ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Pleased, 30 พฤษภาคม 2009.

  1. Pleased

    Pleased Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    มาแอบดูคะ
     
  2. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ไม่ต้องเตรียมอะไร ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
    เตรียมกายใจ พร้อมสร้างบุญกุศลกรรม
    หากสะดวกในวันดังกล่าว เชิญจองที่นั่งได้เลยครับ
     
  3. Taksamun

    Taksamun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2008
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +180
    พร้อมทั้งกาย และใจ ขอจอง 1 ที่ค่ะ
    คุณ pleased และน้องไล้ ไม่ไปด้วยกันหรือจ๊ะ
     
  4. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    ไม่ได้เข้ามาซะนาน มัวแต่ไป Clear งานกว่าจะจบ

    เคยถาม.. แบบซื่อๆๆ นะเรื่องนกยูงทีนึงว่าบินช้าจะตายทำไมองค์นี้ถึงไม่เอาสัตว์เทพอย่างอื่นละ?
    .. บอกว่าช้าแต่การกางปีกเต็มที่ของนกยูงสามารถป้องกันได้มากกว่าพาหนะชนิดอื่นและนกยูงทำลายสัตว์มีพิษได้ เก่งมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2009
  5. Pleased

    Pleased Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    ต้องขออนุญาตก่องหง่า
     
  6. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    จากที่คุยกันว่าจะไปด้วยแต่ไม่สะดวกไปกับท่านเพราะหลวงพ่อที่ข้าพเจ้านับถือไปด้วยก็เลยต้องเอาคนขับรถหลวงพ่อไป+เพื่อนข้าพเจ้าตามไป

    พวกเราไปดูงานเพื่อที่จะสร้างพระพุทธองค์อีก 1 องค์ไว้ที่สำนักสงฆ์หนองบอนบุญญาราม อ. พนัสนิคม จ. ชลบุรึ

    ปล. ท่านอย่าลืมส่งแผนที่ให้ด้วยเน้อ สาธุ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2009
  7. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    เราก็ไม่ได้ท้อถือว่าเป็นบททดสอบราคาแพง อย่ามองแค่ผิวเผิน เราไม่ใช่ ..."เด็กคนนี้หลอกง่ายนะ"
    อย่าคิดว่าเราไม่เข้าใจด้วย ช่วงนี้เลยต้องขยันเรียนเพิ่มเติมจะได้ไม่โง่ไง?
    :z13แต่ตอนนี้ไปนอนดีก่า...ง่วงแง้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2009
  8. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    แผนที่เดินทาง

    [​IMG]


    กำหนดการเบื้องต้น
    06.00 น. รอพบกันที่จุดนัดพบหน้าห้าง Big C วงศ์สว่าง
    06.30 น. รถออกเดินทาง
    08.30 น. ถึงสำนักสงฆ์ป่าวชิรธรรม อ. บ้านแหลม จ. เพชรบุรี
    08.45 น. ทำพิธีถวายพระประธาน
    09.09 น. ทำพิธีเบิกเนตรพระชัยพุทธมหานาถ
    10.00 น. เดินทางออกจากวัด
    11.00 น. แวะเที่ยวดอนหอยหลอด
    14.00 น. กลับกรุงเทพฯ
    16.00 น. ถึงกรุงเทพฯ

    กำหนดการยังไม่เป็นทางการ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง โดยจะแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันครับ

    สำหรับรถที่จะใช้เป็นพาหนะ เป็นรถตู้จำนวน 2 คัน ท่านใดมีความประสงค์จะเดินทางในครั้งนี้
    สามารถจองล่วงหน้า ณ บัดนี้ ได้เลยครับ

    คนที่ 1 คุณภราดรภาพ
    คนที่ 2 คุณกิตติ
    คนที่ 3 แม่เล็ก
    คนที่ 4 แม่ตุ๊กตา
    คนที่ 5 พี่ทิพย์
    คนที่ 6 พี่นุช
    คนที่ 7 ลุงนพ
    คนที่ 8 คุณวีณา
    คนที่ 9 ลูกสาวคุณวีณา
    คนที่ 10 คุณพิมพ์
    คนที่ 11 คุณรุจนี
    คนที่ 12 คุณชนัม
    คนที่ 13 คุณอ้อ

    จำนวน 28 ที่นั่ง
    จำนวนยอดจองล่าสุด 13 ท่าน
    เหลือที่นั่ง 15 ที่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • small-map.jpg
      small-map.jpg
      ขนาดไฟล์:
      29 KB
      เปิดดู:
      1,123
    • big-map.jpg
      big-map.jpg
      ขนาดไฟล์:
      29 KB
      เปิดดู:
      84
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2009
  9. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    6.00
     
  10. จัมโบ้

    จัมโบ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    228
    ค่าพลัง:
    +334
    ขอไปด้วยนะค่ะ จัมโบ้ 1 ที่
    คุณไพวรรณ 1ที่
    ขอบคุณมากค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2009
  11. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    กำหนดการเบื้องต้น
    06.00 น. รอพบกันที่จุดนัดพบหน้าหมู่บ้าน ลัดลารมย์ ปิ่นเกล้า

    06.30 น. รถออกเดินทาง
    08.30 น. ถึงสำนักสงฆ์ป่าวชิรธรรม อ. บ้านแหลม จ. เพชรบุรี
    08.45 น. ทำพิธีถวายพระประธาน
    09.09 น. ทำพิธีเบิกเนตรพระชัยพุทธมหานาถ
    10.00 น. เดินทางออกจากวัด
    11.00 น. แวะเที่ยวดอนหอยหลอด
    14.00 น. กลับกรุงเทพฯ
    16.00 น. ถึงกรุงเทพฯ

    กำหนดการยังไม่เป็นทางการ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง โดยจะแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันครับ

    สำหรับรถที่จะใช้เป็นพาหนะ เป็นรถตู้จำนวน 2 คัน ท่านใดมีความประสงค์จะเดินทางในครั้งนี้
    สามารถจองล่วงหน้า ณ บัดนี้ ได้เลยครับ

    ยินดีต้อนรับคุณจัมโบ้ และคุณไพวรรณ

    คนที่ 1 คุณภราดรภาพ
    คนที่ 2 คุณกิตติ
    คนที่ 3 แม่เล็ก
    คนที่ 4 แม่ตุ๊กตา
    คนที่ 5 พี่ทิพย์
    คนที่ 6 พี่นุช
    คนที่ 7 ลุงนพ
    คนที่ 8 คุณวีณา
    คนที่ 9 ลูกสาวคุณวีณา
    คนที่ 10 คุณพิมพ์
    คนที่ 11 คุณรุจนี
    คนที่ 12 คุณชนัม
    คนที่ 13 คุณอ้อ
    คนที่ 14 คุณจัมโบ้
    คนที่ 15 คุณไพวรรณ


    จำนวน 28 ที่นั่ง
    จำนวนยอดจองล่าสุด 15 ท่าน
    เหลือที่นั่ง 13 ที่
     
  12. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ประกาศ วันเดินทางถวายพระประธานและผ้าป่า

    ในวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2552
    รถออกเวลา 6.00 - 6.15 น.
    สถานที่ ลานหน้าหมู่บ้านลัดลารมย์ ปิ่นเกล้า (ปากทางเข้าหมู่บ้าน หน้าป้อมยาม)
    ต. บางคูเวียง อ. บางกรวย จ. นนทบุรี แผนที่

    [​IMG]

    ข้อสังเกตุ
    1) เส้นทางหลัก คือ ถนนกาญจนาภิเษก หรือวงแหวนรอบนอก
    2) อยู่ตรงข้ามกับ เทสโก โลตัส บางใหญ่
    3) ก่อนถึงที่หมาย สังเกตุ ป้ายปั้มน้ำมัน ปตท. (ปั้ม jet เดิม) ถัดจากปั๊ม ปตท. ประมาณ 100 ม. จะถึง หมู่บ้านพฤกภิรมย์ก่อน ถัดไปอีก 200 เมตร ก็จะถึง หมู่บ้านลัดดารม์ ปิ่นเกล้า (จะมีป้ายตัวโตๆ บอกไว้)

    กำหนดการเบื้องต้น
    06.00 - 0615 น. รอพบกันที่จุดนัดพบลานหน้าหมู่บ้าน ลัดลารมย์ ปิ่นเกล้า
    06.30 น. รถออกเดินทาง

    08.30 น. ถึงสำนักสงฆ์ป่าวัชรธรรม อ. บ้านแหลม จ. เพชรบุรี
    08.45 น. ทำพิธีถวายพระประธาน
    09.09 น. ทำพิธีเบิกเนตรพระชัยพุทธมหานาถ
    10.00 น. เดินทางออกจากวัด
    11.00 น. แวะเที่ยวดอนหอยหลอด
    14.00 น. กลับกรุงเทพฯ
    16.00 น. ถึงกรุงเทพฯ

    หากท่านใดมีข้อสงสัย สอบถามได้ที่ 081 - 808 6695 คุณภราดรภาพ
     
  13. pornnarai

    pornnarai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +20
    ขอให้ ได้บุญมาเยอะๆ และเอาบุญมาฝากด้วยครับ
     
  14. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    พุทธทาสกับมหายาน (เซ็น)
    [​IMG]
    [SIZE=-1]สัมภาษณ์ ธีรทาส
    ตีพิมพ์บางส่วนใน เสขิยธรรม ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๘ เดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๓๖
    ภาคสมบูรณ์ ตีพิมพ์ที่ สารสยาม ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๘, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๓
    ขอบคุณ เว็บไซต์เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย (ธรรมานุรักษ์)[/SIZE]
    "ธีรทาส" หรือคุณธีระ วงศ์โพธิ์พระ เจ้าของงาน ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานของปราชญ์มหายานท่านสำคัญ ๆ ของเมืองไทย และรู้จักมักคุ้นกับท่านพุทธทาสเป็นอย่างดีในแง่การศึกษาทางมหายานวิทยา ปัจจุบัน "ธีรทาส" ปักหลักใช้โรงเจแห่งหนึ่งย่าน คลองเตยเพื่อเผยแพร่ธรรม

