พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนา เลื่อน และแต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ประจำปีพุทธศักราช 2553 จำนวน 67 รูปเนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 5 ธ.ค. 2553 การสถาปนาและตั้งสมณศักดิ์เป็นการประกาศให้ปวงชนสำนึกพระบารมีในพระองค์ที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภ์ และทรงเป็นพุทธมามกะ ช่วยส่งเสริมคณะสงฆ์และพระพุทธศาสนาให้มั่นคงยั่งยืน เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนา เลื่อน และแต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ประจำปีพุทธศักราช 2553 จำนวน 67 รูป เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 5 ธ.ค. 2553 คือสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ 2 รูป รองสมเด็จพระราชาคณะ 4 รูป พระราชาคณะชั้นธรรม 4 รูป พระราชาคณะชั้นเทพ 8 รูป พระราชาคณะชั้นราช 15 รูป พระราชาคณะชั้นสามัญ 34 รูป พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธัมมจารี) ทั้งนี้ พระสงฆ์ทั้ง 67 รูป จะเข้ารับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 5 ธ.ค. 2553 สมเด็จ 2 รูป ได้แก่ 1.พระวิสุทธาธิบดี (วีระ ภัททจารี ป.ธ. 9) วัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ 2.พระพรหมเมธี (สมชาย วรชาโย ป.ธ. 8) วัดเทพศิรินทราวาส เป็น สมเด็จพระธีรญาณมุนี สมเด็จวัดสุทัศน์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ป.ธ. 9) อายุ 80 ปี พรรษา 60 เกิดวันที่ 26 ม.ค. 2473 ณ บ้านป่าฝ้าย หมู่ 4 ต.เขาแล้ง อ.เมือง จ.ราชบุรี เรียนจบชั้นประถมจากโรงเรียนประจำ ต.เขาแร้ง ต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนเพิ่มวุฒิ แต่ได้แค่ ม.2 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประกอบกับป่วยหนักจึงลาออกจากโรงเรียนมาเป็นศิษย์วัดท้ายเมือง เมื่ออายุ 16 ปี ได้บรรพชาที่วัดเขาสะดึง แต่ไปสังกัดวัดโสดาประดิษฐาราม และย้ายมาอยู่กับพระมหาพลอย หรือต่อมาคือพระวิสุทธิวงศาจารย์ ป.ธ. 9 วัดเทพธิดาราม เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2489 ที่กรุงเทพฯ ขณะเป็นสามเณรสอบ ป.ธ. 6 ได้เข้ารับการอุปสมบทที่วัดเทพธิดาราม เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2494 สอบ ป.ธ. 9 ได้ พ.ศ. 2504 ย้ายมาอยู่วัดสุทัศนเทพวราราม พ.ศ. 2507 การมาอยู่วัดสุทัศน์ เพราะพระมหานิยม ป.ธ. 9 หรือสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ในปัจจุบัน แนะนำให้เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ (หลวงพ่อเสงี่ยม) สมัยนั้นนิมนต์มา เมื่อพระมหาวีระรับและได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดจึงย้ายมาอยู่วัดสุทัศน์ตามฤกษ์ยามที่นายชวน จนิษฐ์ เปรียญวัดสุทัศน์ คำนวณฤกษ์ให้ว่าต้องเดินทางเวลา 15.22 น. วันที่ 5 ก.ค. 2507 จึงจะอุดมดี นับแต่นั้นได้อยู่ประจำวัดสุทัศน์ จนกระทั่งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. 