ทำไมพระพุทธเจ้าจึงห้ามสาวกไม่ให้แสดงพลังที่เหนือธรรมชาติ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย evatranse, 21 กันยายน 2013.

  1. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    มหาศีล

    ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิตร ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้าทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสกเป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะศาตราทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัยพระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆแม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยากจักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คำนวณนับประมวล แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้างดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้างร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกกำจัดราชศัตรูได้แล้วย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุก็ฉันนั้นสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆเพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน

    ... ดูกรเกวัฏฏ์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
  2. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    อินทรียสังวร

    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะเธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้นรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้นชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันบริสุทธิ์ ไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแลในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉันการดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดินการยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรเกวัฏฏ์ นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆก็ถือไปได้เอง ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.



    ..... ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้าป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือพยาบาทได้ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์อุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

     
  3. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    อุปมานิวรณ์



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน การงานของเขาจะพึงสำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขา จะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนักบริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนักบริโภคอาหารไม่ได้และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกายเป็นปรกติ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุฉันใด.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้ เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และเราไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการพ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่นเป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาจะพึงมีความพอใจ เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่าเมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษ มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ พึงเดินทางไกลกันดารหาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติเดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัสมีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.
     
  4. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    รูปฌาน ๔



    ..... เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตนย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวกไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาดจะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆแห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตกด้านเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง. ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มแช่เอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอดตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกบัวขาบดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแลย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ แห่งของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆแห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
  5. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    วิชชา ๘
    วิปัสสนาญาณ



    ..... ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาวสมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง แดงขาวหรือนวลร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ย่อมน้อมโน้มจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรา นี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิด แต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้นมีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
  6. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    มโนมยิทธิญาณ



    ..... ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

    ... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้อง อย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง

    ... อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝักดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง

    ... อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่งก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด

    ... ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
  7. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    อิทธิวิธิญาณ



    ..... ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาดเมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้

    ... อีกนัยหนึ่งเปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆพึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้

    ... อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อ
    หลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด

    ... ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธีเธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2013
  8. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ทิพพโสตญาณ



    ..... ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์

    ... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลองบ้างเสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาพึงเข้าใจว่าเสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด

    ... ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
  9. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    ทำไมพระพุทธเจ้าจึงห้ามสาวกไม่ให้แสดงพลังที่เหนือธรรมชาติ

    คำถามนี้ตอบยากมาก

    ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็คงตอบว่า "ไม่ทราบ" เหตุที่ไม่ทราบ เพราะไม่ใช่พระสัพพัญญู และไม่สามารถไปเดาหรือไปล่วงรู้ความนึกคิดของพระองค์ได้

    หรือถ้าจะให้แนะนำ ให้เข้ามโนมยิทธิและไปขออนุญาตเรียนถามพระท่าน

    แต่จะว่าไปแล้ว ก็พอจะมีนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาได้ทำการศึกษาวิจัยค้นคว้าหาเหตุผลมาแสดง พอจะหาดูได้ในอินเตอร์เน็ต แต่ก็มีบ้างที่แฝงไปด้วยความคิดเห็นของผู้นั้น

    เรื่องการแสดงอิทธิฤทธิ์นี้มีการพูดกันมามาก และเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างหนึ่ง

    ถ้าไปทำการค้นคว้า จะพบอยู่ในหมวดพระวินัย เป็นต้นบัญญัติเรื่องราวการแสดงฤทธิ์ของพระปิณโฑลภารทวาชะ ซึ่งต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงสิกขาบท "ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ"

    อาบัติทุกกฏ จัดเป็น ลหุกาบัติ หมายถึงอาบัติเบา อาบัติที่ไม่มีโทษร้ายแรง มี 5 อย่าง คือ อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฎ อาบัติทุพภาสิต

    อาบัติ คือ การตกไป ตกไปจากความดี เป็นโทษ ที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อ (พระวินัยบัญญัติ) ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้าม

    อาบัติทุกกฏ เป็นอาบัติที่เกิดจากการทำที่ไม่ดีไม่เหมาะสม ถือเป็นอาบัติอย่างเบา ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน แล้วจึงจะพ้นโทษนั้นได้ หรือที่ทำกัน คือ การปลงอาบัติในโบสถ์ในเวลาทำวัตรเช้า - เย็น

    พระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ย่อมมีความเคารพเอื้อเฟื้อในพระธรรมวินัย

    อปริหานิยธรรม (ข้อ ๓)
    ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ
    จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว
    จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด
    ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น

    ในมหาปรินิพพานสูตร
    อานนท์ โดยกาลที่เราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จงเลิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ ถ้าต้องการ
    (ประเด็นนี้ก็เป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย)


    ถ้าไปค้นคว้่าเรื่องการแสดงอิทธฤทธิ์ปาฏิหาริย์ จะพบว่าก่อนที่จะมีการบัญญัติสิกขาบททรงห้ามในเรื่องนี้ ได้มีการแสดงอิทธฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หลายครั้งหลายครา ต่างกรรมต่างวาระ ส่วนมากแล้วพระพุทธเจ้าจะเป็นองค์แสดง และอาจจะมีอรหันตสาวกบางรูปด้วยก็เป็นได้ หรือภายหลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ ก็ยังมีเหตุการณ์ที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงแสดงฤทธิ์

    1. เพื่อโปรดพุทธบริษัทให้บรรลุธรรม
    - เนรมิตหญิงงามเพื่อโปรดพระนางเขมา
    - เนรมิตหญิงงามเพื่อโปรดพระนางรูปนันทา
    - ทรงไปปรากฏพระรูปในที่ไกลๆ บ่อยครั้งเพื่อโปรดพระสาวกที่กำลังบำเพ็ญเพียรเพื่อให้อุบายบรรลุธรรม เช่น การไปสอนพระจูฬปันถก
    - ทรงเสด็จไปพรหมโลกเพื่อปราบพกพรหม
    - ทรงดลใจให้นายกาละบุตรอนาถบิณฑิกเศรษฐีลืมธรรมที่ฟังเพื่อให้ตั้งใจฟังมากยิ่งขึ้นจนบรรลุธรรมได้

