เมื่อจิตติดกิเลส ทำให้ ธรรมชาติพัง(พินาศ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 14 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    <CENTER style="WORD-SPACING: 0px; FONT: medium Tahoma; TEXT-TRANSFORM: none; COLOR: rgb(0,0,0); TEXT-INDENT: 0px; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px">
    ดับร้อนด้วยธรรมะ


    </CENTER>



    เดือนเมษายนของทุก ๆ ปี เป็นเดือนที่มีความร้อนสูงสุดซึ่งจะอยู่ในช่วงของวันสงกรานต์นี้แหละ ตามหลักของภูมิศาสตร์และอุตุนิยมวิทยาที่กล่าวไว้ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะของวงรี ในช่วงหนึ่งประเทศไทยก็จะอยู่ในภาวะที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุดจะทำให้สภาพอากาศร้อน ซึ่งเป็นภาวะแห่งความร้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่เราไม่สามารถจะหนีพ้นไปได้ แต่ว่าในปีนี้อากาศมันไม่เป็นไปตามฤดูกาลซะแล้วหน้าร้อนกับหนาวบ้าง ฝนตกน้ำท่วมบ้าง แผ่นดินไหวบ้าง และในปีต่อ ๆ ไปจะเกิดอะไรอีก หรืออาจจะต้องปรับเปลี่ยนกำหนดฤดูกันใหม่ ก็ต้องคอยติดตามกันไป
    ปัญหาภาวะโลกร้อนหรือปัญหาภัยแล้งนั้นก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากธรรมชาติด้วยเหมือนกัน จะเป็นเพราะจากระบบธรรมชาติเอง หรือเกิดขึ้นจากมนุษย์ได้ทำลายธรรมชาติ มีการตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น จนเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ระบบนิเวศวิทยาได้เปลี่ยนแปลงวิปริตผิดเพื้ยนไป ภัยจากธรรมชาติแปลก ๆ ใหม่ก็เกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่นั่นก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มนุษย์ยังมีขีดความสามารถที่จะแก้ไข พัฒนา ป้องกันได้ เช่น ถ้าเป็นปัญหาในเรื่องความร้อนของธรรมชาติ ของแสงแดด อากาศร้อน ก็สามารถที่จะแก้ไขด้วยการอาบน้ำ อยู่ในห้องแอร์ แช่น้ำตก นั่งพักใต้ต้นไม้ใหญ่ หรืออยู่บริเวณชายทะเลก็ได้ ก็จะสามารถคลี่คลายปัญหาดังกล่าวนั้นได้ในระดับหนึ่ง และถ้าเป็นปัญหาที่ใหญ่และสำคัญมากไปกว่านี้ เช่น ปัญหาภัยแล้ง เราก็สามารถที่จะรณรงค์แก้ปัญหาในเรื่องของการรักธรรมชาติ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ ปลูกต้นไม้ รักษาแม่น้ำลำคลอง ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงในแหล่งน้ำ ตลอดถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้ประหยัด และรู้ถึงคุณค่าแท้ และเมื่อกล่าวโดยสรุปก็คือ ปัญหาอันเกิดจากธรรมชาติ ส่งผลต่อความทุกข์ของมนุษย์นั้น เป็นปัญหาเกิดขึ้นจากภายนอกของตัวเรา

    แต่มีปัญหาอันเนื่องจากความร้อนอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาภายในจิตใจของเรา เมื่อได้เผาจิตใจให้เหือดแห้งเห็นแก่ตัว ให้เกิดอาการโมโหโทโส หรือลุ่มหลงแบบมัวเมา แล้วจะเป็นปัญหาอันยิ่งใหญ่ และเป็นสาเหตุแห่งปัญหาอื่น ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ อีกหลายประการตามมา ปัญหาจิตใจของเรานั้น เป็นสาเหตุแห่งปัญหาทั้งหลายในโลกนี้ ซึ่งเกิดขึ้นจากกิเลสตัวร้าย ๓ ตัว ซึ่งพระพุทธศาสนาเรียกว่าอกุศลมูล ซึ่งแปลว่า รากเหง้าแห่งอกุศลทั้งหลาย มีโลภะ (ความโลภ ) โทสะ (ความโกรธ ) และโมหะ (ความหลง ) อันจะเป็นสาเหตุแห่งการสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้แก่โลก และแก่หมู่สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้

