แอ๊บแบ้ว
ความเคลื่อนไหวล่าสุด:
27 ตุลาคม 2015
วันที่สมัครสมาชิก:
15 สิงหาคม 2007
โพสต์:
1,335
พลัง:
2,544
อัลบั้ม:
7
Photos:
142

โพสต์เรตติ้ง

ได้รับ: ให้:
ถูกใจ 2,544 1,897
อนุโมทนา 0 0
รักเลย 0 0
ฮ่าๆ 0 0
ว้าว 0 0
เศร้า 0 0
โกรธ 0 0
ไม่เห็นด้วย 0 0

แชร์หน้านี้

แอ๊บแบ้ว

เป็นที่รู้จักกันดี

แอ๊บแบ้ว เห็นครั้งสุดท้าย:
27 ตุลาคม 2015
    1. คีตเสวี
      คีตเสวี
      [IMG]

      ดอกบัวบาน แล้วที่ใจ ในวันนี้

      ภพชาติที่ เวียนว่าย ใกล้จบสิ้น

      ในชาติก่อน ยังเวียนอยู่ หมู่ราคิน

      ครั้นชาตินี้ ใกล้จบสิ้น ในสังสาร
    2. แอ๊บแบ้ว
      แอ๊บแบ้ว
      พึ่งล้างเครื่องและลงโปรแกรมเสร็จ....กว่าจะเสร็จก็ เกือบตีหนึ่ง ....เลยแวะเข้ามา ที่ห้องนี้ ...
      ขอบคุณทุกท่านที่มาเยือน....ขออนุโมทนากับทุกท่านในธรรมที่ท่านได้ฝากไว้...
      ....และขอให้เจริญธรรมทุกๆท่านคร้าบบ....
      ช่วง วันที่ 17 - 19 นี้ไปต่างจังหวัดนะครับ .....ขอบคุณคร้าบ.
    3. คีตเสวี
      คีตเสวี
      [IMG]

      การจุดไฟ แห่งปัญญา จะนำมา ซึ่งตัวรู้

      ขจัด ความมืดดู จึงได้รู้ ในแนวจริง

      อวิชชา ถูกกำจัด การผูกมัด หายทุกสิ่ง

      จึงรู้ แจ้งเห็นจริง ว่าทุกสิ่ง อนัตตา

      เพียรกว่า จะได้เห็น แทบลำเค็ญ เป็นยากหนา

      อิทธิบาท เร่งรัดพา ให้ตูข้า มุ่งฝ่าฟัน

      รู้ละ ขันธ์ทั้งห้า รู้ชัดว่า ไม่ใช่ฉัน

      จึงปล่อย ออกจากมัน ไม่ยึดกัน ฉันจึงเบา

      จิตโล่ง จึงบังเกิด ตรองดูเถิด หมดความเขลา

      นิพพาน นั้นช่างเบา เพียรละเอา เข้าตำรา
    4. พระไตรภพ
      พระไตรภพ
      สาธุ ดีแล้วหนอ ดีแล้วหนอ ดีแล้วหนอ นิพพานมีจริง และเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เราๆท่านๆทุกๆคนต้องแสวงหาให้พบ ไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะเจ็บ เราจะทุกข์อีกหลายครั้งหลายครา การวิ่งตามอารมณ์ คือการก่อภพก่อชาติ หยุดวิ่งตามอารมณ์ก็หยุดภพหยุดชาติ ไม่สุข ไม่ทุกข์ สาธุ สาธุ สาธุ
    5. คีตเสวี
      คีตเสวี
      [IMG]

      เดินทาง อ้างว้าง ปล่าวเปลี่ยว
      มาเพียง ผู้เดียว มาแต่ไหน
      ยังเดิน ยังย่าง ยังต่อไป
      สุดตรงไหน ไม่รู้ ไม่อยากคิด

      เดินทาง จากวันวาน นานเนิ่น
      แสนเพลิน ทุกข์ซ้ำ ย้ำจิต
      มัวเมา หลงโลก หลงชีวิต
      เพราะคิด ว่าดี ว่างาม

      นิพพาน นั้นมี จริงจริงไหม
      อยากใคร่ ใฝ่รู้ กู่ถาม
      หรือเพียง ลมหลอก ลวงตาม
      คำถาม นี้ตอบ ได้อย่างไร

      ก้าวกัน มานานแล้ว ยังไม่หยุด
      หนอมนุษย์ จะหยุดยั้ง อย่างไรได้
      ก็กิเลศ ตัญหา พาวุ่นวาย
      จึงดึงดัน กันไว้ ในวังวน

      ตื่นเถิด ตูสู ตูข้า
      ลองมา ฟังผู้รู้ ดูสักหน
      อันความ เป็นจริง ทุกสิ่งตน
      ย่อมพ้น ทางอบาย ได้ทางตรง

      ดูก่อน ศีลธรรม ประจำไว้
      ปัญญา ในใจ แจ้งให้โล่ง
      เลิกมัวเมา แล้วเรา จะเย็นลง
      จิตดำรง คงมั่น พ้นพาลภัย

      ให้รู้จิต เห็นได้ ในขันธ์ห้า
      เห็ดชัดว่า อนัตตา ละสงสัย
      อนิจจัง ทุกข์ขัง อย่างเข้าใจ
      เพียรเห็นไว้ ให้ชัดแท้ ไม่แพ้เลย

      ความสงสัย ในธรรม จึงสิ้นสุด
      ภพชาติหยุด เลิกเหนี่ยวไว้ ไม่เมินเฉย
      เผากิเลศ ที่เหตุร้อน ก่อนเคยเคย
      จิตเสบย สบายหนอ ขอนิพพาน

      มาวันนี้ ชาติภพ ได้จบสิ้น
      เสียงเพลงพิณ เคยบรรเลง เป็นเพลงผ่าน
      จึงเปรียบได้ ในเสียง เพียงตำนาน
      ปัจจุบัน อยู่กับรู้ ดูเข้าใจ



      ขอบคุณคำกลอนเตือนใจคร้าบบ
    6. แอ๊บแบ้ว
      แอ๊บแบ้ว
      เจริญธรรมครับ ท่านคีตเสวี
    7. คีตเสวี
      คีตเสวี
      [IMG]

      ดอกไม้บาน ในใจ ให้แช่มชื้น
      ผ่านวันคืน ด้วยพระธรรม นำใจได้
      สลัดทุกข์ ละโศรก วิโยคใจ
      ความสดใส มาเยือน ทุกคืนวัน
    8. แอ๊บแบ้ว
      แอ๊บแบ้ว
      เจริญธรรมครับ ท่านคีตเสวี
      ยิ้มรับ กับจิตใหม่ ด้วยเจตสิก ที่เริงร่าธรรม

      ต้อนรับ กระแสแห่งนิพพาน ที่จะผ่านมา มีธรรมมะ อยู่ในใจ
    9. คีตเสวี
      คีตเสวี
      [IMG]

      ยิ้มรับ กับวันใหม่ ด้วยหัวใจ ที่เริงร่า

      ต้อนรับ สิ่งดีดีที่จะผ่านมา มีธรรมมะ อยู่ในใจ
    10. แอ๊บแบ้ว
      แอ๊บแบ้ว
      เจริญธรรมครับ คุณเต้าเจี้ยว ( นักรบธาตุขันธ์ ) ..... เอาปัญญามาฝากด้วยเน้อ ...
    11. เต้าเจี้ยว
      เต้าเจี้ยว
      คุณเป็นกัลาณมิตรมากมาย แล้วจะแวะมาอ่านอีก
      สาธุ มากมาย

      ;aa34
    12. แอ๊บแบ้ว
      แอ๊บแบ้ว
      เจริญธรรมครับ คุณเต้าเจี้ยว ( นักรบธาตุ "ขันธ์" .... ขออนุญาตตั้ง ฉายา นะครับ หวังว่าคงได้รับการอภัยนะครับ .... ล้อเล่งง่า.... นะ นะ ....... ^_^# )
      อยากรู้มหาเหตุแห่งจิตจริงๆ นั่นแหละ แต่ไม่เป็นพุทธภูมิ
      แบบว่ามันคาใจมากๆ เลย ..(ข้อนี้ก็จนด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อมขอเดชะ ...ขอตัวไว้ก่อนเลย....หุหุหุ )

      แวะเข้ามาอ่านแล้ว ขอบคุณมากๆ ค่ะ (อ่านหมด!? @_@! ... อ่ะป่ะ อิอิอิ...เล่นเอาข้าพเจ้าได้ปัญญาเพิ่มบานเลย...กว่าจะอ่านจบ....แต่ก็เข้าใจบางส่วนอ่ะนะ ....เข้าใจถูกผิดก็บ่อฮู้..^_^!...แนะนำด้วยเน้อ ....อนุโมทนาล่วงหน้าเลย.... )
    13. แอ๊บแบ้ว
      แอ๊บแบ้ว
      เจริญธรรมครับ ท่านคีตเสวี
      เอ่อ เห็นคุยกับคุณเต้าเจี้ยวไว้เรื่องอุเบกขาน่ะ ผมขอแสดงความเห็นบ้างเล็กน้อย แต่อาจผิดมากกว่าถูก ใช้วิจารณญานให้มากเพราะผมไม่เก่งเลยแม้แต่นิดเดียว
      (ก็เพื่อแสดงทัศนะกันเท่านั้น ผิดถูกตนเท่านั้นเป็นผู้ตัดสิน ....และถือเป็นการเจริญปัญญาร่วมกัน ....ท้ายสุดแล้วก็ ตนก็เป็นที่พึ่งแห่งตน อยู่ดี ...อนุโมทนาครับ ....กระผมเองก็ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่า ....ชี้แนะด้วยนะครับ ....อย่างไรโปรดใช้วิจารณญาณด้วยนะครับ ....ก็ยึดคำครูบาอาจารย์มาเป็นหลัก ..แล้วมาศึกษากันว่าท่านเข้าใจอย่างไร...กระผมเข้าใจอย่างไร....น่ะครับ ...จะได้ไม่เกิดบาปกรรม ต่อกัน)

