เรียนพระอภิธรรมกันเถอะค่ะ ปริยัติ และ ปฏิบัติไปด้วย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Mantalay, 12 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ขอถามค่ะ อยากทราบขอแตกต่างระหว่างคนที่เรียน

    ปริยัติ กับคนที่ไม่ได้เรียน เวลามาปฏิบัติ คนเรียนปริยัติมาจะมีผลดีต่อการปฏิบัติอย่างไร

    คนที่ไม่ได้เรียนปริยัติมาจะเจอปัญหาอะไรบ้างค่ะ ขอบพระคุณค่ะ







    chaiyut

    วันที่ 11 ก.พ. 2554 08:59

    ความคิดเห็นที่ 5

    [​IMG] <INPUT class=noborder type=checkbox align=middle value=5 name=c_sel[5]>


    ถ้าเราเรียนปริยัติถูกต้อง คือ เรียนจากพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดง มีการตั้งจิตไว้ชอบ คือ รู้ว่าเป็นสัจจะ หาฟังได้ยาก จึงศึกษาด้วยความเคารพนอบน้อมจริงๆ ไม่ศึกษาเพื่อเหตุแห่งลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่ศึกษาเพื่อพอกพูนกิเลส มีความสำคัญตน เป็นต้น ไม่ศึกษาแบบจับงูพิษข้างหาง แต่ศึกษาเพื่อเป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ รู้จุดประสงค์ที่ถูกต้องของการศึกษาธรรม ว่าเพื่อเข้าใจถูก เพื่อละความไม่เข้าใจ เมื่อเรียนแล้วค่อยๆ เข้าใจถูกตามปริยัติที่ได้เรียน ปัญญาก็จะค่อยๆ ละทิ้งข้อปฏิบัติที่ผิด ผลก็คือสามารถปฏิบัติถูกต้องตามหนทางพ้นทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ได้ จึงทำให้เกิดการละเว้นอกุศลกรรม เจริญปัญญา เจริญกุศลทุกประการ ขัดเกลากิเลสที่มีในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นปัจจัยให้ถึงการดับกิเลสในภายภาคหน้า

    แต่ผู้ที่ไม่ได้เรียนปริยัติ แล้วอยู่ๆ ไปปฏิบัติ โดยไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจในพระธรรมคำสอนที่ถูกต้อง ปัญหาที่พบ ก็คือ จะปฏิบัติผิด, จะสะสมความเห็นผิด,จะพอกพูนการยึดมั่นในข้อปฏิบัติที่ผิดนั้นครับ ผลก็คือ ทำให้ไม่พ้นทุกข์, ทำให้ความไม่รู้และอกุศลต่างๆ มีมากยิ่งขึ้น และทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะเนิ่นนานต่อไปไม่สิ้นสุดครับ เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะตั้งต้นเรียนปริยัติ ก็เรียนปริยัติที่ถูกต้องจะดีกว่า ถ้าไป

    เรียนปริยัติแบบผิดๆ จะมีโทษมากกับตนเองและผู้อื่นที่เราแสดงสิ่งผิดๆ ให้เขาฟังครับ


    จาก เวป บ้านธัมมะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2011
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ดีๆ มากเลยครับข้อมูลดีๆเพราะได้มาจากแหล่งที่มีคนเชื่อถือ
    จะทำให้คนบางคนคลายจากความเห็นผิดที่เคยยึดมั่นถือมั่นมาอันยาวนานได้
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    ขอโอกาสแสดงความคิดเห็นนะคะ
    พระอาจารย์ของติงท่านเคยกล่าวเอาไว้(ประมาณนี้)ว่า

    คนที่ไม่รู้อะไรเลย มาปฏิบัติ โดยมีครูบาอาจารย์สั่งสอน ผลการปฏิบัติจะไปได้เร็วกว่าผู้ที่เรียนมามาก อ่านมามาก รู้มามาก

    เพราะคนที่เรียนมามาก รู้มามากเหล่านี้ เมื่อมาปฏิบัติ ก็จะมีความลังเลสงสัยว่าถูกหรือผิดจากที่เรียนมาอย่างไร บ้างก็จินตนาการไปเอง เพราะรู้ไปก่อนแล้ว

