ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. onimaru_u

    onimaru_u เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +854
    ผมของจองสมเด็จหลวงปู่สรวง 1 องค์ ครับพี่โสระ
    แล้วจะไปจ่ายเงินที่ ร.พ.สงฆ์ในวันที่ 18/01/52 ครับ
     
  2. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ขอแจ้งว่าพระสมเด็จหลวงปู่สรวงได้รับการจองหมดแล้วครับ

    ไว้ถ้าหาพระมาได้อีกจะแจ้งให้ทราบครับ โมทนากับทุกๆท่านครับ
     
  3. jirautes

    jirautes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +575
    พี่โสระครับผมใอนเงิน แล้วครับ 400 บ.*10/01/09 เวลา 14:53 น.*
    ด.ช จิรายุส สุดใจ 159/2 ซอย11 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา(30000)
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้ได้คุยกับคุณโสระนอกประเด็นเกี่ยวกับทุนนิธิฯ นิดนึง แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระสมเด็จของหลวงปู่สรวงพิมพ์ที่ให้จองนี้ ที่คุณโสระบอกว่า ผู้ที่บูชาท่าน หรือแขวนท่านมักจะมีความโชคดี หรือสมหวังในเรื่องหวยใต้ดิน หรือเรื่องที่บนบานเอาไว้ (แต่ผมว่าน่าจะเกิดจากบุญเก่า+ปกาศิตในการเสกคือบุญญฤทธิ์ของหลวงปู่สรวงท่านมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องบารมีเฉพาะองค์ของผู้เสกเอง เช่นพระสกุลพระธรรรมทูตที่หลวงปู่ทั้ง 5 ท่านอธิษฐานจิตไว้ มักจะมีเหตุการณ์บังเอิญในทางที่ดีเสมอ เสมือนท่านเป็นกุญแจไขความโชคดีให้ก่อน) ซึ่งเครื่องที่บนบานและหลวงปู่สรวงท่านชอบมากที่สุดและได้ผลมากที่สุดคือข้าวหลามโบราณ ทีนี้ก็มาถึงความหมายของข้าวหลามโบราณว่าหน้าตามันเป็นยังไง เหมือนกับข้าวหลามที่หลามในกระบอกไม้ไผ่ที่เราเห็นกันคุ้นหน้าคุ้นตาหรือเปล่า พอลองหาในกูเกิ้ล พบอยู่ร้านเดียวที่ขายอยู่ที่ฉะเชิงเทรา ลองดูรูปเอาก็แล้วกัน เผื่อใครบนเอาไว้ ถ้าได้ก็ต้องตามไปซื้อเองที่ฉะเชิงเทราก็แล้วกัน ขอให้สมหวัง และขอให้รวยในหวยใต้ดิน อย่างที่บอก เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับทุนนิธิฯ และผมแต่อย่างใด เพราะผม ไม่เคยซื้อหวยใต้ดินมานานมากแล้ว นานจนจำไม่ได้ว่าซื้อครั้งสุดท้ายเมื่อใด...


    [​IMG]

    ข้อความจากกระทู้ข้างล่าง / อันนี้เขาบอกว่าข้าวหลามโบราณ
    ผมก็สงสัยว่าข้าวหลามโบราณ ทำไมมันเป็นแผ่น ๆ ชิ้น ๆ อย่างนี้
    ถามได้ใจความว่า ก่อนที่เขาจะคิดเอาข้าวไปใส่กระบอกไม่ไผ่
    เขาก็ผสมข้าวเหนียวแบบนี้ แล้วไปห่อใบตอง แล้วย่าง จึงออกมาอย่างที่เห็น

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2009
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]


    ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    ได้แสดงอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นปัพพะคือข้อที่สุด ในหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร และได้แสดงอธิบายข้อที่ ๔ คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเรียกสั้นว่ามรรคมีองค์ ๘ ซึ่งก็ได้จำแนกแสดงแล้ว และก็พึงทราบเพิ่มเติม ดั่งที่จะได้แสดงในวันนี้


    ๏ มัชฌิมาปฏิปทา

    มรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นหลักปฏิบัติธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ตั้งแต่ในปฐมเทศนา เทศนาครั้งแรก ว่าพระองค์ได้ทรงพบทางอันเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ตั้งแต่ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ คือสัตว์ผู้ที่จะได้ตรัสรู้ หรือผู้ที่ยังข้องอยู่เพื่อที่จะได้ตรัสรู้

    และได้ทรงปฏิบัติไปตามทางอันเป็นมัชฌิมาปฏิปทานี้ จึงได้ตรัสรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ ที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ก็ได้มีพระพุทธาธิบายไว้ด้วยในปฐมเทศนานั้นว่า คือเป็นทางปฏิบัติที่อยู่ตรงกลางระหว่างทางปฏิบัติที่สุดโต่งสองข้าง คือกามสุขัลลิกานุโยค ความประกอบอยู่ด้วยความสุขสดชื่นในกาม เป็นสุดโต่งทางหนึ่ง กับอัตตกิลมถานุโยค ความประกอบทรมานตนให้ลำบาก อีกทางหนึ่ง