    อาจารย์ได้คุยกับท่านพุทธทาสเรื่องเซ็น เรื่องมหายานอย่างไรบ้าง
    ผมพบท่านพุทธทาสที่เชียงใหม่ เมื่ออายุ ๒๓-๒๔ และที่กรุงเทพฯ ตอนนั้นท่านมาอบรมผู้พิพากษาที่กรุงเทพฯ ทุกปี มาทีหนึ่งก็เดือนหรือเดือนกว่า ผมติดตามบริการท่าน
    ตอนพบท่านท่านก็ดีใจ ผมบอกท่านว่า สูตรของเว่ยหล่าง ที่ท่านอาจารย์แปล เตี่ยสอนผมตั้งแต่อายุ ๘-๙ ขวบแล้ว ท่านก็แปลกใจ "๘-๙ ขวบ เตี่ยสอน สอนยังไง" ผมก็ท่องโศลก "กายคือต้นโพธิ์ ใจคือกระจกเงาใส..." ให้ฟัง ท่านก็ถามต่อว่า "ทำไมเมืองไทยรู้เรื่องเซ็นตั้งแต่โน่นเหรอ" ผมบอก "ใช่ เขามาก่อนเตี่ยผมแล้ว อาจารย์ ที่มาแล้วสอนไม่ได้ ไม่อาจถ่ายทอดเป็นภาษาไทย เพราะพูดจีนกลาง ตอนนั้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ตอนปลาย จีนกลางใช้ไม่ได้ รวมทั้งแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน" มีพระอาจารย์เซ็นมาจากเมืองจีน ๓ องค์ ยังค้นชื่อที่แน่ชัดไม่พบ แต่พอจะได้หลักฐานเค้ามูลบ้างแล้ว พวกนี้มาถึงก็ปลงสังขารตกว่า ถ้าสอนได้ก็สอน สอนไม่ได้ก็เอาตัวรอดดับขันธ์ไป ไม่กลับเมืองจีน นี่รุ่นเก่าๆ บอกต่อๆ มาว่า อาจารย์ ๓ องค์หายไปในเมืองไทยได้อย่างไร
    ๑. รูปหนึ่งไปนั่งดับแห้งตายอยู่ในถ้ำเขาน้อย ท่าม่วง (กาญจนบุรี) พี่สาวผมทันเห็นองค์นี้ตอนอายุ ๙ ขวบ ช่วงนั้นฝนไม่ตกมา ๓-๔ ปี ชาวบ้านหาว่าหลวงพ่อแห้งที่อยู่บนถ้ำ ทำให้ฝนไม่ตก จึงอัญเชิญมาเข้ากองฟืนซะ แต่ศพไม่เน่า เพราะเซ็นเก่งเรื่องนี้ เขามีสูตรวิธีทำได้ แต่พวกฉันไม่กล้าแปล เพราะกลัวคนฆ่าตัวตาย
    ๒. หลวงพ่อกวงโพธิ์ อยู่ในถ้ำเมืองกาญจน์ มีพระธุดงค์มาเล่าให้ฟังว่า ธุดงค์เข้าไปในแดนกะเหรี่ยง มีกะเหรี่ยงที่พูดภาษาไทยได้บอกว่า มีถ้ำแปลก เขาบอกว่าคนนั่งตาย นอนตาย ตัวแห้งแข็ง พระท่านก็สงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร เข้าไปแล้วไม่ออก (เรื่องนี้ ในฝ่ายเซ็นมีคำว่า "ป่าช้าเซ็น" เข้าไปแล้วไม่ออก หมายถึงตั้งใจเข้าไปตาย) ท่านก็เลยให้กะเหรี่ยงคนนั้นพาไป และถ่ายรูปหลวงพ่อกวงโพธิ์ออกมาได้ ศพนั่งแห้งจนนึกว่าปั้น แทบไม่น่าเชื่อ เรื่องนี้ทำให้พอจะจับเค้าได้ว่า สมัยก่อนพระมหายานมาเมืองไทย ก็จะเข้าเมืองกาญจน์หมด
    ๓. อีกองค์หนึ่ง มีเชื้อพระวงศ์ชื่ออะไรก็จำไม่ได้ บอกว่า ปู่ของเขาแล่นเรือออกไปทางสมุทรปราการ ยิงนก ตกปลาเล่น พอ ลองเอากล้องส่องทางไกล ไปเจอพระนั่งนิ่งอยู่ไกลๆ อีก ๕ วันกลับมา ก็ยังเห็นพระนั่งอยู่อย่างนั้น จึงแวะไปดู สืบรู้ว่าเป็นพระมาจากเมืองจีน ท่านบอกว่าตั้งใจจะลาโลกแล้ว เพราะเจตนาจะมาสอนธรรมในเมืองไทย แต่ไปไม่รอด เพราะติดเรื่องภาษา เจ้าองค์นั้นจึงนิมนต์หลวงพ่อไปอยู่กรุงเทพฯ แล้วบอกว่าจะหาช่วยวิธีถ่ายทอดธรรมะให้ แต่อยู่ได้ไม่ถึง ๒ อาทิตย์ ท่านก็บอกว่าอยากจะกลับที่เดิม ไม่ช้าพระรูปนั้นก็มรณภาพไปนี่เป็น ๓ องค์ที่ได้เค้าว่าเป็นพระเซ็นแน่ๆ

    ท่านพุทธทาสรับฟังแล้วว่าอย่างไรบ้าง
    ผมก็เล่าให้ท่านฟังว่า เตี่ยผมเรียนเซ็น สายอุบาสกมาจากเมืองจีน มาเมืองไทย ก็ไม่อาจถ่ายทอดหนังสือที่หอบมาด้วยได้ เพราะ ว่าหนังสือรุนแรงเกินไป สภาพการณ์ทั่วไปยังรับไม่ได้ คุณเสถียร โพธินันทะ ยังมองเลยว่ายุคนั้นยังรับไม่ได้ เพราะถือเป็นของต่างด้าว มาอยู่ในสมาคมต่างด้าว เอาออกไปไม่ได้ เลยรอกาลเวลาเป็นขั้นตอน
    เมื่อท่านแปล สูตรของเว่ยหล่าง แล้วก็มา แปล คำสอนฮวงโป พอแปลเสร็จ เมื่ออบรมผู้พิพากษาก็เอามาด้วย มาหาหมอตัน ม่อ เซี้ยง ตรวจภาษาจีนทุกตัวอักษร ๑ เดือนเต็ม ทุกๆ คืนจากสี่ทุ่มถึงตีหนึ่ง ฉัน ๓ คน คือหมอตัน ม่อ เซี้ยง เจ้าคุณพุทธทาส และฉัน จะมาตรวจทุกตัวอักษร หมอตัน ม่อ เซี้ยง อ่านก่อนแล้วแปล เจ้าคุณฯ ก็เอามาเทียบ ฮวงโป จึงแปลได้ดีที่สุด ใกล้ภาษาจีนที่สุด เทียบตรวจกันอยู่เดือนกว่าๆ จึงเสร็จ กลางวันท่านอบรมผู้พิพากษา กลางคืนมาที่วัดปทุมคงคา นี้เป็นความจริง แต่ตอนนั้นไม่ได้เอ่ยถึงชื่อหมอตัน ม่อ เซี้ยง ฉันมาจัดพิมพ์ถึงได้จารึกไว้ ส่วนต้นฉบับ ฮวงโป หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ (สวัสดิวัตน์) เอาไปให้เจ้าคุณฯ แล้วหมอตัน ม่อ เซี้ยง แปลเป็นภาษาไทยให้เจ้าคุณฯฟัง ท่านก็ยังฉงน ผม ก็แก้ไขเพิ่มเติมบางอย่างว่าอย่างนี้ๆ เจ้าคุณฯ ก็งงว่า "ธีระรู้ได้อย่างไร" ผมบอก "เตี่ยผม อธิบายให้ฟังตั้งแต่เก้าขวบ สิบสองขวบ แต่ผมรู้แบบนกแก้วนกขุนทอง ท่องเป็นคาถากันผี ผู้ใหญ่เขาบอกแบบนั้น"

    อาจารย์เคยได้ยินไหม ที่ท่านพุทธทาสพูดว่าทำไมถึงมาสนใจในเรื่องของเซ็น
    ท่านมองว่าปรัชญาขงจื๊อเป็นขั้นโลกีย์ ขงจื๊อเป็นโลกียปราชญ์ที่พระเจ้าแผ่นดินจีนทรงนับถือทุกยุคทุกสมัย ยังไม่มีนักปราชญ์คนใดในโลกนี้ ที่พระเจ้าแผ่นดินทุกราชวงศ์เอาหมด มองโกลเข้ามาก็เอา เราต้องยอมรับ ว่าท่านมีความเป็นอมตะ คำพูดนี้เป็นความจริง แสดงว่าขงจื๊อต้องมีอะไรดี ในขั้นโลกีย์ขงจื๊อปูฐานไว้ให้จีนดีมาก ส่วนภาคโลกุตตระ เต๋าเยี่ยม กึ่งๆโลกุตตระ ดูถูกไม่ได้ ท่านบอก อย่าดูถูก ท่านอบรมพระธรรมทูตแต่ละรุ่น ต้องเติมคำนี้ "คัมภีร์เต๋าเขาอย่าไปดูถูกนะ" ส่วนเซ็นนั้นมาทีหลัง
    ที่จริงเซ็นมาก่อนแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น พระเจ้าฮั่นเม่งตี่ ต้นตระกูลสามก๊ก อัญเชิญพระไตรปิฎก แล้วสร้างวัดม้าขาวเมื่อสองพันปีเศษ เป็นประวัติศาสตร์ที่ยอมรับกัน อันนั้นก็มีเซ็นปรากฏอยู่แล้ว และพวกฉันยังเชื่อว่าพุทธศาสนาเข้าสู่เมืองจีนตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าแล้ว ไปแบบพระธุดงค์ไม่เป็นทางการ มีประวัติศาสตร์อ้างอิงอยู่ อย่างในประวัติศาสตร์จีนสมัยเลียดก๊ก "เศ็กเกียม่อนี้ฮุดโจ้ว" นี้คือศากยมุนี สมัยเลียดก๊กทำไมถึงรู้จัก แสดงว่าชาติใหญ่มีความสัมพันธ์กันมาแต่โบราณ (ศาสนาพุทธ) จึงไปแบบพระธุดงค์ ไม่เป็นทางการ พระเจ้าฮั่นเม่งตี่อัญเชิญ (พระคัมภีร์) มาแปล เป็นเรื่องทางการ
    จากฮั่นเม่งตี่อีก ๕๐๐-๖๐๐ ปี ถึงมีโพธิธรรม นำนิกายเซ็น เอาบาตร จีวรของพระพุทธเจ้า หนีสงครามใหญ่ที่เผาอินเดียทั้งหมด โดยอ้อมแหลมมลายูมาไว้เมืองจีน เพราะมองดูว่าอินเดียจะถูกภัยสงครามใหญ่แน่นอน [อาจารย์เสถียร (โพธินันทะ) บอกว่า สงครามครั้งนั้นเป็นสงครามอิสลาม แต่ภาษาจีนบอกแค่ว่า "สงครามใหญ่"]
    เจ้าคุณพุทธทาสท่านมองเห็นคุณค่าของมหายาน แต่หาคนถ่ายทอดเป็นภาษาไทยไม่ได้ ท่านว่าได้พยายามบอกให้คนจีน ที่รู้ภาษาไทย (ให้ช่วย) เสร็จแล้วท่านไปเจอ สูตรของเว่ยหล่าง พระยาลัดพลีชลประคัลภ เอามาให้อ่าน (ฉบับภาษาอังกฤษ) อ่านดูก็ตกใจว่า "จีนมีของดี" แล้วมาเจอ คำสอนฮวงโป (ฉบับภาษาอังกฤษ) ยิ่งเชื่อมั่นใหญ่เลย
    ท่านบอกให้อาจารย์เสถียร บอกให้พวกผมพยายามแปลเป็นภาษาไทย เรายังไม่มีปัญญาเอาจีนมาเป็นไทย ต้องไปอาศัยมือฝรั่ง (หมายถึงหนังสือทั้งสองเล่มในภาษาไทย ท่านพุทธทาสถ่ายทอดมาจากฉบับภาษาอังกฤษอีกทีหนึ่ง)
    เมื่อก่อนนี้คนไทยมักจะดูถูกพระจีนว่า เป็น "พระกงเต็ก" ทำพิธีกรรม เผากระดาษ งมงาย เสร็จแล้วพอ สูตรของเว่ยหล่าง ออกไป ปัญญาชนไม่กล้าดูถูก ของดีจีนเขามี เราไม่อาจจะเอื้อมถึง ปัญญาของสามก๊ก เลียดก๊ก เป็นโลกียปัญญาที่สุดยอด จีนเก่งปรัชญาโลกีย์อยู่แล้ว

