ด่วน!! รีบจองที่นั่งเฝ้าระวัง: เดี่ยวภัยพิบัติ1 เเสดงแล้ววันนี้ทุกประเทศทั่วโลก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย sunny430, 24 มีนาคม 2012.

  1. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    กาญจน์เจอฝนกหนัก2เขื่อนปรับแผนระบายน้ำ

    กาญจน์เจอฝนตกหนัก2เขื่อนใหญ่ศรีนครินทร์-วชิราลงกรณ์ปรับแผนการระบายน้ำยันไม่กระทบชุมชน

    นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ เผยว่า เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกทำให้ในหลายพื้นที่ที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำแม่กลองได้รับผลกระทบกับปริมาณน้ำฝนจำนวนมาก เนื่องจากการระบายน้ำไม่ทัน ทั้งเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ จึงได้มีการปรับแผนการระบายน้ำลดลง เพื่อลดผลกระทบกับชุมชนดังกล่าว โดยสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ ปัจจุบัน (วันที่ 4 ต.ค. 55) อยู่ที่ระดับ 174.81 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นปริมาณน้ำ 15,650.54 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 88.20% และปรับแผนการระบายน้ำลดลงเหลือวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร และยังสามารถรองรับน้ำได้อีกถึง 2,094.56 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างวานนี้อยู่ที่ 48.20 ล้าน ลบ.ม.

    ส่วนเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำปัจจุบัน (วันที่ 4 ต.ค. 55) อยู่ที่ระดับ 152.40 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง คิดเป็น 7,881.09 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 88.96% สามารถรับน้ำได้อีก 978.11 ล้านลูกบาศกเมตร ระบายน้ำตามแผนการระบายน้ำวันละ 15 ล้าน ลบ.ม. โดยมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างวานนี้ 34.19 ล้าน ลบ.ม. โดยการระบายน้ำจะดำเนินการตามแผนการระบายน้ำที่ คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ และคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยแล้งและในสถานการณ์ที่มีปริมาณน้ำหลาก

    อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่าปริมาณน้ำที่เอ่อสูงขึ้นในลุ่มน้ำแม่กลองไม่ได้เกิดจากการระบายน้ำฉุกเฉินของเขื่อนทั้งสอง แต่เกิดจากปริมาณน้ำฝน และปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขาที่อยู่ท้ายเขื่อนลงไป และจากสถิติปริมาณน้ำฝนที่เกิดจากพายุจะพบว่า พายุ 1 ลูก ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่าง ประมาณ 600 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้นทั้งสองเขื่อนยังสามารถรองรับน้ำได้อีกมาก

    สำหรับการดูแลเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนนั้น เขื่อนศรีนครินทร์ มีการดำเนินการสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างตามกมาตรฐานสากล และมีการดำเนินการในตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยได้นำเอาระบบตรวจวัดข้อมูลแบบอัตโนมัติ มาติดตั้งใช้งานที่เขื่อน โดยเป็นระบบตรวจวัดข้อมูล ที่ครอบคลุมข้อมูลด้านพฤติกรรมเขื่อน ข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา และข้อมูลแผ่นดินไหว

    ระบบนี้จะสามารถประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น แสดงผลเป็นรูปกราฟ และหากมีข้อมูลที่ผิดปกติ ก็สามารถแจ้งเตือนให้ตรวจสอบได้ทันที นับเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผล เพื่อจะช่วยให้งานด้านความปลอดภัย สำหรับเขื่อนต่างๆ ของ กฟผ. มีประสิทธิภาพ ทัดเทียมมาตรฐานสากล โดยมีการดำเนินการตรวจสอบ และบำรุงรักษาเพื่อความปลอดภัยของเขื่อนอย่างมีระบบและต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจได้ว่า เขื่อนทุกเขื่อนของ กฟผ. จะมีความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน และมีความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ท้ายน้ำของเขื่อน จึงขอให้วางใจว่า ทั้ง 2 เขื่อนในจังหวัดกาญจนบุรี ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด.
    latest breaking news headline

    // เอาอยู่ครับ ! ขอให้วางใจ //
     
  2. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    ภาพจำลองเส้นทาง พายุโซนร้อน “แกมี” (GAEMI) ด้วยคอมพิวเตอร์จาก Weather Underground เครือข่าย NOAA
    ล่าสุด ปรับปรุงเมื่อ 5 ตุลาคม 2555 เวลา 07.00
    พยากรณ์เส้นทาง ศูนย์กลางพายุโซนร้อน “แกมี”เมื่อผ่านเวียตนามทางไต้ของเมืองดานังแล้วจะเคลื่อนเฉียงลงต่ำ ผ่านตอนไต้ของลาวเล็กน้อย ผ่านตอนเหนือของกัมพูชา เข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และมีโอกาศผ่านกรุงเทพฯ ตรงๆ เลยครับท่าน


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    เรื่องของพายุ​


    พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

    [​IMG]

    พายุเกิดจากอะไร
    พายุ (Storms) เกิดขึ้นเมื่อเกิดศูนย์กลางของแรงดันอากาศต่ำ พร้อม ๆ กับมีแรงดันอากาศสูงเกิดขึ้นรอบ ๆ การรวมของแรงปะทะต่าง ๆ ก่อให้เกิดลม อันส่งผลให้เกิด การเคลื่อนตัวเปลี่ยนรูปของพายุเมฆ เช่น สภาพที่เรียกว่า cumulonimbus ซึ่งเป็นในรูปแบบก้อนเมฆดำทะมึนหนาทึบอันเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดฝนฟ้าคะนอง
    ซึ่งแรงดันอากาศต่ำอาจเกิดจากจุดเล็ก ๆ ที่พื้นที่ใด ๆ อันเกิดจากอากาศร้อนลอยล่องขึ้นจากพื้นดิน ส่งผลให้เกิดการปั่นป่วนน้อย ๆ เช่น การเกิดพายุฝุ่น (dust devils) หรือลมหมุน (whirlwinds)