    พระพุทธเจ้าเองก่อนจะตรัสรู้ ในชั้นแรกยังมิได้ออกทรงผนวช ก็ทรงประทับอยู่ด้วยกามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนด้วยความสุขสดชื่นในกามอย่างชาวบ้านชาวเมืองทั่วไป และเมื่อเสด็จออกทรงผนวช ได้ทรงเข้าศึกษาในสำนักของท่านอาจารย์ทั้งสอง คืออาฬารดาบส และอุททกดาบส ซึ่งท่านเป็นผู้บรรลุชำนาญในสมาบัติ ๗ สมาบัติ ๘ แต่ทรงเห็นว่ายังไม่เป็นทางแห่งความตรัสรู้ จึงเสด็จออก และทรงเลือกบำเพ็ญทุกรกิริยา คือทรมานกายให้ลำบากมีประการต่างๆ อันนับว่าเป็นทางสุดโต่งในด้านอัตตกิลมถานุโยค การทรมาณตนให้ลำบาก เป็นอันว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติมาแล้วทั้งสองทาง ทั้งกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค แต่ก็ไม่อาจที่จะตรัสรู้ได้ จึงได้ทรงพบทางที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ไม่ข้องแวะด้วยทางที่เป็นกามสุขัลลิกานุโยค ประกอบตนด้วยความสุขสดชื่นในกาม และอัตตกิลมถานุโยค ประกอบทรมานตนให้ลำบาก อันได้แก่มรรคมีองค์ ๘ นั้นเอง


    ๏ ทางปฏิบัติให้ได้ดวงตาเห็นธรรม

    ทรงพบขึ้นด้วยพระองค์เอง และก็ได้ทรงดำเนินไปในทางที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือมรรคมีองค์ ๘ นี้ ซึ่งเป็นเครื่องกระทำให้ได้จักษุดวงตาเห็นธรรม เป็นเครื่องกระทำให้ได้ญาณคือความหยั่งรู้ในธรรม จึงได้ตรัสรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ และมัชฌิมาปฏิปทาคือมรรคมีองค์ ๘ ก็ตรัสว่าเป็นอริยสัจจ์ข้อที่ ๔ คือเป็นทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์


    ๏ ไตรสิกขา

    ฉะนั้น จึงได้ตรัสมรรคมีองค์ ๘ นี้ตั้งแต่ในปฐมเทศนา ก่อนที่จะได้ทรงแสดงไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ได้ทรงแสดงในตอนหลังต่อมา และศีลสมาธิปัญญาคือไตรสิกขา สิกขาทั้ง ๓ คือข้อที่พึงศึกษาคือสำเหนียก เมื่อยังไม่รู้ก็สำเหนียกให้รู้ เมื่อยังมิได้ปฏิบัติก็สำเหนียกปฏิบัติให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น อันเรียกว่าไตรสิกขานี้ก็ได้นับถือเป็นหลักปฏิบัติโดยย่อ เป็นที่รวมของธรรมปฏิบัติทั้งสิ้น

    และมรรคมีองค์ ๘ นี้เองก็ย่อเข้าในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ได้

    สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ย่อเข้าใน ปัญญาสิกขา

    สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ ย่อเข้าใน สีลสิกขา

    สัมมาวายามะเพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกได้ชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ สงเคราะห์เข้าใน จิตตสิกขา คือสมาธิ

    เพราะฉะนั้น ในมรรคมีองค์ ๘ จึงได้จัดลำดับปัญญาสิกขาไว้เป็นที่ ๑ สีลสิกขาไว้เป็นที่ ๒ จิตตสิกขาคือสมาธิไว้เป็นที่ ๓ ฉะนั้น จะได้แสดงอธิบายไตรสิกขาตามหลักของมรรคมีองค์ ๘


    ๏ ปัญญาสิกขา

    ปัญญาสิกขาอันได้แก่สัมมาทิฏฐิก็ได้แก่ ญาณคือความหยั่งรู้จักทุกข์ ญาณคือความหยั่งรู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ ญาณคือความหยั่งรู้จักนิโรธความดับทุกข์ ญาณคือความหยั่งรู้จักทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง

    ปัญญาสิกขานี้ก็ได้แก่ เนกขัมมสังกัปปะ ความดำริออกจากเครื่องพัวพันทั้งหลาย อัพยาปาทสังกัปปะ ความดำริไม่พยาบาทปองร้าย อวิหิงสาสังกัปปะ ความดำริไม่เบียดเบียน ญาณคือความหยั่งรู้จักอริยสัจจ์ทั้ง ๔ อันเป็นสัมมาทิฏฐิ และสังกัปปะคือความดำริทั้ง ๓ ดำริออกจากเครื่องพัวพันทั้งหลาย ดำริไม่ปองร้าย ดำริไม่เบียดเบียน ซึ่งเป็นสัมมาสังกัปปะ จัดเป็นปัญญาสิกขา


    ๏ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

    เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการปฏิบัติในปัญญาสิกขาตามหลักของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อสัมมาทิฏฐิ ก็หัดพิจารณาทำความรู้จักทุกข์ รู้จักเหตุเกิดทุกข์ รู้จักความดับทุกข์ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั่นแหละ อันเป็นปริยัติ หมั่นพิจารณาเพื่อที่จะให้ได้เกิดปัญญา คือความหยั่งรู้ขึ้นที่ตนเองด้วยตนเอง อันเป็นปฏิบัติ และจนถึงสามารถเจาะแทงอวิชชาโมหะ ทำความรู้แจ่มแจ้งในอริยสัจจ์ ให้บังเกิดขึ้นตามภูมิตามชั้น จึงนับเป็นปฏิเวธ นี้เป็นการหัดปฏิบัติทำปัญญาสิกขาตามหลักของสัมมาทิฏฐิ

    และหัดปฏิบัติในความดำรินึกคิดตริตรองไปในทางออกอยู่เสมอ ไม่ยอมให้ติดข้องพัวพันอยู่ในกามคุณารมณ์เป็นต้น หัดทำใจออกจากความผูกพันเกี่ยวเกาะดังกล่าวนี้อยู่เสมอ และหัดดำริไปในทางที่ไม่ปองร้าย แต่ให้ประกอบด้วยเมตตากรุณาแผ่ออกไป หัดดำริคิดนึกตรึกตรองในทางไม่เบียดเบียน แต่ให้เป็นไปในทางช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งก็สงเคราะห์เข้าในเมตตากรุณาคล้ายๆ กัน