    2. เพื่อสร้างศรัทธาและแรงจูงใจ
    - โปรดชฎิล 3 พี่น้องและบริวาร ทรงแสดงปาฏิหาริย์เป็นอันมาก
    - โปรดพระประยูรญาติทรงแสดงปาฏิหาริย์เหาะไปในอากาศ
    - ห้ามไม่ให้พระญาติทะเลาะกันก็เหาะไปแสดงธรรมอยู่เหนือแม่น้ำโรหิณี
    - ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์เพื่อสร้างศรัทธาให้มหาชนและเทวดาจำนวนมาก
    - ทรงประทับรอยพระพุทธบาทให้โทณพราหมณ์เห็น
    - ทรงพาพระนันทะไปสวรรค์เพื่อไปดูนางฟ้าจูงใจให้ปฏิบัติธรรม

    3. เพื่อช่วยเหลือ
    - เสด็จเวสาลีครั้งแรก ทำให้มีฝนตกใหญ่ในนครปัดเป่าโรคภัยร้ายจนหมดสิ้น
    - ทรงแสดงปาฏิหาริย์ต่อหน้าองคุลิมาลเพื่อช่วยไม่ให้องคุลิมาลทำมาตุฆาต

    4. ทำตามความปรารถนาของพุทธบริษัท
    - ทรงรอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนิมมทานทีตามความต้องการของนิมมทานาคราช

    5. เพื่อให้รู้ว่าพระองค์อยู่ที่ไหน
    - ทรงประทับนั่งใต้ร่มไม้แล้วเปล่งพระรัศมีให้คณะพระเจ้ามหากัปปินะรู้ว่าเป็นพระพุทธองค์จนเข้ามาเฝ้าฟังธรรม
    - ทรงแสดงพุทธรัศมีเหมือนกันเพื่อให้พระมหากัสสปะรู้เข้ามาฟังธรรม
    - ทรงเปล่งรัศมีในเรือนนายช่างหม้อให้พระเจ้าพิมพิสารรู้ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาจากสาวัตถีมาอยู่ในนครราชคฤห์แล้ว (เพื่อโปรดพระเจ้าปุกกุสาติ)

    6. เป็นพุทธประเพณี
    - การแสดงยมกปาฏิหาริย์ด้วยพระองค์เองและการเสด็จไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดานั้นเป็นพุทธประเพณี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2013
  10. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ



    ..... ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

    ... เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้างร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้นครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้นมีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้นครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

    ... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่นแล้วจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้นเราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้นได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้นมาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด

    ... ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้างสองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้างสี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

    ... ดูกรเกวัฏฏ์แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
  11. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    จุตูปปาตญาณ


    ..... ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย

    ... เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง จักษุของมนุษย์

    ... ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    ... ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้

    ... เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้

    ... เปรียบเหมือนปราสาทตั้งอยู่ ณ ทาง ๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนคร บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังสัญจรเป็นแถวอยู่ในถนนบ้าง นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนครบ้าง เขาจะพึงรู้ว่า คนเหล่านี้เข้าสู่เรือน เหล่านี้ออกจากเรือน เหล่านี้สัญจรเป็นแถวอยู่ในถนน เหล่านี้นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนคร ฉันใด

    ... ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

    ... ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    ... ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้

    ... เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้

    ... ดูกรเกวัฏฏ์แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2013
  12. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    อาสวักขยญาณ


    ..... ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ

    ... ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    ... เหล่านี้อาสวะเหล่านี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวะนิโรธ นี้อาสวะนิโรธคามินีปฏิปทา

    ... เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ

    ... เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    ... ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขา ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวด และก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น

    ... เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระนั้น ดังนี้ ฉันใด

    ... ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้

    ... ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    ... เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

    ... เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ

    ... เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    ... ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ ปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วจึงประกาศให้รู้. ฯลฯ


    ..... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.


    จบเกวัฏฏสูตร ที่ ๑๑​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2013
  13. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม ชนเหล่านั้น อันเธอพึง ชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น ในความจริงอันประเสริฐสี่ประการ ด้วยปัญญาอันรู้เฉพาะตามที่เป็นจริง ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ อะไรเล่า? ความจริงอันประเสริฐสี่ประการคือ นี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี่คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี่คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
     
  14. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะเป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่ยอมอยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แต่เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา เปรียบเหมือนมหาสมุทร ไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพเพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพในมหาสมุทรเข้าหาฝั่ง ให้ขึ้นบก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม ... และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา
    นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาประการที่ ๓ ... ฯ
     
  15. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    พอมีฆราวาสอย่างข้าพเจ้าสักคน บอกจักต้องเดินตามแต่คำพระตถาคต เท่านั้น ของปลอมไม่อยากได้ อยากได้ของจริง เหตุใดท่านภิกษุทั่วโลก(บางท่าน เท่านั้นนะ) ต้องออกมาเดือดเนื้อร้อนใจ หรือว่าท่านทำผิดต่อธรรมวินัยตถาคต เนืองนิตย์? เห็นมีแต่โจรเท่านั้นที่กลัวตำรวจ ผู้รู้ซอยข้อยแน เด๊อ
     
  16. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว ก็ถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้บ้าง อารามและรุกขเจดีย์บ้างเป็นสรณะ

    ... นั่นมิใช่สรณะอันเกษมเลย นั่นไม่ใช่สรณะอันสูงสุด เขาอาศัยสรณะนั้นแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้



    ..... ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นสรณะแล้ว เห็นอริยสัจ ๔ คือความจริงอันประเสริฐ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือเห็นความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์เสียได้ และหนทางมีองค์ ๘ อันประเสริฐเครื่องถึงความดับทุกข์

    ... นั่นแหละเป็นสรณะอันเกษม นั่นเป็นสรณะอันสูงสุด เขาอาศัยสรณะนั้นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
     
