สามีภรรยา กับการสงเคราะห์

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย birdkub, 5 มกราคม 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. birdkub

    birdkub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +401
    ในการเคี้ยวอาหาร ถ้าลิ้นกับฟันทำงานไม่ประสานกัน ก็มีหวังขบลิ้นตนเองต้องเจ็บปวดจนน้ำตาร่วง
    เช่นกัน ในชีวิตการครองเรือน ถ้าสามีภรรยาไม่รู้จักสงเคราะห์กันและกัน ไม่มีความเข้าใจกัน นอกจากจะไม่

    มีความก้าวหน้าในชีวิตแล้วทั้ง 2 ฝ่าย ก็มีหวังช้ำใจจนน้ำตาร่วงได้เหมือนกัน

    ความหมายของสามี - ภรรยา
    สามี แปลว่า ผู้เลี้ยง ผัว
    ภรรยา แปลว่า คนควรเลี้ยง เมีย
    คำทั้งสองนี้ เป็นคำที่แฝงความหมายอยู่ในตัว และเป็นคำคู่กันผู้ชายที่ได้ชื่อว่าสามี ก็เพราะเลี้ยงดูภรรยา

    ผู้หญิงที่จะได้ชื่อว่าภรรยาก็เพราะทำตัวเป็นคนน่าเลี้ยง

    ประเภทของภรรยา
    ภรรยาทั้งหลายในโลกนี้ แบ่งได้เป็น 7 ประเภทคือ
    1. วธกภริยา ภรรยาเสมอด้วยเพชรฆาต คือภรรยาที่มีใจคิดล้างผลาญชีวิตสามี พยายามฆ่าสามี ยินดีในชาย

    อื่น ตบตี แช่งด่าสามี
    2. โจรภริยา ภรรยาเสมอด้วยโจร คือ ภรรยาที่ชอบล้างผลาญทรัพย์สามี ใช้ทรัพย์ไม่เป็นบ้าง ยักยอกทรัพย์

    เพื่อความสุขส่วนตัวบ้าง สร้างหนี้สินให้ตามใช้บ้าง
    3. อัยยภริยา ภรรยาเสมอด้วยนาย คือภรรยาที่ชอบล้างผลาญศักดิ์ศรีสามี ไม่สนใจช่วยการงาน เกียจคร้าน

    กินมาก ปากร้าย กล่าวคำหยาบ ชอบข่มขี่ สามีซึ่งขยันขันแข็ง เหมือนเจ้านายข่มขี้ข้า ภูมิใจที่ข่มสามีได้
    4. มาตาภริยา ภรรยาเสมอด้วยแม่ คือ ภรรยาที่มีความรัก เมตตาสามีไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนมารดารักบุตร เช่น

    สามีจะตกต่ำหมดบุญวาสนาจะป่วยจะพิการตลอดชีวิตก็ไม่ทอดทิ้ง ไม่พูด ไม่ทำให้สะเทือนใจ แม้ตายจากไปตั้งแต่ตน

    ยังสาว ก็ไม่ยอมมีสามีใหม่
    5. ภคินีภริยา ภรรยาเสมอด้วยน้องสาว คือภรรยาที่เคารพสามีเป็นคนละอายบาป มีความรักยั่งยืน แต่มีขัดใจ

    กันบ้าง ทั้งซน ทั้งงอน ทั้งขี้ยั่ว ทั้งขี้แย ต้องทั้งขู่ทั้งปลอบ ประเดี๋ยวจะเที่ยว ประเดี๋ยวจะกิน จะแต่งตัว แต่ก็ซื่อสัตย์ต่อ

    สามี
    6. สขาภริยา ภรรยาเสมอด้วยเพื่อน คือ ภรรยาที่มีรสนิยม มีความชอบเหมือนสามี ถูกคอกัน เป็นคนมีศีลธรรม

    มีความประพฤติดี แต่มีความทะนงตัวโดยถือว่าเสมอกัน หากฝ่ายตรงข้ามขาดเหตุผลก็ไม่ยอมกัน
    7. ทาสีภริยา ภรรยาเสมอด้วยคนใช้ คือ ภรรยาที่ทำตัวเหมือนคนใช้ถึงสามีจะเฆี่ยนตี ดุด่า ขู่ตะคอกก็ไม่คิด

