เปลือก กระพี้ แก่น ....หลวงปู่เทสก์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 18 พฤษภาคม 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666



    [​IMG]




    ทุกๆ ศาสนาต้องมีทั้งเปลือกทั้งกระพี้และแก่น จึงสามารถรักษาคุณภาพไว้ได้นาน ศาสดาผู้ตั้งศาสนาทั้งหลายต้องเล็งเห็นแล้วว่า ผู้จะนับถือศาสนาทั้งหลายมิใช่มีแต่คนฉลาดเท่านั้นก็หาไม่ ต้องมีทั้งคนโง่คนฉลาด คนโง่ก็สอนตื้นๆ คนค่อยฉลาดก็สอนให้ลึกเข้าไปหน่อย คนฉลาดนั้นสอนตื้นสอนลึกขนาดไหนก็ไม่มีปัญหา ย่อมสามารถรู้ได้หมด


    โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาให้ใช้ของที่มีอยู่ ให้เป็นสาระแก่ตนเองให้มากเท่าที่จะมากได้ เช่น สมบัติเงินทองเป็นของกลางที่มีอยู่ในมือบุคคลใดแล้ว ท่านสอนว่ามันเป็นอนิจจังไม่เที่ยงมั่งคงถาวร เปลี่ยนไปเป็นของคนอื่นได้ ฉะนั้นเมื่อมันมาอยู่ในมือของเรา จงรีบทำให้เป็นประโยชน์แก่เราเสีย ด้วยสละแบ่งปันส่วนที่มันเหลือใช้ ให้แก่ผู้ที่ขัดสนไม่มีอันจะกิน มิใช่เหลือไว้ให้ลูกหลานจนเหลนโหลน คนเราเกิดมาในโลกเป็นหนี้บุญคุณของโลก จะนั่งนอนกินไม่ได้ ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต อย่าทำทุจริตเป็นหนี้บุญคุณโลกเข้าไปอีก ลูกหลานเหลนโหลนเราทำงานเช่นนี้เหมือนกัน เมื่อเราได้แบ่งปันสิ่งของๆเราให้แก่คนอื่นอย่างนั้น ได้ชื่อว่าเราได้นำเอาทรัพย์ที่ไม่เป็นแก่นสาร ทำให้เป็นแก่นสารแก่ตัวเองได้แล้ว เพราะทรัพย์สมบัติเป็นของสาธารณะ เมื่อได้มาเก็บไว้ไม่มีประโยชน์แก่ตัวและผู้อื่น คนได้มาแล้วก็เก็บไว้ๆ คนหาไม่ได้ก็จนลงๆ มันจะเสมอกันได้อย่างไร คนจนมากกว่าคนมีนี่ เมื่อคนจนรวมหัวกันคิดแย่งเอาได้ แล้วคนมีจะอยู่ได้อย่างไร พระพุทธเจ้าสอนให้มีเมตตาแก่กันและกัน มัอันใดแบ่งปันกันกินกันใช้จะได้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน มีความปรองดองสามัคคีกันเหมือนกับพี่น้องกัน


