ทํายังไงดีครับ เมื่อ เราหลงอยู่ใน สมาธิจนโงหัวไม่ขึ้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เฝ้าดู, 3 พฤษภาคม 2011.

  1. อศูนย์น้อย

    อศูนย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +495
    ติด แบบนั้น ก็ดีแล้วนิครับ จะแก้ทำไม อยู่แบบนั้นเข้าบ่อยๆ เข้าเรื่อยๆ ไม่จำเป็น
    ที่จะต้องถอยออกมา เพื่อพิจรณา เดียวจิตมันจะเรียนรู้ของมันเองและ ข้อไห้ทำจริงๆ
    แล้วมีความเพียนมากๆ เดียวจิตมันจะเครื่อนออกเอง เครื่อนเข้าเอง โดยไม่ต้องกำหนด
    ขอถามเจ้าของกระทู้นะครับ ว่า อยู่ตรงนั้นนานไหม หรือแปบเดียวแล้วลืมดา
    แล้วนั่นนานเท่าไหล่ครับ ^^.......
    ..........จะรู้ว่ามันจะร้อน หรือมันจะหนาว ต้องลองดูครับ แล้วจะเข้าใจ ด้วยตัวเอง.......
     
  2. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ขอตอบพี่ ศูนน้อย


    ขอตอบพี่ศูนน้อย ที่ถามว่า อยู่ตรงนั้นนานไหม

    ต้องขอกลับไปถามพี่ก่อนว่าตรงนั้น น่ะ มันตรงไหน
    ในช่วงของการนั่งของน้อง มีระยะเวลาที่เเยกออกจากกัน เป็นช่วงๆ

    เช่น
    วันนี้จะนั่งเพื่ออะไร ให้เกิดอะไร ระยะเวลามากน้อยเเค่ไหน
    เเล้วเเต่จะกําหนด ว่าจะต้องดับอะไรไหม ลึกเเค่ไหนถึงจะประครองอารมณ์ได้อยู่หมัด

    บางวันไม่อยากไปกําหนด ก็ นานหน่อย บางวัน รีบๆ เอาเเค่พอ จุกๆ เอาเเค่หยุดในอารมณ์ ที่ต้องการจะดับ ก็ เอาเเค่นั้นเเล้วก็ออก

    ส่วนเรื่องของ ระยะทางว่าไปไกลเเค่ไหน อยู่ตรงไหน ช่วงหลังๆมานี่ ไม่ได้เหลือบมอง รอบๆเท่าไร เลยไม่รู้ว่าถึง รังสิต หรือสีลมเเล้ว

    บางวันไร้อารมณ์ที่จะนั่ง มีงานต้องเคลีย ก็ หลับตานับถึง ร้อยเเล้วก็พอเลย
    บางวันเหนื่อยๆง่วงอยากนอน ก็ไม่ได้นั่งซักวินาที

    น้องเลยต้องรบกวนถามพี่กลับไปว่า ตรงนั้นน่ะ มันตรงไหน ถ้าจะเอาเรื่องระยะเวลาของการ ทรง ฌาณ ล่ะก็ ขอตอบเเบบนางมารว่า

    ไม่ได้นึก ไม่ได้จํา ไม่ได้ทํา เเล้วก็ไม่ได้ฝืน ไปเรื่อยๆ ไหลๆไป เอาเพลินๆ

    ขอบคุณที่สอบถาม เต็มใจตอบเป็นอย่างยิ่งเจ้าค๊าาาาาา
     
  3. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ก่อนอื่นต้องบอกว่า ฌาน8 นั้นเป็นของสูง และน้อยคนนักที่จะฝึกได้
    แต่ผมรู้สึกได้ ว่า คุณนราสภา เป็นหนึ่งในนั้น
    อย่าเรียกว่าสอนเลยจะดีกว่า เอาเป็นช่วยกันค้นคว้าหาความรู้ดีกว่าครับ

    ผมหาคำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน มาให้คุณนราสภาได้ศึกษา
    หวังว่าคำสอนของหลวงพ่อคงช่วยไขความกระจ่างให้คุณนราสภาได้

    อรูปฌาน ๔


    ต่อไปนี้จะได้อธิบายถึงวิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่างคือ อากาสานัญ-
    จายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะรวม ๔ อย่างด้วยกัน
    อรูปฌานทั้ง ๔ นี้เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว
    เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์
    ในวิปัสสนาญาณมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญ
    สำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริงตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้
    ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนามถือความ
    ว่างเป็นสำคัญ