      อุเบกขาในโพชฌงค์นั้น เป็นผลแห่งปัญญา (?เข้าใจว่าประกอบไปด้วย สติ และสมาธิ ด้วย ประกอบกัน ...ปัญญาจึงจะคมกล้ามีกำลังและไม่พลั้งเผลอปล่อยให้ความเศ้ราหมองเข้าแทรก..)
      ซึ่งปัญญาในมรรคแปดก็เพื่อความรู้พร้อม (?โพชฌงค์ด้วย แยกไม่ออกเพราะต้องอาศัยกัน อุปมา ดั่งเดินทางไปสถานที่หนึ่งด้วย รถเทียมม้าถึง ๗ ผลัด จะว่ามาด้วยรถผลัดที่เท่าใดนั้นไม่ควร ...เพราะการจะไปถึงจุดหมายได้ก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ...ขอไม่ยกเหตุผลประกอบนะครับ ...Google ) เมื่อรู้แล้ว(ปัญญา : มีลักษณะ ตัด , มีลัษณะสว่าง ตามนัยแห่งมิลินทปัญหา ขอไม่ยกเหตุผลประกอบ...Google)ผลของการรู้จะมารวมละที่อุเบกขา(สังขารุเบกขญาณ)เพราะเมื่อรู้เห็นตามจริงสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปคือความสงบระงับ ความบางเบาแห่งสิ่งประกอบทั้งปวง นั่นก็คือเข้าถึงอุเบกขาในโพชฌงค์ (ถึงความบริสุทธิหลุดพ้นเมื่อใด...นั่นแหละจึงจะวางโพชฌงค์ลงได้)จริง ๆ แล้วผมอยากบอกว่ามันเป็นอันเดียวกันเลยครับ(ผลก็เดียวกัน แต่แยกกันเพื่ออธิบายวิธีการเท่านั้น)เพราะผลออกมาเป็นนิพพาน (นี่แหละผลของรถเทียมม้า ๗ ผลัดดังที่กล่าวข้างต้นครับ) สงบเย็นเหมือน ๆ กัน (สุขแท้ หนอๆ)
    14. เต้าเจี้ยว
      เต้าเจี้ยว
      อยากรู้มหาเหตุแห่งจิตจริงๆ นั่นแหละ แต่ไม่เป็นพุทธภูมิ
      แบบว่ามันคาใจมากๆ เลย ..

      แวะเข้ามาอ่านแล้ว ขอบคุณมากๆ ค่ะ

      :z4
    15. คีตเสวี
      คีตเสวี
      เอ่อ เห็นคุยกับคุณเต้าเจี้ยวไว้เรื่องอุเบกขาน่ะ ผมขอแสดงความเห็นบ้างเล็กน้อย แต่อาจผิดมากกว่าถูก ใช้วิจารณญานให้มากเพราะผมไม่เก่งเลยแม้แต่นิดเดียว

      อุเบกขาในโพชฌงค์นั้น เป็นผลแห่งปัญญา ซึ่งปัญญาในมรรคแปดก็เพื่อความรู้พร้อม เมื่อรู้แล้วผลของการรู้จะมารวมละที่อุเบกขาเพราะเมื่อรู้เห็นตามจริงสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปคือความสงบระงับ ความบางเบาแห่งสิ่งประกอบทั้บปวง นั่นก็คือเข้าถึงอุเบกขาในโพชฌงค์ จริง ๆ แล้วผมอยากบอกว่ามันเป็นอันเดียวกันเลยครับ เพราะผลออกมาเป็นนิพพาน สงบเย็นเหมือน ๆ กัน
    16. คีตเสวี
      คีตเสวี
      [IMG]

      เปรียบรอยเท้า บนทราย ไม่คงอยู่
      เพียงเห็นดู ครู่ยาม ทำกลบหาย
      ดั่งมนุษย์ ที่สุดแท้ จบแค่ตาย
      เวียนเกิดใหม่ ยังตายลง ตรงที่มา

      เอามาแปะให้ท่านจอมยุทธ์อีกอันครับ ถ้าชอบจะได้มาแปะให้เรื่อย ๆ ผมก็ช่วยกันได้ไม่มากนักครับ มีคติธรรมเวียนกันไป เผื่อบางคำอาจสะกิดใจอะไรบ้าง ไม่ได้หวังผลอะไรมากมาย ทำไปด้วยใจรักครับ ไม่หวังผลเอกทัคคะใด ๆ เลยครับ ย่นย่อได้สั้นที่สุดเท่าไหร่ก็ไปแล้วครับ ยิ่งได้ชาตินี้ยิ่งไปเลยครับ
    17. แอ๊บแบ้ว
      แอ๊บแบ้ว
      อนุโมทนา ด้วยครับ ที่นำ ."บทกลอนแห่งปัญญา" มาฝาก .....สมชื่อ คีตเสวี ... " คีตะ " ... "เสวนา"....."กวี" ..(เดาๆความหมายชื่ออ่ะนะอย่าถือสานะครับ)... สงสัยอ่ะนะว่า ปราถนาเป็นเอตทัคคะ ทาง "กล่าวธรรมอันไพเราะ" อ่ะป่าวนี่ ....^_^ หุหุหุ
      ....ส่งมาทุกๆวันนะครับ เด๋ว ก๊อบเป็นพ๊อกเก็ตบุ๊คขาย..ท่าทางไปโลด. ^_^!
    18. แอ๊บแบ้ว
      แอ๊บแบ้ว
      ทำความเข้าใจก่อน
      คำตอบของกระผม(ตัวสีน้ำตาลหนา) เป็นการเข้าใจส่วนบุคคลเท่านั้น ไม่ได้ชี้เฉพาะ ว่าถูกผิด .... หากมีข้อชี้แนะเพื่อแก้ทิฏฐิให้ถูกต้องตรงตามจริง โปรดชี้แนะด้วยครับ ถือว่าป็นการเจริญปัญญาร่วมกัน.. ^_^# .......
      ...............................................................................
      ข้อว่า อุเบกขา น่าจะประกอบด้วยเจตสิก? ....ข้อนี้พระธรรมเทศนาท่านชัดเจน ..
      หัวข้อ: อุเบกขาบารมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ......
      ความตอนหนึ่งว่า
      "....ถ้าจักชี้เจตสิก อัญญสมานาเจตสิกนั้นแหละ ชื่อว่าเจตสิกกลาง
      ถ้าเจตสิกกลางนั้นมาประกอบกับจิต ก็เรียกว่าอุเบกขาจิต...."
      และ
      "....จิตที่เป็นอุเบกขานั้น ถ้าสัมปยุตกับด้วยธรรมประเภทใด ย่อมมีคุณานุภาพให้ประโยชน์นั้น ๆ สำเร็จ ....."
      ...............................................................................
      ข้อว่า อุเบกขา ไม่แน่ใจจะรวมพวก ปัญญา หรือเวทนาที่เป็นกลางด้วยไหม ก่อนจะถึงอุเบกขาจริงๆ ?
      ข้อว่า อุเบกขา มีหลายนัย ?
      หัวข้อ: อุเบกขาบารมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ......
      ความตอนหนึ่งว่า
      "... อุเบกขาบารมีตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญให้เต็มรอบแล้ว นำมาแจกมีแตกต่างโดยประเภทเป็นอันมาก...."

      ที่ท่านเต้าเจี้ยวถามว่า "อุเบกขา ไม่แน่ใจจะรวมพวก ปัญญา หรือเวทนาที่เป็นกลางด้วยไหม ก่อนจะถึงอุเบกขาจริงๆ ?"
      ถามคุณเต้าเจี้ยว "อุเบกขาจริงๆ" ในความหมายของท่านในที่นี้คือ?
      .............................................................................


      ข้อว่า อุเบกขา ไม่แน่ใจจะรวมพวก ปัญญา หรือเวทนาที่เป็นกลางด้วยไหม ? (ข้อนี้ขอแยกตอบ ดังนี้)

      ข้อว่า อุเบกขา ไม่แน่ใจจะรวมพวก ปัญญา ? ..เข้าใจว่า "รวมปัญญาด้วย เพราะเป็นปัจจัยหนุนให้เกิด "

      ที่มา http://www.nkgen.com/35.htm
      ข้อความบางส่วน
      " ๒. ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ (ธรรมวิจยะ) หรือธรรมวิจัย ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม การพิจารณาในธรรม อันครอบคลุมถึงการเลือกเฟ้นธรรมที่ถูกต้อง ดีงาม ถูกจริต และการค้นคว้า การพิจารณา การไตร่ตรองด้วยปัญญา หรือการโยนิโสมนสิการ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง อย่างแท้จริง อันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในธรรม(สภาวธรรมชาติ โดยเฉพาะของทุกข์ ก็เพื่อใช้ในการดับทุกข์) กล่าวคือธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.... "
      และ

      หัวข้อ: อุเบกขาบารมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ......
      ความตอนหนึ่งว่า
      "....ผู้ที่ปรารถนาจะเจริญโพชฌงค์ พึงตั้งสติให้รู้อยู่ที่กายที่ใจนี้
      ให้มีธรรมวิจยะ ตรวจตรองจนให้เห็นว่าสกลกายนี้เป็นสภาวธรรม
      แจกออกเป็นพระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ ให้รู้ชัดด้วยปัญญา
      ให้มีวิริยะความกล้าหาญองอาจในความเพียร ไม่เห็นแก่ร่างกายและชีวิต
      ทำจิตให้สงบ ให้เกิดปีติความเอิบอิ่มเบิกบานในดวงจิต
      ให้กายและจิตสงบเป็นปัสสัทธิเรียบราบดี ให้จิตเป็นหนึ่งในอารมณ์
      คือ สภาวธรรมในสกลกายนี้เป็นองค์สมาธิ
      ให้อุเบกขาจิตเพ่งสัมปยุตธรรมเหล่านั้น
      จะเห็นว่า คุณธรรมเหล่านั้นพรักพร้อมบริบูรณ์แล้ว
      เพียงเท่านี้ชื่อว่าสำเร็จภูมิอุเบกขาสัมโพชฌงค์
      และให้หมั่นทำจนชำนาญ คุณธรรมทั้ง ๗ นี้
      เป็นเหตุเป็นองค์จะให้ตรัสรู้อริยสัจธรรมตลอดถึงมรรคผลนิพพาน...."
      หัวข้อ: อุเบกขาบารมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ......
      ความตอนหนึ่งว่า
      "........ในสังขารอุเบกขาญาณนั้น ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
      จะชักมาแสดงพอเป็นนิทัศนะเมื่อพระโยคาพจรกุลบุตรชำระศีลให้บริสุทธิ์
      ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ชำระทิฏฐิให้บริสุทธิ์ ชำระความสงสัยในอดีต อนาคต
      ให้บริสุทธิ์ด้วยปัจจุบัน ธรรมวินิจฉัยทางดำเนินให้ตรง ละวิปลาสสัญญาเสียได้
      แล้ว น้อมจิตสู่วิปัสสนาญาณ ...."