    แต่อวิหิงสาวิตก หรืออวิหิงสาสังกัปปะ ความดำริในทางไม่เบียดเบียน ท่านมุ่งแสดงแยกออกมาด้วยต้องการที่จะแยกว่า อันความคิดเบียดเบียนนั้นเป็นไปด้วยโมหะคือความหลง ส่วนความคิดปองร้ายนั้นเป็นไปด้วยโทสะ

    เพราะฉะนั้น ดับโทสะก็ด้วยอาศัยเมตตากรุณา ดับวิหิงสาก็ด้วยอาศัยปัญญา คือแม้ว่าจะไม่มีโทสะโกรธแค้นขัดเคือง แต่ทำไปด้วยโมหะคือความหลง ก็เป็นไปเพื่อเบียดเบียนใครต่อใครให้เป็นทุกข์ได้

    เพราะฉะนั้น ก็มุ่งที่จะให้ปฏิบัติละทั้งราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภะ โทสะ โมหะ ดำริไปในทางออกนั้นเป็นไปเพื่อละราคะหรือโลภะ ดำริไม่ปองร้ายนั้นเป็นไปดับโทสะ ดำริไม่เบียดเบียนนั้นเป็นไปเพื่อดับโมหะ คือความเบียดเบียนนั้นที่เป็นไปด้วยโมหะ ก็อาจจะเบียดเบียนได้ทั้งตนเองทั้งผู้อื่น


    ๏ สัมมาสังกัปปะ

    ฉะนั้นจึงต้องอาศัยปัญญาที่รู้จักคิดนึกตรึกตรองไป ในทางที่จะออกจากราคะหรือโลภะ ด้วย เนกขัมมสังกัปปะ ในทางที่จะดับหรือออกจากโทสะ ด้วยอัพยาปานะสังกัปปะ และในทางที่จะออกจากโมหะ ด้วยอวิหิงสาสังกัปปะ หัดใช้ความคิดไปในทางดับกิเลสดั่งนี้ ไม่ใช้ความคิดไปในทางก่อกิเลส กองราคะหรือโลภะ กองโทสะหรือกองโมหะขึ้นมา ก็เป็นการปฏิบัติปัญญาสิกขา ด้วยอาศัยสัมมาสังกัปปะ นี้เป็นปัญญาสิกขา


    ๏ สีลสิกขา

    ในส่วนสีลสิกขา ก็พึงหัดปฏิบัติทำความงดเว้นทางวาจา อาศัยสัมมาวาจา วาจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียดยุแหย่ให้แตกสามัคคีกัน ไม่พูดคำหยาบด่าว่าใครต่อใครให้เจ็บแสบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล แต่พูดจามีหลักฐานยุติด้วยธรรมด้วยวินัย งดเว้นทางวาจาดั่งนี้ อาศัยสัมมาวาจาเจรจาชอบ

    และปฏิบัติงดเว้นทางกาย อาศัยสัมมากัมมันตะการงานชอบ ด้วยการเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เว้นการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ด้วยความที่เป็นขโมยคือลักฉ้อ เว้นจากประพฤติในกามทั้งหลาย หรือเว้นจากอพรหมจริยกิจ เมื่อเว้นดั่งนี้ทางกายก็เป็นปฏิบัติในสีลสิกขา อาศัย สัมมากัมมันตะ การงานชอบ

    และเว้นจากมิจฉาอาชีวะเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด สำเร็จความเลี้ยงชีวิตในทางชอบถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติในสีลสิกขา อาศัยสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีวิตชอบ นี้เป็นการปฏิบัติในสีลสิกขา อาศัยสัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ


    ๏ จิตตสิกขา

    อนึ่ง ปฏิบัติในจิตตสิกขาหรือสมาธิความตั้งใจมั่น อาศัยสัมมาวายามะ เพียรชอบ คืออาศัย สังวรปธาน ความตั้งใจมั่นในอันที่จะระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ปหานปธาน ความตั้งใจมั่นในอันที่จะละบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ความตั้งใจมั่นใน ภาวนาปธาน คือเพียรทำบุญทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ความตั้งใจมั่นใน อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมลง แต่ให้เจริญงอกงามมากขึ้น นี้เป็นการปฏิบัติในจิตตสิกขาหรือสมาธิ อาศัยสัมมาวายามะ เพียรชอบ

    อนึ่ง ตั้งใจมั่นในอันกำหนดสติตามดูตามรู้ตามเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม คือสติปัฏฐานทั้ง ๔ ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติในจิตสิกขาคือสมาธิ อาศัยสัมมาสติระลึกชอบ อนึ่ง ตั้งใจมั่นเป็นสมาธิในกรรมฐานอันเป็นที่ตั้งของสมาธิทั้งหลาย จนได้บริกัมมสมาธิ สมาธิในบริกรรม อุปจารสมาธิ สมาธิเป็นอุปจารคือใกล้ที่จะแน่วแน่แนบแน่น จนถึงอัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบแน่น เข้าขั้นฌานคือความเพ่ง

    คือจิตสงบสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีวิตก ความตรึก มีวิจาร ความตรอง มีปีติ มีสุข อันเกิดจากวิเวกคือความสงบสงัด มีเอกัคคตา คือมีจิตที่มีอารมณ์เป็นอันเดียว

    และยิ่งขึ้นไปก็สงบวิตกวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน ฌานที่ ๒ คือมีความผ่องใสใจ ณ ภายใน มีธรรมเอกคือความเป็นหนึ่งผุดขึ้นเป็นไป ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติสุขอันเกิดจากสมาธิคือความตั้งจิตมั่น มีเอกัคคตาคือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว

    ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ละปีติเสียได้ มีอุเบกขาอยู่ มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย คือด้วยรูปกาย ด้วยนามกาย เข้าถึงตติยฌาน ฌานที่ ๓ ซึ่งพระอริยะเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า มีอุเบกขา มีสติ มีสุขะวิหาร คือธรรมะเป็นเครื่องอยู่ คือสุข และจิตเป็นเอกัคคตาคือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว

    ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น เพราะละสุขละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสโทมนัส เข้าถึงฌานที่ ๔ ซึ่งไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีอุเบกขา มีสติที่บริสุทธิ์อยู่ ทั้งมีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว

    ความทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นได้ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้นี้ ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติทำจิตตสิกขาคือสมาธิ อาศัยสัมมาสมาธิความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอันว่าชื่อว่าได้ปฏิบัติทำจิตตสิกขาคือสมาธิ อาศัยสัมมาวายามะ เพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกได้ชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงอาจหัดปฏิบัติไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อาศัยอริยะมรรคทั้ง ๘ ประการได้ดั่งนี้ ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป



    .......................................................

    คัดลอกมาจาก
    เทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
    (อธิบายขั้นตอนของการปฏิบัติในมรรค ๘ ดีเยี่ยม)
    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
    http://www.mahayana.in.th/tsavok/tsavok.html
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097


    [​IMG]
    ....สติเป็นพื้นฐานแห่งการแก้กิเลสทุกประเภท ให้พากันจำเอาไว้นะ สติเป็นสำคัญมากทีเดียว ถ้าลงขาดสติแล้วอะไรเหลวไหลทั้งนั้น งานนอกงานในเหลวไหลไปหมด ขาดสติเสียอย่างเดียว ถ้าสติดี งานใดยิ่งละเอียดลออเข้าไปโดยลำดับ สติเป็นพื้นฐานทุกด้านทุกทาง ไม่มีคำว่าครึล้าสมัย ในธรรมทุกขั้น ขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียด ถึงขั้นสูงสุด ปราศจากสติไม่ได้เลย สติเป็นสำคัญ เป็นพื้นฐานแห่งการชำระล้างกิเลสทั้งหลาย เพราะฉะนั้นขอให้พระนำไปปฏิบัติ ใครมีสติดีคนนั้นแหละจะประคองความเพียรได้ดี สติตั้งให้มั่นคง



    เช่นเราอยู่กับคำบริกรรมคำใด ให้สติติดอยู่กับคำบริกรรม หรือจิตมีความสงบ ให้ตั้งอยู่ในจุดแห่งความสงบเรื่อยๆ ไปอย่างนี้ สติติดแนบๆ จำให้ดี สติเป็นพื้นฐานแห่งการชำระกิเลสทุกประเภท ไม่เหนือสติไปได้เลย นี่ได้พิจารณามาแล้ว ได้ปฏิบัติมาแล้วด้วย ที่ได้มาสอนหมู่สอนเพื่อนจึงองอาจกล้าหาญในการสอนว่าไม่ผิด เพราะเราดำเนินมาแล้ว....



    .... พระธรรมวิสุทธิมงคล วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี ....

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3460

     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เก็บเอามาฝากยามเช้าวันอาทิตย์นี้

    น้ำตาอาบแก้ม . . . เมื่อวันที่ 3 มค.
    <!--InformVote=0--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[0], 0);</SCRIPT>

    <!--MsgIDBody=0-->เนื่องจากก่อนหน้านี้คิดไว้ตั้งนานแล้วว่าจะนำพวงมาลัยไปกราบเท้าพ่อกับแม่เพื่อขอขมาและขอให้ท่านอโหสิกรรม เนื่องจากเราปฏิบัติธรรมมานาน (เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อจรัญมาหลายปี) ขณะนั่งพิมพ์นี้เราก็เริ่มน้ำตาคลอทันทีเลยคะ

    ก็เลยทำตามคำแนะนำของหลวงพ่อที่ว่า การขอขมาและขออโหสิกรรมกับมารดาบิดาในสิ่งที่เราเคยทำไม่ดีไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ จะส่งผลให้ผู้ขอขมามีความเจริญก้าวหน้าในการวิปัสสนา ก็เริ่มสะกิดใจว่า

    "จริงด้วยนะตั้งแต่เกิดมากว่าพ่อและแม่จะเลี้ยงเราจนโตขนาดนี้และเราเองก็อาจจะทำหลายอย่างให้ท่านทุกข์ใจ เสียใจ โดยที่เรารู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี ตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี จึงคิดไว้ในใจว่าต้องขอขมาท่านให้ได้"


    เมื่อเช้าวันที่ 3 มค. ที่ผ่านมาเป็นวันเกิดของแม่ (ตั้งใจไว้ว่าเป็นวันนี้ถือว่าเป็นของขวัญวันเกิดให้แม่อันเป็นที่รักคะ) ตื่นแต่เช้ารีบขับรถเข้าตลาดหาซื้อพวงมาลัยที่สวยที่สุด แต่ว่าแม่ค้าบอกว่าจะเอาพวงที่สวยๆต้องรอเกือบ ชม. เราเองก็ไม่ได้ตั้งใจมาซื้ออะไรเลยนอกจากพวงมาลัย ก็ยืนรอ เดินไปเดินมาในตลาดเพื่อรอพวงมาลัย 2 พวง แล้วก็ได้สวยสมใจ

