เมื่อได้บูชาพุทธสถานอายุกว่า2,500ปี

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 18 เมษายน 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    เมื่อได้บูชาพุทธสถานอายุกว่า2,500ปี

    เป็นเรื่องอยู่เหนือความคาดหมาย เมื่อได้พบและบูชาพระพุทธรูปและพุทธสถานโบราณอายุเกิน 2,500 ปี ในประเทศที่นับถืออิสลามเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
    โดย สมาน สุดโต
    เป็นเรื่องอยู่เหนือความคาดหมาย เมื่อได้พบและบูชาพระพุทธรูปและพุทธสถานโบราณอายุเกิน 2,500 ปี ในประเทศที่นับถืออิสลามเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นประเทศปากีสถาน
    ประเทศปากีสถาน หรือสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และจีน มีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 160 ล้านคน อันดับ 6 ของโลก เป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง
    ก่อนคริสตกาล ส่วนหนึ่งของประเทศนี้ที่ติดต่อกับอินเดียและอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นแหล่งอารยธรรมทางศาสนาพุทธ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ตักสิลา เปชวาร์ ตักไบ สวัต วัลเลย์ และละฮอร์
    เมื่อศาสนาพุทธถูกรุกราน คนนับถือศาสนาพุทธหายไป คงเหลือแต่สถูปเจดีย์ โบราณสถาน และพระพุทธรูปศิลปะคันธาระจำนวนมาก ที่รัฐบาลนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งตั้งแต่ตักสิลา เปชวาร์ และละฮอร์
    เพื่อให้แหล่งพุทธสถาน โบราณวัตถุ และพระพุทธรูปมรดกทางวัฒนธรรม ปรากฏแก่สายตาชาวโลก รัฐบาลปากีสถานเชิญผู้แทนองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ให้ไปเยี่ยมชมพุทธศาสนสถานในปากีสถานระหว่างวันที่ 22-28 มี.ค. 2553
    คณะ พ.ส.ล.
    [​IMG]
    ธัมมราชิกสถูป ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้าง

    คณะ พ.ส.ล. ประกอบด้วยพระภิกษุ 4 รูป คือ พระธรรมวราจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร พระติดตาม 1 รูป พระ ดร. อานิล ศากยะ ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช พระครูสะท้าน วัดบวรนิเวศวิหาร พัลลภ ไทยอารี เลขาธิการ พ.ส.ล. และภรรยา กิตติธัช ไทยอารี บริษัท เอวิส รถเช่า ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ซีอีโอบริษัท ดีซี คอนซัลแตนท์ และสื่อมวลชน 2 คน
    ในการนี้ผู้ช่วยทูตทหารปากีสถานประจำประเทศไทย Col Syed Sajid Raza ให้เกียรติคณะผู้แทน พ.ส.ล. โดยไปส่งและรับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลปากีสถาน Khalid Hussain Protocal Officer กระทรวงการต่างประเทศปากีสถาน และ Abdul Wahid แห่ง Pakistan Tour Limited ที่อำนวยความสะดวกทุกอย่างระหว่างที่อยู่ในปากีสถาน 5 วัน
    ประธานาธิบดี อาซีฟ อาลี ซาร์ดารี แห่งปากีสถาน ให้การต้อนรับผู้แทน พ.ส.ล. ที่ไปเยี่ยมคารวะ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการสร้างสันติภาพในปากีสถาน โดยท่านประธานาธิบดีบอกว่าประเทศนี้เป็นแหล่งเกิดอารยธรรม และสันติในอดีต จึงขอให้ชาวโลกคิดทางบวกแล้วส่งใจมาช่วยปากีสถานให้มีสันติอีกครั้ง พร้อมกันนั้นก็เสนอให้ช่วยกันลดการค้าขายวัตถุโบราณ เช่น ทำอย่างไรไม่ให้มีราคา เพราะผู้ครอบครองได้ราคาดีมักจะขาย ประธานาธิบดีได้สั่งเจ้าหน้าที่ที่ประชุมด้วยให้ทำเรื่องถึง UN ขอให้ออกกฎหมายห้ามค้าวัตถุโบราณและให้ทำหนังสือถึงสถานทูตในปากีสถานทุกแห่งให้สนับสนุนเรื่องนี้เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่ เบนาซีร์ บุตโต ภรรยาที่ล่วงลับไปแล้ว
    พัลลภ ไทยอารี เลขาธิการ พ.ส.ล. เสนอว่า ชาวพุทธยินดีช่วยส่งเสริมพุทธสถานในปากีสถานให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง พร้อมกันนั้นเสนอประธานาธิบดีให้จัดนิทรรศการพุทธศาสนาในปากีสถานและพุทธศิลปะคันธาระ ที่เมืองไทย เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปี 2554 และแนะนำให้ทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ปากีสถาน เพื่อเสด็จฯ เยือนพุทธสถานอายุนับพันปีที่มีหลายแห่ง ซึ่งประธานาธิบดีได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการทันที
    ส่วนสถานที่ที่รัฐบาลปากีสถานเชิญคณะผู้แทน พ.ส.ล.เยี่ยมเยือนครั้งนี้คือ ตักสิลา เปชวาร์ ตักไบ สวัต วัลเลย์ ซึ่งล้วนแต่เป็นแหล่งพุทธศาสนสถาน แหล่งอารยธรรม แหล่งพุทธศิลป์คันธาระ ที่เป็นต้นแบบการสร้างพระพุทธรูป และสถูปเจดีย์
    ในที่นี่จะเสนอพุทธสถานที่ตักสิลาก่อน
    ตักสิลา
    [​IMG]
    เศียรพระพุทธรูป

