จุดเริ่มของฌาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 10 พฤษภาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เรื่องการปฎิบัติ เรื่องนั้นคงตอบง่ายมากครับสำหรับทุกๆคน ไม่ใช่เฉพาะผมคนเดียวที่จะตอบได้ แต่จะไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลโดยตรงครับ เอาแต่ตนเองรอดได้ แต่ไม่สามารถช่วยผู้อื่น แนะนำผู้อื่นได้ แนะนำตนเองได้ ในขั้นตอนนี้ กำลังปฎิบัติอยู่ครับ ที่นั่งหายใจพิมพ์ตัวอักษรลงไปที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตรงเว็บบอร์ดตอบคำถามท่านอยู่ตรงนี้

    ก็กำลังปฎิบัติเพื่อให้เข้าถึงให้รู้สภาวะของ ฌานอยู่ครับ ถ้าไม่รู้ปริยัติ ไปปฎิบัติแล้วได้ผลอะไรมา ก็ตาม จะบอกอย่างไร?ล่ะครับ ว่านั่นคืออะไร ไปจากไหน มีอะไรบ้าง?

    ผู้ปฎิบัติธรรม มีรักศรัทธาในพระรัตนตรัย รักษาศีล สำรวมในพระธรรม ตั้งใจแผ่กุศลจิต พิจารณาเรื่องราวต่างๆ ผิดชอบชั่วดี นี่ก็เป็นผลให้ได้ ฌาน ญาณ หรืออื่นๆอีกมากมายแล้วล่ะครับ ทางปฎิบัติรายละเอียดคงพอทราบ โดยไม่ต้องอธิบาย

    ปริยัติ ในที่นี้ ล้วนแต่มีในพุทธประวัติ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ และพระสูตรต่างๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แม้แต่ตอนนี้ ผมก็เปิดอ่านไล่ไปเรื่อยๆ กว่า ๑๐ พระสูตร และคงจะมีหลายร้อยพันหมื่นพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับ ฌานหรือญาน สมาธิ

    ผมรู้ที่สุดของฌานแล้ว ดังที่แสดงไปขั้นต้น จึงพยายามต่อ ในการศึกษาซึ่งปริยัติในเรื่องนี้
    ก็หวังว่าผมคงจะต้องอ่านอีกหลายเที่ยวจนกว่าจะทรงจำได้มากขึ้นเรื่อยๆแล้วนำมาปะติปะต่อกัน เป็นเรื่องได้ พอที่จะพรรณา เรื่อง ฌาน ได้ด้วยตนเอง


    บอกตามตรง ผมพึ่งศึกษาพระปริยัติเรื่อง ฌาน นี้ ต่อจากพระไตรลักษณ์ ได้ไม่ถึง ๕ ชั่วโมง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เราขอชี้ทางตรงนี้หน่อย ไม่อย่างนั้นก็จะขัดกับพระพุทธดำรัส เพราะยังมีญานที่เป็นฌานนั้นได้อีก

    ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตพละของตถาคต ๑๐ ในกาลก่อนเหล่า
    ใด ตถาคตพละเหล่านี้นั้น.
    ในบทนั้น มีปรวาทิกถา ดังนี้. ชื่อว่า ทศพลญาณ ไม่มีการแยก
    ออกเป็นส่วนหนึ่ง สัพพัญญุตญาณเท่านั้นมีการแยกประเภทอย่างนี้. ข้อนั้นไม่
    พึงเห็นอย่างนั้น . จริงอยู่ทศพลญาณเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญญุตญานเป็นอย่าง
    หนึ่ง. ก็ทศพลญาณย่อมรู้เฉพาะกิจของตน ๆ เท่านั้น สัพพัญญุตญาณย่อมรู้
    กิจของตน ๆ นั้นบ้าง กิจที่เหลือจากกิจของตน ๆ นั้นบ้าง. ก็ในทศพลญาณ
    ทั้งหลาย ญาณที่หนึ่ง ย่อมรู้เฉพาะเหตุ และไม่ใช่เหตุเท่านั้น. ญาณที่สอง
    ย่อมรู้ลำดับแห่งกรรมและลำดับแห่งวิบากเท่านั้น. ญาณที่สาม ย่อมรู้การกำหนด
    กรรมเท่านั้น. ญาณที่สี่ย่อมรู้เหตุแห่งความที่ธาตุเป็นต่าง ๆ กันเท่านั้น. ญาณ
    ที่ห้าย่อมรู้อัธยาศัย และอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. ญาณที่หกย่อมรู้
    ความที่อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าและอ่อนเท่านั้น. ญาณที่เจ็ดย่อมรู้กิจมีความเศร้า
    หมองเป็นต้นแห่งอินทรีย์เหล่านั้น พร้อมกับฌานเป็นต้นเท่านั้น. ญาณที่แปด
    ย่อมรู้ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่เคยอยู่ในชาติปางก่อนเท่านั้น. ญาณที่เก้าย่อมรู้จุติ
    และปฎิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. ญาณที่สิบย่อมรู้การกำหนดสัจจะเท่านั้น.
    ส่วนสัพพัญญุตญาณย่อมรู้ชัดกิจที่ควรรู้ด้วยญาณเหล่านั้น และสิ่งอันยิ่งกว่ากิจนั้น. ก็กิจแห่งญาณเหล่านั่น ย่อมไม่ทำกิจทุกอย่าง. เพราะญาณนั้นเป็นฌาน
    แล้ว
    ย่อมไม่อาจเพื่อเป็นอัปปนา เป็นอิทธิแล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อแสดงฤทธิ์ได้ เป็นมรรคก็ไม่อาจเพื่อยังกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปได้.

