ให้ทานอย่างไร จึงจะได้ทำบุญอย่างสมบูรณ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย aprin, 18 มกราคม 2008.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    นี้ก็มาดูว่าบุญนั้นแค่ไหน การทำบุญ ท่านเรียกว่า บุญกิริยา หรือเรียกยาวว่าบุญกิริยาวัตถุ คือเรื่องของการทำบุญ ญาติโยมที่คุ้นวัดจะนึกออกว่าบุญกิริยาวัตถุมี ๓ อย่าง คือ

    ๑. ทาน การให้ เผื่อแผ่แบ่งปัน
    ๒. ศีล การประพฤติสุจริตมีความสัมพันธ์ที่ดี ไม่เบียบเบียนกัน
    ๓. ภาวนา ฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ เจริญปัญญา

    ทานก็เป็นบุญอย่างหนึ่งศีลก็เป็นบุญอย่างหนึ่งภาวนาก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง และสูงขึ้นไปตามลำดับด้วย ศีลเป็นบุญที่สูงกว่าทานภาวนาเป็นบุญที่สูงกว่าศีล แต่เราสามารถทำไปพร้อมกันทั้ง ๓อย่าง

    เหตุใดจึงเรียกการถวายของแก่พระที่วัดว่าเป็นการทำบุญแต่ให้แก่ชาวบ้านเรียกว่าเป็นทานเฉย ๆ เรื่องนี้อาจจะเกิดจากการที่ว่าเวลาเราไปถวายพระที่วัด เราไม่ใช่ถวายทานอย่างเดียวเท่านั้นคือในเวลาที่เราไปถวายสิ่งของเครื่องไทยธรรม หรือทำอะไรที่วัดนั้นนอกจากทานเป็นอย่างที่ ๑ แล้ว

    ๒.ศีลเราก็ได้รักษาไปด้วย คือเราต้องสำรวมกาย วาจาอยู่ในระเบียบแบบแผนวัฒนธรรมประเพณี เรื่องมารยาท อากัปกิริยา และการสำรวมวาจาต่างๆ นี้เป็นศีลทั้งสิ้น และเวลานั้นเรางดเว้นความไม่สุจริติทางกายวาจาความไม่เรียบร้อย การเบียดเบียนทุกอย่างทางกายวาจา เราละเว้นหมดเราอยู่ในกายวาจาที่ดีงาม ที่ประณีต ที่สำรวม ที่ควบคุม นี่คือเป็นศีล

    ๓. ในด้านจิตใจ จะด้วยบรรยากาศของการทำบุญก็ตามหรือด้วยจิตใจที่เรามีความเลื่อมใสตั้งใจไปด้วยศรัทธาก็ตาม จิตใจของเราก็ดีงามด้วยเช่น มีความสงบ มีความสดชื่น เบิกบาน ผ่องใส มีความอิ่มใจตอนนี้เราก็ได้ภาวนาไปด้วยยิ่งถ้าพระได้อธิบายให้เข้าใจในเรื่องการทำทานนั้นว่าทำเพื่ออะไร มีประโยชน์อย่างไรสัมพันธ์กับบุญหรือการปฏิบัติธรรมอื่น ๆ อย่างไร ฯลฯ เรามองเห็นคุณค่าประโยชน์นั้นและมีความรู้ ความเข้าใจธรรม เข้าใจเหตุผลต่าง ๆ มากขึ้นเราก็ได้ปัญญาด้วย

    ด้วยเหตุที่ว่ามานี้ ก็จึงกลายเป็นว่าเมื่อเราไปที่วัดนั้น แม้จะไปถวายทานอย่างเดียว แต่เราได้หมดทุกอย่าง ทานเราก็ทำศีลเราก็พลอยรักษา ภาวนาเราก็ได้ทั้งภาวนาด้านจิตใจและภาวนาด้านปัญญา

    เพราะฉะนั้น เมื่อเราไปที่วัดถ้าเราปฏิบัติถูกต้อง เราจึงไม่ได้ถวายทานอย่างเดียว แต่เราได้มาครบตอนแรกเราตั้งใจไปถวายทานอย่างเดียว แต่เมื่อไปแล้ว เราได้มาครบทั้งสามที่นี้เราจะบอกว่า เราไปถวายทานมา เราก็พูดไม่ครบ ก็เลยพูดว่าเราไปทำบุญเพราะว่าเราได้ทั้งสามอย่างที่ว่ามานี้ก็เป็นเหตุให้การถวายทานอย่างเดียวกลายเป็นมีความหมายเป็นทำบุญ (ครบทั้งสามอย่าง)

    เมื่อโยมเข้าใจอย่างนี้แล้ว ต่อไป เวลาไปถวายทานที่วัดก็ต้องทำให้ได้บุญครบทั้ง ๓ อย่าง คือถวายทานอย่างเดียวแต่ต้องให้ได้ทั้งศีลทั้งภาวนาด้วย อย่างนี้จึงจะเรียกว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...