เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]<TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>
    เจตสิก เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนเรา ที่ช่วยตัดสินใจ หรือปรุงแต่งจิตใจ ในการทำบุญและทำบาป ซึ่งธรรมชาตินี้ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกันกับจิต อาศัยวัตถุ เดียวกันกับจิต เหมือนกระแสไฟและแสงสว่าง ที่ต้องอาศัยหลอดไฟเกิดขึ้น จิต กับ เจตสิก เป็นนามธรรมเหมือนกัน จึงเข้าประกอบกันได้สนิท เหมือนน้ำกับน้ำตาล หรือ น้ำกับสีพลาสติก โดยจิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้รู้อารมณ์เป็นไปต่าง ๆ ตามลักษณะของเจตสิก เช่นจิตเห็นพระธุดงค์กำลังเดินบิณฑบาต เจตสิกก็ปรุงแต่งจิตให้อยากทำบุญใส่บาตร กับพระธุดงค์องค์นั้นเป็นต้น ในการนี้จึงนับว่าจิต (เห็น) เป็นใหญ่เป็นประธาน เจตสิกที่คิดจะทำบุญใส่บาตร จึงได้อิงอาศัยจิตเกิดขึ้น
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [/FONT]</TD></TR><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ไม่ใช่ลูกชุบ ไม่ใช่หวยปิงปอง ถ้าจะเป็นลูกลำใยล้นตลาด​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กรกฎาคม 2012
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    xik[gm;fk มาครับ ^^
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    หมาน ข้ารู้ว่าเอ็งอยากจะป่วน จิตใจเอ็งนี่เต็มไปด้วย อกุศลจริงๆ
    เอาแบบนี้เอ็งตอบมาก่อนดีกว่า ว่า อภิธรรมหวยปิงปองของเอ็ง ขัดเกลานิสัยเอ็งให้ดีขึ้นได้อย่างไร
     
  4. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    สัมมาอรหัง พุทโธ นะมะพะทะ ยุบหนอพองหนอ แห่งไหนเอ่ย ที่ไม่มีนิมิตบ้างครับ
     
  5. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    สวัสดีครับลุงหมาน

    ส่วนตัวนะครับ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ก็จริง แต่อย่าเอามาในส่วนของ ทิฏฐิ ดีกว่าครับ
    ความรู้มาก หากไม่ใช่เพื่อ ละอวิชชา หรือเพื่อเห็น อริยสัจจ์ มันจะสะสมกลายเป็น ทิฏฐุปาทาน นะครับ





     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอบคุณครับ
    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ทำไมไม่ปฏิบัติให้ทะลุถึงปัญญาล่ะ ก็ในเมื่อปฏิบัติแล้วเกิดปัญญา สามารถบรรลุธรรมได้
    ทำไมมาติดอยู่แค่ปัญญาเล่า ปัญจวัคคีย์ทำไมต้องบรรลุธรรมเพราะการฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเล่า
    ก็ยังคล้ายๆ กับจะพูดว่าปัญจวัคคีย์บรรลุเองโดยไม่มีการฟังธรรมอย่างนั้นแหละ
    งั้นพระธรรมจักรกัปปวัตตสูตรพระองค์ตรัสแก่ใคร อนัตตลักขณสูตรตรัสสอนใครที่เป็นคนแรก
    ไหนยกธรรมข้อนี้ขึ้นมาพูดหน่อยซิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ประเด็นนี้ มีความน่าสนใจหลายอย่าง

    1.ผู้ฟังทำมาผิดเต็มๆ แต่เมื่อได้ยินได้ฟังกลับสิ่งที่ไม่เคยฟังมาก่อน ทำให้พลิกได้ทันที

    2.การทำมาผิดๆที่เรียกว่ายังไม่ได้เดินปัญญานั้น
    แต่ว่า จิตมีพลังงาน มีความพร้อมด้านความอ่อน ควรแก่การงาน
    พอได้ฟังสิ่งที่ถูกต้อง จึงพิจารณาตามได้ทันทีด้วยจิตพร้อม