    พิโรธโกรธตอบสามี อดทนได้อยู่ในอำนาจสามี

    จะดูว่าใครเป็นสามี - ภรรยาชนิดไหน ต้องดูหลังจากแต่งงานแล้ว ระยะหนึ่งจึงจะชัด การแต่งงานมีอยู่ 2

    ระยะคือ
    ระยะแต่ง คือก่อนเป็นผัวเมียกัน ต่างคนต่างแต่ง ทั้งแต่งตัว แต่งท่าทางอวดคุณสมบัติให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็น
    ระยะงาน คือหลังจากเป็นผัวเมียกันแล้ว ต่างคนต่างต้องทำงานตามหน้าที่ ใครมีข้อดีข้อเสีย ความรู้ความ

    สามารถ ความประพฤติอย่าไรก็จะประกฎชัดออกมา

    คุณสมบัติของคู่สร้างคู่สม
    พื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้สามีภรรยาครองชีวิตกันยืนยาว มีความสุข คือ คู่สามีภรรยาต้องมีสมชีวิธรรม ได้แก่
    1. สมสัทธา มีศรัทธาเสมอกัน ได้แก่ มีหลักการ มีความเชื่อมั่นในศาสนา มีเป้าหมายชีวิตเหมือนกัน
    2. สมสีลา มีศีลเสมอกัน ได้แก่ ความประพฤติศีลธรรมจรรยา กิริยามารยาทอบรมมาดีเสมอกัน
    3. สมจาคะ มีจาคะเสมอกัน ได้แก่ มีนิสัยเสียสละชอบช่วยเหลือไม่เห็นแก่ตัว ใจกว้างเสมอกัน
    4. สมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน ได้แก่ มีเหตุมีผล มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ดื้อด้านดันทุรัง เข้าใจกัน เห็นอก

    เห็นใจกัน พูดกันรู้เรื่อง

    วิธีทำให้ความรักยั่งยืน
    การเป็นสามีภรรยากัน เป็นเรื่องที่จะว่ายากก็เหมือนง่าย แต่ครั้นจะว่าง่ายก็เหมือนยาก เพราะเพียงแต่เราตั้ง

    คำถามว่า ทำอย่างไรผัวเมียจึงจะมีความรักยั่งยืนอยู่กินกันราบรื่นเพียงประเด็นเดียว แล้วลองเที่ยวหาคำตอบดูเถอะ

    ถามสิบคน ก็ตอบสิบอย่าง บ้างก็ว่าเกี่ยวกับดวงชะตาคู่ธาตุ ต้องวางฤกษ์ วางลัคน์ให้เหมาะๆ บ้างก็ว่าเป็ฯเรื่องของ

    พรหมลิขิต ที่หัวสมัยใหม่หน่อยก็ว่า สำคัญที่แหวนหมั้นขันหมากเงินทุกให้มากๆ เข้าไว้ ความสุขในชีวิตสมรสจะมีเอง
    แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องมงคลสมรสไว้สั้นๆ เพียงคำเดียวว่า " สังคหะ " แปลว่า การสงเคราะห์กัน

    และให้ปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อเป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกันดังนี้
    1. ทาน ปันกัน - การให้ คนเราถ้ารักที่จะอยู่ด้วยกันต้องปันกันกินปันกันใช้ หามาได้แล้ว ควรรวมกันไว้เป็น

    กองกลางแล้วจึงแบ่งกันใช้ หากไม่เอามารวมกัน อาจเกิดการระแวงกันได้ ที่ใดที่ปราศจากการให้ที่นั่นย่อมแห้งแล้ง

    เหมือนทะเลทราย การปันกันนี้รวมทั้งการปันทุกข์กันในครอบครัวด้วย เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความทุกข์ มีปัญหา ก็ควร

