ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG] บุญที่ได้จากการดูแลช่วยเหลือพระภิกษุสงฆ์อาพาธ

    ลองเข้าไปดูในกระทู้นี้จะเห็นว่าบุญจากการช่วยเหลือจะตอบสนองอย่างไรครับ (มีภาพประกอบ) เข้าไปดูกันให้ได้นา ...

    http://larndham.net/index.php?showtopic=32275&st=21
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2008
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 17 เมษายน 2551 19:40:43 น.-->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๔๖ : ทรงเสวยวิมุตติสุข ณ รัตนจงกรมเจดีย์
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๔๖ : ทรงเสวยวิมุตติสุข ณ รัตนจงกรมเจดีย์ [/SIZE]

    [SIZE=-1]ทรงเสวยวิมุตติสุข ในสัปดาห์ที่สาม [/SIZE]
    [SIZE=-1]ณ รัตนจงกรมเจดีย์ [/SIZE]

    [SIZE=-1]เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากอนิมิสเจดีย์ ในสัปดาห์ที่สาม ทรงปรารถนาจะกระทำปาฏิหาริย์ เพื่อระงับเสีย ซึ่งความสงสัย ในพุทธธรรม ของปวงเทวดาทั้งหลาย จึงทรงหยุด ณ กลางทางระหว่างต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร มีคนเลี้ยงแกะ อาศัยพักอยู่ในเวลาเลี้ยงแกะ) กับ อนิมิสเจดีย์ เนรมิตที่รัตนจงกรมขึ้น ทางทิศเหนือแห่งมหาโพธิพฤกษ์ แล้วเสด็จดำเนินจงกรมอยู่ ณ ที่แห่งนั้น ตั้งแต่วันสิ้นเดือนวิสาขะเป็นเวลา ๗ วัน [/SIZE]

    [SIZE=-1]สถานที่แห่งนั้น ได้นามในเวลาต่อมาว่า " รัตนจงกรมเจดีย์ " หรือ " เจดีย์จงกรมแก้ว "[/SIZE]


    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๔๗ : ทรงเสวยวิมุตติสุข ณ รัตนฆรเจดีย์
    <!-- Main -->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๔๗ : ทรงเสวยวิมุตติสุข ณ รัตนฆรเจดีย์

    ทรงเสวยวิมุตติสุข ณ รัตนฆรเจดีย์
    ในสัปดาห์ที่สี่


    [​IMG]
    รัตนฆรเจดีย์ หรือ ซุ้มเรือนแก้ว


    เทวดาเนรมิตเรือนแก้วขึ้นทางทิศเหนือของต้นโพธิ์ เสด็จนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎกสิ้นเจ็ดวัน สถานที่นี้เรียกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2008
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2008
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 240810.png
      240810.png
      ขนาดไฟล์:
      456.8 KB
      เปิดดู:
      1,011
    • 240811.png
      240811.png
      ขนาดไฟล์:
      453.2 KB
      เปิดดู:
      989
    • 240812.png
      240812.png
      ขนาดไฟล์:
      435.3 KB
      เปิดดู:
      985
    • 240813.png
      240813.png
      ขนาดไฟล์:
      424.8 KB
      เปิดดู:
      964
    • 240814.png
      240814.png
      ขนาดไฟล์:
      413.3 KB
      เปิดดู:
      965
    • 240815.png
      240815.png
      ขนาดไฟล์:
      478.5 KB
      เปิดดู:
      960
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2008
  5. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ตามที่ทุนนิธิได้แจกพระพิมพ์ ผมเรียนขอพระพิมพ์ตามนี้ครับ
    แบบที่ด้านข้างองค์พระเป็นเงินกลมตรายันต์


    [​IMG]

    และในวันนี้เวลา9.36น.ผมได้ฝากเงิน จำนวน100บาทเข้าบัญชี 7052403272polapat tang เพื่อช่วยเป็นค่าจัดส่งที่อยู่ผมได้แจ้งทางpm คุณโสระครับ ขอบคุณครับ​
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097

    พระพิมพ์ที่แจกจะไม่สวยเท่านี้ คงต้องไปล้างและปิดทองกันใหม่ส่วนด้านนามคืออานุภาพของผู้อธิษฐานจิต ไม่เปลี่ยนแปลง และอาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากนำไปเพิ่มในสิ่งที่เรียกว่า "ทิพย์อำนาจ" กันใหม่ตั้งแต่เมื่อ 24/8 ยังไม่ได้คืนมาครับ
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    .. คนน่ารัก..
    <!--InformVote=0--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[0], 0);</SCRIPT>
    <!--MsgIDBody=0-->ท่านผู้รู้กล่าวว่า วิธีทำให้คนรัก มีอยู่สองแบบด้วยกัน นั่นคือ แบบโลกวิธี และ แบบพุทธวิธี แบบที่ชาวโลกทั่วไปทำกัน โดยมากก็คือ การบังคับให้คนอื่นมารักตัว ในที่นี้หมายความว่า เอาใจหรือเจตนาเข้าไปบังคับ อยากแต่ให้เขารัก ถ้าเขาไม่รัก ก็พาลหาว่าเขาเป็นคนไม่ดี “คนไร้หัวใจ ไม่รู้จักรัก” (ว่ากันไปโน่น) เจตนาที่จะสร้างความรักนั้น เป็นเจตนาที่พุ่งไปหาคนอื่นฝ่ายเดียว เมื่อไม่ได้ดังใจ ก็เลยเกิดภาวะสลับขั้ว คิดโกรธอาฆาตแค้นไปเลย ภรรยาไม่รักก็คิดแต่ว่าภรรยาไม่ดี สามีไม่รักก็คิดแต่ว่าสามีเถลไถล ทำการงานเจ้านายไม่โปรด ก็พาลหาว่าเจ้านายลำเอียง หนักเข้าแทนที่จะแก้ตัวเอง ก็เลยคิดหาทางจะปรับปรุงภรรยา สามี หรือเจ้านายโดยไม่ได้ดูตัวเองเลย นี่แหละคือ โลกวิธี

    อีกแบบหนึ่ง แทนที่จะไปจัดที่คนอื่นหรือทำให้คนอื่นมารักเรา ก็ย้อนกลับเข้ามาจัดที่ตัวเราเอง คือทำให้เป็น “คนน่ารัก” ถือหลักใหญ่ว่า ถ้าตัวเราน่ารัก คนอื่นเขาก็รัก จะขอเสนอตัวอย่างง่ายๆ เวลาเรายืนอยู่หน้ากระจกเงาบานใหญ่ มองดูที่จะกระจกเงา ถ้าเราอยากเห็นเงาในกระจกยิ้มจะทำอย่างไร จะใช้ปืนขู่ จะพูดจาโอ้โลมหรือ ก็เปล่า! ง่ายนิดเดียว เราก็ยิ้มเสียเอง พอเรายิ้ม เงามันก็ยิ้มกับเรา นี่แหละคือ พุทธวิธี