    พอถึงเวลาก็ไปหาพ่อกับแม่คะ บอกพ่อกับแม่มานั่งที่โซฟานะ แม่แซวว่าหนูนี่มีอะไรอีกจ๊ะ เราก็บอกว่า เอาน๊ะๆๆ พ่อกับแม่ไปนั่งคู่กัน เราก็นำพวงมาลัยมาไว้ในมือทั้ง 2 พวง แล้วนั่งลงพับเพียบกับพื้น แต่ยังไม่ทันพูดอะไรน้ำตาก็เริ่มคลอ...ออกมา

    มันพูดไม่ออกเพราะความตื้นตันอย่างสุดซึ้งกับความรักที่พ่อกับแม่มีให้ลูกคนนี้ จึงโผเข้ากอดท่านทั้งสองแล้วร้องไห้แล้วก็พูดพ่อจ๋าแม่จ๋า หนูรักพ่อกับแม่มากนะ (ปกติเราจะบอกรักแม่บ่อยๆอยู่แล้วคะ) แม่ก็ถามว่ามีอะไรเหรอทำไมต้องร้องไห้ด้วย เราก็บอกว่าวันนี้ตั้งใจจะมาขอขมาพ่อกับแม่ แม่ก็บอกว่าตั้งครรภ์เหรอจ๊ะ (เราแต่งงานแล้วคะ) เราก็ตอบท่านว่าไม่ใช่ เราก็ร้องไห้ต่อแล้วบอกท่านว่า เราตั้งใจจะขอขอมาและขออโหสิกรรมในสิ่งทีเราอาจจะเคยทำให้ท่านเสียใจ ทุกข์ใจ ไม่สบายใจเพราะเรา และก็ขอขอบพระคุณพ่อกับแม่ที่ให้เราได้เกิดมา ที่เลี้ยงเรามาอย่างดี แต่เราอยากดำเนินรอยตามพระพุทธองค์ อยากจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เพราะตั้งแต่เราเกิดมาเราก็เห็นว่าทุกอย่างไม่เที่ยง และเห็นถึงตัวทุกข์มาตลอด เราไม่อยากเกิดอีกแล้วถ้าทำได้ (แม่ก็เริ่มน้ำตาคลอหน้า พ่อก็ลูบหลังเราเบาๆ ) วันนี้จึงอยากขอพรพ่อกับแม่ให้เรามีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมด้วย สุดท้ายเราก็บอกว่า "พ่อจ๋าแม่จ๋า หนูขอโทษ ถ้าหนูเคยทำอะไรผิดไป" แล้วก็ก้มลงกราบเท้าพ่อกับแม่

    จากนั้นเราก็เข้าไปกอดแม่พร้อมกับวางพวงมาลัยที่ตักท่าน ท่านก็ร้องไห้แล้วบอกกับเราว่า "แม่รักหนูนะ ถ้าแม่ต้องเกิดอีกกี่ชาติก็ตาม แม่อยากให้หนูเกิดเป็นลูกแม่ทุกชาตินะลูก แต่ทุกคนก็มีทางเดินเป็นของตนเอง ถ้าลูกเลือกทางเดินนั้นแม่ก็อนุโมทนากับหนูด้วย ไม่ว่าที่ผ่านมาลูกจะทำอะไรผิดแม่อโหสิกรรมให้ลูกทุกอย่างนะ" เรากับแม่ก็กอดกันร้องไห้ด้วยความตื้นตันใจคะ แล้วเราก็นำพวงมาลัยไปวางที่ตักพ่อแล้วกอดท่าน พ่อก็ลูบหัวแล้วบอกกับเราว่า "พ่อก็รักลูกนะ พ่ออโหสิกรรมให้นะลูก" พ่อก็สะอื้นนิดๆ แล้วเรา 3 คนก็กอดกันสักพักคะ พ่อก็นำพวงมาลัยไปวางที่หิ้งพระ

    ที่เราเล่าให้ฟังเพราะว่าตั้งแต่เราเกิดมา ไม่เคยมีวันไหนที่เรามีความสุขเท่านี้มาก่อนเลย สุขที่สัมผัสได้ถึงความรักที่พ่อกับแม่มีให้ มันตื้นตันใจเสียเหลือเกิน ไม่มีรักใดยิ่งใหญ่เท่าความรักของบุพการีแล้วจริงๆคะ จึงอยากแบ่งปันความสุขนี้ให้กับเพื่อนๆในบอร์ดนี้ด้วยคะ

    อยากให้เพื่อนๆที่ยังไม่ได้กราบเท้าพ่อกับแม่ ลองหาโอกาสทำดูนะคะ ก่อนที่จะไม่มีท่านให้กราบ สุดท้ายนี้ขอให้เพื่อนๆมีความสุขมากๆนะคะ <!--MsgEdited=0-->
    [SIZE=-1]แก้ไขเมื่อ 05 ม.ค. 52 01:36:46[/SIZE]
    <!--MsgFile=0-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>จากคุณ : <!--MsgFrom=0-->nu_aorr [​IMG][​IMG][​IMG] - [ <!--MsgTime=0-->5 ม.ค. 52 01:21:38 <!--MsgIP=0-->]

    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y7387309/Y7387309.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2009
  8. narin96

    narin96 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +28
    วันนี้ได้โอนเงินร่วมบุญประจำเดือน ๑๐๐ บาท ครับ
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๙๒ | ทรงโปรดพระพุทธบิดา
    <!-- Main -->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๙๒ : ทรงโปรดพระพุทธบิดา

    ทรงโปรดพระพุทธบิดา

    เมื่อพระบรมศาสดาทรงตรัสแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วพระเจ้าสุทโธทนะก็ทรงรับบาตรของพระบรมศาสดา ทูลอาราธนาให้เสด็จขึ้นพระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ทรงอังคาสด้วยอาหารบิณฑบาตอันประณีต