    นำมาปรึกษากัน
    2. ปิยวาจา พูดกันด้วยวาจาไพเราะ แม้การตักเตือนกัน ก็ต้องระมัดระวังคำพูด ถ้าถือเป็นกันเองมากเกินไป

    อาจจะเกิดทิฐิ ทำให้ครอบครัวไม่สงบสุขโดยถือหลักว่า ก่อนแต่งงานเคยพูดไพเราะอย่างไร หลังแต่งงานก็พูดให้เพราะๆ

    อย่างนั้น
    3. อัตถจริยา ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อกัน เมื่อรู้ว่าอะไรดีหรือไม่ดีควรหรือไม่ควร ก็นำมาเล่าสู่กันฟัง

    พยายามศึกษาหาความรู้ทางธรรม เอาใจมาเกาะกับธรรมให้มาก สามีภรรยานั้นเมื่อทะเลาะกันมักจะโยนความผิดให้อีก

    ฝ่ายหนึ่ง ซึ่งแท้จริงแล้ว ย่อมมีความผิดด้วยกันทั้งคู่ อย่างน้อยก็ผิดที่ไม่หาวิธีที่เหมาะสม สั่งสอนตักเตือนกัน ปล่อยให้

    อีกฝ่ายหนึ่งทำความผิด
    4. สมานัตตา วางตัวให้เหมาะสมกับที่ตัวเป็น เป็นพ่อบ้านก็ทำตัวให้สมกับเป็นพ่อบ้าน เป็นแม่บ้านก็ทำตัวให้

    สมกับเป็นแม่บ้าน ต่างก็วางตัวให้เหมาะสมกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทั้งในบ้านและนอกบ้าน ซึ่งข้อนี้จะประพฤติปฏิบัติ

    ดีได้ ต้องฝึกสมาธิให้ใจผ่องใสเป็นปกติ เพราะคนที่ใจผ่องใสจะรู้ว่าในภาวะเช่นนั้น ควรจะวางตนอย่างไร ไม่ระเริงโลก

    จนวางตนไม่เหมาะสม

    โดยสรุป คือ ปฏิบัติตนตามหลักทาน (การให้ปันสิ่งของ) รักษาศีล (เพื่อให้มีคำพูดที่ไพเราะ และเพื่ออุดข้อ

    บกพร่องของตน จะได้เป็นคนมีประโยชน์) เจริญภาวนา (คือ การฟังธรรมและทำสมาธิ เพื่อให้ใจผ่องใสเกิดปัญญาจะได้

    วางตัวได้เหมาะสมกับที่ตัวเป็น)

    หน้าที่ของสามีต่อภรรยา
    1. ยกย่องให้เกียรติ คือยกว่าเป็นภรรยาไม่ปิดๆ บังๆ หากทำดีก็ชมเชยด้วยใจจริง หากทำผิดก็เตือน แต่ไม่

    ตำหนิต่อหน้าสาธารณชนหรือคนในบ้านเพราะจะเสียอำนาจการปกครอง สิ่งใดเป็นเรื่องส่วนตัว เช่น การเลี้ยงเพื่อน

    พบปะญาติมิตร ควรให้อิสระ
    2. ไม่ดูหมิ่น ไม่เหยียบย่ำว่าต่ำกว่าตน ไม่ดูถูกเรื่องตระกูล ทรัพย์ ความรู้ การแสดงความคิดเห็น ไม่กระทำ

    เรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัวโดยไม่ปรึกษา ห้ามทุบตีด่าทอเด็ดขาด
    3. ไม่นอกใจ ไม่ไปสมสู่กับหญิงอื่นในฐานะเป็นภรรยาเหมือนกันเพราะเป็นการดูหมิ่นความเป็นหญิงของ

    ภรรยา ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ภรรยาทุกคนจะปลื้มใจที่สุด ถ้าสามีรักและซื่อตรงต่อตนเพียงคนเดียว
    4. มอบความเป็นใหญ่ให้ คือ มอบให้เป็นผู้จัดการภาระทางบ้านไม่เข้าไปก้าวก่ายในเรื่องการครัว การ