      ข้อว่า อุเบกขา ไม่แน่ใจจะรวมพวก เวทนาที่เป็นกลาง?ชื่อว่า อุเบกขาเวทนา เพราะ ...จิตเป็นกลาง สัมปยุต กับเวทนา..
      (ดั่งที่แสดงไปแล้ว อุเบกขามีหลายนัย และนี่ก็อีกนัยหนึ่ง)

      หัวข้อ: อุเบกขาบารมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ......
      ความตอนหนึ่งว่า
      จิตเป็นกลาง สัมปยุตเป็น สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส
      อุเบกขา ชื่อว่า อุเบกขาเวทนา
      .................................................................................
      ส่วนข้อว่า "เวทนากลางๆ" ในอีกความหมาย แห่งทุกข์ คือชี้เฉพาะว่า ถ้ายัง.."มีการเสวย".. อยู่ ก็ยัง "มีกิเลส" นอนก้นอยู่เพียงแต่ไม่แสดงอาการชี้ชัดลงไปเท่านั้น
      ( อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ปฐมวรรค เวทนาสูตรที่ ๑
      อรรถกถาปฐมเวทนาสูตร ในปฐมเวทนาสูตรที่ ๓
      .....ส่วน การเสวยมัชฌัตตารมณ์นั้น ก็คือ อทุกขมสุขเวทนา .....
      ....ในพระสูตรนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง โดยเป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุขเวทนา (ก็จริง) แต่ในที่บางแห่งตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่างโดยเป็นสุขเวทนาและทุกขเวทนา.
      เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราตถาคตกล่าวเวทนาไว้ ๒ อย่างโดยปริยาย คือสุขเวทนาและทุกขเวทนาดังนี้.๖-
      แม้ในที่บางแห่งตรัสไว้ ๓ อย่างโดยแยกเป็นสุขส่วน ๑ ทุกข์ส่วน ๑ อทุกขมสุขส่วน ๑ ว่า สุขเวทนาเป็นสุขในฐิติขณะ แต่เป็นวิปริณามทุกข์ (ทุกข์เมื่อสุขกลายเป็นทุกข์). ทุกขเวทนาเป็นทุกข์ในฐิติขณะ แต่เป็นวิปริณานสุข (เมื่อทุกข์เปลี่ยนเป็นสุข). ส่วน อทุกขมสุขเวทนา เป็นญาณสุข (สุขเกิดแต่ญาณ) (แต่) เป็นอญาณทุกข์ (ทุกข์เกิดแต่ความไม่รู้).๗-
      ในที่บางแห่งตรัสเวทนาแม้ทั้งหมดโดยความเป็นทุกข์.
      สมดังที่ตรัสไว้ว่า การเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุกๆ อย่าง เราตถาคตกล่าวว่า (รวมอยู่) ในทุกข์.๘-......")
      ( ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/...php?b=25&i=230 )

      ...............................................................................
    19. แอ๊บแบ้ว
      แอ๊บแบ้ว
      อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ปฐมวรรค เวทนาสูตรที่ ๑
      อรรถกถาปฐมเวทนาสูตร ในปฐมเวทนาสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
      บทว่า เวทนา ความว่า เจตสิกธรรม ชื่อว่าเวทนา เพราะรู้ คือเสวยรสแห่งอารมณ์ เพื่อจะทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น โดยจำแนกออกไป จึงตรัสคำมีอาทิว่า สุขา เวทนา ดังนี้.
      บรรดาศัพท์เหล่านั้น สุขศัพท์ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ด้วยสามารถแห่งอัตถุทธารกัณฑ์.
      แต่ ทุกขศัพท์ มาในเรื่องของทุกข์ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์).๑-
      มาในอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูปํ ทุกขํ ทุกฺขานุปติตํ ทุกฺขาวกฺกนฺตํ ดูก่อนมหาลี เพราะเหตุที่รูปเป็นทุกข์ ถูกทุกข์ติดตาม (และ) หยั่งลงสู่ทุกข์.๒-
      มาในการสะสมทุกข์ ดังในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย การสั่งสมบาปเป็นทุกข์.๓-
      มาในฐานะอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ดังในประโยคว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น สุกรํ อกฺขาเนน ปาปุณิตุ ํ ยาว ทุกฺขา นิรยา เพียงเท่านี้ จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์ ไม่ใช่ทำได้ง่าย.๔-
      มาแล้วในทุกขเวทนา เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา เพราะละสุข และละทุกข์เสียได้.๕-
      แม้ในพระสูตรนี้ก็มาแล้วในทุกขเวทนาเท่านั้น แต่โดยอรรถพจน์ ชื่อว่าสุข เพราะยังผู้เสวยให้สบาย. ชื่อว่าทุกข์ เพราะยังผู้เสวยให้ลำบาก. เวทนา ชื่อว่าอทุกขมสุข เพราะไม่ทุกข์ไม่สุข. มอักษร (ในคำว่า อทุกฺขมสุขา) ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งบทสนธิ.
      ____________________________
      ๑- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๒๙๔ อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๑๔๕
      ๒- สํ. ข. เล่ม ๑๗/ข้อ ๑๓๑
      ๓- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๑๙
      ๔- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๔๗๒
      ๕- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๑๓๐ อภิ. สงฺ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๑๔๖

      บรรดาเวทนาทั้ง ๓ เหล่านั้น เวทนาที่มีการเสวยอิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ ชื่อว่าสุขเวทนา. ที่มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ ชื่อว่าทุกขเวทนา. ที่มีการเสวยอารมณ์ที่ผิดจาก ๒ อย่างนั้น ชื่อว่าอทุกขมสุขเวทนา เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนา จึงปรากฏ (ชัด)
      แต่อทุกขมสุขเวทนาไม่ปรากฏ (ชัด)
      ด้วยว่า ในเวลาใดความสุขเกิดขึ้น ในเวลานั้นความสุขจะทำสรีระทั้งสิ้นให้สะท้าน เคล้าคลึง แผ่ซ่านไปทั่วร่างทั้งสิ้น เหมือนให้บริโภคเนยใสที่หุงแล้วร้อยครั้ง เหมือนทาด้วยน้ำมันงาที่เคี่ยวตั้งร้อยครั้ง และเหมือนให้ความเร่าร้อนดับไปด้วยน้ำพันหม้อเกิดขึ้น เหมือนจะเปล่งวาจาออกมาว่า โอ! สุขจริง โอ! สุขจริง.
      เมื่อใดทุกข์เกิดขึ้น เมื่อนั้นทุกข์จะทำให้สรีระทั้งสิ้นสะท้าน เคล้าคลึง แผ่ซ่านไปตลอดร่าง เหมือนสอดกระเบื้องร้อนๆ เข้าไป และเหมือนเอาน้ำทองแดงละลายแล้วราด เกิดขึ้นเหมือนให้บ่นเพ้อว่า โอ! ทุกข์จริง โอ! ทุกข์จริง ดังนี้.
      ดังนั้น ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนาจึงปรากฏชัด ส่วนอทุกขมสุขเวทนารู้ได้ยาก ชี้ให้เห็นได้ยาก มืดมน อทุกขมสุขเวทนานั้นเป็นเวทนามีอาการเป็นกลางๆ โดยขัดกับอารมณ์ที่น่ายินดีและยินร้าย ในเวลาที่สุขและทุกข์ปราศไป ย่อมปรากฏชัดแก่ผู้ถือเอาโดยนัยนี้เท่านั้น.
      เปรียบเหมือนอะไร?
      เปรียบเหมือนทางที่เนื้อผ่านไปแล้วบนแผ่นหิน โดยเป็นทางที่เฉียดเข้าไป ในภูมิประเทศที่มีฝุ่นในตอนต้นทางและปลายทางฉันใด ภาวะแห่งการเสวยอารมณ์ที่เป็นกลางก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะรู้ได้ด้วยการเสวยสุขและทุกข์ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. การยึดถือเอามัชฌัตตารมณ์ เป็นเหมือนการเดินไปบนแผ่นหิน (ของเนื้อ) เพราะไม่มีการยึดอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ และการเสวยมัชฌัตตารมณ์นั้น ก็คือ อทุกขมสุขเวทนา นั่นแหละ ด้วยประการดังกล่าวมานี้
      ในพระสูตรนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง โดยเป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุขเวทนา (ก็จริง) แต่ในที่บางแห่งตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่างโดยเป็นสุขเวทนาและทุกขเวทนา.
      เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราตถาคตกล่าวเวทนาไว้ ๒ อย่างโดยปริยาย คือสุขเวทนาและทุกขเวทนาดังนี้.๖-
      แม้ในที่บางแห่งตรัสไว้ ๓ อย่างโดยแยกเป็นสุขส่วน ๑ ทุกข์ส่วน ๑ อทุกขมสุขส่วน ๑ ว่า สุขเวทนาเป็นสุขในฐิติขณะ แต่เป็นวิปริณามทุกข์ (ทุกข์เมื่อสุขกลายเป็นทุกข์). ทุกขเวทนาเป็นทุกข์ในฐิติขณะ แต่เป็นวิปริณานสุข (เมื่อทุกข์เปลี่ยนเป็นสุข). ส่วนอทุกขมสุขเวทนา เป็นญาณสุข (สุขเกิดแต่ญาณ) (แต่) เป็นอญาณทุกข์ (ทุกข์เกิดแต่ความไม่รู้).๗-
      ในที่บางแห่งตรัสเวทนาแม้ทั้งหมดโดยความเป็นทุกข์.
      สมดังที่ตรัสไว้ว่า การเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุกๆ อย่าง เราตถาคตกล่าวว่า (รวมอยู่) ในทุกข์.๘-
      ____________________________
      ๖- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๙๙ สํ. สฬา. เล่ม ๑๘/ข้อ ๔๑๒
      ๗- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๕๑๑
      ๘- สํ. สฬา. เล่ม ๑๘/ข้อ ๓๙๑