    ย้ำอีกที จิตพร้อมแก่การงานมาแล้ว
    นั่นคือ ผ่านการอบรม สมถะ มานับไม่ถ้วน แม้ไม่เกิดปัญญา แต่ได้พลังงาน
    จะเรียกงามๆก็คือ จิตอ่อน ควรแก่การงาน

    3.ผู้บรรยายธรรมนั้นเป็นพระพุทธเจ้า ย่อมเข้าถึงความพร้อมของวาระจิตของผู้ฟัง จะต่างจาก ปุถุชน บรรยาย

    4.การเทศนาคำเป็นการเทศน์ใช้คำง่ายๆพื้นๆ ที่ผู้ฟังฟังเข้าใจได้ทันที
    เวทนาก็เวทนาไม่ได้ไปแยกไปอีก 108
    รูปก็รูป ไม่ได้ไปแยกอีก รูป28
    วิญญาฯก็วิญญาณ ไม่ได้ไปแยกเป็น จิต 121 เจตสิก52

    คือ สมัยนั้นใช้ภาษาบาลีเป็นสื่อสาร ไม่ต้อง มานั่งแปลบาลีมาเป็นภาษาไทยในปัจจุบันอีก ความเข้าใจในภาษาที่สื่อสาร มีความชัดเจน ตรงตัว<!-- google_ad_section_end -->

    ขอยกมาไว้กระทู้นี้ครับ

    ถามข้อ ๒
    อันดูว่าน่าจะหมายถึง ปัญจวัคคีย์ เอาหละถือว่าไปได้เพราะปัญจวัคคีย์ถือว่าเป็นนักปฏิบัติ โดนสะกิดนิดหน่อยก็สะดุ้งได้คิด
    ก็ลองคิดในนัยของพระยสะหน่อยว่าท่านออกมาจากปราสาทมาในยามค่ำคืนแล้วเดินบ่นว่าที่นี่วุ่นวายหนอ ๆ พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็น จึงทักทายพระยสะว่าที่ไม่วุ่นวายหนอๆ แล้วแสดงธรรมให้ฟังจบลงพระยสะได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน มีคำกล่าวตรงไหนไหมว่าพระยสะเป็นผู้ปฏิบัติที่ควรแก่การงาน พร้อมทั้งพ่อแม่ ภรรยาของพระยสะด้วย ช่วยวิเคราะห์วิจารหน่อย

    ถามข้อที่ ๓
    พระโปฐิละ ซึ่งเป็นพระปุถุชนผู้เป็นอาจารย์สอนลูกศิษย์ของตนจนได้บรรลุเป็นพระอริยะทุกคน ทำไมลูกศิษย์ของท่านบรรลุธรรมได้เล่า ฉะนั้นพระอริยะแสดงธรรมกับปุถุชนแสดงธรรมให้ผู้ฟังบรรลุธรรมใด้ทั้งสองจะแตกต่างกันตรงไหน

