“ขาล–เสือ”ภาษิต นิทาน ตำนาน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 31 ธันวาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    “ขาล–เสือ”<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ภาษิต นิทาน ตำนาน <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แล้วปีวัว-ฉลูแสนดื้อดึงจะจากไป ปีเสือ-ขาลก็ย่างเข้าใส่โรมรันพันตูชีวิต สัตว์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพละกำลังและอำนาจตามตำราโบราณท่านว่า<o:p></o:p>
    หมอดูหลายสำนักบอกทำนองว่า ปีเสือ 2553 นี้จะเป็นปี “เสือทอง” แต่จะเป็นปีเสือทองให้ประเทศไทยมั่นคงมั่งคั่งเป็น “เสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย” เหมือนที่เราเคยวาดหวังไว้ในสมัยที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูหรือไม่ คงต้องรอดูกันต่อไป <o:p></o:p>
    เข้าปีเสือ ก็ต้องว่าด้วยเรื่องของ “เสือ” ในมิติทางวัฒนธรรม เราลองมาทำความรู้จักกันดู ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานบอกไว้ว่า “ขาล” เป็นชื่อปีที่ 3 ของรอบปีนักษัตร ที่มี “เสือ” เป็นเครื่องหมาย หากเราจะนับแบบสากล ปีเสือหรือขาลก็จะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 เป็นต้นไป แต่ถ้านับแบบจีน ปีเสือจะเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ช่วงตรุษจีน(14 กุมภาพันธ์) ถ้าแบบไทย ก็ต้องไปเริ่มเดือนเมษายนช่วงสงกรานต์ปีใหม่ ซึ่งใครจะนับอย่างไรมักเกี่ยว ข้องกับความเชื่อทางโหราศาสตร์เป็นสำคัญ<o:p></o:p>
    คนเกิดปีเสือ-ขาล ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง บอกไว้ว่า คนเกิดปีขาลเป็นพวกธาตุไม้ ผีเสื้อผู้หญิง เป็นคนเจรจากระด้าง มักพูดโอหัง ชอบเจรจาแต่เรื่องผู้หญิง และมักเจรจาตลกคะนอง ทำตัวไม่เป็นทุกข์อยู่เสมอ ชอบการช่างและเรียนวิชาความรู้ต่างๆ ทำราชการมักถูกย้ายที่อยู่เนืองๆ ทำมาค้าขายกับต่างแดน/ต่าง จังหวัดจะดี และชอบกามารมณ์ด้วย <o:p></o:p>
    ส่วนคำทำนายทั่วไป มีลักษณะเป็นผู้นำ ชอบเสี่ยง ทำก่อนคิด เป็นคนโชคดีและเอาตัวรอดได้เสมอ กล้าทำตามความเชื่อของตนเอง เป็นที่ชื่นชมของผู้อื่น แต่มักเป็นคนอารมณ์ร้อน ความรู้ สึกไวและขี้ใจน้อย <o:p></o:p>
    ตามตำราโหราศาสตร์จีน เชื่อว่าคนเกิดปีขาลดวงจะสมพงษ์กับคนเกิดปีกุน และจะไม่ถูกโฉลกหรือชงกับคนปีวอก นอกจากนี้ตำราทายฝันยังได้กล่าวไว้ หญิงชายใดฝันว่าได้ขี่เสือ ทายว่าจะมีอำนาจวาสนาหรือได้รับการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ ถ้าฝันว่า ถูกเสือกัด ทายว่า จะได้โชคลาภจากเพศตรงข้าม ถ้าฝันว่า ฆ่าเสือตาย ทายว่า จะหมดเคราะห์หรือหมดศัตรู ที่เจ็บป่วยจะหาย<o:p></o:p>