    ต้องเรียนพระสูตร อัปปนาสมาธิ กับ อัปปนาฌาน อีก ไม่รู้จะเจออะไรอีก หวังว่าคงไม่ตีครอบ "สัพพัญญุตญาณ" เข้าไปด้วย
    เกี่ยวข้องกับ ปาฎิหาริย์ ๓

    ฌาน ๑๐ ที่หมายถึง พระทศพลญาณ ๑๐ สำหรับ ฌาน ๑-๙ กำลังศึกษา ซึ่งทั้งสอง ล้วนเกี่ยวพันโดยฐานะของ "พระ สัพพัญญุตญาณ" คือ ญาณ ที่เป็น ฌาน

    แต่ไม่มีโดยทั่วไปนอกจากพระองค์ใน พระอภิธรรม เจ็ดคัมภีร์ อย่างนั้นเชียว ใน พระธาตุกะถา เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พิจารณายากที่สุดในทุกๆพระธรรมคำสั่งสอน ตราบเท่าที่เคยได้ยินได้เห็นมา

    ธาตุกถา
    สงฺคโห

    การสงเคราะห์ คือรวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นรูปธรรมด้วยกัน

    อสงฺคโห

    การไม่สงเคราะห์ คือไม่รวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น ไม่สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นนามธรรม

    สงฺคหิเตน อสงฺหิตํ

    หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมฝ่ายอื่น เช่นอายตนะธาตุฝ่ายรูป ที่สงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์ได้ แต่สงเคราะห์เข้ากับนามขันธ์ไม่ได้

    อสงฺคหิเตน สงคหิตํ

    หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกัน เช่น นามขันธ์ไม่สงเคราะห์เข้ากับ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูป แต่สงเคราะห์เข้ากับอายตนะ ธาตุฝ่ายนามด้วยกันได้

    สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ

    หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกันทั้งหมด เช่นขันธ์ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูปหรือธรรม ก็สงเคราะห์เข้ากันได้ตามประเภททั้งหมด

    อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ

    หมวดธรรมที่สงเคราะห์กันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมต่างฝ่ายกันทั้งหมด เช่น รูปขันธ์สงเคราะห์เข้ากันกับนามขันธ์ไม่ได้ ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับอายตนะธาตุฝ่ายนามทั้งหมด

    มสฺปโยโค

    ความสัมปโยคประกอบกัน คือความมีเกิด ดับ มีวัตถุที่ตั้งและมีอารมณ์เป็นสภาค คือมีส่วนร่วมเป็นอันเดียวกัน เช่น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ วิญญาณขันธ์ก็มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ได้ ส่วนรูปขันธ์ไม่มีสัมปโยคประกอบกันกับอะไรอื่น

    วิปฺปโยโค

    ความวิปโยค ไม่ประกอบ คือพรากกัน เพราะเป็นวิสภาคผิดส่วนกัน จึงต่างเกิด ต่างดับ เป็นต้น เช่น รูปขันธ์มีวิปโยคไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ นามขันธ์ ๔ ก็มีวิปโยคไม่ประกอบกับรูปขันธ์

    สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ

    หมวดธรรมที่สัมปยุต ประกอบกันได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับหมวดธรรมประเภทอื่น เช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่สัมปยุตประกอบกับนาม ๔ ได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์

    วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ

    หมวดธรรมที่วิปปยุตไม่ประกอบกันแล้ว ก็สัมปยุต ประกอบกันอีก หมวดธรรมเช่นนี้ไม่มี เพราะนามขันธ์ ๔ วิปปยุตไม่ประกอบกันกับรูปขันธ์แล้ว ก็ไม่สัมปยุตประกอบกันกับธรรมอื่นนอกจากพวกของตน รูป และนิพพานเป็นวิปยุตไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ แล้วก็ไม่สัมปยุตกับธรรมอื่น

    อสงฺคหิตํ

    หมวดธรมที่ไม่สงเคราะห์เข้ากัน คือเมื่อกล่าวถึงบททั้งหลายที่ละเว้นไว้ ย่อมประมวลความโดยย่อว่า หมวดธรรมที่สัมปยุตประกอบกันก็ดี หมวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกันก็ดี ย่อมสงเคราะห์เข้ากันได้บ้าง สงเคราะห์เข้ากันมิได้บ้าง เช่น ไปสวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์ คือพวกนามขันธ์ ๔ ก็สงเคราะห์เข้ากันกับนามขันธ์ทั้ง ๔ แต่ไม่สงเคราะห์เข้ากันกับรูปขันธ์

    เรื่องนี้ลึกซึ้งและยากมากๆ ถ้าไม่มีบัญญัติไว้ ว่าพระสูตรนั้นเข้ากับพระสูตรนี้ ดึงพระสูตรนี้ ขัดพระสูตรนั้น เสร็จแน่นอน เพราะต้องยกมาที่ละอย่างและต้องใช้ความเพียรพยายามมาก


    ไม่ใช่ของง่าย พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ต่อให้ท่องจำได้หมดเหมือนพระไตรปิฎกธร ก็ใช่ว่าจะมีความสามารถแยกแยะได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อีกประการหนึ่ง ปรวาทีพึงถูกถามอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ทศพลญาณนั้นมีวิตกหรือมีวิจาร สักแต่ไม่มีวิตก
    มีแต่วิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นโลกียะ เป็น
    โลกุตตระ ดังนี้


    เมื่อรู้ก็จักตอบว่า ญาณ ๗ ตามลำดับ มีวิตกมีวิจาร.
    จักตอบว่า ญาณสองอื่นจากญาณ ๗ นั้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร.

    จักตอบว่าอาสวักขยญาณพึงมีวิตกมีวิจาร พึงสักว่าไม่มีวิตกมีวิจาร.

    จักตอบว่า ญาณ๗ ตามลำดับอย่างนั้น เป็นกามาวจร ญาณสองจากนั้นเป็นรูปาวจร ญาณหนึ่งสุดท้ายเป็นโลกุตตระ.

    จักตอบว่า ส่วนสัพพัญญุตญาณ มีวิตกมีวิจารด้วย เป็นกามาวจรด้วย เป็นโลกิยะด้วย.


    บัณฑิตรู้การพรรณนาตามลำดับบทในที่นี้ ด้วย
    ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบทศพละเหล่านี้ว่า ได้กล่าวแล้วตามลำดับนี้
    เพราะพระตถาคตทรงเห็นภาวะมีกิเลสเป็นเครื่องกั้น อันเป็นฐานะและอฐานะ
    แห่งการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะและการไม่บรรลุ ของเวไนยสัตว์ ด้วยฐานา
    ฐานญาณก่อนทีเดียว

    เพราะทรงเห็นฐานะแห่งความเห็นชอบเป็นโลกิยะ และ
    ทรงเห็นความเป็นฐานะแห่งความเห็นผิดดิ่งลงไป

    ลำดับนั้น ทรงเห็นภาวะมีวิบากเป็นเครื่องกั้นของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยกรรมวิปากญาณ

    เพราะทรงเห็นเหตุปฏิสนธิสาม

    ทรงเห็นภาวะมีกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยสัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ

    เพราะทรงเห็นความไม่มีแห่งอนันตริยกรรม

    ทรงเห็นจริยพิเศษเพื่อทรงแสดงธรรมที่สมควรแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีความอาลัยอย่างนี้ ด้วยอเนกธาตุนานาธาตุญาณ

    เพราะทรงเห็นความเป็นไปต่างๆแห่งธาตุ ลำดับนั้น

    ทรงเห็นอธิมุตติของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยนานาธิมุตติกตาญาณ เพื่อแม้ไม่
    ทรงประกอบความเพียรก็ทรงแสดงพระธรรม ด้วยอำนาจแห่งอธิมุตติ ลำดับ
    นั้น