    ต่างจากคนที่มาดั่งถ้วยชาที่ว่างเปล่า ประดุจดังผ้าขาว จะเติมอะไร จะวาดอะไร จะปฏิบัติก็ง่าย เพราะเชื่อมั่น ศรัทธาในพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ไม่ลังเลสงสัย จิตมุ่งมั่นในการปฏิบัติ

    ถูก ผิด หรือไม่ ประการใด กราบขออภัยค่ะ
     
  4. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065

    ก็แล้วแต่นะค่ะ ถ้าเรารู้ว่า ใครสอนถูก ก็ไปเรียนกับท่านนั้นก็ดีค่ะ
    แต่เราก็ต้องหาผู้ที่รู้จริงให้ได้ค่ะ ไม่งั้นเราจะเสียเวลาชาตินี้และชาติต่อๆ ไปค่ะ

    อีกอย่างหนึ่งค่ะ ครูติงค่ะ แล้วพ่อแม่ครูอาจารย์ เอาพระธรรมมาจากไหนค่ะ
    แล้วเราไปเรียนมาตรงๆ บ้าง จะได้มั้ยค่ะ
    การเรียนถูกต้อง รู้ถูกต้องในการปฏิบัติ ย่อมถือเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาคะ

    ไม่ว่าใครละค่ะ รู้ธรรมะ เจอใครที่ไม่รู้ ก็อยากแนะนำกันนะค่ะ เพราะถือเป็นบุญกุศลทั้งผู้ให้และผู้รับ

    เรามาเป็นผู้ให้ที่เห็นถูก และไปเป็นผู้รับจากครูอาจารย์ที่เห็นถูกมาด้วยค่ะ
     
  5. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    การเรียนไม่มีสิ้นสุด

    ปริญัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
    สามสิ่งนี้ต้องไปด้วยกัน
    แต่การศึกษาปริญัติ ก็เรียนให้รู้เพื่อละ
    ด้วยภาคปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นหนึ่ง ปริญัติ เป็นสอง
    ปฏิเวธเป็นผลที่เกิดจากภาคปฏิบัติ เกิดขึ้นภายใน
    ใจของตน 84000 พระธรรมขันธ์รวมลงที่ใจ
    ที่สว่างว่างเปล่า ตู้คัมภีร์ใหญ่อยู่ในกายเรานี่
     
  6. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    มูสิกาสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนู ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉนคือ หนูขุดรู
    แต่ไม่อยู่จำพวก ๑ อยู่แต่ไม่ขุดรูจำพวก ๑ ไม่ขุดรูไม่อยู่จำพวก ๑ขุดรูด้วยอยู่ด้วยจำพวก ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนู ๔ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลเปรียบด้วยหนู
    ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่จำพวก ๑
    ดุจหนูอยู่แต่ไม่ขุดรูจำพวก ๑ ดุจหนูไม่ขุดรูไม่อยู่จำพวก ๑ ดุจหนูขุดรูด้วยอยู่ด้วยจำพวก ๑ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่อย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม
    คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทานอิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขา
    ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    บุคคลเป็นดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนูขุดรูแต่ไม่อยู่ แม้ฉันใด เรากล่าว
    บุคคลนี้เปรียบฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูอยู่แต่ไม่ขุดรูอย่างไร บุคคลบางคน
    ในโลกนี้ (ไม่) เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละแต่เขาทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
    นี้ทุกข์ ฯลฯ บุคคลเป็นดุจหนูอยู่แต่ไม่ขุดรูอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนูอยู่แต่ไม่ขุดรู แม้
    ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูไม่ขุดรูไม่อยู่อย่างไร
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ เขาไม่ทราบชัดตามความ
    เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ บุคคลเป็นดุจหนูไม่ขุดรูไม่อยู่อย่างนี้แลดูกรภิกษุทั้งหลาย หนูไม่ขุดรู
    ไม่อยู่ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูขุดรูด้วย
    อยู่ด้วยอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ ทั้งทราบชัด
    ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบุคคลเป็นดุจหนู
    ขุดรูด้วยอยู่ด้วยอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนูขุดรูด้วยอยู่ด้วย แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบ
    ฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
     