2527 ปัจจุบันพักอยู่คณะ 11 แต่จะรับแขกที่ศาลาภัททจารี การเป็นสมเด็จพระราชาคณะ เป็นไปตามลำดับอาวุโส เพราะเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 อยู่อันดับที่ 1 ในบรรดารองสมเด็จฝ่ายมหานิกาย 13 รูป สมเด็จหนุ่มวัดเทพศิรินทร์ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ. 8) กรรมการมหาเถรสมาคม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ เมื่อเดือน เม.ย. 2553 ทำบุญอายุวัฒนะครบ 63 ปี เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2553 เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ จึงเป็นสมเด็จอายุน้อยที่สุดในขณะนี้ สถานะเดิมชื่อ สมชาย นามสกุล พุกพุ่มพวง เกิดวันที่ 22 ต.ค. 2490 ที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เคยบรรพชาที่วัดท่าตำหนัก พ.ศ. 2501 แล้วย้ายมาอยู่วัดเทพศิรินทร์ พ.ศ. 2509 และอุปสมบท พ.ศ. 2510 เรียนจบ ป.ธ. 8 เป็นรองสมเด็จที่อาวุโสอันดับ 1 จาก 6 รูป ในสายธรรมยุต ปาฏิหาริย์ในวงการสงฆ์ แต่เดิมมีประกาศสถาปนารองสมเด็จเพียง 3 รูป แต่เพิ่มอีก 1 รูปแบบปาฏิหาริย์จึงเป็น 4 รูป โดย นพรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธฯ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์รองสมเด็จพระราชาคณะเพิ่มอีก 1 รูป ได้แก่ พระธรรมปริยัติโสภณ วัดโมลีโลกยาราม เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นพระพรหม สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) รองสมเด็จ 3 รูปแรกที่ประกาศไปแล้ว คือ 1.พระธรรมกิตติเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธ.) เป็นพระพรหมเมธี 2 พระธรรมวรเมธี (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธฯ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค 14-15 (ธ.) กรรมการ ศ.ต.ภ. และเลขานุการแม่กองธรรมสนามหลวง เป็นพระพรหมมุนี 3.พระธรรมคุณาภรณ์ (เอื้อน หาสธมฺโม) วัดสามพระยา เจ้าคณะภาค 14 เป็นพระพรหมดิลก พระพรหมกวี รูปที่ 4 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทีหลังคือ พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม เจ้าคณะภาค 10 เป็นพระพรหมกวี จึงมาทำความรู้จักวัดและเกียรติประวัติรองสมเด็จฯ ที่มาแบบปาฏิหาริย์ ตามข้อมูลที่ได้มาดังนี วัดโมลีโลกยาราม เดิมชื่อวัดท้ายตลาด เคยอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวังสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ปัจจุบันมีที่ตั้งค่อนข้างลับตา อยู่ที่ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600 (โทร. 02-891-0602 หรือ 08-9660-1464) จะเข้าไปวัดนี้ต้องตั้งใจ มิเช่นนั้นจะขึ้นสะพานเลยไปวัดกัลยาณมิตร ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของคลองบางหลวง พระพรหมกวี (วรวิทย์) อายุ 78 ปี เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกเป็นพระเถระที่มีอารมณ์กวี แต่งโคลงกลอนและนิราศไว้มากมาย สถานะเดิมชื่อว่า วรวิทย์ นามสกุล ธรรมวรางกูร เกิดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2476 ที่บ้านหนองบัว ต.นนทรี อ.เมืองกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2496 ที่วัดอินทรแบก อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี จบชั้นประถมปีที่ 4 นักธรรมเอกและสอบ ป.