    สมบัติเป็นของไม่มีสาระดังกล่าว เราได้ทำให้เป็นของที่มีสาระด้วยการให้แบ่งปันให้แก่คนอื่นด้วยจิตเมตตา สมบัติอันนั้นกลับเข้ามาอยู่ในใจของตน คือ ความอิ่มใจพอใจที่ตนแบ่งปันไปแล้วนั้น หรือที่เรียกว่าบุญ บุญนี้แหละเป็นยอดปรารถนาของผู้มีศรัทธาที่หาทรัพย์มาได้แล้ว มารวมลงที่บุญนี้ทั้งนั้น เมื่อตั้งใจมั่นในบุญกุศล แล้วทำแต่สิ่งใด ก็มีแต่บุญกุศลทั้งนั้น บางคนเขาหาว่า บ้าบุญ ดีกว่า บ้าบาป บ้าบาปนั้นคิดถึงแต่ความชั่วมัวเมาแต่บาป เช่น เที่ยวผู้หญิง นักดื่มสุราไม่ว่าเวลาใด จะมีแต่สุราเป็นนิจ บ้าในกามคุณทั้งห้า สนุกเฮฮาไม่มีเวลาตื่นตัวสักที แก่แลหนุ่ม บ้าด้วยกันทั้งนั้น คนบ้าบุญนี้แหละจะตั้งมั่นสร้างแต่ความดีไม่มีโทษ ทำประโยชน์ให้เกิดมีแก่ตนเองและบ้านเมือง เมื่อจิตเป็นของตัวตั้งมั่นอยู่ภายใน มีเมตตาจิตเป็นพื้นฐานอยู่อย่างนี้จะเรียกว่า พรหมวิหารฌาน และพรหมวิหารสมาธิ ก็แล้วแต่จะพูดกัน จิตที่ตั้งมันอยู่ภายในเช่นนี้ จะค้นคิดเฉพาะใจถึงเรื่องสาระของกายว่า กายนี้เกิดขึ้นมาประกอบแล้วด้วยธาตุทั้งสี่ มี ดิน น้ำ ไฟ ลมผสมเข้ากันเป็นก้อน เรียกว่า กาย แล้วมีอันจะต้องสลายไปเป็นที่สุด เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ก็หาสาระไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นอยู่อย่างนั้น เหลือแต่ความรู้สึกในใจ ไม่มีอะไรว่างไปหมด ความรู้ว่าว่าง และสิ่งที่ว่างกับทั้งของที่ไม่ว่างเป็นไปพร้อมๆกันนั้นและเป็นสาระของคน


    เปลือกของศาสนาคือ ทาน ศีล และศาสนพิธีต่างๆ ถ้าทำถูกต้องแล้วจะกลายเป็นกระพี้ คือทำจิตให้เบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส จนเกิดปีติอิ่มใจ ทาน ศีล นั้นจะเข้ามาภายในใจหล่อเลี้ยงน้ำใจให้แช่มชื่นอยู่เป็นนิจ นี่ได้ชื่อว่า ทำเปลือกให้เป็นกระพี้ เมื่อพิจารณาไปถึงความอิ่มและความแช่มชื่นเบิกบานของใจ ก็เห็นเป็นแต่ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากปัจจัย คือความพอใจเป็นเหตุ เมื่อความพอใจหายไป สิ่งเหล่านั้นดับไปเป็นของไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เราจะยึดเอาไว้เป็นของตัวตนไม่ได้ เป็นอนัตตาไม่มีใครเป็นใหญ่เป็นอิสระ แล้วก็ปล่อยว่างเห็นเป็นสภาพตามความเป็นจริง เมื่อพิจารณาถูกอย่างนี้ได้ชื่อว่า ทำกระพี้ให้เป็นแก่นสาร


    พระพุทธศาสนาอยู่ได้ด้วย เปลือก กระพี้ และแก่นอย่างนี้


    *ถ้ามีแต่แก่นอย่างเดียว หากเป็นต้นไม้ ก็เรียกว่าต้นไม้ตายย่อมอยู่ไม่ได้นาน


    *ถ้ามีแต่กระพี้ หากเป็นต้นไม้ ก็เรียกว่าต้นไม้หาสาระไม่ได้ นอกจากจะทำเป็นฟืนเท่านั้น


    *ถ้ามีเปลือกอย่างเดียว หากเป็นต้นไม้ เช่น ต้นมะละกอ พลันที่จะหักเร็วที่สุดเมื่อลมพายุพัดมา

    พระพุทธศาสนาวัฒนาถาวรได้นานปานนี้ก็ด้วยมีทั้งเปลือก กระพี้ และแก่น ครบบริบูรณ์

    เทสรังสีวจนา [แสดงธรรมที่เมืองเพิร์ธ ต่อในช่วงค่ำของวันที่ ๒๙ พ.ย.๑๙ ]

    คัดลอกจาก เปลือก กระพี้ แก่น ....หลวงปู่เทสก์ | Jazz
     
  2. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    หากไม่สนใจคำพระตถาคต จะทำให้เกิดความ
    อันตรธานของคำพระตถาคต เปรียบด้วยกลองศึก
    ภิกษุ ท. ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของ
    กษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่ เมื่อกลองอานกะนี้
    มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำ
    เป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น(ทุกคราวไป)
    ภิกษุ ท. ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นาน
    เข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
    เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;
    ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่าย
    อนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของ
    ตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้น
    โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ
    เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่
    ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควร
    ศึกษาเล่าเรียนส่วนสุตตันตะเหล่าใด มีนักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็น
    คำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มี
    พยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก,
    เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,
    เธอจักฟังด้วยดีจักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจัก
    สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป
    ภิกษุ ท. ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น
    ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
    เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วย
    อาการอย่างนี้ แล
    นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓.
     
