<VSN><<<โปรพิเศษ พย.นี้ 100บ. ทุกรายการ " พระเครื่องพุทธคุณหลักล้าน ราคาหลักร้อย " >>><NSV>

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 25 สิงหาคม 2011.

  1. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    พระเครื่องพุทธคุณหลักล้าน ราคาหลักร้อย

    กระทู้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อแบ่งปันวัตถุมงคลดีๆ มีคุณค่า ในราคาย่อมเยาว์ให้แก่เพื่อนสมาชิกทุกท่านที่สนใจ และฟรีค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง โดยส่งแบบลงทะเบียน ครับ


    [​IMG]


    ***สนใจรายการไหนโทรสอบถามนะครับ***

    [FONT=&quot]ท่านสามารถโอนเงิน ได้ที่ [FONT=&quot]โมพลังจิต[/FONT]
    [FONT=&quot]ติดต่อมือถือ [/FONT][FONT=&quot]086-567-7054[/FONT]
    [FONT=&quot]ธนาคารกรุงไทย สาขาอนุสาวรีย์ชัยฯ บัญชี สะสมทรัพย์[/FONT]
    [FONT=&quot]เลขที่บัญชี [/FONT][FONT=&quot]007-0-081425[/FONT]
    [FONT=&quot]หลังโอนเงินแล้ว รบกวนโทรแจ้งให้ทราบด้วยเพื่อจะได้จัดส่งวัตถุมงคลได้ถูกต้อง
    [/FONT]
    [FONT=&quot]หรือเมล์แจ้งได้ที่email :[/FONT][FONT=&quot] momotaro67@hotmail.com[/FONT]
    [FONT=&quot]ทุกรายการฟรีค่าจัดส่ง โดยจัดส่งแบบลงทะเบียน [/FONT]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2016
  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    ชิวิตปฐมวัยของหลวงพ่อ

    หลวงพ่อสร้อยท่านถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2472 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง พื้นที่เขตตำบลละหานทราย(ปัจจุบันเป็นอำเภอแล้ว) อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โยมบิดาของท่านมีนามว่า วัน และโยมมารดาของท่าน มีนามว่ากรด (ส่วนท่านกำเนิดในสกุลใดนั้นในหนังสือเขียนไว้ไม่กระจ่าง ผมจึงขอละเว้นที่จะนำเสนอเพื่อป้องกันความสับสนต่อไป ) ท่านมีพี่สาวเพียงคนเดียวมีนามว่า คิด ภายหลังท่านกำเนิดมาได้ 7วัน โยมบิดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม และเมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ โยมมารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม ซึ่งท่านก็ได้อยู่ในความดูแลของคุณยายท่านมานับแต่นั้น ซึ่งคุณยายของท่านนับเป็นบุคคลที่ชอบเข้าวัดฟังธรรมต ามวิถีชีวิตชนบท ซึ่งจะพาท่านไปด้วยเสมอ ทำให้ท่านได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอดนับแต่วัยเด็ก

    สามเณรสร้อย

    ด้วยในวัยเด็กท่านได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอด และในช่วงหนึ่งท่านได้มีโอกาสถวายน้ำตาลแด่พระธุดงค์ โดยพระรูปนั้นได้กล่าวกับท่านว่า เมื่อใหญ่แล้วให้บวชนะ ซึ่งท่านได้ระลึกถึงคำนี้มาตลอด จนท่านเรียนจบประถม 4 จึงได้ขออนุญาตคุณยายของท่านบวชเป็นสามเณร โดยคุณยายของท่านได้เห็นชอบด้วยจึงพาท่านไปบวชที่วัด ชุมพร ซึ่งอยู่ในละหานทรายนั่นเอง โดยมีหลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่ท่านบรรพชาเรียบร้อยแล้วท่านก็ได้อยู่กับห ลวงพ่อมั่นนั่นเอง โดยหลวงพ่อมั่นท่านได้สอนให้สามเณรรูปใหม่(หลวงพ่อสร ้อย) หัดบริกรรมด้วยการตกลูกประคำเป็นการฝึกสมาธิ และระวังวัตรถากท่านเช่นการบีบนวด หลวงพ่อมั่นก็จะกล่าวบรรยายอบรมข้อธรรมต่างๆไปพร้อมก ัน จนหลวงพ่อมั่นเห็นว่าสามเณรสร้อยมีจิตใจที่นิ่งมั่นค งดีแล้ว ท่านจึงได้สอนอาคมต่างๆควบคู่ไปกับการปฏิบัติสมาธิด้ วย และยังได้พาท่านออกธุดงค์ รุกขมูลเพื่อให้ได้รับข้อธรรมต่างให้เพิ่มพูน(เรื่องราวการธุดงค์ ผมขอละเว้นไว้นะครับ)

    พระสร้อย ขันติสาโร

    ท่านได้อยู่เป็นสามเณรกับหลวงพ่อมั่นมา จนล่วงได้อายุ 22 ปี จึงได้ทำการอุปสมบทโดยมีหลวงพ่อมั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทองเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อสุตเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ขันติสาโร หลังจากที่เสร็จสิ้นการอุปสมบท หลวงพ่อสุขได้กล่าวชวนท่านไปด้วย ยังความดีใจแก่ท่าเป็นที่สุด ได้กราบลาหลวงพ่อมั่นขออนุญาต ตามหลวงพ่อสุขไป โดยเริ่มแรกหลวงพ่อสุขได้ให้ท่านขึ้นครูกรรมฐาน โดยในช่วงต้นหลวงพ่อสุขได้เน้นหนักท่านในเรื่องการปฏิบัติกรรมฐาน ท่านเล่าว่าท่านปฏิบัติจนมีความสุขบางทีถึงกับไม่ได้ หลับได้นอนเลย แต่ก็ไม่มีความง่วงเหงาหาวนอนแต่อย่างใด ในพรรษาถัดมาหลวงพ่อมั่นซึ่งเปรียบดังบิดาของท่านก็ไ ด้มรณภาพลง ท่านจึงได้กลับไปจัดงานถวายแก่หลวงพ่อมั่น เสร็จสิ้นแล้วจึงกลับมายังวัดหลวงพ่อสุขดังเดิม โดยหลวงพ่อสุขได้เริ่มสอนวิชาต่างๆแก่ท่านซึ่งวิชาที ่สำคัญคือการตรวจดูบุญวาสนา และเวรกรรมของผู้ป่วย เพื่อช่วยในการรักษาโรคภัยต่างๆ อยู่ต่อมาในระหว่างอยู่ศึกษากับหลวงพ่อสุขอยู่นั้น(ใ นหนังสือไม่ได้บวกว่าช่วงพรรษาใด)ท่านได้เกิดอาการปว ดศีรษะ อย่างแรงขณะปฏิบัติสมาธิอยู่บนศาลาจึงขอหลวงพ่อสุขไป พัก โดยระหว่างนั้นเองขณะนอนลงพัก วิญญาณของท่านก็ได้หลุดจากร่าง(ช่วง ระหว่างวิญญาณท่านออกไปนี้ ผมขอละไว้นะครับ) ซึ่งการมรณะครั้งนี้ท่านได้สิ้นลมไป 7 วันเต็มๆ ซึ่งในระหว่างนั้นหลวงพ่อสุขได้ทำพิธีเพื่อตามท่านนำ ท่านกลับมา(ซึ่งวิชาเดียวกันนี้ท่านได้ใช้ช่วยชีวิตเด็กชาวกระเหรียงให้ฟื้น คืนมาแล้ว)


    ออกหาความรู้ ธุดงค์ รุกขมูล

    เข้าสู่ปี พ.ศ.2497 หลวงพ่อสร้อยได้ขอลาหลวงปู่สุขเข้าสู่กรุงเทพ โวยจุดหมายคือวัดมหาธาตุ ด้วยขณะนั้นขึ้นชื่อในเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐ าน ท่านได้อยู้ศึกษาเป็นเวลา 7 เดือนท่านจึงลาพระอาจารย์ชาดกผู้สอนท่านกลับคืนยังบุ รีรัมย์ เมื่อญาติโยมได้รู้ข่าวการกลับมาของท่าน จึงได้ทำการต้อนรับและนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่วัดกลางนา รองเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัด ท่านได้นำพาหมู่คณะปฏิบัติตามที่ท่านได้ศึกษามา
    แต่หลังจากออกพรรษาท่านได้ตัดสินใจออกรุกขมูลโดยท่าน ได้ล่ำลาญาติโยมแล้วก็ออกเดินรุกขมูลลัดเลาะไปตามจัง หวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ต่อไปยังอุบล จนยาวไปถึงนครพนม ข้ามไปยังฝั่งลาวแล้วข้ามกลับมายังมุกดาหาร ต่อเรื่อยไปจนเข้าสู่เทือกเขาภูพาน เขตสกลนครซึ่งท่านได้พบกับพระเถระรูปหนึ่งและได้ขอร่ ำเรียนวิชาด้วย เรื่อยไปจนเข้าหล่มสักเข้าพิษณุโลก ซึ่งช่วงนี้ท่านหลงป่าอยู่ จนทะลุออกมายังอุตรดิตถ์ จากการหลงป่าครั้งนี้ท่านจึงเปลี่ยนมาเดินโดนใช้เส้น ทางรถไฟช่วย ล่วงได้ 7 วัน ท่านก็ล่วงถึงดอยสะเก็ด เชียงใหม่ โดยพบกับหลวงปู่แหวน และได้ขอศึกษาข้อธรรมต่างๆจากหลวงปู่แหวนโดยช่วงนั้น หลวงปู่แหวนท่านกำลังเน้นไปทางอสุภะกรรมฐาน ซึ่งช่วงนี้ท่านว่าท่านได้พบกับข้อธรรมที่ลึกซึ้งมาก ขึ้น จากนั้นท่านได้ลาหลวงปู่แหวน ออกรุกขมูลต่อรอนแรมไปจนถึงแม่สะเรียง พักที่วัดศรีบุญเรืองท่านตั้งใจจะไปหาเพื่อนที่แม่ฮ่ องสอนแต่ด้วยติดกาลพรรษาท่านจึงได้ประจำพรรษาที่วัดศ รีบุญเรื่อง จนล่วงกาลพรรษา ท่านจะออกเดินทางต่อ พอดีได้ทราบจากญาติโยมว่าที่ท่าสองยางมีวัดร้างอยู่ ท่านจึงคิดอยากไปที่นั่นดูด้วยคิดว่าคงเหมาะแก่การปฏ ิบัติธรรม (ความจริงลายละเอียดช่วงธุดงค์ของท่านในหนังสือได้กล ่าวลงในรายละเอียดไว้อีกแต้ผมขอตัดมาให้กระชับ)