    การทำให้คนรักแบบทางโลก ก็เหมือนการขู่หรือพูดโอ้โลมให้เงายิ้ม ซึ่งไม่มีทางจะสำเร็จหรือคงอยู่ถาวร ส่วนแบบพุทธวิธี ก็คือการปรับที่ตัวเรานั่นคือ เรายิ้มเสียเอง วิธีทำให้คนรักแบบโลกๆ เราตั้งปัญหาว่า “ทำอย่างไรเขาจึงจะรักเรา?” แต่แบบพุทธวิธีท่านกลับปัญหาเสียใหม่ว่า “ทำอย่างไรเราจึงจะเป็นที่รักของเขา?” ถ้าเราศึกษาจะพบว่า พระพุทธองค์ทรงสอนมุ่งเข้าสู่การปรับปรุงตัวเองเป็นสำคัญ เช่น การรักษาศีล ให้เว้นทุจริต ให้ประพฤติสุจริต คือให้เราเป็นผู้เว้น เป็นกระผู้ทำทั้งสิ้น ผมยังไม่เห็นธรรมะข้อใดที่พระพุทธองค์สอนให้เราบังคับคนอื่นทำดี แต่ตัวเราไม่ต้องทำก็ได้ เมื่อเราเข้าใจหลักการแล้วว่า การครองใจคน หรือการทำให้คนรักก็คือ การทำให้ตัวเราน่ารักเสียก่อน

    คำถามมีว่า ทำอย่างไรตัวเราจึงจะน่ารักล่ะ ? หรือ คนทั้งหลายเขารักคนอย่างไร ? ซึ่งคำถามนี้ก็ได้มีผู้ทรงปัญญาคิดค้นหาคำตอบไว้แล้วว่า จิตใจคนเราโดยทั่วๆ ไป รักอะไร? สิ่งพิเศษอันนั้น ที่เมื่อคนทั้งหลายเห็นเข้าเป็นต้องเกิดความรักในผู้นั้น ก็คือ “ความงาม” ตามหลักทางพุทธศาสนานั้น มนุษย์จะงามมากงามน้อย ก็โดยคุณสมบัติสี่ประการคือ อาภรณ์ ร่างกาย มารยาทและจิตใจ ความงามทั้งสี่นี้ น้ำหนักไม่เท่ากัน สองอย่างหลัง ซึ่งจัดเป็นความงามภายในมีน้ำหนักมากกว่า ความงามสองอย่างแรกซึ่งจัดเป็นความงามชั้นนอก ลองดูตัวอย่างง่ายๆ ระหว่างหญิงแต่งตัวดี มีเครื่องประดับงดงาม แต่ร่างกายไม่สมประกอบ กับหญิงผิวพรรณดี รูปร่างดี เสียงดี แต่ขาดอาภรณ์งาม อย่างไหนที่เราจะเลือกเป็นคู่รัก? แน่นอนว่าเป็นคนที่สอง เพราะเครื่องประดับภายนอกยังเปลี่ยนกันได้ เช่นเดียวกัน หญิงงามหุ่นดีหน้าตาดีแต่ปากจัด มารยาทไม่งาม ก็ใช่ว่าจะเป็นต่อผู้หญิงที่ดูธรรมดาแต่อยู่ด้วยแล้วสบายใจ เพราะความงามภายในของเธอใช่ไหมครับ? (ผมตอบแทนก็แล้วกันว่า “ใช่”) ในทางศาสนาท่านเพ่งเล็งเรื่องมารยาทและจิตใจเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของความงามทีเดียว

    เนื้อเรื่อง นายแพทย์ไพศาล บุญสะกันต์ ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

    โดยสรุป การที่คนเราจะรักกัน ก็เพราะเห็นความงามของอีกฝ่าย คือ งามอาภรณ์ งามร่างกาย งามมารยาท และงามจิตใจ ยิ่งงามพร้อมครบสี่ประการมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นที่รักมากเท่านั้น


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE>จากคุณ : <!--MsgFrom=0-->ebusiness [​IMG][​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=0-->6 ก.ย. 51 10:25:54 <!--MsgIP=0-->] [​IMG]
    [​IMG] :

    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=1><TBODY><TR><TD>
    • เด็กๆ มักจะเป็นที่รักของผู้คนส่วนมาก

      เหตุเพราะเด็กบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา และไร้มายา

      เวลาเด็กยิ้ม เด็กจะยิ้มออกมาจากหัวใจ

      เราจึงหลงรักเด็กๆได้ง่าย ประเภทเห็นปุ๊บรักปั๊บเลยแหละ...
    • <!--MsgFile=2--><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

      จากคุณ : <!--MsgFrom=2-->รักดี [​IMG][​IMG][​IMG] - [ <!--MsgTime=2-->6 ก.ย. 51 12:46:48 <!--MsgIP=2-->] [​IMG]
      [​IMG] : [FONT=Tahoma,Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]รัตนมาลี, เกิดเป็นคนช่างยากแท้[/FONT]
      <!--pda content="end"-->
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><!--pda tag="<hr align=center width=90%>"--><!--MsgIDBottom=2--><!--MsgIDTop=3-->



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=1><TBODY><TR><TD>
    • [​IMG] <!--WapAllow3=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 3 <!--InformVote=3--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[3], 3);</SCRIPT>[​IMG][​IMG] <!--EcardManage=3--><!--EcardSend=3-->
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอขอบคุณภาพประกอบสวยๆ พร้อมบทความจาก
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y6970095/Y6970095.html
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    อดีตแห่งความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธ สงบ ร่มเย็นชื่นใจ มีภาพสวยๆ เพลงบรรเลงเพราะมากฟังสบายๆ เชิญเข้าไปใน link blog ครับ ดูตัวอย่างภาพประกอบก่อนครับ (เมืองศรีสัชนาลัย)





    <CENTER>[​IMG]</CENTER>





    <CENTER>พอข้ามสะพานไป...ก็จะเจอพระปรางค์โดดเด่นแต่ไกล

    บริเวณหน้าวัด...มีร้านขายของที่ระลึกหลายร้าน
    แต่ส่วนใหญ่เป็นพวกผ้าทอ...ที่ฝรั่งชอบ

    แวะกินข้าวเช้ากันก่อนที่นี่...
    ส่วนมือกลางวัน...ขอไปฝากท้องเอาข้างหน้า




    </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>





    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    "วัดพระปรางค์" หรือ "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ"
    เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ประกอบด้วย
    ปารางค์ประธาน พระธาตุมุเตา มฑทปพระอัฏฐารศ วิหารพระสองพี่น้อง

    จากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดี...พบว่า
    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ...มีการก่อสร้างซ้อนทับกันอย่างน้อย 2-3 สมัย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2008
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้ทำบุญใส่บาตร ถวายสังฆทานเพื่อเตรียมเสบียงกันหรือยังล่ะ...

    พันวฤทธิ์
    7/8/51



    ... บนกาล..ลานชรา ...

    <!-- Main -->[SIZE=-1]<STYLE>body{background-image:url("http://i77.photobucket.com/albums/j76/payear/BG121.png");}</STYLE><STYLE>body{background-attachment: fixed;}</STYLE>[/SIZE]


    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]​


    [SIZE=-1]แด่...ผู้เฒ่า...แห่งบุณฑริก[/SIZE]


    [SIZE=-1]๏ แสงตาวันสุดท้ายระบายถัก[/SIZE]
    [SIZE=-1]มาทายทักอาทรกับไต่ถาม[/SIZE]
    [SIZE=-1]ถึงอนันต์รอยย่ำแห่งนิยาม [/SIZE]
    [SIZE=-1]จนฝ่าข้ามสู่กาล..ลานชรา[/SIZE]

    [SIZE=-1]๏ สักกี่ร้อยพันเรื่องได้ผ่านลิ้ม [/SIZE]
    [SIZE=-1]ให้อกอิ่มแย้มรอยหัวเราะร่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]และกี่ร้อยพันเล่ห์หว่างเวลา [/SIZE]
    [SIZE=-1]ต้องปวดปร่า..ฝ่าวิถีแห่งชีวิต[/SIZE]