    [​IMG]


    วันรุ่งขึ้น พระบรมศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินไปรับภัตตาหารบิณฑบาต ในพระราชนิเวศน์เป็นวันที่สอง ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนาโปรดพระนางมหาปชาบดีและพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระนางมหาปชาบดีได้บรรลุ โสดาปัตติผล พระพุทธบิดาได้บรรลุ สกทาคามีผล

    วันรุ่งขึ้นอีก พระบรมศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินไปรับภัตตาหารบิณฑบาต ในพระราชนิเวศน์เป็นวันที่สาม ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว ตรัสเทศนามหาธรรมปาลชาดกโปรดพระพุทธบิดา

    พระเจ้าสุทโธทนะ ทูลเล่าว่า
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    การประพฤติปฏิบัติ

    มีสติรักษา
    มีปัญญาแนะนำสั่งสอน
    รักษาจิต ฝึกจิต
    อบรมจิตของตัวจิต
    ที่เคยชั่ว
    เคยเสีย
    เคยฟุ้ง
    เคยปรุง


    จะสงบระงับเห็นประจักษ์ชัดเจนภายในตัวของตัว
    ไม่ได้ตำหนิชีวิตของตัวเป็นโมฆะ
    ไม่ได้เสียใจให้ตัวว่า วันเวลาผ่านไปไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    นี่คือการฝึกการปฏิบัติกายใจของพวกเรา...

    : หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ...กลัวความเกิดเถิด อย่ากลัวความตายเลย เพียงหายใจออกแล้วไม่หายใจเข้า ก็ตายได้ง่ายๆ แล้ว แต่สิ้นลมแล้วไปปรากฏที่ไหนในสภาพอย่างไร นั่นสิควรกลัว ควรกลัวที่สุด

    เพราะเมื่อถึงเวลานั้นจะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ที่ว่าเลือกเกิดไม่ได้ ก็มิใช่หมายความถึงชาติหน้าเลือกเกิดใหม่ไม่ได้ ที่เกิดแล้ว จริงที่ว่าเลือกเกิดไม่ได้ ก็เกิดแล้วจะไปเลือกอะไรได้อีก

    เหมือนกินยาพิษเข้าไปตายแล้ว จะไปเลือกกินน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร แต่ชาติหน้าเลือกได้ทุกคน ว่าต้องการเกิดเป็นอะไร เกิดที่ไหน สวยงาม มั่งมี สูงส่ง หรือน่าเกลียดน่าชัง ลำบากยากจน ต่ำต้อยด้วยชาติตระกูล ฯลฯ

    เหล่านี้เลือกได้สำหรับการเกิดชาติต่อไป จงตั้งใจเลือกให้ดี ให้ได้เป็นไปดังปรารถนาให้ได้เถิด
    เลือกชีวิตข้างหน้าให้ดี หัวใจพระพุทธศาสนา ๓ ประการจะช่วยได้ ขอให้ทำให้จริง

    การไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง
    การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม
    การทำให้ใจผ่องใส ไกลกิเลส โลภ โกรธ หลง ให้ทุกเวลา

    อย่าให้ความคิดปรุงแต่งเป็นมือมารดึงเอากิเลสเครื่องเศร้าหมองเข้าสู่จิตใจ แล้วการเลือกการเกิดก็จะสำเร็จงดงามสมปราถนา...


    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    : แสงส่องใจ กรกฏาคม ๒๕๔๗
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เมื่อวานคณะกรรมการทุนนิธิฯ ได้มาประชุมกันเพื่อสรุปการทำกิจกรรมในวันอาทิตย์ที่ 18 มกราคมนี้ โดยสรุปยอดเงินสำหรับเตรียมการบริจาคและรายละเอียดอื่นๆ มีดังนี้

    1. ยอดเงินบริจาคสำหรับ รพ.สงฆ์

    1.1 บริจาคซื้อเวชภัณฑ์ส่วนกลาง 10,000.-
    1.2 บริจาคซื้อโลหิต 10,000.-
    1.3 บริจาคเป็นค่าสังฆทานอาหาร 5,000.- (จำนวนพระต้องรอในวันเสาร์อีกครั้งหนึ่ง)
    รวม 25,000.-

    2. ยอดเงินบริจาคสำหรับ รพ.ในส่วนภูมิภาคอีก 6 รพ.

    2.1 รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่
    2.2 รพ.สมเด็จพระยุพพราช (ปัว) จ.น่าน
    2.3 รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น
    2.4 รพ. 50 พรรษาฯ จ.อุบล
    2.5 รพ.แม่สอด จ.ตาก
    2.6 รพ.สงขลา จ.สงขลา

    รวมทั้งหมด 6 รพ. แบ่งเป็น รพ.ละ 5,000.- = 30,000.-

    3. การบริจาคเครื่องดูดเสมหะ

    - (ยังไม่มี รพ.ใด แจ้งความจำเป็นที่ขอบริจาคมา)
    4. กิจกรรมเสริมอื่นๆ

    - กิจกรรมสอนการศึกษาพระ คราวนี้ขอเลื่อนไปก่อน
    - หากใครจองพระหลวงปู่สรวงไว้ให้รับได้ที่คุณโสระในงานได้เลย พร้อมรับฟังการขอบารมีหลวงปู่สรวงจากคุณโสระได้เช่นกัน
    - สำหรับผู้ที่สนใจที่จะปรึกษาพี่ใหญ่ในเรื่องประสบการณ์ในการบูชาท่านเจ้าที่เจ้าทาง ขอให้พี่ใหญ่เล่าให้ฟังได้เลยครับ รับรองตื่นเต้นเร้าใจมาก

