ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    วันนี้ผมได้เงินมาร่วมทำบุญ 1,000 บาท
    จากพี่ที่ทำงาน (พี่คนนี้ ผมพยายามชักชวนไปร่วมบุญนี้
    และได้มอบพระพิมพ์สังกัจจายน์ที่ได้มา ให้พี่เขาไปแล้ว
    เขามีดีนะครับ แต่ไม่เคยคุยกับใครเลยในที่ทำงาน
    นอกจากผม ผมเองก็ไม่ค่อยคุยอะไรกับใครๆ จะเป็นเรื่อง ไม่เป็นเรื่องเปล่า)

    ยังมีพี่อีกท่าน ที่ผมขอพระพิมพ์สังกัจจานย์องค์เล็กจากแฟน ให้พี่เขาไป
    (ผมนำพระผมให้แฟนแทนไป) จะชักชวนเขาไปด้วยอีกคนครับ

    จักนำเงินที่พี่ฝาก และพี่ๆท่านไปร่วมในวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 นี้ครับ

    คาดว่าพรุ้งนี้คงจะออก E-Mail ชักชวนพี่ๆ กันครับ

    สาธุครับ
     
  2. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ผมได้ข้อยุติ แล้วหลังจากพยายามหาข้อมูลว่า พระซุ้มกอ กำแพงเพชรนี่แม่พิมพ์ทำจาก หิน หรือ ไม้ หรือดิน

    ในที่สุดผมนำข้อสงสัยอันนี้ รวมทั้งกรรมวิธีการทำพระ ไปหาอาจารย์ปู่ (อ.ประถม อาจสาคร) ท่านหยิบแม่พิมพ์พระตระกูลสุโขทัย ที่ได้จากกรุ มาให้ผมศึกษา พร้อมคำอธิบาย ว่าพระซุ้มกอ ทำจากดินละเอียดกรองด้วยผ้าขาวบาง และผสมด้วยเกสรดอกไม้ร้อยแปด (ส่วนตัวผมและคุณปู่ คิดว่าอาจเป็นน้ำผึ้งมากกว่า ที่ทำให้เกิดการยึดตัวเข้าด้วยกัน) นำมาผสมกับ แร่ดอกมะขาม (บางคนเรียกว่าน ซึ่งผิด เพราะจริงๆ เป็นแร่ ชื่อวิทยาศาสตร์คือ เฮมาไทด์ (แร่เหล็ก) นำส่วนผสมมาผสมกันแล้วกดพิมพ์พระ ด้วยไม้ (จึงเป็นรอยกาบหมากที่เราเรียกกัน) หรืออาจใช้นิ้วมือ (รอยนิ้วมือ) หรือใช้หิน (หลังเรียบ)เสร็จแล้วนำไปผึ่ง

    <TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>

    ขอขอบคุณ
    แหล่งที่มา >>ClickHere<<​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    พระอรหันต์ที่มีอยู่ในประเทศไทยตามที่หลวงตาบัวบอกไว้



    1.ท่านอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ประทุมธานี

    2.หลวงปู่ลี กุสลธโร
    วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    3.หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
    วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี

    4.หลวงปู่ขาล ฐานวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

    5.พระอาจารย์แบน ธนากโร
    วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

    6.หลวงปู่หลวง กตปุญโญ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดคีรีสุบรรพต จ.ลำปาง

    7.อาจารย์เหรียญ วรลาโภ (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
    วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    8.อาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
    วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

    9.หลวงปู่หลอด ประโมทิโต
    วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

    10.หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ
    วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาลภูเก็ต ) อ.เมือง จ.ภูเก็ต

    11.หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล
    วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

    12.หลวงปู่ศรี มหาวีโร
    วัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

    13.พระอาจารย์สายทอง เตชธัมโม
    วัดป่าห้วยกุ่ม (ใกล้เขื่อนจุฬาภรณ์ ) อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

    14.หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

    15.พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญมากโร
    วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    16.พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม
    วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

    17.หลวงปู่ทา จารุธัมโม
    วัดถ้ำซับมืด จ.นครราชสีมา

    18.พระอาจารย์เพียร วิริโย
    วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    19.อาจารย์สาย เขมธัมโม
    วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

    20.อาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    21.หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร
    วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง จ.กรุงเทพมหานคร

    22.อาจารย์พวง สุขินทริโย
    วัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

    23.หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต
    วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

    24.หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม
    วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    25.หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน
    วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    26.หลวงปุ่บุญพิน กตปุญโญ
    วัดผาเทพนิมิตร อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร

    27.หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดเหสลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    28.หลวงปู่แปลง สุนทโร
    วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    29.หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

    30.หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป
    วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

    31.พระอาจารย์ท่อน ญาณธโร
    วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย

    32.พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม
    วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    33.พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ
    วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    34.พระอาจารย์อุทัย สิรินธโร
    วัดถ้ำพระ อ.เซกา จ.หนองคาย

    35.หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    สำนักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

    36.พระอาจรย์วิไล เขมิโย
    วัดถ้ำพณาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

    37.หลวงปู่จันทา ถาวโร
    วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูล จ.พิจิตร

    38.อาจารย์อ่ำ ธัมกาโม
    วัดธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพรชบูรณ์

    39.หลวงปู่ถวิล
    วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม อ.โนนสะอาด จ. อุดรธานี

    40.อาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสโก
    วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี

    41.อาจารย์วันชัย วิจิตโต
    วัดภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    42.หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต
    วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    43.อาจารย์เสน ปัญญาธโร
    วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    44.อาจารย์คำแพง อัตสันโต
    วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    45.พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    42.หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต
    วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    43.อาจารย์เสน ปัญญาธโร
    วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    44.อาจารย์คำแพง อัตสันโต
    วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    45.พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    46.ท่านฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมญาณ ) (ท่านมรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ )
    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    (หลวงปู่สิม เคยปรารภให้อาจารย์มหาบัวฟัง)

    47.หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก (ท่านมรณภาพแล้ว)
    จ.สุพรรณบุรี

    48.หลวงปู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    (อันนี้หนังสือไม่ชัดครับเล่มนี้เก่ามากครับ )

    49.พระอาจารย์มหาโส กัสโป
    วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

    50.หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    51.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปโป
    วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าช้าเหล่างา) อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    52.หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    วัดเกาะแก้วะดงคสถาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์

    53.คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    สำนักชีบ้านห้สยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

    54.พระอาจารย์ทุย (ปรีดา) ฉันทกโร
    วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย

    55.พระอาจารย์สรวง สิริปุญโญ
    วัด่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

    56.พระอาจารย์สาคร ธัมวุธโธ
    วัดป่ามณีกาญจ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    57.พระอาจารย์จันทร์โสม กิตติกาโม
    วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    58.พระอาจารย์แยง สุขกาโม
    วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย

    59.หลวงปู่แฟ็บ สุภัทโท
    วัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร

    60.พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร
    วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิตร อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    61.หลวงปู่ผาง โกสโล
    วัดภูหินแตก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    62.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดบนนพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

    63.ท่านพระอาจารย์สิงทอง ธัมวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    64.หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร
    วัดถ้ำประทุน ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

    65.หลวงปู่ต้น สุทธิกาโม
    วัดบึงพลาราม ต.บ้านว่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

    66.หลวงปู่สมศักดิ์ ปัณฑิโต
    วัดบูรพาราม ( วัดหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

    67.หลวงปู่ทอง จันทสิริ
    วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    68.หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร
    สำนักวิปัสสนาธุระ (ภูย่าอู่) บ.นาหลวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    69.หลวงปู่คูณ สุเมโธ
    วัดป่าภูทอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    70.พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม
    วัดพิชัยพัฒนาราม ( วัดป่าเขาน้อยสามผาน ) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่
    จ.จันทบุรี

    71.หลวงปู่สุทัศน์ โกสโล
    วัดกระโจมทอง ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    72.หลวงปู่อ้ม สุขกาโม
    วัดภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร

    73.ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม
    วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร

    74.ท่านพระอาจารย์หลอ นาถกโร
    วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ( วัดถ้ำพวง วัดพระอาจารย์วัน อุตโม ) อ.ส่องดาว
    จ.สกลนคร

    75.หลวงพ่อทองคำ กาญวันวัณโณ
    วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย

    76.หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก) อ.เมือง จ.อุดรธานี

    80.พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ
    วัดป่ากุง (วัดป่าประชาคมวนาราม ) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

    81.หลวงปู่เผย วิริโย
    วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ จ.เลย

    82.หลวงปู่คำพอง ขันติโก
    วัดป่าอัมพวัน จ.เลย

    83.หลวงปู่อว้าน เขมโก
    วัดป่านาคนิมิตร อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

    84.ท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย
    วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย

    85.พระอาจารย์บุญทัน ปุญทัตโต (ท่านเพิ่งจะมรณภาพ เดือน ธค.49 )
    วัดป่าสามัคคีสันติธรรม อ.ฝาง จ.ขอนแก่น

    86.หลวงปู่พิศดู ธรรมจารีย์
    วัดเทพธารทอง ต.พลวง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

    87.หลวงปู่เนย สมจิตฺโต
    วัดป่าโนนแสนคำ บ.ทุ่งคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร

    88. หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ
    วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    89.ท่านพระอาจารย์อุทัย ธมฺมวโร
    วัดภูย่าอู่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    90.หลวงปู่ประสาร สุมโน
    วัดป่าหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมือง จ.ยโสธร

    ท่านเหล่านี้ หลวงตามหาบัว รับรองไว้แล้วครับ ใครใกล้ที่ใดก็สามารถไปเข้าหาได้
    เห็นมีมรณะภาพไปหลายองค์แล้วนะครับ

    http://www.udon108.com/board/index.php?topic=1359.msg33680#msg33680


     
  4. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG][​IMG]


    บุญนั้นเกิดจากใจ หากให้ทานด้วยใจที่เศร้าหมองย่อมได้บาป


    มีพี่กับน้องช่วยกันสร้างเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา สร้างยังไม่ทันเสร็จทั้งพี่ทั้งน้องตายก่อน ทั้งพี่ทั้งน้องเกิดความโศกเศร้าเสียใจ ใจเศร้าหมองว่าเราสร้างเจดีย์ไม่ทันเสร็จมาตายเสียก่อน เมื่อตายแล้ววิญญาณก็ไปเกิดเป็นเปรตเฝ้าเจดีย์นั่งร้องไห้ทุกวัน มีความทุกข์โศกเศร้าติดจิตไป นี่ตายแล้วไม่ได้พ้นทุกข์นะ ถ้าในขณะก่อนตายมีทุกข์ ตายแล้วก็ยังเป็นทุกข์ ผู้ที่คิดฆ่าตัวตายฟังให้ดี ถ้าในขณะก่อนตายมีทุกข์ ตายแล้วก็ยังไปเป็นทุกข์อีก เพราะความทุกข์นั้นติดจิตไป

    วิญญาณที่เกิดใหม่ของพี่กับน้องก็ร้องไห้โศกเศร้าเสียใจอยู่ข้างเจดีย์ทุกวัน ๆ ถึงคราวจะสิ้นกรรม บุญคงจะส่งผล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอาจารย์ใหญ่ มีลูกศิษย์เป็นพระอรหันต์จำนวนมาก มีญาณใหญ่สามารถล่วงรู้ได้ ไปปักกลดอยู่ที่บริเวณเจดีย์ร้างนั้น เห็นพี่กับน้องนี้มาร้องไห้อยู่ทุกวัน จึงไต่ถามว่าทำไมจึงมามีความทุกข์โศกเศร้าเสียใจอย่างนี้ ทั้งพี่ทั้งน้องก็เลยเล่าให้หลวงปู่มั่นฟังว่า มีความเสียใจมากเพราะตั้งใจจะสร้างเจดีย์บูชาพระพุทธศาสนา แต่สร้างไม่เสร็จมาถึงแก่ความตายเสียก่อนทั้งพี่ทั้งน้อง

    หลวงปู่มั่นเลยถามว่า บุญนี่มันติดอยู่ที่ก้อนอิฐ หรือว่าบุญนั้นมันอยู่ที่ใจ ถ้าบุญอยู่ที่ใจ บุญมันสำเร็จแล้วตั้งแต่ตั้งใจสร้าง แต่ถ้าบุญนั้นมันอยู่ที่ก้อนอิฐ บุญนั้นยังไม่สำเร็จ เพราะว่ามันยังสร้างไม่เสร็จ อันความสุขนั้นใจเป็นสุขหรือว่าอิฐมันเป็นสุข ทั้งพี่ทั้งน้องได้คิดสะกิดใจขึ้นมา อ้าวก็เราได้บุญมาครบถ้วนแล้วนี่ ใจเป็นบุญตั้งแต่สร้างเจดีย์ เพราะว่าเราตั้งใจสร้างเจดีย์ให้เสร็จ ใครบ้างตั้งใจสร้างเจดีย์ไว้ครึ่งเดียวก็ไม่มี เวลาตั้งใจก็ตั้งใจสร้างให้เสร็จ มันก็เป็นบุญทันที บุญนั้นสำเร็จตั้งแต่ตั้งใจสร้างเจดีย์ให้เสร็จแล้ว

