ถึงเวลาที่สยบข่าวภัยพิบัติ  ทางสายเอก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คมสันต์usa, 14 ธันวาคม 2012.

  1. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    นโมฯ 3 จบ

    โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร
    ปะฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก
    พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรานุสาสะโก
    อะมะตัญเญวะ สุชีวะติ อะภินันที คุหาวะนัง
    โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต
    อิธะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย
    ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสี มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ
    ปะระมะสารีริกะธาตุ วะชิรัญจาปิวานิตัง
    โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโล
    อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ
    สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง วะเรนะ สุภาสิตัง
    โลกุตตะโร จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโน
    โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
    มะหาเถรานุภาเวนะ สุขัง โสตถีภะวันตุเม.
    .......


    นโมฯยกท่านพระครูเทพโลก.................อุดรโศลกของข้าน้อยกราบกล่าวขาน
    เป็นอาจารย์ยิ่งอาจารย์มาเนิ่นนาน.......มิรู้การว่าเป็นครูของท่านครู
    ได้ติดตามเรื่องเมตตาขององค์ท่าน.......ว่าสักวันจะได้ใกล้ชิดอยู่
    มีประวัติผูกพันชั้นเช่นครู.....................กับท่านผู้วังหน้าแห่งจักรี
    ข้าน้อยนั้นน้อยซึ่งวาสนา....................ไม่มีค่าจึงถึงตายมลายหนี
    ด้วยบาปกรรมทำไว้กับไพรี.................ด้วยไม่มีทำบุญและสุนทาน
    จึงเห็นว่าท่านครูใหญ่ได้เป็นศิษย์.....วาสนาเพียงนิดของข้าฯได้มาสาน
    เป็นลูกศิษย์ติดมาคงช้านาน............ได้พบพานครูใหญ่ในเวปนี้
    ทั้งท่านครูน้อยตาแดงมีแสงจ้า.......ต้องเป็นผู้ที่ข้าฯผูกพันมั่นแถลง
    เพียงแตะนิดสนิทเทียวในสำแดง...เหมือนได้แสงแห่งธรรมประจำใจ
    ทั้งครูใหญ่ครูน้อยย่อมพันผูก......ต้องเป็นลูกเทพอุดรไม่สงสัย
    รับรองว่าอยู่กันไม่ทันไร..............ท่านฯคงได้สอนสั่งทั้งสองครู.
     
  2. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    แต่งกลอนเก่งเนาะ

    แต่เห้ย..! มัวแต่ยกเมฆไปถึงอดีต มันไม่เห็นความจริงในปัจจุบันไปได้หรอก

    นี่มัน 2556 ไม่ใช่ 2555... หรือ 2557...

    แต่หากเอาอดีตมาแก้ไข ล่ะพอได้

    <iframe width="340" height="260" src="http://www.clipmass.com/embed/402795931412973" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>​
     
  3. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    นึกแล้ว!!!..ว่าระเบิดลง..แน่
    วิ่งกลับเข้าห้องเรียนแล้ว..ขอรับ.
     
  4. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    อาการส่งใจไปในอดีต อนาคต พอยึดมาเป็นเรา นี่มันเป็นสัจจะอย่างหนึ่ง คือ ทุกขสัจ

    ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีอุปาทานขันธ์ ถูกแรงอัดไว้ด้วยตัณหา
    ทีนี้ก็ได้แต่เพ้อพร่ำรำพันพิไร ถึงภพนั้นภพนี้ คือสร้างภพไว้ในใจ
    ด้วยความอยาก ความไม่อยาก ถูกตัณหา3 มันครอบไว้
    ความที่จิตนี้เป็นสมุทัยท่องไปในภพทั้ง3 มโนสังขารมันแล่นไปตามอาการ

    เดี๋ยวรัก เดี๋ยวชัง เดี๋ยวทุกข์ปาดหน้า เดี๋ยวสุขเช็ดน้ำตา
    เป็นไปตามอาการที่ยึดว่าเป็นเรา เป็นตัวเป็นตน เนี๋ยะ สัจจะ.!!
    ความจริง ความจริงที่ต้องเข้าไปรู้ไปเห็นให้เป็นปัจจุบันธรรม
    ตัวธรรมารมณ์ มันเกิดขึ้น ปรมาณูของจิต ไง คือความเป็นปัจยการ ด้วยเหตุปัจจัย
    ความเป็นโลกธาตุ จิตจักรวาล ที่พร่ำกันไป มันจึงเกิดขึ้น
    มีศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์ เป็นตัวพลังงาน คือจิต ที่เคลื่อนไป
    เป็นสิ่งที่ต้องเข้าไปเรียนรู้ เข้าไปรื้อทำลายตัวพลังงานถอนภพชาติ

    อย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านเข้าถึง
    ท่านจึงกล่าวว่า อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญานัง....