    ปกครองภายใน นอกจากเรื่องใหญ่ๆ ซึ่งภรรยาไม่อาจแก้ปัญหาได้
    5. ให้เครื่องแต่งตัว ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงล้วนชอบแต่งตัว สนใจเรื่องสวยๆ งามๆ ถ้าได้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวสวยๆ

    งามๆ แล้วชื่นใจ ถึงจะโกรธเท่าโกรธ ถ้าได้เครื่องแต่งตัวถูกใจ ประเดี๋ยวก็หาย สามีก็ต้องตามใจบ้าง

    หน้าที่ของภรรยาต่อสามี
    1. จัดการงานดี จัดบ้านให้สบายน่าอยู่ จัดอาหารให้ถูกปากและทันตามความต้องการ จัดเสื้อผ้าเครื่องใช้ให้

    สะอาดอยู่เสมอ
    2. สงเคราะห์ญาติข้างสามี ด้วยการเอื้อเฟื้อ กล่าววาจาไพเราะให้ความช่วยเหลือตามฐานะที่จะทำได้
    3. ไม่นอกใจ จงรักภักดี รักสนิทแน่นต่อสามีเพียงผู้เดียว
    4. รักษาทรัยพ์ให้ดี ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ก็ไม่ตระหนี่ รู้จักใช้ทรัพย์ให้เป็น
    5. ขยันทำงาน ขยันขันแข็งทำงานบ้าน ไม่เอาแต่กิน นอน เที่ยว หรือ เล่นการพนัน

    ประเพณีแต่งงานของไทยเรา เวลาเจ้าบ่าวเจ้าสาวรับน้ำพุทธมนต์มักจะสวมมงคลแฝดไว้บนศีรษะดูคล้ายๆ

    กับยึดคนสองคนไว้ด้วยกัน ความมุ่งหมายนั้นคือ จะยึดคนทั้งสองไว้ไม่ให้แยกจากกัน นั่นเป็นการยึดผูกเพียงภายนอก

    ผิวเผิน ซึ่งช่วยอะไรไม่ได้จริง
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ยึดเหมือนกัน แต่แทนที่จะสอนให้ยึดด้วยด้าย ทรงสอนให้ยึดด้วยคุณธรรม

    ที่เรียกว่า " สังคหะ " แทน การสงเคราะห์ที่ทั้งสองฝ่ายปฏบัตต่อกัน จะเป็นเงื่อนใจ 2 วง วงหนึ่งคล้องไว้ในใจผัว อีกวง

    หนึ่งคล้องไว้ในใจเมีย ถ้าคล้องให้เหมาะๆ แล้ว ต่อให้มนุษย์หน้าไหนก็มาพรากไปจากกันไม่ได้ แม้แต่ความตายก็พราก

    ได้เพียงร่างกาย ส่วนดวงใจนั้นยังคงคล้องกันอยู่ชั่วนิรันดร์
    มีข้อเตือนใจอยู่นิดว่า แม้บางคนตั้งใจแล้วว่า จะต้องยึดใจเอาไว้ครั้นปฏิบัติจริงก็ไม่วายเขว พอผัวทำท่าจะ

    หลงใหลนอกทาง กลับวิ่งไปหาหมอเสน่ห์ยาแฝด เสียเงินเสียทอง เสียเวลา แต่แล้วก็เหลว เพราะทิ้งบ้าน ทิ้งช่อง ไปเฝ้า

    หมอ ข้าวปลาไม่รู้จักหุงหา ปล่อยให้บ้านรกเป็นเล้าไก่รังกา แทนที่จะเอาใจผัว กลับไปกราบเท้าเอาใจหมอเสน่ห์เพื่อจะ

    มาแข็งข้อเอากับผัว สถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงทุกที ที่ถูกควรปักใจให้มั่นในศีลในทาน ในการทำความดี ปฏิบัติหน้าที่

