ทำยังไงดี ใครเคยเป็นบ้างครับ บางครั้งหลังออกจากสมาธิแล้วอารมณ์ร้อน อย่างไม่เคยเป็นมา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย chinnathap, 13 กรกฎาคม 2015.

  1. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015





    ผมเคยเป็นบ่อยๆ ครับ
    เวลาที่กลับมาอยู่บ้าน
    เพราะจิตปกติของเรา
    มันนิ่งสงบอยู่


    แต่พอมันกลับมาถึงบ้าน
    ทั้งเมีย ทั้งลูก กวนกันไม่หยุด
    ใจที่นิ่งสงบ มันก็โดนกระทบ
    แบบที่เรียกว่า โลกกระทำ
    พอกระทบปุ๊บ ใจเราก็ปรุงแต่งทันที
    ว่าจิตของเราไม่สงบแล้วนะ
    มันก็เลย เกิดอาการโมโห
    แบบปรี๊ดขึ้นมาทันที


    เมื่อก่อนไม่เป็นหนัก ถึงขนาดนี้
    แต่พอใจเรานิ่งได้บ่อยๆ นานๆ
    พอมีใครมากวนใจเรา
    เราจะรับรู้ ได้มากกว่าเก่า
    เราก็จะคิดเสียใจว่า
    ที่เราฝึกมาไม่ได้ผลเสียแล้ว


    ซึี่งความจร่ิงแล้ว
    มันได้ผลดีกว่าเดิม ต่างหาก
    เรารับรู้ อารมณ์ที่กระเพื่อมได้ทันที
    อาการนี้แหละ เป็นอาการที่
    นักวิปัสสนา เรียกว่า ตัวรู้ หรือ ผู้รู้


    ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ
    จะเกิดกับนักทำสมาธิ
    ที่ฝึกถึงขั้น วิญญาน
    ที่สามารถฝึกจน รับรู้อาการต่างๆ
    ได้เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2015
  2. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971

    นั่งสมาธิเจริญสติ คือ ตามดูระลึกถึงสิ่งปรุงแต่งต่างๆอยู่ใช่มั๊ยครับ
    แต่ยังเป็นการเจิรญิสติภายนอกๆอยู่ ยังขาดสัมปชัญญะที่เป็นกำลัง
    ภายในหรือใจผู้รู้ที่เป็นตัวสมาธิ ตั้งมั่นหรือสงบอยู่ภายใน..

    ต้องฝึกสัมปชัญญะ หรือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในฐานกายให้ได้ก่อน
    และสำรวมรู้ลงในฐานใจ(รู้กระทบต่างๆจากฐานใจ รู้ได้ทั้งกายและสิ่ง
    ที่กระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ฝึกตรงนี้แล้วจะเจอฐานใจ ข้างใน

    สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต(ยังไม่ต้องรวมเป็นฌาณก็ได้)หรือ
    สัมปชัญญะภายใน(ใจผู้รู้) เราฝึกเจริญสติ สัมปชัญญะ ไม่ว่าจะ
    นั่ง ยืน เดิน นั่ง นอน เราต้องฝึกให้มีสมาธิในจิตข้างในด้วยอาจจะ
    มียังไม่มากแต่ต้องมี เรียกว่าจิตเข้าฐาน จิตตั้งมั่น โดยการหัดสำรวม
    กาย วาจา ใจ หรือสังวรณ์ในศิล หรือสำรวมอินทรีย์ ตรงนี้จะเกิดการ
    สำรวมที่ใจ หรือเป็นสัมปชัญญะในฐานใจ หรือ ใจผู้รู้ ตรงนี้แหละคือ
    เป้าหมายเราต้องปลุกใจ ผู้รู้ ตรงนี้ให้ตื่น ฉะนั้นเราฝึกสติ ตามเห็นสิ่ง
    ต่างๆที่ใจ คือต้องให้เห็นใจผู้รู้ นี้ด้วย เรีกว่าสติเห็นสิ่งต่างๆชัด แล้วกลับ
    มาชัดรู้ที่ฐานใจ หรือใจผู้รู้...

    ถ้าเราอยู่ตรงฐานจิตผู้รู้ หรือฐานใจได้ มันจะอยู่เหนืออารมณ์ แต่ถ้าเราฝึก
    แค่สติมันจะอยู่เหนือความคิดต่างๆ(แต่ต้องฝึกให้ได้ก่อนน๊ะสำคัญ) ฉะนั้น
    แล้วตรงใจผู้รู้ นี้แหละเป้าหมายที่เราต้องอบรมเค้าให้เกิดปัญญา เห็นความจริง
    ถ้าไม่มีตรงนี้ จิตไม่มีกำลัง มันจะฟุ้งซ่านได้เช่นกัน....
     