    พอสติด้วยฐานสงบตั้งมั่น มันทันกัน มันคลายอาการได้เลยนะ ในขณะนั้นๆ
    ผัสสะมันคลายตัวลง มันดับลง สักกายะขาดสะบั้น
    ด้วยกำลังแห่งมหาสติมหาปัญญากับท่านผู้เข้าถึง ท่านดับเชื้อที่ตัวพลังงาน แจ่มแจ้งด้วย สุญญตา

    แต่หากหลงเข้าไปรับรสของผัสสะ นั่นแหละเวทนา ตัณหามันครอบชาติไว้
    คือ ชาติปิ ทุกขา...โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส มันเลยมาเป็นขบวน
    เพื่อจะให้ยึดอยู่ในกองทุกข์วัฏฏะ ที่เรียกว่า ความเป็นอุปาทานขันธ์


    อย่างที่หลวงปู่แหวน ท่านได้แสดงไว้ว่า :

    "ตั้งหลักไว้ อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม
    ระลึก ดับ ละ วาง ในปัจจุบันจึงเป็น ธรรมโม เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม
    อดีตอนาคต ถ้ามันเกิดมันก็ต้องดับลงไป"



    ดังนั้น ติง ติงไว้ ลมหายใจเข้าออกกระทบที่ปลายจมูก
    นั่นแหละ การได้เข้าไปกำหนดให้เป็นปัจจุบันธรรม กับการที่ได้รู้ลมกระทบ
    ก็กล่าวได้ว่า คนๆนั้นได้กำลังเรียนรู้ในกองขันธ์ กองธาตุ คืออุบายภาวนา

    ฉะนั้น ที่ว่า "ตัวกูของกู" ทำอย่างไรจึงจะไม่มีตัวกูของกู
    ก็ต้องเข้าไปรู้ไปเห็น ไปรู้จักกู นั่นก่อน แล้วจึงจะกำจัดตัวกูได้ นั่นแหละ มันจึงจะไม่มีตัวกูของกู
    จึงต้องมีอุบายภาวนาไง อานาปาณสติ กายคตาสติ สติปัฏฐาน เพื่อเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม
    ที่เพียรอบรมกันอยู่นั่นแหละ ก็เพื่อจะเห็นตัวกู เพื่อความแจ้งในอนัตตา

    แต่หากไปตั้งค่าแต่เริ่มแรก ตัวกูของกู ทั้งที่ยังไม่เห็นกู มันก็ลอยลมเนาะ เป็นธรรมะลอยลม
    เพราะกูนั้นคือ อัตตา อยู่ที่ว่าจะเอาอัตตานั้น มาใช้ประโยชน์อย่างไรเท่านั้นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2013
  5. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ปฏิจจสมุปบาท - สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้
    ๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    ๒. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณี เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    ๓. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
    ๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    ๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    ๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    ๗. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    ๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
    ๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี
    ๑๐. ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    ๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติ เป็นปัจจัย (๑๒.)ชรามรณะจึงมี
    โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมมัส อุปายาส จึงมีพร้อม
    เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้จึงมีด้วยประการฉะนี้


    ปฏิจจสมุปบันธรรม - ปฏิจจสมุปปันนธรรม - ธรรมหรือสภาวธรรมที่สิ่งต่างๆเกิดขึ้นมาแต่เหตุปัจจัย เช่น การเกิดแต่เหตุปัจจัยของความทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาท เรียกสภาวธรรมนี้ว่าปฏิจจสมุปบันธรรม, การเกิดแต่เหตุปัจจัยของขันธ์ ๕ หรืออุปาทานขันธ์๕, ธรรมหรือสภาวธรรม ในการเกิดมาแต่เหตุปัจจัยของสังขารหรือสรรพสิ่งต่างๆ กล่าวคือ จึงครอบคลุมสิ่งต่างๆหรือสังขาร(สังขตธรรม)ที่เกิดขึ้นแต่เหตุหรือสิ่งต่างๆมาเป็นปัจจัยกันทั้งสิ้น นั่นเอง
     
  6. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    อาสวะกิเลส และ สัญญา
    อาสวะกิเลส หมายถึง กิเลสสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือรับคุณธรรมได้ยาก ที่แอบซ่อนนอนเนื่องซึมซาบย้อมจิต เพียงรอสิ่งที่มากวน มากระตุ้นเร้าให้กิเลสที่นอนเนื่องตกตะกอนนอนก้น คืออยู่ในลักษณาการที่ดับลงไปอย่างชั่วคราวที่อยู่ในจิตให้ขุ่นมัวคุกรุ่นขึ้นมาเป็นกิเลสหรือองค์ธรรมสังขารกิเลสต่อไปนั่นเอง กล่าวคือ ไปเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันร่วมกับอวิชชา จึงยังให้เกิดองค์ธรรมสังขารความคิดหรือการกระทำตามที่ได้สั่งสมไว้หรือสังขารกิเลส และกำเริบเสิบสานดำเนินต่อไปให้เป็นอุปาทานทุกข์ เวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ต่อไป

    หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ดังนี้ก็ได้ว่า อาสวะกิเลส คือ ความจำ แต่แตกต่างจากสัญญาหรือความจำโดยทั่วไปหรือความจำในขันธ์ ๕ กล่าวคือ ประกอบด้วยสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมอง ที่นอนเนื่องอยู่ในจิต กล่าวคือ มีความจำได้อยู่ในจิต อันอาศัยหทัยวัตถุหรือสมอง แต่ยังไม่ได้เกิดการผุดระลึกขึ้นมา และประกอบไปด้วยสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือเศร้าหมองเนื่องจากแฝงด้วยกิเลสต่างๆอันสั่งสมมาแต่อดีต ดังเช่น กิเลสตัณหาอุปาทานต่างๆในอดีตทั้งหลายนั่นเอง
     
  7. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    อาสวะกิเลสเหล่านี้ ก็คือสัญญาอันจดจำได้ซึ่งแฝงด้วยกิเลส นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน หรือ ประสบการณ์ชีวิต หรือก็คือเกิดจากขันธ์๕ที่เคยเกิดเคยเป็นในอดีตนั่นเอง หรือกล่าวได้โดยกว้างๆว่าคือความจำได้ในเหล่าตัณหาแลอุปาทานที่เคยเกิดขึ้นและเป็นไปในอดีตและนอนเนื่องอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชานั่นเอง ซึ่งท่านได้จำแนกแจกแจงออกเป็น ๕ กองด้วยกัน คือ

    โสกะ อาสวะกิเลสหรือกิเลสที่นอนเนื่องที่เกิดจากความจำได้ในความรู้สึกประเภท ความโศรก ความเศร้า ความแห้งใจ อันเกิดจากการพลัดพราก การสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบ ทั้งบุคคล วัตถุ ทรัพย์สิน ลาภ ยศ สรรเสริญ อันเนื่องมาจากอำนาจพระไตรลักษณ์ อาจกล่าวได้ว่าก็คือเหล่าวิภวตัณหาที่นอนเนื่องอย่างหนึ่งนั่นเอง

    ปริเทวะ ความจำได้ในความสุขและความทุกข์ที่เคยเกิดเคยเป็นนั่นเอง จึงเกิดการคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน ในความสนุก ความสบาย ลาภ สรรเสริญ รสสัมผัสประณีตที่ถูกใจทั้งหลายทั้งปวงจากทวารทั้ง๖ ความพึงพอใจที่เคยเกิดขึ้น เคยมี เคยเป็นอยู่ ซึ่งล้วนดับไปแล้วเพราะความไม่เที่ยงในความสุขเหล่านั้นจึงเกิดการคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน โหยไห้ อาลัยหา รำลึกถึง ด้วยความชอบความอาลัย อันแอบซ่อนอยากให้เกิด อยากให้เป็น อยากให้คงอยู่ อยากสัมผัส อยากให้มีอีก ดังนั้นแม้กระทั่งความสุข ทั้งหลายแต่อดีตจึงเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา หลอกล่อให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงรวมทั้งความสุขความสบายอันเกิดแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา และอุเบกขาความสงบ อันเป็นองค์ฌานต่างๆด้วยในสภาวะรูปภพและอรูปภพอันเกิดแต่การติดเพลิน(นันทิ)จึงดำเนินไปตามวงจรจนกลายเป็นอาสวะกิเลสในที่สุดเช่นกัน, ส่วนในความทุกข์นั้นก็หยิบยกมาพิรี้พิไร ครํ่าครวญไม่อยากให้เกิดไม่อยากให้เป็นอีก ดังนั้น ปริเทวะ คือ ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว(จึงรวมทั้งสุขอันจัดว่าเป็นทุกข์อย่างละเอียดด้วย) เป็นไปในลักษณะของตัณหาที่นอนเนื่องอยู่นั่นเอง เป็นสุขก็เกิดภวตัณหาที่นอนเนื่อง เป็นทุกข์ก็เกิดวิภวตัณหาที่นอนเนื่อง

    ทุกข์ หรือทุกข์กาย ความจำได้ในความไม่สบายอันเกิดเป็นแต่กาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส ทุกข์ทางกายที่เคยเกิดเคยเป็น แต่ดับไปแล้วด้วยความไม่เที่ยง แต่ยังจดจำได้ด้วยความด้วยความกังวล ความกลัว ความไม่ชอบความเจ็บปวด อันเกิดแต่กายอันไม่สำราญเป็นเหตุ ความไม่อยากให้เกิดไม่อยากให้เป็นในสิ่งที่รู้ จึงกลัว จึงกังวล ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย รวมทั้งความไม่สำราญกายอันเกิดแต่การหลุดไปจากองค์ฌานต่างๆด้วยในสภาวะรูปภพและอรูปภพด้วย กล่าวได้ว่าก็คือเหล่าวิภวตัณหาที่นอนเนื่องที่เกี่ยวกับความทุกข์ของกายนั่นเอง