  17. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    จากหนังสือสู่แสงธรรม

    บันทึกโดย พลอากาศโท มนูญ ชมภูทีป​


    ..... ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ไม่เข้าท่าของผู้ครองผ้าเหลืองอีกมากมายที่ข้าพเจ้าได้พบได้เห็นมาซึ่งจะไม่ขอนำมากล่าวในที่นี้ แต่สรุปความว่า ภาพความเหลวแหลกและจิตใจของข้าพเจ้าตลอดมา ยากที่จะทำใจให้มีความเคารพนับถือด้วยความจริงใจได้ และถ้าหากขืนปล่อยทิ้งไว้ก็เป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงในการปฏิบัติธรรม อย่างแน่นอน ดังนั้นในวันหนึ่งข้าพเจ้าจึงได้ระบายความรู้สึกของข้าพเจ้าให้หลวงพ่อฟังว่า

    ... "หลวงพ่อครับ ผมขอสารภาพกับหลวงพ่ออย่างตรงไปตรงมานะครับว่า ผมเคารพในพระพุทธเจ้า เพราะพุทธเจ้าท่าน เป็นผู้เสียสละอย่างใหญ่หลวง ไม่ว่าจะเป็นมงกุฎของจอมจักรพรรดิ์ ราชินีผู้เลอโฉม ราชบุตรที่น่ารัก ตลอดจนนางสนมกำนัลในและข้าราชบริพารผู้จงรักภักดี เพื่อออกบวชแสวงหาสัจธรรม ด้วยความยากลำบากอย่างแสนเข็ญโดยลำพังพระองค์เอง

    ... และเมื่อทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ยังทรงเมตตาแสดงธรรมสั่งสอนให้สัตว์โลกทั้งหลายพ้นทุกข์อีกด้วย ดังนั้นผมจึงเคารพเทิดทูนพระพุทธองค์ ด้วนความจริงใจโดยไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะผมได้พิจารณาในพระธรรมคำสั่งสอนด้วยเหตุและด้วยผลแล้ว เห็นว่าเป็นความจริงตลอดกาล หาอะไรมาโต้แย้งไม่ได้เลย และถ้าปฏิบัติตามก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ดีที่ถูกที่ควร ทั้งต่อตัวเองและสังคมส่วนรวมทั้งสิ้น แต่พระสงฆ์นี่สิครับ ผมบอกตรงๆ ว่าผมไม่ศรัทธาเลย "

    ... " พระสงฆ์เป็นยังไงหรือ?" หลวงพ่อถามอย่างอารมณ์ดี และข้าพเจ้าก็ได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดตามที่ข้าพเจ้าเคบประสบมาให้หลวงพ่อฟัง ดังที่เขียนไว้แล้วในตอนต้น ซึ่งหลวงพ่อฟังแล้วก็ยิ้มถามเรื่อยๆ ว่า

    ... " เออ! แล้วคุณรู้ได้อย่างไรล่ะ ว่าท่านเหล่านั้นเป็นพระสงฆ์ "

    ... " พระสงฆ์ซีครับหลวงพ่อ เพราะโกนหัวนุ่งเหลืองห่มเหลืองแบบหลวงพ่อนี่แหละครับ" ข้าพเจ้าชักเริ่มหงุดหงิด

    ... " ที่โกนหัว นุ่งเหลืองห่มเหลืองน่ะ เขาเรียกว่า สมมติสงฆ์ นะ มิใช่พระสงฆ์หรอก เออนี่ ! คุณสวดอิติปิโส ได้ไหม? " หลวงพ่อพูดแล้วย้อนถามข้าพเจ้า

    ... " โธ่! หลวงพ่อ ตอนเป็นนักเรียนนายร้อยน่ะ เขาจับผมเข้าแถวสวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน ไม่เคยว่างเว้นเลยครับ โดยเฉพาะบทอิติปิโสน่ะ ผมสวดคล่องมาก เพราะย่าสอนให้ตั้งแต่เด็ก " ข้าพเจ้ารีบตอบ

    ... " เออ ดีมาก ไหนคุณลองสวดอิติปิโส ท่อนสุดท้าย ให้ฉันฟังซิ " หลวงพ่อพูดยิ้มๆ

    ... " สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ " ข้าพเจ้าสวดให้หลวงพ่อฟังตามที่ท่านสั่ง อย่างชัดถ้อยชัดคำ ทั้งๆ ที่ยังงงอยู่ว่าหลวงพ่อให้สวดไปทำไม

    ... " เอาละ ที่นี่คุณลองแปลให้ฉันฟังซิ ว่าในบทสวดตอนนี้เขาว่ายังไง " หลวงพ่อถาม

    ... " เขาก็ให้ระลึกถึงคุณงามความดีของพระสงฆ์ นั้นแหละครับ " ข้าพเจ้าตอบอย่างขอไปที เพียงแค่คิดเอาตัวรอด แต่ก็ไม่รอดเพราะหลวงพ่อถามย้ำอีกว่า

    ... " นั้นสิ ที่ว่าคุณงามความดีของพระสงฆ์น่ะ มีอะไรบ้าง "

    ... " ไม่ทราบครับ " ข้าพเจ้าตอบเสียงอ่อยๆ อย่างจำนน ด้วยไม่รู้จริงๆ ว่าเขาแปลว่าอย่างไร

    ... " ความจริงแล้ว อิติปิโส ท่อนสุดท้ายนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วโดยละเอียดนะว่า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น จะต้องเป็น

    ... พระสุปฏิปันโน คือ เป็นผู้ปฏิบัติดี

    ... อุชุปฏิปันโน คือ เป็นผู้ที่ปฏิบัติตรง

    ... ญายปฏิปันโน คือ เป็นผู้ที่ปฏิบัติถูกแล้ว

    ... สามีจิปฏิปันโน คือ เป็นผู้ที่ปฏิบัติชอบแล้ว อย่างไรล่ะ เข้าใจไหม? " หลวงพ่ออธิบาย แล้วถามข้าพเจ้าด้วยความเมตตา

    ... " เข้าใจแล้วครับหลวงพ่อ ผมเพิ่งนึกออกตอนนี้เองครับว่า ในตอนเข้าแถวสวดมนต์นั้น มีคำแปลของตอนนี้ด้วยว่า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี, ปฏิบัติตรง, ปฏิบัติควร, ปฏิบัติชอบ, และเป็นพยานในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ว่าปฏิบัติตามได้จริง และมีผลประเสริฐจริง "