    [SIZE=-1]๏ ผ่านฤดู..ฝน-หนาว-ลมผ่าวร้อน [/SIZE]
    [SIZE=-1]ถมบทตอนอัตตาเทียวยึดติด[/SIZE]
    [SIZE=-1]จนร่วงโรยสังขาร์มาประชิด [/SIZE]
    [SIZE=-1]จึงสะกิด..ถึงวันที่ล่วงวัย[/SIZE]

    [SIZE=-1]๏ เคยเต่งตึงชุ่มปลั่งสะพรั่งผิว [/SIZE]
    [SIZE=-1]เหลือแต่ริ้วย่นยับเกินนับไหว[/SIZE]
    [SIZE=-1]คือร่องรอยผ่านกาลอันยาวไกล [/SIZE]
    [SIZE=-1]คือหายใจเผาร่าง..หว่างสัญจร[/SIZE]

    [SIZE=-1]๏ จะเสพรับบอกรสกำหนดรู้ [/SIZE]
    [SIZE=-1]ก็ออกดูเลือนเลือน..ไม่เหมือนก่อน[/SIZE]
    [SIZE=-1]มันหนืดหนัก-ลุก-นั่ง-กระทั่งนอน [/SIZE]
    [SIZE=-1]มันย่อหย่อนลงแท้แต่ละวัน[/SIZE]

    [SIZE=-1]๏ หลังเคยเหยียดขาเคยหยัด..กำดัดหนุ่ม [/SIZE]
    [SIZE=-1]มางอโง้ง..เดินงุ้ม แข้งขาสั่น[/SIZE]
    [SIZE=-1]กำลังกล้าธาตุแกร่งวัยฉกรรจ์ [/SIZE]
    [SIZE=-1]เหมือนว่ามันผ่านสมัยเพียงไม่นาน[/SIZE]

    [SIZE=-1]๏ โอ..ดูสิ..อีกไม่นานแล้วหรือนี่ [/SIZE]
    [SIZE=-1]เหล่าเคยมีกอปรขังเป็นสังขาร[/SIZE]
    [SIZE=-1]จะสลายกลืนกลบกับเปลวกาล [/SIZE]
    [SIZE=-1]ดับกังวานชีวิตอีกวัฏวง[/SIZE]

    [SIZE=-1]๏ โอ..แท้ชีวิตสังสารนั้นแสนสั้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]และแท้มัน..เล็กกว่าธาตุธุลีผง[/SIZE]
    [SIZE=-1]ที่ยิ่งใหญ่ก็เพียงกรอบในขอบกรง [/SIZE]
    [SIZE=-1]คอยปลื้มหลงกำซาบกับภาพเงา[/SIZE]

    [SIZE=-1]๏ เมื่อปลดเปลื้องกรงกักอันหนักอึ้ง [/SIZE]
    [SIZE=-1]จึงรู้ซึ้งแห่งปวงความว่างเปล่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]เมื่อปลดตัวอัตตา..ว่าคือเรา [/SIZE]
    [SIZE=-1]ใจจึงเบารับมีอย่างที่เป็น[/SIZE]

    [SIZE=-1]๏ แสงตาวันสุดท้ายระบายถัก [/SIZE]
    [SIZE=-1]มาทอดทักครรลองได้มองเห็น[/SIZE]
    [SIZE=-1]ใต้วิถีแห่งการณ์ปรากฏเกณฑ์[/SIZE]
    [SIZE=-1]เพื่อบอกเราโลกเป็น..เช่นนั้นเอง..[/SIZE]


    [SIZE=-1]จากบอร์ดเพลงเพราะ[/SIZE]

    [SIZE=-1]http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=praingpayear&month=08-2007&date=25&group=1&gblog=31[/SIZE]
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๔๘ : ทรงเสวยวิมุตติสุข ณ ต้นอชปาลนิโครธ
    <!-- Main -->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๔๘ : ทรงเสวยวิมุตติสุข ณ ต้นอชปาลนิโครธ

    ทรงเสวยวิมุตติสุข ณ ต้นอชปาลนิโครธ
    ในสัปดาห์ที่ห้า
    สามธิดามารมาประโลมล่อให้หลง ก็ไม่ทรงไยดี


    หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน ทรงเสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปยังต้นไทรอชปาลนิโครธ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นนิโครธคือต้นไทร ส่วนคำหน้าคือ "อชปาล" แปลว่าเป็นที่เลี้ยงแพะ ตามตำนานบอกว่าที่ใต้ต้นไทรแห่งนี้เคยเป็นที่อาศัยของคนเลี้ยงแพะมานาน คนเลี้ยงแพะที่ตำบลแห่งนี้ได้เข้ามาอาศัยร่มเงาของต้นไทรเป็นที่เลี้ยงแพะเสมอมา

    แล้วทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้น ขณะเสวยวิมุตติสุขอยู่ ธิดาพญามารสามตน คือ ราคะ อรตี และตัณหา ได้อาสาพ่อเข้าไปประเล้าประโลมด้วยเสน่ห์กามคุณต่างๆนานา พระองค์กลับไล่ไปเสียแสดงถึงบุคลิกลักษณะอันประเสริฐของผู้ชนะตนได้แล้ว จะไม่ยอมกลับเป็นผู้แพ้อีก

    [​IMG]

    นักแต่งเรื่องในยุคอรรถกถาจารย์ ยุคนี้เกิดขึ้นภายหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้วหลายร้อยปี ได้แต่งเรื่องขึ้นเฉลิมพระเกียรติของพระพุทธเจ้าว่า ลูกสาวพระยามารซึ่งเคยยกทัพมาผจญพระพุทธเจ้าเมื่อตอน ก่อนตรัสรู้เล็กน้อยแต่ก็พ่ายแพ้ไป ได้ขันอาสาพระยามารผู้บิดา เพื่อประโลมล่อพระพุทธเจ้าให้ตกอยู่ในอำนาจของพระยามารให้จงได้ ลูกสาวพระมารมี ๓ คน คือ นางตัณหา นางราคา และนางอรดี

    ทั้งสามนางเข้าไปประเล้าประโลมพระพุทธเจ้าด้วยกลวิธีทางกามารมณ์ต่างๆ เช่น เปลื้องภูษาอาภรณ์ทรงออก แปลงร่างเป็นสาวแรกรุ่นบ้าง เป็นสาวใหญ่บ้าง เป็นสตรีในวัยต่างๆบ้าง แต่พระพุทธเจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์สิ้นแล้วไม่ทรงแสดงพระอาการผิดปรกติแม้แต่ลืมพระเนตรแลมอง

    เรื่องธิดาพระยามารประโลมพระพุทธเจ้าก็เป็นเรื่องปุคคลาธิษฐาน ถอดความได้ว่า ทั้งสามธิดาพระยามารนั้น ล้วนหมายถึงกิเลสทั้งสิ้น อย่างหนึ่งคือความยินดี อีกอย่างหนึ่งคือความยินร้ายหรือความเกลียดชัง ความยินดีส่วนหนึ่งแยกออกเป็นตัณหา คือความอยากได้ไม้มีสิ้นสุด อีกส่วนหนึ่งเป็นราคาหรือราคะ คือความใคร่หรือความกำหนัด ความเกลียดชังหรือความยินร้ายออกมาในรูปของอรดี อรดีในที่นี้คือ ความริษยา

    ความที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงอาการผิดปกติ แม้แต่ทรงลืมพระเนตรนั้น ก็หมายถึงว่าพระพุทธเจ้าทรงอยู่ห่างไกลจากกิเลสดังกล่าวมาโดยสิ้นเชิงนั่นเอง