    ประเภทของพายุ
    พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

    1 พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด

    2.พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
    2.1พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก

    2.2 พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
    พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)

    2.3.พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง

    2.4 พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก

    3. พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง

    อันตรายที่เกิดจากพายุ

    พายุไต้ฝุ่น เมื่อพายุที่มีกำลังขนาดไต้ฝุ่น คือ กำลังความเร็วของลมตั้งแต่ 65 น๊อต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปพัดผ่านที่ใดทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงดังนี้
    บนบก ทำให้ ต้นไม้ล้ม เกิดอันตรายจากต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน บ้านเรือนพังทับผู้คนในบ้านและใกล้เคียงบาดเจ็บหรือตายสวนไร่นาเสียหาย เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าช็อต เกิดเพลิงไหม้และผู้คนอาจเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่มีอาคารพักอาศัยอยู่ริมทะเลอาจถูกน้ำพัดพาลงทะเลจมน้ำตายได้ ดังเช่น ปรากฏการณ์ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ฝนตกหนักมากทั้งคืนทั้งวัน เมื่อน้ำจากป่าและภูเขาหลากลงมาอย่างมากมาย ท่วมบ้านช่อง ถนนหนทาง และเรือกสวนไร่นาล่มจมอยู่ใต้น้ำ เส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ สะพาน ถนนทางขาด
    ทะเล ในทะเลลมแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่ ๆ อาจจะถูกพัดพาไปเกยฝั่งล่มจมได้ บรรดาเรือเล็กเป็นอันตรายไม่สามารถจะต้านความรุนแรงของพายุได้ คลื่นใหญ่ซัดขึ้นริมฝั่งจนทำให้ระดับน้ำขึ้นสูงมากจนท่วมอาคารบ้านช่องริมทะเลได้ บรรดาโป๊ะจับปลาในทะเลถูกทำลาย

    พายุโซนร้อน พายุโซนร้อนมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น ความเร็วของลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34 น็อต หรือ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 63 น็อต หรือ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจมเรือขนาดใหญ่ ๆ ได้ ต้นไม้ล้ม ถ้าไม่มีกาารเตรียมรับมือที่ดีก็จะเกิดความเสียหายได้

    พายุดีเปรสชั่น พายุดีเปรสชั่นเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน 33 น็อต หรือ 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่มีอันตรายรุนแรงแต่ทำให้มีฝนตกทั่วไปตลอดทางที่พายุดีเปรสชั่นผ่านไป และมีฝนตกหนักเป็นแห่ง ๆ พร้อมด้วยลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งบางคราวจะรุนแรงจนทำให้เกิดความเสียหายได้บ้าง ในทะเลค่อนข้างแรงและคลื่นจัด บรรดาเรือประมงเล็กขนาดต่ำกว่า 50 ตัน ควรงดเว้นออกทะเลเพราะอาจจะล่มลงได้ และพายุดีเปรสชั่นนี้เมื่ออยู่ในทะเลได้รับไอน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมอาจจะทวีกำลังขึ้นได้โดยฉับพลัน สำหรับพายุพัดจัดจะลดน้อยลงเป็นลำดับ มีแต่ฝนตกทั่วไปเป็นระยะนาน ๆ และตกได้มากถึง 100 มิลลิเมตร ภายใน 12 ชั่วโมงซึ่งต่อไปก็จะทำให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาและป่าใกล้เคียงลงมาท่วมบ้านเรือนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากพายุได้ผ่านไปแล้ว

    พายุฤดูร้อน พายุฤดูร้อนเป็นพายุที่ต่างกับพายุดีเปรสชั่น และเกิดบนผืนแผ่นดินที่ร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนแต่เป็นพายุที่มีบริเวณย่อม ๆ มีอาณาเขตเพียง 20-30 ตารางกิโลเมตร แต่อาจมีลมแรงมากถึง 47 น็อต หรือ 87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังพายุที่เกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 และพายุที่เกิดขึ้นที่อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2497 พายุนี้มีกำลังแรงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้มากเหมือนกันแต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดขึ้นคือ ต้นไม้หักล้มทับบ้านเรือนผู้คน บ้านเรือนพังทะลาย ฝนตกหนักและอาจมีลูกเห็บตก

    การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ

    1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
    2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
    3. ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
    4. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
    5. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
    6. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ

    พายุ - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  4. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    บริเวณที่มีแนวโน้มพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนในอนาคต

    จากการวิเคระห์ข้อมูลของพายุจาก NOAA ประกาศใช้วันที่ 5 ต.ค. เวลา 18.00 น. ถึง 6 ต.ค. เวลา 18.00 น.
    พายุดีเปรสชั่นโซนร้อนอาจจะก่อตัวเหนือทะเลฟิลิปปินส์ ทางตะวันออกของเกาะกวมได้ภายในสุดสัปดาห์นี้ (ประมาณวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 6-7 ต.ค.2055)

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
    "พายุ “แกมี” (GAEMI)"
    ฉบับที่ 17 (290/2555) ลงวันที่ 05 ตุลาคม 2555​

    เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (5 ต.ค. 2555) พายุโซนร้อน “แกมี” (GAEMI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง
    มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 800 กิโลเมตร ทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ ละติจูด 14.5 องศาเหนือ และ ลองจิจูด 116.6 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 90 กม./ชม.

    พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 10 กม./ชม. คาดว่า พายุนี้จะจะมีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนขึ้นฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนามในวันที่ 6 ตุลาคม 2555 จากนั้นจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 6-8 ตุลาคม 2555 บริเวณพื้นที่ตามเส้นทางเดินพายุและพื้นที่ใกล้เคียง มีฝนหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ กับมีลมแรง โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมแรงในช่วงระยะนี้

    สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 7-9 ตุลาคม 2555 โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

    อนึ่ง ในช่วงวันที่ 5-6 ตุลาคม 2555 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ทำให้ตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองในระยะแรกและเริ่มมีอากาศเย็นลง

    ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 11.30 น.

    (ลงชื่อ) สมชาย ใบม่วง

    (นายสมชาย ใบม่วง)

    รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

    รักษาราชการแทน อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
     
  6. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    ภาพถ่ายดาวเทียม พายุโซนร้อน “แกมี” (GAEMI) จาก weather underground

    ปรับปรุงเวลา 14.22 (ไทย)

    [​IMG]
     
  7. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    อัพเดท เส้นทางพายุโซนร้อน "แกมี" วันที่ 5 ต.ค.2555 เวลา 13.00 ไทย

    พายุพายุโซนร้อน "แกมี" มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 750 กิโลเมตร ทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ ละติจูด 14.5 องศาเหนือ และ ลองจิจูด 115.7 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 64 กม./ชม. (40 mph) ความเร็วลมกรรโชก 80 ก.ม./ช.ม. ( 50 mph)
    กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 16 กม./ชม. คาดว่า พายุนี้จะจะมีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนขึ้นฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนามในวันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2555 เวลาประมาณ 18.00 (ไทย) จากนั้นจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 6-8 ตุลาคม 2555 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 6-8 ตุลาคม 2555 บริเวณพื้นที่ตามเส้นทางเดินพายุและพื้นที่ใกล้เคียง มีฝนหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ กับมีลมแรง โดยความรุนแรงที่ได้รับจะเริ่มไล่กันมาตามการเคลื่อนตัวของพายุ
    สรุปการปรับปรุงเส้นทางการเคลื่อนที่ใหม่นี้ ศูนย์กลางพายุโซนร้อน "แกมี" จะขึ้นฝั่งเวียตนามบริเวณเมือง ก๋วงนัง (Quy Nhon) ซึ่งอนู่ทางไต้ของเมืองดานังลงมา ทำให้เส้นทางที่จะเข้าประเทศไทยลงต่ำมาด้วยคือจะเป็นภาคตะวันออก คือ จังหวัดสระแก้ว ตราด และชลบุรี จุดศูนย์กลางการพยากรณ์วันนี้อยู่ที่เมืองเสียมเรียบ กัมพูชา ด้วยความเร็วลมของพายุดีเปรสชั่น ไกล้จุดศูนย์กลาง 40 ก.ม./ช.ม. และลมกรรโชก 56 ก.ม./ช.ม.
    ติดตามการปรับปรุงการพยากรณ์ครั้งใหม่ต่อไปช่วง 22.00 นาฬิกาวันนี้

    ภาพพยากรณ์เส้นทางพายุโซนร้อน "แกมี" ปรับปรุงวันที่ 5 ต.ค.2555 เวลา 13.00 ไทย จาก Weather Underground
    [​IMG]

    ภาพพยากรณ์เส้นทางพายุโซนร้อน "แกมี" พร้อมภูมิประเทศและชื่อเมือง ปรับปรุงวันที่ 5 ต.ค.2555 เวลา 13.00 ไทย จาก Weather Underground
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    การพยากรณ์ของ JTWC และ JMA เป็นไปคล้ายคลึงกัน คือเส้นทางของการเคลื่อนที่ใหม่นี้ ศูนย์กลางพายุโซนร้อน "แกมี" ทิศทางเคลื่อนลงไต้ ซึ่งเป็นไปได้จากอิทธิพลของความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาเมื่อช่วงเช้าวันนี้ จะเบี่ยงเบนทิศทางของพายุลูกนี้ได้

    แผนที่อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา เวลา 07.00 วันที่ 5 ตุลาคม 2555
    [​IMG]

    ภาพการพยากรณ์เส้นทางของ พายุโซนร้อน "แกมี" ภายใน 5 วัน จาก JTWC ล่าสุด วันรที่ 5 ต.ค.2555 เวลา 13.00 น. (ระดับความเร็วลมต่างๆ ในวันที่พยากรณ์วันต่อวันมีอธิบายในภาพ)

    [​IMG]

    ภาพการพยากรณ์เส้นทางของ พายุโซนร้อน "แกมี" ภายใน 5 วัน จาก JMA ล่าสุด วันรที่ 5 ต.ค.2555 เวลา 13.00 น. (ระดับความเร็วลมต่างๆ ในวันที่พยากรณ์มีอธิบายในภาพ)

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    ศก.ฝรั่งเศสประสบภาวะถดถอย​


    สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศส ระบุเมื่อคืนนี้ว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศส กำลังประสบกับภาวะไม่มีการเติบโต พร้อมลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศสในปีนี้ ลงครึ่งหนึ่งประมาณร้อยละ 0.2 ต่ำกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาลฝรั่งเศสที่คาดว่า เศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 0.3 ซึ่งจะทำให้การขาดดุลของฝรั่งเศส อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ จีดีพี

    France halves growth forecast
    France’s national statistics institute INSEE on Thursday halved its 2012 growth forecast to 0.2 percent, predicting zero growth in the third and fourth quarters and claiming "The French economy is stuck in neutral."