    อานิสงส์อรูปฌาน

    ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌาน
    ที่ได้แล้ว ยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้อรูปฌานนี้แล้ว
    เมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ คือมีคุณสมบัติพิเศษ เหนือจากที่ทรง
    อภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และ คุณสมบัติพิเศษ
    อีก ๔ คือ

    ปฏิสัมภิทา ๔

    ๑. อัตถปฏิสัมภิทามีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ท่านอธิบาย
    มาแล้วอย่างพิสดาร ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัดไม่เสียความ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้พิสดาร
    เข้าใจชัด
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่างอัศจรรย์
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่างอัศจรรย์
    ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา
    หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ ๑๐ และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้
    ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญา แล้วท่าน
    มาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ ๙ ประการ
    ปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาท
    ของอรูปฌาน คือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึง
    จตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติ
    ในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่านที่ได้กสิณจน
    คล่องอย่างน้อย ๙ กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้ว จึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้ ฉะนั้นท่าน
    ที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน
    อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอา
    โลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐ หรือทั้ง ๘ นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันที
    ในสมัยที่เป็นฌานโลกียส่วนปฏิสัมภิทาญาณ ๔ นี้ เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรง
    ปฏิสัมภิทาไม่ได้ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะ
    ปรากฏบังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้

    ๑. อากาสานัญจายตนะ

    การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐานละเอียด
    ทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้ มีความสำคัญ
    อยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบายไม่ตรงตามความเป็นจริง
    ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ ก็ต้องได้กรรมฐานกองนั้น ๆ มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็ เช่นกัน
    อาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสาม สำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมา
    พอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จ มรรคผลใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอด
    ได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ฉลาดจริงเข้า ท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกันส่วน
    ด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษาในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบแต่ถึงจะได้
    ไม่ครบก็ทราบว่าแนวของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ ๆ ฟุ้งได้บ้าง
    พอสมควร
    อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะ
    นี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญ
    ว่ากสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญความสุข ความทุกข์ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็น
    ต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณนั้น ถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็น
    นิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศ
    ไว้โดยกำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน

    ๒. วิญญาณัญจายตนะ

    อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ โดยจับอากาสานัญจายตนะ คือกำหนดอากาศจาก
    อรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์ แล้วกำหนดว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิต
    ที่อาศัยรูปอยู่ ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตาม แต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะ
    วิญญาณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดจิตว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาด
    กำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือนจิต โดยคิดว่า เราต้องการจิตเท่านั้น รูปกายอย่างอื่น
    ไม่ต้องการ จนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์

    ๓. อากิญจัญญายตนะ

    อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ ในวิญญาณแล้วเพิก
    วิญญาณคือไม่ต้องการวิญญาณนั้น คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศก็ไม่มี วิญญาณก็ไม่มี
    ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้น การไม่มีอะไรเลยเป็นการ
    ปลอดภัยที่สุด แล้วก็กำหนดจิต ไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด จนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้

    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือทำความรู้สึก
    ตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัว
    เสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่อาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อน
    แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวายมีชีวิตทำเสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใดๆ ปล่อยตามเรื่อง
    เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์
    เป็นจบเรื่องอรูปกันเสียที เขียนมานี้อึดอัดเกือบตาย เป็นอันว่าเขียนไว้คร่าว ๆ ไม่รับรอง
    ผิดถูกเพราะปฏิบัติไม่ได้ ก็ไม่ยอมรับรอง เรื่องกรรมฐานนี้เดาไม่ได้ ขืนเดาก็เละหมด สมัยเป็นนัก
    เทศน์เคยถูกท่านอาจารย์ไล่เบี้ยอารมณ์กรรมฐานเสียงอม เดาท่านก็ไม่ยอม ท่านให้ตอบตามอารมณ์
    จริง ๆ ผิดนิดท่านให้ตอบใหม่ ท่านทรมานเอาแย่ แต่ก็ขอบคุณท่าน ถ้าท่านไม่ทำอย่างนั้น ก็คง
    ไม่สนใจอะไรเลย เพราะกลัวขายหน้าคนฟังเทศน์ ที่ไหนบกพร่องก็รีบซ่อม ถึงอย่างนั้น พอเจออภิญญา
    กับสมาบัติเข้าคราวไร เป็นยกธงขาวหราทุกที