    สร้างวัดมงคลคีรีเขตร์

    เส้นทางการมายังท่าสองยางนี่นับว่าลำบากเอาการ โดยจากแม่สะเรียง ผ่านไปยังแม่กระตวนจนสุดที่แม่ระมาด ต่อเรือไปยังแม่วะ แล้วเดินต่อไปยังแม่กะ จนลุถึงท่าสองยางชาวบ้านก็ดีใจที่ได้พบพระสงฆ์ ได้ให้ท่านอยู่โปรดโดยช่วยกันสร้างกุฏิให้ท่านด้วยใบ ตองตึง โดยพรรษานั้นท่านได้อธิฐานอยู่พรรษาแต่รูปเดียว ซึ่งระหว่างนั้นได้มีลูกหลานชาวบ้านนามว่าเด็กชายสม แสนไชย คอยอยู่วัตรถากท่าน ต่อมาด้วยท่านมุ่งที่จะใช้เวลาในการปฏิบัติให้มากขึ้ น จึงหลบการพบผู้คนด้วยการลงไปกางกลด อยู่ในบริเวณป่าช้า ซึ่งเด็กชายสมก็ได้ตามไปด้วย โดยเลือกอยู่ใต้ต้นตะเคียนต้นหนึ่ง(เรื่องราวต่างๆใน ช่วงการอยู่ป่าช้าผมขอละเว้นไว้นะครับ)
    ต่อมาชาวบ้านได้นิมนต์ท่านกลับไปยังวัดตามเดิม โดยได้ร่วมใจปรับปรุงวัดให้ท่าน ในวันที่ท่านย้ายกลับเข้าวัดนั้นปรากฏว่าตะเคียนต้นท ี่ท่านใช้อยู่ระหว่างปฏิบัติที่ป่าช้าถึงกับโค่นลง
    ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ท่านได้จัดให้มีการบวชพระ และสามเณรขึ้น ทำให้วัดมีพระอยู่จำพรรษาขึ้น รวมได้ 11รูป ล่วงมาปี พ.ศ.2503 ช่วงพรรษาหลังฉันเช้าแล้วท่านมีอาการครั่นเนื้อครั่น ตัว จึงได้นอนพัก ปรากฏว่าวิญญาณท่านได้ออกจากร่างไปอีกครั้งเหมือนดัง เช่นเคยเกิดกับท่านสมัยอยู่กับหลวงปู่สุข แต่ครั้งนี้ท่านหายไปเพียง 1 วัน(รายละเอียดช่วงนี้ขอละไว้นะครับ ความจริงแล้วน่าสนใจมากเพราะสอนให้เราได้เห็นถึงบาปบ ุญคุณโทษอีกด้วย มีโอกาสจะนำมาพิมพ์อีกทีครับ) ล่วงมาปี พ.ศ. 2505 ท่านมีดำริจะสร้างวัดให้ดีขึ้น ให้ถูกต้องมี วิสุงคามวาสี เหมือนกับเทวดาที่รักษาวัดจะทราบเรื่องราว คืนนั้นในสมาธิเทวดาซึ่งเดิมเป็นเจ้าของที่แห่งนั้น ได้มาปรากฎ และถามถึงความต้องการของท่าน ท่านก็บอกไปว่าจะบูรณะปรับปรุงวัดให้ดีขึ้น ท่านเจ้าของที่ได้อนุโมทนายกที่ให้ท่าน แล้วลาท่านไปอยู่ที่แห่งใหม่ ยังเทือกเขาแถบนั้น โดยในสมาธินั้น ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับตำแหน่งต่างๆในบริเวณวัดที่จ ะทำการปลูกสร้างถาวรวัตถุ แต่มาติดที่บริเวณหนึ่งซึ่งกำหนดจะเป็นที่ตั้งของศาล า มีหินก้อนใหญ่ สองก้อนกีดขวางอยู่ซึ่งท่านคิดว่าลำพังกำลังชาวบ้านค นยากที่จะเอาออกได้ ในสมาธินั้นท่านว่าเจ้าที่ท่านได้ช่วยเอาออกให้ ปรากฎเป็นควายตัวใหญ่สองตัวเอาเขาขวิดจนหินสองก้อนนั ้นกลิ้งหายไป จนต่อมาได้สบโอกาสที่จะทำการสร้างศาลา ท่านก็มาติดปัญหาที่หินสองก้อนนี้ ซึ่งทำให้ท่านหวนคิดถึงนิมิตในครั้งนั้นว่าเจ้าที่ท่ านช่วยเอาหินออกแล้วนี่ จนช่างผู้คุมงานเสนอให้ท่านย้ายที่ตั้งศาลา แต่ปรากฏว่าในขณะนั้นได้มีรถที่ใช้ก่อสร้างทางของกรม ทางมาจอดที่วัด เจ้าหน้าที่ทั้งสองคนได้มาบอกหลวงพ่อว่าได้รับคำสั่ง ให้มาช่วยยกหินสองก้อนนั้นออกไป ทำให้การสร้างศาลาลุล่วงไปด้วยดี จนแล้วเสร็จในราวเดือนห้าของปี 2506

    และท่านก็ได้พัฒนาปรับปรุงวัดเรื่อยมา และในระหว่างนั้นท่านก็ได้ให้การอุปถัมภ์ทั้งวัดต่างๆ และหน่วยงานของราชการเช่นโรงพยาบาล เสียดายที่รายละเอียดส่วนนี้ไม่มีบันทึกไว้ แต่ที่แน่ๆทั้งละหานทราย และนางรอง ท่านก็ได้ให้การช่วยเหลือหลายแห่งเหมือนกัน


    ชีวิตบั้นปลาย
    หลวงพ่อสร้อยท่านได้ตรากตรำ อย่างนักในช่วงชรา ผมเองจำได้ว่าครั้งนึงก่อนท่านมรณะไม่เท่าไหร่ ท่านยังมีเมตตาช่วยเททองวัตถุมงคล ให้กับวัดที่หลวงปู่สุขให้ให้การทำนุบำรุงมาก่อนอย่า งเต็มใจ แม้ช่วงนั้นท่านจะไม่แข็งแรงเท่าไหร่ ซึ่งหลังจากเททองเสร็จ ไม่เท่าไหร่ท่านก็มรณภาพ ไม่ทันได้กลับมาปลุกเสก (อาจนับได้ว่าเป็นวัตถุมงคลชุดสุดท้ายของท่านก็ว่าได ้)

    จนในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ลูกศิษย์ได้นำท่านเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลนครธนพระราม 2 จนวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2541 หลวงปู่หงษ์ท่านได้มาเยี่ยมหลวงพ่อสร้อย ด้วยหลวงปู่หงษ์ท่านว่าท่านฝัน (นิมิตของท่านแหละครับ แต่ท่านชอบพูดว่าฝัน) หลวงพ่อสร้อยท่านกระโดดลงจากเตียง เมื่อพบกัน หลวงปู่หงส์ท่านได้ทำด้ายคล้องคอให้แก่หลวงพ่อสร้อย และหลวงพ่อสร้อยท่านได้กล่าวกับหลวงปู่หงส์ในทำนองว่า “จะขอลาแล้ว ขอลามรณภาพจะได้ไหม” ซึ่งหลวงปู่หงส์ท่านก็นิ่ง แล้วก็เดินทางกลับ จากนั้น วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2541 หลวงพ่อสร้อยท่านได้เรียกพระลูกวัดที่อยู่ที่นั้นมาร วมกัน ได้จับมือจับแขนพระทุกรูป และได้กล่าวอบรบเป็นครั้งสุดท้าย ในลักษณะว่า “ต่อไปเราจะไม่ได้เจอกันอีกแล้วนะ ให้ปฏิบัติตัวกันให้ดี ขยันทำงาน มีอะไรก็ทำไป ให้ประหยัดและอดทนทุกคนนะ” มาวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2541 หลวงพ่อสร้อยได้สั่งให้ลูกศิษย์นับเงินที่ลูกศิษย์มา ร่วมทำบุญกับท่านเพื่อเตรียมเป็นค่าใช้จ่ายแก่โรงพยา บาล ยังความตกใจและหวั่นใจของลุกศิษย์เป็นอย่างมากเนื่อง ด้วยท่านเองยังไม่หาย และอาการก็ทรุดหนัก แต่ท่านเตรียมออกจากโรงพยาบาล เข้าช่วงกลางคืนของวันที่18 มกราคม พ.ศ.2541ท่านได้สำลักเสมหะ และท่านได้เข้าสมาธิจนถึงราวตีสามย่างตีสี่ ได้เรียกให้พระมาช่วยพลิกตัวท่าน ถึงนาทีนั้นพระทุกรูปได้รวมกันนั่งสมาธิภาวนาอยู่หน้ าห้องหลวงพ่อ จนล่วงเข้าเวลา 07.19น. ของวันที่19 ธันวาคม พ.ศ.2541 ท่านก็ได้หยุดดับธาตุขันธ์ ทิ้งเหลือไว้แต่คุณงามความดี ที่ยังคงประทับอยู่ในหัวใจของลูกศิษย์ทุกคน สิริอายุ ๖๙ ปี


    เหรียญ “ครูบาศักดิ์สิทธิ์” ครูบาสร้อย ขันติสาโร ปี 2538 อ.ท่าสองยาง จ.ตาก


    เหรียญครูบาสร้อย เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย

    [FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3663.jpg
      SAM_3663.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      497
    • SAM_3665.jpg
      SAM_3665.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      348
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2011
  3. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    วัดลาดพร้าวสร้างเมื่อประมาณพ.ศ ๒๔๑๓ (จ.ศ. ๑๒๒๔, ร.ศ. ๘๘) เริ่มแรกทีเดียว ไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบัน แต่ตั้งอยู่ที่ บริเวณเชิงสะพานตรงข้าม กับร้านเซเวนอีเลฟเว่น (อยู่ห่างจากที่วัดปัจจุบัน ประมาณ ๑๐๐ เมตร และที่ดินบางส่วนของวัดยังมีอยู่) ในสมัยสร้าง
    วัดใหม่ๆ ชาวบ้านลาดพร้าว ได้ร่วมแรงร่วม ใจกันสร้าง กุฏิสงฆ์ขึ้นประมาณ ๒ – ๓ หลัง แล้วได้นิมนต์พระอาจารย์เพิ่ม มาอยู่ปกครองวัด ในระยะแรกนี้ ยังเป็นเพียง สำนักสงฆ์เท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ ๒๔๑๗ (จ.ศ. ๒๓๖, ร.ศ.๙๓) คณะสงฆ์และชาวบ้านลาดพร้าว ได้มีความห็นพร้อง
    ต้องกันว่า สมควรย้ายวัดมาอยู่ที่วังลาดพร้าว (วังคือแอ่งน้ำขังที่กว้างใหญ่กว่าบึง) เพราะ สถานที่เดิม นั้นเป็นที่ดอนไม่สะดวกต่อการที่ พระสงฆ์ สามเณรจะใช้น้ำ จึงได้ย้ายวัดมาสร้างใหม่ที่วังลาดพร้าว นี้ (สถานที่ ปัจจุบัน) เพราะที่แห่งใหม่นี้อยู่ใกล้แหล่งน้ำกว่า และเป็นทางแยก คลอง
    ทรง กระเทียม กับคลองลาด พร้าว ทั้ง เป็นที่ลุ่ม เป็นวังกว้าง จึงสะดวกต่อการใช้น้ำ

    เมื่อย้ายมาอยู่ในที่แห่งใหม่แล้ว คณะสงฆ์และกรรมการจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง กุฏิขึ้น ประมาณ ๗ หลัง และศาลาการ เปรียญอีก ๑ หลัง ล้วนเป็นไม้ทั้งสิ้น แล้วได้นิมนต์พระอาจารย์ตุ๊ มาเป็นเจ้า อาวาส ปกครองวัดจนถึงท่านมรณภาพ เมื่อพระอาจารย์ตุ๊มรณภาพ แล้ว คณะกรรมการก็ได้นิมนต์พระอธิการ ขวัญมาเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดแทนจนถึงมรณภาพ พระอาจารย์เผือก ซึ่งมาจากวัดบางกระบือ ก็ขึ้น เป็น อาวาสวัดลาดพร้าวปกครองสืบแทนจนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๒ จึงได้มรณภาพ หลังจากนั้นพระครูสุวรรณวรวัฒน์ (ผิน สุวณฺโณ) ก็ได้รับการ แต่งตั้งให้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้มรณภาพ