    [​IMG]

    Manager Online - ศก.ฝรั่งเศสประสบภาวะถดถอย
    France halves growth forecast - ECONOMY - FRANCE 24
     
  10. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
    "พายุ “แกมี” (GAEMI)"
    ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 05 ตุลาคม 2555​

    เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ (5 ต.ค. 2555) พายุโซนร้อน “แกมี” (GAEMI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 750 กิโลเมตร ทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ ละติจูด 14.5 องศาเหนือ และ ลองจิจูด 115.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 90 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 10 กม./ชม. คาดว่า พายุนี้จะจะมีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนขึ้นฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนามในวันที่ 6 ตุลาคม 2555 จากนั้นจะอ่อนกำลังลงและเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 6-8 ตุลาคม 2555 บริเวณพื้นที่ตามเส้นทางเดินพายุและพื้นที่ใกล้เคียง มีฝนหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ กับมีลมแรง โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมแรงในช่วงระยะนี้
    สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 7-9 ตุลาคม 2555 โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

    อนึ่ง ในช่วงวันที่ 5-6 ตุลาคม 2555 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ทำให้ตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองในระยะแรกและเริ่มมีอากาศเย็นลง

    ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16.30 น.

    (ลงชื่อ) สมชาย ใบม่วง

    (นายสมชาย ใบม่วง)

    รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

    รักษาราชการแทน อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
     
  11. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    อัพเดท เส้นทางพายุโซนร้อน "แกมี" วันที่ 5 ต.ค.2555 เวลา 21.30 ไทย
    ชาวไทยอาจจะได้รับข่าวดี ว่าพายุโซนร้อน "แกมี" สลายตัวก่อนเข้าไทย


    พายุโซนร้อน "แกมี" มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 750 กิโลเมตร ทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ ละติจูด 14.3 องศาเหนือ และ ลองจิจูด 114.6 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 64 กม./ชม. (40 mph) ความเร็วลมกรรโชก 80 ก.ม./ช.ม. ( 50 mph) เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 19.2 ก.ม./ช.ม. (12 mph) เส้นทางของพายุนี้จะขึ้นฝั่งทางตอนกลางของเวียตนาม บริเวณเมือง ก๋วงนัง (Quy Nhon) ซึ่งอนู่ทางไต้ของเมืองดานังลงมา ในคืนวันเสาร์ที่ 6 ถึงเช้าวันอาทิตย์ที่ 7 ต.ค.2555
    หลังจากขึ้นฝั่งเวียตนามและเข้าสู่กัมพูชาแล้ว พายุโซนร้อน "แกมี" จะค่อยๆ ลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น หลังจากผ่านภาคตะวันออกของกัมพูชา การพยากรณ์ของทุกสำนักสิ้นสุดบริเวณนี้ แต่ยังไม่มีการประกาศ คงต้องรอความมั่นใจจากภาพถ่ายดาวเทียมและสภาพการณ์ต่างๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงไป

    [​IMG]

    ภาพการพยากรณ์เส้นทางของ พายุโซนร้อน "แกมี" จาก JTWC ประกาศเตือนฉบับที่ 17 วันที่ 5 ต.ค.2555 เวลา 22.00 (ไทย)

    [​IMG]

    สำนักพยากรณ์อากาศฮ่องกง
    เวลา 2000 (ฮ่องกง) หรือเวลา 19.00 (ไทย) พายุโซนร้อน "แกมี" หลังจากขึ้นฝั่งเวียตนามและเข้าสู่กัมพูชาแล้ว อาจจะลดความเร็วลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง

    [​IMG]
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียมพายุโซนร้อน "แกมี" วันที่ 5 ต.ค.2555 เวลา 21.31 (ไทย)
    [​IMG]

    ติดตามข่าวทางกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศไทยต่อไปครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  12. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    ถ้าพายุโซนร้อน "แกมี" อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชั่น เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงแล้วอาจจะเกิดอะไรขึ้น ?​


    เราคงมีบทเรียนมาแล้วจากพายุดีเปรสชั่นไหหม่า

    บทเรียนจากเหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ “ไห่หม่า” (HAIMA)

    วันที่ 22 มิถุนายน 2554 พายุโซนร้อน “ไหหม่า” (Haima) ในทะเลจีนใต้ตอนบน เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเหนือเกาะไหหลำ ทางตอนใต้ของประเทศจีน ในวันที่ 23 มิถุนายน 2554

    วันที่ 24 มิถุนายน 2554 ศูนย์กลางของพายุอยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ห่างไปทางทิศตะวันออกของกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ประมาณ 250 กิโลเมตร หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกและขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม โดยพายุมีกำลังอ่อนลงเป็นลำดับ

    วันที่ 25 มิถุนายน 2554 พายุดีเปรสชั่น “ไหหม่า” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว หรืออยู่ห่างออกไปทางทิศเหนือของจังหวัดหนองคายประมาณ 180 กิโลเมตร ได้เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

    วันที่ 26 มิถุนายน 2554 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชั่น “ไหหม่า” ได้ปกคลุมบริเวณจังหวัดน่าน ทำให้ภาคเหนือมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์