    ตอบข้อที่ ๔
    คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีคำว่าง่าย มีแต่ว่าลึกซึ้งคำภีรภาพ แม้แต่พระอานนท์กล่าวว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นของลึกซึ้งเป็นของเข้าใจยาก
    แต่ก็ยังเป็นของง่ายๆแก่ข้าพระองค์ พระพุทธเจ้าตรัสห้ามทันที่ถึงสามครั้งว่าอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้นๆๆ เป็นต้น
    เวทนา ๑๐๘ รูป ๒๘ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ เจตสิก ๕๒ นั่นหมายถึงความลึกซึ้งของคำสอน เมื่อไม่ได้ศึกษาให้ท่องแท้ก็ย่อมไม่รู้ความลึกซึ้ง
    เลยคิดไปว่าไม่จำเป็นต้องรู้เอาแค่ง่ายๆก็พอ
    จริงอยู่ในสมัยพุทธกาลศึกษาที่เป็นคำบาลีย่อมง่ายกว่าไม่ต้องมาแปลเป็นไทย ปัจจุบันเราจะรู้เฉพาะภาษาไทยภาษาบาลีไม่รู้กัน คือชอบรู้กันง่ายๆ เอาแค่นั้นพอ เลยกลายเป็นว่าธรรมที่สอนเป็นของง่ายๆ จึงมองไม่เห็นความลึกซึ้งในคำสอน จะเห็นได้ว่า เวทนา ๓ บ้าง เวทนา ๕ บ้าง เวทนา ๑๐๘ บ้าง รูปก็แยกออกไปได้อีก ๒๘ รูป นั้นความลึกซึ้งก็เพื่อมุ่งหวังว่ารูปมิได้เป็นกลุ่มเป็นก้อนดังที่เข้าใจกันว่าเป็นตัวตน แท้จริงแล้วเป็นการมาประกอบกันขึ้นของรูปทั้ง ๒๘ รูปนั่นเอง จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ นั้นก็เช่นกันก็เพื่อให้รู้ว่าประเภทของจิต ธรรมดาจิตนั้นมีดวงเดียว เช่นว่า จิตเกิดโลภะ จิตเกิดโทสะ จิตเกิดโมหะ จิตเกิดกุศล จิตเกิดโสมนัส จิตเกิดโทมนัส จิตเกิดเฉยๆ เหล่าเป็นต้น แท้จริงก็คือจิตดวงเดียวเพราะจิตเกิดดับนั่นเอง จึงแยกประเภทไว้ถึง ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง เช่นว่าเมื่อกี้จิตยังดีใจอยู่ แต่พอมาเดี๋ยวจิตโกรธเสียอีกแล้ว เหล่านี้เป็นต้น ต้องถามว่าจิตที่ดีใจหายไปไหนก็ต้องตอบว่าจิตที่ดีใจดับไปแล้ว ถามว่าทำไมเป็นอย่างนั้น ก็ต้องตอบว่าเป็นเพราะอำนาจของสังขารคือเจตสิกปรุงแต่งให้จิตเป็นผู้รู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2012
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สวัสดีครับ
    ผมว่าคุณเข้าใจผิดครับ เมื่อมีความรู้มากๆนั้นย่อมละอวิชชา เห็นอริยสัจจ์ได้
    แล้วมีความรู้น้อยๆ หรือโง่ๆ มันจะไปละอวิชชา เพื่อเห็นอริยสัจจ์นั้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้
    ต้องมิต้องสะสมความโง่ๆกันหรือนั่น เพื่อละอวิชชาเพื่อเห็นอริยสัจจ์

    ที่ว่ารู้แล้วละอวิชชาไม่ได้นั้นเป็นเพราะไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2012
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    แหะๆๆ ตอบไปปากจะฉีกไปถึงรูตูดแล้วขันธ์ อ่านแล้วจำๆๆไว้บ้าง สัญญาเก็บไว้จำบ้างซิ อย่าไปละทิ้งสัญญาเสียหมดมันจะเป็น อัมไซรเมอร์ (ขออภัยอาจเขียนไม่ถูก)
     
  9. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    เปิดกระทู้นี้ก็เป็นการดีนะคะ จะได้คุยกันให้เคลียร์ๆในกระทู้นี้ค่ะ
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]

    งั้นเอาลูกชุบมาแปะให้แล้ว​

    เจตสิก 52 ประเภท แบ่งเป็น 3 จำพวกใหญ่ คือ
    1. อัญญสมานาเจตสิก 13 ชนิด เป็นเจตสิกกลางเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล
    2. อกุศลเจตสิก 14 ชนิด เป็นเจตสิกที่เข้ากับฝ่ายอกุศลอย่างเดียว
    3. โสภณเจตสิก 25 ชนิด เป็นเจตสิกที่เข้ากับฝ่ายกุศลอย่างเดียว​