    พอพี่กับน้องคิดได้อย่างนั้นเท่านั้นแหละ ความเข้าใจผิดหายไปจากใจโดยสิ้นเชิง นึกถึงบุญที่ตัวเองได้ตั้งใจสร้างเจดีย์บูชาพระพุทธศาสนา บุญก็มาสวมพรึบทันทีเลย พ้นจากภพชาติที่เป็นเปรตเฝ้าเจดีย์นั้น ด้วยอำนาจแห่งบุญที่สร้างเจดีย์นั้นเข้ามาสวมแทนความเข้าใจผิดก็เป็นบุญทันที

    ได้ไปเกิดใหม่ที่สวรรค์มีรูปร่างและเครื่องทรงงดงามด้วยอำนาจแห่งบุญที่ตัวเองได้สร้างพระเจดีย์ถวายบูชาพระพุทธศาสนา ทั้งพี่ทั้งน้องก็เหาะลงมาจากสวรรค์มากราบขอบคุณหลวงปู่มั่นที่เมตตาชี้แนะให้เกิดปัญญาจากการที่เข้าใจผิดมาเป็นเข้าใจถูก

    นี่จะเห็นได้ว่า ถ้าเข้าใจผิดแม้แต่ท่านสร้างทานบารมี แต่กลับได้บาป เพราะความเข้าใจผิด การทำทานแล้วถ้าเข้าใจผิดก็เป็นโทษ ดูซิ แทนที่จะได้บุญกลับเป็นโทษติดอยู่ตรงนั้น...

    ขอขอบคุณ
    แหล่งที่มา>>ClickHere<<
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ธรรมะที่ควรเติมลงในชีวิต

    <!--Main-->[SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <CENTER>ความหมายของ
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    อีก 1 บทความ ยาวไปหน่อยต้องค่อยๆ อ่าน ถือว่าเป็นการฝึกสมาธิภายในตัวด้วยครับ


    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><!--Last Update : 13 พฤษภาคม 2551 5:44:59 น.-->ทางสายกลาง ของมรรคที่มีองค์ ๘
    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]

    <CENTER>(มรรคมีองค์ ๘)</CENTER>
    อะยะเมวะ อะริโย อัฎฐังคิโก มัคโค
    หนทางนี้แลเป็นหนทางอันประเสริฐ
    ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด
    เสยยะถีทัง
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ.-
    สัมมาทิฎฐิ ความเห็นชอบ
    สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
    สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
    สัมมากัมมันโต การทำการงานชอบ
    สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ
    สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ
    สัมมาสะติ ความระลึกชอบ
    สัมมาสะมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

    (องค์มรรคที่ ๑)
    กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฎฐิ,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์
    ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง,
    เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์,
    ทุกขะนิโรเธ ญาณัง,
    เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์,
    ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฎิปะทายะ ญาณัง,
    เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์
    อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฎฐิ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ

    (องค์มรรคที่ ๒)
    กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความดำริชอบเป็นอย่างไรเล่า?
    เนกขัมมะสังกัปโป,
    ความดำริในการออกจากกาม,
    อะพยาปาทะสังกัปโป,
    ดำริในการไม่มุ่งร้าย,
    อะวิหิงสาสังกัปโป
    ความดำริในการไม่เบียดเบียน
    อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ

    (องค์มรรคที่ ๓)
    กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การพูดจาชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
    มุสาวาทา เวระมณีล
    เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง,
    ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี,
    เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด,
    ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี,
    เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ,
    สัมผัปปะลาปา เวระมะณี,
    เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูด เพ้อเจ้อ
    อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ

    (องค์มรรคที่ ๔)
    กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การทำการงานชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
    ปาณาติปาตา เวระมะณี,
    เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า,
    อะทินนาทานา เวระมณี,
    เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของ
    ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว,
    กาเมสุ มิจฉาจาระ เวระมะณี,
    เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
    อะยังวุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การทำงานชอบ
    (องค์มรรคที่ ๕)
    กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การเลี้ยงชีวิตชอบเป็นอย่างไรเล่า?
    อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, สาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้,
    มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ,
    ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย,
    สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ,
    ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตชอบ,
    อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ

    (องค์มรรคที่ ๖)
    กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความพากเพียรชอบ เป็นอย่างไรเล่า?

    อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

    อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ,
    ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ , วิริยัง อาระภะติ,
    จิตตัง ปัคคัณ์หาติ ปะทะหะติ;
    ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น,
    ย่อมพยายาม,
    ปรารภความเพียร,
    ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรม
    อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น;

    อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานายะ,
    ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ , วิริยัง อาระภะติ,
    จิตตัง ปัคคัณ์หาติ ปะทะหะติ;
    ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น,
    ย่อมพยายาม,
    ปรารภความเพียร,
    ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะละอกุศลธรรม
    อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
    อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง อุปปาทายะ,
    ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ , วิริยัง อาระภะติ,
    จิตตัง ปัคคัณ์หาติ ปะทะหะติ;
    ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น,
    ย่อมพยายาม,
    ปรารภความเพียร,
    ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
    ให้เกิดขึ้น

    อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา,
    อะสัมโมสายะ,ภิยโยภาวายะ, เวปุลลายะ, ภาวะนายะ,
    ปาริปูริยา,
    ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ , วิริยัง อาระภะติ,
    จิตตัง ปัคคัณ์หาติ ปะทะหะติ;
    ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น,
    ย่อมพยายาม,
    ปรารภความเพียร,
    ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อความตั้งอยู่,
    ความไม่เลอะเลือน, ความงอกงามยิ่งขึ้น,
    ความไพบูลย์, ความเจริญ, ความเต็มรอบ, แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

    อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความพากเพียรชอบ
    (องค์มรรคที่ ๗)

    กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความระลึกชอบเป็นอย่างไรเล่า?

    อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,

    กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ,
    ย่อมเป็นผู้พิจารณา เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,

    อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง;
    มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ,
    ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้;

    เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ,
    ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

    อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง;
    มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ,
    ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้;

    จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ,
    ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,

    อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง;
    มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ,
    ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้;

    ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,
    ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

    อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง;
    มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ,
    ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้;

    อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ


    (องค์มรรคที่ ๘)
    กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความตั้งใจชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
    อิธ ภิกขะเว ภิกขุ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
    วิวิจจะ กาเมหิ, สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย,วิวิจจะ อะกุสะเลหิ
    สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย,
    สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกะชัง ปิติสุขัง
    ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
    เข้าถึงปฐมฌาณ, ประกอบด้วยวิตก วิจาร, มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่;
    วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ,
    เพราะความที่วิตกวิจาร ทั้งสองระงับลง
    อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส, เอโกทิภาวัง,
    อะวิตักกัง อะวิจารัง, สะมาธิชัง ปิติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
    เข้าถึง ทุติญฌาณ, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน, ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น,
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร, มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่;
    ปีติยาจะ วิราคา,
    อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ,
    อุเปกขะโก จะ วิหะระติ; สะโต จะ สัมปะชาโน,
    ย่อมเป็นผู้อยุ่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ,
    สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ,
    และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย, ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ,
    อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารี ติ,
    ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า,
    สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย,
    สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกะชัง ปิติสุขัง
    ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
    เข้าถึงปฐมฌาณ, ประกอบด้วยวิตก วิจาร, มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่;
    วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ,
    เพราะความที่วิตกวิจาร ทั้งสองระงับลง
    อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส, เอโกทิภาวัง,
    อะวิตักกัง อะวิจารัง, สะมาธิชัง ปิติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
    เข้าถึง ทุติญฌาณ, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน, ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น,
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร, มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่;
    ปีติยาจะ วิราคา,
    อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ,
    อุเปกขะโก จะ วิหะระติ; สะโต จะ สัมปะชาโน,
    ย่อมเป็นผู้อยุ่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ,
    สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ,
    และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย, ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ,
    อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารี ติ,
    ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า,
    "เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข" ดังนี้
    ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
    เข้าถึงตติยฌาณ แล้วแลอยู่;
    สุขัสสะ จะ ปะหานา, เพราะละสุขเสียได้,
    ทุกขัสสะ จะ ปะหานา, และเพราะละทุกข์เสียได้,
    ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา,
    เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน,
    อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุธธิง,
    จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
    เข้าถึง จตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข,
    มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
    อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ
    ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
    เข้าถึงตติยฌาณ แล้วแลอยู่;
    สุขัสสะ จะ ปะหานา, เพราะละสุขเสียได้,
    ทุกขัสสะ จะ ปะหานา, และเพราะละทุกข์เสียได้,
    ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา,
    เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน,
    อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุธธิง,
    จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
    เข้าถึง จตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข,
    มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
    อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ

    ..................................................................
    </CENTER>[/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tectonic-architect&group=3
     