    ไม่ทราบว่า การที่ท่านพุทธทาสสนใจประวัติศาสตร์ของไชยา เป็นเหตุให้ท่าน สนใจมหายานหรือเปล่า อย่างการที่ท่าน สนใจเรื่องรูปปั้นพระอวโลกิเตศวร
    ใช่ ท่านอ่านจากหลักฐานภาษาอังกฤษ และมีระฆังใบหนึ่งขุดได้ที่ไชยา เดี๋ยวนี้ตัวจีนหายไปแล้ว เมื่อสี่สิบปีที่แล้ว ผมบอกอาจารย์ธรรมทาส (น้องชายท่านพุทธทาส) ว่า อย่าให้ระฆังตากฝน เสียดายตัวภาษาจีนว่า "ก๊ก ไถ่ มิ้ง อัง กวง เตี๊ยว โหว สุก" คำพูด นี้ผมเอามาให้หมอตัน ม่อ เซี้ยง ดู แกบอกว่า ระฆังนี้ต้องเป็นกษัตริย์พระราชทาน แต่เดี๋ยวนี้หนังสือจีนหายหมดแล้ว เพราะตากน้ำฝน ฉะนั้น กรุงศรีวิชัยจึงมีความสัมพันธ์กับจีน อันนี้คงเป็นเรื่องที่เร้าอารมณ์ท่านให้ศึกษาเรื่องมหายาน ท่านพุทธทาสมองว่ามหายานต่างจากเซ็นอย่างไร
    ท่านมองว่ามหายานทั้งหมดเป็นเรื่องงมงาย เป็นเทวนิยม ของผมนี่ก็เทวนิยมนะ แล้วปัจจุบันร้อยละ ๙๐ ในเมืองไทยก็เทวนิยม บวงสรวง กราบไหว้วิงวอน ขอโชคลาภ เจ้าคุณฯ ท่านมองว่าทั่วๆ ไปในมหายานเป็นเทวนิยม ยังมิใช่อเทวนิยม ไม่ใช่พุทธศาสนาจริงๆ เจ้าชายสิทธัตถะประสูติในดงเทวนิยมทั้งหมด บวงสรวง ฆ่าสัตว์ บูชายัญ กระทั่งฆ่าคน เสร็จแล้วท่านมองทะลุด้วยปัญญาที่เหนือเขา จึงเห็นว่านั่นขาดหลักวิชาการ งมงาย (ถือ) อารมณ์เกินกว่าเหตุผล ระยะยาว จะไปไม่รอด จึงหนีออกบวช ก็ไปตรัสรู้หลักธรรม อเทวนิยม อนัตตานิยม กรรมนิยม นิพพานนิยม อันนี้กำมือเดียว ฟังได้ทุกคน แต่ปฏิบัติทันทีไม่ได้หมดนะ เคยมีคนกล่าวเป็นโศลกเปรียบเทียบไว้ว่า คน ศึกษาธรรมมีมากเท่าขนสัตว์ แต่ที่บรรลุธรรมมีจำนวนแค่เขาสัตว์เท่านั้น แล้วท่านพุทธทาสชอบเจออาจารย์เสถียร โพธินันทะ เจอพวกผมทีไรมักจะถามทุกที เจออาจารย์เสถียรยิ่งชอบ ชอบถามเรื่องพระสูตร สรุปแล้วพุทธศาสนาของจีนที่บริสุทธิ์จริงๆ คือ มหาสุญญตาสูตร ชื่อเต็มๆ คือ มหาปรัชญาปารมิตาสูตร ๖๐๐ ผูก พระถังซำจั๋งแปลไว้เป็นภาษาจีน พุทธศาสนาไม่ใช่เทวนิยม เป็นอเทวนิยมตาม มหาสุญญตาสูตร
    ตอนแรก กษัตริย์หลี ซี หมิน (ถังไท่จง) ไม่สนพระทัย เพราะมองว่า จีนมีศาสนาขงจื๊อ เต๋า อยู่แล้ว ถ้าไปเพิ่มอีกจะปกครองยาก อีกเรื่องคือ พระองค์มองพุทธศาสนาผิดไป นึกว่าเป็นเทวนิยม เหมือนขงจื๊อ เหมือนเต๋า พระถังซัมจั๋งจับจุดได้ จึงทูลว่า พระอรหันต์ไม่เหมือนกับเต๋า เพราะเหนือบุญเหนือบาป ดับกิเลสตัณหาอุปาทานได้ ดังนั้น พุทธศาสนาจึงไม่ใช่เทวนิยม เป็น อเทวนิยม อันนี้เป็นประวัติศาสตร์

    แล้วที่ท่านพุทธทาสบอกว่า "เซ็นเป็นผู้ล้อมหายานเป็นผู้คัดค้านมหายาน"
    จริง อันนี้จริง คำพูดของเซ็นแทบทั้งหมด (ขอโทษเถอะ) เปรียบเทียบก็แบบทุบหม้อข้าว คือจะโจมตีพิธีกรรมที่งมงายจนเกินไป โจมตีการเอาหลักธรรมมาปฏิบัติอย่างไม่ถูกทาง เรื่องเทวนิยมก็ไม่พ้นจะหาเงิน แสวงลาภผล เพื่อปากเพื่อท้อง เทวนิยมที่สุดก็มาลงเอยที่วัตถุนิยม โลกเราที่ฆ่ากันทุกวันนี้ก็เพราะแย่งวัตถุนะ โบราณก็แย่งกัน จึงไปตรัสรู้ อเทวนิยม อนัตตานิยม สุญญตานิยม กรรมนิยม นิพพานนิยม

    นอกจาก สูตรของเว่ยหล่าง และ คำสอนฮวงโป แล้ว ท่านเอาอะไรจากมหายานอีกบ้าง
    ส่วนใหญ่เป็นประเภทเรื่องข้างเคียงเจ้าคุณฯมักจะจดหัวข้อสำคัญๆที่สนใจมาถาม เช่น เคยถามหมอตัน ม่อ เซี้ยง อาจารย์เสถียร ว่าฝรั่งอ้างอย่างนี้ถูกหรือเปล่า คัมภีร์นั้นมีอะไรบ้าง ว่าพระไตรปิฎกจีนมีหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้น แล้ว มหาสุญญตาสูตร เป็นแค่ผูกหนึ่งใน มหาปรัชญาปารมิตาสูตร ตอนนั้น ฉันลาออกจากงานประจำ จะมาตั้งกองแปล มหาปรัชญาปารมิตาสูตร เอาอย่าง กษัตริย์หลี ซี หมิน ซึ่งจำนนต่อพระถังซำจั๋ง จนตั้งกองแปลพระสูตรนี้ทั้ง ๖๐๐ ผูก โดยให้ทุนหลวง และใช้พระนักปราชญ์จีนถึง ๑,๐๐๐ องค์ร่วมกันแปลจากภาษาบาลี สันสกฤตเป็นภาษาจีน จึงสำเร็จ
    พวกฉันคิดว่าจะทำกัน ๓ คน โดยให้อาจารย์เสถียรแปลเป็นภาษาไทย ฉันคอยอัดเทป พอถอดเทปเสร็จ ก็เอาไปให้หมอตัน ม่อ เซี้ยง เกลาอีกทีหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วก็แปลได้แค่ผูกเดียวคือ กิมกังเก็ง(วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร) เพราะอาจารย์เสถียรตายเสียก่อน มีอีกเรื่องหนึ่ง ฉันขอพูดหน่อยเถิด ใครบอกท่านพุทธทาสจะไม่เกิด ผมเอาตามแบบมหายาน เขาเชื่อกันว่าท่านเป็นอรหันต์ ไม่เกิด เรื่องนี้มหายานว่าอย่างไร เซ็นว่าอย่างไร เห็นเหมือนกัน เป็นอรหันต์แล้วไม่กลับมาเกิดอีก แต่ว่าถ้าต้องการเกิด เกิดได้ไหม? ตรงนี้ขัดกัน เพราะมหายานบอกว่าได้ ถ้าต้องการ เพราะฉะนั้น ผมยังไม่เชื่อว่าท่าน พุทธทาสจะไม่เกิด เพราะท่านมีปณิธานอันยิ่งใหญ่ที่ยังทำไม่สำเร็จอยู่ คือ "สารานุกรม พุทธศาสนาภาษาไทย" ทำออกมาได้เล่มเดียวย่อๆ ภาษาคน ภาษาธรรม ท่านบอก ว่าเป็นงานชิ้นสุดท้าย ไม่รู้จะมีชีวิตทำหรือไม่ บอกกับผมอย่างนี้ หลักฐานมีพร้อมแล้ว ท่านให้ผมช่วยหา ปณิธานนี้ยังไม่เสร็จ ผมเชื่อว่าท่านจะต้องกลับมาเกิดอีก และผมก็ขอให้ท่านกลับมาเกิดอีก