    เพื่อทรงแสดงธรรมตามสติ ตามกำลัง แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติ
    ได้เห็นแล้วอย่างนี้

    ย่อมทรงเห็นความที่สัตว์มีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ด้วยอินทริย
    ปโรปริยัตติญาณ

    เพราะทรงเห็นความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น
    เป็นธรรมชาติแก่กล้าและอ่อน ก็ถ้าความที่เวไนยสัตว์เหล่านั้นมีอินทรีย์ที่
    กำหนดรู้แล้วอย่างนี้หย่อนและยิ่ง ย่อมอยู่ในที่ไกล เพราะความที่เวไนยสัตว์
    เป็นผู้ชำนาญในฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น แต่เข้าถึงได้รวดเร็ว ด้วย
    อิทธิพิเศษนั้นเทียว และครั้นเข้าถึงแล้ว ก็เข้าถึงชั้นบุรพชาติ ของสัตว์เหล่า
    นั้น ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

    เมื่อทรงเห็นสมบัติจิตพิเศษ ด้วยเจโตปริยญาณ อันทรงบรรลุโดยอานุภาพทิพยจักษุ ชื่อว่า ทรงแสดงธรรม เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะความที่พระองค์ทรงปราศจากความหลุ่มหลงด้วยปฎิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • five02.jpg
      five02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.5 KB
      เปิดดู:
      40
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไปละ ขอเวลาไปพิจารณาธรรมต่อก่อน รู้เพียรรู้พัก
    ขอให้ท่านทั้งหลายฯเจริญในธรรม

    --------------------------------------------------------------------------------------------
    ท่านจะเข้าใจจิตใจของเรา ถ้ามีจิตรับรู้ว่าสัตว์ที่ถูกฆ่าถูกเบียดเบียน ในทุกๆวันนั้นได้ประสบกับความทุกข์ทนทรมานเพียงไร?
    https://youtu.be/d9hJ82ljx7A
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  7. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ก่อนจะคุยกันเรื่องฌาณ....ก็ต้อง เอาคำตรัสของพระพุทธเจ้ามาก่อนว่า พระองค์ แสดง องค์ของฌาณ(ขอบเขต รูปร่าง ลักษณะที่มีอะไรประกอบกัน ถึงเรียกว่า ฌาณ)

    จะได้ไม่เถียงกัน แล้วค่อยแสดงความคิดเห็นของแต่ละคน มา ตามที่ตนเอง เข้าใจ
     
  8. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    องค์ฌาณ..มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์

    ทำไมถึงเรียกว่า องค์ฌาณ...นั่นเพราะ หมายความว่า ฌาณต้องมี 5 อย่างนี้ เริ่มต้นเป็นส่วนประกอบ ถึงจะเรียกว่า เริ่มตั้งต้นในฌาณ

    ขออธิบายดังนี้......ว่า ในองค์ฌาณที่ครบ5 ใครรู้....ก็สติรู้...สติคืออะไร ก็คือสติที่กำลังฝึกสติปัฏฐานสี่...นั่นเอง....สติรู้ว่าครบ คือสติมีสมาธิมีความสงบในตน(พยายามเป็นเอคกัคตารมณ์)...ก็โดยสะสมความสงบแห่งสติ เอามาเพื่อดูกายเวทนาจิต...
    ในกายเวทนาจิต..นี้แหล่ะ คือ..ที่มี วิตก วิจาร ปีติ สุข...รู้และระงับไปตามลำดับ

    ดังนั้น แค่กำหนดให้สติ ดูรู้ทัน ทั่วกายได้.. คือรู้ทัน กายเวทนาจิต...ก็คือรู้ทัน วิตก วิจาร ปีติ สุข.....โดยมีตัวสติ เป็นตัวเอกัคคตารมณ์ ได้...นี่คือ กำลังเข้าฌาณ เริ่มต้นแล้วนั่นเอง

    ทีนี้ การระงับองค์ฌาณ จากหยาบ ไปละเอียด..ก็คือ สติสงบจน วิตกหาย วิจารหาย ปีติหาย สุขหาย จนเหลือเพียง ตัวสติรู้ตัวเดียว ก็จะเรียกว่า เอกัคคตารมณ์...โดยตัวรุ้ นั่นเอง..ตามลำดับ องค์ฌาณ 1 2 3 4...ไป

    มันไม่น่าจะเข้าใจ ยากตรงไหนเลยนะครับ เรื่องฌาณ
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ท่าน sianns ปฏิบัติยังไงครับ
     
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    จะเรียกว่าตนเองทำฌาณ...ก็คือ ฝึกเอาสติ มาดูกาย พร้อมกันทั่วร่าง