    ของเราไม่ยอมให้บกพร่อง แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง

    โอวาทวันแต่งงาน
    เป็นโอวาทปริศนาที่บิดาของนางวิสาขาให้แก่นางวิสาขาในวันแต่งงานมีทั้งหมด 10 ข้อ ดังนี้
    1. ไฟในอย่านำออก หมายถึง ไม่นำเรื่องราวปัญหา ความร้อนใจต่างๆ ในครอบครัวไปเปิดเผยแก่คนทั่วไป

    ภายนอก
    2. ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง ไม่นำเรื่องราวปัญหาต่างๆ ภายนอกที่ร้อนใจ เข้ามาในครอบครัว
    3. ให้แก่ผู้ให้ หมายถึง ผู้ใดที่เราให้ความช่วยเหลือ ให้หยิบยืมสิ่งของแล้ว เมื่อถึงกำหนดก็นำมาส่งคืนตาม

    เวลา เมื่อเรามีความจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ หากไเกินความสามารถของเขา เขาก็ยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มใจ

    บุคคลเช่นนี้ภายหลังถ้ามาขอความช่วยเหลือเราอีก ก็ให้ช่วย
    4. ไม่ให้แก่ผู้ที่ไม่ให้ หมายถึง ผู้ใดที่เราให้ความช่วยเหลือให้หยิบยืมสิ่งของแล้ว ไม่ส่งคืนตามกำหนดเวลา

    เมื่อเรามีเรื่องขอความช่วยเหลือ แม้ไม่เกินความสามารถของเขา และเป็นเรื่องถูกศีลธรรม เขาก็ไม่ยอมช่วย คนอย่างนี้

    ภายหลังถ้ามาขอความช่วยเหลือเราอีก อย่าช่วย
    5. ให้ไม่ให้ก็ให้ หมายถึง ถ้าญาติพี่น้องเราที่ตะระกำลำบากอยู่มาขอความช่วยเหลือ แม้บางครั้งไม่ส่งของที่

    หยิบยืมตามเวลา ภายหลังเขามาขอความช่วยเหลืออีกก็ให้ช่วย เพราะถึงอย่างไรก็เป็นญาติพี่น้องกัน
    6. กินให้เป็นสุข หมายถึง ให้จัดการเรื่องอาหารการกินในครอบครัวให้ดี ปรนนิบัติพ่อแม่ของสามีในเรื่อง

    อาหารอย่าให้บกพร่อง ถ้าทำได้อย่างนี้ตัวเราเองเวลากินก็จะกินอย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวล
    7. นั่งให้เป็นสุข หมายถึง รู้จักที่สูงที่ต่ำ เวลานั่งก็ไม่นั่งสูงกว่า พ่อแม่ของสามีจะได้นั่งอย่างมีสุข ไม่ต้องกังวล

    ไม่ถูกตำหนิ
    8. นอนให้เป็นสุข หมายถึง ดูแลเรื่องที่หลับที่นอนให้ดี และยึดหลักตื่นก่อนนอนทีหลัง ก่อนนอนก็จัดการธุระ

    การงานให้เรียบร้อยเสียก่อน จะได้นอนอย่างมีความสุข
    9. บูชาไฟ หมายถึง เวลาที่พ่อแม่ของสามีหรือตัวสามีเองกำลังโกรธเปรียบเสมือนไฟกำลังลุก ถ้าดุด่าอะไรเรา

    ก็ให้นิ่งเสียอย่าไปต่อล้อต่อเถียงด้วย เพราะในช่วงเวลานั้น ถ้าเราไปเถียงเข้าเรื่องราวก็จะยิ่งลุกลามใหญ่โต ไม่มี

    ประโยชน์ คอยหาโอกาสเมื่อเขาหายโกรธ แล้วชี้แจงเหตุผลให้ฟังอย่างนุ่มนวลจะดีกว่า
    10. บูชาเทวดา หมายถึง เวลาที่พ่อแม่ของสามีหรือตัวสามีเองทำความดี ก็พยายามส่งเสริมสนับสนุน พูดให้

    กำลังใจ ให้ทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    อานิสงส์การสงเคราะห์ภรรยา (สามี)
    1. ทำให้ความรักยืนยง
    2. ทำให้สมานสามัคคีกัน
    3. ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข
    4. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
    5. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...