      ในข้อนั้นพึงมีคำท้วงว่า ถ้าในสูตรอื่นๆ คล้ายอย่างนี้ และในพระอภิธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเทศนาทั้ง ๓ ไว้แล้วไซร้
      เมื่อเป็นเช่นนั้น
      เหตุไฉนจึงตรัสไว้อย่างนี้ว่า การเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุกอย่าง เราตถาคตกล่าวว่าเป็นทุกข์
      และว่า
      ดูก่อนอานนท์ และเวทนาทั้งสองอย่าง เราตถาคตกล่าวไว้โดยอ้อม ดังนี้.
      ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยทรงหมายเอาคำทั้งสองนี้ เพราะฉะนั้น เทศนานั้นจึงจัดเป็นเทศนาโดยอ้อม
      สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
      ดูก่อนอานนท์ ความแปรปรวนของสังขาร เราตถาคตกล่าวหมายถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ความเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุกๆ อย่าง เราตถาคตกล่าวว่าเป็นทุกข์
      และว่า
      อานนท์ เวทนาทั้ง ๒ อย่าง เราตถาคตกล่าวไว้โดยปริยาย.
      เพราะว่า ในบรรดาเวทนาทั้ง ๓ เหล่านี้ ความที่เวทนาทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้ คือ สุขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เป็นทุกข์โดยตรงไม่มี
      แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นทุกข์โดยปริยาย เพื่อจะทรงแสดงแก่ผู้ไม่มีฉันทะในเวทนาทั้งสองนั้น ตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ เพราะฉะนั้น เทศนาแบบนั้นจึงจัดเป็นเทศนาโดยอ้อม.
      ส่วนเทศนาว่าด้วยเวทนา ๓ นี้ เป็นเทศนาโดยตรง เพราะมีอธิบายว่า กล่าวตามสภาวธรรม.
      เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ กถานี้ของอาจารย์ทั้งหลาย จึงมีเพื่อความลงกัน.
      ส่วนผู้ที่ชอบพูดพล่อยๆ กล่าวว่า เทศนาว่าด้วยเวทนา ๓ เป็นเทศนาโดยอ้อมเหมือนกัน เพราะกล่าวถึงความเป็นทุกข์ ๒ อย่าง. เขาพึงถูกทักท้วงอย่างนี้ว่า ท่านอย่าพูดอย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาทุกอย่างว่าเป็นทุกข์ โดยมีพระประสงค์ว่า
      ดูก่อนอานนท์ ความแปรปรวนแห่งสังขาร เราตถาคตกล่าวหมายถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ความเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุกๆ อย่าง เราตถาคตกล่าวว่าเป็นทุกข์.
      ก็ถ้าในเรื่องนี้ เทศนาที่ว่าด้วยหมวด ๓ แห่งเวทนาพึงเป็นเทศนาโดยอ้อมไซร้ คำที่ข้าพเจ้ากล่าวหมายเอานี้ ก็ควรพูดได้ละซิว่า เวทนาเป็น ๓ แต่คำนี้ก็หาได้กล่าวไว้ไม่.
      อีกอย่างหนึ่ง ข้อความนี้นั้นเอง ควรกล่าวได้ว่า ดูก่อนอาวุโส ก็อะไรเล่าเป็นพระประสงค์เพื่อจะทรงแสดงเวทนาทั้ง ๓
      ถ้าหากจะมีผู้พูดว่า เวทนา ๓ พระองค์ตรัสไว้ตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ว่า ทุกขเวทนาอย่างอ่อนเป็นสุขเวทนา อย่างแรงเป็นทุกขเวทนา อย่างกลางเป็นอทุกขมสุขเวทนา ดังนี้ไซร้ แท้จริง ในเวทนาเหล่านั้น ความเจริญแห่งสุขเวทนาเป็นต้น หามีแก่สัตว์ทั้งหลายไม่ ดังนี้.
      เขาจะต้องถูกทักท้วงว่า
      ดูก่อนอาวุโส ก็อะไรเล่าเป็นสภาวะของทุกขเวทนาที่เป็นเหตุให้เวทนาทั้งหมดถูกเรียกว่าเป็นทุกข์
      ผิว่าเวทนาใดเกิดขึ้น สัตว์ทั้งหลายประสงค์จะให้จากไปอย่างเดียว นั่นแหละเป็นสภาวะของทุกขเวทนา
      ส่วนเวทนาใดเกิดขึ้นแล้ว สัตว์ทั้งหลายไม่ประสงค์จะจากไปเลย (และ)
      เวทนาใดเกิดขึ้นไม่ประสงค์ทั้งสองอย่าง เวทนานั้นจะพึงเป็นทุกขเวทนาได้อย่างไร? แท้จริง เวทนาใดตัดรอนสุขนิสัยของตน เวทนานั้นก็เป็นทุกข์ เวทนาใดกระทำการอนุเคราะห์ (สุขนิสัยของตน) เวทนานั้นจะพึงเป็นทุกข์ได้อย่างไร? และอีกอย่างหนึ่ง พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นสภาพใดเป็นทุกข์ สภาพนั้นเป็นสภาวะของทุกขเวทนา พระอริยะทั้งหลายเห็นเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ และเวทนา ก็เป็นสภาพที่มีอยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้น เวทนาเหล่านั้นจะพึงมีภาวะเป็นทุกข์อย่างอ่อน อย่างกลาง และอย่างแรงกล้าได้อย่างไร? และถ้าเวทนาทั้งหลายพึงมีความเป็นทุกข์ เพราะความที่สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์เท่านั้นไซร้ เทศนาที่ทรงจำแนกความเป็นทุกข์ออกไปดังนี้ว่า๙-
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์มี ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
      ทุกฺขทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือทุกขเวทนา)
      วิปริณามทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือความเปลี่ยนแปลงของสุข)
      สงฺขารทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือสังขาร).
      ก็พึงไร้ประโยชน์ละซี่ และเมื่อเป็นเช่นนั้น พระสูตรนั่นแหละจะพึงถูกคัดค้านว่า ก็ถ้าคำที่ว่าทุกขเวทนาอย่างอ่อน (เป็นสุขเวทนา) ในรูปาวจรฌาน ๓ ข้างต้นก็ถูก เพราะบ่งถึงสุขเวทนาอย่างกลาง (เป็นอทุกขมสุข) ในจตุตถฌาน และอรูปฌาน เพราะบ่งถึงอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า รูปาวจรสมาบัติ ๓ อย่างข้างต้นสงบกว่าจตุตถฌานสมาบัติและอรูปสมาบัติ ก็ถูกค้านด้วยละซี.
      ____________________________
      ๙- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๒๒๘

      อีกอย่างหนึ่ง ความที่ทุกขเวทนาเป็นของยิ่งกว่ากัน ในสมาบัติที่สงบและประณีตกว่ากัน จะถูกได้อย่างไร? เพราะฉะนั้น ความที่เทศนาว่าด้วยเวทนา ๓ เป็นเทศนาโดยอ้อม จึงไม่ถูก.
      ถามว่า ในสมาบัติทั้ง ๓ เบื้องต้น ก็คำใดที่ตรัสไว้ว่า๑๐- สัญญาวิปลาสในทุกข์ว่าเป็นสุข คำนั้นเป็นอย่างไร?
      ตอบว่า ข้อนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสัญญาในความเป็นสุขโดยส่วนเดียว และสัญญาในทุกขนิมิตว่าเป็นสุขนิมิต เพราะทรงรู้ตามความจริง ชื่อวิปริณามทุกข์ และสังขารทุกข์.
      ____________________________
      ๑๐- องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๔๙ ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๕๒๕