    <!-- End main-->
     
  11. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    เรียนทุกท่านที่ได้แจ้งที่อยู่หรือได้โอนเงินค่าจัดส่งพระให้แล้ว ขณะนี้พระยังอยู่กับพี่ใหญ่เพื่อเชิญบารมีพระเบื้องบนเพิ่ม คงจะจัดส่งได้ประมาณปลายเดือนหลังการทำบุญประจำเดือนกันยายนครับ

     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097


    หากเชื่อกันขอให้รออีกนิด เพราะท่านข้างบนลงมาเยอะจริงๆ หากไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร เพราะตั้งใจไว้แล้ว ว่าพระจะแจกในเดือนหน้ามีค่าเท่ากันเหมือนกัน
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ต่อไปจะนำเสนอทศชาติเรื่อง "พระมโหสถ" ซึ่งเป็นเรื่องที่ 5 ในทศชาติ เรื่อง "พระมโหสถ" นี้ มีทั้งหมด 14 ตอน จะนำเสนอ เพียงตอนแรกตอนเดียว ส่วนที่เหลือต้องให้ไปอ่านเอง เนื้อเรื่องและภาพประกอบดีมาก มีทั้งสนุกตื่นเต้น และได้เรียนรู้เชาวน์ปัญญาในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ของ "พระมโหสถ" ผมจึงได้นำบทสรุปมาให้ดูด้วยครับ


    คุณ ๆ ได้อ่านมโหสถมานานจนพอสมควร ได้รับอะไรจากเรื้องนี้บ้าง ปัญญาแก้ไขเฉพาะหน้า พร้อมกับรอบคอบในกิจการทุกอย่างเป็นคุณสมบัติของมโหสถ แม้ในการหาทรัพย์ท่านก็กล่าวไว้ว่าต้องใช้ปัญญา ขอจบเรื่องนี้ด้วยคำว่า

    <CENTER>
    ทรัพย์นี้มีอยู่ใกล้
    ใครปัญญาไว หาได้บ่นาน
    แว่นแคว้นแดนดิน มีสิ้นทุกสถาน

    ถ้าใครเกียจคร้าน บ่พานพบเลย</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 color="#000000"><TBODY><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=80><CENTER>พระมโหสถ ๑ </CENTER>

    <TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=80>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=40></TD></TR><TR><TD width="100%" height=4></B>
    <TABLE borderColor=#663300 width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#b18ab7>
    พระมโหสถบัณฑิต ปัญญามีอยู่กับใคร ผู้นั้นย่อมจะเอาตัวรอดได้ในทุกกรณี และเป็นเครื่องส่งเสริมตัวเองให้เด่นกลายเป็นอัจฉริยะไป แต่ถ้าเอาไปใช้ในทางชั่ว ปัญญานั้นจะกลายเป็นดาบที่เชือดเฉือนตัวเองไป เพราะฉะนั้นปํญญาจึงมีลักษณะเป็นดาบสองคมที่จะให้ได้ดีก็ได้ ถ้าจะให้ชั่วก็ใช้ในทางชั่ว นี่เเหละคือคติของปัญญา โปรดอ่านเรื่องปัญญาสืบต่อไป
    ในกาลที่ล่วงมาแล้วนมนาน พระเจ้าวิเทหะได้เสวยราชสมบัติในเมืองมิถิลา ท้าวเธอมีบัณฑิตประจำสำนักถึง ๔ คน มีนามว่า เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะ วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหะทรงพระสุบินว่า ในที่มุมละของพระลาน มีกองไฟลุกขึ้นรุ่งโรจน์โชตนาการอยู่มุมละกองและตรงกลางพระลานมีกองไฟเล็กนิดเดียวค่อย ๆ โตขึ้น ๆ จนใหญ่กว่ากองไฟทั้งสี่นั้น และสว่างจ้าไปหมดทั้งบริเวณสามารถจะมองเห็นแม้แต่สิ่งเล็ก ๆ ได้ ประชาชนพากันเอาดอกไม้ธูปเทียนมาบูชากองไฟนั้น และเที่ยวเดินไปมาอยู่ระหว่างกองไฟนั้น โดยไม่รู้สึกว่าจะร้อนเลย ส่วนพระองค์นั้นในพระสุบินว่ากลัวเสียเหลือเกิน จนกระทั่งตกพระทัยตื่น เมื่อทรงลุกจากแท่นบรรทมก็ยังทรงนึกอยู่
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ถ้าเคยเห็นบทความนี้มาแล้ว ลองอ่านทวนอีกครั้งก็จะดีไม่น้อย


    . . . วันนี้เป็นผลของอดีต . . และเป็นเหตุของอนาคต . . ทำนาทีนี้ให้เป็นเหตุที่ดีก็แล้วกัน . . .


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 3 กันยายน 2551 16:28:28 น.-->สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )


    <!-- Main -->
    [​IMG]



    สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
    วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
    ท่านเป็นอมตมหาเถระ ที่มีเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏอย่าน่าอัศจรรย์ มีปัญญาเฉียบแหลมแตกฉานในทางธรรม
    เป็นเลิศทั้งด้านสมถะและวิปัสสนา พระคาถาที่ทรงอานุภาพยิ่งของท่าน คือ คาถาชินบัญชร

    ชาติกาล 17 เมษายน พ.ศ. 2331
    ชาติภูมิ บ้านบางขุนพรหม ฝั่งตะวันออก กรุงธนบุรี
    บรรพชา เมื่ออายุได้ 13 ปี
    อุปสมบท เมื่ออายุได้ 20 ปี
    ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2408
    มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415
    สิริรวมชนมายุได้ 84 ปี

    คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

    เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา
    กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

    หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    1.จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
    2.จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
    3.พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง

    ทางแห่งความหลุดพ้น
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่า ชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้น จึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสองครั้ง เพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

    แต่งใจ
    ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็น จะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกาย เป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ?

    กรรมลิขิต
    เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรูบ้าง แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต

    อดีตกรรม ถ้ากรรมดี เสวยอยู่
    ปัจจุบันกรรม สร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้าง
    อดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน
    ปัจจุบัน สร้างกรรมดี ย่อมผดุง

    เรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธแล้ว เขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้ ต้องทำเอง รู้เอง ถึงเอง แล้วจึงจะเข้าใจ

    นักบุญ
    การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะ ทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเข้าสร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น

    ละความตระหนี่มีสุข
    ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้น จึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

    อย่าเอาเปรียบเทวดา
    ในการทำบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์ เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนี้จะเป็นมงคล ทำให้จิตใจเบิกบานดี นี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล ท่านอย่าลืมว่า ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญและบาปแห่งหนึ่ง อันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตนๆนั้น ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

    บุญบริสุทธิ์
    การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้น ก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิเป็นขั้นที่นึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

    สั่งสมบารมี
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้น เป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

    เมตตาบารมี
    การทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สักแต่ว่าให้เขา ท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มาก และทัศนคติของอาตมาว่าการบำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน

    แผ่เมตตาจิต
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

    อานิสงส์การแผ่เมตตา
    ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไป เมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้

    เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

    ประโยชน์จากการฝึกจิต
    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว

    คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว ระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆจะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม


    คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=mae-ob&month=03-09-2008&group=5&gblog=4


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    <TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 5 กันยายน 2551 18:54:47 น.-->ยึดมั่น ถือมั่น

    <!-- Main -->[SIZE=-1]ทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตคนเรา
    บางครั้งก็เกิดจากเพราะเรายึดมั่น ถือมั่น
    ยึดมั่นว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ คนนั้นคนนี้ เป็นของเรา
     