    ... " เอ! ไม่เลวนี่ ความจริงคุณก็จำได้ออกแม่นยำและก็เป็นคำอธิบายที่ชัดเจนแล้วนี่นาว่า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น ต้องเป็นพระที่มีความประพฤติปฏิบัติอย่างไร? " หลวงพ่อชม แต่พอข้าพเจ้าจะได้ปลื้มสักหน่อยก็ต้องชงัก เพราะหลวงพ่อพูดต่อว่า

    ... " หรือว่าคุณท่องจำมาแบบนกแก้ว นกขุนทอง เลยไม่รู้ความหมาย? "

    ... " ครับ คงเป็นแบบนั้นแหละครับ เพราะผมถูกบังคับให้สวดก็สวดไปตามหน้าที่ให้จบๆ ไป จะได้เข้านอนเท่านั้นเอง " ข้าพเจ้าตอบอ่อยๆ ไปตามความเป็นจริง

    ... " เออ ดี รับมาตรงๆ อย่างนี้ฉันชอบ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าที่ท่านปฏิบัติดี, ปฏิบัติตรง, ปฏิบัติควร, ปฏิบัติชอบ ตามที่คุณว่านั้นก็เพื่อมุ่งสู่เล้นทางเดินของพระอริยเจ้านั้นเอง " หลวงพ่ออธิบายต่อ

    ... " พระอริยเจ้า เป็นอย่างไรครับ หลวงพ่อ " ข้าพเจ้ารีบถาม

    ... " อ้าว! พระอริยเจ้าก็คือพระที่มุ่งทางโลกุตระ มิใช่ทางโลกียะ ไงล่ะ " หลวงพ่อตอบเรื่อยๆ แต่ทำให้ข้าพเจ้ายิ่งงงหนักเข้าไปอีก จึงถามว่า

    ... " แล้ว โลกียะ กับ โลกุตระ เป็นยังไงครับหลวงพ่อ "

    ... " การที่ผู้ใดทำอะไรสักอย่างหนึ่ง แล้วยังหวังลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นการตอบแทนแล้ว เขายังเรียกว่าเป็น โลกียชนอยู่ ดังนั้น บรรพชิตท่านใด แม้มีสมณศักดิ์สูงส่งแค่ไหน หากยังชื่นชมในลาภสักการก็ดี ยังหลงในสมณศักดิ์ชั้นยศที่ได้รับก็ดี หรือหลงในคำสรรเสริญเยินยอของสานุศิษย์ก็ดี หรือหลงในสุขจากสถานที่พำนักที่อบอวลไปด้วยไอเย็นของเครื่องปรับอากาศ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ดี ก็จะยังจัดอยู่ในประเภทของโลกียชนนะ หากนุ่งผ้าเหลืองห่มเหลืองก็ยังคงเป็นสมมติสงฆ์อยู่นะ

    ... แต่ถ้าการทำอะไรแล้ว ไม่หวังในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นสิ่งตอบแทนแล้ว นั้นแหละเขาเรียกว่าเป็นโลกุตระละ และการมุ่งสู่โลกุตระนี้แหละจะเป็นหนทางที่หลุดพ้นจากกิเลส ตัญหา อุปาทาน และอกุศลกรรมทั้งหลายแหล่ เป็นพระอริยเจ้าได้ และพระอริยเจ้าที่ว่านี้ ก็ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์นั้นเอง เข้าใจหรือยังล่ะ? " หลวงพ่ออธิบายแล้วถามอย่างอารมณ์ดี

    ... " พอเข้าใจครับ เราจะรู้ได้ว่าท่านองค์ใด น่าจะเป็นสมมุติสงฆ์ หรือองค์ใดน่าจะเป็นพระอริยสงฆ์ ก็ต้องดูกันที่ความประพฤติ และการปฏิบัติของแต่ละท่านใช่ไหมครับ? " ข้าพเจ้าตอบด้วยความภาคภูมิใจ

    ... " เออ! ใช่...เก่งเหมือนกันนี่ จำไว้นะ ว่าต้องดูที่ปฏิปทาของแต่ละท่านนะ " หลวงพ่อชมและย้ำเพิ่มเติม

    ... " ครับ หลวงพ่อ แต่ผมจะรู้ได้อย่างไรว่าพระอริยสงฆ์องค์ใดท่านเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี หรือพระอรหันต์ล่ะครับ? " ข้าพเจ้ารีบถามต่อเพราะเห็นหลวงพ่อเมตตา

    ... " อ้าว! จะรู้ได้ก็ต้องเอาสังโยชน์ ๑๐ มาเป็นเครื่องมือวัดซิคุณ..! " หลวงพ่อตอบอย่างเห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้วมันไม่ธรรมดาเลยเพราะคำว่า สังโยชน์ ๑๐ ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยได้ยินเลย

    ... จึงถามหลวงพ่อว่า “ สังโยชน์ ๑๐ เป็นอย่างไรครับ หลวงพ่อ? ”

    ... " สังโยชน์ ๑๐ ก็แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่างด้วยกัน คือ

    ๑. สักกายทิฏฐิ เห็นว่าขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้เป็นของเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา

    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย(คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ)และสงสัยในผลการปฏิบัติว่าจะไม่มีผลจริง

    ๓. สีลัพพตปรามาส รักษาศีล แบบลูบๆ คลำๆ คือไม่รักษาศีลจริงจัง เคร่งครัดตามพอสมควร

    ๔. กามราคะ มีจิตมั่วสุม หมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ

    ๕. ปฏิฆะ มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้าง จองผลาญเป็นปกติ

    ๖. รูปราคะ ยึดถือมั่นในรูปฌาน โดยคิดเอาว่ารูปฌานเป็นคุณธรรมพิเศษสูงสุด ที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะได้

    ๗. อรูปราคะ ยึดมั่นในอรูปฌาน โดยคิดเอาว่าอรูปฌานเป็นคุณธรรมพิเศษสูงสุด ที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะได้

    ๘. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล มีอกุศลวิตกเป็นอารมณ์

    ๙. มานะ มีอารมณ์ถือตัว ถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอ

    ๑๐. อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิส เป็นสมบัติที่ทรงสภาพไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สลายตัว

    ... กิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้แหละท่านเรียกว่า สังโยชน์ ๑๐ ละเข้าใจไหม? จดทันไหม? แต่ความจริงไม่ต้องจดก็ได้ เพราะฉันจะเขียนไว้ให้ในคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน " หลวงพ่ออธิบาย

    ... " ครับ! แต่สังโยชน์ ๑๐ จะเกี่ยวข้องกับพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ได้อย่างไรหรือครับ? " ข้าพเจ้าถาม

    ... " อ้าว! ถ้านักปฏิบัติ นักเจริญวิปัสสนาญาณท่านใด

    ... กำจัดกิเลสในสังโยชน์ ๑๐ สามข้อแรกได้ (ข้อ ๑ ถึงข้อ ๓) ท่านว่าท่านผู้นั้นได้บรรลุ พระโสดาบัน

    ... ถ้าบรรเทาสังโยชน์ข้อที่ ๔ และที่ ๕ ลงได้ก็จะเป็น พระสกิทาคามี

    ... ถ้าตัดกิเลสในสังโยชน์ ๑๐ ได้ใน ๕ ข้อแรก (ข้อ ๑ ถึงข้อ ๕) ท่านว่าผู้นั้นได้บรรลุเป็น พระอนาคามี

    ... และถ้าตัดกิเลสในสังโยชน์ ๑๐ ได้ทั้ง ๑๐ ข้อ ท่านว่าผู้นั้นได้บรรลุเป็น พระอรหันต์ ยังไงล่ะ " หลวงพ่ออธิบายอย่างเมตตา

    ... " แหมผมเสียดายจังครับหลวงพ่อ ที่ไม่ได้บวชเป็นพระ มิฉะนั้นแล้วผมจะลองปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์ ๑๐ กับเขาดูบ้าง " ข้าพเจ้าพูด

    ... " อ้าว! นี่คุณยังไม่เข้าใจถึงคำว่า พระ เลยซินี่ คำว่า “ พระโยคาวจร ” นั้น ท่านหมายรวมถึงทั้งท่านที่บวชเป็นพระ และอุบาสกอุบาสิกานะ เพราะท่านใดก็ตามที่เริ่มเจริญสมถะกรรมฐานและเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ท่านเรียกว่า พระโยคาวจร ทั้งสิ้นนะ ทั้งนี้เพราะ พระ หมายถึง ผู้ที่เริ่มเข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐ โยคาวจร แปลว่า ผู้ที่ประกอบความเพียรนะ

    ... รวมความแล้ว " พระโยคาวจร " ก็คือท่านผู้มีความประพฤติประกอบความเพียร เพื่อให้ถึงซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐนะ ดังนั้นฆราวาสอย่างพวกคุณนี้หากเริ่มเจริญกรรมฐานเมื่อใด ท่านเรียกว่า พระทันที ได้เปรียบกว่าท่านที่บวชเสียอีก เพราะท่านที่บวชแล้วเข้ายังไม่เรียกว่าพระนะ แต่เรียกว่า สมมติสงฆ์ เพราะเพียงแต่เอาตัวเข้าพวกเท่านั้น ยังมิได้เอาใจเข้าพวก

    ... ต่อเมื่อท่านที่บวชเริ่มปฏิบัติพระกรรมฐานนั่นแหละ ท่านจึงจะเรียกว่า พระ และหากประกอบความเพียรเพื่อหวังบรรลุมรรคผลนิพพาน จึงจะเรียกว่า พระโยคาวจร ซึ่งถือว่าเป็นพระแท้นะ เข้าใจหรือยังล่ะ? " หลวงพ่ออธิบาย

    ... " ถ้ายังงั้น ฆราวาสอย่างพวกผมก็มีสิทธิ์ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ กับเขาได้ซีครับหลวงพ่อ " ข้าพเจ้าถามด้วยความอยากรู้

    ... " ใช่แล้ว เป็นได้ทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นฆราวาสหากบรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระอรหันต์แล้ว จะต้องตายภายใน ๒๔ ชั่วโมง นะ " หลวงพ่อตอบ

    ... " ทำไมต้องตายด้วยล่ะครับ? " ข้าพเจ้าถามด้วยความสงสัย

    ... " ตายเพื่อไปเสวยสุขในนิพพานน่ะ เป็นสุดยอดของความดีในพระพุทธศาสนาทีเดียวนะคุณ และการที่ต้องตาย ก็เป็นเพราะจิตของพระอรหันต์นั้นบริสุทธิ์ผุดผ่องเกินกว่าที่จะอยู่ในคราบของฆราวาสต่อไปได้ ทั้งนี้เพราะฆราวาสจะต้องเกลือกกลั้วกับโลกียชน และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งฆราวาสที่มีจิตพระอรหันต์ ไม่สามารถจะยอมรับได้อีกต่อไปแล้วนั้นเอง แต่ถ้าพระภิกษุสงฆ์ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็จะยังมีชีวิตต่อไปได้นะ " พอเข้าใจหรือยังล่ะ? หลวงพ่ออธิบายแล้วย้อนถามข้าพเจ้า

    ... " เข้าใจแล้วครับ หลวงพ่อ " ข้าพเจ้าตอบด้วยความเคารพ

    ... " เอาละในเมื่อเข้าใจแล้วว่า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติประกอบความเพียรเพื่อหวังบรรลุมรรคผลนิพพาน ด้วยการละกิเลสในสังโยชน์ ๑๐ ไปทีละข้อ จนเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์เช่นนี้ คุณพอจะเคารพเทิดทูนในพระสงฆ์ได้หรือยัง? " หลวงพ่อพูด แล้วถามยิ้มๆ

    ... " ถ้าผมได้เข้าใจอย่างนี้แล้ว ผมก็ต้องเคารพเทิดทูนในพระสงฆ์ได้ อย่างไม่มีอะไรเคลือบแคลงสงสัยอีกต่อไปน่ะซีครับ ที่ผมไม่เคารพเพราะยังไม่มีใครเขาอธิบายให้ผมฟังอย่างที่หลวงพ่ออธิบายมาก่อนนี่ครับ " ข้าพเจ้าตอบ

    ... เป็นยังไงครับ! ท่านผู้อ่านที่รัก พอจะเข้าใจในพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าที่แท้จริง กระจ่างชัดขึ้นบ้างแล้วใช่ไหมครับ..?