  7. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    หนูขุดรู แต่ไม่อยู่จำพวก ๑... เรียน ไม่รู้
    อยู่แต่ไม่ขุดรูจำพวก ๑ .......รู้ ไม่เรียน
    ไม่ขุดรูไม่อยู่จำพวก ๑ .......ไม่เรียน ไม่รู้
    ขุดรูด้วยอยู่ด้วยจำพวก ๑ ....เรียน รู้
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    การศึกษาธรรมะ ไม่ใช่การศึกษาแบบตรรกะ

    หากเรียนอย่างถูกต้อง การจดจำ นั้นจะเป็นเรื่องที่เห็นตามพุทธวัจนะว่า พึ่งไม่ได้

    ดังนั้น หากเรียนอย่างถูกต้อง คนที่กล่าวว่า จะทำให้ ติดขัด ปฏิบัติไม่เป็น อันนี้ไม่จริง

    แต่อย่างไรก็ตาม คนที่เรียน จะหลีกเลี่ยง ภาพของการเป็นนกแก้วไม่ได้ เพราะเรามี
    วินัยในการพูดแต่พุทธพจน์ คนที่ไม่ศรัทธา ไม่เข้าใจ ต้องการแสดงอัตตาคือคำ
    สอนของตน เขากลัวว่า จะอดพูดคำพูดตน จึงได้พูดกีดกันด้วยคำว่า นกแก้วนกขุนทอง
    เพื่อให้ ผู้มีวินัยในการรักษาพุทธพจน์ หมดกำลังใจ เป็นอันเปิดทางให้พวกเขาได้
    กล่าว ธรรมตามใจชอบ

    อีกอย่างหนึ่ง การที่จะจดจำพุทธวัจนะได้ หลายคนคิดว่า เกิดจากการ "ท่อง" อันนั้น
    เป็นการพูดของคนไม่เคยใส่ใจในวินัยการรักษาพุทธพจน์ เพราะ คนที่สาธยายธรรมะ
    ของพระพุทธองค์นั้น ย่อมรู้ตนอยู่ว่า ที่จำได้มาก ที่สาธยายได้มาก เป็นเพราะ หมั่น
    สาธยายประยุกต์ใช้ให้ถูกกาลเทศะ เกิดจากการหมั่นระลึก ไม่ได้เกิดจากการยึดมั่น
    ถือมั่นตัวอักษร ซึ่งก็คือ การแสดงธรรมให้ตรงกับบุคคล(ตรงนี้จะไปเหมือนการสอน
    ของพระสุปฏิปันโน -- เราจึงสามารถดู นกแก้วนกขุนทองที่พูดธรรมเฉพาะบุคคลได้
    ก็แปลว่า ท่านนั้นรู้จริง และปฏิบัติได้จริงด้วย )

    ส่วนคนที่ยึดมั่นถือมั่นตัวอักษร ส่วนใหญ่ จะมีบทบาทในการสาธยายธรรมได้ไม่นาน
    เพราะเหนื่อยเกิน

    ยกตัวอย่าง ท่าน ว. จะเห็นว่า ท่านจดจำได้มาก จำเรื่องได้มาก แต่ไม่ใช่เพราะ
    ว่าท่านพูดทุกตัวอักษร ท่านพูดในเชิงประยุกต์ใช้

    หรือ กรณีท่าน ป.อ.ปยุต ปยุตตโต ดูเผินๆเหมือนท่านท่อง แต่หากศึกษาผลงาน
    การเขียนแล้วจะพบว่า เป็นเรื่องการประยุกต์ใช้ เหมือนกัน

    สองท่านนี้ จะมีความอ่อนน้อม ซึ่งแสดงถึง คนที่ปฏิบัติธรรมได้ถูก ไม่ใช่คนที่เกิด
    ความขัดข้องในการปฏิบัติแต่อย่างใด

    ต่างจาก คนที่ไม่เรียน เขียนอ่าน ไม่หมั่นสาธยายพุทธวัจนะ จะมีภาพของการไร้วินัย
    มากกว่า ( แต่เราก็อย่ายึดติดในภาพนะครับ พูดไม่เพราะ กริยาโผงผาง ก็ไม่ได้
    แปลว่า คุณธรรมภายในไม่บริสุทธิ อันนี้มัน คนละเรื่องกัน ** รู้ แต่ไม่เรียน ก็มีนั่นเอง )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2011
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    โมทนาสาธุบุญกับทุกท่านหลายท่านตอบไว้ดีแล้ว....และโมทนาสาธุธรรมอย่างยิ่งกับคุณสปาต้า<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4368201", true); </SCRIPT> ที่ได้ยกพระสูตรมาให้ศึกษา.....

