนนั่นแหละ
    เจ็บทั้งตัวเอง และคนที่ตนรัก

    บาน...
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    067 [FONT=&quot]สัมมาทิฐิเป็นประธาน[/FONT]

    [FONT=&quot]ปัญหา ในบรรดาองค์ ๘ ประการของมรรค ๘ นั้น องค์ไหนจัดว่าสำคัญที่สุด[/FONT] ?

    [FONT=&quot]พุทธดำรัสตอบ [/FONT]“.....[FONT=&quot]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๘[/FONT] [FONT=&quot]นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร[/FONT] [FONT=&quot]คือเมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสสังกัปปะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ[/FONT] [FONT=&quot]สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ[/FONT] [FONT=&quot]สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ[/FONT] [FONT=&quot]สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อสัมมาญาณะ สัมมาวิมุติจึงพอเหมาะได้[/FONT] [FONT=&quot]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์[/FONT] [FONT=&quot]๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐[/FONT]”<O></O>
    [FONT=&quot]มหาจัตตารีสกสูตร อุ. ม. (๒๗๙)[/FONT]
    [FONT=&quot]ตบ. ๑๔ : ๑๘๗ ตท. ๑๔ : ๑๖๓-๑๖๔[/FONT]<O>
     

แชร์หน้านี้

Loading...