  17. bomphu

    bomphu Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +26
    ขอร่วมบุญกับพี่ๆ500ครับโอนไปแล้วนะครับ
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097

    ขอบคุณมากครับ ดูชื่อแล้วน่าจะเพิ่งเข้ามาเยี่ยมกระทู้ครั้งแรก ชาวคณะทุนนิธิฯ ยินดีต้อนรับครับ

    พันวฤทธิ์
    8/9/51
     
  19. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    "ปาลิเลยยกะ" เพื่อนแท้ที่แสนดีของพระพุทธองค์

    ที่โฆสิตาราม เมืองโกสัมพี มีพระคณาจารย์ใหญ่อยู่ ๒ คณะ คือคณะพระวินัยธร (ผู้ทรงวินัย-ผู้เชี่ยวชาญทางวินัย) กับคณะพระธรรมกถึก (ผู้กล่าวธรรม-ผู้เชี่ยวชาญทางแสดงธรรม) อาจารย์ใหญ่ทั้งสองนี้มีศิษย์คนละประมาณ ๕๐๐ คน

    วันหนึ่ง พระธรรมกถึกเข้าไปในถาน (ส้วม) ทำสรีรกิจแล้วเหลือน้ำชำระไว้ในภาชนะแล้วออกมา พระวินัยธรเข้าไปภายหลัง เห็นน้ำนั้นจึงถามพระธรรมกถึก
    "ท่านเหลือน้ำไว้หรือ?"
    "ใช่ครับ ผมเหลือไวัเอง" พระธรรมกถึกบอกความจริง
    "ท่านรู้หรือไม่ว่า การเหลือน้ำไว้อย่างนี้เป็นอาบัติ?"
    "ผมไม่รู้" พระธรรมกถึกตอบ
    "ถึงไม่รู้ก็เป็นอาบัติ" พระวินัยธรว่า
    "ถ้าอย่างนั้น ผมจะทำคืนเสีย คือผมจะแสดงอาบัติ" พระธรรมกถึกยอมรับ
    "แต่ถ้าท่านไม่แกล้งทำ ท่านทำเพราะไม่มีสติ อาบัติก็ไม่มี" พระวินัยธรว่า

    ด้วยคำพูดตอนหลังของพระวินัยธรนี้ พระธรรมกถึกจึงมิได้แสดงอาบัติ คงปล่อยไว้อย่างนั้น

    หากเรื่องจบเพียงแค่นี้ก็เป็นอันจบ แต่พระวินัยธรมิไดันิ่งเฉย กลับนำเรื่องนั้นมาพูดกับศิษย์ของตนว่า "พระธรรมกถึกแม้ตัองอาบัติก็ไม่รู้" เมื่อศิษย์ของพระวินัยธรเจอศิษย์ของพระธรรมกถึก ก็พูดใส่หูเป็นเชิงดูหมิ่นว่า "อุปัชฌาย์ของพวกท่านด้องอาบัติแล้วก็ไม่รู้"

    ศิษย์ของพระธรรมกถึกได้ฟังดังนั้น จึงไปถามอุปัชฌาย์ของตนว่าเรื่องเป็นอย่างไร ศิษย์ของพระวินัยธรจึงพูดเช่นนั้น พระธรรมกถึกเล่าเรื่องให้ศิษย์ฟังแลัวกล่าวว่า "พระวินัยธร ทีแรกพูดว่าไม่เป็นอาบัติ มาบัดนี้ ไฉนจึงพูดว่า เป็นอาบัติ พระวินัยธรพูดมุสา"

    ศิษย์พระธรรมกถึก เมื่อพบศิษย์ของพระวินัยธรก็พูดบ้างว่า "อุปัชฌาย์ของพวกท่านพูดมุสา"

    ทั้งสองฝ่ายต่างทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก แลัวการทะเลาะก็แผ่วงกว้างออกไปด้วยประการฉะนี้

    ต่อมาภายหลัง พระวินัยธรได้โอกาส จึงได้ทำอุกเขปนียกรรม (คือประกาศไม่ให้สงฆ์ร่วมอุโบสถสังฆกรรม ไม่ให้ร่วมฉัน ร่วมที่อยู่อาศัย)แก่พระธรรมกถึก เพราะการไม่เห็นอาบัติ

    ตั้งแต่นั้นมา พระสงฆ์ในโฆษิตารามก็แตกกันเป็น ๒ พวก แม้อุบาสก อุบาสิกาก็แตกกันเหมือนกัน ตำรากล่าวว่า แม้พวกเทวดาก็แตกกัน

    ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลความที่พระภิกษุสองพวกเเตกกัน พวกพระวินัยธรถือว่า การที่พระวินัยธรประกาศอุกเขปนียกรรมแก่พระธรรมกถึกนั้นสมควรแล้ว ส่วนพระธรรมกถึกถือว่า อุปัชฌาย์ของตนไม่ไดัรับความเป็นธรรม เป็นต้น การแตกร้าวได้แผ่ไปอย่างกว้างขวาง

    พระผู้มีพระภาคทรงส่งพระโอวาทไปถึง ๒ ครั้งว่า
    "ขอให้ภิกษุทั้งสองฝ่ายจงพร้อมเพรียงกัน" ทรงสดับว่า ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะพร้อมเพรียงกัน ครั้นครั้งที่สามทรงทราบว่าภิกษุทั้งหลายแตกกันเเล้ว เสด็จไปสู่ที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้น ตรัสโทษในการทำอุกเขปนียกรรมของภิกษุผู้ทำอุกเขปนียกรรม และตรัสโทษของการไม่เห็นอาบัติของภิกษุผู้ต้องอาบัติ แต่ไม่สำเร็จประโยชน์อะไร ภิกษุทั้งหลายยังพอใจจะแตกแยกกัน แม้พระผู้มีพระภาคทรงห้ามแล้ว ทรงสั่งสอนแล้วก็ไม่ปรารถนาฟังและทำตาม

    พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทานุศาสน์เป็นอันมากเพื่อประสานรอยร้าวให้หาย เช่นว่า "ภิกษุทั้งหลาย ! การแตกร้าว แตกแยก และแก่งแย่งกันนั้น นำมาแต่ความพินาศ ไม่เป็นไปเพื่อความดีแก่ใครเลย" ดังนี้แล้วตรัสชาดกเป็นอันมาก มีลฏกิกชาดกเป็นต้น

    ครั้งนี้มีภิกษุผู้เป็นธรรมวาที (พูดเป็นธรรม) รูปหนึ่งไม่ประสงค์ให้พระตถาคตเจ้าทรงลำบาก ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

    "ข้าแด่พระผู้มีพระภาค! ขอพระองค์จงทรงขวนขวายน้อย ขอพระองค์จงอยู่เป็นสุขในปัจจุบันเถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจะปรากฏด้วยกรรมของตนเอง"

    พระผู้มีพระภาค ทรงมีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ และไม่มีที่สิ้นสุดได้ตรัสเล่าเรื่องพระเจ้าฑีฆีติโกศล ซึ่งพระเจ้าพรหมทัตให้ปลงพระชนม์พร้อมทั้งพระอัครมเหสี ต่อมาฑีฆาวุกุมาร โอรสพระเจ้าโกศลจับพระเจ้าพรหมทัตได้ ประสงค์จะปลงพระชนม์เสีย แต่กลับเป็นมิตรกันได้เพราะฑีฆาวุกุมารยกพระชนม์ใหัแก่พระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์ทั้งสองได้สมานสามัคคีกันต่อมาพระศาสดาตรัสย้ำว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย! กษัตริย์ทั้งสอง คือ ฑีฆาวุ และ พระเจ้าพรหมทัตเป็นผู้มีศัสตราอาวุธ ยังมีความอดกลั้นและความสงบเสงี่ยมให้อภัยกันได้ ทำไมเล่าเธอทั้งหลาย จักปรองดองสามัคคีกันไม่ไดั ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นความงามหาน้อยไม่ หากเธอทั้งหลายผู้บวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้ว จะพึงเป็นผู้อดกลั้นและสงบเสงี่ยมเรียบร้อย"