  3. อัฐิ

    อัฐิ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=699 bgColor=#000000><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=4 width=699><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    031 ทำอย่างไรจะเข้าถึงแก่นพระศาสนา ​

    ปัญหา ธรรมดาต้นไม้ใหญ่ย่อมมีทั้งใบอ่อน สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่น พระพุทธศาสนาซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ ก็น่าจะมีเครื่องประกอบเหล่านี้อะไรคือใบอ่อน สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นของพระพุทธศาสนา? ภิกษุในพระพุทธศาสนาควรจะปฏิบัติอย่างไร จึงจะเข้าถึงแก่นพระศาสนา ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....กุลบุตรบางคนในโลกนี้คิดเห็นว่าเราเป็นผู้อันความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อันโศกแลความร่ำไรแลทุกข์และความเสียใจความคับแค้ทั้งหลายครอบงำแล้ว.... เป็นผู้ออกจากเรือนบวชแล้ว ในธรรมวินัยด้วยศรัทธา.... ครั้นบวชแล้วอย่างนั้น ให้ลาภสักการะความสรรเสริญเกิดขึ้นอยู่ เธอก็เป็นผู้มีความยินดีเต็มความดำริด้วยลาภสักการะความสรรเสริญนั้น ย่อมยกตนข่มผู้อื่น ..... ว่าเราเป็นผู้มีลาภสักการะแลความสรรเสริญ ส่วนภิกษุเหล่าอื่นเป็นผู้ลี้ลับมีศักดานุภาพน้อย ดังนี้ เธอไม่ให้เกิดความพอใจไม่พากเพียร เพื่อทำให้แจ้งธรรมทั้งหลายอันยิ่งกว่าประณีตกว่าลาภสักการะความสรรเสริญนั้น.... เรากล่าวบุคคลนี้ว่า เปรียบดังบุรุษต้องการแก่นไม้... เมื่อไปถึงต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่ กระพี้ เปลือกสะเก็ดเสีย เด็ดเอาใบอ่อนที่กิ่งด้วยเข้าใจว่าแก่นถือเอาไป กิจซึ่งควรทำด้วยแก่นไม้ของบุรุษนั้น ก็จักไม่สำเร็จประโยชน์ได้
    “.....กุลบุตรอีกคนหนึ่ง เห็นทุกข์อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ออกจากเรือนบวชในธรรมวินัย.... ให้ลาภสักการะสรรเสริญเกิดข้นอยู่อย่างนั้น แต่ไม่เป็นผู้มีใจยินดีด้วยลาภสักการะสรรเสริญนั้น.... เธอให้ความถึงพร้อมด้วยศีลเกิดขึ้นอยู่ ครั้นให้ความถึงพร้อมด้วยศีลเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นผู้มีใจยินดีเต็มความดำริด้วยความถึงพร้อมด้วยศีลนั้น ไม่พากเพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมทั้งหลายที่ประณีตกว่าศีล เรากล่าวบุคคลนี้ว่าเปรียบดังบุรุษต้องการแก่นไม้..... เมื่อไปถึงต้นไม้ใหญ่.... ล่วงแก่นกระพี้ เปลือกเสียถากเอาสะเก็ดเข้าใจว่าแก่ถือเอาไปกิจที่ควรทำด้วยแก่นไม้ ของบุรุษนั้นก็จักไม่สำเร็จประโยชน์ได้