    (ขอยุติอรูป ๔ ไว้เพียงเท่านี้)​
     
  4. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    อ่านเเล้วตกใจ

    อ่านเเล้วรู้สึกตกใจ กับคําอธิบายในข้อความ ขนลุกเป็นวูบๆ
    (deejai)(deejai)(deejai)(deejai)

    ลืมให้ได้ว่าเราหายใจ
    ลืมให้ได้ว่าเรามีตัวตน
    หยุดจํา หยุดนึกถึงว่าเรามีลม
    หยุดมี หยุดเป็น หยุดดํารงค์ คงไว้
    เพียงเท่านี้

    เเต่ประโยชล่ะ หาอะไรไม่ได้เลย ไร้ประโยชเป็นที่สุด เพราะจริงๆเเล้ว เราเองก็ยังครองขัน เอาไว้ครบถ้วน ว๊าาาาา รู้เเบบนี้ไปหา ขี้ มากินให้มันย่อย เเล้ว ย่อยอีก ยังจะดีซะกว่าเนอะ 555555555




    ขอบคุณพี่หัวหน้าผี มากมายเจ้าค่ะ
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    เมื่อโยคาวจรตั้งธรรม6กอง มีขันธ์5 เป็นต้น มีปฎิจจสมุปบาทเป็นที่สุดได้เป็นพื้น คือพิจารณาให้รู้จักลักษณะแห่งธรรม6กองยึดหน่วงเอาธรรม6กองไว้เป็นอารมณ์ได้แล้ว ลำดับนั้นจึงเอาศิลวิสุทธิ และจิตวิสุทธิมาเป็นรากฐานศิลวิสุทธิได้แก่ปาฎิโมกขสังวรศิล จิตวิสุทธิได้แก่อัฎสมาบัติ8ประการ เมื่อตั้ง2อย่างเป็นฐานแล้วโยคาวจรพึงเจริญวิสุทธิทั้ง5สืบต่อไปโดยลำดับ เอาทิฎฐิวิสุทธิและกังขาวิตรณวิสุทธิเป็นเท้าซ้ายเท้าขวา เอามัคคามัคคญานทัสสนวิสุทธิ และปฎิทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นมือซ้ายมือขวา เอาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นศรีษะเถิด จึงจะอาจสามารถยกตนออกจากวัฎฎสงสารได้ copy มาจากตำราพระวิสุทธิมรรค(อย่าถามต่อผมยังไม่แจ้ง)
     
  6. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    คงเข้าไม่ได้หลอกเจ้าค่ะ

    น้องไม่ถึงขั้นนั้นหลอกเจ้าค่ะอรหันไม่ใช้ อนาคามี ก็ไม่เป็น ขืนเข้าไปเดี๋ยวกายก็จะร้องหิวข้าว หิวนํ้ากันให้โยเย กวนชาวบ้านเขาไปปล่าวๆ เนอะ:':)'(
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เอาอาหารมาฝากคุงควายสนาม จร้า
    สุขในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
    [​IMG]

    "ท่านรู้ไหม ? ....
    สุขในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน
    ท่านรู้ไหม ?....................
    สมาธิก็เหมือนกับเนื้อติดฟัน ....
    นันแหละ.......
    สมาธิทั้งแท่งนั้นหละ ...........
    คือตัวสมุทัยทั้งแท่ง.............
    ท่านรู้ไหม...? ๆ.....................