  7. นวล

    นวล สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +1
    ประชาสัมพันธ์ งานบุญที่ รพ.สงฆ์ ครั้งที่ 6/51

    งานบุญครั้งที่ 6/51 สำหรับเดือน พฤษภาคมนี้ กำหนดจัดงานในวันอาทิตย์ที่ 25 โดยมีกำหนดการเช่นเดิมเริ่มเวลาประมาณ 7.30 น.ที่โรงอาหารด้านข้างของ รพ. โดยมีกำหนดการดังนี้



    ร่วมทำบุญ 500 บาท ประมาณวันเสาร์จะโอนมาค่ะ
     
  8. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    เรียน ท่านพันวฤทธิ์

    ร่วมบุญเพิ่มเติมครับ

    ฝากที่เคาเตอร์ สาขาเอสพานาด เข้าบัญชี 348-123-245-9

    วันที่ 21/5/2551 เวลา 13:xx น. จำนวน 200 บาท ครับ

    โมทนาบุญกับทุกท่าน ครับ
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097


    (good)

    เยี่ยมจริงๆ
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    กราบขอบพระคุณและโมทนาบุญกับทุกท่านที่ร่วมกันสร้างบุญกุศลกับทางทุนนิธิฯนะครับ
    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ

    ขอแจ้งยอดเงินเพิ่มเติมที่มีผ๔ฝากผ่านทางพี่ใหญ่มาทำบุญกับทุนนิธิดังนี้

    20 พ.ค. 2551 คุณ ดิเรก ศรีเจริญ และครอบครัว 500 บาท
    คุณ ธนภัทร ภูรีพิทักษ์ 2000 บาท
    คุณ เขมศักดิ์ เปี่ยมบุญ 2000 บาท

    21 พ.ค. 2551 คุณ พิษณุ อุชุวัฒน์ 1000 บาท
    คุณ อานนท์ พงษ์พูล 1000 บาท
    คุณ ศรีสงกรานต์ ปลั่งกระโทก 200 บาท
    คุณ เรืองศิลป์ ดีเชียง 300 บาท

    รวมเงินทั้งสิ้น 7000 บาท

    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ
     
  11. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    ร่วมทำบุญด้วยอีกครั้งนะคะ โอนเงินไปให้เมื่อวานนี้เวลา 17.32 น. จำนวน 200 บาทค่ะ
     
  12. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    เนื่องด้วยการทำบุญครั้งที่จะถึงนี้ เป็นวาระครบรอบครึ่งปีในการก่อตั้งทุนนิธิฯ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร จะมาร่วมในการทำบุญในวันอาทิตย์ที่25 พฤษภาคม ที่โรงพยาบาลสงฆ์ เวลาประมาณ 7.00-8.00 น.

    ทางคณะกรรมการจึงขอเรียนเชิญ ศิษย์อาจารย์ประถม ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ใหม่ วงนอก วงใน หรือ ท่านผู้ที่ได้เคยอ่านบทความของอาจารย์ประถมผ่านทางสื่อต่างๆ มาพบตัวจริงเสียงจริงได้ครับ เพราะท่านชรามากแล้วไม่รับเชิญไปนอกสถานที่ง่ายๆ นับว่าเป็นโชคดีของทุกๆท่านและ ยังจะได้รับพระกรุโลกอุดรจากการทำบุญครั้งนี้ด้วย ท่านใดมีข้อสงสัยเรื่องพระโลกอุดร หรือ พระกรุวังหน้า เชิญเรียนถามท่านได้หลังจากเสร็จพิธีถวายอาหารเช้าพระครับ
     
  13. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    วันนี้โอนเงินร่วมทำบุญสงเคราะห์พระสงฆ์อาพาธ จำนวน 200 บาท เวลาประมาณ 15.55 น.ครับ

    อาทิตย์นี้พบกันครับ (deejai)
     
  14. teerins

    teerins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +1,796
    วันนี้เวลาประมาณ 14.30 น. ผมกับแฟนร่วมทำบุญ
    โอนเงินเข้าบัญชี ไป จำนวน 509 บาท

    อนุโมทนากับทุกท่านด้วยครับ

    อาทิตย์นี้ถ้าไม่ติดอะไรจริงๆ ตั้งใจจะขับรถไปร่วมบุญ
    งานบุญครั้งนี้ที่กรุงเทพฯ ด้วยครับ
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    โลกธรรม 8
    <!-- Main -->[SIZE=-1]ความหมายของโลกธรรม 8
    โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ
    ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย
    ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ

    1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
    - ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
    - ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
    - ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
    - ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