    เมื่อพระครูสุวรรณวรวัฒน์มรณภาพ คณะสงฆ์และกรรมการวัดลาดพร้าว พระครูประสิทธิสุภการ (ทองใบ ฐานงกโร) ได้ขึ้นดำรง ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดพร้าวแทนในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ จนถึงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๙ ท่านก็มรณภาพเมื่อพระครู ประสิทธิสุภการ มรณภาพแล้ว พระครูวิศิษฏ์สุทธิ คุณ (จำรัส เหมวณฺโณ) ได้ขึ้นเป็นเจ้าวาสแทนมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันวัดลาดพร้าว มีเนื้อที่ ทั้งหมด ๒๔ ไร่เศษ
    รายนามเจ้าอาวาสวัดลาดพร้าว
    ๑ พระอาจารย์เพิ่ม เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๑๓ – ๒๔๑๗ รวม ๔ ปี
    ๒ พระอาจารย์ตุ๊ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๑๗ – ๒๔๒๕ รวม ๘ ปี
    ๓ พระอุปัชฌาขวัญ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๒๕ – ๒๔๔๕ รวม ๒๐ ปี
    ๔ พระปลัดเผือก เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๔๕ – ๒๔๘๐ รวม ๓๕ ปี
    ๕ พระครูสุวรรณวรวัฒน์ (ผิน สุวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๔๘๐– ๒๕๒๕ รวม ๔๕ ปี
    ๖.พระครูประสิทธิ์สุภการ (ทองใบ ฐานงกโร) เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๔๙ รวม ๒๙ ปี
    ๗.พระครูวิศิษฏ์สุทธิคุณ (จำรัส เหมวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน


    เหรียญพระครูประสิทธิ์สุภการ วัดลาดพร้าว

    เหรียญ พระครูประสิทธิ์สุภการ วัดลาดพร้าว เนื้อทองแดง สภาพสวยมากๆ ครับ ได้รับมาประมาณปี 2526 ลูกศิษย์ย่านวัดลาดพร้าวคงทราบกิตติศัพท์ขอท่านเป็นอย่างดีครับ เหรียญสวยน่าสะสม เก็บอย่างดี มีจารเดิมๆ ที่หลังเหรียญด้วย หายากมากๆ ครับ สภาพนี้


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3696.jpg
      SAM_3696.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      311
    • SAM_3698.jpg
      SAM_3698.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      307
    • SAM_3699.jpg
      SAM_3699.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      192
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2011
  4. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นเพชรน้ำเอก เนื้อทองแดง พ.ศ.๒๕๓๖ ปลุกเสกเพื่อศิษย์เอกไสว พราหมมณี เป็นกรณีพิเศษ

    พระเครื่องหลวงพ่อคูณ รุ่นเพชรน้ำเอก เหรียญรุ่นนี้หลวงพ่อคูณปลุกเสกเพื่อศิษย์เอกโดยเฉพาะ คือ ท่านไสว พรามห์มณี ปลุกเสกเป็นกรณีพิเศษเมื่อปี2536 ตอกโค๊ต "ส" ที่สังฆาฏิ เป็นเหรียญทีมีประสพการณ์หลวงพ่อคูณท่านปลุกเสกให้นานมากกว่าพระรุ่นอื่นๆ เป็นเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่น่าเก็บสะสมมาก



    [FONT=&quot]
    *ปิดรายการนี้ครับ
    [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3700.jpg
      SAM_3700.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      225
    • SAM_3706.jpg
      SAM_3706.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      192
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  5. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]
    เหรียญกระไหล่ทองหลวงพ่ออุตตมะ หลังนามาภิไธย สมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก (วาสน์) ปี2523

    สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) ทรงเป็นประธานในพิธีเททองหล่อพระประธานศาลาการเปรียญ วัดรวกฯ กรุงเทพฯ พร้อมร่วมพิธีพุทธาภิเษก กับ หลวงปู่ศรี เขาถ้ำบุญนาค หลวงปู่คง วังสรรพรส ฯลฯ

    เหรียญยังอยู่ในสภาพสวยงาม เหมือนท่านมาก ไม่ผ่านการบูชา รับประกันความแท้100%




    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3666.jpg
      SAM_3666.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      567
    • SAM_3668.jpg
      SAM_3668.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      316
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  6. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญหล่อฉลุลายกนก กะไหล่ทอง หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย จ.อุบลราชธานี ครบ ๙๖ปี สร้างปี2537 สภาพสวยเดิม


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMGP4348re.jpg
      IMGP4348re.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.3 KB
      เปิดดู:
      177
    • IMGP4355re.jpg
      IMGP4355re.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.4 KB
      เปิดดู:
      164
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2011
  7. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญสุริยุปราคา หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน รุ่นมงคลลาภมหาศาล ปี2538 ปลุกเสกขณะเกิดสุริยุปราคา เป็นฤกษ์มหาลาภ



    [FONT=&quot]
    *ปิดรายการนี้ครับ
    [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_2478.jpg
      SAM_2478.jpg
      ขนาดไฟล์:
      748.8 KB
      เปิดดู:
      323
    • SAM_2480.jpg
      SAM_2480.jpg
      ขนาดไฟล์:
      733.5 KB
      เปิดดู:
      160
    • SAM_2474.jpg
      SAM_2474.jpg
      ขนาดไฟล์:
      862.7 KB
      เปิดดู:
      182
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  8. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญหลวงปู่ศุข สีลเตโช วัดสหธรรมาราม จ.สมุทรสาคร อายุ 84 ปี สร้างอุโบสถ ปี 2522


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3710.jpg
      SAM_3710.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      167
    • SAM_3713.jpg
      SAM_3713.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      199
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2011
  9. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญพระศาสนโสภน อดีตเจ้าอาวาส วัดราชบพิธ รุ่นแรก คณะศิษย์สร้าง หลวงปู่แหวน สุจินโนแผ่เมตตา ปี2521 เนื้อทองแดงรมดำ สภาพสวย



    *ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3683.jpg
      SAM_3683.jpg
      ขนาดไฟล์:
      997.6 KB
      เปิดดู:
      165
    • SAM_3686.jpg
      SAM_3686.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1 MB
      เปิดดู:
      164
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2011
  10. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญหลวงพ่อพระครูวิมลวรคุณ รุ่นแรก วัดโนนแดงเหนือ เนื้อทองแดงรมดำ สภาพสวย


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3688.jpg
      SAM_3688.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      327
    • SAM_3690.jpg
      SAM_3690.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      198
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2011
  11. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เศรษฐีนวะโกฏิ รุ่นโคตรเศรษฐีนวโกฏิ เนื้อผงชานหมากผสมไม้มงคล 9ชนิด หลวงพ่อทองดำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ลพบุรี ปี2551



    *ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 27503-1.jpg
      27503-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.2 KB
      เปิดดู:
      154
    • 27503-2.jpg
      27503-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.6 KB
      เปิดดู:
      163
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2011
  12. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    เป็น เหรียญโลหะ สีเงิน สร้างเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อและชื่อ พระสุธรรมยานเถร ทั้ง ๒ แบบเหรียญ ด้านหลังเหรียญหนึ่งเป็นยันต์เกราะเพชร และเขียนว่า ทำบุญต่ออายุ พ.ศ.๒๕๓๐ ส่วนด้านหลังอีกเหรียญหนึ่งเป็นรูปในหลวง ร.๙ และเขียนว่าทำบุญถวายพระราชกุศล ๒๕๓๐

    อาราธนา ด้วยพระคาถา
    ( ตั้ง นะโม ๓ จบ )
    “ อิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตัง ขอเดชะ เดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่ง แก่มะอะอุนี้เถิด ”

    อานุภาพ เด่นในเรื่องโชคลาภ หลวงพ่อท่านบอกไว้ว่า ให้พกเหรียญมหาลาภนี้ไว้ในกระเป๋า เงินทองจะไม่ขาดมือ...


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lpls1.jpeg
      lpls1.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      66.9 KB
      เปิดดู:
      404
    • lpls2.jpeg
      lpls2.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      67.8 KB
      เปิดดู:
      323
    • lpls3.jpeg
      lpls3.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      47.6 KB
      เปิดดู:
      400
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  13. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    ท่านเจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษมาลา

    วัด ชัยพฤกษมาลา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ปากคลองมหาสวัสดิ์ เลขที่ 2 หมู่ 4 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน กทม. เดิมขึ้นกับตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันขึ้นกับเขตตลิ่งชัน กทม. วัดชัยพฤกษมาลาเป็นวัดโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดชัยพฤกษ์ ต่อมากลายเป็นวัดร้างก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อสร้างกรุงใหม่ๆ นั้นได้สร้างกำแพงป้องกันพระนคร ขณะทำกำแพงพระนครด้านหนึ่งนั้นได้ขอพระบรมราชานุญาตไปรื้อเอาอิฐจากวัด ชัยพฤกษ์มาก่อสร้างทำกำแพงพระนคร (ใบประชุมพงศาวดารภาคที่ 25 ว่ารื้อเอาอิฐมาสร้างกำแพงกรุงรัตนโกสินทร์)

    ครั้นถึงปีพ.ศ.2328 เมื่อก่อสร้างกำแพงพระนครและพระราชมณเฑียรเสร็จลงแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร บูรณะสถาปนาวัดขึ้นใหม่ในที่เดิม ทำนองเป็นผาติกรรมตามประเพณี และเพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อรับพระราชโองการแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ได้ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าไม้ อิฐ ปูน ให้ข้าในกรมไปสร้างพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระประธาน กับรูปพระอัครสาวก 2 องค์ กับพระวิหารอีกหลังหนึ่ง ซึ่งภายในมีพระพุทธรูป 4 องค์ นอกจากนี้ ยังสร้างอาคารสถานที่ซึ่งเป็นส่วนประกอบจำเป็นสำหรับวัด มีศาลาการเปรียญและหอระฆังอย่างละหนึ่งหลัง และปลูกกุฏิสำหรับพระสงฆ์จำพรรษา แต่การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองยังไม่ปกติ ยังมีสงครามมาโดยตลอด แม้กระนั้นก็ทรงถือพระอารามแห่งนี้อยู่ในพระอุปถัมภ์ เมื่อถึงฤดูกฐินได้เสด็จฯ ทรงถวายผ้าพระกฐินบ้าง พระราชทานผ้าไตรจีวรบริขารให้พระโอรส-พระราชธิดาทรงนำไปถวายแทนบ้างเป็นเช่น นี้ทุกปีมิได้ขาด
    ครั้นพอถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วัดชัยพฤกษ์มาอยู่ในบัญชีพระอารามหลวง และทรงมอบให้เป็นพระธุระของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ เสด็จฯ ไปทรงจุดเทียนพรรษาและถวายผ้าพระกฐินทุกปี

    พอถึง พ.ศ.2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เป็นอันมากหลายร้อยชั่งให้ปฏิสังขรณ์วัดชัยพฤกษ์และ วัดเขมา และพระราชทานนามใหม่ทั้งสองพระอารามว่า วัดชัยพฤกษมาลา และวัดเขมาภิตาราม ส่วนวัดชัยพฤกษมาลานั้นมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสเป็นแม่กองทำให้จัดซื้อสวนถวายเพิ่มเข้าให้ใหญ่ กว้างออกไป และขุดคูรอบวัด ให้สร้างพระอุโบสถ พระวิหารของค้างเดิม ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้สำเร็จ แล้วทรงสร้างศาลาการเปรียญลงในข้างหน้าระหว่างพระอุโบสถและพระวิหาร มีพระเจดีย์ใหญ่และพระเจดีย์น้อยในสี่ทิศ สร้างหมู่กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ หอระฆัง สะพานท่าน้ำ สะพานข้ามคลอง พร้อมมูลบริบูรณ์แล้วเสร็จทุกอย่าง

    ทีนี้มาพูดกันถึงพระเครื่องที่พบที่วัดชัยพฤษมาลากันบ้าง คือเมื่อปีพ.ศ. 2509 ได้มีพระเครื่องแตกกรุมาจากวัดชัยพฤกษมาลา อันเนื่องมาจากทางวัดได้รื้อหลังคาพระอุโบสถที่ชำรุดทรุดโทรมเพื่อซ่อมแซม ได้พบพระเครื่องเนื้อดินเผาบนเพดานตรงบริเวณพระเกศของพระประธาน ทางวัดจึงเก็บรวบรวมได้หลายปี๊บ ประมาณหลายหมื่นองค์ พระเครื่องเหล่านี้สร้างโดยท่านเจ้าคุณโพธิ์ สันนิษฐานว่าสร้างในราวปีพ.ศ.2443 เมื่อครั้งท่านยังเป็นเจ้าอาวาส วัดบางอ้อยช้าง ตำบลบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ในปีนั้นท่านเจ้าคุณโพธิ์ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น "พระครูนนทปรีชา" และได้สร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาแจกแก่ลูกศิษย์ เล่าขานกันว่าท่านสำเร็จผงและเป็นพระคณาจารย์ผู้เรืองวิทยาคุณ ต่อมาในปีพ.ศ.2444 ท่านเจ้าคุณโพธิ์ได้เป็นพระอุปัชฌาย์และก็ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ชัยพฤกษมาลา เชื่อกันว่าท่านได้นำพระเครื่องเนื้อดินเผาดังกล่าวมาไว้ที่วัดชัยพฤกษมาลา ด้วย ในปีพ.ศ.2455 ท่านเจ้าคุณโพธิ์ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ "พระนันทวิริยะ" และในปีพ.ศ.2459 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี ท่านเจ้าคุณโพธิ์ มรณภาพเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2469 สิริอายุได้ 76 ปี