     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ติดสุข ในฌานและสมาธิ

    มิจฉาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีมิจฉาสติ
    สัมมาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีสัมมาสติ
    มิจฺฉาสติสฺส มิจฺฉาสมาธิ ปโหติ
    สมฺมาสติสฺส สมฺมาสมาธิ ปโหติ
    (อวิชชาสูตร ๑๙/๑)
    ติดสุข หมายถึง การติดเพลินหรือติดใจอยากในความสุขความสบาย อันเกิดขึ้นจากอำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ สุขนี้จึงหมายถึงสุขที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสในข้อ ๕ และยังครอบคลุมถึงอาการเหล่านี้ด้วยคือ ติดปีติ หมายถึง ติดเพลินหรือติดใจอยากในความอิ่มเอิบหรือซาบซ่าน ติดอุเบกขา หมายถึง ติดเพลินหรือติดใจอยากในความสงบ หรือติดเอกัคคตารมณ์ หมายถึง จิตแช่นิ่งคือจิตจดจ่อหรือจดจ้องแช่นิ่งอยู่ภายใน ติดนิมิต คือติดเพลินยึดถือในนิมิตทั้งหลาย สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นอาการของการไปเสพจนติดใจอยากในผลอันเกิดแต่ฌานหรือสมาธิ จึงเกิดการกระทำทั้งโดยมีสติรู้ตัว รวมทั้งโดยไม่รู้ตัวโดยการเลื่อนไหลไปแม้ในวิถีจิตตื่น(ในชีวิตประจำวัน)อยู่เสมอๆ คือ การพยายามให้อาการขององค์ฌานสมาธิดังกล่าวคงอยู่ คงเป็น ดังเช่น อาการกระทำจิตส่งใน ล้วนเกิดขึ้นเพราะอวิชชาจึงเป็นไปอย่างผิดๆ และปัญหาใหญ่ยิ่งคือผู้ที่เป็นจะไม่รู้ตัว และเมื่อรู้ตัวก็แก้ไขไม่ได้เสียแล้ว อาการเหล่านี้ต้องใช้การโยนิโสมนสิการ กล่าวคือ ใช้ปัญญาพิจารณาโดยละเอียดอย่างแยบคาย หรือย้อนระลึกอดีตจึงจะทราบได้ ทั้งหมดนี้เรียกรวมๆกันว่า ติดสุขบ้าง ติดฌานบ้าง ติดสมาธิบ้าง หรือมิจฉาสมาธิบ้าง มิจฉาฌานบ้าง ดังนั้นฌานสมาธิอันดีงามที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติวิปัสสนาให้เกิดปัญญาญาณ จึงกลับกลายเป็นมิจฉาฌาน หรือมิจฉาสมาธิอันให้โทษ
    ผู้ที่เจริญปฏิจจสมุปบาทอันเป็นกระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นของทุกข์ได้แจ่มแจ้ง ย่อมพิจารณาได้ว่า ภพ ชาติ ในปฏิจจสมุปบาทที่เกิดเมื่อใดเป็นทุกข์เมื่อนั้นแม้ในปัจจุบันชาตินี้ ย่อมครอบคลุมถึงรูปภพอันเกิดแต่รูปฌาน และอรูปภพอันเกิดแต่อรูปฌาน กล่าวคือ เมื่อใดที่กลับกลายเป็นนันทิความติดเพลินความเพลิดเพลินความอยากอันคือเกิดตัณหาในเวทนาคือสุขเวทนาความรู้สึกสุข,สงบ,สบายอันเกิดแต่อำนาจหรือกำลังของฌานสมาธิ เมื่อนั้นฌานสมาธิที่แม้จัดว่ามีประโยชน์ยิ่งในการปฏิบัติ เป็นองค์มรรคของการปฏิบัติ ก็จะกลับกลายเป็นมิจฉาสมาธิ,มิจฉาฌานอันให้โทษ เป็นการดำเนินไปตามวงจรของทุกข์ปฏิจจสมุปบาทโดยทันทย่อมไม่ใช่สัมมาสมาธิหรือสัมมาฌานในองค์มรรคแห่งการปฏิบัติอีกต่อไป เป็นมิจฉาสมาธิหรือมิจฉาฌานโดยไม่รู้ตัวทีเดียว และเป็นตัวทำให้เกิดทุกข์ขึ้นเสียเองอีกในภายหน้าอย่างแสนสาหัส จึงเป็นสิ่งที่ควรรู้เพื่อจะได้ไม่ไปปฏิบัติอย่างให้เกิดนันทิ(ตัณหา)ความติดเพลินจนเกิดทุกข์ กล่าวคือเกิดการติดสุขในฌานสมาธิอันยังให้เป็นทุกข์ขึ้นนั่นเอง ซึ่งมักแสดงออกด้วยอาการจิตส่งใน กระบวนธรรมของจิตที่ไปติดเพลิน จึงเป็นการดำเนินไปในกระบวนธรรมของการเกิดขึ้นของทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ดังนี้
