สักการะพระนเรศวรมหาราช...ตามรอยประวัติศาสตร์-วรรณคดี...ที่เมืองกาญฯ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 18 มกราคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>สักการะพระนเรศวรมหาราช...ตามรอยประวัติศาสตร์-วรรณคดี...ที่เมืองกาญฯ</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] สิ่งหนึ่งที่มักปรากฏใน "วรรณกรรม" อยู่เสมอ คือการแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ เฉกเช่นเดียวกับ "ประวัติศาสตร์" ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้จากอดีตกาลที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

    และเมื่อสองสิ่งมาบรรจบกัน จึงเป็นแรงผลักดันในการตามรอยเมืองแห่งวรรณกรรมและประวัติศาตร์อย่าง "กาญจนบุรี"
    การตามรอยครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล ที่จัดขึ้นเพื่อมุ่งให้เกิดการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ โดยมีวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และสังคมเป็นแกนของกิจกรรม ภายใต้ชื่อว่า "เรียนรู้อดีต รับใช้ปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต"
    กาญจนบุรี ถือได้ว่าเป็นเมืองที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดีของไทย ดังเช่นที่ได้รับการอ้างอิงในวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน เช่น วัดนางพิมพ์ วัดขุนแผน วัดป่าเลไลยก์ เขาชนไก่ และยังเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์การทำสงครามระหว่างไทยกับพม่า เช่น ยุทธภูมิลาดหญ้า หนึ่งในสถานที่แห่งศึกสงครามเก้าทัพ สงครามท่าดินแดง เป็นต้น
    ที่แห่งแรกในการเยี่ยมเยือน คือวัดป่าเลไลยก์ วัดที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกว่าอยู่ที่สุพรรณบุรี แต่ทว่าจังหวัดกาญจนบุรีก็มีวัดนี้เช่นกัน วัดป่าเลไลยก์ที่กาญจนบุรีสร้างในสมัยอยุธยา ภายในวัดมีทั้งโบสถ์ เจดีย์ และวิหาร โดยพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่ในวิหารเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่อด้วยอิฐถือปูนของฝีมือช่างสมัยอยุธยา แต่ปัจจุบันนี้คงเหลือแต่เพียงผนังทั้งสองซีกเท่านั้น
    ถัดมาอีกหน่อยก็จะพบวัดมหาธาตุ วัดหลวงของเมืองกาญจนบุรีเก่า หรือเรียกอีกอย่างว่า "ปรางค์" เป็นสถาปัตยกรรมเปิด สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นที่สำหรับเก็บของสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระคัมภีร์ทางศาสนา อีกทั้งยังเป็นสมรภูมิรบครั้งแรกระหว่างไทยกับพม่าในยุทธภูมิลาดหญ้า หนึ่งในศึกสงครามเก้าทัพอีกด้วย
    ต่อด้วยท่าดินแดง สถานที่ทำศึกสงครามระหว่างไทยกับพม่าครั้งที่ 2 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถชี้ชัดได้ว่าท่าดินแดงอยู่ที่ใด แต่สถานที่นี้ครั้งก่อนเคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างกรมพระราชวังบวรกับพระเจ้าปดุง ศึกครั้งนั้นพม่าได้ยกกำลังเข้ามาทางเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินทัพที่จะมุ่งสู่เมืองราชธานีได้เร็วและปลอดภัยที่สุด และถือเป็นอีกครั้งที่ไทยนำชัยชนะมาสู่ประเทศ
    นอกจากนี้ อีกที่ที่ไม่ควรพลาด คือการสักการะอนุสาวรีย์พระนเรศวรมหาราช ณ หมู่บ้านดอนเจดีย์เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระนเรศวร ใกล้กันนี้เป็นเจดีย์ยุทธหัตถี เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา กษัตริย์แห่งพม่า และนอกจากนี้ภายในเจดีย์ยังเก็บโครงกระดูกของช้างยุทธหัตถีที่ใช้ทำการศึกสงครามเอาไว้อีกด้วย และสถานที่ท้ายสุด พิพิธภัณฑ์วัดม่วง พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณในสมัยทวาราวดี เช่น ครกเหล็กบดยาโบราณ เครื่องปั้นดินเผา กระต่ายขูดมะพร้าว กลองมโหรทึก ฯลฯ นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์ยังแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมอญเอาไว้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านวัดม่วงซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมอญและในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีชาวมอญอาศัยอยู่ ...หลักฐานที่พบเจอมักจะบ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นก็มักจะเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน

    -->[​IMG]
    สิ่งหนึ่งที่มักปรากฏใน "วรรณกรรม" อยู่เสมอ คือการแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ เฉกเช่นเดียวกับ "ประวัติศาสตร์" ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้จากอดีตกาลที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
    และเมื่อสองสิ่งมาบรรจบกัน จึงเป็นแรงผลักดันในการตามรอยเมืองแห่งวรรณกรรมและประวัติศาตร์อย่าง "กาญจนบุรี"
    การตามรอยครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล ที่จัดขึ้นเพื่อมุ่งให้เกิดการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ โดยมีวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และสังคมเป็นแกนของกิจกรรม ภายใต้ชื่อว่า "เรียนรู้อดีต รับใช้ปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต"

    [​IMG]
    กาญจนบุรี ถือได้ว่าเป็นเมืองที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดีของไทย ดังเช่นที่ได้รับการอ้างอิงในวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน เช่น วัดนางพิมพ์ วัดขุนแผน วัดป่าเลไลยก์ เขาชนไก่ และยังเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์การทำสงครามระหว่างไทยกับพม่า เช่น ยุทธภูมิลาดหญ้า หนึ่งในสถานที่แห่งศึกสงครามเก้าทัพ สงครามท่าดินแดง เป็นต้น
    ที่แห่งแรกในการเยี่ยมเยือน คือวัดป่าเลไลยก์ วัดที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกว่าอยู่ที่สุพรรณบุรี แต่ทว่าจังหวัดกาญจนบุรีก็มีวัดนี้เช่นกัน วัดป่าเลไลยก์ที่กาญจนบุรีสร้างในสมัยอยุธยา ภายในวัดมีทั้งโบสถ์ เจดีย์ และวิหาร โดยพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่ในวิหารเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่อด้วยอิฐถือปูนของฝีมือช่างสมัยอยุธยา แต่ปัจจุบันนี้คงเหลือแต่เพียงผนังทั้งสองซีกเท่านั้น
    ถัดมาอีกหน่อยก็จะพบวัดมหาธาตุ วัดหลวงของเมืองกาญจนบุรีเก่า หรือเรียกอีกอย่างว่า "ปรางค์" เป็นสถาปัตยกรรมเปิด สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นที่สำหรับเก็บของสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระคัมภีร์ทางศาสนา อีกทั้งยังเป็นสมรภูมิรบครั้งแรกระหว่างไทยกับพม่าในยุทธภูมิลาดหญ้า หนึ่งในศึกสงครามเก้าทัพอีกด้วย
    ต่อด้วยท่าดินแดง สถานที่ทำศึกสงครามระหว่างไทยกับพม่าครั้งที่ 2 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถชี้ชัดได้ว่าท่าดินแดงอยู่ที่ใด แต่สถานที่นี้ครั้งก่อนเคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างกรมพระราชวังบวรกับพระเจ้าปดุง ศึกครั้งนั้นพม่าได้ยกกำลังเข้ามาทางเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินทัพที่จะมุ่งสู่เมืองราชธานีได้เร็วและปลอดภัยที่สุด และถือเป็นอีกครั้งที่ไทยนำชัยชนะมาสู่ประเทศ
    นอกจากนี้ อีกที่ที่ไม่ควรพลาด คือการสักการะอนุสาวรีย์พระนเรศวรมหาราช ณ หมู่บ้านดอนเจดีย์เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระนเรศวร ใกล้กันนี้เป็นเจดีย์ยุทธหัตถี เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา กษัตริย์แห่งพม่า และนอกจากนี้ภายในเจดีย์ยังเก็บโครงกระดูกของช้างยุทธหัตถีที่ใช้ทำการศึกสงครามเอาไว้อีกด้วย และสถานที่ท้ายสุด พิพิธภัณฑ์วัดม่วง พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณในสมัยทวาราวดี เช่น ครกเหล็กบดยาโบราณ เครื่องปั้นดินเผา กระต่ายขูดมะพร้าว กลองมโหรทึก ฯลฯ นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์ยังแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมอญเอาไว้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านวัดม่วงซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมอญและในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีชาวมอญอาศัยอยู่ ...หลักฐานที่พบเจอมักจะบ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นก็มักจะเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ---------------------
    ที่มา: คมชัดลึก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...