(๔๑) มรดกธรรมพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 25 สิงหาคม 2011.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ครั้งที่ ๑๔๙
    บรรยายวันจันทร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๐๖
    เรื่อง

    มหาสติปัฏฐาน
    (ข้อว่า อายตนะ)
    (eek)​

    วันนี้ จะได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ว่าด้วยอายตนะ สืบต่อไป

    ถ. คำว่า อายตนะ แปลและหมายความว่าอย่างไร?

    ต. คำว่า อายตนะ แปลและหมายความได้หลายอย่าง คือ
    ๑. อายตนะ แปลว่า ที่เกิด หมายความว่าเป็นที่เกิดของบุญและบาป คือ บุญและบาปอาศัยเกิดตามอายตนะนี้ทั้งนั้น และนอกจากนี้ยังเป็นที่เกิดของจิต กับเจตสิกอีกด้วย



    ๒. อายตนะ แปลว่า ที่อยู่ หมายความว่า เป็นที่อยู่อาศัยของรูปและนาม รูปและนามอาศัยเกิดขึ้นที่นี้



    ๓. อายตนะ แปลว่า ที่ประชุม หมายความว่า เหตุปัจจัยมาประชุมกัน ณ ที่นี้ เช่น ตาเห็นรูปครั้งหนึ่งๆ ต้องประชุมพร้อมด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ จักขุปสาท รูปารมณ์ แสงสว่าง มนสิการ หูได้ยินเสียงก็ต้องประชุมพร้อมด้วยเหตุ ๔ ในทำนองเดียวกันนี้ คือ โสตปสาท สัททารมณ์ ช่องว่าง และมนสิการ จมูกได้กลิ่นก็ต้องประชุมพร้อมด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือโสตปสาท คันธารมณ์ ลมและมนสิการ ดังนี้เป็นตัวอย่าง



    ๔. อายตนะ แปลว่า ทำให้สังสารทุกข์เกิดขึ้น หมายความว่า สรรพสัตว์พากันหลงจมอยู่ในวัฏฏสงสารไม่รู้จักหนทางไปสู่มรรค ผล นิพพาน เกิดความมืดมนอนธการเพราะอวิชชาหุ้มห่อ จึงพากันก่อกรรมทำชั่วอยู่ตลอดไป เมื่อทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรม คือวิบาก เมื่อวิบากเกิดแล้วกิเลสก็เกิดอีก วนกันอยู่ในห้วงมหรรณพภพสงสารอย่างนี้ตลอดไปไม่รู้จักสิ้นสุดยุติลงได้ ทั้งนี้ก็เพราะอาศัยอายตนะเห็นเป็นเหตุ




    ถ. อายตนะ มีเท่าไร อะไรบ้าง?

    ต. อายตนะ มี ๑๒ คือ
    ๑. จักขายตนะ อายตนะ คือ ตา


    ๒. โสตยตนะ อายตนะ คือ หู

    ๓. ฆานยตนะ อายตนะ คือ จมูก

    ๔. ชิวหายตนะ อายตนะ คือ ลิ้น
    ๕. กายายตนะ อายตนะ คือ กาย
    ๖. มนายตนะ อายตนะ คือ ใจ
    ๗. รูปายตนะ อายตนะ ค้ือ รูป
    ๘. สัททายตนะ อายตนะ คือ เสียง
    ๙. คันธายตนะ อายตนะ คือ กลิ่น
    ๑๐. รสายตนะ อายตนะ คือ รส
    ๑๑. โผฏฐัพพายตนะ อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
    ๑๒. ธัมมายตนะ อายตนะ คือ ธรรมะ







    ถ. อายตนะ ๑๒ นี้ เป็นรูปอย่างไร เป็นนามเท่าไร?
    ต. อายตนะ ๑๒ เป็นรูป ๑๐ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ, เป็นนาม ๑ คือใจ, เป็นทั้งรูปทั้งนามมี ๑ คือ ธัมมายตนะ ธัมมายตนะนั้น ได้แก่เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน ๑ เจตสิกกับนิพพานเป็นนาม สุขุมรูป ๑๖ เป็นรูป