    2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
    - เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
    - เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
    - ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
    - ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ
    [/SIZE]


    ขอขอบคุณ

    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nunjoy&month=21-05-2008&group=15&gblog=6
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ทิศหก
    <!-- Main -->[SIZE=-1]ทิศหก บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้
    ๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา
    ๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์
    ๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา
    ๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้ายได้แก่ มิตรสหาย
    ๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบนได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์
    ๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง

    ๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา : มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้ บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้
    ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว
    ๒. ให้ตั้งอยู่ในความด
    ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
    ๔. หาคู่ครองที่สมควรให้
    ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร ๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ
    ๒. ช่วยทำกิจของท่าน
    ๓. ดำรงวงศ์สกุล
    ๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
    ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน

    ๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ : ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้ ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้
    ๑. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
    ๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
    ๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
    ๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน
    ๕. สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศคือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้ ๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ
    ๒. เข้าไปหา
    ๓. ใฝ่ใจเรียน
    ๔. ปรนนิบัติ
    ๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

    ๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา : สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้ ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้
    ๑. ยกย่องสมฐานะภรรยา
    ๒. ไม่ดูหมิ่น
    ๓. ไม่นอกใจ
    ๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
    ๕. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญ ตามโอกาส ๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
    ๒.สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
    ๓. ไม่นอกใจ
    ๔. รักษาสมบัติที่หามาได้
    ๕. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง

    ๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย :พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้ มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
    ๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน
    ๒. พูดจามีน้ำใจ
    ๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
    ๔. มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
    ๕. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน ๑. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน
    ๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
    ๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
    ๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
    ๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร

    ๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ : คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้ พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
    ๑. จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา
    ๒. จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา
    ๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
    ๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
    ๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔ ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว
    ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี
    ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
    ๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
    ๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
    ๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ

    ๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง : นายจ้างพึงบำรุงลูกจ้าง ดังนี้ ลูกจ้างอนุเคราะห์นายจ้าง ดังนี้
    ๑. จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ
    ๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและ ความเป็นอยู่
    ๓. จัดสวัสดิการดีมีช่วยรักษาพยาบาลในยาม
    เจ็บไข้ เป็นต้น
    ๔. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
    ๕. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส อันควร
    ๑. เริ่มทำงานก่อน
    ๒. เลิกงานทีหลัง
    ๓.เอาแต่ของที่นายให้
    ๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
    ๕. นำความดีของนายไปเผยแพร่
    [/SIZE]



    ขอขอบคุณ

    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nunjoy&month=05-2008&date=21&group=15&gblog=7

     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ... ธรรมะสอนใจ ทำใจสอนตน ...

    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]
    วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน จังหวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือค่ะ

    ธรรมะ ที่เรียบง่าย แต่มีมนต์ขลังในตัวเอง


    [​IMG]



    มนต์ขลัง วรรค ๑


    ธรรมะ เพื่อความรุ่งเรือง
    # ตักบาตรพระล้านครั้ง ไม่เท่ายื่น อาหารให้พ่อแม่เพียงครั้งเดียว
    # ความดีของลูก คือความสุขของพ่อแม่ ความเลวของลูก คือความทุกข์ของพ่อแม่
    # หลงผัว หลงเมีย จนลืมพ่อแม่ นับว่าแย่มาก
    # อยากรวย ให้ทำงาน อยากสวยให้รักษาศีล อยากดี ให้หมั่นเจริญภาวนา
    # คนฉลาด กำลังทำงาน ส่วนคนโง่ กำลังดูฤกษ์ยาม
    # หนึ่งวินาที คบบัณฑิต ดีกว่าหนึ่งปี คบคนพาล
    # อย่าประมาทเมื่อพบงานง่าย อย่าท้อใจเมื่อพบงานยาก
    # ถ่อมตนคนรัก อวดนักคนชัง(อวดดี
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ในเรื่องของบุญญฤทธิ์ของพระกรรมฐานในสายของพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น มีเรื่องเล่าขานกันไม่รู้จบ วันนี้จะขอนำส่วนหนึ่งของบุญญฤทธิ์ ของท่านอาจารย์พรหม จิระปุญโญ ในสมัยเดินธุดงค์กับท่านหลวงปู่ชอบ มานำเสนอ ส่วนวัตถุมงคลของท่าน อาจารย์พรหมนั้น หายากมากจริงๆ ครับ หากใครมีไว้ก็ประเสริฐแท้