    แต่พระองค์ไม่สามารถให้ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกันได้เลย

    พระศาสดาทรงระอิดระอาต่อการทะเลาะของภิกษุเหล่านั้น มีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกจากหมู่ อยู่โดดเดี่ยว

    เช้าวันหนึ่ง จึงเสด็จไปบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี ทรงถือจีวรและบาตรด้วยพระองค์เอง มิได้ตรัสบอกภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเลย เสด็จไปทางพาลกโลณการาม ตรัสเอกจาริกวัตร คือวัตรแห่งภิกษุอยู่ผู้เดียวแก่พระภคุเถระที่พาลกโลณการามนั้น ตรัสอานิสงส์เเห่งสามัคคีแก่กุลบุตร ๓ คนในมิคทายวัน ชื่อปาจีนวังสะ แล้วเสด็จไปทางหมู่บ้านชื่อ ปาลิเลยยกะ

    ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่อาศัยบ้านปาลิเลยยกะ เสด็จจำพรรษาอยู่ที่ใต้ต้นสาละใหญ่ในราวป่ารักขิตวัน ได้รับอุปฐากจากช้างชื่อปาลิเลยยกะ เสด็จอยู่จำพรรษาอย่างผาสุก

    พวกชาวบ้านไปสู่โฆษิตารามไม่เห็นพระศาสดา จึงถามภิกษุทั้งหลาย ทราบความโดยตลอดแล้ว คิดว่าเพราะภิกษุพวกนี้เราจึงมิได้เห็นพระศาสดา ภิกษุพวกนี้บวชในสำนักพระศาสดา แม้เมื่อพระองค์ทรงพยายามเพื่อให้สามัคคีกันอยู่ ก็หาสามัคคีกันไม่ พวกเราจักลงโทษภิกษุพวกนี้โดยการไม่ถวายอาสนะ (ที่นั่ง) ไม่ทำสามีจิกรรมมีการไหว้เป็นต้น"

    ตั้งแต่นั้นมา พวกอุบาสก อุบาสิกาก็ไม่ยอมทำสามีจิกรรมมีการไหว้เป็นต้น ไม่ยอมถวายอาหารบิณฑบาต ภิกษุพวกนั้นซูบซีดลง เพราะมีอาหารน้อย สองสามวันต่อมา ก็คลายพยศ กลับเป็นคนตรง ต่างก็ขอโทษซึ่งกันและกัน และได้กล่าวกับอุบาสก อุบาสิกาว่า

    "อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย! บัดนี้พวกเราพร้อมเพรียงกันแล้ว ขอใหัท่านทั้งหลายจงประพฤติต่อเราเหมือนอย่างเดิมเถิด"
    "พวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาแล้วหรือ?! ชาวบ้านถาม
    "ยังไม่ได้ขอขมา"พระตอบ
    "ถ้าอย่างนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงขอขมาพระศาสดาเสียก่อน เมื่อพวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาแล้ว พระองค์ทรงรับขมาแล้ว ข้าพเจ้าทั้งหลายจักเป็นเหมือนอย่างเดิม"

    ภิกษุเหล่านั้น มิอาจไปขอขมาพระศาสดาได้ เพราะอยู่ในพรรษาจึงอดทนอยู่จำพรรษาด้วยความยากลำบากในเรื่องอาหารเป็นอย่างยิ่ง

    ได้กล่าวแล้วว่าในพรรษานั้น พระศาสดาประทับจำพรรษา ณ ป่ารักขิตวัน ใกล้หมู่บ้านปาลิเลยยกะ ได้ช้างชื่อ
    "ปาลิเลยยกะ"(ป่าเลไลยก์)อุปัฏฐากอยู่

    ช้างปาลิเลยยกะนั้น หลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว เพราะระอิดระอาในความเกลื่อนกล่นด้วยหมู่คณะ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    ครั้งนั้นช้างปาลิเลยยกะ(ป่าเลไลยก์) ได้ออกจากหมู่อยู่แต่ตัวเดียวแล้ว เพราะคิดว่า
    "เราอยู่เกลื่อนกล่นด้วยช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น และลูกช้าง เราต้องกินหญ้าที่ปลายขาด เพราะพวกลูกช้างแย่งกินเสียก่อน พวกช้างทั้งหลายคอยแย่งกินซึ่งกิ่งไม้ที่เราหักลง เราต้องดื่มน้ำขุ่น เมื่อเราลงสู่ท่าน้ำ หรือขึ้นจากท่าน้ำก็ต้องเดินเสียดสีกับลูกช้างและช้างทั้งหลายทำอย่างไรหนอ เราจึงจะหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว"


    ช้างปาลิเลยยกะนั้นจึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว หลีกออกจากโขลงเข้าไปยังป่ารักขิตวัน ณ ควงไม้สาละใหญ่ใกล้หมู่บ้านปาลิเลยยกะ

    ก็ครั้นเมื่อช้างปาลิเลยกะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงสวัสดิโสภาคย์เสด็จมาจำพรรษาในป่ารักขิตวันแห่งเดียวกับตนแล้ว บังเกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงเข้าไปถวายบังคมแล้วเข้าไปหา ปัดกวาดบริเวณใต้ต้นสาละให้สะอาดเรียบ เอางวงจับหม้อตักน้ำเสวยและน้ำใช้มาตั้งไว้ เมื่อพระศาสดามีพระประสงค์น้ำร้อนก็ถวายน้ำร้อน
    วิธีการทำน้ำร้อนของช้างเป็นดังนี้ โดยได้เอางวงจับไม้แห้งสองอันแล้วสีกันให้เกิดไฟ ใส่ฟืนให้ไฟลุกขึ้นเผาศิลาในกองไฟนั้น แล้วเอาท่อนไม้กลิ้งศิลาให้ลงไปในแอ่งน้ำ เมื่อต้องการจะรู้ว่าน้ำร้อนแล้วหรือไม่ ก็เอางวงหย่อนลงไปในน้ำ เมื่อรู้ว่าน้ำอุ่นแล้ว ก็ไปถวายบังคมพระศาสดา เป็นทำนองทูลให้ทรงใช้น้ำร้อนได้ จากนั้น ก็ได้เที่ยวไปนำผลไม้ประเภทต่าง ๆ มาถวายพระศาสดาด้วยเหมือนกัน
    เวลาพระศาสดาเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ช้างปาลิเลยยกะได้วางบาตรและจีวรของพระองค์ไว้บนตระพอง ตามเสด็จพระศาสดาไป เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงเขตบ้านจึงรับสั่งว่า "ปาลิเลยยกะ ตั้งเเต่นี้ไป เจ้าจะเข้าไปไม่ได้ จงเอาบาตรและจีวรของเรามา" ช้างจะยืนอยู่ที่นั่นเอง จนกว่าพระพุทธองค์จะเสด็จกลับ ช้างปาลิเลยยกะจึงได้เข้าไปทำการต้อนรับ ถือบาตรเเละจีวรไปโดยนัยที่กล่าวแล้วไปวางไว้ ณ ที่ประทับแล้วนำกิ่งไม้มาต่างพัด ยืนพัดพระศาสดาอยู่