     
  18. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    จากหนังสือสู่แสงธรรม

    บันทึกโดย พลอากาศโท มนูญ ชมภูทีป


    ..... ด้วยเหตุนี้เองแม้ข้าพเจ้าจะเข้าใจในคำอธิบายได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังไม่กระจ่างชัดไปเสียทั้งหมดทีเดียว มิหนำซ้ำกลับดูเหมือนว่าความเคลือบแคลงสงสัยอยากที่จะได้รับรู้ รับฟัง ยังมีอีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของพระสงฆ์นั้นข้าพเจ้าเคยได้ยินผู้คนเข้าพูดวิพากษ์วิจารณ์กันมากมายเหลือเกิน

    ... อาทิเช่นบางคนพูดว่า “ พระที่ฉันเคารพกราบไหว้นั้น จะต้องเป็นพระที่เคร่งในวินัย ต้องรู้จักสำรวมในการพูด มิใช่พูดไปหัวเราะไป หรือพูดกระเช้าเย้าแหย่ลูกศิษย์ลูกหา ”

    ... บางคนก็พูดว่า “ พระที่ฉันเคารพนั้น จะต้องเป็นพระที่ไม่ฉันเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ”

    ... บางคนพูดว่า “ พระที่ฉันไปเคารพกราบไหว้ทุกวันนี้ ท่านนอนกระดานแผ่นเดียวเชียวนะ มิหนำซ้ำฉันเพียงมื้อเดียวด้วย ”

    ... บางคนพูดว่า “ พระของฉันน่ะฉันอาหารรวมในบาตรเดียว และมื้อเดียวด้วย และไม่ยอมจับเงินเสียด้วย ”

    ... บางคนก็พูดว่า “ ฉันเคารพพระธรรมยุต ไม่เคารพพระมหานิกายหรอกเพราะไม่ค่อยเคร่ง ”

    ... บางรายก็พูดว่า “ พระองค์ที่ฉันเคารพกราบไหว้อยู่ทุกวันนี้ ท่านให้หวยแม่นที่สุดเลย รถเก๋งจอดกันแน่นที่วัดทุกวันทีเดียวนะ ” เป็นต้น



    ..... ด้วยเหตุนี้ ในวันหนึ่งข้าพเจ้าจึงได้ถือโอกาสถามหลวงพ่อว่า

    ... “ หลวงพ่อครับ โดยทั่วๆ ไปแล้ว เราควรเคารพกราบไหว้พระที่เคร่งในวินัยและสำรวมในการพูด มากกว่าพระที่ไม่สำรวม ใช่ไหมครับ? ”

    ... “ เออ! ถามดี ตอนนี้คุณกำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนผู้บังคับฝูงใช่ไหม? ” หลวงพ่อย้อนถาม

    ... “ ครับ ” ข้าพเจ้าตอบ ชักลังเล

    ... “ นักเรียนในโรงเรียนผู้บังคับฝูงรุ่นของคุณนั้น มีกี่คน ” หลวงพ่อถามต่อ

    ... “ มีประมาณ ๑๖๐ คนครับ ” ข้าพเจ้าตอบไป ชักงงหนัก

    ... “ ทั้ง ๑๖๐ คน จบจากโรงเรียนนายทหารหลักอย่างคุณทั้งหมดไหม? ” หลวงพ่อถามต่อ

    ... “ ไม่หรอกครับ ปะปนกัน มีทั้งจบจากโรงเรียนนายร้อยจปร, นายเรือ, นายเรืออากาศก็มี จบจากมหาวิทยาลัยในเมืองไทยก็มี เมืองนอกก็มี และเลื่อนยศขึ้นมาจากนายทหารชั้นประทวนก็มีครับ รวมความว่ามีทั้งไม่ได้ปริญญาก็มี ได้อนุปริญญาก็มี ปริญญาตรีก็มี ปริญญาโทก็มี และปริญญาเอกก็มีครับ ” ข้าพเจ้าตอบอย่างละเอียด ไม่ทราบว่าหลวงพ่อจะมาในรูปใดอีก

    ... “ อ้อ! แล้วนักเรียนจำพวกไหนที่ขยันที่สุด คร่ำเคร่งในการดูตำรามากที่สุดล่ะ ” หลวงพ่อถามเรื่อยๆ ทำให้ข้าพเจ้าต้องนั่งใคร่ครวญอยู่นานพอสมควร จึงตอบไปตามที่รู้ที่เห็นว่า

    ... “ พวกที่คร่ำเคร่งดูตำรับตำรา และตั้งอกตั้งใจฟังครูสอนมากที่สุดก็คือ พวกที่เขาเลื่อนขึ้นมาจากนายทหารชั้นประทวนครับ เพราะเขาไม่ค่อยเข้าใจและฟังครูสอนไม่ค่อยทัน ”

    ... “ แล้วพวกคุณ ที่จบจากโรงเรียนนายทหารหลักล่ะ ” หลวงพ่อถามต่อ

    ... “ ผมก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง เรียนบ้างไม่เรียนบ้าง แล้วแต่ว่าวิชาใดน่าสนใจหรือไม่ แต่ความจริงแล้วครูก็ว่าไปตามตำรา ไม่ต้องฟัง อ่านเอาเอง เที่ยวเดียวก็จำได้ครับ ” ข้าพเจ้าตอบไปตามความจริง

    ... “ เออ! นั่นแหละ พระที่ท่านเคร่งนั้นเป็นเพราะท่านเพิ่งจะเริ่มฝึกปฏิบัติยังไม่มีปัญญาพอ เกรงไปว่า หากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปสัมผัสอะไรเข้าแล้วมาบอกจิตที่ยังขาดปัญญา ก็จะเกิดความโลภ โกรธ หลง คือ กิเลส หรือความทะยานอยากจะได้ อยากจะมี อยากจะเป็น คือ ตัณหา หรือเกิด อุปาทาน ความหลงเอาว่าไอ้นั่นเป็นของเรา ไอ้นี่เป็นของเรา เข้าได้