    อวิชชา[​IMG]สังขาร อันย่อมเป็นสังขารกิเลสด้วยอวิชชาและอาสวะกิเลส คือฌานสมาธิที่สังขารปรุงขึ้นแม้โดยไม่รู้ตัวเพราะติดใจในความอร่อย [​IMG]วิญญาณ[​IMG]นาม-รูป[​IMG]สฬายตนะ [​IMG] ผัสสะ [​IMG] เวทนาเป็นสุขเวทนาจากอำนาจของสมาธิและฌาน คือความสงบ ความสุข ความสบายต่างๆ [​IMG]นันทิเกิดการติดเพลินขึ้นอันคือตัณหา[​IMG]อุปาทาน [​IMG] ภพ คือรูปภพหรืออรูปภพตามที่สังขารขึ้นโดยไม่รู้ตัว [​IMG]ชาติ การเกิดของทุกข์ [​IMG]ชรา จึงวนเวียนกระทำต่างๆแต่ล้วนแฝงอยู่ในอำนาจของฌานสมาธิโดยไม่รู้ตัว ดังนี้ จนมรณะคือดับไป และโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส......แล้วก็วนเวียนเกิดวงจรของทุกข์ปฏิจจสมุปบาทขึ้นใหม่อีก......
    สาเหตุก็คือ มักเกิดจากฝึกสติ แต่เป็นมิจฉาสติ จึงเกิดมิจฉาสมาธิขึ้น กล่าวคือ ตั้งใจฝึกสัมมาสติ แต่ไปจดจ่อกับอารมณ์เดียว ดำเนินอยู่เช่นนี้ทุกครั้งที่ปฏิบัติ จึงขาดการพัฒนาสติต่อไปในการระลึกรู้เท่าทันในสิ่งอื่นๆที่ท่านต้องการให้ระลึกรู้เท่าทันยิ่ง คือ เวทนา จิต ธรรม, จิตจึงไปแน่วแน่ในอารมณ์เดียวจนเป็นสมาธิจนเกิดการติดเพลินใน ปีติบ้าง สุขบ้าง ความสงบบ้าง จิตแช่นิ่งบ้าง จึงเป็นมิจฉาสมาธิเนื่องจากติดเพลินและขาดการวิปัสสนา กล่าวคือไม่ได้ใช้สติไปในทางปัญญาเพื่อให้เกิดนิพพิทา เมื่อถอนออกจากความสงบสบายจากฌานสมาธิแล้วนั่นเอง แต่กลับไปจดจ่อแช่นิ่งเลื่อนไหลไปในความสุขสงบสบายที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว, และอาจเกิดจากการเข้าใจผิดๆด้วยอวิชชา ดังเช่นว่า ได้ทำวิปัสสนาแล้ว แต่ไม่ได้ทำ เพียงแต่ทำสมาธิหรือการบริกรรมหรือท่องบ่นโดยไม่ได้ใช้สติปัญญาพิจารณาหาเหตุหาผลในธรรมอย่างจริงจังแต่อย่างใด หรือทำไปเพราะการหวังผลไปใช้ประโยชน์ในทางโลกๆโดยไม่รู้ตัว จึงก่อเป็นโทษรุนแรงที่เกิดต่อธาตุขันธ์และจิตโดยตรงในภายหน้า และยังให้ไม่สามารถดำเนินต่อไปในธรรมได้อีกด้วย(วิปัสสนูปกิเลส) และยังก่อให้เกิดความเจ็บป่วยทางกาย ตลอดจนความทุกข์ทางใจเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอย่างมากมายทวีคูณในภายหน้าจนทนไม่ไหว และข้อสำคัญคือเป็นไปโดยไม่รู้ตัว, และไม่รู้ว่าเป็นเพราะเหตุอันใดอีกด้วย หรือแม้รู้ตัว แต่ควบคุมบังคับไม่ได้เสียแล้ว คือเกิดการกระทำอยู่เสมอๆโดยควบคุมไม่ได้
    ติดสุข ติดสมาธิ ติดฌาน จึงหมายครอบคลุมถึง การติดเพลินหรือติดใจอยากในองค์ฌานต่างๆหรือผลของสมาธิ อย่างแนบแน่นด้วยอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง เมื่อเกิดการติดใจอยาก จึงยึดติด ยึดมั่น แอบเสพสุข เสพสบาย เสพความสงบในผลอันเกิดแต่อำนาจของสมาธิหรือฌานเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือเกิดไปยึดติดพึงพอใจด้วยอาการจิตส่งในเพราะไปติดใจอยาก จึงจดจ้องจดจ่ออยู่ที่ความสบาย ความอิ่มเอิบ ความซาบซ่าน ที่เกิดแต่กายบ้าง หรือจับอยู่ที่ความสงบ หรือความสุข ความสบายอันเกิดแก่ใจบ้าง อันบังเกิดขึ้นจากอำนาจขององค์ฌานต่างๆหรือความสงบในสมาธิ จนเกิดการเสพติดในรสอร่อยของความสุข ความสบาย ความอิ่มเอิบ ความซาบซ่าน หรือความสงบต่างๆเหล่านั้น