    ถ. อายตนะ ๑๒ ย่อให้สั้นเหลือเท่าไร อะไรบ้าง?
    ต. ย่อให้สั้นในหลักปริยัติเหลือ ๒ คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ ถ้าย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติมี ๒ คือ รูปกับนาม

    ถ. เมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอก กระทบกันนั้น อะไรเกิดขึ้น?
    ต. รูปนาม กับสังโยชน์เกิดขึ้น

    ถ. สังโยชน์แปลและหมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร อะไรบ้าง?
    ต. สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ หมายความว่า สัตว์ทั้งหลายพากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ก็เพราะถูกกิเลสคือสังโยชน์ผูกไว้เสมือนหนึ่งเชือกที่ผูกโยงสัตว์ไว้ หรือผูกวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ไม่ให้หลุดออกไป ฉะนั้น


    สังโยชน์ นั้นมีอยู่ ๑๐ อย่างคือ กามราคะ ภวราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ สีลัพพัตตปรามาส วิจิกิจฉา อิสสา มัจฉริยะ และอวิชชา

    ๑. กามราคสังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือความกำหนดติดอยู่ในกามคุณ ๕ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ในโลภมูลจิต ๘ ดวง
    ๒. ภวราคสังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือ ความกำหนัดติดอยู่ในรูปภพ อรูปภพ หรือรูปฌาน อรูปฌาน องค์ธรรมได้แก่โลภเจตสิก ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ดวง



    ๓.ปฏิฆสังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือความโกรธ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิกใน โทสมูลจิต ๒ ดวง



    ๔. มานสังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือมานะ ความเย่อหยิ่งถือตัว องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
    ๕. ทิฏฐิสังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวง
    ๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือการปฏิบัติผิด องค์ธรรม ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวง
    ๗. วิจิกิจฉาสังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือความสังสัย ลังเลใจในสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ ดวง
    ๘. อิสสาสังโยชน์ กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือความริษยาในคุณงามความดีของผู้อื่น องค์ธรรมได้แก่ อิสสาเจตสิก ในโทสมูลจิต ๒ ดวง
    ๙. มัจฉริยสังโยชน์ กิเลสเป็นเครื่องผุกสรรพสัตว์ไว้ คือความตระหนี่หวงแหนในสมบัติหรือคุณความดีของตน องค์ะรรมได้แก่ มัจฉริยเจตสิก ในโทสมูลจิต ๒ ดวง
    ๑๐. อวิชชาสังโยชน์ กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือความโง่ ความหลง ไม่รู้ตามความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ในอกุศลจิต ๑๒ ดวง


    ถ. จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร จึงจะไม่ให้สังโยชน์เหล่านี้ผูกไว้ได้?
    ต. มีอยู่วิธีเดียวเท่านั้น คือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนได้มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ สังโยชน์เหล่านี้จะผูกไม่ได้เลย เพราะละได้โดยเด็ดขาดแล้ว

    ถ. เมื่ออิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่าปรารถนามากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้สึกอยากด้ชอบใจ จัดเป็นสังโยชน์ข้อไหน?
    ต. จัดเป็นกามราคสังโยชน์


    ถ. ถ้าอนิฏฐารมณ์มาปรากฏ รู้สึกไม่ชอบใจ จัดเป็นสังโยชน์ข้อไหน?
    ต. จัดเป็น ปฏิฆสังโยชน์

    ถ. เมื่อมีความสำคัญว่า เรานี้แหละว่า คนอื่นสู้เราไม่ได้ อย่างนี้จัดเป็นสังโยชน์ข้อไหน?
    ต. จัดเป็นมานสังโยชน์

    ถ. เมื่อมีความเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงามและเป็นของยั่งยืน จัดเป็นสังดยชน์ขั้อไหน?
    ต. จัดเป็นทิฏฐิสังโยชน์