    ๑. โลภะ ได้แก่ ความอยากได้ หรือคามโลภ ความเห็นแก่ตัว ไม่คิดเอื้อเฟื้อต่อใคร ๆ คิดอยากแต่จะได้โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลแห่งความควรหรือไม่ควร ผู้ที่มีจิตใจมีแต่ความโลภ จิตของผู้นั้นจะมืดดำ ไม่สะอาด เมื่อไม่ได้ก็จะแสวงหาในทางทุจริต ไม่คำนึงถึงความเสียหาย ความเดือดร้อน เช่น ปัญหาอันเกิดจากโลกร้อน ก็เกิดจากผู้ที่มีจิตคิดโลภ ได้ทำลายธรรมชาติ ตัดไม้ทำลายป่าเพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม ลักขโมยของผู้อื่นเพราะอยากได้ ก็ทำให้สังคมเดือดร้อน ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมรักษาความสงบเรียบร้อย ความโลภนั้นจึงทำให้สังคมเดือดร้อน วุ่นวาย ไม่มีความสงบสุขเสมือนกำลังถูกไฟ คือโลภะแผดเผาอยู่นั่นเอง

    ๒. โทสะ ได้แก่ ความโกรธ อาการฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด เป็นเสมือนไฟที่กำลังเผาไหม้จิตใจอยู่ให้ร้อนรนกระวนกระวายบุคคลผู้ถูกไฟ คือ ความโกรธครอบงำอยู่ จะระบายความร้อนออกมาทางพฤติกรรม เช่น ทางกายก็หุนหันพลันแล่น ทางวาจาก็จะด่าว่าต่าง ๆ นา นา และทางใจ ก็จะร้อนรนกระวนกระวายหาความสงบสุขใจไม่ได้ และเมื่อได้กระทำอะไรลงไปในขณะที่กำลังมีความโกรธครอบงำอยู่ ก็จะทำให้เกิดผลเสียหายตามมา ดังท่านได้กล่าวคำกลอนไว้ว่า

    โทสะเปรียบเหมือนไฟ เผาจิตใจให้ร้อนพล่าน

    โทสะเปรียบเหมือนไฟ เผาการงานให้เสียหาย

    โทสะเปรียบเหมือนไฟ เผามิตรสหายกลายเป็นศัตรู

    ๓. โมหะ ได้แก่ ความหลง เป็นความไม่เข้าใจชนิดที่มีอวิชาครอบงำ หลงเข้าใจว่าสิ่งที่ตนกำลังทำ กำลังคิด และประสงค์ที่จะให้เกิดขึ้นกับชีวิตของตนเองนั้น เป็นประโยชน์และเป็นความสุข แต่ผลที่แท้จริงนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่ แรก ๆ อาจจะดูเหมือนว่ามีความสุข แต่เบื้องปลายพิจารณาให้ดีแล้ว จะเห็นว่าเป็นความทุกข์ดังคำสุภาษิตที่สอนว่า อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว อย่าเห็นความชั่วเป็นความดี ฉะนั้น บุคคลที่กำลังหลงอยู่กับสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นประโยชน์ หรือมีความทุกข์เป็นผลนั้น ก็จะพยายามที่จะกระทำสิ่งนั้นด้วยความเข้าใจผิด และเมื่อคิดได้ก็อาจจะสายเกินไปที่จะแก้ไข คิดว่าการขายยาบ้า ขายยาเสพติด น่าจะทำให้เรามีเงินร่ำรวยและมีความสุข ครั้นเมื่อทำแล้วไม่ถูกเจ้าหน้าที่จับได้ก็ยิ่งคิดว่าสบายไม่มีผลเสียหายกับตน ยิ่งกระทำสิ่งนั้นหนักและมากยิ่งขึ้น ผลสุดท้ายถูกเจ้าหน้าที่จับได้ต้องไปทนต่อความลำบากในคุกในตะราง หาความสงบสุขแห่งชีวิตไม่ได้ เปรียบประหนึ่งว่ากำลังเดือดร้อนเพราะอำนาจของความหลงที่แผดเผาอยู่ฉะนั้น

    เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าอยากจะให้ความเร่าร้อนอันเกิดจากอำนาจของกิเลส ๓ กอง ดังกล่าว มีความโลภ ความโกรธ ความหลงสงบระงับดับลงไป ไม่ให้มีผลกระทบแก่ชีวิตของตนเองแล้ว จะต้องน้อมนำเอาธรรมะมาปฏิบัติเพื่อมาดับความร้อนดังกล่าวนั้น ซึ่งเป็นการประพฤติปฏิบัติตรงกันข้าม เช่น(เพื่อช่วยตัวเอง เห็นเหตุนั้นก่อน)

    ๑. ยามที่เรามีจิตเป็นโลภะ อยากได้ โดยเฉพาะกำลังอยากได้ในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา จะต้องยับยั้งชั่งใจไม่คิดที่จะลักขโมยของผู้อื่นเพื่อเอามาเป็นของตนเอง จะต้องฝึกใจให้ยินดีในของเรา ธรรมะที่สามารถฝึกจิตใจของเราให้ได้ผลในเรื่องนี้ก็คือ ทาน คือการให้ จิตที่คิดจะให้นั้น จะไม่อยากได้ของใครและใช้ของตนเท่าที่จำเป็นแก่ชีวิต

    ๒. ยามที่จิตมีโทสะอารมณ์โกรธ ก็ให้เอาเมตตา ความรัก ความสงสารเข้ามาระงับอาการใจร้อน เพราะโกรธเขาใจเราก็เป็นทุกข์ ดับความร้อนด้วยเมตตา นึกสงสารอยากช่วยเหลือ ทั้งใจเราและตัวเขาก็เป็นสุข

    ๓. ยามที่เรามีโมหะ ลุ่มหลง เชื่อง่ายเรา จะต้องใช้ปัญญามาช่วยเหลือ พิจารณาให้ถ่องแท้หลายแง่หลายมุม เมื่อคิดไม่ออกก็ช่วยให้คนอื่นบอกให้ จะเป็นพระเป็นครูบาอาจารย์ บิดามารดา และข้อที่สำคัญเราจะต้องเป็นคนเปิดใจให้กว้างยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น การฟังธรรมเป็นประจำจะช่วยได้มากในเรื่องดังกล่าวนี้

    ความร้อนภายนอกเป็นความร้อนเพราะอำนาจของแสงแดด ลมฟ้า อากาศ ซึ่งเป็นความร้อนที่เกิดจากธรรมชาติ เราสามารถที่จะแก้ไข ดับความร้อนดังกล่าวนั้นได้ ด้วยการอาบน้ำ ไปชายทะเล หรืออยู่ในห้องแอร์ ก็จะแก้ปัญหาความร้อนนั้นได้ แต่ถ้าเป็นความร้อนใจอันเกิดจากกิเลสมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ถึงจะอยู่ในสถานที่มีความเย็นกายใด ๆ ใจก็ยังคงร้อนเช่นนั้น เราจะต้องแก้ด้วยการปรับใจของเราให้หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสดังกล่าว ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปฏิบัติในเรื่องให้มีทาน มีเมตตา แสวงหาปัญญา เป็นการดับความร้อนด้วยธรรมะ

    ร้อนแดดยังทนได้ไม่ยากนัก

    ร้อนไฟรักโกรธหลงน่าสงสาร

    กางร่มกั้นก็ยังกลุ้มสุมดวงมาล

    จะต้องทานชุมชีวิตช่วยด้วย ร่มธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กุมภาพันธ์ 2012

แชร์หน้านี้

Loading...