อานิสงส์การให้ทาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย aprin, 3 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    คำว่า " ทาน" คือ การให้ นั้น หมายถึงการแบ่งปัน ให้ทรัพย์สิ่งของ เพื่ออนุเคราะห์ สงเคราะห์ผู้อื่นด้วยจิตเมตตา ปรารถนาที่จะให้ผู้รับอยู่ดีมีสุข และกรุณาธรรม ปรารถนาที่จะให้ ผู้ประสบความทุกข์เดือดร้อนให้พ้นทุกข์ ทานนั้นมี 3 ประการ คือ

    1. อามิสทาน คือ ทานที่ให้ด้วยทรัพย์สิ่งของ ได้แก่ ปัจจัย ๔ เป็นต้น

    2. ธรรมทาน คือ การให้ธรรมเป็นทาน ได้แก่ หลักธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันนับเป็นการให้ธรรมเป็นทานทั้งสิ้น

    3. อภัยทาน จัดเป็นทานที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก ดังที่มีมาในอาคตสถานว่า "อริยสาวก ย่อมให้อภัย" เป็นต้น นี้เป็นทานที่เป็น วิรัติ คือ เจตนางดเว้นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ชื่อว่า "ศีล" มี เบญจศีล เป็นต้น นั้นเอง

    อานิสงส์ของทานนั้นมีมาก กล่าวโดยย่อคือ ให้ผลแก่ผู้มีปกติให้ด้วยใจศรัทธา ให้เป็นผู้เจริญด้วยมนุษย์สมบัติ ได้แก่ ทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ บริวารสมบัติ และคุณสมบัติ เป็นต้น ให้เจริญถึงสวรรค์สมบัติ และเมื่อเจริญแก่กล้า เป็นทานบารมี ทานอุปบารมี และเป็นทานปรมัตถบารมี ย่อมติดตามให้ผลเป็นพระนิพพานสมบัติได้

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงอานิสงส์ของทาน ดังปรากฏเนื้อความตอนหนึ่งว่า "บุญอันเลิศย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ให้ทานในวัตถุอันเลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และกำลังอันเลิศก็เจริญด้วย" และตรัสว่า "การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง"

    ด้วยเหตุนี้ อานิสงส์ประการสำคัญที่สุดของผู้มีปกติให้ทานด้วยทรัพย์สิ่งของ มีปัจจัย ๔ เป็นต้น ก็ดี ให้วิชาความรู้ และให้ธรรมเป็นทาน ก็ดี และให้อภัยแก่ผู้พลาดพลั้ง แล้วรู้สึกตัวสำนึกผิด และกลับตัวกลับใจเป็นคนดี ก็ดี ย่อมเป็นที่รักแก่มหาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะ และเป็นที่รักแก่เทพยดา แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ก็ยังรักผู้ให้อาหารเพียงอิ่มหนึ่ง การให้จึงเป็นการเสริมสร้างบุญบารมี ให้ได้รับความรัก ความเคารพ ความนับถือ ความเชื่อถือ และความร่วมมือช่วยเหลือจากทุกฝ่าย ช่วยให้การปฏิบัติงานสำเร็จด้วยดี มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงได้ ถึงพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ บริวารสมบัติ คุณสมบัติ และให้เจริญถึงสวรรค์สมบัติ ในสัมปรายภพเบื้องหน้า

    หน้า 31


    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

    วันที่ 03 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6275 ข่าวสดรายวัน
    http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNekF6TURJMU1RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHdNaTB3TXc9PQ==
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    การให้ทาน


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดีเจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ

    ๑.ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรมเลยก็ตามทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

    ๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ข้อ

    พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกันบุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ"แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้นหมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไปไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้นและพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ "พระโสดาบันพระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า"และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

    ๖.ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ -พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯเป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น)

    ๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามีแม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๘.ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามีแม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๙. ถวายทานแก่พระอนาคามีแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๐.ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๑.ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๒.ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธานแม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๓.การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่า "การถวายวิหารทาน" แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรมศาลาท่าน้ำศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน"อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกันแม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น "โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำแท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ"ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

    ๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ครั้ง (๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "ธรรมทาน"แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้นให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ"

    ๑๕. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตามการให้อภัยทานก็คือ "การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวรไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู" ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทานเพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ "ละโทสะกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม"อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้นเป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใดก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็นจึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    การทําบุญให้ถูกวิธีตามหลักศาสนาพุทธ

    พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า การทําบุญให้ได้ ผลบุญ นั้น มี 10 วิธี
    เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 มีดังนี้


    1.
    ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน

    2.
    สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล

    3.
    ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

    4.
    อปวายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่ คือ ไม่ทำตัวเป็นคนพาล การทำตัวหยิ่งยโส แต่เป็นคนสุภาพอ่อนโยน

    5.
    เวยยาวัจวมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจกรรมที่ชอบ เช่น รับใช้บิดา มารดา ผู้มีพระคุณ ครูอาจารย์รวมตลอดถึงคนที่เราไม่รู้จักแต่ต้องการความช่วยเหลือจากเราในบางโอกาส โดยที่กิจการต่างๆที่เราช่วยนี้ด้วยชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยประเพณี และชอบด้วยธรรม

    6.
    ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ เฉลี่ยส่วนความดีให้กับผู้อื่น

    7.
    ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ ยินดีในความดีของผู้อื่น

    8.
    ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม คือ รับฟังความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ และตั้งอยู่ในความเห็นที่ดีงาม

    9.
    ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม คือ การถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

    10.
    ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ตรง คือ การใช้ปัญญาไตร่ตรองอยู่เสมอว่าอะไรผิด อะไรถูก

    ไม่ว่าท่านจะทําอะไรก็ตาม1ใน 10 อย่างนี้ ล้วนได้บุญทั้งสิ้น

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    "
    อิธ โมทติ เปจฺจ โมติ กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ

    โส โมทติ โส ปโมทติ ทิสวา กมฺมวิสุทฺธินตฺโต


    ผู้ทำบุญแล้ว เมื่ออยู่ในโลกนี้ ก็ร่าเริงบันเทิง ละโลกนี้ไปแล้ว ก็ร่าเริงบันเทิง อิ่มอกอิ่มใจทั้งสองโลก โลกนี้และโลกหน้า "


     

แชร์หน้านี้

Loading...