    เหรียญหลวงปู่โพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา ที่ระลึกในคราวงานฝังลูกนิมิตร ปี2522 ตลิ่งชัน เหรียญสวยมากครับ




    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_5566.jpg
      SAM_5566.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.6 KB
      เปิดดู:
      341
    • SAM_5569.jpg
      SAM_5569.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.7 KB
      เปิดดู:
      270
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2012
  14. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]
    วัด ป่าตึง อยู่ในหมู่บ้านป่าตึง หมู่ 7 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2425 ปัจจุบันอายุ 111 ปี โดย ครูบาปินตาพบว่าสถานที่แห่งนี้เดิมเป็นวัดร้าง คู่กับวัดเชียงแสน ก่อนที่จะสร้างวัดนี้ขึ้นมาได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และของมีค่ามากมายหลายอย่าง อาทิ วัตถุโบราณ พระพุทธรูป เครื่องถ้วยชามสังคโลก บริเวณวัดมีโบราณวัตถุอยู่ทั่วไป และมีการพบเจอเตาเผาเครื่องถ้วยชามสังคโลกที่มีการสร้างขึ้นมาในอดีตเป็น ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ นอกจากบริเวณวัดแล้วตามป่าเขารอบ ๆ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ ก็จะมีเตาเผาสังคโลกอยู่ทั่วไป
    วัด ป่าตึงได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 พฤษศจิกายน 2526 ได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถหนังหนึ่ง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระเสด็จพระราชดำเนิน ยกช่อฟ้า ตัดลูกนิมิต และพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภปร ติดหน้าบันพระอุโบสถด้วย เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2532 วัดป่าตึงเจริญรุ่งเรืองมาตลอดทุกวันนี้
    นอก จากวัดป่าตึงจะเป็นวัดที่มีประวัติศาตร์ที่ยาวนานแล้ว วัดป่าตึงยังเคยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงปู่หล้า มีชื่อ หล้า ฉายา จนฺโท (อ่านว่าจันโท) ฉายา หรือชื่อที่อุปัชฌาย์ คือ พระเถระผู้บวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนาตั้งให้ท่านได้แก่ “จนฺโท” นั้นแปลว่า พระจันทร์ การตั้งฉายาเป็นไปตามวันเกิด ซึ่งท่านเกิดในวันพฤหัสบดี แต่ปัจจุบันท่านได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ทางวัดยังคงเก็บรักษาศพของท่านเอาไว้อยู่ นับเป็นเรื่องที่น่าแปลกที่ศพของท่านไม่เน่าเปื่อย ศพของท่าเก็บรักษาไว้ในโรงแก้ว เราสามารถมองเห็นได้ เก็บไว้ในศาลาการเปรียญ ให้ผู้ที่มีศรัทธาได้บูชา
    [​IMG]

    ประวัติหลวงปู่หล้า
    หลวง ปู่หล้า มีชื่อ หล้า ฉายา จนฺโท (อ่านว่าจันโท) ฉายา หรือชื่อที่อุปัชฌาย์ คือ พระเถระผู้บวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนาตั้งให้ท่านได้แก่ "จนฺโท"นั้นแปลว่า พระจันทร์ การตั้งฉายาเป็นไปตามวันเกิด หลวงปู่หล้าเกิดวันพฤหัสบดี

    เกิดที่บ้านปง

    หลวง ปู่หล้า เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 (เดือนเกี๋งเหนือ) ตรงกับวันที่ 22 กันยายน 2411 ซึ่งเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่หากดูจากพระประวัติเมืองเชียงใหม่แล้ว อยู่ในช่วงผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครจากเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 7 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ หรือ "เจ้าหลวงตาขาว"(พ.ศ.2426 - 2439 เป็นเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 8 คือ เจ้าอินทวโรสสุริยวงศ์ (พ.ศ. 2442-2452)
    หลวง ปู่หล้า เกิดที่บ้านปง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (บ้านปงอยู่ห่างจากวัดป่าตึงประมาณ 1 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้) สำหรับบริเวณนี้ ในอดีตเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาของภาคเหนือ จึงปรากฎเตาเผาและเครื่องปั้นดินเผา โดยอาจารย์ไกรศรี นิมมนานเหมินท์ สำรวจเตาเผา เมื่อ พ.ศ.2495 มีจำนวนถึง 83 เตา จึงได้ทำการเผยแพร่ในปี พ.ศ.2503 ในชื่อ "เตาสันกำแพง" ผลผลิตส่วนหนึ่งชาวบ้าน และอาจารย์ไกรศรี ได้นำถวายหลวงปู่หล้าไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดป่าตึง เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาต่อไป

    สกุลบุญมาคำ

    โยมพ่อ ชื่อ นายเงิน โยมแม่ชื่อ นางแก้ว นามสกุลบุญมาคำ เหตุที่มีนามสกุลนี้ หลวงปู่หล้าเล่าว่า "เพราะพ่ออุ้ย (ปู่) อบุญมา แม่อุ๊ย (ย่า) ชื่อคำ เมื่อมีการนามสกุล กำนันจึงตั้งให้เป็น "บุญมาคำ" ทุกคนทั้งโยมพ่อโยมแม่ พ่ออุ้ย แม่อุ้ย เป็นชาวบ้านปงมีอาชีพทำนา มีรากอยู่ที่บ้านปงมานานแล้ว หลวงปู่หล้าเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว จึงมีชื่อเดิมว่า "หล้า" ซึ่งหมายถึงสุดท้าย หลวงปู่หล้า มีพ่อน้อง 4 คน เสียชีวิตหมดแล้วได้แก่
    1. นายปวน
    2. แม่แสง
    3. นางเกี๋ยงคำ
    4. นายคำ
    หลวง ปู่หล้ากำพร้าพ่อตั้งแต่อายุ 1 ขวบเท่านั้น โยมแม่จึงเลี้ยงดูบุตรทั้งหมดเพียงลำพังตนเอง หลวงปู่หล้าเล่าให้ฟังว่า "การเลี้ยงลูกสมัยก่อน ต้องช่วยกันทำงาน ช่วยเลี้ยงวัว ทำผิดก็ถูกเฆี่ยน ทำพลาดก็ถูกเอ็ด” เด็กวัดป่าตึง

    หลวงปู่หล้า หรือเด็กชายหล้า บุญมาคำ อายุได้ 8 ขวบ โยมแม่ก็นำไปฝากกับครูปินตา เจ้าอาวาสวัดป่าตึง ให้เป็นเด็กวัด (สมัยก่อนชาวบ้านนิยมฝากบุตรชายให้เป็นเด็กวัดเพื่อศึกษาเล่าเรียน) หลวงปู่หล้าจึงได้เรียนหนังสือเป็นครั้งแรกกับครูบาปินตา แต่ขณะนั้นหลวงปู่หล้าเรียนหนังสือพื้นเมือง (ช่วงนั้นตรงกับ พ.ศ. 2450เกิดความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์พื้นเมือง ภายใต้การนำของครูบาฝายหิน เจ้าอาวาสวัดฝายหิน เชียงใหม่ ซึ่งได้รับสถาปนาเป็นปฐมสังฆนายกองค์ที่ 1 พ.ศ. 2438กับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย นำโดยมหาปิงเจ้าคุณนพีสีศาลคุณ จนมีการกล่าวขวัญเรื่องนี้ว่า "จะไหว้ตุ๊ป่า หรือ จะไหว้ตุ๊บ้าน" คำว่า ตุ๊ หมายถึง พระจนความทราบถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรส สมเด็จพระสังฆราช และรัชกาลที่ 5 จึงทรงมีรับสั่งให้อาราธนาครูบาฝายหินลงไปเฝ้าใน

    ปี พ.ศ. 2499 ขณะนั้นครูบาฝายหินมีอายุ 75 ปี ครูบาฝายหินได้ถวายพระพรให้ทรงทราบเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง โปรดเกล้าถวายสมณศักดิ์ตำแหน่งพระราชาคณะให้ครูบาฝายหินเป็นพระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์ ฉะนั้น ปีที่หลวงปู่หล้าไปเป็นเด็กวัดป่าตึงนั้น ทรงราชการส่งเสริมให้ทุก ๆ วัดจัดการศึกษาแก่กุลบุตร โดยยังคงผ่อนผันให้ใช้อักษรพื้นเมืองในการเรียนการสอน)

    สู่ร่มสกาวพัสตร์

    หลวง ปู่หล้าเป็นเด็กวัด ศึกษาเล่าเรียนกับครูบาปินตา จนกระทั้งอายุ 11 ขวบ ก็บวชเป็นสามเณรในช่วงเข้ารุกขมูล เข้ากรรมอยู่ในป่า มีผู้บวชพร้อมกันครั้งนั้น7 คน ครูบาปินตาเป็นผู้บวชให้ทุกคนต้องไปอยู่รุกขมูลในป่าช้า การเข้ากรรม หรืออยู่กรรม หรือ การไปอยู่รุกขมูล เรียกว่าประเพณีเข้าโสสานกรรมซึ่งเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของพุทธศาสนา มักทำกันในบริเวณป่าช้าที่อยู่นอกวัด ผู้เข้าบำเพ็ญโสสานกรรมต้องถือปฏิบัติเคร่งครัดเพื่อต้องการบรรเทากิเลส ตัณหา ความห่วงต่อวัตถุ ต้องสร้างความดีด้านจิตใจให้เกิด

    นักอนุรักษ์นิยม

    ขณะ ที่บวชเป็นสามเณรอยู่นั้น หลวงปู่หล้ามิได้เรียน แต่เพียงหนังสือพื้นเมืองเท่านั้นแต่ได้เรียนหนังสือไทยด้วย โดยเรียนกับพระอุ่น ซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดอู่ทรายคำในเมืองเชียงใหม่ และเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ (ปัจจุบันคือโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) แต่ครูบาปินตาไม่สนับสนุนให้พระเณรเรียนหนังสือไทย ในที่สุดพระอุ่นจึงต้องเลิกสอน (ช่วงนั้นทางการพยายามให้ทุกท้องถิ่นเรียนรู้ภาษาไทยภาคกลาง ซึ่งโรงเรียนเคร่งครัดมาก ผู้ใดพูดภาษาพื้นเมืองต้องถูกปรับ พระสงฆ์พื้นเมืองกลุ่มหนึ่งต้องการรักษาเอกลักษณ์ทางภาษาของท้องถิ่นไว้ จึงไม่สนับสนุนการเรียนภาษาไทยภาคกลางและครูบาปินตาก็เป็นผู้หนึ่งด้วย)

    เข้าเมืองเชียงใหม่

    หลวง ปู่หล้าศึกษาเล่าเรียนทั้งอักขรวิธี และธรรมปฏิบัติกับครูบาปินตาเรื่อยมาจวบจนกระทั้งอายุ 18 ปี จึงเดินทางเข้าไปจำพรรษาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง ซึ่งการเดินทางสมัยก่อนลำบากมากไม่มีถนนหนทาง ไม่มีรถรา พาหนะใด ๆ ก็ไม่มี จะไปไหนก็ต้องเดินไป อย่างเช่นจะไปเชียงใหม่ ชาวบ้านปงก็ต้องออกเดินทางตั้งแต่ตี 2 ก็จะไปสว่างเอาที่เชียงใหม่ หลวงปู่หล้าเล่าว่า "หลวงปู่หล้าก็ต้องเดินเหมือนกัน"

