เบื้องหลังการออกแบบชีวิต(อ่านเถอะน่ะ สำคัญสำหรับทุกชีวิต)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ชนสรณ์, 30 ธันวาคม 2010.

  1. ชนสรณ์

    ชนสรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +173
    มนุษย์เราเกิดมาไม่มีใครสมบูรณ์พร้อม เรายังต้องการจะก้าวไปสู่จุดที่สมบูรณ์มากกว่านี้ คือ จุดที่พร้อมด้วยสิ่งที่มนุษย์ทั้งหลายปรารถนา เป็นต้นว่า มีครอบครัวดี การงานดี ร่ำรวยเงินทอง สุขภาพแข็งแรง เฉลียวฉลาด สง่างาม ฯลฯ
    แต่ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักศักยภาพของตัวเอง เราก็คงจะยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดหมายที่สมบูรณ์ได้ความจริงแล้วมนุษย์ทำสิ่งต่างๆ ได้มากกว่าที่คิดเราออกแบบชีวิตตัวเองได้ เราเลือกเกิดได้ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ปรากฏอยู่ในคำสอนของพระพุทธศาสนา และมีหลักฐานชัดเจนอยู่ในพระไตรปิฎก
    เบื้องหลังการออกแบบชีวิต
    มีบางครั้งใช่ไหม ที่คุณเคยสงสัยว่า “ทำไมบางคนถึงโชคดี มีชีวิตที่ราบรื่นสมหวังไปหมดทุกอย่าง แต่บางคนกลับต้องฟันฝ่าอุปสรรคสารพัดชนิด” คำถามนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว มีคนมากมายที่คิด เช่นนี้ และจากโลกนี้ไปโดยไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนอะไรเลย เมื่อได้มาศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนา ก็พบว่าเรื่องนี้มีเบื้องหลัง...

    [​IMG]

    อุบาสิกา วิสาขา ผู้เกิดมาพรั่งพร้อมด้วยรูปสมบัติ คุณสมบัติ ทรัพย์สมบัติ

    นับภพนับชาติไม่ถ้วนที่ผ่านมา..มนุษย์ทุกคนต่างก็เวียนว่ายตายเกิดกันมาแสนนาน และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกจนกว่าจะหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ ในระหว่างนั้นชีวิตก็มีขึ้นมีลง ปราศจากความแน่นอน ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาบ้าง เป็นสัตว์นรกนานาชนิดบ้าง เป็นมนุษย์ที่ยากจนบ้าง ร่ำรวยบ้าง เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีทุกข์มากกว่าสุข

    [​IMG]

    ชฎิลเศรษฐี ผู้มีภูเขาทองจากการทำหม้อดอกไม้ทองคำ 3 หม้อ บรรจุในพระธาตุ

    การที่เราต้องมีชีวิตขึ้นๆลงๆ สุขบ้างทุกข์บ้างนั้นไม่ใช่ความบังเอิญ ทุกอย่างล้วนมีเหตุ มีผล มาจากการกระทำของเรา ทั้งในอดีตและในปัจจุบันชาติ ถ้าทำดี ก็จะได้รับผลดี ทำชั่ว ก็จะได้รับผลชั่วตามกฎแห่งเหตุผล หรือกฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นกฎที่มีอิทธิพลเหนือชีวิตมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย

    [​IMG]

    กฎแห่งกรรมเป็นกฎของสังสารวัฏ ที่มีหลักว่า “บุคคลทำสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น” ดังข้อความในสมุททกสูตร ที่ว่า “บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว” กฎแห่งกรรมไม่ใช่กฎที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้นไม่ว่าใครจะนับถือศาสนาใด มีเชื้อชาติอะไร จะรู้จักหรือไม่รู้จัก จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมทั้งสิ้น

    [​IMG]

    เมื่อเราสามารถจับหลักกฎแห่งกรรมได้ เราก็สามารถที่จะเอาหลักการนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการออกแบบชีวิตได้ว่าเราควรทำ หรือไม่ทำสิ่งใด ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน จูฬกัมมวิภังคสูตรมาแสดงเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นในเรื่องผลของกรรม

    “คนโหดเหี้ยม ชอบฆ่าสัตว์ ชอบเบียดเบียน ทรมานสัตว์ เมื่อตายไปจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมือมาเกิดเป็นมนุษย์จะมีอายุสั้น

    บุคคลมักโกรธ อาฆาต พยาบาท ตายไปจะเข้าสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์จะมีผิวพรรณทราม

    บุคคลมีใจอิจฉาริษยา มุ่งร้าย ตายไปจะเข้าสู่อบาย ทุคติ วินิบาต ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนไร้อำนาจ

    [​IMG]

    บุคคลใจแคบ ไม่ชอบให้ทาน ไม่ชอบช่วยเหลือคนอื่น ตายไปจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนไร้ทรัพย์

    บุคคลกระด้าง เย่อหยิ่ง ไม่เคารพผู้ควรเคารพ ตายไปจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์จะเกิดในตระกูลต่ำ

    บุคคลไม่ชอบคบบัณฑิต สมณพราหมณ์ ตายไปจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนไร้ปัญญา

    [​IMG]

    ในทางตรงกันข้าม คนที่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่มักโกรธ ไม่อิจฉาริษยา ชอบให้ทานแก่ผู้ทรงศีล ทรงคุณธรรม ไม่กระด้างเย่อหยิ่ง เคารพคนที่ควรเคารพ ชอบคบหาสมณพราหมณ์ บัณฑิต เมื่อตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์จะมีอายุยืน โรคภัยไม่เบียดเบียน มีคนเคารพนับถือ มีอำนาจ มีทรัพย์มาก เกิดในตระกูลดี และเป็นคนมีปัญญา ตามลำดับ

    [​IMG]

    คำสอนในพระสูตรนี้ ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ถ้าต้องการความปลอดภัยในชีวิต ต้องเลือกทำแต่กรรมดีเพราะทุกครั้งที่ทำกรรมดี เช่นทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ(Meditation) ภาวนา ฯลฯ จะมีบุญเกิดขึ้นอย่างมหาศาล บุญจะหล่อเลี้ยงชีวิตเราให้มีความสุข ความเจริญ ช่วยแต่งเติมชีวิตเราให้สมบูรณ์ยิ่งๆขึ้นไปทุกภพทุกชาติ

    [​IMG]

    เส้นทางในสังสารวัฏของเราจะราบรื่น สะดวกสบายไม่ต้องขึ้นๆลงๆ อีกต่อไป ก็ด้วย “บุญ”

    ..จะไปถึงจุดหมายแห่งการเดินทาง คือนิพพานได้ก็ด้วย “บุญ”
    “บุญ” คำสั้นๆ คำนี้ จึงมีความหมายสุดที่จะพรรณนา


    <!-- article-body -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...