    ท่านพุทธทาสจะชอบพูดว่า "การศึกษา ศึกษาเพื่อให้พ้นทุกข์ สิ่งที่ไม่ช่วยให้พ้นทุกข์ก็ไม่ศึกษา" ในด้านมหายานนี้ท่านให้ความสนใจเซ็นในแง่นี้หรือเปล่า
    ขอโทษ มหายานทั้งหมด ท่านดูถูกเลย แต่เซ็นนี่ท่านสนใจ เพราะเซ็นเข้ากับเถรวาทได้ โดยเฉพาะเรื่อง "สุญญตา" ของเราก็มีในหลักสูตรนักธรรมโท "วิโมกข์สาม" แต่ไม่มีอาจารย์สอนขยายความ ตอนที่คนโจมตีท่านพุทธทาสว่า สุญญตาไม่มีในพระไตรปิฎก เจ้าคุณนรฯ (เจ้าคุณนรรัตน์) บอกเลยว่า "ผิด เจ้าคุณฯ (หมายถึง ท่านพุทธทาส) ถูก" คือ มีวิโมกข์สามอยู่ เพียงแต่ไม่มีคนอธิบายเอง รุ่นก่อนก็ไม่มีคนอธิบาย เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์เป็นคนยืนยันว่ามี หาคนสอนไม่ได้ สุญญตาจึงขาดตอน เจ้าคุณฯ (ท่านพุทธทาส) พูดถูกแล้ว
    เซ็นเป็นสายสุญญตาโดยเฉพาะ เฉพาะ มหาสุญญตาสูตร นี้ เจ้าคุณฯ หลงเลย ฉันเคยฟังสรุปย่อๆ มาตอนอายุ ๑๔ ครั้งหนึ่ง หลังๆ อายุเกือบสามสิบ เคยฟังพระจีนสวด ๒-๓ ครั้ง เป็นปัญญาวิมุติล้วน แทบจะไม่มีเรื่องอภินิหาร (ขอโทษ) เรื่องงมงายแทบไม่มี สติปัฏฐานสี่ มรรคแปด โพธิปักขิยธรรม อยู่ในนั้นครบ
    ที่ถูกใจท่านพุทธทาสมากที่สุดคือ มหาสติปัฏฐานสี่ของไทยเรามี กาย เวทนา จิต ธรรม เขาบอกว่า พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ครบ แต่ไทยเน้นแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตาแทบไม่เคยได้พูด ยกเว้นแต่ที่เจ้าคุณพุทธทาส ยกมา ท่านเป็นคนบุกเบิกสุญญตา อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เราได้ยินกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตามหลักเซ็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสุดท้ายเป็นสุญญตา สามอย่างแรกแปลเหมือนกันคือ อนิจจังแปลว่าไม่ เที่ยง ทุกขังคือทนอยู่ไม่ได้ แต่เซ็นเติมไปอีกนิดว่า "ยึดมั่นเป็นทุกข์" ไทยไม่พูดคำนี้ ใช้แต่ว่า "ทนอยู่ไม่ได้" แล้วอนัตตา "ใช่ตัวใช่ตน ไม่มีตัวตน" แปลความหมายตรงกันทั้งสามคำ แต่เซ็นเติมว่า ถ้าเอา มหาสุญญตาสูตร เป็นหลัก สามอย่างนี้ยังเป็นโลกีย ธรรม ไม่ใช่โลกุตตระ เพราะอนิจจัง จิตยังปรุงแต่ง ทุกขังก็ยังปรุงแต่ง อนัตตาก็ยังปรุงแต่ง ต้องจิตหลุดพ้นจากความคิดปรุงแต่ง นั่นถึงจะเป็นสุญญตาเป็นนิพพาน ตราบใดยังอยู่ที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตเธอยังปรุงแต่ง จิตยังวนเวียนเกิดดับ ยังเป็นโลกีย์ ไม่เป็นโลกุตตระ จิตต้องหลุดพ้นจากกระแสดึงดูดของโลกีย์ จึงจะเป็นสุญญตา อันนี้เป็นสิ่งที่เร้าใจให้ท่านศึกษาเซ็น
    อย่างกายานุปัสสนานี้ สุดท้ายจิตจะต้องหลุดพ้นเป็นความว่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คุณพูดได้ แต่จิตคุณหลุดพ้นหรือยัง ถ้ายังไม่หลุดพ้นยังไม่เป็นความว่าง ยังไม่เป็นนิพพาน ต้องจิตหลุดพ้นเมื่อไรจึงเป็นสุญญตา นี้คือขันธ์ ๕ ตามแนวจิตว่าง อันนี้เจ้าคุณฯ สนใจที่สุด บอก "แหม น่าจะแปลคัมภีร์ชุดนี้" ท่านอธิบายด้วยภาพเด็กเลี้ยงวัว
    อีกคัมภีร์หนึ่งที่สำคัญมาก นอกจากเว่ยหล่าง แล้วยังมีเว่ยไห่ หลานศิษย์เว่ยหล่าง อาจารย์เสถียรแปลเป็นภาษาจีนแล้ว เสร็จตอนใกล้ๆจะตาย มีขุนฯอะไรก็ไม่ทราบ ขอเอาไปพิมพ์ดีดให้ แกก็ให้ไป ไม่ถามชื่อแซ่ ที่อยู่ จนบัดนี้ ฉันประกาศจนไม่ประกาศแล้ว สงสัยจะหายเข้าโลงตาขุนคนนั้นไปด้วย คัมภีร์นั้นชื่อ หุ่ยไห้ (มหาสาคร)
    ในวงการพุทธศาสนาไทย-จีน ฉันได้ยินมาว่า เขานับถือนักปราชญ์อยู่สามท่าน หนึ่ง หมอตัน ม่อ เซี้ยง พูดเสียงตามสาย สถานีวิทยุจีนทุกแห่ง บอกเราอยู่เมืองไทยต้องเคารพพระเจ้าแผ่นดินไทย สอง ต้องควร ใส่บาตรพระภิกษุสามเณร คนจีนถึงใส่บาตร พระทุกองค์บอกคนจีนใส่บาตรไม่น้อยกว่าคนไทย บุญคุณนี้อยู่ที่หมอตัน ม่อ เซี้ยง พูดเสียงตามสายทุกสมาคมจีน มาที่นี่ (โรงเจเป้าเก็งเต๊ง) ก็พูดอย่างนี้ จากนั้นก็มีเจ้าคุณฯพุทธทาสที่แปล สูตรของเว่ยหล่าง และ คำสอนฮวงโป ทำให้ไทยกับจีนเชื่อมกันได้ อีกคนคือเสถียร โพธินันทะ ผู้แปลวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร แปลวิมลเกียรตินิทเทศสูตร เมธีตะวันออก และปรัชญามหายาน ฯลฯ ๓ นักปราชญ์นี่นำพุทธศาสนาไทย-จีน เชื่อมกันได้ คนรุ่นเก่าเขาพูดอย่างนี้ และข้าพเจ้า "ธีรทาส" มีบุญอยู่หน่อยที่ได้มาพิมพ์คำสอนเหล่านั้นเผยแพร่.