    ตักสิลา เป็นชื่อเมืองอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นปัญจาบ เป็นมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปะวิชาการ ในอดีตตั้งแต่ก่อนพุทธกาลประมาณ 100 ปี เป็นสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ 18 สาขาวิชา เช่น วิชายิงธนู วิชาบังคับช้าง วิชาแพทย์ นิธิอุทธารณมนต์ หรือวิชาธรณีวิทยา วิชาฟันดาบ วิชามายากลที่สามารถทำให้งูเชื่อง และมนตร์คาถาสำหรับพิธีกรรม เป็นต้น ศิษย์สำนักนี้ที่มีชื่อเสียง และพูดถึงในพุทธประวัติ ได้แก่ องคุลิมาล หมอชีวกโกมารภัจจ์ พระเจ้าปเสนทิโกศล ธัมมปาละ แห่งลิจฉวีและพันธุละ เจ้าชายแห่งมัลละ
    นอกจากเป็นที่ตั้งสำนักทิศาปาโมกข์ ตักสิลายังเป็นชื่อเมืองหลวงแห่งแคว้นคันธาระ ซึ่งต่อมาเป็นชื่อแหล่งอารยธรรม และเป็นแหล่งพระพุทธศาสนาที่ริเริ่มโดยกษัตริย์กรีก ที่พิชิตอินเดีย และปัญจาบในปี 326 ก่อนคริสตกาล
    ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนาทรงสนับสนุนจนกระทั่งพุทธศาสนารุ่งเรืองไปทั่วทุกแคว้น แต่เมื่อสิ้นพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์องค์ต่อมา นอกจากไม่สนับสนุนพุทธศาสนา ยังส่งเสริมฮินดูและทำลายวัดต่างๆ รวมทั้งพวกฮั่นที่บุกเข้ามาทำลายในระยะต่อมา ดังที่หลวงจีนเฮี้ยนจัง ที่เดินทางไปอินเดียระหว่างปี 1172-1187 บันทึกตอนหนึ่งว่า ที่ตักสิลามีวัดพระพุทธศาสนาอยู่มาก แต่ถูกพวกฮั่นทำลายย่อยยับในคริสต์ศตวรรษที่ 5
    เซอร์ จอห์น มาแชล (Sir John Marshall) ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดีและการค้นคว้า ได้ดำเนินการขุดค้นโบราณสถานในปี 1913-1934 (พ.ศ. 2456-2477) ได้พบซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และประติมากรรมแบบศิลปะคันธาระจำนวนมาก ได้นำสิ่งของที่เคลื่อนย้ายได้มาตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์ตักสิลาที่ก่อตั้งโดย เซอร์ จอห์น มาแชล เช่นกัน
    ส่วนที่พำนักพระสงฆ์และนักศึกษาอันเป็นโบราณสถาน สถูปเจดีย์ พระพุทธรูปที่ไม่สมบูรณ์ ที่อยู่บริเวณตักสิลา รัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถาน และองค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2523
    พวกเราไปเยี่ยมชมจุดแรกคือ เจาเลียน Jualian ซึ่งเป็นศาสนสถานมีที่พักสงฆ์ หรือนักศึกษา สระน้ำสำหรับปลูกบัวที่ตั้งอยู่ด้านหน้าห้องพัก บริเวณทั่วไปมีซากสถูป พระพุทธรูป ที่ใบหน้า หรือพระเศียรจะถูกทำลายเกือบทั้งสิ้น ที่สมบูรณ์มีหลงเหลืออยู่ 1-2 องค์เท่านั้น (ชื่อ Jualian เจาเลียน เป็นชื่อหมู่บ้าน ข้างๆ ตักสิลาในปัจจุบัน)
    [​IMG]
    พระพุทธรูปที่เจาเลียน

