แปลกแต่จริง! เห็นวิญญาณสมเด็จโตซ้อนในรูปเหมือนขณะถวายสังฆทานที่ชมรมสวดพระคาถาชินบัญชร

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย pongio, 14 ตุลาคม 2015.

  1. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,850
    เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม : โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระภิกษุ มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล " พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

    ท่านมีอุปนิสัยทำสิ่งใดตามความพอใจของตน ไม่ถือเอาความนิยมของผู้อื่นเป็นหลักและไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ แม้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ก็ไม่ยอมเข้าสอบเปรียญธรรม ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ แต่ท่านไม่ยอมรับ จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอดรัชกาล

    ต่อมากล่าวกันว่า พระมหาโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาสน์ไว้ที่วัดสตือ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของท่านอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดปรานพระมหาโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ.2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์พระมหาโตเป็นครั้งแรก เป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระมหาโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ.2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ "พระเทพกระวี" หลังจากนั้นอีก 10 ปี (พ.ศ.2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต"

    มีเรื่องแปลกแต่จริง! เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ถึงแม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ดูเหมือนจิตวิญญาณของท่านยังห่วงใยลูกหลาน ดังที่ข้าพเจ้าได้พบคุณป้าคนหนึ่ง (ป้า ป.ซึ่งขอสงวนนามในที่นี้) ต้องถือว่าท่านเป็นผู้ที่มีบุญเป็นอย่างมาก ที่ได้เห็นวิญญาณสมเด็จโตขณะถวายสังฆทาน คุณป้าอายุ 60 กว่าปี ท่านเป็นผู้ที่สวดคาถาชินบัญชรเป็นประจำ นั่งสมาธิและปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญคุณป้ายึดมั่น ศรัทธา และปฏิบัติตามคำสอนของสมเด็จโตเป็นอย่างมาก

    เหตุนี้เกิดเมื่อตั้งแต่ปี 2557 ถึง ปี 2558 ขณะคุณป้า ป.ได้ไปทำสังฆทานขออโหสิกรรมที่ชมรมสวดพระคาถา ชินบัญชร อาคารอริยสัจ 4 ซ.เพชรเกษม 65 เขตบางแค กรุงเทพฯ โดยสถานที่นี้จัดให้มีการถวายสังฆทานขออโหสิกรรม ทุกวันที่ 19 และอาทิตย์แรกของเดือน ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น. โดยจะกำหนดให้มีพิธีร่วมกันเป็นรอบ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. 10.00 น. 13.00 น. 14.00 น. 15.00 น. และรอบสุดท้ายเวลา 16.00 น. และโดยนิมนต์พระสายกรรมฐาน 5 รูป ถือว่าเป็นการถวายไม่เจาะจง หากถวายไม่ครบ 5 รูปในคราวเดียวถือว่าเป็นทายาททาน และการถวายสังฆทาน ณ ที่นี้จะไม่นำเครื่องสังฆทานที่ถวายพระไปแล้วมาหมุนเวียนถวายอีก แต่คณะสงฆ์ให้นำไปถวายวัด สำนักปฏิบัติธรรมที่ขาดแคลนในถิ่นทุรกันดาร

    ขั้นตอนการถวายสังฆทานที่อาคารอริยสัจสี่ ผู้ร่วมถวายสังฆทานจะร่วมบำเพ็ญจิตภาวนาให้จิตสงบนิ่งก่อน เพื่อให้เกิดเจตนาน้อมในบุญจริงๆ ในการถวายสังฆทาน ในขณะที่คุณป้า ป.ท่านนี้กำลังถวายสังฆทานด้วยจิตที่สงบและตั้งมั่น ได้มองเห็นวิญญาณสมเด็จโตองค์ท่านซ้อนอยู่ในรูปเหมือนและยื่นมือมาเพื่อรับสังฆทานที่คุณป้า ป.กำลังถวาย ทำให้คุณป้า ป.รู้สึกขนลุกซู่ไปทั้งตัว (ยืนยันว่าเห็นหลายครั้ง) พร้อมทั้งคิดว่าชั่วชีวิตนี้จะไม่มีวันลืมเรื่องราวที่เป็นสิริมงคลที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้เลย!!!

    หากใครไปที่อาคารอริยสัจสี่อาจมีโอกาสพบตัวจริงคุณป้าท่านนี้ (ชื่อย่อของท่านคือ ป้า.ป) ที่อาคารอริยสัจสี่ ยังเป็นสถานปฏิบัติธรรม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรัตนะ พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมมติและพระธาตุสำคัญของสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย, พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระแม่กวนอิม), สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ (หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด) เสด็จพ่อท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

    อนึ่ง ทุกวันอาทิตย์เวลา 13.00 น. ถึง 15.00 น. มีการปฏิบัติบูชาและอธิษฐานบูชา (สวดมนต์นั่งสมาธิ กรรมฐานแนวสมเด็จโต) ถวายเป็นพุทธบูชาและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศา นุวงศ์ ผู้สนใจจะไปถวายสังฆทานขออโหสิกรรมหรือปฏิบัติบูชาอธิษฐานบูชา ติดต่อสอบถามไปได้ที่สถานปฏิบัติธรรมอาคารอริยสัจสี่ (ชมรมสวดพระคาถาชินบัญชร) ซึ่งตั้งอยู่ที่ เลขที่ 51 ซอย 65 ถนนเพชรเกษม เขตบางแค กรุงเทพฯ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทร.0-2421-0489

    บรรยายใต้ภาพ
    รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ณ อาคารอริยสัจสี่
    ก่อนถวายสังฆทานพระสงฆ์จะให้ศีลและนำบำเพ็ญจิตภาวนา
    ญาติโยมรับศีลจากพระสงฆ์
    พิธีถวายสังฆทานหน้ารูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
    ญาติโยมมาถวายสังฆทาน
    วันอาทิตย์ต้นเดือน และทุกวันที่ 19 ถวายสังฆทาน เป็นประจำที่อาคารอริยสัจสี่
    อาคารอริยสัจสี่

    แปลกแต่จริง! เห็นวิญญาณสมเด็จโตซ้อนในรูปเหมือนขณะถวายสังฆทาน...
     
  2. thontho

    thontho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +612
    เคยได้ยินว่า สมเด็จโต วิญญาณตัวจริงมาทำงานอยู่ที่นี่ (สำนักปู่สวรรค์ อาคารอริยสัจสี่ )ที่เล่ามา ก็เป็นเรื่องจริงซิ ประหลาดมาก แสดงว่าที่นี่ของจริง และท่านบอกว่า ท่านมารับสังฆทานเองและไปเจรจากับเจ้ากรรมนายเวรให้จึงได้ผลกว่าที่อื่น เสียดายที่คนทั่วไปไม่รู้
     

แชร์หน้านี้

Loading...