    เครดิต
     
  15. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ความรู้เรื่องพระไตรปิฏก
    ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
    ปาฐกถาโดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
    <HR width="50%" color=#800000 SIZE=1>............คำว่า เถรวาท แปลว่า วาทะของพระเถระ หมายความว่า พระอานนท์และพระเถระอื่นๆ ได้ประชุมกันรวบรวมพระพุทธพจน์ที่กระจัดกระจายอยู่ในที่นั้นๆ เอามาจัดเป็นหมวดหมู่แล้วก็ท่องจำสืบต่อกันมา ต่อมาได้มีนิกายย่อยๆ เกิดขึ้นมากหลาย ประมาณร้อยปีนั้น มีนิกายที่แตกแยกออกไปถึง ๘ นิกาย แต่ว่านิกายเหล่านั้นแตกแยกออกไปแล้ว ในที่สุดก็สลายตัวหมด คงเหลือแต่เถรวาท มาภายหลังเมื่อเกิดมหายาน ขึ้น มหายานก็เลยเรียกเถรวาท หรือพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมนี้ว่าเป็นหินยาน แล้วก็เรียกตัวเองว่า มหายาน แปลว่า ยานใหญ่ ส่วนหินยาน แปลว่า ยานเลวหรือว่ายานเล็กๆ น้อยๆ คือสมัยที่เกิดการแก่งแย่งกันขึ้นเลยเรียกเถรวาทด้วยชื่อที่ไม่ดี
    แต่ว่าในครั้งหลังเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เรามีการรวบรวมพุทธศาสนิกชนที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลกบรรดามีมาประชุมร่วมกัน ที่เรียกว่าพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The World Fellowship of Buddhist) ในครั้งแรกนั้น ก็ได้มีการเสนอญัตติขอให้เลิกเรียกคำว่าหินยานเพราะว่าเป็นการเรียกแบบดูหมิ่นกัน หรือว่าเป็นการแสดงความแข่งขันทะเลาะวิวาทกัน ให้คงเรียกเถรวาทตามเดิมคือวาทะของพระเถระที่ท่องจำพระพุทธวจนะสืบต่อกันมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า เราจะเห็นได้ว่า พระพุทธวจนะที่นำสืบต่อกันมาทางสายเถรวาทนี้ ได้พยายามรักษาของเก่าดั้งเดิมไว้ทุกอย่างไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทนี้ในปัจจุบันก็มีอยู่คือ ประเทศไทย ประเทศลังกา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา รวม ๕ ประเทศด้วยกัน ส่วนประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายมหายานนั้นก็ได้แก่ธิเบต ญวน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จำนวนก็จะพอๆ กัน แต่ว่าวิธีการทางฝ่ายมหายานนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้มีการแต่งตำราขึ้นมาใหม่บ้าง ดัดแปลงของเก่าบ้าง และก็มีวิวัฒนาการไปไกลมาก ถึงขนาดญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ ภิกษุเกือบจะทุกนิกายก็มีครอบครัวได้ มีภรรยาได้ ก็คงจะมีอยู่บางนิกายเท่านั้นที่ไม่มีครอบครัว นี่ก็เป็นวิวัฒนาการของฝ่ายมหายาน แต่ในฝ่ายเถรวาทซึ่งท่านใช้ภาษาบาลีเป็นหลักนั้นยังพยายามรักษาแบบแผน จะเรียกว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือคอนเซอร์เวตีฟก็ได้
    ทีนี้มีปัญหาว่า พระไตรปิฎกนี้มีมาตั้งแต่ครั้งไหน เดิมทีเดียวไม่ได้เรียกพระไตรปิฎก ในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่เรียกว่าธรรมกับวินัยเป็นพื้น แม้เมื่อตอนที่จะนิพพานตรัสสั่งสอนพระอานนท์ไว้ ก็ยังสั่งว่า “ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วงไปแล้ว ธรรมแลวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ก็จักเป็นศาสดาแทนเรา”นี่แปลว่าแม้เมื่อใกล้จะปรินิพพานก็ทรงเรียกว่าธรรมกับวินัย ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วได้มีการประชุมทำสังคายนา แต่ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องทำสังคายนาภายหลังพุทธปรินิพพาน จะขอพูดเท้าความว่ามีเหตุการณ์หลายอย่างที่ก่อให้เกิดความกังวลใจขึ้นในพระพุทธศาสนาเอง คือพระจุนทะ น้องชายพระสารีบุตรซึ่งเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เป็นห่วงเป็นใยเมื่อเห็นเหตุการณ์เกิดขึ้นในศาสนาอื่นแล้ว คือศาสนานิครนถ์ เกิดแตกแยกกันมากมาย ทะเลาะวิวาทกันเองในหมู่ศิษย์ของนิครนถนาฏบุตร ท่านเป็นผู้ไปหาพระอานนท์ก่อน ในฐานะที่พระอานนท์เป็นผู้ใกล้ชิดของพระพุทธเจ้า พระอานนท์ก็พาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแนะว่าควรจะทำสังคายนา หลักฐานอันนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะอย่างนั้นก็แปลว่าทรงเห็นการณ์ไกลว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สาวกควรจะได้รวบรวมคำสั่งสอนของพระองค์ให้เป็นหมวดเป็นหมู่ที่เรียกว่าการร้อยกรอง หรือการทำสังคายนา และเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ท่านพระสารีบุตรก็เคย คือตอนที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสารีบุตรเทศน์พระภิกษุแทนพระองค์ท่าน ในขณะที่ทรงแสดงธรรมในเวลากลางคืน และก็ทรงพักผ่อนให้พระสารีบุตรแสดงธรรมแทน พระสารีบุตรก็ชวนภิกษุทั้งหลายให้ช่วยกันทำสังคายนา
    นี่เป็นครั้งแรกที่แสดงว่ามีการรู้สึกว่าเป็นการจำเป็นแล้ว ที่จะต้องรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้เป็นหมวดหมู่ แต่ก่อนที่จะมีการรวบรวมนั้น คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นมาอย่างไร ก็ปรากฏในหลักฐานทางพระไตรปิฎกเองว่า การท่องจำมีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าแล้ว คือ พระโสณะกุฏิกัณณะ ซึ่งท่านบวชทางอินเดียภาคใต้ ท่านได้เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระอานนท์ก็จัดให้พักในกุฎีเดียวกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสถามถึงความเป็นไปต่างๆ แล้วก็ตรัสขอร้องให้ พระโสณะกุฏิกัณณะ นี่เองสวดหรือลองกล่าวพุทธวจนะให้ฟัง พระโสณะกุฏิกัณณะ ท่านท่องมาอย่างแม่นยำจากอุปัชฌาย์ของท่านแล้วคือ พระมหากัจจายนเถระ ท่านก็ว่าให้ฟังปากเปล่ามากมายหลายสูตรทีเดียว เป็นสูตรในสุตตนิบาต พระพุทธเจ้าทรงฟังแล้วก็ทรงชมเชยว่าเสียงดี อักขระชัดเจนดี ชัดถ้อยชัดคำดี ทรงยกย่องพระโสณะกุฏิกัณณะ นี่แปลว่าการท่องจำมีมาแล้ว แม้ในครั้งพุทธกาล
    เมื่อมาถึงสมัยพระอานนท์ๆ เป็นผู้ยอดเยี่ยมในการท่องจำ คือว่าบางครั้งท่านก็จำได้โดยไม่ต้องท่อง เป็นบุคคลที่มีความจำประเสริฐอย่างนี้ นับเป็นผู้ที่หาได้ยาก แล้วนอกจากนั้นท่านยังมีข้อสัญญากับพระพุทธเจ้าไว้ว่า อันไหนถ้าท่านไม่ทราบ คือพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมที่อื่นแล้วกลับมา ถ้าท่านไม่ได้อยู่ในที่นั้นด้วย ก็มีเงื่อนไขว่าจะต้องทรงเล่าให้พระอานนท์ฟัง เพื่อพระอานนท์จะได้ตอบแก่คนอื่นได้ว่า มีใครมาถามว่าเรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ไหน พระพุทธเจ้าต้องทรงยอมรับเงื่อนไขที่พระอานนท์ทูลขอร้อง นี้ก็แปลว่า การทรงจำพระไตรปิฎกได้มีมาแล้วในครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วได้สามเดือน พระเถระผู้ใหญ่ก็มีการประชุมกันทำสังคายนาครั้งแรก อันนั้นเป็นสังคายนาที่ทางฝ่ายมหายานและเถรวาทรับรองต้องกัน การทำสังคายนาครั้งแรกก็คือ จัดหมวดหมู่ แต่ว่าในครั้งนั้นเอง เมื่อดูตามประวัติศาสตร์ที่กล่าวในพระไตรปิฎก เป็นที่น่าประหลาดว่าประวัติการทำสังคายนาไปอยู่ในพระไตรปิฎก ก็แสดงให้เห็นว่า ได้เพิ่มประวัติศาสตร์เข้ามาในพระไตรปิฎก เมื่อประมาณสังคายนาครั้งที่สาม ที่มีการเพิ่มประวัติศาสตร์เข้าในพระไตรปิฎกด้วย เชื่อว่าเป็นการชี้ให้คนรุ่นหลังได้รู้ความเป็นมาในระยะแรกๆ ภายหลังพุทธปรินิพพาน คือในวินัยปิฎกเล่ม ๗ ฉบับไทยเล่าประวัติการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ และในประวัติตอนนั้นใช้คำว่า ธรรมและวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาธรรม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาวินัย คือเป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวแก่วินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาธรรมะ คำว่าธรรมะในที่นี้ก็หมายรวมทั้งพระสูตรพระอภิธรรม แต่ตามคัมภีร์มหายานฝ่ายธิเบต ท่านที่รับพิมพ์ได้แปลไว้จากฉบับธิเบต ถือว่าได้เรียกเป็นพระไตรปิฎก ตั้งแต่สมัยสังคายนาครั้งแรกแล้ว นี่ฝ่ายมหายานเรียกอย่างนั้น แต่ทางฝ่ายเถรวาทถึงตอนนั้นก็ยังไม่มีเรียกว่าพระไตรปิฎก มีการบันทึกไว้ว่าเรียกพระไตรปิฎกในชั้นพระอรรถกถา คือหนังสืออธิบายพระไตรปิฎกที่แต่งประมาณพันปี ภายหลังพุทธปรินิพพาน ต่อมาเมื่อถึงการสังคายนาครั้งที่สองก็ไม่กล่าวอีกว่าเรียกพระไตรปิฎก แต่เรียกพระธรรมพระวินัยตามเดิม เพราะฉะนั้นเห็นได้ว่าจากสำนวนในภาษาบาลี หรือในภาษาบาลีนั้น คำว่าพระไตรปิฎกนี่มีมาในสังคายนาครั้งที่ ๑
    เมื่อพูดถึงเรื่องสังคายนานี้ .......... ทำไมพม่าจึงเรียกว่าฉัฏฐสังคายนา คือ สังคายนาครั้งที่ ๖ แล้วไทยเราไปเกี่ยวข้องกับพม่าอย่างไร ในลังกาสังคายนากี่ครั้ง คือว่าประเทศเพื่อนบ้านเราเหล่านี้ ต่างรับรองหรือไม่รับรองกันและกันอย่างไร เพราะพม่านั้นสืบสายการสังคายนานั้นไม่ตรงกับไทยเรา แต่ว่าไม่ใช่หมายความว่ามีอะไรผิดเกิดขึ้น การสังคายนาครั้งที่ ๑ ได้กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้เพียง ๓ เดือน
     