    สถานที่นี้ตั้งบนเชิงภูเขาที่ไม่สูงมากนัก รอบๆ บริเวณนั้นเป็นที่ว่างและเทือกเขาเตี้ยๆ จากเจาเลียนเดินทางย้อนกลับทางเดิมอีกประมาณ 3 กิโลเมตร เพื่อชมพิพิธภัณฑ์ตักสิลา
    พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่ที่ชาวปากีสถานในทุกเพศทุกวัยให้ความสนใจเข้ามาชมหนาตา แม้ว่าสิ่งที่ตั้งแสดงนั้นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมชาวพุทธก็ตาม
    พระพุทธรูปในพิพิธภัณฑ์เป็นปางต่างๆ เป็นศิลปะสมัยคันธาระ ทั้งสมบูรณ์และแตกหัก ยอดพระสถูปที่เป็นทรงกลมทำจากศิลาในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ และเครื่องประดับที่เป็นทองคำและเงิน รวมทั้งเหรียญชนิดต่างๆ จำนวนมากที่เจ้าหน้าที่เปิดให้พวกคณะเราชมเป็นพิเศษ
    เมื่อชมพิพิธภัณฑ์แล้วใช้เวลาเดินทางอีก 2 กิโลเมตรก็ถึงธัมมราชิกสถูป ที่สร้างโดยพระเจ้าอโศก ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล เป็นสถูปทรงกลม ลักษณะคล้ายกับธัมเมกะสถูป เมืองพาราณสี อินเดีย บริเวณโดยรอบสถูปมีสำนักและที่พักสงฆ์กระจายทั่วไป ในช่วงที่อังกฤษปกครองพบพระบรมสารีริกธาตุที่พระสถูปนี้ และได้ส่งไปให้ประเทศศรีลังกา
    ณ สถานที่นี้รัฐบาลปากีสถานจัดงานสัปดาห์คันธาระขึ้นมา 3 ปีติดต่อกัน โดยมีชาวพุทธและพระสงฆ์จากประเทศต่างๆ มาร่วมงานประมาณ 300 คน เพิ่งว่างเว้นเมื่อความไม่สงบเกิดขึ้นในบริเวณเหล่านี้เมื่อไม่นานมานี้


    [​IMG]
    เมื่อได้บูชาพุทธสถานอายุกว่า2,500ปี
     

แชร์หน้านี้

Loading...