    1. อัญญสมานาเจตสิก คือเจตสิกที่สามารถประกอบกับกุศลจิต อกุศลจิต
    และอพยากตจิต ขณะที่อัญญสมานาเจตสิกประกอบกับกุศลจิต อัญญามานาเจตสิก ก็เป็นกุศลธรรมไปด้วย
    ขณะที่ประกอบกับ อกุศลจิต หรืออพยากตจิต อัญญสมานา เจตสิก ก็เป็นอกุศลธรรม หรืออพยากตธรรมไปด้วย
    อัญญสมานาเจตสิก 13 ชนิด ยังแบ่งออกเป็น 2 จำพวกย่อย คือ ​

    1.1 สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 ชนิด
    1.2 ปกิณณกเจตสิก 6 ชนิด
    รวม 13 ชนิด​
    [​IMG]
    (1) ผัสสะเจตสิก ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์
    (2) เวทนาเจตสิก ธรรมชาติทีเสวยอารมณ์
    (3) สัญญาเจตสิก ธรรมชาติที่จำอารมณ์
    (4) เจตนาเจตสิก ธรรมชาติที่กระตุ้นเตือนและชักชวนสัมปยุตตธรรมในอารมณ์เพื่อทำหน้าที่ของตน๐
    (5) เอกัคคตาเจตสิก ธรรมชาติที่สงบและให้สัมปยุตตธรรมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว
    (6) ชีวิตินทรีย์เจตสิก ธรรมชาติที่รักษาสัมปยุตตธรรม
    (7) มนสิการเจตสิก ธรรมชาติที่มุ่งและนำสัมปยุตตธรรมสู่อารมณ์

    ปกิณณกเจตสิก 6 ชนิด​

    (8) วิตกเจตสิก คือ เจตสิกที่ยกจิตเข้าไว้ในอารมณ์
    (9) วิจารเจตสิก คือ เจตสิกที่ประคองอารมณ์
    (10) อธิโมกขเจตสิก คือ เจตสิกที่ตัดสินอารมณ์
    (11) วิริยเจตสิก คือ เจตสิกที่มีความเพียรหรืออุตสาหะ
    (12) ปิติเจตสิก คือ เจตสิกที่มีความปลาบปลื้มใจในอารมณ์
    (13) ฉันทเจตสิก คือ เจตสิกที่มีความปรารถนาพอใจในอารมณ์​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2012
  11. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    สวัสดีครับลุงหมาน ผมขอความรู้หน่อยนะครับ

    แล้วลุงหมานแยก จิตกับเจตสิก ตอนเกิด-ดับ ในปัจจุบันขณะทันไม่ครับ
    ผลของการแยก การเกิด-ดับ นั้น ต่างกันกับ เพียงเห็นการเกิดดับ แต่ไม่แยก มั้ยครับ
    ขอบคุณครับ
     
  12. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741

    ปฏิบัติแล้วไม่รู้ มีมั้ยคะ แบบปฏิบัติแล้วหลง คิดว่าตนได้ฌานก็มีนะคะ
    แต่ถ้ารู้ปริยัติจะรู้ว่า การได้ฌานนั้นยากมากนะคะ


    กดอ้างอิงทีไร กลายเป็นอนุโมทนาทุกที แก้เอาออกก็ไม่ได้เหมือนเมื่อก่อนค่ะ

     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผมเองยังปัญญายังไม่ไวพอที่จะแยกได้ แต่ที่รู้นี่เพียงรู้ได้เพียงปริยัติ ลองถามผู้ที่เข้าถึงมีเยอะในเว็บนี้ แต่ไม่รู้ว่าจริงแท้แค่ไหน ลองศึกษาเทียบเคียงเอา
    ผลของการแยก การเกิด-ดับ เราแยกโดยการศึกษา แต่เห็นการเกิด-ดับ รู้โดยปฏิบัติที่เข้าญานสัมมสนญาน และอุทยัพพยญาน
    คือญานที่ ๓ กับญานที่ ๔ อันนี้ของแท้ ที่แตกต่างคือ เรียนรู้ กับ สัมผัสได้ด้วยตนเอง เมื่อเห็นการเกิด-ดับมันแยกเองว่าไหนรูปไหนนาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2012
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    มอนิ่งสายหน่อยครับ