    เวลากลางคืน ช้างปาลิเลยยกะจะถือท่อนไม้ท่อนใหญ่ เดินวนเวียนอยู่ในบริเวณอันเป็นที่ประทับของพระศาสดา และที่ใกล้เคียง เพื่อป้องกันอันตรายให้พระผู้มีพระภาค จนรุ่งอรุณ เมื่อรุ่งอรุณแเล้วก็ทำกิจอย่างอื่นอย่างที่เคยทำมาทุกวัน มีการถวายน้ำสรงพระพักตร์เป็นต้น

    กาลนั้น มีลิงตัวหนึ่ง เห็นช้างทำอยู่เช่นนั้นก็อยากจะทำอะไรบ้างวันหนึ่งเห็นรังผึ้งที่กิ่งไม้ไม่มีตัวผึ้ง จึงหักกิ่งไม้นั้นไปถวายพระผู้มีพระภาคนั่งจ้องมองดูว่าพระผู้มีพระภาคจะเสวยหรือไม่ พระศาสดารับแล้วทรงเฉยอยู่ ลิงคิดว่าทำไมหนอพระองค์จึงไม่เสวย จึงจับกิ่งไม้พิจารณาดูอีกทีหนึ่งเห็นตัวอ่อน จึงค่อย ๆ นำตัวอ่อนเหล่านั้นออกแล้วถวายใหม่ พระศาสดาเสวยแล้ว

    เมื่อเห็นดังนั้น ลิงมีความยินดีอย่างยิ่ง ยืนฟ้อนอยู่ไป-มาบนกิ่งไม้ มันกระโดดไป-มาด้วยความยินดี บังเอิญกิ่งไม้หัก มันตกลงมาตรงตอไม้แหลมอันหนึ่ง ถูกตอนั้นแทงสิ้นใจตาย มันมีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค ไปเกิดในภพดาวดึงส์

    การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกเร้นไปอยู่ในป่ารักขิตวันนั้น เป็นข่าวอันแพร่สะพัดไปเกือบทั่วชมพูทวีป ทางเมืองสาวัตถี ท่านอนาถปิณฑิกะ และวิสาขา มหาอุบาสิกา ได้จัดการส่งสาส์นไปถึงพระอานนท์ว่าขอให้นำเสด็จพระศาสดาไปสู่สาวัตถี

    ฝ่ายภิกษุจำนวนมากผู้จำพรรษาอยู่ในทิศต่างๆ เมื่อออกพรรษาแล้ว ต้องการได้เฝ้าและฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ จึงไปหาพระอานนท์ วอนขอว่า "ท่านผู้เจริญู นานนักหนาแล้วที่ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมจากพระศาสดา ขอท่านได้โปรดให้พวกข้าพเจ้าไดัฟังธรรมจากพระพุทธองค์อีกเถิด"

    พระอานนท์พาภิกษุเหล่านั้นไปเฝ้าพระศาสดา ณ ป่ารักขิตวัน เมื่อไปถึงชายป่า ท่านคิดว่าการนำภิกษุทั้งหมดเข้าเฝ้ายังไม่สมควรก่อนควรให้ภิกษุเหล่านั้นพักรออยู่ภายนอก ส่วนตัวท่านเองเข้าไปรูปเดียวก่อน นี่เป็นความรอบคอบของพระอานนท์ คิดดังนี้แล้วจึงเข้าไปเฝ้าเพียงรูปเดียว

    ช้างปาลิเลยยกะเห็นพระอานนท์มาแต่ไกล จับท่อนไม้ได้วิ่งไปเพื่อไล่พระอานนท์ พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นจึงตรัสว่า

    "ปาลิเลยยกะ! หลีกไปก่อน อย่าห้ามภิกษุนั้น เธอเป็นอุปัฏฐากของเรา"

    ช้างรู้เช่นนั้นจึงรีบทิ้งท่อนไม้ แล้วแสดงอาการเอื้อเฟื้อในการรับบาตรเเละจีวร แต่พระอานนท์ไม่ยอมให้ ช้างยืนมองดูอยู่ คิดว่า

    "ถ้าภิกษุรูปนี้ เป็นผู้มีวัตรจริยามารยาทดี จะต้องไม่วางบริขารของตนไว้บนแผ่นศิลาอันเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาค"

    พระอานนท์ได้วางบาตรและจีวรของตนไว้ที่พึ้น ช้างได้เห็นดังนั้น มีจิตเลื่อมใส จริงอยู่ศิษย์ผู้มีมรรยาทดี ย่อมไม่วางเครื่องใช้ของตนไว้บนที่นั่งที่นอนของครู

    พระอานนท์ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่อันควรแก่ตนแห่งหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามว่า
    "อานนท์! เธอมาเพียงผู้เดียวหรือ?"
    "มีภิกษุมาด้วยเป็นอันมาก พระเจ้าข้า"
    "เธอเหล่านั้นอยู่ที่ไหน?"
    "ข้าพระพุทธเจ้า ไม่ทราบน้ำพระทัยของพระองค์ จึงพักภิกษุเหล่านั้นไว้ภายนอกก่อน พระเจ้าข้า"
    "ไปนำมาเถิด"
    พระอานนท์ นำภิกษุเหล่านั้นเข้าเฝ้า พระศาสดาทรงปฏิสันถารกับเธอทั้งหลายด้วยพระอัธยาศัยอันนุ่มนวล ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
    "พระเจัาข้า ! พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นพระพุทธเจ้าอันสุขุม (ละเอียดอ่อน) ทรงเป็นกษัตริย์อันสุขุม พระองค์เสด็จอยู่พระองค์เดียวตลอดไตรมาส ชื่อว่ากระทำกิจอันทำได้โดยยาก ผู้ปฎิบัติพระองค์ คงมิได้มี ณ ที่นี้"
    พระศาสดาตรัสว่า
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ช้างปาลิเลยยกะ ได้ทำกิจทั้งปวงอันควรทำแก่เรา การอยู่ร่วมกับสหายเห็นปานนี้สมควรแท้ หากไม่ได้สหายอย่างนี้ การเที่ยวไปผู้เดียว อยู่ผู้เดียวเป็นสิ่งประเสริฐกว่า"
    ดังนี้แล้ว ตรัสพระพุทธพจน์ดังนี้
    "ถ้าบุคคลได้สหายผู้มีปัญญูา มีคุณธรรม มุ่งประโยชน์อันดี ไว้เป็นมิตรสำหรับไป-มาด้วยกันไซร้ ก็ควรมีใจยินดี มีสติ ตั้งใจบำบัดอันตรายแก่สหายนั้น ถัาไม่ไดัสหายเช่นนั้นก็ควรเที่ยวไปคนเดียว เหมือนพระราชาทรงสละราชบัลลังก์เที่ยวไปผู้เดียว หรือเหมือนช้างชื่อมาตังคะเที่ยวไปแต่ผู้เดียวในป่า การเที่ยวไปผู้เดียวนั้นประเสริฐกว่า เพราะความเป็นสหายไม่มีในคนพาล เมื่อไม่ได้สหายที่มีปัญญาคุ้มครองตน ก็ควรเที่ยวไปแต่ผู้เดียวและไม่ควรทำบาปทั้งหลาย"

    เมื่อพระศาสดาตรัสจบ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ได้สำเร็จพระอรหัตตผล