    วันที่ 26 มิถุนายน 2554 เกิดฝนที่ตกหนักตลอดทั้งคืนจนถึงช่วงบ่ายวันนี้ ทำให้แม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำงิม แม่น้ำเงิน แม่น้ำรู และ แม่น้ำสะต๊อด มีระดับสูงกว่าปกติ และเอ่อท่วมบ้านเรือนประชาชน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1, 6, 7 และ 14 โดยเฉพาะที่หมู่ 6 ระดับน้ำสูงประมาณ 1-1.5 เมตร อุปกรณ์การเกษตรและสิ่งของภายน้านเรือนของประชาชนถูกน้ำพักหายไปด้วย นอกจากนี้น้ำได้ไหลท่วมพื้นที่การเกษตรไร่ข้าวโพดกว่า 1,000 ไร่ ความเสียหายประมาณ 10 ล้านบาท

    วันที่ 26 มิถุนายน 2554 จังหวัดน่านได้รับผลกระทบ จากพายุดีเปรสชัน “ไหหม่า” ส่งผลให้มีฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน จนถึงขณะนี้ยังคงมีฝนตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำในแม่น้ำน่าน เพิ่มระดับอย่างรวดเร็ว เนื่องจากน้ำจากลำห้วยและแม่น้ำสาขาต่างๆจากทางอำเภอปัว, ท่าวังผา และสันติสุข ได้ไหลรวมลงสู่แม่น้ำน่าน แต่เป็นเส้นทางน้ำที่ไม่ผ่านจุดวัดระดับน้ำ N64 บ้านผาขวาง ทำให้ยากต่อการประเมินสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำน่านด้วย

    วันที่ 28 มิถุนายน 2554 สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลนครแม่สอด น่าห่วงคือหน่วยชลประทานที่ 3อ่างเก็บน้ำแม่สอดแจ้งลงมายังเทศบาลว่าได้ระบายน้ำออกมาตลอดตั้งแต่ช่วง เช้าที่ผ่านมา และหากฝนมีปริมาณมากขึ้น ก็จะล้นสปริงเวย์ ซึ่งเหลือที่รองรับน้ำอีกเพียงไม่ถึง 3-4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทำให้ต้องเปิดประตูระบายน้ำทิ้งถึง 2 บาน ทำให้มีน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่ในเขตเทศบาลนครแม่สอดอีกครั้ง โดยเฉพาะชุมชนหลังโรงพยาบาลแม่สอด มีน้ำท่วมสูงกว่า 80เซนติเมตร ต้องสั่งปิดโรงเรียนถึง 3 แห่งคือ โรงเรียนราษฎรวิทยา โรงเรียนชุมชนอิสลามศึกษา และโรงเรียนอนุบาลการุณย์ เพราะหวั่นเกิดอันตรายกับเด็กเล็กเพราะระดับน้ำขึ้นสูงตลอดเวลา

    วันที่ 1 กรกฏาคม 2554 น้ำจากแม่น้ำยม ได้ไหลทะลักเข้าท่วมในพื้นที่บ้านบางคลอง ม.6 ต.ปากแคว อ.เมือง อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแนวคันดิน และกระสอบทราย ที่ชาวบ้านนำมาวางเสริมไว้ตลอดแนวตลิ่ง เกิดพังลงมาเป็นระยะทางประมาณ 20 เมตร ทำให้บ้านเรือนราษฎรที่อยู่ติดกับแม่น้ำยม ต้องจมอยู่ใต้น้ำ สูงเกือบ 1 เมตร ชาวบ้านต่างรีบขนของหนีน้ำกันจ้าละหวั่น หลังได้รับรายงาน นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผวจ.สุโขทัย พร้อมด้วย นายชาติชาย สงวนพงษ์ นายอำเภอเมือง ได้เข้าพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายทันที พร้อมระดมชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งอุดรอยแตกที่เกิดขึ้น ด้วยการใช้เสาไม้ยูคา จำนวนกว่า 200 ท่อน มาตอกทำเป็นแนวผนัง เพื่อวางกระสอบทรายเสริมเพิ่มอีกชั้นหนึ่ง แต่ก็ไม่เป็นผลเนื่องจากความแรงของกระแสน้ำที่ไหลกระแทกตลอดเวลา ในที่สุดก็ต้องปล่อยให้น้ำไหลเข้าท่วมในพื้นที่ดังกล่าว

    วันที่ 5 กรกฏาคม 2554 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัย อันเนื่องมาจากอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น “ไหหม่า” (Haima) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงราย ตาก น่าน พะเยา และจังหวัดสุโขทัย รวม 46 อำเภอ มีประชาชนเดือดร้อน 411,573 คน เสียชีวิต 3 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 82 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดได้รับความเสียหาย 159,598ไร่ ถนน 376 สาย และขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายอยู่ระหว่างฟื้นฟู ทั้งนี้ จังหวัดน่าน เกิดแผ่นดินทรุดและแยกเป็นแนวกว้าง ใน 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนที่เกิดรอยร้าว จำนวน 60 หลังคาเรือน และต้องอพยพชาวบ้านประมาณ 200 คน มาอยู่ที่ศูนย์พักชั่วคราว

    วันที่ 6 กรกฏาคม 2554 แม่น้ำยมสายเก่าที่รับน้ำจากแม่น้ำยมสายหลักจาก จ.สุโขทัย ระบายผ่าน อ.พรหมพิราม อ.เมือง และ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่บ้านคลองเมม หมู่ 12 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อจากจังหวัดสุโขทัย ได้ทะลักล้นจนชาวบ้านกว่า 100 หลังคาเรือน ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ได้รับความเดือดร้อน

    ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4

    ภาพแผนที่อากาศวันที่พายุดีเปรสชั่นไหหม่าอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศกำลังแรง

    [​IMG]


    บทเรียนจากพายุไหหม่า
    ปภ. เผย พายุไหหม่าถล่ม เสียหาย46 อำเภอ [ INN News : 5 ก.ค. 54 ]

    [​IMG]

    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัย อันเนื่องมาจากอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น “ไหหม่า” (Haima) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงราย ตาก น่าน พะเยา และจังหวัดสุโขทัย รวม 46 อำเภอ มีประชาชนเดือดร้อน 411,573 คน เสียชีวิต 3 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 82 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดได้รับความเสียหาย 159,598ไร่ ถนน 376 สาย และขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายอยู่ระหว่างฟื้นฟู ทั้งนี้ จังหวัดน่าน เกิดแผ่นดินทรุดและแยกเป็นแนวกว้าง ใน 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนที่เกิดรอยร้าว จำนวน 60 หลังคาเรือน และต้องอพยพชาวบ้านประมาณ 200 คน มาอยู่ที่ศูนย์พักชั่วคราว จังหวัดสกลนคร เกิดน้ำป่าจากเทือกเขาภูพานไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรบ้านดอนยางใต้

    อย่าเพิ่งประมาทนะครับ ถึงแม้พายุโซนร้อน "แกมี" อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชั่น เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    พายุลูกใหม่ก่อตัวขึ้นแล้ว เหนือทะเลฟิลปปินส์ ทางตะวันตกของเกาะไซปัน​


    พายุลูกใหม่ก่อตัวขึ้นแล้ว ขณะนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ N15°35'(15.6°) E141°35'(141.6°) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของฟิลิปินส์ และอยู่ห่างประมาณ 450 ก.ม.ทางตะวันตกของเกาะไซปัน และความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลาง 56 ก.ม./ช.ม. กระแสลมกรรโชก 83 ก.ม./ชม. เคลื่อนที่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนไปทางตะวันคกด้วยความเร็ว 17 ก.ม./ช.ม.

    ประกาศการเกิดของพายุโซนร้อนลูกใหม่ จาก หอสังเกตการณ์ฮ่องกง
    WTPQ20 RJTD 060000
    RSMC TROPICAL CYCLONE ADVISORY
    NAME TD
    ANALYSIS
    PSTN 060000UTC 15.6N 141.6E POOR
    MOVE WNW 06KT
    PRES 1006HPA
    MXWD 030KT
    GUST 045KT
    FORECAST
    24HF 070000UTC 16.6N 138.2E 120NM 70%
    MOVE WNW 09KT
    PRES 998HPA
    MXWD 035KT
    GUST 050KT =
    NNNN

    ภาพ TD จาก หอสังเกตการณ์ฮ่องกง ปรับปรุงเมื่อ 6 ต.ค. 2012 เวลา 08.56 (ไทย)

    [​IMG]

    [​IMG]

    ติดตามการพัฒนาของพายุลูกใหม่นี้ได้จากเว็บไซท์ หอสังเกตการณ์ฮ่องกงที่
    http://severe.worldweather.wmo.int/tc/wnp/

    ภาพพายุลูกใหม่ซึ่งยังไม่มีชื่อ ทาง JMA ยังคงเรียกว่า Tda ภาพนี้ปรับปรุงเมื่อ 6 ต.ค.2555 เวลา 07.00 (ไทย)

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • TDa.png
      TDa.png
      ขนาดไฟล์:
      68.2 KB
      เปิดดู:
      213
    • TD HKG.png
      TD HKG.png
      ขนาดไฟล์:
      778.9 KB
      เปิดดู:
      226
    • TDaJMA.png
      TDaJMA.png
      ขนาดไฟล์:
      70.7 KB
      เปิดดู:
      215
  14. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    พายุลูกใหม่ก่อตัวขึ้นแล้ว เหนือทะเลฟิลปปินส์ ทางตะวันตกของเกาะไซปัน​


    พายุลูกใหม่ก่อตัวขึ้นแล้ว ขณะนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ N15°35'(15.6°) E141°35'(141.6°) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของฟิลิปินส์ และอยู่ห่างประมาณ 450 ก.ม.ทางตะวันตกของเกาะไซปัน และความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลาง 56 ก.ม./ช.ม. กระแสลมกรรโชก 83 ก.ม./ชม. เคลื่อนที่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนไปทางตะวันคกด้วยความเร็ว 17 ก.ม./ช.ม.

    ประกาศการเกิดของพายุโซนร้อนลูกใหม่ จาก หอสังเกตการณ์ฮ่องกง
    WTPQ20 RJTD 060000
    RSMC TROPICAL CYCLONE ADVISORY
    NAME TD
    ANALYSIS
    PSTN 060000UTC 15.6N 141.6E POOR
    MOVE WNW 06KT
    PRES 1006HPA
    MXWD 030KT
    GUST 045KT
    FORECAST
    24HF 070000UTC 16.6N 138.2E 120NM 70%
    MOVE WNW 09KT
    PRES 998HPA
    MXWD 035KT
    GUST 050KT =
    NNNN

    ภาพ TD จาก หอสังเกตการณ์ฮ่องกง ปรับปรุงเมื่อ 6 ต.ค. 2012 เวลา 08.56 (ไทย)

    [​IMG]

    [​IMG]