    ส่วนตัวผมนั้นไม่ว่าจะเรียนมาหรือไม่เรียนมาก็มีประโยชน์ทั้งสองอย่าง....แต่ถ้าจะกล่าวแบบมีโทษก็มีโทษทั้งสองด้านเช่นกัน......กล่าวคือ...บุคคลที่ไม่ได้เรียนมานั้น...ถ้าใช้วิธีตามที่ น้อง <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ติงติง<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4368037", true); </SCRIPT> ได้กล่าวคือ ศึกษาตรงจากครูบาอาจารย์เลยนั้นจะได้ง่าย....ข้อนี้ผมเห็นด้วย....เพราะคนที่ไม่ค่อยได้ศึกษามามากนั้น....และมีลักษณะอย่างนั้น....และประกอบด้วยมีความเพียร....จะเป็นผู้เรียนรู้กรรมฐานได้ไว.....แต่ก็มีข้อเสียอย่างหนึ่งเหมือนกันกล่าวคือ.....ถ้าเกิดว่าไปเจอครูบาอาจารย์ที่ไม่เข้าใจ....หรือแนะนำผิดทางก็จะผิดทางไปเลยตั้งแต่ต้น....รังให้เสียประโยชน์และเวลาที่ได้ปฏิบัติมาและอาจจะเสียเวลาไปเลยชาติหนึ่งที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา.....และอีกอย่างบุคคลที่จะยึดครูบาอาจารย์อยู่เสมออย่างนี้...และเป็นผู้ที่ไม่ชอบที่จะศึกษาต่อ...ศึกษาเอง...ประเภทนี้..มักจะเป็นบุคคลที่จะช่วยตัวเองไม่ได้ในอนาคต...จะต้องมีบุคคลที่คอยกำกับคอยขนาบอยู่เสมอ....จึงจะทำได้สำเร็จ.....

    แต่ในขณะของบุุคลอีกบุคคลหนึ่งที่เป็นผู้ที่มีสุตตะมากเป็นผู้ที่รับฟังมาก...ศึกษามาก....ผมก็มีความเห็นด้วยกับท่าน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Sriaraya5<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4368092", true); </SCRIPT> คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นธรรมที่ต้องเกื้อหนุนกัน.....แต่บุคคลที่ฟังมากศึกษามาก....ก็มีข้อเสียอีกก็คือ บุุคคลที่ชอบแต่ศึกษาแต่ไม่ได้ปฏิบัติ ความรู้มีมากเกินไปและไม่ละวาง....ก็เป็นข้อหนึ่งเมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริงๆ....เกิดความสงสัยมาก...หรือการศึกษามากไป....ก็เป็นเหตุอีกอย่างคือ...ถ้าต้องการจะปฏิบัติจริงๆ....จะหาต้นทางแห่งการปฏิบัติของตนเองได้ยาก....พูดง่ายๆก็คือ....ศึกษามากและไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากที่ตรงใหนดี.....เมื่อเริ่มแล้วก็มีความสงสัยอีกว่า...ถูกไม...ใช่ใหม...อีก...ต่อไป.....อย่างนี้....บุคคลอย่างนี้....ในอนาคตนั้น....จะสามารถพึ่งตัวเองได้...ครูบาอาจารย์ไม่ต้องพูดอะไรมาก..ไม่ต้องลำบากในการสอน...ถ้ามีศรัทธาและเชื่อฟังครูบาอาจารย์เมื่อปฏิบัติจนสำเร็จ...ก็จะเป็นผู้ที่มีความรู้มากและกว้างขวางดุจกัน......

    บุุคคลทั้งสองรูปแบบนี้อาจเทียบได้กับพระมหาเถระตัวอย่างสองท่านคือพระโมคคัลลานะและท่านพระสารีบุตร.....