    ... ท่านจึงต้องปิดตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของท่านเสีย จึงดูเหมือนเป็นพระเคร่งในสายตาของผู้คนไป เท่านั้นเอง เหมือนนายทหารชั้นประทวนที่เลื่อนชั้นยศขึ้นมาตามที่คุณเล่านั่นแหละ ส่วนพระที่ท่านเป็นพระอริยเจ้าบรรลุมรรคผล มีปัญญาแล้ว ท่านมีสติของท่านอยู่ตลอดเวลา ท่านก็ทำตัวแบบสบายๆ ไม่จำเป็นต้องระวังอะไรมากนัก

    ... ดังเช่นพระสารีบุตร ท่านก็เล่นกับเด็กนะเหมือนพวกคุณ ก็ไม่เห็นต้องเรียนต้องฟังอะไรจากครูมากมายนั่นแหละ ดังนั้นจึงจะไปรีบด่วนสรุปเอาว่าพระเคร่งพระสำรวม เหนือกว่าพระที่ไม่สำรวมยังไม่ได้นะ ” หลวงพ่อตอบอย่างเมตตา

    ... “ แล้วพระที่ไม่ฉันเนื้อสัตว์ ฉันอาหารมื้อเดียว หรือฉันอาหารรวมในบาตรเดียวล่ะครับ จะถือว่า เหนือกว่าหระที่ฉันอาหาร ๒ มื้อไหมครับ? ” ข้าพเจ้าถามต่อด้วยความอยากรู้

    ... “ พระพุทธเจ้า ท่านห้ามมิให้พระสงฆ์สาวกของท่านฉันเนื้อ เพียงเฉพาะบางประเภทเช่น เนื้อมนุษย์ เนื้อสุนัข เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อเสือ มิได้พาดพิงไปถึงเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อปลา ซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวโลกนะ อีกทั้งทรงย้ำว่าพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์นั้น จะต้องกระทำตนให้เป็นผู้ที่เลี้ยงง่าย อย่าให้ชาวบ้านเขาเดือดร้อน

    ... ส่วนการที่จะฉันมื้อเดียวก็ดี หรือฉันอาหารรวมในบาตรเดียวก็ดี หรือฉันอาหารสองมื้อก็ดี พระพุทธเจ้าก็มิได้ทรงเป็นผู้กำหนดไว้ เป็นเรื่องของเกจิอาจารย์แต่ละท่านไปวางกำหนดกฎเกณฑ์เอาเองทั้งสิ้น จะเอาเรื่องการฉันเนื้อไม่ฉันเนื้อก็ดี การฉันมื้อเดียวหรือฉันสองมื้อก็ดีหรือการฉันรวมในบาตรเดียวทั้งของหวานของคาวมาคลุกเคล้ากันก็ดี มาเป็นเครื่องวัดว่าพระภิกษุรูปใดเหนือกว่าพระภิกษุรูปใดยังไม่ได้นะ มันอยู่ที่ว่าท่านเหล่านั้นในขณะที่เสพย์อาหาร มีสติพิจารณา “ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ” หรือไม่ต่างหาก ” หลวงพ่ออธิบาย

    ... “ อาหาเรปฏิกูลสัญญา นั้นพิจารณาอะไรครับหลวงพ่อ? ” ข้าพเจ้าถามอย่างสนใจ

    ... “ พิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา ก็คือพิจารณาอาหารที่ขบฉันให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียด อาหารใดก็ตามแม้นลิ้นสัมผัสแล้วจะเลิศรสเพียงไร หากคบเคี้ยวแล้วคายออกมาดูจะเห็นว่าน่ารังเกียจ ยิ่งเมื่อกลืนเข้าไปในท้องแล้วสำรอกออกมาดูจะเห็นได้ว่าน่าเกลียดมาก และยิ่งหากปล่อยทิ้งไว้ถ่ายออกมาดูก็ยิ่งน่าเกลียดที่สุด ใช่ไหม

    ... ดังนั้นพระภิกษุสงฆ์รูปใดฉันมังสวิรัติ (ไม่ฉันเนื้อสัตว์) ก็ดีหรือฉันอาหารคาวหวานคลุกเคล้ารวมในบาตรเดียวกันก็ดี หรือฉันอาหารมื้อเดียวก็ดี หากมิได้พิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญาแล้ว เกิดไปติดในรสชาติของอาหารมังสวิรัติก็ดี อาหารคาวหวานที่คลุกรวมในบาตรก็ดี หรืออาหารเพียงมื้อเดียวที่ขบฉันก็ดี ย่อมสู้พระภิกษุสงฆ์ที่ฉันอาหาร ๒ มื้อ แต่พิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญาทั้ง ๒ มื้อไม่ได้นะ ” หลวงพ่ออธิบายเรื่อยๆ แล้วพูด ต่อว่า

    ... “ อาหาเรปฏิกูลสัญญา นั้น นอกจากจะให้พิจารณาว่าอาหารที่ขบฉันเป็นของน่าเกลียดแล้ว จะต้องพิจารณาต่อไปอีกด้วยว่า บรรดาอาหารเหล่านี้จะมีรสเลิศหรือไม่ก็ดี จะถูกหรือแพงก็ดี จะเป็นมังสวิรัติก็ดี จะเป็นเนื้อสัตว์ก็ดี จะเป็นอาหารคาวหวานรวมในบาตรเดียวก็ดี เรากินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้คงอัตภาพ อยู่ได้เพียงชั่วคราว เพื่อจะได้บำเพ็ญความเพียรไปสู่มรรคผลนิพพานได้เท่านั้นเองนะ

    ... สรุปได้ว่าภิกษุท่านใดอยากฉันมังสวิรัติ ภิกษุท่านใดอยากฉันอาหารคาวหวานคลุกเคล้าในบาตรเดียวกัน ภิกษุท่านใดอยากฉันมื้อเดียว หรือภิกษุท่านใดอยากฉัน ๒ มื้อก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละท่าน แต่อย่าได้นำเอาวิธีการขบฉันของตนไปข่มหรือปรามาส ภิกษุสงฆ์ท่านอื่นเป็นอันขาดนะ นรกเล่นงานแน่ เพราะพระพุทธเจ้าท่านก็มิได้ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ไว้นะ ” หลวงพ่ออธิบายอย่างละเอียด