    อุปสมบท

    หลวง ปู่หล้าเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพนเพียง 1 ปี ยังไม่ทันสำเร็จ ก็ต้องเดินทางกลับวัดป่าตึง เพื่อปรนนิบัติครูบาปินตาที่ชราภาพ ด้วยความกตัญญู นอกจากปรนนิบัติแล้วก็ติดตามครูบาปินตาไปตามที่ต่าง ๆ ด้วย เมื่ออายุครบ 20 ปี ก็อุปสมบทในอุโมสถน้ำ ปัจจุบันอุโบสถน้ำหลังนี้ถูกรื้อไปแล้ว (การอุปสมบทในอุโบสถน้ำ หรือการอุปสมบทแบบนทีสีมา หรืออุทกกุกเขปสีมาหรือแพโบสถ์ในน้ำ เป็นประเพณีที่รับมาจากสำนักมหาวิหารของลังกา สมัยโบราณนิยมกันมาก พระสุมนเถระผู้นำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทมาเผยแพร่ในล้านนา เมื่อ พ.ศ.1912 สมัยพระเจ้ากือนากษัตริย์องค์ที่ 6 พ.ศ.1894-1928 ได้กระทำอุปสมบทกุลบุตรชาวล้านนาครั้งแรกด้วยวิธีสมมตินทีสีมา หรือแพโบสถ์ในน้ำที่แม่ปิง บริเวณใกล้วัดจันทร์ภาโน)การอุปสมบทของหลวง ปู่หล้าในครั้งนั้น ครูบาปินตาเป็นพระอุปัชฌาย์ ครูบาอิ่นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณวิชัยศรีเป็นพระอนุสาวนาจารย์

    นมัสการครูบาศรีวิชัย

    หลวง ปู่หล้าได้ติดตามพระญาณวิชัย เจ้าคณะตำบลออนใต้ ไปนมัสการครูบาศรีวิชัย ที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตอนนั้นหลวงปู่หล้าอายุ 23 ปีได้เดินทางด้วยเท้าจากท่าเดื่อ ท่าตุ้ม บ้านโฮ่ง ไปถึงบ้างปาง ใช้เวลาเดินทางถึง 2 วันและ 2 คืน แต่เมื่อไปบ้านปางปรากฎว่า ครูบาศรีวิชัยไปที่พระธาตุดอยเกิ้ง หลวงปู่หล้าจึงรออยู่ที่บ้านปาง 2 คืน ครูบาศรีวิชัยจึงได้เดินทางกลับ หลวงปู่หล้าจึงได้เข้านมัสการแล้ว ได้เดินทางกลับวัดป่าตึง แต่ขากลับระหว่างเดินทางหลวงปู่หล้าฉันอาหารผิดสำแดงทำให้ท้องเสีย ถึงกับอาพาธนาน 1 เดือน ต้องพักกลางทางที่ฮอด (อำเภอ) และที่สบขาน ครูบาศรีวิชัยมาจำพรรษาที่วัดสิงห์ เมืองเชียงใหม่ หลวงปู่หล้าได้ไปนมัสการอีกหลายครั้ง

    ผู้สอนวิปัสสนากรรมมัฏฐาน

    หลวง ปู่หล้าได้เรียนวิปัสสนากรรมมัฏฐาน กับครูบาสุริยะ วัดจอมแจ้ง ขณะที่ครูบาสุริยะจะไปวัดจอมแจ้งได้รับนิมนต์ไปจำพรรษาที่วัดเชียงแสนตำบล ออนใต้ อำเภอสันกำแพง (ครูบาสุริยะ วัดจอมแจ้ง เป็นศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของครูบาศรีวิชัย ซึ่งต่อมาถูกทางการบังคับให้ลาสิขา เพราะครูบาศรีวิชัยเป็นผู้บวชให้ ส่วนวัดเชียงแสนเป็นวัดเก่าที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2031 ตั้งอยู่ห่างจากวัดป่าตึงเข้าไปประมาณ 2 กม. แต่ปัจจุบันเป็นวัดร้างพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดเชียงแสน คือพระเจ้าฝนแสนห่า และหลักศิลาจารึกของหมื่นดาบเรือน ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดป่าตึง)

    สูญเสียครั้งใหญ่

    หลวง ปู่หล้าปรนนิบัติครูบาปินตา จนกระทั้งล่วงเข้าปี พ.ศ.2467 ครูบาปินตาก็มรณภาพด้วยวัย 74 ปี ขณะนั้นหลวงปู่หล้า อายุ 27 ปีเท่านั้นเรียกว่าเป็น "พระหนุ่ม" ก็ต้องรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าตึงต่อจากครูบาปินตาต่อมาอีก 4 ปี หลวงปู่หล้าอายุ 31 ปี โยมแม่ซึ่งอายุ 63 ปีก็เสียชีวิตไปอีกหลังโยมพ่อ 30 ปี

    เจ้าอาวาสวัดป่าตึง

    หลวงปู่หล้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าตึง พ.ศ.2467 ต่อจากครูบาปินตา เจ้าอาวาสรูปแรก และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลออนใต้ พ.ศ.2476 (ช่วงรัชกาลที่ 7 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1 ปี มีการยุบเลิกมณฑลพายัพและการบริหารราชการระดับมณฑล คงเหลือแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน)หลวงปู่หล้าได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุ 40 ปี

    ทำถนนขึ้นดอยสุเทพ

    ปี พ.ศ. 2477 ครูบาศรีวิชัยได้อำนวยการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ โดยใช้เวลา 5 เดือน 22 วัน ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2477 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2478ผู้มีศรัทธาต่อครูบาศรีวิชัยทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส โดยเฉพาะพวกกเหรี่ยงจากอำเภอลี้จังหวัดลำพูน ได้มาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก ระยะทางที่สร้าง 11,530 กม.

    หลวงปู่หล้าเดินทางไปร่วมสร้างถนนขึ้น ดอยสุเทพตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มสร้างมีคณะศรัทธาจำนวนหนึ่งติดตามไปจากวัดป่า ตึง หลวงปู่หล้าเล่าว่า "การสร้างถนนมีการแบ่งงานกันตามกำลังของผู้ไปร่วม ชาวบ้านที่ติดตามไปจากวัดป่าตึงทำได้ 5 วา ใช้เวลา 14 วัน พวกที่ไปจากเมืองพานทำได้60 วา"


    พระครูจันทสมานคุณ

    หลวง ปู่หล้าได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น "พระครูจันทสมานคุณ" ปี พ.ศ. 2504 อายุ 63 ปี ท่านได้เดินทางไปกรุงเทพ เพื่อรับพระราชทานพัดยศจากสมเด็จพระสังฆราช พระวันรัต (ปลด กิตติโสภโณ วัดเบญจมบพิตร ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช)
    การเดินทางไปกรุงเทพนับเป็น ครั้งที่ 3 โดยครั้งแรก พ.ศ.2499 ติดตามครูบาอินถา เจ้าอาวาสวัดเชียงมั่น ครั้งที่สอง พ.ศ. 2500 เข้าอบรมเกี่ยวกับการปกครองของคณะสงฆ์ ที่วัดสามพระยา ได้มีโอกาสร่วมในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษด้วย

    ครูบาปินตา

    หลวง ปู่หล้าได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับครูบาปินตา พระอุปัชฌาย์ว่า "ครูบาปินตา เป็นคนบ้านแม่ผาแหน บวชเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร เป็นศิษย์ของครูบากันธิยะ วัดแม่ผาแหน ท่านเป็นผู้สร้าง วัดป่าตึงองค์แรก หลวงปู่หล้าเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 2 เมื่อตอนที่สร้างวิหาร ครูบาปินตาต้องขออนุญาตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เพื่อตัดไม้สักมาสร้าง ครูบาปินตาเป็นพระที่เคร่งครัด ในการวิปัสนากรรมมัฎฐาน ฉันมื้อเดียวตลอดชีวิต มีความเชี่ยวชาญในหนังสือพื้นเมือง เป็นผู้สอนหนังสือพื้นเมืองให้หลวงปู่หล้า เพราะไม่ต้องการให้มีการเรียนการสอนภาษาไทยภาคกลางในวัด แต่ต้องการให้พระเณรเรียนหนังสือพื้นเมือง หลวงปู่หล้าบวชเมื่อครูบาปินตาอายุ 59 ปี และมรณภาพอายุ 74 ปี ขณะหลวงปู่หล้าอายุ 27 ปี"

    สบายอย่างตุ๊เจ้า

    ตามที่มี การพูดเชิงวิจารณ์ถึงพระภิกษุในเมืองเหนือว่า "สบายอย่างตุ๊เจ้า" คือพระเมืองเหนืออยู่สุขสบายกัน จึงไม่ปรากฎว่ามีความสำเร็จในการศึกษาได้เปรียญสูง ๆ เหมือนกับพระทางภาคอีสานนั้น หลวงปู่หล้าตอบเรื่อง่นี้ว่า พระเมืองเหนือมิใช่ว่าจะไม่อยากเรียน สมัยก่อนไม่มีระบบ ไม่ได้จัดเป็นระเบียบใครใคร่เรียนก็เรียน ไม่อยากเรียนก็ได้

    สำหรับ สาเหตุที่พระเณรชอบลาสิกขา จนมีคติว่า "น้อยเวย หนานช้า" โดยชาวล้านนาเรียกผู้ที่สึกจากเณรว่า "น้อย" ผู้ที่สึกจากพระเรียกว่า "หนาน"ซึ่งแปลว่า สึกจากเณรเรียกน้อยมักรวดเร็ว แต่สึกจากพระคือหนานมักช้า หลวงปู่หล้าอธิบายว่า เพราะชาวเหนือนิยมบวฃตั้งแต่เป็นเด็กพออายุ 18-19 ปี ก็เกิดการเบื่อหน่าย โดยเฉพาะที่อายุ 27-28 ปี จะยิ่งเบื่อมาก ๆ จึงลาสิกขาบท


    หลวงปู่หล้าตาทิพย์

    มีคนยกย่องว่า "หลวงปู่หล้า ตาทิพย์" เล่ากันว่า มีอยู่วันหนึ่งฝนตั้งเค้าจะตกหนัก หลวงปู่หล้าบอกให้พระเณรรีบออกจากกุฏิ เพราะกุฏิเก่าทรุดโทรมและมีต้นลานใหญ่อยู่ข้าง ปรากฎว่าวันนั้นฝนตกหนักกิ่งต้นลานก็หักโค่นลงมาทับกุฏิพังทุกคนปลอดภัย และพากันสรรเสริญว่า "ตาทิพย์"

    อีกเรื่องหนึ่งคือ มีคณะผู้มากราบนมัสการหลวงปู่หล้าเกินจำนวนที่แจ้งขอของขลังจากท่าน แต่ได้รับแจกกันครบทุกคน จึงพากันเห็นเป็นอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์


    นอก จากนั้น นายอนันต์ อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านป่าตึงได้เล่าเพิ่มเติมว่า "เช้าวันหนึ่งประมาณตี 5 หลวงปู่หล้าให้พระเณรรีบทำความสะอาดวิหารจะมีแขกมาหาที่วัด ปรากฎว่าพอถึง 6 โมงเช้า พระศรีธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดสันป่าข่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นำญาติโยมมาหา"หลังจาก นั้นชาวบ้านของหายหรือถูกลักขโมย มาถามหลวงปู่ก็บอกให้ไปตามทิศนั้นทิศนี้ได้ของคืนมาทุกครั้ง แต่หากท่านห้ามไม่ต้องไปตามจะไม่ได้คืน ก็จะเป็นจริง