    พระอานนท์ทูลสาส์นที่ตระกูลใหญ่ ๆ มีท่านอนาถปิณฑิกะเป็นต้น ส่งมาส่งมาทูลเชิญเสด็จพระศาสดาสู่นครสาวัตถีพระศาสดาตรัสกับพระอานนท์
    "ถ้าอย่างนั้นเธอจงรับบาตรและจีวรไป" ดังนี้แล้วเสด็จออกไป ช้างปาลิเลยยกะได้ยืนขวางทางไว้ ภิกษุทั้งหลายได้เห็นแล้วทูลถามพระพุทธองค์ว่า ทำไมช้างจึงยืนขวางทาง พระศาสดาตรัสตอบว่า "ช้างมีความ ประสงค์จะถวายอาหาร ช้างนี้มีอุปการะต่อเรามานาน การทำให้จิตใจของเขาขัดเคือง ไม่ควรเลย ภิกษุทั้งหลายพวกเราอย่าเพิ่งไปเลย กลับกันก่อนเถิด" ดังนี้แล้ว พระศาสดาได้พาภิกษุทั้งหลายกลับมาประทับที่เดิม

    ฝ่ายช้างปาลิเลยยกะรีบเข้าไปในป่า รวบรวมผลไม้ต่าง ๆ มีผลขนุนและกล้วยเป็นต้นมากองไว้ วันรุ่งขึ้นพระศาสดาได้เสวยและภิกษุทั้งหลายได้ฉันผลไม้เหล่านั้น แต่ฉันไม่หมด เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้ว พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เองเสด็จออกไปก่อน ช้างได้ติดตามไปและยืนขวางพระพักตรไว้ เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลถาม พระศาสดาตรัสว่า ช้างประสงค์จะให้พวกเธอทั้งหลายกลับไป แต่จะให้พระองค์เสด็จกลับ


    พระศาสดาตรัสกับพญาช้างปาลิเลยยกะ ว่า "ปาลิเลยยกะเอย ในอัตตภาพนี้ เธอเป็นดิรัจฉาน ไม่อาจบรรลุฌานหรือวิปัสสนา หรือมรรคผลได้ เจ้าจงอยู่ที่นี่เถิด อย่าติดตามไปเลย"

    ช้างฟังแล้วเอางวงเข้าปากร้องไห้ และติดตามไปเบื้องหลัง ยังมีความประสงค์จะอัญเชิญพระศาสดาให้เสด็จกลับ

    เมื่อเสด็จถึงเขตบ้านปาลิเลยยกะ พระศาสดาผินพระพักตร์มาตรัสกับซ้างว่า

    "ปาลิเลยยกะ! ต่อไปนี้เป็นแดนของมนุษย์ มิใช่ถิ่นของเจ้า มีภัยอยู่รอบด้านสำหรับเจ้า จงหยุดอยู่เพียงแค่นี้เถิด อย่าเดินต่อไปอีกเลย" ช้างไม่อาจติดตามไปอีกได้ ยืนร้องไห้อยู่ตรงนั้น ยืนมองดูพระศาสดา พอพระองค์ลับคลองจักษุไป ใจของช้างก็แตกด้วยอำนาจแห่งความรัก

    ช้างปาลิเลยยกะ นั้นสิ้นชีพแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเทพบุตรชื่อปาลิเลยยกะ

    ฝ่ายภิกษุชาวเมืองโกสัมพีได้ทราบข่าวว่า บัดนี้พระศาสดาเสด็จถึงเมืองสาวัตถีเเลัวได้พากันไปยังสาวัตถีเพื่อขอให้พระศาสดาประทานอภัย

    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทราบว่า พวกภิกษุชาวโกสัมพีมา จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจัา ทูลว่าจะไม่ยอมให้ภิกษุเหล่านั้นเข้าเมือง ฝ่ายอนาถปิณฑิกะเศรษฐีก็เหมือนกัน กราบทูลพระศาสดาว่า จะไม่ยอมใหัภิกษุเหล่านั้นเข้าวัดเชตวันของตน แต่พระศาสดาทรงชี้แจงว่า ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นผู้มีศีล แต่ไม่เชื่อคำของพระองค์ เพราะการทะเลาะกัน บัดนี้ภิกษุเหล่านั้นชวนกันมาเพื่อขอขมาพระองค์ ขอให้พวกเธอมาเถิด

    เมื่อภิกษุเหล่านั้นถึงสาวัตถีแล้ว พระศาสดารับสั่งให้จัดเสนาสนะแห่งหนึ่งเป็นที่สงัดให้เป็นที่อยู่ของพวกเธอ ไม่ให้ภิกษุเหล่าอื่นปะปนอยู่

    ในการประชุมก็ทรงให้ภิกษุชาวโกสัมพีรวมอยู่ด้วยกันที่หนึ่ง ประชาชนที่มาประชุมกันก็ถามพระศาสดาว่า พวกไหนคือภิกษุชาวโกสัมพี พระศาสดาตรัสชี้ให้ดูว่า "พวกนั้นๆ" ใครมาก็ถามจนภิกษุพวกนั้นละอาย นั่งก้มหน้านิ่งไม่อาจเงยหน้าได้ ฟุบลงแทบพระบาทแห่งพระผู้มีพระภาคทูลขอขมา

    พระศาสดา ทรงเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายทำกรรมหนักเสียแล้ว เธอทั้งหลายบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าเช่นเรา เมื่อเราสมานสามัคคี เธอทั้งหลายก็หาทำตามไม่ ส่วนบัณฑิตในกาลก่อนสดับโอวาทของมารดาผู้ต้องถูกประหารชีวิตแล้ว มิไดัขัดขืนโอวาทของมารดาบิดา ปฏิบัติตามโอวาทของท่าน ภายหลังได้ประสบโชคดี ได้ครองแคว้นถึง ๒ เเคว้นคือกาสีและโกศล" ดังนี้แล้ว ตรัสฑีฆาวุกุมารชาดก และตรัสต่อไปว่า

    "คนพวกอื่น ไม่รู้ดอกว่า เราทั้งหลายย่อยยับอยู่ (เพราะการทะเลาะวิวาท) ส่วนพวกใดรู้ เห็นโทษของการทะเลาะวิวาท ความหมายมั่นซึ่งกันและกันย่อมระงับลง" <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
    มีเพื่อนตาย ก็มีความสุข
    Happy is it to have a friend in need.


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    <CENTER>เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เพื่อประโยชน์ที่ใหญ่ยิ่ง</CENTER>
    พระพุทธเจ้าเป็นนักต่อสู้เพื่อจุดมุ่งหมายที่ยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง นั่นก็คือ การบรรลุอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณ และพระองค์ก็ทรงทำได้เป็นผลสำเร็จ

    พระองค์เคยตรัสเล่ากับภิกษุทั้งหลาย ถึงการที่พระองค์ทรงบรรลุอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ด้วยการอธิษฐานความเพียรอย่างแรงกล้าว่า

    "เราได้รู้ธรรมถึงสองอย่าง คือ ความไม่รู้จักพอในกุศลธรรม และความเป็นผู้ไม่ถอยหลังในการตั้งความเพียร"

    "เราตั้งความเพียร คือ ความไม่ถอยหลังว่า แม้ว่าจะเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก เนื้อและเลือดในร่างกายเหือดแห้งไปก็ตามที เมื่อยังไม่บรรลุถึงประโยชน์ที่บุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว เราจักไม่หยุดพากเพียร"

    "เราตรัสรู้ได้เพราะความไม่ประมาท ได้บรรลุถึงธรรมที่ปลอดภัยจากกิเลสผูกมัดสัตว์อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า ก็เพราะความไม่ประมาท"

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...