    เพื่อให้สติ ดูรู้ทัน กายทั้งหมด เ วทนาทั้งหมด จิตหรือความคิดทั้งหมด...เพื่อให้สติรู้ ทัน ว่ามี วิตก(เวทนากาย) วิจาร(ความคิด) ปีติ.ความสงบที่แยกสติออกมาดูได้ครบองค์ สุขคือ ความสมาธิที่ได้จากความสงบจากการที่สติแยก ออกมาเป็นผู้ดู(เอกัคคตา)

    เนี่ย ถ้าฝึกสติ แต่แยกออกมาดูได้ไม่ครบ องค์ทั้ง5... ก็อย่าไปเรียกว่าเป็น ฌาณเลย

    เรื่อง มันก็ มีอยุ่เพียงแค่นี้เองครับ

    ถ้าใน การนั่งสมาธิ...วิตก(เวทนากาย)วิจาร(ความคิดหรือลม) ปีติคือ(กายใจสงบเท่ากัน)สุขคือ(ผลจากที่กายใจสงบ) เอกัคคตาคือ( เหลือตัวรู้เพียวตัวเดียว)

    มันก็ไม่ต่างกันนัก ในองค์ฌาณ

    แต่มันต่างกันใตรงที่ฝึกสติ หรือเปล่า....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤษภาคม 2015
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    คุณ sianns ปฏิบัติ (ทำยังไง) ครับ :d(deejai)
     
  12. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ทีนี้ ในการนั่งสมาธิ ถ้าจะฝึกวิปัสสนา เพื่อดูไตรลักษณ์ ถึงถอน สติมา ที่ฌาณสอง เพื่อรับรู้ วิจาร....แต่ถ้าทนได้ในเวทนา ก็ถอยมาที่ มีวิตกด้วย....

    แต่สติปัฏฐานแบบ ไม่นั่ง คล้ายๆ การเดินจงกรม แบบที่ผมฝึกรู้ตัวดูทั่วกายทุกอิริยาบท..มันเลยครอบคลุม หมดทั้งสี่ฐาน เลยทีเดียว
     
  13. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ผมฝึกแบบ แยกจิตดูกาย 45% ครับ...
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    อ้อ คุณทำด้วยการเดินหน้าถอยหน้าเอายังงั้นหรือครับ
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อ้อ ทำแบบแยกจิตดูกาย 45 % แล้วที่เหลืออีก 55 % เอาไปทำอะไรหรอครับ
     
  16. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ม่าย ผม ลืมตา แยกจิตออกไปนอกกาย แล้วยกขึ้นไป45% ทางด้านหลัง ของตัวเอง แล้วสติไปกำกับในจุดที่เป็นตัวดู ด้านหลังด้วย สติด้านหลังที่ยกขึ้น มันดูกายจริง ที่ทำ งานอยู่ ทุก อิริยาบทครับ

    สติผมไม่อยู่ในกายครับ ผ มฝึกแบบแยกออก ไปวางข้างนอกกายครับ..:cool:
     
  17. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อิอิ มีแซว นี่แค่เริ่มต้นครับ พอชำนาญ ผมสามารถดูร่างจริง ดูกายเวทนาจิต...ได้ทุกมุม ทุกองศา นั่นแหล่ะครับ:cool:

    มันอยู่ที่ ความชำนาญในการ ฝึกแยกออก ฝึกเข้ามารวม ออก เข้า จน ตัวคิด ก็คิดไป ตัวรู้ จะตามทันไปรู้หรือไม่....อย่างนี้ ตัวคิดและตัวดู...จึงแยกกัน ออกมาให้เรา ได้รู้ได้เห็นความจริง

    ผมถึงบอกว่า ผมรู้ทันความคิด รู้ทันจนตามไปเห็น ตัวใจที่คิด...รู้ทุกขั้นตอนของกระบวนการเกิดความคิด...นั่นเพราะ ตัวรู้ มัน ดู ทัน ครับ
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อ้อ :eek: แบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ทำนองนั้น
     
  19. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อ่านว่า 45 % องศาครับ อิอิ อย่าแปลว่าเปอเซน:cool:

    ผมหา เครื่องหมาย องศา ไม่เจอน่ะ
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    คุณนำวิธีปฏิบัติของคุณดังกล่าวไปตั้งเป็นกระทู้แนะนำภาคปฏิบัติสิครับ ดูว่าพอมีใครทำตามคำแนะนำนั่นได้บ้าง (deejai)
     

แชร์หน้านี้

Loading...