    เหรียญครูบาหล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง
    อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ศิษท์สร้างถวาย สร้างเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2532


    *ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_5575.jpg
      SAM_5575.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.2 KB
      เปิดดู:
      281
    • SAM_5578.jpg
      SAM_5578.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74 KB
      เปิดดู:
      261
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2011
  15. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]


    หลวงพ่อพัฒน์ นารโท วัดใหม่พัฒนาราม สุราษฎร์ธานี

    วัด พัฒนารามเดิมชื่อวัดใหม่ เป็นวัดที่หลวงพ่อพัฒน์ นารทะ สร้างขึ้น ตั้งอยู่ที่ ๘๗/๑ ถนนพัฒนาราม ตำบลตลาดล่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๘๔๐๐๐

    [​IMG]

    ประวัติความเป็นมา
    หลวงพ่อพัฒน์อุปสมบทและจำพรรษาที่วัดพระโยคหลายพรรษา จนถึงปี ๒๔๓๙ หลังจากกลับจากธุดงค์กับพระอาจารย์สุข ก็สร้างวัดขึ้นใหม่ ชาวบ้านเรียก "วัดใหม่" หลวงพ่อสร้างวัดบริเวณที่ดินร้างด้านหลังป่าช้าวัดพระโยค ซึ่งยังเป็นป่ารกทึบ เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ เสือ ลิง ค่าง งูพิษ หนูป่า โดยท่านได้ชักชวนชาวบ้าน ญาติมิตร และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมแรงร่วมใจกันตัดต้นไม้ ถางพงหญ้าขนดินขนทรามาสร้างเป็นบริเวณวัด อำนวย ศรีขจร "สัมภาษณ์, ๒ มีนาคม ๒๕๔๖) หลานชายหลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ เล่าว่า "ผู้ใหญ่ทับ ม่วงทอง เกณฑ์คนจากสะบ้าย้อย คลองฉนาก มาขุดสระให้หลวงพ่อพัฒน์สร้างวัด ถมดิน ทำโบสถ์"ภิญโญ เพ็ญจันทร์ (สัมภาษณ์, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕)
    อดีตรักษาการเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ วัดพัฒนาราม หรือ พระภิญโญ ฐิตฺตวณฺ บอกนางบงกช ทิพย์สุวรรณว่า "ที่วัดใหม่คล้ายมีดโต้ สันมีดอยู่โรงพยาบาลบ้านดอน คมมีดอยู่โรงเรียนอนุบาล ด้ามมีดอยู่ป่าช้า" ป่าช้าดังกล่าวคือที่ ที่หลวงพ่อพัฒน์ มาอยู่ในบั้นปลายชีวิตและนั่งสมาธิมรณภาพส่วนโรงเรียนอนุบาล เดิมชื่อโรงเรียนอนุบาลห้องเก่า ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น?มหาวิทยาลัยสงฆ์หลวงพ่อเจียว (สัมภาษณ์, ๒๑ มกราคม ๒๕๔๔) น้องชายหลวงพ่อพัฒน์ ถ่ายทอดให้สามเณรบุญเที่ยง กิ้มฉุ้น บุญยงค์ พัฒนพงศ์ เรื่องการสร้างวัดของหลวงพ่อพัฒน์ว่ามีชาวบ้านญาติพี่น้องมาช่วยลงแรงกัน ญาติๆ ก็มีแม่หีด แป๊ะแก้ว แป๊ะแดง แป๊ะเพชรนายโคน พระประสารศุภชา ส่งเงินมาช่วยจากบางกอก คนสนิทก็มีนายฉ้วน แซ่อ๋อง กับนายจ้วน แซ่เจ้ง เกลอของหลวงพ่อพัฒน์ นางเนี่ยว ชั้ววัลลี นางหนูถิ่น ถาวรสุข ช่วยถางหญ้า หาไม้มาสร้างศาลาชั่วคราว แม่ชีมาร่วมหลายคนมีแม่ชีโบ้ว แม่ชีนก แม่ชีดำชาวโพธิ์หวาย ผู้คนมากันหลายสาย จากสะบ้าย้อย โพธิ์หวาย บางโจร น้ำรอบ ท่าฉางบางขาม เกาะสมุย เกาะพะงัน ทั้งคนไทย คนจีน ช่วยแรง ช่วยปัจจัย ที่เป็นช่างก็ช่วยก่อสร้าง ทั้งคนทั้งช้างพร้อมเพรียงกันช่วยหลวงพ่อ ด้วยความศรัทธา" นายบุญยงค์ พัฒนพงศ์ ค่อยๆลำดับความถ่ายทอดให้ผู้วิจัยด้วยการรำลึกถึงอย่างแม่นยำรายงานพระสงฆ์ จัดการศึกษามณฑลชุมพร ร.ศ.๑๑๘ บันทึกไว้ว่า "พระพัฒน์ เจ้าอธิการเป็นผู้สามารถ แลเป็นที่นิยมนับถือของราษฎรในเมืองนี้ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นภิกษุหนุ่มก็สามารถสร้างวัดขึ้นใหม่ได้สำเร็จ รู้จักเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า "วัดใหม่"แผ่นโลหะจารึกที่ฝาผนังมณฑปซึ่งประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อพัฒน์จารึก ไว้ว่า "ปีวอก อัฐศกเดือน ๖ ท่านอธิการภัฒร์ นารทะ ได้ชักชวนผู้มีศรัทธาคิดก่อสร้างอารามนี้ เมื่อปีจอ สัมฤทธิศก เดือน ๖ ได้ยกอุโบสถจนสำเร็จ ครั้งถึงปีฉลู ตรีศก เดือน ๖ แรม ๑๔ ค่ำ พระพุทธศาสนาล่วงแล้วได้ ๒๔๔๔ ได้ผูกพัทธสีมาได้สำเร็จบริบูรณ์ แม่ศิลาพร้อมด้วยแม่แก้วลูกสะใภ้ ภรรยาพระยาวาจี (ขำ) ชาวเมืองชุมพร ได้ถวายช้างพลายควน ๑ เชือก เป็นพาหนะสำหรับอารามนี้ รวมการก่อสร้างอุโบสถนี้ คิดเป็นเงินตราหมื่นบาทเศษ ๑๐๐๐๐ เศษ ขอกุศลที่เกิดจากการก่อสร้างนี้ จงเป็นผลสำเร็จแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และพระมหากษัตริย์ผู้ได้ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้ถาวร และบิดามารดาและหมู่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว ทั้งประชุมชนพร้อมทั้งฝ่ายสมณะและคฤหัสถ์ผู้จะได้ปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างขึ้นใหม่ต่อไป ณ ภายหลังขอเป็นอุปนิสัยปัจจัยแด่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญอนึ่ง จากหนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพพระศรีปริยัตโยดม (จันทร์ เขมจารี ป.ธ.๙) เขียนไว้ว่า "ปีจอ สัมฤทธิศก ตรงกับ พ.ศ.๒๔๔๑ หลักฐานของทางวัดใหม่บันทึกว่า หลวงพ่อพัฒน์ ได้เริ่มสร้างวัดใหม่ เมื่อเดือน ๖ ปีวอก อัฐศก ๒๔๓๙"จึงพอจะวิเคราะห์ได้ว่า วัดใหม่เริ่มสร้างเมื่อเดือน ๖ ปีวอก พ.ศ.๒๔๓๙ เริ่มก่อสร้างอุโบสถเดือน ๖ ปีจอ พ.ศ.๒๔๔๑ สร้างสำเร็จและผูกพัทธสีมาเมื่อเดือน ๖ ปีฉลูพ.ศ.๒๔๔๔ โดยในการสร้างวัดครั้งนี้มีผู้ถวายช้างมาช่วยในการก่อสร้างด้วยการที่นาง ศิลา นางแก้ว ลูกสะใภ้และภรรยาพระยาวาจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)ถวายช้างให้ แสดงว่าหลวงพ่อเป็นที่ศรัทธานับถือเพราะสมัยนั้นวัฒนธรรมความเชื่อของคนไทย ถือว่าช้างเป็นสัตว์ชั้นสูง เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญโดยเฉพาะถ้ามีช้างเผือกเกิดขึ้นในแผ่นดินใด?แสดง ถึง?บุญญาธิการและพระบารมีสูงสุดของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นประจง เรืองณรงค์ (๒๕๔๕,๒๐) เล่าไว้ในหนังสือเรื่องเล่าจากแม่ว่า "ตาหลวงพัฒน์ ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่สร้างวัดใหม่หรือวัดพัฒนารามตรงตลาดล่าง แม่ยังจำครั้งตาหลวงพัฒน์สร้างวัดได้ เช่น เห็นช้างชักลากไม้ซุงมาทำเสาและกระดานแผ่นโตๆ มีชาวบ้านมาช่วยกันสร้างจนเสร็จเรียบร้อย ช้างของตาหลวงพัฒน์นั้น แม่ยังจำได้ว่า ท่านตั้งชื่อว่า "พลายสมบุญ"สำหรับช้างพลายสมบุญนี้ จากหลักฐานเอกสาร และคำบอกเล่าของผู้รู้ รวมทั้งแผ่นจารึกในมณฑปหลวงพ่อพัฒน์ได้ข้อมูล ดังนี้แผ่นโลหะจารึกในมณฑปหลวงพ่อพัฒน์ บันทึกไว้ว่า "พระภัฒร์เจ้าอธิการฝากช้างไว้กับแม่หีด บุตรแม่หีด พระภิกษุเอาช้างทำการสงฆ์ ไม่ให้ขอศาลบังคับช้างทำการสงฆ์เสร็จฝากบุตรแม่หีดตามเดิม วินัย พัฒนพงศ์(สัมภาษณ์ ๔ มีนาคม ๒๕๔๖) หลานชายหลวงพ่อพัฒน์ "ตาหลวงพัฒน์สร้างวัดเสร็จ จนมีโบสถ์ หอระฆัง โรงครัวที่ทำเป็นโรงพยาบาล และกุฏิ แล้วจึงมอบช้างพลายสมบุญ ให้เตี่ยไปช่วยทำเหมืองที่พะโต๊ะ ชุมพร" เตี่ยที่นายวินัยกล่าวถึง คือ นายบุญให้ พัฒนพงศ์ บุตรชายนางหีด?พี่สาวของหลวงพ่อพัฒน์คำบอกเล่าของวินัยตรงกับแผ่นโลหะจารึก ในมณฑปที่จารึกว่า "พระภัฒร์ เจ้าอธิการฝากช้างไว้กับแม่หีด บุตรแม่หีด"แม่ชีบุญลาภ พัฒนพงศ์ สัมภาษณ์ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๔) เล่าว่า "พลายสมบุญล้ม (ตาย) เนื่องจากถูกช้างป่า ทำร้ายตอนที่ควาญนำไปช่วยชาวบ้านลากซุงในป่า หลวงพ่อพัฒน์ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลสวดศพช้าง และต้องใช้เวลาเผาศพถึง ๓ วัน ๓ คืนจึงไหม้หมดแล้วเอากระดูกพลายสมบุญที่เหลือฝังไว้ใต้ดินบริเวณที่เผาศพ นั่นเองอนึ่ง เกี่ยวกับชื่อวัดนั้น หลวงพ่อพัฒน์ ได้ตั้งชื่อไว้ในแผ่นโลหะจารึกว่า "วัดภัฒร์เฉลิมไช" แต่ไม่มีผู้ใดเรียกขานชื่อนี้ ชาวบ้านเรียกชื่อ วัดใหม่ จนกระทั่งประมาณปี๒๔๗๙ นายบุญยงค์ พัฒนพงศ์ ด้ขอให้ท่านเจ้าคุณภัทรมุนี (มหาอิ๋น ป.ธ.๙) รองเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งชื่อวัดให้ใหม่จาก "วัดใหม่" เป็นวัด "พัฒนาราม" มาจากคำว่า พัฒนะ กับ อาราม แปลว่าวัดที่เจริญรุ่งเรืองพร้อมกันนี้ ท่านเจ้าคุณได้ตั้งชื่อสกุล เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อวัด จากสกุลเดิม "กิมฉุ้น" เป็น "พัฒนพงศ์"วัดพัฒนาราม นอกจากจะเป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาของชาวสุราษฎร์ธานี และเป็นโรงพยาบาลแผนโบราณแห่งแรกแล้วยังเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์ สัตยา ดังเอกสารที่ กวี รังสิวรารักษ์ ได้ค้นคว้ารวบรวมเขียนไว้ในหนังสือ ๓อภิญญา ศรีวิชัยว่า (กวี รังสิวรารักษ์ ๒๕๔๓, ๓๑๘)"วัดใหม่ เป็นวัดที่ทางราชการเลือกใช้เป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาดังความใน หนังสือที่๔๒๘๘ ร.ศ.๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๔) ของพระศรีสมโพธิ์ เจ้าคณะมณฑลชุมพร ตอนหนึ่งว่า
    "ฉันเพลแล้ว เข้ากระบวนแห่พระบรมรูปทางบกมาวัดใหม่ (วัดที่ถือน้ำ) เชิญพระบรมรูปประดิษฐานไว้ในอุโบสถกับธรรมาสน์ที่พระราชทานหนังสือประวัติ พ่อหลวงเจียว พัฒนพงศ์ เขียนไว้ว่า "นายเจียวเป็นครูคนแรกของโรงเรียนสุพรรณดิตถ์พิทยา แขวงบ้านดอน ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ตั้งอยู่ที่วัดพัฒนาราม (วัดใหม) เมืองสุราษฎร์ธานีราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๖ หน้า ๓๓๔ บันทึกว่า วัดใหม่ควรตั้งโรงเรียนหลวงได้ เพราะพระพัฒน์เจ้าอธิการ เป็นผู้สามารถ และเป็นที่นิยมนับถือของราษฎรในเมืองนี้ พระเจียวน้องของเจ้าอธิการได้เคยเข้ามาศึกษาวิชาหนังสือไทยในกรุงเทพฯ เธอได้คิดจัดตั้งการสอนมาได้ ๒ ปีแล้ว"จากเอกสารดังกล่าว ยืนยันว่า วัดใหม่เป็นที่ตั้งสถานศึกษาแห่งแรกของทางราชการที่เรียกว่า โรงเรียนหลวงด้วย