    5. เรื่องอื่นๆ ในการประชุม

    - เป็นเรื่องการพบพระดีที่โคราช ของคุณโสระเล่าให้ฟัง ซึ่งเป็นพระที่ทรงภูมิจิตทางด้านฤทธิ์ไม่เป็นรองใครและอยู่นอกสายตาเซียน ลองสอบถามคุณโสระได้ในงานเช่นกัน วัดท่านอยู่ตาม ลิงค์ข้างล่างนี้ ใครผ่านไปทางปากช่อง โคราชไปช่วยท่านสร้างวัดบ้างล่ะ ไปเอาบุญกัน
    http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=1146

    สำหรับสัปดาห์นี้คงรายงานให้ทราบแค่นี้ก่อน ซึ่งหลังจากการโอนเงินให้ รพ.ต่างๆ ตามข้อ 2. แล้ว จะได้นำหลักฐานการโอนมาลงให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง เงินทั้งหมดได้ถอนจากบัญชีของทุนนิธิฯ แล้วตามยอดประมาณการบริจาคในข้อ 1.+2.= 55,000.- คงเหลือยอดในบัญชีราวๆ 210,000.- (สองแสนหนึ่งหมื่นบาท) และเช่นเดียวกัน ในสัปดาห์นี้ จะได้โอนเงินบริจาคสำหรับเป็นค่าเดินทางกลับวัด และบางองค์กลับประเทศเช่น พม่า และลาว ของพระที่หายจากอาพาธและพักรักษาตัวอยู่ที่ รพ.ตามแนวชายแดนคือ รพ.แม่สอด และ รพ.สมเด็จพระยุพพราชฯ ที่ขอบริจาคในงานคราวที่แล้วไว้ แบ่งเป็น รพ.ละ 3,000.- รวม 2 รพ. 6,000.- ซึ่งเป็นเงินนอกบัญชีทุนนิธิฯ มอบให้ จนท.พยาบาลของแต่ละ รพ.รักษาไว้ ซึ่งเมื่อโอนเงินเรียบร้อยแล้ว จะได้นำสลิปมาแจ้งให้ทราบในกระทู้เช่นกัน

    พันวฤทธิ์
    12/1/52
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2009
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]
    ฆ่าความโกรธแล้วนอนสบาย

    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ นางธนัญชานีพราหมณี มีความเลื่อมใสพระพุทธเจ้ามาก วันหนึ่งนางยกอาหาร จะเอามาให้สามี เท้าได้ก้าวพลาดจะหกล้ม ด้วยความตกใจ นางจึงเปล่งอุทานว่า
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    หลักปฏิบัติในการบวชอยู่ที่บ้าน (บวชใจ)


    การบวชอยู่ที่บ้านนั้น ก็ต้องอาศัยหลักธรรมะ ที่เป็นเนื้อแท้
    หรือเป็นตัวแท้ของพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เป็นหลักชัดเจนตายตัว
    ในที่นี้ จะเลือกเอามาสักหมวดหนึ่ง สำหรับยึดเป็นหลักปฏิบัติ
    คือหมวดธรรมที่มีชื่อว่า อินทรีย์ทั้ง 5 คือ
    สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
    5 อย่างนี้ แต่ละอย่างเรียกว่า อินทรีย์ คำว่าอินทรีย์ แปลว่า สำคัญ
    ตัวการสำคัญ หลักสำคัญ หัวข้อสำคัญ

    ธรรมะทั้ง 5 ข้อนี้ จะมีอยู่ในการปฏิบัติทั่วไป จะทำสมาธิหรือ
    เจริญภาวนาอย่างไร ก็ต้องทำให้มีอินทรีย์ครบทั้ง 5

    1. มีสัทธา-เชื่อในธรรม เป็นเครื่องดับทุกข์
    ข้อแรก คือ สัทธา แปลว่า ความเชื่อ บวชอยู่ที่บ้าน ก็มีความเชื่อ
    ในธรรมะนั้นๆถึงที่สุด เชื่อในอะไร ? ถ้าถามว่า เชื่อในอะไร ก็คือ
    เชื่อในธรรมที่เป็นเครื่องดับทุกข์ ที่รู้กันทั่วไป ก็เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา
    หรือ อริยอัฏฐังคิกมรรค มีองค์ 8 นี้ เป็นธรรมที่ดับทุกข์
    เราได้ศึกษาแล้ว เห็นแล้ว มีความเชื่อ ว่าธรรมเหล่านี้ดับทุกข์ได้จริง
    หรือว่าธรรมเหล่านี้เป็นที่พึ่งได้จริง เชื่อลงไปเสียทีหนึ่งก่อน
    แล้วก็เชื่ออีกทีหนึ่ง คือเชื่อตัวเอง ว่าตัวเองนี่สามารถที่จะปฏิบัติธรรมเหล่านั้น
    ในเนื้อในตัวของตนมีความถูกต้องเหมาะสม ที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมะเหล่านั้น
    รวมกันเป็น 2 เชื่อ : เชื่อในสิ่งที่จะประพฤติปฏิบัติว่าดับทุกข์ได้
    แล้วก็เชื่อมั่นว่า ตัวเองมีคุณธรรมที่จะดับทุกข์เหล่านั้นได้อย่างเพียงพอ
    นี่ มีศรัทธาอย่างนี้ แล้วก็อยู่ที่บ้าน บวชอยู่ที่บ้าน มันก็จะเกิดกำลังเกิดอำนาจ
    ในการที่จะปฏิบัติธรรมเหล่านั้นอย่างเสมอต้นเสมอปลาย มีศรัทธา
    เชื่อมั่นในสิ่งที่ตนถือเอาเป็นที่พึ่ง คือการปฏิบัติหรือหลักธรรมคำสอน
    แล้วก็เชื่อมั่นว่าตัวเองทำได้ เราทำได้ ไม่เหลือวิสัย เราทำได้
    แล้วก็ปล่อยให้ทำไปด้วยความศรัทธา