    ๑.ท่านพระโมคคัลลานะ ออกจะเป็นบุคคลในแบบแรก ศึกษาธรรมจากพระพุทธเจ้า ปฏิบัติจนสำเร็จ บรรลุธรรมก่อนพระสารีบุตร เป็นพระมหาเถระเจ้าที่เป็นเลิศทางด้านฤทธิ์

    ๒.ท่านพระสารีบุตร เป็นบุคคลในแบบหลัง ศึกษาธรรมจากพระพุทธเจ้า ใช้วิธีการใคร่ควรค้นหา บรรลุธรรมช้ากว่าพระโมคคัลลานะ แต่เมื่อบรรลุแล้ว เป็นพระมหาเถระที่เป็นเลิศด้านปัญญามาก.....

    ดีทั้งสองท่าน ดีไม่เหมือนกัน....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2011
  10. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    เรียนอภิธรรม แหม๋ดวงจิตมันเยอะจัง เท่านั้นดวง เท่านี้ดวง

    เจตสิก 108 1009 ดวง งงอ่ะครับ ชอบแบบจิตดวงเดียว สบายใจดี

    อารมณ์โกรธ มาก็รู้เท่าทัน อามรณ์หลงมาก็รู้เท่าทัน แบบนี้สบายใจกว่า

    ผมมาก็คนเดียว เกิดคนเดียว ตายคนเดียว เจ็บไข่ได้ป่วยก็เป็นอยู่คนเดียว

    แล้วก็มีจิตดวงเดียว

    จิตหลายๆดวงมันงงนิครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ข้อเสียอีกอย่างของคนที่ชอบที่จะศึกษาและการศึกษานั้น....ตนเองไม่ได้นำไปปฏิบัติให้เกิดผลเลย.....และไม่ได้เป็นผู้มีความศรัทธา....และไม่พยายามให้การปฏิบัตินั้นเกิดขึ้น......บุคคลประเภทนี้ ครูบาอาจารย์ท่านเทียบว่าเป็นช้อนไม่รู้รสแกง หลวงพ่อชา ท่านเทียบเป็น หมาเฝ้ากองเข้าสาร กล่าวคือ ความดีที่ได้ศึกษาแต่ไม่ได้ปฏิบัติให้เกิดผล และหากประกอบด้วยทิฏฐิมานะอีก.....บุคคลประเภทนี้ก็เป็นบุคคลที่อาภัพมากกว่าบุคคลใดๆ....เช่นกัน.....เพราะการศึกษานั้นไม่ได้ก่อประโยชน์แถมมีทิฏฐิมานะ....ไม่พยายามก่อประโยชน์นั้นให้เกิดขึ้นอีก...อาจถือได้ว่าเสียชาติเกิดไปอีกชาติที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา.....

    บุคคลประเภทนี้ก็มีอยู่มากเช่นกัน.....
     
  12. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863

    ชอบแบบนี้อ่ะครับ ง่ายๆดี ศัตรูเราก็คือ กิเลส เป้าหมายก็คือทำลายกิเลส

    ไม่ไ่ช่ไปแยกโมเลกุลกิเลส ทำเพื่อ???
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    ดีแล้ว พระอภิธรรม จะเรียนให้รู้ซึ้งได้ยาก จริงๆแล้วเหมาะไว้ให้แตกฉานในประเภทปฏิสัมภิทาญาณ
    แต่ที่เรียนๆกันก็มีเอาไว้เลื่อนยศกันมากมาย
    เรื่องของจิตอีกอย่าง จิตนะมีดวงเดียว ส่วนสติ ความนึกคิด หรือที่ว่า จิต 108 1009 นั้นเรียกว่า "อารมณ์"
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ส่วนตัวผมนั้นก็ได้ศึกษาอภิธรรมมาบ้าง....และตอนนี้ก็ยังศึกษาอยู่....ยังไม่จบ.....

    ส่วนตัวผมเห็นมาการศึกษาอภิธรรมนั้น.....เป็นเรื่องที่ดีนะครับ.....อาจเรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีมากเช่นกัน....เพราะเราสามารถรู้ได้ถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และ นาม......ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกื้อหนุนเราและทำให้เรามีความเข้าใจในสิ่งต่างๆ....ไม่ว่าในด้านต่างๆรอบกาย ตลอดจนการดำเนินของจิต การเข้าใจในเรื่องของจิต การเข้าในในเรื่องของภพ....และการเข้าใจในเรื่องของธรรม.....เข้าใจตามความเป็นจริง....เข้าใจในส่วนของปรัชญา ทฤษฏีและหัวใจของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง......