      ถามว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ส่วนพระพุทธพจน์นี้ว่า
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาที่เป็นสุข พึงเห็นโดยความเป็นทุกข์ดังนี้ เป็นอย่างไร?
      ตอบว่า คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงประกอบความให้สนิทในการทรงแสดงความเปลี่ยนแปลง เพราะความที่ทุกข์นั้น เป็นอุบายให้เข้าถึงความคลายกำหนัดในสุขเวทนานั้น และเพราะความที่สุขเวทนาคล้อยไปหาทุกข์มาก.
      จริงอย่างนั้น บัณฑิตทั้งหลายเห็นสุขว่าเป็นทุกข์นั่นเอง ดำเนินไปแล้ว เพราะสุขเป็นเหตุของทุกข์ และเพราะสุขถูกทุกขธรรมเป็นอเนกประการติดตาม.
      แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ สุขเวทนาก็ไม่มีเลย เพราะเหตุแห่งความสุขไม่มีกำหนดแน่นอน เพราะว่าเครื่องบริโภคและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ที่สมมติกันว่าเป็นเหตุแห่งสุขเวทนานั่นแหละ เมื่อบริโภคและใช้สอยเกินประมาณและไม่ถูกกาล ย่อมถึงความเป็นเหตุแห่งทุกขเวทนา แต่ไม่สมควรกล่าวว่า สุขเกิดขึ้นด้วยเหตุอันใด ความทุกข์ก็เกิดขึ้นด้วยเหตุอันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เครื่องบริโภคและเครื่องนุ่งห่มเหล่านั้น จึงไม่ใช่เหตุแห่งความสุข. แต่เป็นสัญญา (เครื่องหมาย) แห่งความสุขของผู้ไม่รู้ (คนโง่) ทั้งหลายในเมื่อทุกข์ปราศไปในระหว่าง.
      อุปมาเหมือนผู้ยั้งอยู่ในอิริยาบถ (เดียว) มีการยืนเป็นต้น เป็นเวลานานๆ (จะมีความสำคัญว่าเป็นสุข) ในเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ (เป็นอิริยาบถอื่น) จากอิริยาบถนั้น และเหมือน (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ของผู้แบกของหนัก ในเมื่อวางของหนักและเมื่อ (ร่างกาย) สงบ เพราะฉะนั้นจะไม่มีความสุขเลยหรือ?
      ข้อนี้นั้นเป็นการกำหนดความที่ทุกข์ไม่มีกำหนดแน่นอน โดยไม่ได้กำหนดรู้เหตุแห่งสุขโดยถูกต้องนั่นเอง.
      แท้จริง สุขเป็นเพียงอารมณ์เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ เพราะทรงมนสิการถึงเหตุแห่งความสุขอย่างเดียว ความสุขนั้นต่างกันโดยการกำหนดสรีระที่เป็นไปในภายใน ส่วนทั้งสองอย่างนั้นที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เกิดขึ้นในที่เดียวกัน พึงทราบว่าเป็นเหตุแห่งความสุขเป็นต้น.
      ก็ทั้งสองอย่างนั้น ชนิดใดเป็นเหตุแห่งสุขเวทนา ชนิดนั้นแม้บางครั้ง ก็ไม่เป็นเหตุแห่งทุกขเวทนา เพราะฉะนั้น เวทนาที่ท่านกำหนดไว้นั่นแหละเป็นเหตุแห่งความสุขเป็นต้น อุปมาเสมือนหนึ่งว่า เตโชธาตุ (จากอุณหภูมิ) กระทบพืชชนิดใด บรรดาข้าวสาลี ข้าวยวะ พืชผักและข้าวกล้าเป็นต้น ระหว่างที่ตั้งลำต้นได้แล้ว ก็เป็นเหตุแห่งความยินดีและมีรสอร่อย แต่แม้บางครั้งกระทบพืชชนิดนั้นเหมือนกัน แต่ก็ไม่เป็นเหตุแห่งความยินดี และมีรสอร่อยฉันใด ข้ออุปไมยก็พึงทราบฉันนั้นเหมือนกัน แม้บางคราว เวทนาที่ยังไม่ปราศไปจากทุกข์ ก็ได้รับสุขเวทนาอย่างอื่น ในกาลนั้นจะมีความสำคัญในความสุขนั่นแหละว่าเป็นสุข ไม่ใช่เพียงเวลาที่ความทุกข์ปราศไป เหมือนความสำคัญในความสุขว่าเป็นสุขของผู้เมื่อยล้าในการเดินทาง และเดือดร้อน เพราะความกระวนกระวาย ในเพราะการนวดฟั้น และการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถฉะนั้น. โดยประการอื่น แม้ในระหว่างกาล สุขสัญญาพึงมีได้ในเวลาที่อันตรายผ่านไป แต่ในขณะที่เพียงแต่ทุกข์ผ่านไป การกำหนดว่าเป็นสุขพึงมี เพราะไม่เข้าไปได้เวทนาพิเศษ และข้ออุปไมยนี้ก็พึงสำเร็จอย่างนั้นโดยส่วนเดียวนั่นเอง.
      เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายปรารถนายิ่งซึ่งอารมณ์ทั้งหลายที่ประณีตๆ ยิ่งขึ้นไปอย่างเดียว ด้วยความลำบากมาก และเมื่อนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งก็ไม่สามารถทำการตอบสนองสัตว์เหล่านั้นได้ ด้วยปัจจัยเพียงเท่าที่ได้มา มีแต่จะให้เกิดตัณหาขึ้น ดังนี้แล เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิดขึ้น ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ความสำคัญว่าเป็นสุขพิเศษ เมื่อเกิดขึ้นโดยความที่วัตถุทั้งหลายมีของหอม มีรสอร่อย และสุขสัมผัสเป็นต้น เป็นอย่างอื่นไปพึงเกิดในฆานทวาร ชิวหาทวาร และกายทวารทั้งหลาย และในโสตทวารอันเป็นที่รับรองเสียงแห่งดุริยางค์มีองค์ ๕ คล้ายกับทิพสังคีต. เพราะเหตุนั้น ในทุกขเวทนาอย่างเดียว สุขสัญญาจึงไม่มี เพราะทุกข์ในระหว่างผ่านไป ถึงสุขสัญญาก็ไม่มี ในขณะเพียงแต่ทุกข์ผ่านไปอย่างเดียว เวทนาทั้ง ๓ พระองค์ทรงกำหนดไว้โดยอาคม โดยข้อยุติ เพราะฉะนั้น เทศนาว่าด้วยเวทนา ๓ หมวดของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นนีตัตถเทศนา (เทศนาที่มีเนื้อความนำออกไปแล้ว คือทรงแสดงเฉพาะบุคคล) อย่างเดียว ไม่ใช่เนยยัตถเทศนา (เทศนาที่มีเนื้อความซึ่งจะต้องนำออกแสดงแก่คนทั่วไป) ควรเข้าใจความหมายดังว่ามานี้ ถ้าผู้ใดเข้าถึงเทศนานั้น ตามที่พรรณนามานี้ไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าผู้นั้นเข้าไม่ถึงเทศนานั้น เขาจะต้องถูกส่งไปว่า จงไปตามสบายของตน ดังนี้.
      เวทนา ๓ เหล่านี้ ที่มีลักษณะถูกกำหนด สภาวะที่ขัดแย้งกัน ดังพรรณนามานี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ก็และเวทนาทั้ง ๓ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แก่พระโยคาวจรทั้งหลายผู้ประกอบการบำเพ็ญวิปัสสนา โดยมุขคือเวทนา. เพราะว่า กรรมฐานมี ๒ อย่างคือรูปกรรมฐานและอรูปกรรมฐาน. ในกรรมฐานทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสรูปกรรมฐาน ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการมนสิการโดยสังเขปบ้าง ด้วยสามารถแห่งการมนสิการโดยพิสดารบ้าง ด้วยสามารถแห่งการกำหนดธาตุเป็นต้นอย่างนั้นบ้าง แต่เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐาน ก็ตรัสด้วยสามารถแห่งผัสสะบ้าง ด้วยสามารถแห่งเวทนาบ้าง ด้วยสามารถแห่งจิตบ้าง. เพราะว่า พระโยคาวจรบางรูปเมื่อระลึกถึงอารมณ์ที่เข้าสู่คลอง ผัสสะมีจิตและเจตสิกตกไปครั้งแรกในอารมณ์นั้น ถูกต้องอารมณ์นั้นอยู่ก็จะปรากฏชัด. สำหรับพระโยคาวจรบางรูป เวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นเกิดขึ้นจะปรากฏชัด (แต่) สำหรับบางรูป วิญญาณที่รู้อารมณ์นั้นเกิดขึ้นจะปรากฏชัด เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอรูปกรรมฐานตามที่ปรากฏโดยอัธยาศัยของบุคคลนั้นๆ ไว้ ๓ อย่างโดยมีผัสสะเป็นต้นเป็นประธาน.
      ในบุคคล ๓ ประเภทนั้น ผัสสะปรากฏชัดแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นจะกำหนดอารมณ์มีผัสสะเป็นที่ ๕ นั่นแหละว่าไม่ใช่ผัสสะอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น ถึงเวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นนั่นแหละ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับผัสสะนั้น ถึงสัญญาที่จำอารมณ์นั้นอยู่ ถึงเจตนาที่คิดถึงอารมณ์นั้นอยู่ ถึงวิญญาณที่รู้ชัดซึ่งอารมณ์นั้นอยู่ ก็จะเกิดพร้อมกับผัสสะนั้น. เวทนาปรากฏแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นจะกำหนดอารมณ์มีผัสสะเป็นที่ ๕ เหมือนกันว่า ไม่ใช่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น ถึงสัมผัสที่ถูกต้องอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น ถึงสัญญาที่จำได้อยู่ ถึงเจตนาที่นึกคิดอยู่ ถึงสัญญาที่รู้แจ้งอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น. วิญญาณปรากฏชัดแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นก็จะกำหนดอารมณ์ มีผัสสะเป็นที่ ๕ เหมือนกับว่า ไม่ใช่แต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น แม้ผัสสะที่ถูกต้องอยู่ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับด้วยวิญญาณนั้น แม้เวทนาที่เสวยอารมณ์อยู่ แม้สัญญาที่จำได้อยู่ แม้เจตนาที่คิดนึกอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับวิญญาณนั้น.
      พระโยคาวจรนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ เหล่านี้อาศัยอะไรอยู่ดังนี้ จะรู้ชัดว่าอาศัยวัตถุอยู่. กรชกาย ชื่อว่าวัตถุ.
      คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า๑๑- ก็แลวิญญาณของเรานี้อิงอาศัยอยู่ในกรชกายนี้ เนื่องแล้วในกรชกายนี้ ทรงหมายเอากรชกายใด กรชกายนั้นโดยเนื้อความ ได้แก่ภูต และอุปทายรูปทั้งหลาย เธอเห็นเป็นเพียงนามกับรูปเท่านั้นว่า บรรดา ๒ อย่างนี้ วัตถุเป็นรูป ธรรมมีผัสสะเป็นที่ ๕ เป็นนาม ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ในสองอย่างนี้ รูปได้แก่รูปขันธ์ นามได้แก่ขันธ์ ๔ ที่ไม่ใช่รูป ดังนั้นจึงรวมเป็นเพียงขันธ์ ๕.
      แท้จริง เบญจขันธ์ที่จะพ้นจากนามรูป หรือนามรูปที่จะพ้นจากเบญจขันธ์ไปเป็นไม่มี. เธอเมื่อใคร่ครวญอยู่ว่าเบญจขันธ์เหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ ก็เห็นว่ามีอวิชชาเป็นเหตุ แต่นั้นจะยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ด้วยสามารถแห่งนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยว่า นามรูปนี้เป็นทั้งปัจจัย เป็นทั้งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ไม่มีสัตว์หรือบุคคลอย่างอื่น มีเพียงกองสังขารล้วนๆ เท่านั้น แล้วท่องเที่ยวพิจารณาตามลำดับวิปัสสนาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้.
      เธอจำนงหวังปฏิเวธ (การตรัสรู้) อยู่ว่า (เราจะตรัสรู้) ในวันนี้ๆ ในสมัยเช่นนั้น ได้ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย โภชนะเป็นที่สบายหรือการฟังธรรมเป็นที่สบายแล้ว นั่งโดยบัลลังก์เดียวเท่านั้น ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุด ย่อมดำรงอยู่ในพระอรหัตผล.
      ____________________________
      ๑๑- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๑๓๑ ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๓๔๗

      พึงทราบกรรมฐานจนถึงพระอรหัตของชน ๓ เหล่า ดังที่พรรณนามานี้.
      แต่ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐานตามอัธยาศัยของผู้ที่จะตรัสรู้ด้วยสามารถแห่งเวทนา จึงตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเวทนา.