  16. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    (ต่อ)
    ครั้งที่ ๒ ภายหลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๑๐๐ ปี ครั้งที่ ๓ ภายหลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๒๓๕ หรือ ๒๓๖ ปี อันนี้เป็นสังคายนาในอินเดีย แต่ว่าในสังคายนาครั้งที่ ๑ นั้น ทางฝ่ายมหายานเริ่มแตกแยกออกไปแล้ว เพราะฉะนั้นฝ่ายมหายานไม่รับรองสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่ทำในอินเดีย มีกล่าวถึงสังคายนาที่ยอมรับร่วมกันจากพระไตรปิฎกฉบับธิเบต ที่มีฝรั่งชาวอเมริกันแปลไว้เพียง ๒ ครั้งคือ ครั้งแรกพุทธปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน กับครั้งที่ ๒ ครั้งพุทธปรินิพพานล่วงแล้ว ๑๐๐ ปีเท่านั้น ส่วนสังคายนาครั้งที่ ๓ นั้นถือว่าเป็นการแยกกันแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสนับสนุนให้มีการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เมื่อพุทธศักราชประมาณ ๒๓๕ หรือ ๒๓๖ ปี ทีนี้ทางฝ่ายมหายาน ก็แยกไปทำในภายหลังที่พระเจ้ากนิษกะทำในประเทศอินเดีย ภายหลังจากนั้น พอสังคายนาครั้งที่ ๓ เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว พระเจ้าอโศกก็ส่งสมณทูตออกไปในที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา สมณทูตรุ่นนั้นคงจะเดินทางมาถึงทางสุวรรณภูมินี้ด้วย แต่ว่าจะพูดถึงสมณทูตรุ่นแรกที่ไปยังลังกา เพราะทางฝ่ายพระพุทธศาสนาเราถือว่ามีความสัมพันธ์กับลังกา พม่าก็ยอมรับรองลังกาเหมือนกัน พอทำสังคายนาสามครั้งในอินเดียเสร็จแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชก็ให้ลูกของท่านคือ พระมหินทเถระเดินทางไปยังประเทศลังกา ไปเผยแผ่ศาสนาในประเทศลังกา ซึ่งอันนี้สืบทราบว่าเป็นสังคายนาครั้งแรกในลังกา ซึ่งไทยเรายอมรับเป็นครั้งที่ ๔ ต่อจากในอินเดีย คืออินเดียสามครั้งแล้ว พอไปถึงลังกาได้สองสามปีก็สังคายนาอีก ทำไมจึงสังคายนาบ่อยนัก ก็เห็นได้ว่าเพื่อปรับภาษาให้เข้ากับภาษาชาวเกาะ หรือภาษาลังกานั้นเอง ต่อมาอีกที่นับว่าเป็นครั้งสำคัญ คือเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ ๔๓๓ ปี สังคายนาครั้งแรกในลังกา หรือนับเป็นครั้งที่ ๔ ต่อจากอินเดีย พุทธศักราชประมาณ ๒๓๘ ปี ทีนี้ล่วงมาจนถึงพุทธศักราช ๔๓๓ ปี บางฉบับว่า ๔๕๐ ปีนั้น เป็นสังคายนาครั้งสำคัญ ที่มีความหมายแก่พวกเรามากก็คือว่า ในครั้งนั้นปรารภความทรงจำของประชาชนว่าจะเสื่อมลง ก็เริ่มให้มีการจารึกลงในใบลาน อันนี้เองพม่าไม่ยอมรับสังคายนาครั้งแรกในลังกาที่ว่า พระมหินเถระไปใหม่ๆ ก็สังคายนา แต่พม่ายอมรับสังคายนาครั้งที่จารึกลงเป็นตัวอักษร ที่นับเป็นครั้งที่สองในลังกาหรือนับเป็นครั้งที่ ๕ ต่อจากอินเดีย คืออินเดียสามครั้ง ลังกาสองครั้ง พม่าก็นับในอินเดียสามครั้ง ในลังกาเอาครั้งหลังเลยทีเดียว ที่จารึกลงในคัมภีร์ใบลานเป็นครั้งที่ ๔ แล้วต่อมาพม่าก็ได้รับพระไตรปิฎกโดยตรงจากลังกา เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๔๐ เศษ พ.ศ. ๒๔๑๔ พม่าก็เริ่มสังคายนาครั้งที่ ๕ เพราะว่า พม่ายอมรับสังคายนาในลังกาเพียงครั้งเดียว เอามาต่อจากอินเดีย ๓ ครั้ง เป็น ๔ ครั้ง เรื่อยมาจนถึงศักราช ๒๔๑๔ พระเจ้ามินดงของพม่า โปรดให้มีการสังคายนาจารึกพระไตรปิฎกลงในแผ่นหินอ่อน ในกรุงมัณฑะเล ซึ่งท่านที่เคารพทั้งหลายคงจะเห็นมาบ้างแล้ว ๗๒๙ แผ่น หินอ่อนแผ่นใหญ่ๆ จารึกเป็นอักษรพม่า นี่เป็นครั้งที่ ๕ ที่พม่ารับรองเป็นครั้งแรกในประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ คือพม่าถือว่าต่อจากลังกาแล้วก็ไปพม่า แล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ เมื่อใกล้ๆ กับ ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่พม่าเริ่มสังคายนาครั้งที่ ๖ ที่ เรียกว่าฉัฏฐสังคายนา ฉลองกันเป็นการใหญ่โต ร่วมกับการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ อันนี้ถือว่าเป็นครั้งสำคัญที่สุด เพราะพม่าได้เชิญประเทศฝ่ายเถรวาทหลายประเทศ รวม ๕ ประเทศ ให้ไปเป็นประธานสังคายนาแต่ละครั้ง ตกลงว่า ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก ถ้าพูดถึงทางประเทศพม่าๆ ยอมรับว่าอินเดียมีสามครั้ง ลังกามีหนึ่งครั้ง ที่จารึกลงในใบลานคือ เมื่อ พ.ศ. ๔๓๓ แล้วต่อจากนั้น พ.ศ. ๒๔๑๔ มาเป็นครั้งแรกในพม่า ซึ่งจารึกลงในหินอ่อน พอครั้งที่ ๖ ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งหลังสุดใน ประเทศพม่า ถือว่าเป็นสังคายนาครั้งที่ ๖ ส่วนประเทศไทยเรา เราถือว่า ๙ ครั้งแล้ว ที่ถือว่า ๙ ครั้งนี่ เป็นงานของท่านสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ท่านรจนามาเป็นภาษาบาลีไว้ เล่าประวัติ คือครั้งนั้นรัชกาลที่ ๒ ทรงปรารภจัดทำสังคายนา พระเถระก็รวบรวมเรื่องเล่าประวัติถวายว่า มาแต่ครั้งไหนๆ ฝ่ายไทยที่นับว่า ๙ ครั้งนั้น เพราะเรายอมรับนับถือในลังกาหลายครั้งเหลือเกิน แต่ว่าเป็นเรื่องมีประโยชน์ เพราะว่าทำให้เราได้รู้ความเป็นมาของอรรถกถา คือคำอธิบายพระไตรปิฎกที่ฝรั่งเรียก Commentary และความเป็นมาของฎีกาเป็นคำอธิบายอรรถกถาอีกต่อเรียกว่า Sub-commentary ฝ่ายไทยยอมรับสังคายนา ๔ ครั้ง ในอินเดีย ๑, ๒, ๓ แล้ว แล้วก็ครั้งที่ ๔ ที่พระมหินทเถระนำไปในลังกาสดๆ ร้อนๆ ท่านก็นับเป็นครั้งที่ ๔ ซึ่งพม่าไม่ยอมรับครั้งนี้ ครั้งที่ ๕ คือ พ.ศ. ๔๓๓ ที่ว่าจารึกลงในคัมภีร์ใบลานเป็นครั้งแรกนี่ ทางฝ่ายไทยยอมรับด้วยก็เป็น ๕ ครั้ง มาครั้งที่ ๖ ที่เป็นครั้งจัดทำอรรถกถา คือสมัยพระพุทธโฆษะ เมื่อ พ.ศ. ๙๕๖ ไทยเรายอมรับทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นการจัดทำอรรถกถา คือคำอธิบายพระไตรปิฎก ไม่ใช่ตัวพระไตรปิฎกแท้ ไทยเราก็ยอมรับอีกเพราะว่าเชื่อว่าคงจะได้มีการแก้ไขตัวพระไตรปิฎกบ้าง พอต่อมาอีกในลังกาเมื่อ พ.ศ. ๑๕๘๗ มีสังคายนาในลังกา ที่ไทยเรายอมรับเป็นครั้งที่ ๖ นั่น พ.ศ. ๙๕๖ พอมาครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๑๕๘๗ ไทยเรายอมรับครั้งนี้ด้วย ครั้งนี้เป็นการแต่งฎีกา คือคำอธิบายอรรถกถาอีกต่อหนึ่ง อรรถกถานั้นเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก ฎีกานั้นอธิบายอรรถกถาไปอีกต่อหนึ่ง ไทยเราก็ยอมรับว่าเป็นสังคายนาเหมือนกัน เพราะถือว่าเป็นงานใหญ่มาก เมื่อเป็นเช่นนี้ไทยเราก็รับว่า ในอินเดียมี ๓ ครั้ง ในลังคามี ๔ เพราะเราติดต่อกับลังกาใกล้ชิดอยู่เหลือเกิน มีการส่งสมณทูตแลกเปลี่ยนไปจนกระทั่งถึงกับไทยเราไปเป็นอุปัชฌายะตั้งศาสนวงศ์ ในลังกาที่ยังมีพระอุบาลีวงศ์อยู่จนทุกวันนี้ พอได้ ๗ ครั้งนั่นแล้ว ก็มาถึงไทยเราเองบ้าง เราไม่มีการติดต่อกับพม่าเราก็นับจากสายลังกามาหาไทยใน พ.ศ. ๒๐๒๐ โปรดเทียบเคียงดูสังคายนาครั้งแรกในพม่า พ.ศ. ๒๔๑๔ ครั้งแรกในพม่าที่จารึกในหินอ่อน แต่ครั้งแรกในประเทศไทยคือที่ลานนา เชียงใหม่นั่น พระเจ้าติโลกราช ทรงโปรดให้มีการสังคายนาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ก่อนครั้งแรกในพม่าเกือบ ๔๐๐ ปี แล้วเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่สังคายนาครั้งแรกในประเทศไทยนี้ มีตัวอักษรลานนาซึ่งเรายังอุตส่าห์เก็บเอาไว้ได้ นั่นถือเป็นครั้งที่ ๘ เพราะนับจากลังกามาเป็น ๗ ครั้ง พอมาถึงครั้งที่ ๙ คือในรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๑ ทรงอุปถัมภ์ให้มีการทำสังคายนาแล้วก็ได้จารึกลงในลานทองฉบับหลวงที่เรียกว่าลานทอง คือลงทองไว้งดงามมาก ทรงอุปการะถึงขนาดเสด็จไปทั้งเช้าทั้งกลางวัน ถ้าเสด็จไปไม่ได้ด้วยพระองค์เอง ก็ให้วังหน้าเสด็จ คือพระอนุชา แล้วตอนเย็นยังเสด็จไปถวายน้ำอัฐบาลภิกษุสงฆ์ แปลว่าทรงปลื้มปีติเพียงไรในการสนับสนุนสังคายนาครั้งนั้น ซึ่งพวกเราเป็นหนี้บุญคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อย่างมากทีเดียวที่เริ่มสังคายนา คือชำระพระไตรปิฎกให้เรียบร้อย ต่อมาก็ถึงสมัยการพิมพ์ของไทยในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งถือว่าการสังคายนาในรัชกาลที่ ๑ นั่น นับเป็นสังคายนาครั้งที่ ๒ เพราะในประเทศไทยถือเป็นสังคายนาครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๓๓๑ ก็ยังนับว่าทำก่อนพม่าอยู่ดี เพราะครั้งแรกของพม่า ครั้งที่สองของไทยก็ยังก่อนครั้งแรกของพม่า มาในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงจะนับว่าหลังพม่าหน่อย แต่ว่าทั้งนี้เราก็เรียกว่าพิมพ์พระไตรปิฎกเท่านั้น ในรัชกาลที่ ๕ เริ่มแต่ พ.ศ. ๒๔๓๑ แล้วก็มาในสมัยรัชกาลที่ ๗ ทรงพิมพ์พระไตรปิฎกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายรัชกาลที่ ๖ นี่ก็เป็นเรื่อความเป็นมาในประเทศไทย เมื่อฟังดูอย่างนี้แล้ว ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายก็คงจะเห็นได้ว่า การที่ไทยเรานับสังคายนา ๙ ครั้ง จนถึงครั้งรัชกาลที่ ๑ นั้น เพราะว่าเรามีสายติดต่อกับลังกามาตลอด เราจึงยอมรับนับถือการทำสังคายนาของลังกาถึง ๔ ครั้ง แต่พม่าติดต่อกับลังกาน้อย ก็รับนับถือของลังกาเพียงครั้งเดียว ทางฝ่ายลังกานั้น ที่เป็นทางการจริงๆ เขานับถือเพียงครั้งแรกที่พระมหินทเถระไป ถ้าถึงวันที่พระมหินทเถระไปลังกาเมื่อไหร่ ลังกามีการจุดประทีปโคมไฟ มีการตั้งดอกไม้แจกฟรี ผู้รับไม่ต้องเสียงสตางค์ ที่ประตูวัดมีดอกไม้กองไว้ มีเครื่องสักระกองไว้ให้สาธุชนเข้าไป แล้วก็ได้รับดอกไม้นั้น เข้าไปบูชาเจดีย์สถานถือว่า“โกศลเดย์”คือวันกลางเดือน ๗ ที่พระมหินทเถระไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกา ถือเป็นงานเอิกเกริกของลังกาทีเดียว แล้วก็ลังกายอมรับสังคายนาครั้งที่ ๒ คือที่จารึกลงในใบลานเมื่อปี พ.ศ. ๔๓๓ นั่นครั้งหนึ่ง แล้วนอกจากนั้นลังกาไม่ยอมรับ มามีอีกครั้งหนึ่งเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีมานี้ คือพระในลังกาทำขึ้น แต่ก็ไม่มีใครรู้ นี่เขาก็บันทึกไว้อีกครั้งหนึ่ง ตกลงลังกาเองยอมรับสังคายนาของตนเองประมาณ ๓ ครั้งเท่านั้น
     