    “.....ผู้หนึ่งครั้นบวชแล้ว ให้ลาภสักการะความสรรเสริญเกิดขึ้นอยู่ให้ความถึงพร้อมด้วยศีล เกิดขึ้นอยู่.... แต่ไม่เต็มความดำริด้วยความถึงพร้อมด้วยศีลนั้น เธอให้ความถึงพร้อมด้วยสมาธิเกิดขึ้น ครั้นให้ความถึงพร้อมด้วยสมาธิเกิดขึ้นแล้ว เธอก็มีใจยินดีเต็มความดำริด้วยความถึงพร้อมด้วยสมาธินั้น ยกตนข่มผู้อื่นเพราะความถึงพร้อมด้วยสมาธินั้น .... ไม่พากเพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมอื่น ซึ่งประณีตกว่าความถึงพร้อมด้วยสมาธิ เรากล่าวบุคคลนี้ว่า เปรียบดังบุรุษต้องการแก่นไม้....เมื่อไปถึงต้นไม้ใหญ่ล่วงแก่นกระพี้เสีย ถากเอาเปลือกเข้าใจว่าแก่นถือเอาไป กิจซึ่งควรทำด้วยแก่นไม้ของบุรุษนั้น ก็จักไม่สำเร็จประโยชน์ได้
    “.....ผู้หนึ่งครั้นบวชแล้ว ให้ลาภสักการะความสรรเสริญเกิดขึ้นอยู่ให้ความถึงพร้อมด้วยศีล ความถึงพร้อมด้วยสมาธิเกิดขึ้นแล้ว.... แต่ไม่เต็มความดำริด้วยความถึงพร้อมด้วยศีลนั้น เธอให้ญาณทัสสนะคือ ความรู้ความเห็นเกิดขึ้นได้ ครั้นให้ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้ว เธอก็มีใจยินดี..... ย่อมยกตนข่มผู้อื่นด้วย ญาณทัสสนะ นั้น .... ไม่พากเพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมทั้งหลายอื่นซึ่งประณีตกว่า..... เรากล่าวบุคคลนี้ว่า เปรียบดังบุรุษต้องการแก่นไม้....เมื่อไปถึงต้นไม้ใหญ่ล่วงแก่นกระพี้เสีย ถากเอาเปลือกเข้าใจว่าแก่นถือเอาไป กิจซึ่งควรทำด้วยแก่นไม้ของบุรุษนั้น ก็จักไม่สำเร็จประโยชน์ได้
    “.....กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ครั้นบวชแล้ว ให้ลาภสักการะสรรเสริญเกิดขึ้นอยู่ .... ให้ความถึงพร้อมด้วยศีลแลสมาธิแล ญาณทัสสนะเกิดขึ้นอยู่ เธอก็ไม่เป็นผู้มีใจยินดี.... พากเพียรอยู่เพื่อทำให้แจ้งธรรมทั้งหลายอื่นอันประณีตกว่าญาณทัสสนะ ธรรมที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าญาณทัสสนะเป็นไฉน
    “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุฌานที่แรก..... ธรรมนี้ยิ่งกว่าประณีตกว่าญาณทัสสนะ
    “อีกข้อหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้บรรลุฌานที่สาม.... ได้บรรลุฌานที่สี่ ...... บรรลุอากาสานัญจายตนอรูปฌาน.... บรรลุวิญญาณัญจายตนอรูปฌาน....บรรลุอากิญจัญญายตนอรูปฌาน.... บรรลุเนวสัญญานาสัญญานอรูปฌาน.... บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ.... อาสวะทั้งหลายของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา แม้ธรรมนี้ก็ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ เรากล่าวบุคคลนี้ว่า เปรียบเหมือนบุรุษต้องการแก่นไม้.... เมื่อไปถึงต้นไม้ใหญ่รู้จักว่าแก่น ตัดเอาแต่แก่นเท่านั้นถือเอาไป กิจที่ควรทำด้วยแก่นไม้ของบุรุษนั้น ก็จักสำเร็จประโยชน์ได้ ดังนี้
    “พรหมจรรย์นี้มิใช่มีลาภสักการะความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยศีลและสมาธิ แลญาณทัสสนะเป็นอานิสงค์ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุต ความที่จิตพ้นวิเศษอันไม่กำเริบนี้แลเป็นประโยชน์ พรหมจรรย์นี้มีวิมุตินั้นเป็นแก่นสาร มีวิมุตินั้นเป็นที่สุดรอบ ๙

    จูฬสาโรปมสูตร​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...