      ปกิณณกกถา ในพระสูตรนี้ พึงทราบปกิณณกะดังนี้ คือ
      ลักษณะ ๑ อธิฏฐาน ๑ อุปปัตติ ๑
      อนุสัย ๑ ฐานะ ๑ ปวัตติกาล ๑ อินทรีย์ ๑
      ทุวิธาทิตา ๑.
      บรรดาปกิณณกะ ๘ อย่างนั้น ลักษณะ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในหนหลังแล้วทีเดียว.
      ผัสสะ ชื่อว่าอธิฏฐาน ก็เพราะพระบาลีว่า ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาดังนี้ ผัสสะจึงเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา.
      จริงอย่างนั้น ผัสสะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเทียบด้วยอุปมากับแม่โคที่เขาถลกหนังแล้ว เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา บรรดาเวทนาเหล่านั้น ผัสสะที่ให้เสวยสุขเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ผัสสะที่ให้เสวยทุกข์เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ผัสสะที่ให้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา.
      อธิบายว่า ได้แก่ อาสันนการณ์ (เหตุใกล้)
      ถามว่า เวทนา เป็นปทัฏฐานของอะไร.
      ตอบว่า เวทนาเป็นปทัฏฐานของตัณหา โดยมีความปรารถนายิ่งๆ ขึ้นไป โดยพระบาลีว่า เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี.
      ถามว่า สุขเวทนาเป็นปทัฏฐานแห่งตัณหา จงยกไว้ก่อน แต่เวทนานอกนี้ (ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา) เป็นปทัฏฐานแห่งตัณหาได้อย่างไร. ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป ก่อนอื่น แม้ผู้พรั่งพร้อมด้วยความสุขยังปราถนาความสุขเช่นนั้น หรือความสุขที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้ที่ถูกความทุกข์ครอบงำ และอทุกขมสุข ท่านเรียกว่าสุขเหมือนกัน เพราะเป็นความสงบ. เวทนาแม้ทั้ง ๓ จึงเป็นปทัฏฐานแห่งตัณหา.
      เหตุเป็นที่เกิด ชื่อว่าอุปปัตติ.
      แท้จริง สัตว์และสังขารทั้งหลายที่เป็นอิฏฐารมณ์เป็นเหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งสุขเวทนา สัตว์และสังขารเหล่านั้นนั่นแหละที่เป็นอนิฏฐารมณ์ เป็นเหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนา ที่เป็นมัชฌัตตารมณ์เป็นเหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งอทุกขมสุขเวทนา. ก็ในอุปัตติเหตุนี้ พึงทราบความเป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์โดยการถือเอาอาการของเวทนานั้นจากวิบาก.
      บทว่า อนุสโย ความว่า ในบรรดาเวทนาทั้ง ๓ เหล่านี้
      เพราะสุขเวทนา ราคานุสัยจึงนอนเนื่องอยู่.
      เพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยจึงนอนเนื่องอยู่.
      เพราะอทุกขมสุขเวทนา อวิชชานุสัยจึงนอนเนื่องอยู่.
      สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เพราะเวทนาเป็นสุขแล ราคานุสัยจึงนอนเนื่องอยู่ ดังนี้เป็นต้น๑-
      ____________________________
      ๑- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๕๑๑

      นักศึกษาพึงจัดทิฏฐานุสัย และมานานุสัยที่เป็นฝักฝ่ายของราคะ เข้าในราคานุสัยนี้ด้วย เพราะผู้มีทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมเชื่อมั่นในสักกายะ (กายของตน) โดยนัยมีอาทิว่า เป็นของยั่งยืน เพราะเพลิดเพลินกับความสุข และผู้มีมานะมาแต่กำเนิด อ้างมานะโดยนัยมีอาทิว่า เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.
      ส่วนวิจิกิจฉานุสัยที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งอวิชชา ก็ต้องจัดเข้าไว้ด้วย.
      สมดังที่ตรัสไว้ในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี. และอนุสัยทั้งหลายยังมีการดำเนินไปด้วยกำลังอยู่ เพราะภาวะที่ยังละไม่ได้ในสันดานนั้นๆ เพราะฉะนั้น คำว่า สุขาย เวทนาย ราคานุสโย อนุเสติ จึงได้ความว่า ราคะที่ควรแก่การเกิดขึ้น ในเมื่อได้เหตุที่เหมาะสม จึงเป็นเสมือนนอนอยู่ในสันดานนั้น เพราะยังละไม่ได้ด้วยมรรค.
      แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.
      บทว่า ฐานํ ความว่า กายและจิตเป็นฐานของเวทนา.
      สมดังที่ตรัสไว้ว่า ในสมัยนั้น ความสุขทางกาย ความยินดี การเสวยสุข อันเกิดแต่กายสัมผัสอันใด และว่า ในสมัยนั้น ความสุขทางใจ ความยินดี การเสวยสุขอันเกิดแต่สัมผัสทางใจอันใด ดังนี้.๒-
      ปวัตติขณะและการนับความเป็นไป ชื่อว่าปวัตติกาล.
      อธิบายว่า ความที่สุขเวทนาเป็นสุขและความที่ทุกขเวทนาเป็นทุกข์ ท่านกำหนดแล้วด้วยปวัตติขณะ.
      สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ๓-
      ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เวทนาที่เป็นสุขแลเป็นฐิติสุข (สุขในฐิติขณะ) แต่เป็นวิปริณามทุกข์ (ทุกข์เมื่อเปลี่ยนแปลง).
      ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เวทนาที่เป็นทุกข์แล เป็นฐิติทุกข์ (ทุกข์ในฐิติขณะ) แต่เป็นวิปริณามสุข (สุขเมื่อเปลี่ยนแปลง).
      อธิบายว่า ความมีอยู่แห่งสุขเวทนาเป็นความสุข ความไม่มีแห่งสุขเวทนาเป็นทุกข์ ความมีอยู่แห่งทุกขเวทนาเป็นทุกข์ ความไม่มีอยู่แห่งทุกขเวทนาเป็นสุข. การนับความเป็นไปแห่งอทุกขมสุขเวทนา คือการนับการไม่นับ ได้แก่การรู้การไม่รู้ซึ่งความเป็นไปแห่งอทุกขมสุขเวทนา เป็นเครื่องกำหนดความเป็นสุขและเป็นทุกข์.
      ก็แลแม้คำนี้ ท่านก็กล่าวไว้ว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เวทนาที่ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์แล เป็นญาณสุข (สุขเพราะรู้) แต่เป็นอญาณทุกข์ (ทุกข์เพราะไม่รู้).๓-
      ____________________________
      ๒- อภิ. สงฺ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๓๖๑
      ๓- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๕๑๑

      บทว่า อินฺทรียํ ความว่า จริงอยู่ เวทนา ๓ มีสุขเวทนาเป็นต้นเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้โดยอินทรีย์ ๕ ประการ คือสุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดี.
      อธิบายว่า ความยินดีทางกาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าสุขินทรีย์. ความไม่ยินดี ตรัสเรียกว่าทุกขินทรีย์. ส่วนความยินดีทางใจ ตรัสเรียกว่าโสมนัสสินทรีย์. ความไม่ยินดี ตรัสเรียกว่าโทมนัสสินทรีย์. แม้ทั้งสองอย่าง ไม่ตรัสเรียกว่า ความยินดีความไม่ยินดี เป็นอุเบกขินทรีย์.
      ถามว่า ในข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุเล่า
      ตอบว่า เพราะไม่มีความแตกต่างกันว่า อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสจำแนกไว้เหมือนสุขเวทนาและทุกขเวทนา ทางกายและทางใจที่ตรัสจำแนกไว้ว่า สุขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ดังนี้.
      เพราะว่า สุขเวทนามีการอนุเคราะห์เป็นสภาพ ส่วนทุกขเวทนามีการแผดเผาเป็นสภาพ อย่างหนึ่งทำการอนุเคราะห์กาย อีกอย่างหนึ่งทำการแผดเผาใจฉันใด อทุกขสุขเวทนาไม่เหมือนอย่างนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ตรัสจำแนกไว้ เพราะไม่มีความแตกต่างกัน.
      บทว่า ทุวิธาทิตา ความว่า แท้จริง เวทนาแม้ทั้งหมดโดยความหมายว่าเสวยอารมณ์ก็มีอย่างเดียวเท่านั้น แต่โดยแยกที่อาศัยก็มีสองอย่าง คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ (โดยอารมณ์). มี ๓ อย่าง คือสุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา. โดยอำนาจกำเนิด ๔ มี ๔ อย่าง. โดยอำนาจอินทรีย์และโดยอำนาจคติมี ๕ อย่าง. โดยอำนาจทวารและโดยอำนาจอารมณ์มี ๖ อย่าง. โดยการประกอบกับวิญญาณธาตุ ๗ มี ๗ อย่าง. โดยมีโลกธรรม ๘ เป็นปัจจัยมี ๘ อย่าง. โดยการจำแนกสุขเป็นต้นแต่ละอย่างออกเป็นอดีตเป็นต้นมี ๙ อย่าง. เวทนาเหล่านั้นแหละโดยแยกเป็นภายในและภายนอกมี ๑๘ อย่าง. โดยแยกอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น ออกเป็นอย่างละ ๓ ตามอำนาจของสุขเป็นต้น ก็ (๑๘) เท่านั้นเหมือนกัน.
      อธิบายว่า ในรูปารมณ์ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง อทุกขมสุขบ้างเกิดขึ้น แม้ในอารมณ์มีสัททารมณ์เป็นต้นนอกนี้ก็เช่นนั้นเหมือนกัน.
      อีกอย่างหนึ่ง ด้วยอำนาจมโนปวิจาร ๑๘ เวทนาก็มี ๑๘.
      สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมเข้าไปพิจารณารูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมพิจารณารูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปพิจารณารูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ได้ยินเสียงด้วยโสต ฯลฯ รู้ธรรมด้วยใจ ย่อมเข้าไปพิจารณาธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมเข้าไปพิจารณาธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปพิจารณาธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เวทนาจึงมี ๑๘ อย่าง.๔-
      ____________________________
      ๔- องฺ. ติก. เล่ม๒๐/ข้อ ๕๐๑