    โทมนัส ความจำได้ในความไม่สบายอันเคยเกิดแต่จิต ความไม่ชอบใจ ความกังวลใจ ความไม่สบายใจ ความไม่เป็นไปตามปรารถนา ความไม่สำราญทางจิต รวมทั้งความไม่สำราญจิตอันเกิดแต่การหลุดไปจากองค์ฌานอันเป็นไปในภาวะรูปภพและอรูปภพ อยู่ในลักษณะของวิภวตัณหาอันนอนเนื่อง

    อุปายาส ความจำได้ในความคับแค้น ความขุ่นข้อง ความขัดเคืองใจ ความไม่พอใจ โทสะต่างๆในสิ่งต่างๆ ซึ่งล้วนดับไปแล้วเพราะพระไตรลักษณ์ ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อยู่ในลักษณะของวิภวตัณหาอันนอนเนื่อง

    สิ่งเหล่านี้เองที่จิตบันทึกหรือจดจำได้หรือสัญญาในสิ่งเหล่านี้ ซึ่งล้วนแฝงด้วยสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวไว้แต่อดีตโดยไม่ต้องตั้งใจ หรือโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง ทำหน้าที่แห่งตนโดยสภาวะธรรมชาติของชีวิตด้วยการจดจำบันทึกไว้เอง (โดยไม่ต้องใช้ความพยายามหรือสติและปัญญาไปร่วมขบคิดและสั่งสมจนเชี่ยวชาญเหมือนกับการเล่าเรียน เขียนหนังสือ หรือการปฏิบัติธรรม ที่ต้องการให้เกิดการสั่งสมเป็นความชำนาญเพื่อการใช้งานได้ทันทีในทุกกาลนั่นเอง) เนื่องจากสัญญาหรือการจดจำชนิดอาสวะกิเลสเป็นการเก็บจำตามธรรมชาติของชีวิต จึงเก็บจำในสิ่งที่ถูกใจ ไม่ถูกใจต่างๆเป็นธรรมดา ไม่ได้ตั้งใจที่จะจดจำเป็นพิเศษด้วยความเพียรแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เองอาสวะกิเลสเหล่านี้จึงอยู่ในสภาพจดจำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เป็นธรรมดา อยู่ในสภาพ เกิดแล้วดับๆ ก็คือยังจำได้เป็นครั้งคราวอยู่ดี ที่เรียกกันว่านอนเนื่องหรือยังคงค้างคาอยู่ในจิต ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดองค์ธรรมสังขารอันเป็นทุกข์ต่อไปในภายหน้า เมื่อถูกกวนให้ขุ่นมัวหรือโดนเร้าจากการกระทบสัมผัสขึ้นมา ดุจดั่งนํ้าขุ่นที่ทิ้งไว้จนตกตะกอนนอนก้นเพียงแลดูใสสะอาด แต่เมื่อกวนลงไป ตะกอนที่นอนก้นทั้งหลายก็ฟุ้งกระจายจนขุ่นมัวไปทั่วดังเดิมนั่นเอง เพราะจะเป็นไปดังนี้ เมื่อ

    ตา กระทบ รูป คนที่เกลียดชัง อาสวะกิเลสที่เก็บจำไว้ในรูปอุปายาส ความขุ่นเคือง ขัดข้อง ก็ถูกกวนถูกเร้าหรือกระตุ้นขึ้นให้จิตขุ่นมัวขึ้นได้ทันที จึงเกิดทุกขเวทนามีอามิส กล่าวคือ ทุกขเวทนานั้นแฝงกิเลสความจำได้ในอุปายาสนั่นเอง และดำเนินต่อไปตามกระบวนธรรมของขันธ์๕...

    ตา กระทบ รูป อาหารอันโปรดปราน อาสวะกิเลสที่เก็บจำในรูปปริเทวะ ความโหยไห้ ความอาลัยอยาก ก็ถูกกวนเร้าให้เกิดความอยาก นํ้าลายสอ จึงเกิดสุขเวทนามีอามิส กล่าวคือ สุขเวทนานั้นแฝงกิเลสความจำได้ในปริเทวะนั่นเอง...

    ลิ้น กระทบ รส อาหารอันโปรดปรานแสนเอร็ดอร่อย อาสวะกิเลสที่เก็บจำในรูปปริเทวะ ความโหยไห้ อาลัยอยาก ทำให้เกิดแช่มชื่น สบายใจ ถูกใจ...

    หู กระทบ เสียง ดนตรีหรือเพลงอันไพเราะถูกใจ อาสวะกิเลสที่เก็บจำจากปริเทวะ ก็ถูกกระตุ้นเร้าให้เกิดความอยากฟัง เกิดเพลิดเพลิน สบายใจ...

    หู กระทบ เสียง ดังเอะอะโวยวาย อาสวะกิเลสที่เก็บจำในรูปโทมนัส ก็ถูกกระตุ้นเร้าให้เกิดความไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ หงุดหงิดรำคาญ...