    ข้อ ๒ เสนอเพิ่ม

    มีข้อสังเกตุดังนี้

    พระยสกุลบุตร พระศาสดาทรงเล็งดูด้วยพระญาณ
    ทรงทราบก่อนแล้ว ว่ามีความพร้อมที่จะบรรลุธรรม


    หากจะถามว่า ชาติที่เป็นพระยส ท่านไม่ได้ปฏิบัติหรือ
    ตรงนี้มีข้อสังเกตุว่า ท่านยส ท่านทำมาพร้อมแล้ว

    คำว่าพร้อมแล้วนี้

    ในสมัยพระพุทธกาล ในพระไตรปิฎกไม่ระบุชัดว่า
    ในชาตินั้นๆ ผู้ที่ฟังธรรม เขาไปทำ ไปฝึกสมถะ มาแต่ตอนไหน
    ไปฝึกอะไรมาบ้าง จะเห็นแต่ส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ครบองค์อธิบาย
    ในเทศนานั้นๆ อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตุอย่างนึง

    แต่กรณีของพระยส มีปรากฎ นับถอยหลังไปจนถึงชาติที่ดูซากศพ
    จนได้อสุภะกรรมฐาน อันนี้เรียกว่า ความพร้อมที่มีมาแต่ปางก่อน


    และในขณะที่ฟังพระศาสดาเทศน์อนุปุพพิกถา
    จิตก็เริ่มเป็นสมาธิพร้อมแก่การงาน
    อีกด้วยความเป็นผู้ฝึกบุรุษที่ไม่มีใครยิ่งกว่าของพระศาสดา
    ทำให้พลิกชามที่คว่ำอยู่หงายได้

    เหมือนกับกรณีของ พระพาหิยะ ซึ่งท่านก็ทำมาหลายชาติ
    มีความพร้อมมาเต็มที่
    จนมาชาติปัจจุบัน เพียงพระพุทธเจ้า สะกิดนิดเดียว ก็สามารถบรรลุธรรมได้


    ข้อ ๓
    กรณีพระโปฐิละ

    มีข้อสังเกตุว่า ท่านเป็นปุถุชน แต่ก็อยู่ในเพศสมมุติสงฆ์

    ความเลื่อมใส ความยังศรัทธาให้ผู้ฟังเกิด ย่อมมีได้ง่ายในส่วนหนึ่ง

    และ คำสอนที่สอนผู้ฟัง ผู้เรียนต่อ อันนี้ไม่แน่ชัดว่า ท่านสอนในส่วนไหน

    หากมุ่งที่การบรรลุธรรม
    แน่นอน พระโปฐิละ ท่านย่อมสอน ในส่วน วิปัสนาธุระ

    ซึ่งเกี่ยวกับวิธีการฝึกล้วนๆ แล้วผู้ฟัง ก็ต้องน้อมเอามาปฏิบัติจึงจะสำเร็จผลได้

    ในส่วนที่พระโปฐิละสอนธรรมแล้วมีผู้บรรลุมาทันที ในเทศนานั้นๆ
    ในส่วนนี้ ไม่ทราบว่ามีปรากฎในพระไตรปิฎกหรือเปล่า
    เพราะผมก็ยังอ่านไม่ครบ

    และนี้เป็นส่วน ที่แตกต่างอย่างหนึ่ง



    ข้อ ๔
    คำสอนพระศาสดา ที่ว่าง่าย เพราะผู้ฟังในส่วนมาก
    จะกล่าวหลังจากพระศาสดาเทศน์จบว่า

    แจ่มแจ้งจังเลยพระเจ้าข้า เหมือนพลิกชามที่คว่ำให้หงายได้
    อย่างนี้เป็นต้น

    จะต่างจากปุถุชนนำมาเทศนา เพราะ
    การเทศนาแก่มหาชน พระศาสดาทรงทราบด้วยพระญาณ
    จึงได้เทศนาให้เหมาะสมแก่วาระจิตของมหาชนในส่วนมากที่มาฟังธรรม