ธ. 8 ได้ใน พ.ศ. 2506 สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ส่วนสมณศักดิ์ เป็นพระศรีสุธรรมมุนี เมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นพระราชเมธี พ.ศ. 2523 เป็นพระเทพปริยัติสุธี พ.ศ. 2539 เป็นพระธรรมปริยัติโสภณ เมื่อ พ.ศ. 2545 และชั้นรองสมเด็จที่พระพรหมกวี พ.ศ. 2553 แต่เดิมนั้นอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2540 เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพปริยัติสุธี ในฐานะเจ้าอาวาส นักประพันธ์ และนักวิชาการ จึงบันทึกรายละเอียดเรื่องพระภิกษุสามเณรจำพรรษา ณ วัดโมลีโลกยารามไว้เป็นหนังสือ 1 เล่ม เล่าเรื่องการมาอยู่วัดโมลีโลกฯ ว่ามีพระอนุจรตามมาด้วย 19 รูป จำนวนพระภิกษุสามเณรจึงเพิ่มมากขึ้น สรุปว่าใน พ.ศ. 2540 ปีแรกที่มาเป็นเจ้าอาวาสมีพระเณรจำพรรษา 52 รูป ปี 2541 เพิ่มเป็น 75 รูป ล่าสุดปี 2553 มีพระเณรจำพรรษา 172 รูป (เป็นพระ 75 รูป สามเณร 97 รูป) พระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์ ป.ธ. 9) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ใหญ่สำนักเรียน และเป็นพระอนุจรที่ติดตามมาจากวัดมหาธาตุฯ เล่าว่า พระพรหมกวีมีความเป็นอัจฉริยะหลายด้าน โดยเฉพาะมีความจำเป็นเลิศ มีความสามารถสูง จบเพียงชั้นประถมปีที่ 4 แต่สามารถเขียนหนังสือให้ผู้ที่มีความรู้ระดับปริญญาตรี โท เอก อ่านได้สบาย โดยเฉพาะวิชาเลขานุการของท่านนั้นดังทั่วสังฆมณฑล ท่านมีปฏิปทาตั้งมั่น มักน้อยสันโดษ เป็นอยู่แบบพระโบราณ มีความสุขในการปฏิบัติธรรม และมีอารมณ์ผ่อนคลาย เมื่อได้แต่งกลอน เรื่องวัตรปฏิบัตินั้น ท่านเป็นตัวอย่างของพระภิกษุสามเณรในวัดทุกอย่าง เช่น ไม่ละเว้นสังฆกรรม จะลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์ไม่เคยขาด เว้นแต่อาพาธ อีกทั้งสามารถสวดปาติโมกข์ได้แม้จะอายุพรรษาจะมากก็ตาม ที่สร้างชื่อเสียงให้ท่านมากที่สุดคือส่งเสริมการศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณรจนเป็นที่ยอมรับในสังฆมณฑลว่าอยู่ในชั้นแนวหน้า นักเรียนบาลีในสำนักนี้สอบได้ทุกชั้น และเป็นจำนวนมากทุกปี จนกระทั่งได้รับรางวัลบริหารสำนักเรียนดีเด่นของกรุงเทพมหานครติดต่อกันมา 2 ปี เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์สำหรับผู้ได้ยินได้ฟังมาก ที่พระเณรและครูอาจารย์สำนักเรียนวัดโมลีโลกฯ 100 กว่ารูปอยู่ได้ด้วยอาหารบิณฑบาตเท่านั้น เมื่อบิณฑบาตแต่ละวันจะแบ่งฉันตอนเช้า และเก็บไว้ฉันเวลาเพลอีกหนึ่งมื้อ ทุกรูปดำรงชีวิตแบบสมถะ แต่เรียนเก่งเช่นนี้มาตลอด จนทำสถิติว่าเป็นสำนักเรียนที่มีผู้สอบได้มากที่สุดแห่งหนึ่ง พระเณรนักเรียนร้อยกว่ารูป ถ้าหากจัดงบประมาณเลี้ยงวันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท แต่ทางวัดไม่มีทุน เพราะเป็นสำนักเรียนยากจน แต่อยู่อย่างทระนง แต่ถึงกระนั้นก็มีจิตใจเพื่อสาธารณะ เป็นห่วงพระเณรสำนักอื่นจะอ่อนทางวิชาการ จึงจัดอบรมบาลีก่อนสอบระหว่างวันที่ 5 ม.ค.-26 ก.