    ถ. เมื่อมีความสงสัยเกิดขึ้นว่า พระพุทธเจ้ามีจริงไหมหนอ พระธรรม พระสงฆ์ มีจริงไหมหนอ ดังนี้ เป็นต้น จัดเป็นสังโยชน์ข้อไหน?
    ต. จัดเป็นวิจิกิจฉาสังโยชน์

    ถ. เมื่อสมาทานศีลและวัตรอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถอนผมด้วยเสี้ยนตาล หรือถอนด้วยเล็บ และกองทานเป็นต้น โดยเข้าใจว่า จะถึงนิพพานด้วยศีลและวัตรอย่างนี้ จัดเป็นสังโยชน์ข้อไหน?
    ต. จัดเป็นสีลัพพตปรามาทสังโยชน์

    ถ. เมื่อเห็นคนอื่นเขาดีกว่าแล้ว มีจิตคิดไม่อยากให้เขาได้ดีดังนี้ จัดเป็นสังโยชน์ข้อไหน?
    ต. จัดเป็นอิสสาสังโยชน์

    ถ. เมื่อความหึงหวงรูปารมณ์เป็นต้น ที่ตนได้แล้วเกิดขึ้น จัดเป็นสังโยชน์ข้อไหน?
    ต. จัดเป็นมัจฉริยสังโยชน์

    ถ. เมื่ออารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นแล้วไม่มีสติกำหนดรู้ จัดเป็นสังโยชน์ข้อไหน?
    ต. จัดเป็นอวิชชาสังโยชน์

    ถ. ข้อว่า ยถา จ อนุปนฺนสฺส เป็นต้นนั้น หมายความว่าอย่างไร

    ต. หมายความดังนี้ คือ
    ๑. สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นโดยประการใด ก็รู้ประการนนั้น เช่น ขณะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกเย็นร้อนอ่อนแข็ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดก็สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน อย่างนี้ผู้ปฏิบัติต้องรู้ รู้แล้วต้องกันไว้ด้วยสติ คือลงมือทำ เช่นเวลาตาเห็น ภาวนาว่า เห็นหนอ ให้อยู่แค่เห็นเท่านั้น อย่าให้เลยไปถึง สมมติ บัญยัติ คือให้สติจับอยู่แค่ปรมัตถ์อย่างเดียว



    ๒. สังโยชน์เกิดขึ้นแล้ว ละได้ด้วยประการใด ก็ให้รู้ประการนั้น เช่น ละได้ด้วยตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน คือเป็นเพียงละได้ด้วยองค์ของกรรมฐานข้อใดข้อหนึ่ง เช่น พองหนอ ยุบหนอ เป็นต้น หรือละได้ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน ทุติยฌาน เป็นต้น การละโดยวิธีนี้สังโยช์ยังกำเริบได้ เพราะยังไม่ละได้โดยเด็ดขาด อย่างนี้ผู้ปฏิบัติก็ต้องทราบ



    ๓. สังโยชน์ที่ละแล้วไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยประการใด ก็รู้ประการนั้น หมายความว่า สังโยชน์ทั้ง ๕ คือ สักกายทิฏฐิ ๐ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ จะไม่เกิดอีกเลยด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติมรรค

    สังโยชน์ ๒ อย่างหยาบ คือ กามราคะอย่างหยาบ ๑ ปฏิฆะอย่างหยาบ ๑ จะไม่เกิดอีกด้วยอำนาจแห่งสกิทาคามิมรรค



    สังโยชน์ ๒ อย่างหยาบ คือ กามราคถอย่างหยาบ ๑ ปฏิฆะอย่างหยาบ ๑ จะไม่เกิดอีกด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค



    ส่วนกามราคะ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด จะไม่เกิดอีก ด้วยอำนาจแห่งอนาคามิมรรค

    มานสังโยชน์ ๑ ภวราคสังโยชน์ ๑ อวิชชาสังโยชน์ ๑ สังโยชน์ทั้ง ๓ นี้จะไม่เกิดอีกด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค





    ถ. ข้อว่า มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายในภายในอยู่ เป็นต้นนั้นหมายความว่าอย่างไร?