  17. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    (ต่อ)
    ทีนี้ก็มีปัญหาว่าเพียงเท่านั้นหรือ ที่พระไตรปิฎกได้แพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย พม่า ลังกา แล้วจะไปที่ไหนอีก ขอเรียนว่าประเทศกัมพูชากับประเทศลาวนี่เป็นประเทศที่นับว่าเป็นพี่น้องของไทยได้ อย่างวินัยปิฎกของกัมพูชาฉบับราชบรรณาลัยนี่ ด้านหนึ่งแสดงเป็นตัวอักษรบาลี ด้านหนึ่งเป็นภาษาเขมร ความจริงก็ได้ใช้ฉบับไทยเป็นหลัก พระเถระที่ไปทำในกัมพูชา ท่านก็เคยมาเรียนอยู่ในเมืองไทย เคยมาอยู่ในเมืองไทย และแม้ฉบับลาวนั่นก็พึ่งพิมพ์ เมื่อยังไม่มีตัวเรียงพิมพ์ก็อุตส่าห์เขียนเอา แล้วก็ไปถ่ายรูปทำบล็อก แต่ที่น่าสรรเสริญความอุตสาหะของพระรามัญคือ พระมอญที่ตั้งพระไตรปิฎกฉบับมอญ บางฉบับบอกจุลศักราช เขียนอักษรมอญแต่เป็นภาษาไทย จุลศักราชเท่านั้น ร.ศ. เท่านี้ที่พิมพ์พระไตรปิฎกเล่มนี้ขึ้น แล้วมีพระภิกษุอีกท่านหนึ่ง ท่านอุตส่าห์ไปตั้งโรงพิมพ์ของท่านเอง พิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาอักษรมอญได้ตั้ง ๓๙ เล่ม แปลว่าเมืองไทยเป็นแหล่งผลิตพระไตรปิฎกอักษรมอญด้วย ก็แปลว่า แหล่งกลางคือไทยนี่ได้แพร่ออกไปหลายทางเหมือนกัน อีกอย่างหนึ่งพูดถึงพระไตรปิฎกฉบับลังกาคือ ลังกานั้นก็น่าเห็นใจ เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในปกครองของหลายประเทศ ปอร์ตุเกสก็เคยปกครอง อังกฤษก็เคยปกครอง ถึงเปลี่ยนแปลงกันเรื่อยๆมา ลังกาพิมพ์พระไตรปิฎกเหมือนกัน แต่ว่ากระท่อนกระแท่น เคยไปสืบค้นหาจะซื้อเอามา แต่ว่าหาไม่ได้ ตกลงได้ความว่า พระลังกาท่านใช้พระไตรปิฎกภาษาไทยที่ส่งๆไป พระเถระในลังกาที่อ่านพระไตรปิฎกกันก็ใช้พระไตรปิฎกภาษาไทย เวลานี้เริ่มจะมีของลังกาเองบ้างแล้ว
    พูดไปถึงพระไตรปิฎกที่ไปสู่ตะวันตก อันนี้น่าแปลกใจที่ว่าในปัจจุบันแหล่งผลิตพระไตรปิฎกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น อีกแห่งหนึ่งอยู่ในประเทศ อังกฤษคือPali Text Society สมาคมบาลีปกรณ์ คนไทยเราเคยได้บริจาคเงินกัน คนละเล็กละน้อย นำไปให้แก่สมาคมนี้ช่วยในการพิมพ์ ความจริงคนไทยให้กันเรื่อยๆ มา รัชกาลที่ ๕ พระราชทานหลายคราวแล้ว เขาก็พิมพ์จารึกไว้ด้วย เช่น ดิกชันนารีภาษาบาลี-อังกฤษ นี้ รัชกาลที่ ๕ ก็พระราชทานอยู่ถึง ๕๐๐ ปอนด์ แล้วการพิมพ์พระไตรปิฎกนั้น รัชกาลที่ ๕ ก็พระราชทานอยู่หลายคราว เวลานี้เรามีพระไตรปิฎกฉบับโรมันที่เกือบสมบูรณ์ พระไตรปิฎกก็นับว่าดีมาก แล้วคำแปลก็เกือบสมบูรณ์ นับว่าหายากทีเดียวที่ทำกันเป็น หลักฐานหลายสิบเล่ม มีขนาดโตอย่างที่ท่านกล่าวว่า โตกว่า Encyclopedia Britannica มากทีเดียว ที่สมาคมบาลีปกรณ์ในประเทศอังกฤษ จัดทำคือทำเป็นสองชุด ชุดหนึ่งพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ที่อ่านแล้วเป็นภาษาบาลี เหมือนอย่างฉบับที่ไทยเราพิมพ์ แต่ว่าอีกชุดหนึ่ง พิมพ์คำแปลเป็นภาษาอังกฤษ นักปราชญ์ฝ่ายเขาเป็นผู้แปล แต่ที่น่าสังเกตก็คือ มีสุภาพสตรีอยู่หลายคนทำหน้าที่แปลพระไตรปิฎกแล้ว ในปัจจุบันสุภาพสตรีเป็นผู้แปลพระไตรปิฎก และเป็นนายกสมาคมบาลีปกรณ์ด้วย เมื่อก่อนเป็นแต่เพียงเหรัญญิกอุปนายก ปัจจุบันเป็นผู้นำในการแปลพระไตรปิฎก เคยเล่ามาว่าขายดีมาก พิมพ์เท่าไหร่ๆ เดี๋ยวหมด ประเทศต่างๆ ทั่วโลกสั่งกันมาทั้งนั้น เว้นไว้แต่ รัสเซียไม่ได้สั่งพระไตรปิฎกแปล ทีนี้นับได้ว่าสมาคมบาลีปกรณ์ประเทศอังกฤษ ได้เป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งในปัจจุบันที่พิมพ์พระไตรปิฎก ทั้งภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน และภาษาบาลีแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสกำลังเริ่มงานแปลโดย สมาคมสหายพระพุทธศาสนา มีสุภาพสตรีหลายท่านไปเป็นกำลังแรงงาน คือบางท่านก็เป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต แต่ว่ากลับไปเลื่อมใส พระพุทธศาสนาแล้วก็ไปช่วยกันในงานนี้ เป็นที่น่าพอใจว่าสมาคมบาลีปกรณ์ในประเทศอังกฤษนั้นมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๗ แปลว่า พระไตรปิฎกนี่มีการแปลมาแล้วกว่า ๑๐๐ ปี นี่เป็นภาษาอังกฤษ แล้วภาษาเยอรมัน ก็น่ายินดีที่เก่าไม่น้อยกว่าอังกฤษเหมือนกัน คือเยอรมันมีนักปราชญ์ภาษาบาลีหลายคนที่แปลพระไตรปิฎกได้ มีทั้ง แมคซมึนเล่อร์ มีทั้ง โฮลเดนเบอร์ก ที่แปลพระไตรปิฎก ภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษ แล้วก็มีอยู่ฉบับหนึ่งที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน นอกจากนี้ยังมีชาวเดนมาร์คกับชาวเยอรมันร่วมกันแปล คือชาวเยอรมันแปลธรรมบท และชาวเดนมาร์คแปลสุตตนิบาต ขาวเดนมาร์คก็ทำดิกชันนารีภาษาบาลีที่พิสดารที่สุดในโลก ราชบัณฑิตยสถานของเดนมาร์คร่วมกันจัดทำเป็นพจนานุกรมบาลี ที่พิสดารที่สุดในโลก เพียงอักษร "อ" เท่านั้น หนาเท่านี้ยังไม่จบ ก็นึกว่าถ้าจะยังไม่มีวันจบได้ เพราะว่าพยายามเก็บจะไม่ให้มีตกหล่นเลย ตัวอังกฤษทั้งชุดหนาเท่านี้ แต่ว่าของเดนมาร์ค เฉพาะตัว “อ” หนาเท่ากับของอังกฤษแสดงให้เห็นว่า พระไตรปิฎกเราได้เดินทางไปหลายประเทศเพียงไร
    ที่นี้จะกล่าวถึงพระไตรปิฎกที่ไปสู่อเมริกา น่ายินดีว่าอเมริกาเขามีมหาวิทยาลัยที่จัดพิมพ์พระไตรปิฎกแปล มาหลายสิบปีแล้วเหมือนกัน มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดจัดพิมพ์ นอกจากนั้นชาวอเมริกันคนหนึ่งเป็นเลขานุการโทสถานทูตอเมริกันในจีน ที่เป็นผู้แปลพระไตรปิฎก ฉบับภาษาธิเบตเป็นภาษาอังกฤษ เลือกเอาเฉพาะที่จำเป็นจะต้องรู้เป็นพุทธประวัติ จนกระทั่งประวัติพระพุทธศาสนาในธิเบต นับเป็น หนังสือที่หายากมาก นี่ก็แสดงให้เห็นว่าพระไตรปิฎกของเราได้เป็นมา นอกจากในประเทศไทยแล้ว ก็แพร่หลายไปต่างประเทศเพียงไร ในปัจจุบันในเยอรมันมีพระไตรปิฎกบางฉบับ มีการแปลใหม่คือ ของฮอลันดาแปลมัชฌิมนิกายไว้ ก็พิมพ์มาแล้ว ก็ยังมีนักปราชญ์บาลี อีกคนจะพิมพ์แปลใหม่อีกสำนวนใหม่ มัชฌิมนิกาย เป็นหนังสือแปลยากอย่างประหลาด ในอังกฤษมีแบบนี้เหมือนกันคือ คนเดิมแปลไว้แล้ว นี่คนที่สองผู้หญิงแปลจบแล้ว พิมพ์เสร็จแล้ว คนเดิมเป็นผู้ชายแปลไว้แล้วก็เห็นว่าผิดมาก แปลใหม่พิมพ์อีกครั้ง ก็แปลว่าในต่างประเทศได้มีการสนใจในเรื่องพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทนี่ไม่น้อยเหมือนกัน แต่ฝ่ายมหายานจะไม่กล่าวถึงในขณะนี้
    สำหรับพระไตรปิฎกฉบับไทย กล่าวได้ว่าในปัจจุบันฉบับไทยก็นับว่าสมบูรณ์หรือจะเรียกว่าสมบูรณ์ที่สุด ในการพิมพ์ซ่อมคราวต่อๆ ไป พระเถระท่านก็พยายามที่จะทำสารบาญค้นคำให้ดีขึ้น อันนี้พวกอินเดียบ่นว่าเราทำไว้ไม่ค่อยเรียบร้อยเวลาเขาเอาไปค้น ก็เพราะว่าหลายๆ ท่านด้วยกันทำไม่ได้เป็นแบบเดียวกัน มายุคหลังพระเถระที่ท่านแก้ไขในการพิมพ์ซ่อมฉบับที่หมดๆ คราวต่อไปนี่ ท่านก็พยายามทำสารบาญค้นธรรมให้ดียิ่งขึ้น แต่พระไตรปิฎกที่แปลเป็นภาษาต่างประเทศ คือแปลจากภาษาบาลีไปแล้วที่สมบูรณ์ที่สุด อยากจะให้เป็นภาษาไทย คือของที่เป็นภาษาอังกฤษเองเวลานี้ยังไม่หมด อยากให้เป็นที่สองของไทย แต่พม่าพอสังคายนาเสร็จแล้ว เวลานี้กำลังรุดหน้าใหญ่ในการทำแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาพม่าแต่ยังไม่เสร็จ ที่สมบูรณ์รองจากของไทยก็คือของอังกฤษ บางครั้งเขายังต้องขอให้ทางประเทศไทยคัดลอกจากคัมภีร์ใบลาน คือบางคัมภีร์ที่ยังไม่มีในประเทศอังกฤษ เป็นอักษรไทยก็ไม่ว่าละ คัดไปแล้วเขาไปอ่านเองไปจัดเป็นอักษรโรมันเอง คือเขาทำงานกันจริงเหมือนกันแม้ว่าในการคัดลอกนั้น จะต้องจ้างต้องลงทุนลงแรง เขายอมเสียสละเพื่อที่จะแปลพระไตรปิฎกให้ครบชุดให้ได้ แต่ว่าในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเราเป็นประเทศเดียวในโลก ที่มีพระไตรปิฎกแปลครบสมบูรณ์ เพราะว่าพระไตรปิฎกนี่มากมายเหลือเกิน อย่างฉบับไทยเรามี ๔๕ เล่ม นี่ถ้าจะแปลกันจริงๆ ไม่ใช่เล็กน้อยทีเดียว ลองเอาไปเทียบกับเอนไซโคลปีเดียแล้ว เพียงแต่ตัวพระไตรปิฎกเราก็เกินเอนไซโคลปีเดียไปเท่าไหร่ Britannica ก็มี ๒๔ หรือ ๒๕ เล่ม ทีนี้ก็ยังมีแปลกันจนจบ ทั้งของคุณสม พ่วงภักดี และของกรมการศาสนา ที่นับว่าเป็นการแปลอย่างมากที่สุด
    เราน่าจะภาคภูมิใจว่าประเทศไทยเราได้มีพระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ ปัญหาสำคัญมีอยู่ข้อหนึ่งคือปัญหาที่ว่า การทรงจำพระไตรปิฎกนั้น จะทำได้แค่ไหน เมื่อสังคายนาครั้งที่ ๑ เสร็จแล้ว ได้มีการมอบงานกัน คือว่าองค์นี้พร้อมทั้งลูกศิษย์ช่วยกันจำส่วนนี้ องค์นี้พร้อมทั้งลูกศิษย์ช่วยกันจำส่วนนี้ แบ่งงานกันทำเพื่อจะได้จำได้สมบูรณ์ คือว่าไม่ใช่จำคนเดียวหมด ๔๕ เล่มนี้ ท่องหมดก็ไม่ไหว เพียงเล่มเดียวก็นึกว่าแย่เหมือนกัน แต่ทีนี้ท่านแบ่งกันท่องจำ แล้วก็เพราะในสมัยนั้นไม่มีการจดก็ต้องใช้การจำ คือถ้ามีการจดเข้าเมื่อไหร่ การจำก็ไม่ค่อยจำเป็น ในสมัยที่ยังไม่มีการจด การจำเป็นของจำเป็นมาก เราก็ได้มีตัวอย่างการจำ อย่างในประเทศพม่า พระเถระที่จะสอบได้ชั้นสูงๆ นั้น ต้องว่าพระไตรปิฎกได้จบเป็นเล่มๆ พระลังกาที่ท่านได้เคยมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณสาธุศีลสังวร มาอยู่ในประเทศไทย เวลาเรามีอะไรสงสัยก็เคยไปถามท่านเหมือนกัน แล้วท่านก็ว่าปากเปล่าให้ฟัง มีการจำเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเรื่องการจำพระไตรปิฎก ไม่ใช่เป็นเรื่องเหลวไหล เป็นเรื่องที่แบ่งงานกัน จึงมีสำนักอาจารย์ที่เรียกว่า อาจารย์นี้ท่องจำพระไตรปิฎกหมวดยาวคือ พระสูตรยาวๆ อาจารย์นี้ท่องจำพระไตรปิฎกขนาดพระสูตรปานกลาง โดยนัยนี้การนำพระไตรปิฎกสืบต่อมาก็มีทางที่จะเป็นไปได้ ในปัจจุบันก็มีการท่องจำแบบที่ว่าทำอย่างไรจึงจะจำได้โดยไม่ต้องท่อง คือว่าถ้าท่องๆ ให้แต่น้อย และถ้าไม่ต้องท่องจะมีวิธีจำอย่างไร ถึงจะจำข้อความบางทีตั้ง ๕๐-๖๐ เรื่อง ติดต่อกันไม่ให้สับลำดับ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