    ในเชิงสัญลักษณ์ เสือมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจ ความขลัง ความเชื่อต่างๆ ทั้งในด้านดีและร้ายมาตั้งแต่โบราณ ในด้าน ดี จีนเชื่อว่า ยันต์รูปเสือคาบดาบ สามารถขับไล่ภูตผีปีศาจ หรือสิ่งอัปมงคลต่างๆ ให้ออกไปได้ โดยนิยมติดยันต์นี้ตามหน้าบ้านและเหนือบานประตู ส่วน เขี้ยวเสือ ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันอันตราย หรือการสักลาย “เสือเผ่น” เพื่อให้หนังเหนียวฟันแทงไม่เข้า ส่วนบุคคลที่มีความเก่งกล้าหาญ ก็จะถูกขนานนามให้เป็นเสือ เช่น ทหารเสือ เสือป่า และเสือพราน เป็นต้น<o:p></o:p>
    สถานที่สำคัญ เกี่ยวกับเสือ ที่เรารู้จักกันดีในกรุงเทพฯ คือ ศาลเจ้าพ่อเสือ หรือชาวจีนเรียกว่า “ตั่วเล่าเอี้ย” ตั้งอยู่บนถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า เป็นศาลเจ้าจีนแต้จิ๋วที่เก่าแก่ มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของไทย และเป็นที่เคารพนับถือของทั้งชาวไทยและชาวจีนเป็นอย่างมาก <o:p></o:p>
    ชื่อบุคคลทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระเจ้าเสือ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 30 ของราชอาณาจักรอยุธยา ทรงถูกกล่าวขวัญว่าเป็นคนดุร้าย แต่กระนั้นก็ทรงมีเมตตาต่อพันท้ายนรสิงห์ จะไม่เอาโทษประหารนายท้ายเรือพระที่นั่ง ที่คัดท้ายเรือไปชนต้นไม้จนหัวเรือพระที่นั่งหัก แต่พันท้ายไม่ยอมขอให้ประหารชีวิตตน จนเป็นที่เล่าสืบมาถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และความสัตย์ซื่อต่อแผ่น ดินที่ยอมตายเพื่อธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งกฎหมาย<o:p></o:p>
    นอกจากพระเจ้าเสือแล้ว บุคคลดังและดุร้ายที่ถูกเล่าขานจนกลายเป็นตำนานไปแล้วก็มี เสือมเหศวร เสือดำ เสือฝ้าย และเสือใบ สี่จอมโจรชื่อก้องแถบภาคกลางหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งล้วนทำการปล้นอย่างโหดเหี้ยม จนเป็นที่หวาดกลัวไปทั่ว <o:p></o:p>
    ขุนโจรเหล่านี้ ต่างก็มีคาถาประจำตัวเป็นที่เลื่องลือ เช่น เสือมเหศวรมีคาถาหายตัว เสือดำมีคาถาคงกะพัน เสือใบมีคาถาหนังเหนียว เป็นต้น แต่ท้ายสุดเหล่าเสือร้ายก็ถูกขุนพันธรักษ์ราชเดช ตำรวจมือปราบผู้ริเริ่มสร้างจตุคามรามเทพอันลือลั่นปราบปรามจนราบคาบ และภายหลังต่างก็กลับตัวเป็นคนดี เช่น เสือมเหศวรต่อ มาก็ได้บวชเป็นพระและพราหมณ์<o:p></o:p>
    เรื่องเล่ามาแต่โบราณ และมีคนเชื่อว่ามีอยู่จริง คือ เสือสมิง กล่าวกันว่า มาจากคนที่เรียนรู้อา คมจนแก่กล้า แล้วร่ายคาถาจำแลงร่างเป็นเสือโคร่งได้ แต่ไม่สามารถกลับคืนร่างเป็นคนได้อีก จึงต้องกลายเป็นเสือสมิงเที่ยวจับคนกินเป็นอาหาร โดยมักจะแปลงร่างเป็นคนรู้จักไปหลอกพรานหรือชาวบ้านที่เข้าป่าไปหาอาหาร ดังนั้นคนโบราณจึงมักสอนว่า “เวลาเข้าป่า หากมีคนเรียกให้ลงจากห้าง (ทำไว้บนต้นไม้ไว้ดักยิงสัตว์) อย่าได้ลงมา” เพราะอาจจะเป็นเสือสมิงแปลงร่างมาลวงก็ได้<o:p></o:p>
    คนดังเกิดปีขาล ได้แก่ ขุนแผน หนุมาน พระเอกและทหารเอกในวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมี บีโธเฟน คีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน โฮจิมินห์ ประธานาธิบดีเวียดนาม และ มาริลิน มอนโร ดาราเซ็กซี่ชื่อดังของอเมริกัน เป็นต้น<o:p></o:p>