    ติดตามการพัฒนาของพายุลูกใหม่นี้ได้จากเว็บไซท์ หอสังเกตการณ์ฮ่องกงที่
    http://severe.worldweather.wmo.int/tc/wnp/

    ภาพพายุลูกใหม่ซึ่งยังไม่มีชื่อ ทาง JMA ยังคงเรียกว่า Tda ภาพนี้ปรับปรุงเมื่อ 6 ต.ค.2555 เวลา 07.00 (ไทย)

    [​IMG]
     
  15. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    เรื่องของการตั้งชื่อพายุ​


    บางท่านคงนึกสงสัียว่าทำใมบางครั้งพายุจึงมีหลายชื่อ ?
    ที่นี่มีคำตอบ

    ภายในทิศตะวันตกเฉียงเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกมีสองหน่วยงานที่ทำงานแยกกันในการกำหนดชื่อพายุ โดยมากจะมี 2 ชื่อ สำหรับสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น จะมีกำหนดชื่อของพายุเขตร้อน โดยพายุต้องมีความเร็วลมเฉลี่ย 10 นาทีประมาณ 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) ทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรระหว่าง 180° และ 100°ตะวันออก ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะกำหนดชื่อให้กับพายุเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองระหว่าง 135°ตะวันออกและ 115°ตะวันออก และระหว่าง 5°ตะวันออก ถึง 25°ตะวันออก

    ชื่อสากล
    พายุหมุนเขตร้อนที่มีชื่อจากรายการต่อไปนี้ โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น จะเป็นผู้ตรวจสอบและประกาศใช้รายชื่อต่อไปนี้[13] เป็นชื่อที่สนับสนุนโดย คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) โดยมี 14 ประเทศสมาชิกเสนอชื่อเรียงตามลำดับในภาษาอังกฤษ[14] และนี้คือ 24 รายชื่อที่จะถูกใช้ในปีนี้

    [​IMG]

    ฟิลิปปินส์

    สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน โดยรายชื่อของพายุที่จะใช้ในแต่ละปีจะถูกตั้งและประกาศก่อนที่ฤดูการจะเริ่มขึ้น โดยหากชื่อเหล่านี้มีชื่อใดที่ไม่ได้ถูกใช้จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในปี ค.ศ. 2016 โดยราการที่ได้ใช้ในปีนี้เหมือนกันกับเมื่อปี ค.ศ. 2008 โดยยกเว้น "แฟรงก์" (Frank) ซึ่งถูกใช้ไปแล้ว โดยชื่อที่ยังไม่ถูกใช้จะถูกทำเป็นอักษรสีเทา

    [​IMG]

    http://th.wikipedia.org/wiki/ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2555

    ดังนั้นพายุลูกถัดไปก็จะมีชื่อสากลว่า "พระพิรุณ"

    ไม่ว่าพายุจะเคลื่อนที่ไปทางไหน เราก็ควรจะติดตาม เพราะพายุที่รุนแรงจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่ก็จะช่วยนำน้ำฝนมาให้เกษตรกร

    เมื่อก่อนไม่นานนักเรามีป่าไม้ช่วยดูดซับน้ำส่วนเกินที่เกิดจากพายุทำให้น้ำไม่ท่วม มีต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรงช่วยต้านทานลมพายุ ช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดต่อทรัพย์สินเรือกสวนไร่นา

    ปัจจุบันเรายังคงมีป่า แต่เป็นป่าคอนกรีต เราพยายามที่จะปลูกป่าเพิ่มเติม ถึงจะสายไปก็ยังดีกว่าไม่ได้เริ่ม ขอเพียงอย่าตัดไม้ทำลายป่าที่เราเหลืออยู่เพียงน้อยนิดให้หมดไป เพื่อลูกหลานเราเติบโตมาจะได้มีป่าไว้ป้องกันภัยพิบัติจากสภาพอากาศที่โหดร้ายเพิ่มขึ้นทุกวัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  16. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเฝ้าระวังสภาพอากาศร้ายที่สามารถเข้าถึง และเป็นสากล​



    กรมอุตุนิยมวิทยา
    สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น
    ศูนย์ร่วมการเตือนภัยพายุไต้ฝุ่น
    สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์
    หน่วยงานอื่นๆ
    Weather Underground
    หอสังเกตการณ์ฮ่องกง


    อ้างอิงจาก พายุโซนร้อนกำลังแรงแกมี (มาร์ซ)
    ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555 - วิกิพีเดีย

    ดังนั้น เมื่อเราต้องการสืบค้นความเคลื่อนไหวของพายุลูกใด โดยเฉพาะในลักษณะ Real Time เพียงพิมพ์ชื่อหน่วยงานเหล่านั้นใน Google เราก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย

    ตัวอย่างการค้นหาเว็บไซต์ Weather Underground ซึ่งผมมั่นใจและใช้เป็นประจำ ท่านสามารถค้นดูว่าหน่วยงานนี้มีความเป็นมาอย่างไร เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับหน่วยงานใด จึงน่าเชื่อถือ

    หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาที่ได้ลงไว้ด้านบนนั้น จากการติดตามมาเชื่อถือได้ทั้งสิ้น การพยากรณ์อาจจะแตกต่างกันบ้างในลักษณะปลีกย่อย ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณารวบรวมข้อมูลแล้ว เราจะได้ข้อมูลอีกชุดหนึ่งซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของข้อมูลแต่ละสำนัก เก็บไว้เพื่อหาทางเลือกให้กับตัวของเราเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Wx Under.png
      Wx Under.png
      ขนาดไฟล์:
      17.8 KB
      เปิดดู:
      55
  17. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    เรื่อง End Day เป็นเรื่องเก่า ที่เป็นภาพยนต์สารคดีของ BBC ที่ดูแล้วจะสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ที่ไม่ได้ติดตามเรื่องภัยพิบัติได้ง่าย สำหรับผู้ที่ติดตามเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติและเคยฝึกอบรมวิปัสสนาสมาธิมาแล้ว ก็จะเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นของธรรมดา อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เพราะทุกสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุที่มนุษย์เป็นผู้ทำทั้งสิ้น ตั้งแต่ทำลายธรรมชาติ เกิดภัยพิบัติต่างๆ ไปถึงตอนจบบทสุดท้ายนั่นคือสามารสร้างเครื่องเร่งมวลสาร จนเกิดหลุมดำ กลายเป็นเครื่องมือทำลายโลกเสียเอง

    ให้เครดิตกับผู้นำเผยแพร่ Published on May 10, 2012 by KandyWatch2013
    และยูทูบ

    การนำมาเผยแพร่ครั้งนี้เป็นเรื่องเดียวกับ BBC - End Day (part 1 of 4)
    [ame]http://www.youtube.com/watch?v=t1uXO-F5jZE&feature=player_embedded[/ame]
    ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน และภาพไม่ชัดเจน แต่คราวนี้การเผยแพร่โดย KandyWatch2013 ทำเป็นตอนเดียวและผ่านคมชัดน่าดู ดูจากชื่อของผู้เผยแพร่แล้ว ปี 2012 ไม่จบหรอกครับ ยังคงต้องมีปี 2013 ต่อไป เพราะชื่อของเขาลงท้ายด้วย 2013

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Fp6xDY-HbVM"]http://www.youtube.com/watch?v=Fp6xDY-HbVM[/ame]
     
  18. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    เรื่อง End Day เป็นเรื่องเก่า ที่เป็นภาพยนต์สารคดีของ BBC ที่ดูแล้วจะสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ที่ไม่ได้ติดตามเรื่องภัยพิบัติได้ง่าย สำหรับผู้ที่ติดตามเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติและเคยฝึกอบรมวิปัสสนาสมาธิมาแล้ว ก็จะเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นของธรรมดา อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เพราะทุกสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุที่มนุษย์เป็นผู้ทำทั้งสิ้น ตั้งแต่ทำลายธรรมชาติ เกิดภัยพิบัติต่างๆ ไปถึงตอนจบบทสุดท้ายนั่นคือสามารสร้างเครื่องเร่งมวลสาร จนเกิดหลุมดำ กลายเป็นเครื่องมือทำลายโลกเสียเอง

    ให้เครดิตกับผู้นำเผยแพร่ Published on May 10, 2012 by KandyWatch2013
    และยูทูบ

    การนำมาเผยแพร่ครั้งนี้เป็นเรื่องเดียวกับ BBC - End Day (part 1 of 4)
    [ame]http://www.youtube.com/watch?v=t1uXO-F5jZE&feature=player_embedded[/ame]
    ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน และภาพไม่ชัดเจน แต่คราวนี้การเผยแพร่โดย KandyWatch2013 ทำเป็นตอนเดียวและผ่านคมชัดน่าดู ดูจากชื่อของผู้เผยแพร่แล้ว ปี 2012 ไม่จบหรอกครับ ยังคงต้องมีปี 2013 ต่อไป เพราะชื่อของเขาลงท้ายด้วย 2013

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Fp6xDY-HbVM"]http://www.youtube.com/watch?v=Fp6xDY-HbVM[/ame]
     
  19. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    End Day ภาพยนต์สารคดีของ BBC

    End Day ภาพยนต์สารคดีของ BBC ที่ดูแล้วจะสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ที่ไม่ได้ติดตามเรื่องภัยพิบัติได้ง่าย สำหรับผู้ที่ติดตามเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติและเคยฝึกอบรมวิปัสสนาสมาธิมาแล้ว ก็จะเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นของธรรมดา อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เพราะทุกสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุที่มนุษย์เป็นผู้ทำทั้งสิ้น ตั้งแต่ทำลายธรรมชาติ เกิดภัยพิบัติต่างๆ ไปถึงตอนจบบทสุดท้ายนั่นคือสามารสร้างเครื่องเร่งมวลสาร จนเกิดหลุมดำ กลายเป็นเครื่องมือทำลายโลกเสียเอง

    ให้เครดิตกับผู้นำเผยแพร่ Published on May 10, 2012 by KandyWatch2013 และยูทูบ

    การนำมาเผยแพร่ครั้งนี้เป็นเรื่องเดียวกับ BBC - End Day (part 1 of 4)
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=t1uXO-F5jZE&feature=player_embedded]BBC - End Day (part 1 of 4) - YouTube[/ame]
    ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน แต่ภาพไม่ชัดเจน ครั้งนั้นมีผู้เข้าชม 331,438 ครั้ง มาคราวนี้เผยแพร่โดย KandyWatch2013 รวบรวมเป็นตอนเดียวจบและภาพคมชัดน่าดู ดูจากชื่อของผู้เผยแพร่แล้ว ปี 2012 ไม่จบหรอกครับ ยังคงต้องมีปี 2013 ต่อไป เพราะชื่อของเขาลงท้ายด้วย 2013

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Fp6xDY-HbVM]End Day- Dooms Day Theories 2004 (HQ) - YouTube[/ame]
     
  20. พูน

    พูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +2,479

แชร์หน้านี้

Loading...