    เครดิต
     
  18. Taksamun

    Taksamun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2008
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +180
    พี่ภราดรภาพ....ลืมนู๋ได้งัยเนี่ย
    ไม่เห็นมีชื่อเลย ฮือpity_pig ฮือ ไม่ให้ไปด้วยหรอ
    รบกวนขอจองเพิ่มเป็น 2 ที่ (กุ๊ก + น้องสาว )

    ขอบคุณค่ะ
     
  19. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ยินดีต้อนรับคุณกุ๊ก และน้องสาว

    คนที่ 1 คุณภราดรภาพ

    คนที่ 2 คุณกิตติ
    คนที่ 3 แม่เล็ก
    คนที่ 4 แม่ตุ๊กตา
    คนที่ 5 พี่ทิพย์
    คนที่ 6 พี่นุช
    คนที่ 7 ลุงนพ
    คนที่ 8 คุณวีณา
    คนที่ 9 ลูกสาวคุณวีณา
    คนที่ 10 คุณพิมพ์
    คนที่ 11 คุณรุจนี
    คนที่ 12 คุณชนัม
    คนที่ 13 คุณอ้อ
    คนที่ 14 คุณจัมโบ้
    คนที่ 15 คุณไพวรรณ
    คนที่ 16 คุณวรรณ
    คนที่ 17 คุณกุ๊ก
    คนที่ 18 น้องสาวคุณกุ๊ก
    คนที่ 19 สล่าป้อม
    คนที่ 20 คุณน้อย

    นิมนต์พระ 3 รูป

    จำนวน 28 ที่นั่ง
    จำนวนยอดจองล่าสุด 23 ท่าน
    เหลือที่นั่ง 5 ที่<!-- google_ad_section_end -->

     
  20. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ยินดีต้อนรับคุณใหญ่ คุณหญิง และคุณสิ

    คนที่ 1 คุณภราดรภาพ
    คนที่ 2 คุณกิตติ

    คนที่ 3 แม่เล็ก
    คนที่ 4 แม่ตุ๊กตา
    คนที่ 5 พี่ทิพย์
    คนที่ 6 พี่นุช
    คนที่ 7 ลุงนพ
    คนที่ 8 คุณวีณา
    คนที่ 9 ลูกสาวคุณวีณา
    คนที่ 10 คุณพิมพ์
    คนที่ 11 คุณรุจนี
    คนที่ 12 คุณชนัม
    คนที่ 13 คุณอ้อ
    คนที่ 14 คุณจัมโบ้
    คนที่ 15 คุณไพวรรณ
    คนที่ 16 คุณวรรณ
    คนที่ 17 คุณกุ๊ก
    คนที่ 18 น้องสาวคุณกุ๊ก
    คนที่ 19 สล่าป้อม
    คนที่ 20 คุณน้อย
    คนที่ 21 คุณใหญ่
    คนที่ 22 คุณหญิง
    คนที่ 23 คุณสิ

    นิมนต์พระ 3 รูป

    จำนวน 26 ที่นั่ง
    ครบแล้วครับ เต็มแล้วครับ
    ขออนุโมทนาทุกๆ ท่าน ที่ได้ร่วมสร้างบุญกุศลในครั้งนี้



     

แชร์หน้านี้

Loading...