  3. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    อาการคล้ายคนที่เริ่มปฏิบัติแล้วมีอาการใจคิดปรามาสพระ อยากด่าพระ ไม่ชอบพระ

    เรียกว่ามันขุดรากเหง้าจากอดีตมาให้เห็น

    มันเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้เห็นอารมณ์นี้ เราจะได้แก้ถูกและตรงทาง..
     
  4. ผู้เฝ้าดู

    ผู้เฝ้าดู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +184
  5. pana_mool

    pana_mool เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +7,048
    สาธุ ใช่เลยครับ
    ถ้าทำต่อไปเมื่อกำลังของสมาธิมากขึ้น มันจะเห็นสภาวะต่างๆ ของอารมณ์ และ ความคิด และ พอมันเห็น สิ่งที่ถูกเห็นจะหายไป ใช่ไหมครับ
    เหลือแต่ตัวรู้
    พอเห็นแล้ววาง เห็นแล้ววาง เราจะไม่มีความสุข มันจะมีแต่ความว่าง โลกทั้งโลกไม่มีสิ่งที่เราปราถนา อีกแล้ว
    ต่อมาจะเกิดความทุกข์ ที่แสนสาหัส ทุกอย่างล้วนเป็นทุกข์ แม้แต่สิ่งที่เคยทำให้เรามีความสุข มันก็กลายเป็นสิ่งที่ทำให้เราทุกข์
    มาถึงตรงนี้ไปต่อไม่เป็น มันทุกข์มาก ก็เลยเลิกปฏิบัติ

    เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ
    ความคิดเห็นต่างกัน เป็นเรื่องธรรมดา เพราะมีความรู้ และประสพการณ์ต่างกัน

    แต่การใช่คำพูด ทิ่มแทงกัน

    เป็นสิ่งที่เหมาะสม สิ่งที่ดีงาม ของคนที่ประกาศตัว ว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติ หรือ

    ผมไม่ได้ตำหนิ หรือ ปรามาสท่านใด นะครับ
    แต่อยากให้ช่วยพิจารนาดูครับ

    คนกินเหล้าบางวงกอดคอกันกลมเกลียว นักปฏิบัติกลับแตกแยก
    เห็นแล้วมัน แปลก:cool:
     
  6. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ขออนุญาติ ออกความเห็นนะครับ มันไม่แปลกดอกที่ออกจากสมาธิแล้ว อารมณื เราก็กลับไป เหมือนเดิม ท่านลองทบทวนดูว่า เมื่อขณะ นั่งสมาธิอยู่นั้น ท่านเก็บอารมณ์ และเก็บจิตของท่านอย่างไร ท่านเก็บมันไว้ที่ไหน ถ้า การทำสมาธิแบบอานาปานสติ แบบพระพุทธเจ้า พระองค์บอกให้ เอาจิตไว้กับกาย ดัง เต่าเก็บอวัยวะต่างไว้ในกระดอง กายหรือรูป นั้นประกอบด้วยมหาภูตธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ดังนั้นลม ก็คือกายอันหนึ่งของเราก็คือลมที่หายใจเข้าหายใจออก ฉะนั้นพระองค์บอกให้เอาจิตมาอยู่กับกายก็คือมาอยู่กับลมหายใจเข้าหายใจออก ดังนั้น ขณะนั่งสมาธิ จิตของเรามันจะไม่นิ่งตลอด มันจะเคลื่อนไปอยู่ ในสัญญา ในสังขาร คือคิดไปในเรื่องอดีตบ้าง ปรุงแต่งเป็นอนาคตบ้าง ในเวทนาบ้าง คือ ทุกข์ สุข และอุเบกขา บางที่เราก็เพลิน อยู่ในขันธ์ เหล่านี้ นานบ้าง ไม่นานบ้าง ดังนั้น พระองค์ จึงบอกให้ ทิ้งความเพลินนั้น รีบเอาจิตมาอยู่ที่กายให้ไว ถ้าเราทรงให้จิตอยู่ในอุเบกขาได้นาน นั่นก็คือ จิตเรามีสมาธิ ในทำนองเดียวกัน เมื่อออกจากสมาธิ เมื่อเวลาเรา มีอารมณ์ ที่ เป็นสุข ,เป็นทุกข์ และอารมณ์โกรธมีโมหะ ให้มีสติรู้ทิ้งอารมณ์ นั้นเสีย อย่าเพลินไปกับมัน ให้เอาจิตมารู้อยู่กับลม ทำบ่อยๆทำให้ไว พระพุทธเจ้าทรงตรัสเปรียบว่าให้ไวดุจกระพริบตา หรือ หยดน้ำ ที่ ตกลงกะทะร้อนๆ ก็คือ เวลาดีใจ เสียใจ มีโทสะ จริงๆก็ทุกอารมณ์ที่มีนั่นล่ะ ก็มารู้อยู่กับลมนี่แหล่ะ ทำบ่อยๆ ทำมากๆ แล้วลองสังเกตุตัวเองดูครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...