      อีกประการหนึ่ง เวทนาเป็น ๓๖ อย่างนี้ คือ เคหสิตโสมนัส (โสมนัสที่เป็นเจ้าเรือน) ๖ เคหสิตโทมนัส (โทมนัสที่เป็นเจ้าเรือน) ๖ เคหสิตอุเบกขา (อุเบกขาที่เป็นเจ้าเรือน) ๖ โสมนัสเป็นต้นที่อาศัยเนกขัมมะก็มีเหมือนกัน เวทนามีถึง ๑๐๘ คือเวทนาในอดีต ๓๖ ในอนาคต ๓๖ ในปัจจุบัน ๓๖ ในอธิการแห่งเวทนานี้ พึงทราบความที่เวทนามี ๒ อย่างเป็นต้นดังพรรณนามานี้แล.
      จบปกิณณกกถา
      พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ :-
      บทว่า สมาหิโต ความว่า เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ แยกประเภทเป็น อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ. ด้วยบทว่า สมาหิโต นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการประกอบเนืองๆ ซึ่งสมถภาวนา.
      บทว่า สมฺปชาโน ความว่า รู้ชัดอยู่โดยชอบด้วยสัมปชัญญะ ๔ ประการมีสาตถกสัมปชัญญะเป็นต้น. ด้วยบทว่า สมฺปชาโน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการประกอบเนืองๆ ซึ่งวิปัสสนา.
      บทว่า สโต ความว่า เป็นผู้ตั้งสติ. ด้วยบทว่า สโต นั้น ธรรมทั้งหลายย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา โดยนัยแห่งสมถะและวิปัสสนา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนานุโยคนั้น.
      บทว่า เวทนา จ ปชานาติ ความว่า พุทธสาวก เมื่อกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ ในส่วนเบื้องต้นโดยจำแนกตามความเป็นจริงว่า เวทนาเหล่านี้ เวทนามีเท่านี้และโดยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นว่า เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้แล้ว เจริญวิปัสสนา ย่อมรู้ชัดด้วยการแทงตลอด ด้วยการกำหนดรู้ ด้วยอริยมรรค.
      บทว่า เวทนาญฺจ สมฺภวํ ได้แก่ สมุทยสัจ.
      บทว่า ยตฺถ เจตา นิรุชฺฌนฺติ ความว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เวทนาย่อมดับไปในที่ใด ที่นั้นเป็นนิโรธสัจ.
      บทว่า ขยคามินํ เชื่อมความว่า รู้อริยมรรคที่เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาด้วย.
      บทว่า เวทนานํ ขยา ความว่า เพราะดับโดยไม่ให้เกิดขึ้นแห่งเวทนาทั้งหลายด้วยอริยมรรคที่แทงตลอด สัจจะทั้ง ๔ ดังนี้.
      บทว่า นิจฺฉาโต ปริพฺพุโต ความว่า หมดตัณหา คือละตัณหาได้ เป็นผู้ปรินิพพานแล้ว ด้วยกิเลสปรินิพพาน และขันธปรินิพพาน.

      จบอรรถกถาปฐมเวทนาสูตรที่ ๓


      --------------------------------------
      .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ปฐมวรรค เวทนาสูตรที่ ๑ จบ.


      ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=230
    20. แอ๊บแบ้ว
      แอ๊บแบ้ว
      กระผมขออนุญาตเน้นข้อความเฉพาะที่ กำลังเป็นที่สนใจ (ส่วนข้อความที่ไม่เน้น ให้อ่านทำความเข้าใจด้วย ปัญญาจึงเกิดบริบูรณ์ ไม่ขาดวรรคตอน) ....ดังแสดงต่อไปนี้
      หัวข้อ: อุเบกขาบารมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจน ทศบารมีวิภาค - อุเบกขาบารมีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส กทม.สำเนาเทศน์เช้า วันสิ้นเดือนอ้าย ๒๓ กันยายน ๒๔๗๐
      อิทานิ จาตุทฺทสี ทิวเส สนฺนิปติตาย พุทฺธปริสาย กาจิ ธมฺมิกถา กถิยเต, อิโต ปรํ อุเปกฺขาปารมึ อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ภาสิสฺสามีติ อิมสฺส ธมฺมปริยายสฺส อตฺโถ สาธายสฺมนฺเตหิ สกฺกจฺจํ โสตพฺโพติณ วันนี้เป็นวันจาตุททสีดิถีที่ ๑๔ ค่ำ แห่งกาฬปักษ์ เป็นวันธัมมัสสวนะ สำหรับพุทธบริษัทมาประชุมสันนิบาต เพื่อจะฟังพระธรรมเทศนาตามกาลนิยม ซึ่งมีมาในพระธรรมวินัย เมื่อพร้อมด้วยสันนิบาตได้พร้อมกันไหว้พระสวดมนต์ สมาทานศีล เสร็จกิจในเบื้องต้นแล้ว เบื้องหน้าแต่นี้ พึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาให้สำเร็จเป็นธรรมสวนามัยกุศล เป็นผลอันพิเศษ ด้วยการฟังพระธรรมเทศนา เป็นการบำรุงศรัทธาและปัญญาของตน ให้เจริญขึ้นโดยลำดับ ด้วยพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นดวงประทีปสำหรับส่องให้โลกสว่าง ด้วยโลกคือหมู่สัตว์มืดมน มหนธการด้วยอำนาจอวิชชาโมหะครอบงำทำให้ปัญญาทุพลภาพ มุ่งแต่ลาภและยศสรรเสริญความสุข เมาในวัยว่าตนยังหนุ่ม เมาในความไม่มีโรค เมาในชีวิต ไม่คิดถึงความตาย แสวงหาแต่วัตถุที่จะเอาไปตามตนไม่ได้ ข้อนี้ไซร้สำเร็จมาแต่การขาดการสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา อันเป็นโอวาทศาสนาคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าความจริงในสยามประเทศนี้ นับว่าเป็นหลักของพระพุทธศาสนา ด้วยพระพุทธศาสนาตกเข้ามาประดิษฐานอยู่ในประเทศสยามนมนานกว่า ๒,๐๐๐ ปีแล้ว แต่ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ ด้วยว่าแต่บรรดาพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ของชาวสยาม ต้องเป็นอรรคศาสนูปถัมภก สืบขัติยวงศ์มามิได้ขาด ตั้งต้นแต่นครเชียงแสนเชียงรายมากระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นปัจจุบันบัดนี้ แต่นั่นแหละ อาศัยความที่ไม่ถาวรแห่งโลก เมืองหลวงต้องถูกโยกย้ายหลายตำบล เป็นเหตุให้จลาจลแห่งพระพุทธศาสนา ครั้นเมืองหลวงตั้งมั่นเจริญขึ้นในตำบลใด พระพุทธศาสนาก็เจริญขึ้นตามในตำบลนั้น ข้อนี้มีเจดิยสถาน(?เจดียสถาน)โบราณคดี เป็นเครื่องอ้างให้สันนิษฐานได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินชาวสยามเป็นอรรคศาสนูปถัมภกตลอดมา แต่ความรู้ความฉลาดในธรรมวินัยของพุทธบริษัทก็คงจะขึ้น ๆ ลง ๆ ฉะนั้น ดังในประถมสมัยในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ข้อปฏิบัติในธรรมวินัยนับว่าเสื่อมทรามลงมาก หากอำนาจแห่งพระพุทธศาสนาบันดาล ให้พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าสยาม มาช่วยเป็นเป็นอรรคศาสนูปถัมภก ยกแยกเป็นคณะธรรมยุติกนิกายขึ้นให้ศึกษาตรวจตรองเลือกคัด ปฏิบัติให้ตรงตามพระวินยานุญาต ส่วนธรรมปฏิบัติก็ให้ตรงต่อไตรสิกขา ไม่ให้งมงายเชื่อตามพวกวิปัสสนา หลับตาดูนรกดูสวรรค์ สู่ความเจริญ เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าสยาม และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นอรรคศาสนูปถัมภก เป็นบูรพาจารย์ของพวกเราทั้งหลาย อย่าพากันลืมพระมหากรุณาธิคุณในพระองค์ท่านทั้งสอง ที่ออกพระนามมาแล้ว ต่อแต่นี้ไป มรรค ผล นิพพาน จะชัชวาลแจ่มแจ้งขึ้นแก่พุทธบริษัทเป็นลำดับไป....... กัณฑ์นี้ได้บรรยายอารัมภกถามาก เพื่อเตือนในแห่งสัตบุรุษให้ตื่นจากหลับ พากันหลับมาหลายชั่วบุรุษแล้ว อย่าพากันหลงเชื่อถือตามลัทธิของครูบาอาจารย์อย่างเดียว เชื่อต่อพระอัฏฐังคิกมรรค เชื่อต่อไตรสิกขาด้วย เชื่อความสามารถของตนด้วย จึงจะได้ประสบมรรคผลนิพพาน

      ........บัดนี้ จักแสดงใน อุเบกขาบารมี ต่ออนุสนธิสืบไปอุเปกฺขา นาม ชื่ออันว่า อุเบกขาบารมีนี้
      ....... หาใช่เฉย ๆ อยู่อย่างเดียวไม่
      ถ้าความเพิกเฉย เป็นทองไม่รู้ร้อนอย่างเดียวเป็นอุเบกขาแล้ว
      อุเบกขาก็ไม่เป็นบารมี ไม่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าได้
      อุเบกขาบารมีนี้ หมายความเป็นกลาง คือหัดทำใจให้เป็นกลาง
      คือเป็นยอดเป็นจอมแห่งบารมีทั้ง ๙ มี ทานบารมี เป็นต้น ดังที่แสดงมาแล้ว

      ..... ถ้าขาดอุเบกขาจิต จิตที่เป็นกลางเสียแล้ว บารมีเหล่านั้นเกิดขึ้นไม่ได้
      ความจริงบารมีทั้ง ๑๐ ประการนั้น ในบารมีอันหนึ่งก็ต้องมีพร้อมทั้ง ๑๐ ประการ
      เป็นแต่ว่า จะยกบารมีอันใดขึ้นเป็นประธาน ก็เรียกบารมีอันนั้นเท่านั้น

      ......... เพราะคุณธรรมเหล่านี้เป็นอัญญมัญญปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน
      ท่านจึงร้อยเข้าไว้เป็นพวงเดียวกัน
      ในพระบารมีทั้ง ๙ นั้น จะสำเร็จได้ก็ต้องมีอุเบกขาจิตเข้าเป็นปัจจัยอุดหนุน

      ......ในเวลาที่จักเจริญอุเบกขาบารมี พระบารมีธรรมทั้ง ๙ นั้นก็มาเป็นปัจจัยอุดหนุนให้อุเบกขาบารมีเต็มรอบ

      ....ท่านเรียกว่าสามัคคีธรรม คือ คุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการนั้นมีขึ้นพร้อมกันในสกลกายนี้