    แต่การศึกษาอภิธรรมนั้นต้องยอมรับว่า....ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลยเช่นกัน....๙ ปริเฉท ปวดหัวใช่ย่อย......

    แต่ถ้าเรานำมาพูดถึงเรื่องการปฏิบัตินั้น....อภิธรรมจะช่วยได้มากเลยนะครับ....เพราะเราเข้าใจในเรื่องของการดำเนินตามที่ผมกล่าวไปแล้วนั้น.....แต่ในการปฏิบัตินั้น....หลวงพ่อชา ท่าน แนะนำว่า ในการปฏิบัติ เหตุผลจำเป็นคือเราต้องปล่อยวางได้และเข้าใจ....การที่เราแบกไปทั้งอภิธรรมบางครั้งก็เป็นสิ่งที่หนักใช่ย่อยเช่นกัน เราควรที่จะยกเอาสิ่งนั้น วางไว้บนโต๊ะ...แต่ไม่ได้เก็บตายอยู่บนตู้...เมื่อมีความสงสัยหรือต้องการศึกษาเพิ่มเติมนั้น....เราก็มาเปิดอ่านได้เสมอ.....เป็นการศึกษาแบบ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ซึ่งสามสิ่งนี้....ก็ต้องเวียนเป็นวงกลม...เป็นสายต่อไป.....จนกว่าว่าเราจะเป็นบุุคคลที่ไม่ต้องศึกษาอะไรอีก....

    ข้อดีมีมากนะครับ.....ต้องโมทนากับท่าน จขกท.. ในกุศลเจตนานะครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2011
  15. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    ไม่เสมอไป แล้วแต่จริตของแต่ละบุคคล จึงต้องแบ่งกรรมฐาน 40 ตามแต่ละจริตไง
    เรียนมากจำได้มากก็มีดี เรียกว่า พหูสูตร อย่างพระเจ้ามิลิน
     
  16. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    ส่วนตัว................ ศึกษามากแต่เน้นทุกคำย้ำที่เหตุผล
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ในข้อธุดงค์วัตรในพระสูตร จะมีการระบุว่า ก่อนจะออกสู่ราวป่า ก่อนจะจาริกออกไป
    จากสำนัก ให้ศึกษาอภิธรรมก่อน

    ตรงนี้ หากข้อวินัยนี้ ถูกรักษาไว้ จะเกิดอะไรขึ้น

    จะเกิด กรณีที่ มีคนศึกษาปริยัติแล้วมีทิฏฐิแรงกล้า เดินเข้ามาถาม ภิกษุผู้ปฏิบัติ
    นั้นเพื่อให้ทราบนัยยะปฏิบัติ

    ปัญหาเกิดทันที คือ ผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นคำถามนั้น เพราะไม่เคยสดับมา
    ก่อน เมื่อไม่ได้สดับมา ย่อมแก้ปัญหาให้ผู้มาถามไม่ได้

    พอแก้ไม่ได้ ก็จะปรามผู้มาถามว่า เธอ ให้ทิ้งศัพท์ที่เธอเรียนมานั้นไว้ก่อน แล้ว
    มาฟัง บัญญัติใหม่ของมหาสาวกคนนี้ เราปฏิบัติจริง พูดจริงได้แน่นอน แต่เธอ
    ต้อง ฟังคำของเรา แล้วเอาไปใช้แทนคำของตถาคต

    หากคนที่ไปถามนั้น เห็นศีลวัตรภิกษุบริบูรณ์ดี ก็จะรับคำของสาวกนั้นมาแทน
    พุทธวัจนะทั้งหมด และจะสืบทอดวิธีการพูดของครูตนนั้นไว้ตราบนานเท่านาน
    ด้วยความทราบซึ้งในครูตนเป็นที่สุด ถ่านทอดการทิ้งธุระในการรักษาพุทธวัจนะ
    จากรุ่นสู่รุ่น

    เมื่อนั้น พุทธวัจนะในสำนักนั้นๆ จะหยั่งลงไปไม่ได้อีก หยั่งลงได้ก็แค่ คำสองสาม
    คำ หากเขาได้ยินใครมาพูดพุทธวัจนะ ก็จะกล่าวกีดกันด้วยการยกความปฏิบัติจริง
    เข้าถึงนิพพานจริง แทนการกล่าวอ้างคุณธรรมทั้งหมดของตถาคต ตถาคตจะหยั่ง
    ลงไปในสำนักนั้นก็แค่มโนภาพ หรือไม่ก็รูปปั้นอันวิจิตร