    <HR> ในระหว่างการเดินธุดงค์กรรมฐานของท่านนี้ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ และหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้พักบำเพ็ญธรรมอยู่ใกล้ๆ กับหมู่บ้าน ครั้นพอรุ่งเช้าท่านก็ออกบิณฑบาตได้อาหารมาพอประมาณ ขณะเดินกลับจากบิณฑบาตนั้น หลวงปู่พรหมท่านได้ผ่านบริเวณวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีพระพุทธรูปเก่าๆ แตกหักพังตกเกลื่อนเต็มไปหมด ท่านจึงนั่งลงแล้วถวายการสักการะนมัสการ...แตภายในจิตใจของท่านนั้น ได้รำพึงขึ้นว่า
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้ได้รับมอบเงินบริจาคเข้าทุนนิธิฯ จากคุณพี่นิธิพร พัฒนไพศาล นำมามอบให้ที่โต๊ะทำงาน 500.- ขอโมทนาบุญด้วยครับ (พี่นิธิพร นี่ขยันทำสมาธิมาก จะทำสมาธิทุกเที่ยง โดยปิดห้องประชุมห้องเล็กนั่งสมาธิคนเดียวอย่างสม่ำเสมอ)
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097

    สรุปงานบุญในวันอาทิตย์ที่ 25/5 ตามข้างต้นนี้ พร้อมแล้ว โดยขอแจ้งรายละเอียดอีกครั้งดังนี้

    1. พระสงฆ์ทั้งหมดที่พวกเราจะได้ถวายสังฆทานอาหาร มีทั้งหมด 200 รูป ส่วนทีมคุมรถเครื่องสังฆทานอาหาร มีผมเป็นตัวหลัก และอาจจะขอแรงน้องๆ ที่ไปร่วมงานคอยแจกเครื่องสังฆทานเพื่อถวายพระให้คนละ 2 ถุงไปถวายพระองค์ละ 1 ถุง ทุกองค์ จนกว่าจะหมด โดยจะทำไปทีละชั้นๆ ไล่ตั้งแต่ชั้น 6 ลงมาถึงชั้น 2

    2. จำนวนเงินที่จะถวายทั้งหมดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 25,000.- บาท คงเหลือยอดในบัญชีหลังจากถอนเงินออกมาแล้วในขณะนี้ราว 95,000.- บาท (ยอดยกมา 120,000.-บาท / สมุดธนาคารที่ up-date แล้ว จะสแกนให้ชมในวันพรุ่งนี้เป็นอย่างช้า)

    3. จำนวนพระพิมพ์ของบรมครูฯ ที่จะแจกทางคณะฯ เตรียมไว้แล้วเช่นกัน โดยจะแจกให้หลังจากที่ถวายสังฆทานเสร็จแล้ว (จะขอเมตตาท่าน อ.ประถมฯ แจกให้กับมือท่านเอง) คนละ 1 องค์

    4. ท่าน อ.ประถมฯ ยืนยันที่จะมาแน่นอน โดยท่านจะมาถึงก่อน 8.00 น. เพื่อร่วมกิจกรรมกับพวกเรา

    5. หลังจากนั้นจะมีกิจกรรมเล็กน้อยเพื่อขอความรู้จาก อ.ประถมฯ โดยทางคณะฯ ได้ติดต่อห้องจากทาง รพ. เพื่อให้ผู้มาร่วมงานพักผ่อน โดยจะแจกน้ำเย็นให้คนละ 1 ขวด ไว้เรียบร้อยแล้วเช่นกัน

    สุดท้าย ก็ยังเป็นเช่นเดิม คือใครพาครอบครัวไปด้วยจะดีมาก ไปรับโมทนาบุญกันทั้งจากพระสงฆ์จำนวน 200 รูป และทั้งจากท่านข้างบนที่เป็นทิพย์ เพื่อความสุขความเจริญแห่งชีวิต เพื่อเป็นกุศลกรรมสำหรับตัดภพตัดชาติติดตัวไป แม้นวันใดวันหนึ่ง หากน้ำในแก้วน้อยเต็มเมื่อใด ก็คงถึงวันที่เราจะหลุดจากวัฏฏะนี้ นิพพานัง ปรมัง สุขัง คงไม่หนีจากเรา เป็นแน่แท้ อุปมาดังปลูกพริกก็ย่อมได้กินผลของพริกฉันใด ทำบุญ กุศลยังไงก็ต้องได้รับผลของบุญนั้น ฉันนั้น อย่างแน่นอน โดยเฉพาะบุญใหญ่ที่เสมอด้วยกันกับการอุปัฏฐาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมส่งผลให้เร็วมากกว่าบุญอื่นนั่นเอง



    ด้วยความนับถือ

    พันวฤทธิ์
    22/5/51
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...