    หู กระทบ เสียง ที่เขาด่าเราตรงๆ อาสวะกิเลสที่เก็บจำในรูปอุปายาส ก็ถูกกระตุ้นเร้าให้เกิด ความขุ่นเคือง ขัดข้อง ได้ทันที....

    กาย กระทบ กายเพศตรงข้ามอันอ่อนละมุน อาสวะกิเลสที่เก็บจำจากปริเทวะ ก็ถูกกระตุ้นให้เกิดราคะ...

    ใจ กระทบ คิดที่เป็นทุกข์ อาสวะกิเลสที่เก็บจำจากโทมนัส ก็ถูกกระตุ้นให้เกิดโมหะ(ความหลง)...

    ใจ กระทบ คิดที่เป็นความเกลียดชังหรือโทสะเช่นอดีต อาสวะกิเลสที่เก็บจำจากอุปายาส ก็ถูกกระตุ้นให้เกิดโทสะ ความโมโห...

    ถ้าโยนิโสมนสิการโดยแยบคายแล้วจะพบว่า สังขารอันเป็นผลขึ้นนั้นเช่น ราคะ โมหะ โทสะ หดหู่ ฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ความขัดข้อง ต่างๆเหล่านั้น เป็นการกระทำเองโดยไม่รู้ตัวหรือเรียกว่าโดยอัติโนมัติของปุถุชนโดยแท้ทีเดียว ลองพิจารณาดูจาก ตา ไปกระทบ คนที่เกลียดชัง แค่มีเหตุปัจจัยไปกระทบเห็นเข้าเท่านั้นเอง สัญญาในรูปอาสวะกิเลสทำให้เกิดเวทนาต่างๆทันที ในกรณีนี้ก็จะเกิดทุกขเวทนามีอามิส(กิเลส)หรือก็คือเวทนาที่มีอาสวะกิเลสแฝงอยู่นั่นเองขึ้นในบันดลทันที จึงทำให้ไม่สามารถรับรู้ตามความเป็นจริงของธรรมหรือสิ่งนั้นๆได้ แล้วดำเนินไปตามกระบวนธรรมของขันธ์๕ต่อไป
     
  8. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    กระบวนธรรมของขันธ์๕ ได้ดังนี้

    ตา รูป ย่อมเกิดจักษุวิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำในรูปอาสวะกิเลสทุกขเวทนามีอามิสสัญญาหมายรู้จึงหมายกระทำ>สังขารขันธ์ในรูปต่างๆนาๆ

    หรือ มีความคิดที่เกิดแต่อาสวะกิเลสชนิดอุปายาสคือขุ่นข้องขัดเคืองเกิดขึ้น ก็จะดำเนินไปเช่นนี้

    ความคิด ใจ มโนวิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำในรูปอาสวะกิเลสทุกขเวทนามีอามิสสัญญาหมายรู้จึงหมายกระทำสังขารขันธ์ในรูปต่างๆนาๆ
     
  9. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ดังนั้นเมื่อปุถุชนผู้ยังไม่มีวิชชาหรือปัญญาและไม่เคยฝึกหัดปฏิบัติ เมื่ออาสวะกิเลสเหล่านี้เกิดผุดขึ้นมาเป็นธรรมดาดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว จะด้วยการผุดขึ้นมาโดยธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทบสัมผัสก็ตาม ก็ย่อมต้องยังให้เกิดเวทนาหรือจิต(ความคิด)ขึ้นอันเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติของชีวิตหรือขันธ์๕นั่นเอง แล้วปุถุชนผู้ยังไม่เรียนรู้และไม่เคยปฏิบัติย่อมปล่อยให้เป็นไปตามวิถีจิตของปุถุชน คือ ให้เกิดขึ้นและเป็นไปตามวงจรการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือ ถ้าเวทนานั้นถูกใจ ชอบใจ สบายใจ ก็อยาก(นันทิ,ตัณหา)ให้คงอยู่ คงเป็น คงเกิดขึ้นใหม่, ถ้าเป็นทุกขเวทนา ไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ ก็ไม่อยาก(วิภวตัณหา)ให้เกิดให้เป็น ไม่อยากให้คงอยู่ ถ้าเป็นอทุกขมสุขก็ไม่ระวังปล่อยเพลินด้วยการไปปรุงแต่งด้วยอวิชชาจนเป็นทุกข์ในที่สุด อันล้วนอาจเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาต่างๆนั่นเอง, หรือถ้าเป็นความคิด(จิต)อันเกิดขึ้นมา(สังขาร)ก็ปล่อยเพลิดเพลินปรุงแต่งจนเกิดเวทนาต่างๆขึ้นเป็นที่สุดและดำเนินไปตามข้างต้นนั้นเอง ลองโยนิโสมนสิการโดยทำใจเป็นกลางดูว่าปุถุชนคนใดที่ไม่เป็นไปอย่างนี้ เป็นไปได้ไหม