    อันเป็นสิ่งที่ปุถุชนทำไม่ได้
     
  15. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    งั้นลุงหมานลองดูในพุทธวจน ต่างๆนะครับ เพราะเท่าที่ผมเห็นมานั้น ส่วนใหญ่ พระพุทธองค์ท่านสอน ให้เห็นการเกิดดับ เพื่อให้เห็นว่า มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเบื่อหนายคลายกำหนัด แล้วสลัดคืน เท่านั้น นะครับ

    ขอบคุณครับ
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ทีนี้ หากจะมีคำกล่าวว่า

    พระอภิธรรมปิฎก มีความเลิศ
    ด้วยผู้ที่เป็นโอปปาติกะ หรือเทพเทวดา สามารถ บรรลุธรรมได้ง่ายนั้น
    เพราะเป็นธรรมอันลึกซึ้งเกินกว่ามนุษย์จะเข้าใจนั้น

    อันนี้ก็มีข้อสังเกตุว่า

    ในพระสูตรที่มนุษย์ฟังแล้ว สามารถบรรลุตามได้ ก็มีเยอะแยะมากมาย
    ซึ่ง เป็นพระสูตรที่มีความเหมาะสมแก่ สติปัญญาของมนุษย์

    และทุกวันนี้ เราผู้เป็นมนุษย์ จะเลือกเสพในทางไหน
    ที่คิดว่า คู่ควรที่สุด

    ที่เหมาะเอื้อในการบรรลุธรรมได้อย่างไม่เสียชาติเกิดในชาตินี้
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ไหนๆ ก็พยายามยกเจตสิกจากตำรามาให้อ่าน

    แม้พระอริยเจ้าชั้นพระอรหันต์ก็ยังมีเจตสิกอยู่เลย

    เพราะตำราว่าไว้อย่างนั้นใช่หรือไม่?

    ถามว่า เจตสิกโผล่มาจากไหน?

    เจตสิกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

    ทำไม่ต้องมีเจตสิก?

    ถ้ามีพระพุทธพจน์จากพระสูตรมายืนยันด้วยก็ดีนะ

    แต่อย่าเอาแค่ตำรามาแปะไว้เฉยๆหละ

    เอาที่ตนเองอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนได้ก็ดีนะ

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  18. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ในตำราพระไตรปิกฏได้กล่าวไว้ไหม ที่คุณถามไปครับ ลองไปหาดูครับ

    หากอยากรู้ต้องปฏิบัติให้ถึงใจครับ นั้นซินะครับมัวแต่ปริยัติ ปฏิบัติน้อย

    เลยคิดว่าอะไรก็ยากๆ ลองปฏิบัติตามฐานะ หาความรู้ตามฐานะ

    คงไม่ออกมาในรูปนักปฏิบัติจอมกระแดะ
     
  19. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    หากเสียดายการอนูโมทนา คุณจิตใจเลิฟครับ ผมไปลบโพสผมแล้วครับ
     
  20. ปั่นเทวดา

    ปั่นเทวดา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    ท่านผู้บรรลุธรรมมิได้บรรลุธรรมด้วยการฟังธรรมเพียงอย่างเดียว แต่ได้เจริญสติกำหนดรู้กองรูป เวทนา จิต และสภาวะธรรมไปพร้อมกันด้วย หากไม่มีการกำหนดรู้อารมณ์เหล่านี้ จะไม่สามารถบรรลุวิปัสสนาญาณและมรรคญาณได้เลย
    สัมมาสติเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้บรรลุธรรมได้ ต่อเมื่อสัมมาสติพัฒนาแก่กล้าแล้ว ผู้ปฏิบัติธรรมจะสามารถหยั่งเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง (อาตาปี สัมปชาโน สติมา)
     

แชร์หน้านี้

Loading...