    ต. หมายความดังนี้ คือ
    ๑. มีปกติพิจารณาเห็นธรรม ได้แก่ พิจารณาเห็นรูปนามซึ่งเกิดขึ้นทางทวารใดทวารหนึ่ง มีจักขุทวารเป็นต้น และเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตลอดจนเกิดนิพพิทา วิราคะ วิมุติ หลุดพ้นจากอาสวกิเลสตามส่วนแห่งปัญญาของตนๆ



    ๒. ในธรรมทั้งหลาย ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖

    ๓. ในภายใน ได้แก่ อายตนะภายใน ๖

    ๔. ในภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖
    ๕. ทั้งภายในทั้งภายนอก หมายความว่า พิจารณาเห็นทั้งรูปนามของตนทั้งรูปนามของคนอื่น คือบางครั้งพิจารณารูปนามของตน บางครั้งพิจารณารูปนามของคนอื่น








    ถ. ข้อว่า เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นเป็นต้นนั้นหมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า ผู้ปฏิบัตินั้นเห็นพระไตรลักษณ์ คือถึงอุทยัพพยญาณแล้ว

    ถ. ข้อว่า ธรรมมีอยู่ นั้น หมายความว่าอย่างไร?
    ต. ข้อว่า ธรรมมีอยู่ นั้น หมายความว่า รูป นามมีอยู่ แต่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา

    ถ. ข้อว่า เพียงเพื่อรู้ เพียงเพื่อระลึก นั้น หมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า ถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว มีใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม

    ถ. ข้อว่า ไม่มีอะไรๆ อาศัยอยู่ นั้นหมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า ไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ อาศัยอยู่

    ถ. ข้อว่า ไม่ยึดมั่น ถือมั่นอะไรๆ ในโลกนั้น หมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า ไม่ยึดมั่นขันธ์ ๕ ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา

    ถ.ปฏิบัติได้อย่างนี้ชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมได้เต็มที่แล้วหรือยัง มีอะไรเป็นหลักอ้าง?
    ต. ชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมได้อย่างเต็มที่แล้ว มีหลักฐานรับรองไว้ว่า

    เอวมฺปิ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ.
    ดูกร ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร มีปกติพจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอยู่ ดังที่ได้บรรยายมาด้วยประการฉะนี้

    ถ. การกำหนดอายตนะ ๑๒ จัดเป็นอริยสัจ ๔ ได้อย่างไร?

    ต. จัดเป็นอริยสัจ ๔ ได้อย่างนี้คือ
    ๑. อายตนปริคฺคาหิกา สติ ทุกฺขสจฺจํ


    สติที่กำหนดรู้อายตนะ จัดเป็นทุกขสัจ



    ๒. ตสฺสา สมุฏฺ์ฐาปิกา ปุริมตณฺหา สมุทยสจฺจํ

    ตัณหาก่อนๆ ที่ยังสตินั้นให้เกิดขึ้น จัดเป็นสมุทยสัจ





    ๓. อุภินฺนํ อปฺปวตฺติ นิโรธสจฺจํ

    ทุกข์กับสมุทัยดับลงไป จัดเป็นนิโรธสัจ





    ๔. ทุกฺขปริชานโน สมุทยปชหโน นิโรธารมฺมโน อริยมคฺโค มคฺคสจฺจํ

    อริยมรรค กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์ จัดเป็นมัคคสัจ






    วันนี้ได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ว่าด้วยธัมมานุปัสสนา หมวดอายตนะ ๑๒ มา ก็นับว่าสมควรแก่เวลาแล้ว จึงขอยุติไว้เพียงเท่านี้
    :z8


    ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคี

    วัดนาหนองใหญ่ บ้านนาหนองใหญ่ ตำบลไร่สีสุก อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
    ในวันที่อาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔

    วัดสมานสังฆวิเวก หมู่ ๖ บ้านโนนก่อ ตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
    ในวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...