    ด้วยเหตุดั่งนี้นี่เอง อาสวะกิเลส จึงเป็นญาณสุดท้ายที่เกิดขึ้น เนื่องเพราะละได้ยากหรือดับได้ยาก อันเนื่องมาจากเป็นกระบวนธรรมชาติของชีวิตโดยตรงๆ เป็นส่วนหนึ่งของความจำ(สัญญา)ที่ใช้ดำรงชีวิตโดยตรงด้วยตนเอง แต่ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจึงทรงจำแนกให้เห็นสิ่งเหล่านี้ที่ซ่อนเร้นปกปิดอยู่ภายในจิตด้วยญาณหรือปัญญานั่นเอง และทรงรู้ดีว่าสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่สรรพสัตว์ทั้งหลายจะไปสู้รบปรบมือด้วยตรงๆไม่ได้ มีแต่ทางพ่ายแพ้ตกเป็นทาสของมันเป็นธรรมดา ทางชนะมีแต่ต้องอาศัยแต่ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นั้นเองเป็นผู้ช่วยแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยตรง อันเกิดขึ้นมาจาก สติ สมาธิ(สติอย่างต่อเนื่อง) ปัญญา เป็นเหตุให้เกิดธรรมชาติใหม่ของชีวิตขึ้น เป็นธรรมชาติชนิดที่สวนทวนกระแสของปุถุชน คือ ไม่ยังให้เกิดทุกข์ สติเป็นสติอย่างต่อเนื่องอันเป็นสมาธิในวิถีจิตตื่นในช่วงการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการปฏิบัติด้วยปัญญาอันรู้เข้าใจอย่างถูกต้องดีงามเป็นแนวทางและจัดการ โดยสภาวะธรรมชาติของชีวิตอันยิ่งใหญ่เช่นกันจึงย่อมสั่งสมเป็นสังขารอันเชี่ยวชาญชำนาญยิ่งสามารถกระทำกิจได้โดยอัติโนมัติ หรือกระทำได้เองโดยไม่ต้องจดจ่อจดจ้องตั้งใจเป็นพิเศษ เป็น มหาสติ นั่นเอง (นึกภาพไม่ออก ให้โยนิโสมนสิการพิจารณาโดยใช้ขันธ์๕ ในสังขารของการอ่านหนังสือ การว่ายนํ้า การขี่จักรยาน ฯลฯ. อันเป็นสังขารชนิดมหาสติอย่างเดียวกัน แต่เป็นแบบทางโลกๆ ไม่นำพาให้พ้นทุกข์โดยตรง)

    ในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น อาสวะกิเลสอันเป็นสัญญาที่เจือปนด้วยกิเลสอันทำให้จิตขุ่นมัวเป็นทุกข์นั้นได้ดับไปเสียแล้วด้วยนิพพิทาญาณ หมายความว่า อาสวะกิเลสของท่านนั้นได้กลับกลายไปสู่สภาพธรรมชาติเดิมแท้ๆเป็นเพียงสัญญา ขาดจากการปรุงด้วยกิเลสอันเนื่องด้วยนิพพิทาญาณ และอวิชชาได้ดับไปเสียแล้ว จึงเป็นเพียงสัญญาความจำเท่านั้น จำได้ในอดีต ดีชั่ว ถูกผิด ชอบชัง สวยไม่สวย เปรี้ยวหวาน โอชะไม่โอชะ ไกลใกล้ ละเอียดหยาบ ล้วนแต่ยังคงมีอยู่เป็นธรรมดา แต่ล้วนไม่มีกิเลสแอบแฝงนอนเนื่อง เป็นสัญญาตามธรรมชาติอันบริสุทธิ์ อันเกิดแต่ปัญญาที่เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงที่มันเป็นไป ไม่เห็นไปตามที่ตนชอบหรือเข้าใจ กิจอันพึงกระทำอย่างยิ่ง ท่านได้กระทำโดยสมบูรณ์แล้ว ท่านก็ทรงดำรงชีวิตโดยอาศัยขันธ์๕ เป็นเพียงเครื่องอยู่ เสวยวิมุติสุขอันเกิดแต่การหลุดพ้น ไร้สิ่งมารบกวนให้ท่านเป็นทุกข์ได้อีกต่อไป เหลืออยู่ก็แต่เวทนาอันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติเพียงเท่านั้น หรือในภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน พระนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และดำเนินชีวิตอยู่ในเบญจขันธ์หรือขันธ์๕ นั่นเอง

    อาการที่สัญญานั้นเปลี่ยนแปลงต่างไปจากปุถุชนของพระอริยะนั้น เป็นไปด้วยสัญญาหมายรู้คือปัญญาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสั่งสม นั่นเอง อุปมาได้ดั่งเมื่ื่อยามเป็นเด็ก เมื่อตากระทบรูปคือนม ย่อมเกิดสุขเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา แต่เมื่อเติบใหญ่สั่งสมประสบการณ์คือสัญญามากขึ้น สัญญาในรูปนั้นก็ย่อมแปรไปเป็นชอบอาหารธรรมดามากขึ้น เมื่อกระทบกับนม จึงมักแปรไปเป็นอทุกขมสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนาอันแผ่วเบาได้

    ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำได้หมายรู้) เวทนา
     
  10. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    สังโยชน์ - กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรม(สิ่ง)ที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่างคือ

    ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องตํ่า ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความคิดความเห็นว่ากายเป็นอัตตาตัวตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความขุ่นเคือง

    ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น รูปฌาน ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น อรูปฌาน ๘.มานะ ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง ดูรายละเอียดได้ในบทสังโยชน์๑๐

    พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ, ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
     
  11. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    สติ - ตามความหมายในทางพุทธศาสตร์แปลว่า ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ (เป็นอาการหนึ่งของจิต จึงเป็นจิตตสังขารอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในเจตสิก ๕๒ ข้อ ๒๙), บางทีก็เรียกกันไปว่า ผู้รู้ ตัวรู้ ธาตุรู้



    สติปัฏฐาน - ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ

    ๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย

    ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา

    ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต

    ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม;

    เรียกกันสั้นๆ ว่า มีสติรู้เท่าทันใน กาย เวทนา จิต ธรรม


    สติรู้เท่าทัน - ความระลึกได้ตามที่มันเกิดหรือเป็นจริง เช่น จิตมีราคะ(ความอยากในสิ่งใดๆ) ก็รู้เท่าทันราคะที่เกิดขึ้นนั้น และรู้ว่าเป็นราคะอันเป็นโทษ(ตามหลักสติปัฏฐาน๔) เมื่อรู้แล้วต้องหยุดคิดนึกปรุงแต่งต่อจากสติรู้เท่าทันนั้นๆเพราะจะทําให้จิตมีโอกาสปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป
    http://www.nkgen.com
     
  12. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
  13. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    สรุปง่ายฯ ผัสสะ เป็นบ่อเกิดของกรรม และเกิดผลเป็นวิบากกรรม ทำให้สัตว์โลก  เวียนว่ายตายเกิดใน สังสารวัฏ (ตายแต่ร่างกายจิตไม่มีวันตาย)
    ผัสสะทำให้เกิดเวทนา  ----- "ถ้าดับเวทนาไม่ได้ ความเกิดใหม่ย่อมมี"
    ความอยากทำให้คนต้องเกิดฯ ตันหา  ชเนติ  ปุริสัง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04720.JPG
      DSC04720.JPG
      ขนาดไฟล์:
      547.5 KB
      เปิดดู:
      27
  14. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ_L_cb0XngqKJCv7e43NtO5e0w7JMVj7BMiULkQZDS1XxMN2t2

    เข้ามาทำความรู้จักกับวัฏฏะ 3 ครับ

    วัฏฏะ หรือ ไตรวัฏฏ์ แปลว่า วงวน หรือวงจร หมุนเวียนสืบทอดต่อ ๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิดเป็นวงจรหมุน ไป ได้แก่

    1. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง

    2. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วย สังขาร ภพ คือ การกกระทำที่มีเจตนามี 2 ประเภท คือ อกุศลกรรมหรือกรรมชั่ว และกุศลกรรมหรือกรรมดี กรรมทั้ง 2 ประเภทนี้ สามารถแสดงออกได้ 3 ทาง คือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม และ ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม

    3. วิบากวัฏฏ์ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปยาสคือ ผลของการหรือผลของการกระทำ กระทำอย่างใดไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น นั่นคือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    อธิบายให้เข้าใจง่ายฯครับ
    กิเลส กรรม และ วิบาก เปรียบเหมือน รถ ตุ๊ก ตุ๊ก ของไทย เรา
    แต่ต่างกันคือรถคันนี้จะวิ่งเฉพาะ ไป ภพ กับ ชาติ เท่านั้นมีด้วยกันทั้งหมด คือมีแค่ ๓ ล้อ ครับ ซึ่ง อวิชชา อาศัย อยู่ในล้อทั้งสาม ตัวรถ ตุ๊ก ตุ๊ก เปรียบเหมือน สังสารวัฏ ถ้ายังไม่ถูกทำลาย
    เป็นเหตุปัจจัย ทำให้เกิด ภวตัณหา และ วิภาวตัณหา ฉนั้น เรา จึง
    ช่วยกัน ถอดล้อ ตุ๊ก ตุ๊ก ทั้งสามออก และ ทำลายเสีย รถ ตุ๊ก ตุ๊ก ก็ ไม่อาจ
    ที่จะวิ่งข้าม ภพ ชาติ อีกได้ ครับ

    เจริญธรรมมาด้วยเมตตาจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04700.JPG
      DSC04700.JPG
      ขนาดไฟล์:
      467.4 KB
      เปิดดู:
      29
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2013
  15. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    เห็นคนขึ้นรถตุ๊กตุ๊กมาทุกชาติ
    วิ่งขับปาดเฉียดซ้ายและแซงขวา
    บ้างถอยหลังลงเหววิ่งเร็วมา
    บ้างเซถลาปิดไฟ  ใน  ค่ำ  คืน