    นิทานพื้นบ้าน เกี่ยวกับเสือ มีทั้งของไทยและเทศ เช่น เรื่อง หลวิชัยคาวี ลูกเสือผู้กตัญญูต่อแม่โคที่ให้นมแก่ตน จนยอมฆ่าแม่เสือที่ตระบัดสัตย์ฆ่าแม่โค จากนั้นได้สาบานตนเป็นพี่น้องกับลูกวัวท่องเที่ยวไปด้วย กัน จนฤษีได้ชุบให้เป็นคนแล้วมีเรื่องราวตามมาอีกมากมาย ส่วนของจีนมีเรื่องบู๋ซ้ง ผู้กล้าสามารถฆ่าเสือได้ด้วยมือเปล่า และเป็นหนึ่งในผู้กล้าของวรรณคดีชิ้นเอกของจีน <o:p></o:p>
    เสือเกี่ยวกับ สำนวนไทย สุภาษิตและคำพังเพย มีหลายสำนวนด้วยกัน เช่น <o:p></o:p>
    เสือกระดาษ หมายถึง ประเทศ องค์กร หรือผู้ที่ทำทีประหนึ่งว่ามีอำนาจมาก แต่ความจริงไม่มี <o:p></o:p>
    เสือซ่อนเล็บ ผู้ที่เก่งกล้าสามารถแต่ไม่ยอมแสดงให้ปรากฏ <o:p></o:p>
    เสือรู้ คนที่มีไหวพริบหรือฉลาดเอาตัวรอด <o:p></o:p>
    เสือหิว คนที่อยากได้ผลประโยชน์โดยไม่เลือกว่าควร/ไม่ควร <o:p></o:p>
    หนีเสือปะจระเข้ หมายถึง หนีภัยอย่างหนึ่งมา แล้วต้องมาพบภัยอีกอย่างหนึ่ง <o:p></o:p>
    เขียนเสือให้วัวกลัว ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายเสียขวัญหรือกลัวเกรง <o:p></o:p>
    เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ หมายถึง เลี้ยงลูกศัตรูหรือลูกคนพาล ทำให้เดือดร้อนภายหลัง <o:p></o:p>
    ฝากเนื้อไว้กับเสือ หมายถึง ไปไว้วางใจคนที่ไม่ควรไว้วางใจ <o:p></o:p>
    เสือนอนกิน คนที่ได้รับผลประโยชน์โดยไม่ต้องลงทุนลงแรง<o:p></o:p>
    หน้าเนื้อใจเสือ หมายถึง คนที่มองดูภายนอกเหมือนคนซื่อหรือคนดี แต่ที่จริงแล้วเป็นคนร้าย<o:p></o:p>
    ไอ้เสือบุกเสือถอย ได้เปรียบคู่ต่อสู้จึงบุก หากพลาดพลั้งคู่ต่อสู้ ถอยร่นก่อน<o:p></o:p>
    เสือร้องไห้ เห็นทีได้แก่ลาบน้ำตก แซบอีสาน<o:p></o:p>
    ทั้งหมดข้างต้น ประมวลเรื่องราวของ “เสือ” เท่าที่พยายามหาในแง่มุมต่างๆ เอามาเล่าสู่กันฟัง ที่สำคัญคือขอให้ปีเสือปีนี้ เป็นปีที่ทุกคนเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังอำนาจ และความคิดอันชาญฉลาดที่จะต่อสู้กับสิ่งชั่วร้ายและเอาชนะอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง <o:p></o:p>
    ส่วนท่านจะเป็นเสืออะไรนั้นก็แล้วแต่ท่าน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    หมายเหตุ – บทความ “ขาล – ตำนานเสือ” เรียบเรียงจากหนังสือ 12 นักษัตรไทย/พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ ภาพ-สิปปวิชญ์ พลสิงห์ ศิลปินอิสระกับภาพวาดเสือเสมือนจริง
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> [​IMG]รูปประกอบข่าว</TD></TR><TR><TD><TABLE id=NewsCurrentDetail1_dlimage style="WIDTH: 100%; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=1 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=TableAnswerContent><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>สยามรัฐออนไลน์ : หน้าข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...