    ข้อมูลประวัติ
    ท่านเกิดเมื่อวันพุธ เดือน ๖ ปีจอ พ.ศ.๒๔๐๕ ร.ศ.๘๑ ในปีที่ ๑๒ แห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ณ ตลาดบ้านดอน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โยมบิดาของท่านชื่อ ฉุ้น โยมมารดา ชื่อ เนียม บิดาของท่านเป็นชาวบ้านดอน ส่วนโยมมารดาเป็นชาวเกาะพะงัน มีพี่น้องร่วมอุทร บิดา มารดาเดียวกัน ๗ คน หลวงพ่อเป็นคนที่ ๕ ครั้งมีพระราชบัญญัติขนานนามสกุล(ขณะท่านอยู่ในเพศบรรพชิตแล้ว) ญาติพี่น้องของท่านใช้ชื่อสกุลว่า "พัฒนพงศ์" เมื่อเยาว์วัย ได้ศึกษาอยู่กับพระอาจารย์ผ่อง แห่งวัดพระโยคศึกษาเล่าเรียน ตามเนื้อหาวิชาซึ่งเป็นที่นิยม ศึกษาสืบทอดกันอยู่ในยุคสมัยนั้นตามควรแก่วัยและตามภูมิพื้นความรู้ของผู้ เป็นอาจารย์ท่านผู้สอน

    อุปสมบท

    กล่าวกันว่า เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม ท่านก็ได้ทำการสมรสกับนางละม่อมอยู่กินกัน
    หลายปี แล้วมีเหตุบางประการ ทำให้ท่านต้องบรรพชาอุปสมบท ในระหว่างที่หลวงพ่อบวชอยู่นั้น นางละม่อม ภรรยาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ได้คลอดบุตรออกมาเป็นหญิง แต่ถึงแก่กรรมภายหลังคลอดได้ไม่นานนัก ทำให้ท่านตัดสินใจไม่ยอมลาสิกขา คงครองเพศสมณะอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์เรื่อยมา สำหรับสาเหตุที่ท่านได้อุปสมบท ขณะภรรยากำลังตั้งครรภ์นั้น บ้างว่าเพราะความตระหนักรู้เลื่อมใสในหนทางอริยมรรคเกิดความเบื่อหน่ายใน ฆราวาสวิสัย แต่
    บ้างก็ว่าเพราะเหตุผลทางประเพณีหรือความเชื่อ เช่น การบวชหน้าไฟ(ในงานศพบุพการี) หรือการบนบวช เป็นต้น ครั้นเกิดเหตุบุตรที่เพิ่งคลอดเสียชีวิต ประกอบกับการได้หยั่งถึงสัมผัสรับรู้ในความสงบเย็น สว่าง และสะอาดของร่มกาสาวพัสตร์อันมีความเป็นสัปปายะเปี่ยมเหตุปัจจัยที่ เอื้ออำนวยเกื้อกูลสนับสนุนโอกาสแห่งความก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปในทางธรรมจึงทำ ให้ท่านไม่คิดลาสิกขา คงอยู่ในเพศบรรพชิตต่อไปโดยไม่มีกำหนดหลังจากล่วงเลยเวลาที่ควรลาสิกขาไปนาน เข้า นางละม่อมผู้ภรรยาก็ได้ปรารภ กับหลวงพ่อ ขอให้ท่านสละเพศบรรพชิต ออกไปครองเรือนใช้ชีวิตครอบครัวดังเดิม แต่หลวงพ่อได้ปฏิเสธ พร้อมกับแจ้งให้ทราบถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จักอยู่ในสมณเพศต่อไปแบบไม่ มีกำหนดหลายปีต่อมา นางละม่อม ก็ได้แต่งงานใหม่ โดยความอนุโมทนาอันดีของหลวงพ่อเพราะเป็นการช่วยปลดเปลื้องห่วงผูกพันให้แก่ ท่านอย่างสิ้นเชิงในการอุปสมบทของหลวงพ่อพัฒน์นั้น ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๕ ปี ในพ.ศ.๒๔๓๐ ณ อุโบสถวัดพระโยค โดยมีพระครูสุวรรณรังษี(มี)เจ้าคณะเมืองกาญจนดิษฐ์ เจ้าอธิการวัดโพธิ์ ตำบลบ้านตลาดบน (ยึดถือตามรายงานมณฑลชุมพร ร.ศ.๑๑๙)เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ (ภายหลังเป็นที่พระครูวิธูรธรรมสาส์น) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อขำ วัดบางใบไม้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "นารโท" บวชแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระโยค เป็นเวลาหลายพรรษา

    สร้างวัด

    เมื่อมีอายุพรรษามากขึ้นหลวงพ่อพัฒน์ก็ได้บุกเบิกสร้างวัดขึ้นมาใหม่อีกแห่ง หนึ่งกล่าวกันว่า ที่ดินที่หลวงพ่อพัฒน์ใช้เป็นสถานที่สร้างวัดนั้น แต่เดิมเป็นเขตป่าช้าของวัดพระโยคด้วยพรรษากาลที่ไม่ถึงสิบพรรษาและด้วย ปัจจัยที่ท่านมีอยู่เพียง ๖บาท เมื่อครั้งแรกเริ่มสร้างวัด แต่ด้วยบารมี ผลานิสงฆ์อันท่านได้เคยสร้างสมมาประกอบกับความเป็นผู้มุ่งมั่น มีปณิธาน และเป็นที่นิยมนับถือของราษฎร ดังที่ "รายงานพระสงฆ์จัดการศึกษามณฑลชุมพร ร.ศ.๑๑๘" กล่าวว่า "พระพัฒน์เจ้าอธิการเปนผู้สามารถแลเปนทีนิยมนับถือของราษฎรในเมืองนี้" (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๖ แผ่นที่ ๒๕ วันที่ ๒๗ กันยายน ร.ศ.๑๑๘ หน้า ๓๓๔) หลวงพ่อพัฒน์ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นภิกษุหนุ่ม ก็สามารถสร้างวัดขึ้นใหม่ได้สำเร็จ รู้จักเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า "วัดใหม่" (ชื่อวัดว่า "วัดใหม่" นี้คงใช้อยู่ตลอดสมัยของหลวงพ่อพัฒน์ภายหลังจากท่านมรณภาพแล้วได้มีการ เปลี่ยนชื่อวัดเพื่อเป็นที่ระลึกถึงท่านผู้สร้างว่า "วัดพัฒนาราม") ปีที่หลวงพ่อพัฒน์ นารโท เริ่มต้นสร้างวัดประมาณได้ว่า ไม่หลังจากพ.ศ.๒๔๔๐(ร.ศ.๑๑๖) อย่างแน่นอน ทั้งน่าเชื่อว่าอาจจะเริ่มก่อสร้างเสนาสนะก่อตั้งวัดก่อนหน้า ร.ศ.๑๑๖ หรือ พ.ศ.๒๔๔๐ อีกด้วย เนื่องจากปี ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐) นั้นเป็นปีที่หลวงพ่อพัฒน์ได้เริ่มสร้างอุโบสถจนกระทั่งแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ ครบถ้วนในปี ร.ศ.๑๒๓ (พ.ศ.๒๔๔๗) ดังมีรายละเอียดอยู่ในหนังสือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่๑๔๖๓/๘๓๘๗ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๓ รหัสไมโครฟิลม์ ม ร ๕ ศ/๓๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)แต่หลักฐานของทางวัดใหม่ (วัดพัฒนาราม) ระบุว่า "เมื่อปีจอสำเร็จธิศก เดือน ๖ ได้ยกอุโบสถจนสำเร็จ" (ปีจอ สัมฤทธิศกตรงกับ พ.ศ.๒๔๔๑) ทั้งยังกล่าวว่าหลวงพ่อพัฒน์ได้เริ่มสร้างวัดใหม่เมื่อเดือน ๖ ปีวอก อัฐศก พ.ศ.๒๔๓๙