    บ้างก็ขับไปชนหนทางมืด
    คิวยาวยืดมืดมนทนทุกข์หนา
    วิ่งออกนอกเส้นทางองค์สัมมาฯ
    ไปพบพาภัยพิบัติ  ติด  ขัด   กัน


    เสียค่าวินค่าคุ้มครองที่ต้องจ่าย
    บ้างถูกไถตามรายทางกลางถนน
    ทางสายเอกในวันนี้ว่างผู้คน
    ถ้าใครสนรีบขึ้นมา  ตาม  หา  ทาง


    ทางสายตรง  ลงสายกลาง   ทางสายเอก
    ไม่มีเลขไม่มียันต์พันมาขาย
    มีแต่ธรรมนำขึ้นมาล้วนมากมาย
    ท่านทั้งหลาย   มาสดับ   รับ   รส  ธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1 universe.jpg
      1 universe.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.5 KB
      เปิดดู:
      38
    • DSC04700.JPG
      DSC04700.JPG
      ขนาดไฟล์:
      467.4 KB
      เปิดดู:
      29
  16. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    จะเล่าขานตามวิถีที่ในป่า
    สนทนากับเทพไปในไพรสน
    หลวงปู่ใหญ่แยกกายได้หลายคน
    มาฝึกฝนสอนข้อธรรมติดตามไป

    ส่งลูกศิษย์ติดตามข้ามประเทศ
    อาจารย์เทพหรือพระครูผู้ยิ่งใหญ่
    อภิญญาวิทยายุทธ์สุดเกรียงไกร
    ไม่แพ้ใครในสยามตามมาดู


    วัดท่าแคเทพนิมิตรศิษย์พบท่าน
    เป็นอาจารย์อยู่สายป่าที่มาสอน
    ปรุงธาตุสี่หลายวิธีมีขั้นตอน
    แปลงของร้อนให้เย็นเช่นพริบตา

    ถอดประคำวางดูเป็นงูวิ่ง
    งูยาวจริงวิ่งตามสั่งไม่กังขา
    เคาะสามครั้งงูหายลับไปกับตา
    เหลือวางหน้าลูกประคำท่านทำเอง


    สมเด็จวรญานผ่านมาหาที่วัด
    นิมนต์ท่านจัดให้แจ้งแสดงต่อหน้า
    คว้าใบไม้วางไปในพริบตา
    กลายเป็นปลาตัวใหญ่ว่ายน้ำลง

    เรียกแม่ครัวเข้ามาแจ้งแกงถวาย
    ปลาตัวใหญ่ใส่หม้อแกงที่แปลงใว้
    ฉันเสร็จสรรพกลับกลายเป็นไม้ใบ
    แล้ววางใว้ให้แห้งแกงฉันดี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1 universe.jpg
      1 universe.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.5 KB
      เปิดดู:
      27
    • DSC05715.JPG
      DSC05715.JPG
      ขนาดไฟล์:
      557 KB
      เปิดดู:
      24
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  17. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ท่านเล่าขาน เรื่องราว คราวหนหลัง
    ช่างน่าฟัง อดยั้งจิต คิดไต่ถาม
    อ่านจนจบ นบประนม ก้มกราบตาม
    ที่เอ่ยนาม ล้วนพระผู้ ครูอาจารย์
     
  18. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ถ้อยแถลง แจ้งกระจ่าง ส่องทางให้
    ได้เรียนรู้ และเข้าใจ ไม่สับสน
    โมทนา ธรรมทาน ซึ้งกมล
    บุญกุศล ดลจิต คิดติดตาม
     
  19. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    หยิบใบไม้กลับกลายเป็นกระต่ายป่า
    สองตัวพากันเล่นวิ่งหลบอิงไม้
    กับข้ามขอนย้อนตามมาอีกมากมาย
    มีกระต่ายยกทั้งฝูงมุงดูคน

    เคาะสามครั้งกลับกลายใบไม้ป่า
    หายลับตากระต่ายมาต่อหน้าแสง
    หยิบโซ่ร้อนเผาด้วยไฟสายร้อนแรง
    สองมือแดงแรงร้อนท่อนโซ่ไฟ


    เคี่ยวน้ำมันลงกระทะใบบัวใหญ่
    เร่งใส่ไฟเดือดน้ำมันพอทันใช้
    สองมือลงควานน้ำมันเดือดในทันใด
    ร้อนขาดใจมือท่านเย็นไม่เห็นพอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • A Thap2.jpg
      A Thap2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      590 KB
      เปิดดู:
      46
    • DSC05587.JPG
      DSC05587.JPG
      ขนาดไฟล์:
      474.5 KB
      เปิดดู:
      24
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  20. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271

    สาธุ...ขอรับท่านอาจารย์ครูใหญ่
     

แชร์หน้านี้

Loading...