    ... “ แล้ว พระที่ท่านนอนกระดานแผ่นเดียวล่ะครับหลวงพ่อ? ” ข้าพเจ้าถามเพราะเคยได้ยินมา

    ... “ ก็ถ้าท่านคิดว่าท่านนอนบนกระดานแผ่นเดียว จะสามารปฏิบัติเพื่อบรรลุ มรรคผลนิพพานได้ ก็เป็นเรื่องของท่านนะ ” หลวงพ่อตอบขำๆ และพูดต่อว่า

    ... “ แต่ถ้านอนกระดานแผ่นเดียว ด้วยเจตนาหวังให้สานุศิษย์ยกย่องสรรเสริญ อีกทั้งยกตนข่มพระภิกษุสงฆ์รูปอื่นว่าสู้ตนไม่ได้ละก้อ ลงนรกนะ เข้าใจหรือยังล่ะๆ ”

    ... “ เข้าใจครับ คราวนี้ที่เขาว่ากันว่า พระธรรมยุตเคร่งกว่าพระมหานิกายมาก โดยเฉพาะท่านไม่ยอมแม้แต่จับเงินด้วยซ้ำไหล่ะครับ ” ข้าพเจ้ารีบฉวยโอกาสถามต่อ

    ... “ ทั้งพระธรรมยุต และพระมหานิกายนั้นก็ล้วนถูกจัดเข้าเป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ถ้าปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติควร ปฏิบัติชอบ และเพียรพยายามปฏิบัติเพื่อไปสู่มรรคผลนิพพานนะ เรื่องความเคร่งหรือไม่เคร่งนั้น ฉันได้อธิบายไปแล้วว่าอย่าเอามาเป็นเครื่องวัดพระเป็นอันขาดจะเกิดการผิดพลาดได้

    ... ส่วนเรื่องที่จับเงินหรือไม่จับเงินเอง แต่ให้คนอื่นจับแทนนั้นก็จะเอามาเป็นเครื่องวัดไม่ได้ว่าใครเหนือกว่าใครนะ ทั้งนี้มันขึ้นอยู่ที่ว่าถ้าพระที่ไม่ได้จับเงินเอง แต่ให้ผู้อื่นจับแทนแล้วไปสั่งให้เขานำเงินไปใช้ผิดความประสงค์ของผู้บริจาคแล้ว นรกเล่นงานแน่ สู้พระที่ท่านจับเงินเองหากมิได้มีจิตโลภ ในทรัพย์สินเงินทอง และนำเงินที่ได้รับบริจาคไปสร้าง ไปทำตามความประสงค์ของผู้บริจาค ไม่ได้นะ ” หลวงพ่ออธิบาย และเมื่อยังเห็นข้าพเจ้าสนใจอยู่ก็พูดต่อว่า

    ... “ พระธรรมยุตนั้น ท่านจะปฏิบัติตนของท่านเช่นไร ก็เป็นเรื่องของท่าน แต่ถ้าเมื่อใดท่านหลงผิดว่าท่านเหนือกว่าพระมหานิกายเมื่อใดแล้ว ท่านจะไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพานหลุดพ้นจากวัฏฏะได้เลยนะ เพราะท่านยังติดในสังโยชน์ ๑๐ คือมานะ ซึ่งหมายความว่ามีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกิดพอดี นั่นแหละ

    ... ดังนั้นฉันจึงขอย้ำตามที่ได้เคยตอบไปแล้วว่า พระที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้นั้น จะต้องเป็นพระที่มีความประพฤติประกอบความเพียรเพื่อหวังบรรลุมรรคผลนิพพานด้วยการละสังโยชน์ ๑๐ ไปทีละข้อ จนเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุดนั่นเอง เข้าใจหรือยัง? ” หลวงพ่อย้ำ

    ... “ เข้าใจแล้วครับ ” ข้าพเจ้าตอบ คิดๆ จะถามเรื่องพระให้หวยอยู่เหมือนกัน แต่คำตอบของหลวงพ่อเกี่ยวกับเรื่องพระสงฆ์ที่แท้จริงนั้น ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้ว จนสามารถตอบเอาเองได้ว่า

    ... “ พระที่ให้หวยนั้นยังฝักใฝ่ในโลกียะ มิใช่โลกุตระ และยังมิได้ประพฤติปฏิบัติตนตรง ตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อไปสู่มรรคผลนิพพาน อย่างจริงจัง จึงมิควรแก่การสนใจ ”

    ... ข้าพเจ้าหวังว่าท่านผู้อ่านคงจะมีความเข้าใจในพระสงฆ์ได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น ไม่มากก็น้อยนะครับ
     
  19. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781


    ..... ขอให้เดินตามพระธรรมคำสั่งสอนองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้จริงเถอะ กลัวว่าจะจริงแต่ปากหากแต่ใจนั้นมีมานะท่วมท้นล้นหัวใจ จนไหลมากองนองพื้นสิไม่ว่า พุทธบริษัททั้งหลายล้วนเป็นผู้มีความเคารพในพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ด้วยกันสิ้น อีกอย่างหนึ่ง ในกระทู้นี้ไม่เห็นมีพระมาแสดงความคิดเห็นเลยคุณกินปูนร้อนท้องไปหรือเปล่า ส่ออาการมีพิรุธชอบกลนะเรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2013
  20. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    คุณธัมมะสามี ขา งั้นขอคำแนะนำจากคุณละกันนะคะ หนูน่ะรู้อยู่เห็นอยู่ว่า อัสมิมานะสังโยชน์ตัวนี้ มันไม่ใช่เรา แต่จิตมันรวดเร็วเกินจะจับค่ะ สติไม่ทันมัน พอมีผัสสะมากระทบ จิตก็ไปรับเป็นเรา เป็นของเราขึ้นมาทันที แล้วมันก็ปรุงต่อการ ขนาดตามดูความไม่เที่ยงของ สังขาร
    บ้าง ของจิตบ้าง ของเวทนาบ้าง ของสัญญาบ้าง ของรูปบ้าง ก็แล้ว
    มันไหลไปเรื่อย ช่วยแนะหน่อยค่ะ ทางลัด ที่จะละทิ้งตัวนี้ได้ฉมัง หนูเบื่อมันจังเลย กราบขอบคุณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...