    ก็ลองพิจารณาดู ว่าอะไรควรรักษาไว้กันแน่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2011
  18. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    การศึกษาเรียนรู้พระสัทธรรมทั้งหลายต่างรวมลงที่รู้เพื่อละและเพื่อไม่ให้มีความยึดมั่นถือมั่นว่าตนว่าเราว่าเขาว่านั่นว่านี่หรือว่าสิ่งนั้นๆสิ่งนี้ๆ เป็นธรรมดาที่คนเราเมื่อรู้สิ่งใดนั่นหมายถึงเกิดการกระทบทางจิต นี่พระสัจธรรมกล่าวไว้ เมื่อเกิดการกระทบแล้วเมื่อไม่ได้พิจารณาด้วยสติก็มักหลงลืมไปว่านั่นคืออะไร ก็ปล่อยเลยตามเลยไปบ้างแบบไม่รู้บ้างว่ามันได้เกิดขึ้นแล้วผลของการกระทบนั้นๆ พอรวมลงมาอีกก็กลายเป็น กิเลส เกิดเป็นความอยากความหลงไหล ความโกรธ ความขัดเคือง หรือภาษาที่พระเรียกกันว่า เกิดเป็น ภวตัณหาและวิภวตัณหา ทั้งสองอย่างนี้แหละเป็นเหตุให้เราทุกคนต้องสนใจศึกษาเรื่องที่มาเพื่อสละสองสิ่งนี้ออกไปให้หมด ไม่ข้องเกี่ยวหรือยึดเหนี่ยวไว้ พระท่านว่าเหตุเกิดที่ไหนก็แก้ที่นั่น เกิดที่กายก็แก้ที่กาย เกิดที่ใจก็แก้ที่ใจ แต่ในตอนแรกๆแม้จะรู้พระธรรมจากที่ไหนก็ตามแต่โดยมากยังไม่รู้แน่ว่านั่นเกิดที่ไหนกันแน่ ต่อจากนี้เป็นหน้าที่ของทุกคนว่าถ้ารู้ที่เกิดจริงๆแล้ว จะใช้อะไรแก้หรือใช้อะไรดับ....นั่นแหละคือเหตุที่มาของพระสัทธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ผมก็เป็นผู้ยังต้องศึกษาอีกมากมายมหาศาลนัก อกุศลกรรมที่ก่อไว้ทั้งหมดก็ยังไม่สิ้นและยังคงมีการสร้างต่ออีก จึงขอกราบขอเรียนให้ทุกๆท่านสนใจศึกษาในตัวธรรมด้วยปัญญา อย่าไปใช้การท่องจำ แต่ก็ควรจะต้องทราบและเรียนรู้จดจำไว้บ้างเพื่อโอกาสในการถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลังต่อไป เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า พระอริยะเจ้าทั้งหลายไม่ขาดหายไปจากโลกหากพระสัทธรรมอันได้แก่พระไตรปิฎกยังคงมีผู้ศึกษาเล่าเรียนอยู่
    สาธุกับทุกๆท่านครับ
    อนุโมทนาเป็นอย่างสูง
     
  19. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    ความหมายของเจตสิก (หมวดอภิธรรม)

    1 ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยของจิต

    2 กิจการงานของเจตสิก เกิดร่วมกับจิต

    3 ผลงานของเจตสิกคือ รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต

    4 เหตุที่ทำไห้เจตสิกเกิดขึ้นได้คือ การเกิดขึ้นของจิต

    เริ่มงง กันแล้วไช่ไหม นี่แค่น้ำจิ้มน่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 906433868.gif
      906433868.gif
      ขนาดไฟล์:
      2.6 KB
      เปิดดู:
      518
  20. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    ขอลิงค์อ้างอิงหน่อย ตรงที่ ในข้อธุดงค์วัตรในพระสูตร จะมีการระบุว่า ก่อนจะออกสู่ราวป่า ก่อนจะจาริกออกไป
    จากสำนัก ให้ศึกษาอภิธรรมก่อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...