      .... นัยหนึ่งท่านเรียกว่า มัคคสามัคคี ท่านแสดงไว้ในปฐมสมโพธิพุทธประวัติของเก่า
      แสดงลักษณะมรรคสามัคคีว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราใกล้จะตรัสรู้
      สู้กับด้วยพระยามาราธิราชด้วยพระบารมี ๑๐ ประการ
      ด้วยอาวัชชนาการถึงพระบารมีทั้ง ๑๐ มีพร้อมเป็นมัคคสามัคคีแล้ว
      ร่างกายจิตใจของพระองค์ในเวลานั้นเป็นอุเบกขาญาณสัมปยุต เฉย เป็นกลาง
      เปรียบด้วยพระธรณี คือแผ่นดิน
      โบราณาจารย์จึงสมมติอาการนั้นว่า นางพระธรณีขึ้นมาช่วยดังนี้
      และเล็งเอาน้ำพระทัยของพระองค์เวลานั้นเต็มไปด้วยพระมหากรุณาแผ่ไปทั่วโลกธาตุ
      โบราณาจารย์จึงสมมติอาการแห่งพระกรุณานั้นว่า
      นางพระธรณีรีดน้ำออกจากมวยผม ไหลท่วมถมพัดพาเอาพระยามาร
      กับทั้งพลมารให้ล่มจมงมงาย คลื่นกระฉอกพัดซัดออกไปตกนอกขอบจักรวาล
      ดังนี้พึงเข้าใจอุเบกขาจิต คือจิตเป็นกลาง

      ....ถ้าจักชี้เจตสิก อัญญสมานาเจตสิกนั้นแหละ ซื่อว่าเจตสิกกลาง
      ... ถ้าเจตสิกกลางนั้นมาประกอบกับจิต ก็เรียกว่าอุเบกขาจิต
      .... ที่ท่านแสดงประเภทแห่งอุเบกขาไว้มีมาก

      ดังในพรหมวิหารจิตเป็นกลาง สัมปยุตด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
      ชื่อว่า อุเบกขาพรหมวิหาร

      จิตเป็นกลาง สัมปยุตเป็น สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
      ชื่อว่า อุเบกขาเวทนา

      ....จิตเป็นกลางสัมปยุตด้วยสติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
      ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์

      .... จิตเป็นกลางใน รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ไม่ตกไปในฝ่ายยินดียินร้าย
      ชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา

      .... จิตเป็นกลางสัมปยุตด้วยเอกัคคตากับอุเบกขา เท่านั้น
      ชื่อว่า จตุตถฌานุเปกขา

      .... ลักษณะที่มาแห่งอุเบกขามีมากประเภท ชักมาแสดงพอเข้าให้เข้าใจความเท่านั้น
      อุเบกขาจิตนี้ถ้าสัมปยุตด้วยบุญด้วยกุศล ก็เป็นกุศลเจตนาไป
      .....ถ้าสัมปยุตด้วยบาปด้วยอกุศล ก็เป็นอกุศลเจตนาไป
      ....ถ้าไม่สัมปยุตด้วยกุศลากุศล ก็เป็นอัพยากฤตไปเท่านั้น
      .... อุเบกขาบารมีที่พระพุทธเจ้าทรงแจกแก่พุทธบริษัทให้ดำเนินตาม
      ผู้รับแจกได้ดำเนินตามและได้สำเร็จมรรคผลนิพพานนับด้วยโกฏิด้วยล้านไม่ถ้วน
      ....อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑
      ...สังขารุเบกขาญาณ ๑
      ....ฌานุเบกขา ๑

      .... จะอธิบายแต่เพียงอุเบกขา ๓ ประเภทเท่านี้ พอเป็นทางปฏิบัติของพุทธบริษัท
      ....ผู้ที่ปรารถนาจะเจริญ โพชฌงค์ (http://www.nkgen.com/35.htm ) พึงตั้งสติให้รู้อยู่ที่กายที่ใจนี้
      ให้มีธรรมวิจยะ ตรวจตรองจนให้เห็นว่าสกลกายนี้เป็นสภาวธรรม
      แจกออกเป็นพระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ ให้รู้ชัดด้วยปัญญา
      ให้มีวิริยะความกล้าหาญองอาจในความเพียร ไม่เห็นแก่ร่างกายและชีวิต
      ทำจิตให้สงบ ให้เกิดปีติความเอิบอิ่มเบิกบานในดวงจิต
      ให้กายและจิตสงบเป็นปัสสัทธิเรียบราบดี ให้จิตเป็นหนึ่งในอารมณ์
      คือ สภาวธรรมในสกลกายนี้เป็นองค์สมาธิ
      ให้อุเบกขาจิตเพ่งสัมปยุตธรรมเหล่านั้น
      จะเห็นว่า คุณธรรมเหล่านั้นพรักพร้อมบริบูรณ์แล้ว
      เพียงเท่านี้ชื่อว่าสำเร็จภูมิอุเบกขาสัมโพชฌงค์
      และให้หมั่นทำจนชำนาญ คุณธรรมทั้ง ๗ นี้
      เป็นเหตุเป็นองค์จะให้ตรัสรู้อริยสัจธรรมตลอดถึงมรรคผลนิพพาน

      ....ผู้รับแจกควรยินดีตั้งใจปฏิบัติตามการแสดงพุทธโอวาท ก็แสดงได้แต่ทางปฏิบัติเท่านั้น
      การจะได้จะถึงเป็นกิจของผู้เลื่อมใส ผู้รับปฏิบัติจะได้เอง เห็นเอง
      ....ในสังขารอุเบกขาญาณนั้น ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
      จะชักมาแสดงพอเป็นนิทัศนะเมื่อพระโยคาพจรกุลบุตรชำระศีลให้บริสุทธิ์
      ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ชำระทิฏฐิให้บริสุทธิ์ ชำระความสงสัยในอดีต อนาคต
      ให้บริสุทธิ์ด้วยปัจจุบัน ธรรมวินิจฉัยทางดำเนินให้ตรง ละวิปลาสสัญญาเสียได้
      แล้ว น้อมจิตสู่วิปัสสนาญาณ จะชักแผนที่ของโบราณาจารย์
      คือ แบบแผนมาแสดงไว้พอเป็นราว
      ถ้าจะให้ขาวสิ้นสงสัยต้องไปตรวจดูตามแผนที่ จะรู้สึกว่าแผนที่กับภูมิประเทศห่างไกลกันสักปานใด
      แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีทางวินิจฉัยรู้จักผิดและถูก แผนที่มีคุณแก่ผู้ตรวจภูมิประเทศฉันใด

      ตำราแบบแผนก็มีคุณแก่กุลบุตรผู้ดำเนินในวิปัสสนาญาณฉันนั้นยกสังขารขึ้นสู่ไตรลักษณ์

      ชื่อว่า สัมมสนญาณ ให้พิจารณาความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย
      ชื่อว่า อุทยัพพยญาณ และปล่อยความเกิดขึ้นเสีย
      พิจารณาความชำรุดหักพังแห่งสังขารทั้งหลาย น่าสยดสยอง
      ชื่อว่า ภังคญาณ ตามเพ่งอาทีนพโทษแห่งสังขารทั้งหลายนั้น ให้เห็นดังเรือนไฟไหม้
      ชื่อว่า อาทีนวญาณ ให้เกิดญาณเหนื่อยหน่ายในสังขารทั้งหลายที่ตนเห็นโทษแล้วนั้น
      ชื่อว่า ภยตูปัฏฐานญาณ คิดจะปลดเปลื้องตนให้พ้นจากวัฏฏภัย อย่างมัจฉาชาติคิดจะพ้นจากข่ายฉะนั้น
      ชื่อว่า มุจจิตุกัมยตาญาณ พิจารณาเนือง ๆ ในสังขารทั้งหลายนั้นเพื่อหาอุบายเครื่องปลดเปลื้อง
      ชื่อว่า ปฏิสังขารญาณ ทำจิตเป็นกลาง เพ่งสังขารทั้งหลายที่ตนเห็นโทษมาแล้ว เป็นอารมณ์ด้วยสติสัมปชัญญะอุปถัมภ์
      ชื่อว่า สังขารุเบกขาญาณ.....
      สังขารุเบกขาญาณนี้เป็นเบื้องต้นแห่ง สัจจานุโลมิกญาณ และ โคตรภูญาณ และ มัคคญาณ เป็นลำดับไป

      ......อุเบกขาที่สัมปยุตด้วยสังขารทั้งหลายเป็นวิปัสสนาลักษณะอย่างนี้
      ชื่อว่า สังขารุเบกขาญาณ
      .....ถ้ายกจิตขึ้นสู่องค์ฌาน ละวิตก วิจาร ปีติ สุขเสียได้ ให้คงเหลืออยู่แต่เอกัคคตา กับ อุเบกขา เท่านั้น
      ชื่อ จตุตถฌานุเบกขา

      ให้พุทธบริษัทกำหนดอุเบกขาบารมีตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญให้เต็มรอบแล้ว นำมาแจกมีแตกต่างโดยประเภทเป็นอันมาก ที่นำมาแสดงไว้ในที่นี้พอเป็นนิทัศนะเท่านั้น พึงเข้าใจว่า จิตมัธยัสถ์เป็นกลาง ชื่อว่า อุเบกขา จิตที่เป็นอุเบกขานั้น ถ้าสัมปยุตกับด้วยธรรมประเภทใด ย่อมมีคุณานุภาพให้ประโยชน์นั้น ๆ สำเร็จ เมื่อพุทธบริษัทได้รับแจกอุเบกขาบารมีแล้ว พึงตรวจดูนิสัยของตนจะชอบใจในอุเบกขาพรหมวิหาร หรืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ หรือสังขารุเบกขาญาณ ถ้าชอบใจในอุเบกขาประเภทใด ก็พึงตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้เกิดให้มีในตนให้บริบูรณ์ ล้วนแต่เป็นบาทแห่งวิปัสสนาให้บรรลุมรรคญาณ ผลญาณได้ด้วยกันทุกประเภทแห่งอุเบกขา ข้อสำคัญคือ ความทำจริงสำเร็จด้วยความไม่ประมาท ถ้าผู้ตั้งใจดำเนินปฏิบัติตามโดยนัยดังแสดงมานี้ ก็จะมีแต่ความงอกงามเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา ดังวิสัชนามา ด้วยประการฉะนี้ ฯ ที่มาโพสต์ : 23 ต.ค. 2007 เวลา 17:10 http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=2533
  • Loading...
  • Loading...
  • ลายเซ็น

    อยู่กับปัจจุบัน และทำวันนี้ให้ดี
  • Loading...
Loading...