    2.มีวิริยะ คือความกล้าหาญ ความพากเพียร ความบากบั่น
    สนุกสนานในการทำพอใจในการทำ เป็นสุขเสียเมื่อกำลังทำ
    ไม่ต้องรอต่อผลงานได้มา กำลังทำอยู่มันก็พอใจและเป็นสุข
    อิ่มอยู่ด้วยความสุข ได้ความสุขโดยไม่ต้องเสียเงิน

    3.มีสติ เฝ้าระวังรักษาป้องกัน ไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น
    ในความคิดความนึกหรือในการกระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    เมื่อมีผัสสะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจเอง

    4.มีสมาธิ คือ จิตแน่วแน่ต่อพระนิพพานเป็นอารมณ์ อยู่ตลอดเวลา
    ตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก มีจุดมุ่งมั่นต่อพระนิพพาน
    เรียกว่า มีเอกัคคตา จิตมุ่งพระนิพพานอยู่ตลอดเวลา
    แล้วก็ทำทุกอย่างที่รักษาจิตชนิดนั้นไว้ ก็คือแบบสมาธิวิธีต่างๆ
    มันจะต่างกันอย่างไร มันก็อยู่ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ทั้งนั้น
    คือมีความหลุดพ้นจากความทุกข์เป็นอารมณ์ด้วยกันทั้งนั้น

    5.มีปัญญา มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา คือความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน
    ในสิ่งที่ต้องกระทำหรือควรกระทำ อย่าให้ความอยาก เช่น กิเลสตัณหา
    เพื่อตัวฉัน-ของฉัน เข้ามาแทรกแซง นั้นมันจะทำให้เสียหมด นี่เรียกว่า
    ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง ยกผลงานให้ความว่างทุกอย่างสิ้น
    กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที
    ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องหรือจบชีวิต จนถึงขั้นสุดท้าย ไม่มีตัวฉัน-ไม่มีของฉัน
    มันจะทำให้ไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหาอะไร มีจิตที่บริสุทธิ์ อยู่ด้วยปัญญา
    และความสุขสงบ ใครเห็นด้วยก็ลองดู

    บวชอยู่ที่บ้าน ที่ชะเง้อหาบวชที่วัด บวชในป่านั้น บางทีจะเป็นความเขลา
    ลำบากมากกว่าคนที่บวชอยู่ที่บ้านก็ได้ ระวังให้ดีด้วย ถ้ามีความตั้งใจจริง
    ระมัดระวังจริง บวชอยู่ที่บ้าน จะได้ผลมากกว่าบวชอยู่ที่วัดหรือในป่า
    ก็ยังเป็นไปได้ เพราะว่าการบวชอยู่ที่วัดหรือในป่า มันยังเหลวไหลอยู่ทั่วๆไป
    มันยังไม่สำเร็จประโยชน์เต็มตามความหมายที่ควรจะได้เลย

    สรุปก็คือ บวชอยู่ที่บ้าน : เว้นจากสิ่งที่ควรเว้นโดยประการทั้งปวง
    อยู่ที่บ้าน แล้วก็ประพฤติหน้าที่ที่ควรประพฤติปฏิบัติอย่างดีที่สุด
    อย่างเต็มกำลัง เต็มสติปัญญาสามารถอย่างดีที่สุด ในหน้าที่ของตนๆ
    แล้วก็เป็นสุขอยู่กับการทำหน้าที่ ไม่มีกิเลสตัณหาที่จะหวังผลอย่างนั้นอย่างนี้
    มาสนองกิเลส ไม่ได้หมายความว่า ให้สึกไปอยู่ที่บ้านกันเสียให้หมด
    แต่หมายความว่า แม้อยู่ที่บ้านก็อย่าน้อยใจ อย่าเสียใจ แม้อยู่ที่บ้าน
    ก็สามารถที่จะทำได้ดีที่สุด ที่บ้านนั้นเอง เพราะคนที่อยู่บ้านมันยังมีมากกว่า
    คนที่อยู่ที่วัด คนเหล่านั้นไม่ควรจะเสียประโยชน์อะไร ควรจะได้ประโยชน์
    ทุกอย่างทุกประการ เท่าที่พุทธบริษัทในพระพุทธศาสนาจะพึงได้

    ธรรมะจากสวนโมกข์

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4770
     
  15. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    การปฏิบัติ ไม่ใช่การหยุดคิดหยุดนึกทั้งปวง แต่คิดแล้วให้มีสติรู้เท่าทัน และหยุดแต่การคิดนึกปรุงแต่ง กล่าวคืออุเบกขาเสียนั่นเอง
    จึงไม่ใช่การหยุดคิดหยุดนึกดังในสมาธิ หรือยึดในความว่างอย่างผิดๆ แล้วเกิดความสุขสบายเป็นวิกขัมภนวิมุตติ จนเข้าใจผิด
    โพชฌงค์ ๗ ยังให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์


    จาก http://www.nkgen.com/705.htm
     
  16. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
  17. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
  18. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
  19. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
  20. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    วันเสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมาได้จัดปฏิบัติธรรมที่บ้าน มีญาติธรรมมากันวันละยี่สิบกว่าคน ร่วมกันโมทนาบุญนะคะ และได้เก็บภาพหน้าบ้านหลังออกจากมสมาธิมาฝากค่ะ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00251.JPG
      DSC00251.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.1 MB
      เปิดดู:
      92
    • DSC00252.JPG
      DSC00252.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      456
    • DSC00254.JPG
      DSC00254.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      90
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...