พ. 2554 คาดว่าจะมีพระเณรประมาณ 170 รูป เข้าอบรมทั้งวัน ครั้งนี้ทางวัดต้องอาศัยให้ญาติโยมช่วยบริจาคเป็นค่าอาหารเช้า-เพล และน้ำปานะประมาณ 1.1 หมื่นบาทต่อวัน หรือเลือกเฉพาะอาหารเช้าก็ 3,000 บาท อาหารเพล 8,000 บาท |น้ำปานะ 2 มื้อ 3,000 บาท ท่านที่มีจิตศรัทธาบริจาคติดต่อที่ 08-9660-1464 (พระเมธีวราภรณ์ พระอาจารย์ใหญ่) พระพุทธมนต์วราจารย์ พระเถระอีกรูปหนึ่งที่ได้เป็นเจ้าคุณ หรือ พระราชาคณะแบบปาฏิหาริย์ หรือเหนือความคาดหมาย คือ พระครูพิมลสรภาณ พระครูคู่สวดฐานานุกรมสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี วัดมกุฏกษัตริยาราม) ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระพุทธมนต์วราจารย์ (วิ.) เป็นกรณีพิเศษ แบบที่ประชุม มส.ต้องอนุโมทนา พระพุทธมนต์วราจารย์ ฉายา เขมาราโม นามสกุล วิชยาภัย บุนนาค อายุ 73 พรรษา 46 วุฒิ น.ธ.เอก ม.6 (โรงเรียนวัดมกุฏฯ) อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2507 ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อสมเด็จพระสังฆราช (จวน) สิ้นพระชนม์ จึงย้ายมาอยู่วัดสุทัศน์ ญัตติใหม่ เป็นมหานิกายเมื่อ พ.ศ. 2514 โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ) เมื่อครั้งเป็นพระราชเมธีเป็น|พระอุปัชฌาย์ และดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูพิมลสรภาณตลอดจนกระทั่งปีนี้ได้เป็นพระราชาคณะ เมื่อเป็นฆราวาสเคยรับราชการเป็นเจ้าพนักงาน กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2507 จึงอุปสมบท สาเหตุที่อุปสมบทท่านบอกว่ารู้สึกเบื่อๆ ชีวิตฆราวาส เมื่อถามถึงนามสกุลวิชยาภัย บุนนาค ท่านเล่าว่าเป็นนามสกุลฝ่ายแม่ ส่วนนามสกุลฝ่ายพ่อคือ ณ น่าน พร้อมกับเล่าว่า วิชยาภัยเป็นชื่อเจ้าคุณทวด หรือพระยาอภัยพิพิธ (กระต่าย) ซึ่งเป็นลูกสมเด็จเจ้าพระยาอัครมหาเสนา (บุนมา) เป็นน้องของท่านบุนนาค (ท่านบุนนาคนั้นเป็นน้องเขยในรัชกาลที่ 1 จึงนับเนื่องในราชนิกุล) เมื่อรัชกาลที่ 6 พระราชทานนามสกุลให้ใช้วิชยาภัย โดยตัดจากบรรดาศักดิ์เดิมของพระยาอภัยพิพิธ และไม่ให้ทิ้งบุนนาค อันเป็นนามสกุลเดิม จึงเป็นวิชยาภัย บุนนาค การทรงสถาปนาและตั้งสมณศักดิ์เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลอย่างหนึ่ง ดังนั้นในโอกาสอันเป็นมหามงคล จึงขอเชิญชวนทุกท่านตั้งสัตยาธิษฐานถวายพระพรชัย ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงคุณอันประเสริฐ จงทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ และทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน โปรดเกล้าฯสมณศักดิ์67รูปตั้งสมเด็จใหม่2รูปรองสมเด็จ4รูป
รองสมเด็จ 3 รูปแรกที่ประกาศไปแล้ว คือ 1.พระธรรมกิตติเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธ.) เป็นพระพรหมเมธี 2 พระธรรมวรเมธี (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธฯ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค 14-15 (ธ.) กรรมการ ศ.ต.ภ. และเลขานุการแม่กองธรรมสนามหลวง เป็นพระพรหมมุนี 3.พระธรรมคุณาภรณ์ (เอื้อน หาสธมฺโม) วัดสามพระยา เจ้าคณะภาค 14 เป็นพระพรหมดิลก กราบโมทนากับพระอาจารย์-พระอุปัชฌาย์ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