    วิสุงคามสีมา
    หลวงพ่อพัฒน์ได้ก่อตั้งและสร้างวัดใหม่สำเร็จถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับพระ
    บรมราชานุญาตให้จัดการคณะส่วนปกครองของสงฆ์ ร.ศ.๑๑๘ (ภายหลังปรับเปลี่ยนเป็นพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑) ที่จำแนกวัดเป็น ๒ แผนก คือ วัด ที่มีวิสุงคามสีมา เป็นวัดแท้ไม่มีวิสุงคามสีมา เป็นแต่วัดพำนัก(โดยวัดแท้ มีหัวหน้าปกครองเป็นเจ้าอธิการ วัดพำนักเป็นหัววัด) ตั้งแต่ปี ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๓) เพราะว่าวัดที่หลวงพ่อพัฒน์สร้างใหม่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ทำให้มีสถานภาพเป็นวัดแท้ หรือเป็นวัดโดยสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ของคณะสงฆ์ ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ร.ศ.๑๑๙ โดยเขตวิสุงคามสีมา มีความกว้าง ๘ วา ๓ ศอก ยาว ๑๒ วา ๓ ศอก ตามประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๘ แผ่นที่ ๑๑ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ร.ศ.๑๒๐ (พ.ศ.๒๔๔๔) หน้า ๑๔๐ อนึ่ง หลักฐานของทางวัดพัฒนารามระบุว่าได้ผูกพัทธสีมาสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อปีฉลู ตรีศก เดือน ๖ แรม ๑๔ ค่ำ ใน วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๔ นอกจากนี้ หลวงพ่อพัฒน์ยังได้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างเสนาสนะสิ่งก่อสร้าง ต่างๆ อีกหลายอย่างแต่ขอกล่าว พอเป็นสังเขป คือ
    ศาลา
    ได้มีการสร้างศาลา กว้าง ๖ วา ยาว ๖ วา ๖ เหลี่ยม (เสมือนหนึ่งรหัสนัยบางประการ) ที่บริเวณหน้าอุโบสถวัดใหม่ ในปี ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) สิ้นค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้นประมาณ ๑,๖๗๑ บาท ซึ่งปรากฎรายละเอียดอยู่ในหนังสือมรรคนายกวัดใหม่ ที่๓๕๔๖ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ.๑๒๘
    หอระฆัง
    ในปี ร.ศ.๑๒๙ (พ.ศ.๒๔๕๓)วัดใหม่ได้จัดสร้างหอระฆังขึ้น ฐานกว้างด้านละ ๑ วา ๓ ศอก ๔ เหลี่ยม ๒ ชั้น สูง ๒ วา ๒ ศอก ใช้เงินในการก่อสร้างประมาณ ๑,๕๗๐ บาท โดยจีนเก้าเสี้ยน เป็นผู้บริจาคทั้งหมดปรากฏรายละเอียดในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ภาคที่ ๑ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๔) หน้า ๗๖๔
    ที่ถือน้ำ
    ในสมัยราชาธิปไตย บรรดาข้าราชการตามภูมิภาคหรือหัวเมืองและแขวงต่างๆ ต้องกระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา (น้ำที่ดื่มในเวลาถวายสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน) กันทุกปี โดยมักกระทำพิธีถือน้ำกันในวัดที่เห็นสมควรแม้วัดใหม่ของหลวงพ่อพัฒน์ จะเป็นวัดที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณไม่นานหลังจาก พ.ศ.๒๔๔๐ แต่ก็เป็นวัดที่ทางราชการในพื้นที่นั้นเลือกใช้เป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพระ พิพัฒน์สัตยาด้วย ดังความในหนังสือ ที่ ๔๒๘๘ ร.ศ.๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๔)ของพระศรีสมโพธิ์ เจ้าคณะมณฑลชุมพรตอนหนึ่งว่า
    "ฉันเพลแล้ว เข้ากระบวนแห่พระบรมรูปทางบกมาวัดใหม่ (วัดที่ถือน้ำ) เชิญพระบรมรูปประดิษฐานไว้ในอุโบสถกับธรรมาศน์ที่พระราชทาน"

    วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
    วัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงของท่าน คือ พระกสิณ รุ่นแรกสร้างขึ้นปี 2472 มีทั้งเนื้อผง และเหรียญปั๊ม ภายหลังท่านยังสร้างติดต่อกันมาจนกระทั่งมรณภาพ ปี2505 ท่านได้สร้างวัตถุมงคลครั้งใหญ่ที่สุด มีด้วยกันหลายพิมพ์ ปลุกเสกโดยพระคณาจารย์ชื่อดังทางใต้หลายองค์

    พุ
    ทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

    พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม

    เหรียญพระกสิณ วัดใหม่ จ.สุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2527 พิธีปลุกเศกใหญ่ กะไหล่เดิมแห้ง ผิวหิ้ง ราคาเบาๆ พุทธคุณครบเครื่องครับ

    [​IMG]



    *ปิดรายการนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2011
  16. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร)
    ทรงประทับ ณ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
    พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

    แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

    พระเมตตาคุณและพระเกียรติคุณ


    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช
    ทรง เจริญอยู่ในพรหมวิหารธรรม ทรงเป็นครุฐานียอภิปูชนียบุคคล เป็นที่รักเป็นที่เคารพบูชาสักการะอย่างยิ่งแห่งปวงบรรพชิตและคฤหัสถ์ ทรงได้รับยกย่องพระเกียรติคุณเป็นอย่างสูง จนมีพระนามที่ชาวไทยต่างเรียกเป็นพิเศษว่า “สมเด็จป๋า” เพราะมีพระทัยเมตตากรุณาแก่ทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ เปรียบประดุจบิดามีเมตตาต่อบุตร ห่วงใยเอื้ออาทรรักใคร่เสมอหน้า

    พระเครื่องและเหรียญพระรูป ที่ทรงสร้างขึ้นในวาระต่างๆ

    หรือที่มีผู้มาขออนุญาตพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานกุศล
    ปรากฏว่าเป็นที่นิยมกันมาก

    พระเครื่อง
    “สมเด็จแสน” ทรงพิมพ์พระองค์แรกเป็นปฐมฤกษ์ มีจำนวน ๑๗๐,๐๐๐ องค์ แจกในงานบำเพ็ญกุศลพระชนม์ ๗๒ ปี มีเส้นเกษาทั้ง 2องค์ มีแตกซ่อมเก่า1องค์(องค์ขวามือท่านผู้ชมครับ) แต่ติดแน่นมากลองพิจารณาดูครับ พระมีคลาบกรุครับ


    [​IMG]



    *ปิดรายการนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2011
  17. อนันตภพ

    อนันตภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +2,969
    ขอจอง เหรียญพระศาสนโสภน เศรษฐีนวะโกฏิ หลวงพ่อทองดำ และ สมเด็จแสน ครับ
     
  18. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457

    รับทราบครับ โอนแล้วโทรแจ้งด้วยนะครับ
     
  19. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญเม็ดแตงหลวงปู่ทวด หลังหลวงพ่อชำนาญรุ่นแรก

    [​IMG]
    เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2552 เป็นวันทอดกฐินสามัคคี ณ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี มีคณะศรัทธาเดินทางมาจากทั่วสารทิศ เพื่อร่วมงานพิธีเททองหล่อพระพรหมองค์ใหญ่ ประดิษฐานที่วัดบางกุฎีทอง พร้อมเททองหล่อวัตถุมงคลที่จะเปิดให้ลูกศิษย์ลูกหาร่วมบุญบูชาด้วย

    "หลวง พ่อชำนาญ" พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง เป็นประธานในพิธีเททองและพุทธาภิเษกวัตถุมงคล โดยมีคณะศรัทธาร่วมบริจาคเนื้อเงินแท้ๆ หนักถึง 7 กิโลกรัม ผู้ที่ร่วมภายในงานได้มีการรักษาศีล การถวายเม็ดเงินหล่อพระสังฆทาน และพิธีเขียนกระดาษอธิษฐานเป็นภาวนามัยครบองค์บุญกิริยาวัตถุ ทาน ศีล ภาวนา

    ในวันดังกล่าวทางวัดได้สรุปปัจจัยที่จะนำไปใช้ในการพระศาสนาดังนี้ ยอดเงินทอดกฐิน 2,811,889 บาท ถวายเม็ดเงินหล่อพระ 215,218 บาท ทำบุญดอกไม้ธูปเทียน 31,181 บาท สังฆทาน 21,047 บาท ใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า (ผู้มีลาภมาก) 44,682 บาท รวม 3,124,017 บาท


    ใน การสำคัญนี้ "หลวงพ่อชำนาญ" ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ "เหรียญเม็ดแตงหลวงปู่ทวด" ออกแจกจ่ายเป็นที่ระลึกด้วย ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมอย่างมาก ด้วยหลวงปู่ทวดได้ชื่อว่าเป็นพระนิรันตรายที่ใครๆ ก็ปรารถนามีไว้ในการครอบครอง

    หลวงปู่ทวดท่านเป็นพระสงฆ์ในตำนานใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรส อยุธยาตอนกลาง และคงกฤติยาภินิหารมาถึงปัจจุบัน ท่านเป็นบรมครู 1 ใน 5 ที่ยิ่งด้วยบารมี หลวงพ่อชำนาญให้ความเคารพศรัทธามาก แม้จะไม่อยู่ในยุคสมัยที่หลวงปู่ทวดยังดำรงขันธ์อยู่ก็ตาม

    ครูพระ ทั้ง 5 องค์ที่หลวงพ่อชำนาญให้ความเคารพศรัทธา ได้แก่ หลวงปู่ทวด สมเด็จโต หลวงปู่ศุข หลวงพ่อกวย และหลวงปู่สุรินทร์ ที่ผ่านมาหลวงพ่อชำนาญได้สร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ทวดไว้หลายรุ่น ว่ากันว่าพุทธคุณโดดเด่นด้านนิรันตราย


    หลวงพ่อชำนาญเคยบอกไว้ว่า "เราทำจิตให้ถึง ตัวเราหาย หลวงปู่ท่านก็มาเสกของท่านเอง"

    หลวงปู่ทวด ที่หลวงพ่อชำนาญจัดสร้างมีประสบการณ์เกิดขึ้นกับผู้ที่นำไปอาราธนา พกพาติดตัว เล่ากันปากต่อปาก อาทิ รถชนที่แยกร้อยศพห้อยพระหลวงปู่ทวดไม่เป็นไร ฟ้าผ่าก็แค่หูอื้อ รถมอเตอร์ไซค์ประสานงาพังยับ แค่เสื้อผ้าขาด ล่าสุดตำรวจสายตรวจโดยยิงเป็นแค่รอยไหม้ ที่กล่าวมาเป็นประสบการณ์ตรงที่มีการยืนยันชัดเจน

    พระเกจิอาจารย์ สายใต้รูปหนึ่งเคยบอกว่า "อาจารย์ชำนาญท่านเชิญหลวงปู่ทวดได้ ไม่รู้ไปเรียนมาจากไหน ภาคใต้แกก็ไม่เคยมานี่นะ" อีกท่านที่ยืนยันเรื่องแบบนี้ได้ ศิษย์รุ่นใหญ่ท่านหนึ่งของหลวงพ่อชำนาญ ท่านบอกไว้ว่า ท่านเคยจับพลังเหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น 2 ของวัดช้างให้ที่สร้างปี 2502 มีพลังเหมือน หรือคล้ายกับหลวงปู่ทวดที่หลวงพ่อชำนาญสร้างไว้อย่างไม่น่าเชื่อ

    เหรียญเม็ดแตงหลวงปู่ทวดหลังหลวงพ่อชำนาญรุ่นแรก เนื้อทองคำ มีลูกศิษย์สั่งจองทั้งหมด 416 องค์ มีหมายเลขกำกับทุกองค์, เนื้อเงินลงยาสีแดง สร้างจำนวน 300 องค์, เนื้อเงินสร้างจำนวน 500 องค์, เนื้อนวโลหะสร้างจำนวน 900 องค์, เนื้อสัมฤทธิ์สร้างจำนวน 3,000 องค์, เนื้อทองแดงเก่าสร้างจำนวน 10,000 องค์ สำหรับแจกฟรี



    *ปิดรายการนี้
    ครับ[FONT=&quot]
    [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 155466-1.jpg
      155466-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.7 KB
      เปิดดู:
      163
    • 155466-2.jpg
      155466-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.9 KB
      เปิดดู:
      170
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2011
  20. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    พระเนื้อว่าน108 พิมพ์พ่อท่านเจ้าวัด "" ขนาดจัมโบ้ "" มวลสารดีมาก น่าบูชามากครับ วัดฉลอง จ.ภูเก็ต สร้างเองในปี 2551 วาระพิเศษครบรอบ 100 ปี "หลวงพ่อแช่ม" เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่มณฑลพิธีวัดฉลอง 3 วัน 3 คืน เมื่อวันที่ 16-18 เม.ย. 2551 โดยพระสงฆ์ที่ทรงคุณวิเศษทั่วประเทศไทย และมาเลเซีย ผลัดกันเข้าพิธีปลุกเสกมากกว่า 120รูป

    มวลสารดี พิธียอดขนาดนี้น่าเก็บมากครับ




    [FONT=&quot]ให้บูชาองค์ละ [FONT=&quot]250 [/FONT][FONT=&quot]บาท[/FONT][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_1366.jpg
      SAM_1366.jpg
      ขนาดไฟล์:
      995.6 KB
      เปิดดู:
      774
    • SAM_1367.jpg
      SAM_1367.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      542
    • SAM_1368.jpg
      SAM_1368.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      206
    • SAM_1365.jpg
      SAM_1365.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      114

แชร์หน้านี้

Loading...