จึงไปติดในสุขบ้าง ปีติบ้าง อุเบกขาหรือความสงบบ้าง หรือเอกัคคตาแต่เป็นแบบแช่นิ่งๆอยู่ภายในบ้าง อันล้วนเป็นผลที่บังเกิดขึ้นแก่กายและจิตที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมาธิหรือฌาน แต่เป็นมิจฉาสมาธิหรือมิจฉาฌานแบบผิดๆ สาเหตุใหญ่มักเป็นเพราะความไม่รู้ในคุณ,โทษอย่างแจ่มแจ้ง(อวิชชา) ดังนั้นเมื่อปฏิบัติฌานหรือสมาธิแล้ว เมื่อถอนจากวามสงบสบายออกมาแล้ว ก็ไม่ได้ดำเนินการวิปัสสนาหรือใช้ปัญญาพิจารณาธรรมอย่างจริงจังให้แจ่มแจ้งเลย อันมัวแต่คิดไปว่าการบริกรรมท่องบ่นในธรรมนั้นเป็นการพิจารณา จึงเกิดการติดเพลิน(นันทิ-อันเป็นตัณหา)เพราะเป็นความสุขความสบาย อันเป็นที่พึงพอใจโดยธรรมชาติอยู่แล้วของชีวิต และเมื่อปล่อยให้เกิดการเลื่อนไหลหรือจิตส่งในไปตามกําลังอํานาจของความสุขสบายต่างๆก็เพราะอวิชชา จึงเกิดเป็นตัณหาในที่สุดโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงย่อมดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท จนเป็นอาสวะกิเลสที่สั่งสมไว้ แล้วไปเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาจึงเกิดหรือจึงมีสังขารตามที่ได้สั่งสมนั้นโดยไม่รู้ตัวเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จึงกระทำเองโดยไม่ตั้งใจและไม่สามารถหยุดยั้งได้ สาเหตุใหญ่ๆก็มาจากความสุข ความสบาย ความสงบที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากความความเชื่อ,ความเข้าใจผิดๆว่าปฏิบัติแล้วได้บุญได้กุศลโดยตรง, หรือเพราะคิดว่าได้ปฏิบัติโดยถูกต้องแล้วคือตามความเชื่อความเข้าใจผิดๆที่ว่ายิ่งปฏิบัติมากยิ่งเกิดปัญญา ตามที่กล่าวอ้างสืบทอดกันมาว่า สมาธิยังให้เกิดปัญญา แต่ไปเข้าใจผิดคิดว่า ปฏิบัติฌาน,สมาธิแล้วปัญญาจักเกิดขึ้น ดังนี้เป็นต้น เพราะตามความเป็นจริงนั้น สมาธิเป็นบาทฐานให้เกิดปัญญา หมายถึง นำเอาผลของสมาธิที่เกิดขึ้นคือทําให้จิตสงบ กายสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะปราศจากนิวรณ์ ๕ จึงก่อเป็นกําลังแห่งจิตไปใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนาคือพิจารณาธรรม อันจะยังให้เกิดปัญญาหรือสัมมาญาณหรือความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในอันที่จักยังให้เกิดสัมมาวิมุตติอันพ้นทุกข์อย่างแท้จริงและถูกต้อง เยี่ยงนี้สมาธิหรือฌานก็จักยังคุณอันยิ่งใหญ่ กล่าวคือแทนที่จะเป็นสัมมาสมาธิชนิดที่มีสติอยู่อย่างต่อเนื่องอันถูกต้องดีงาม อันเป็นกำลังอันสำคัญยิ่งในการปฏิบัติ และการพิจารณา เพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาให้เกิดปัญญา คือใช้เป็นกําลังของจิตอันเกิดขึ้นเนื่องจากกายและจิตสงบระงับจากอํานาจกิเลสตัณหาด้วยกําลังอํานาจของสัมมาสมาธิชั่วขณะ คือนําไปเป็นกำลังของจิตทั้งในการปฏิบัติ หรือในการพิจารณาธรรมที่บังเกิดแก่จิตหรือสงสัยให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้และถูกต้อง, แต่เกิดสติขาดเลื่อนไหลลงสู่ภวังค์หรือสมาธิ,ฌานเสมอๆและมิได้ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างจริงจัง จึงเกิดการเพลิดเพลินยังเกิดการไปยึดติดพึงพอใจในรสชาติอันเอร็ดอร่อยของความสุขความสงบ อันรับรู้สัมผัสได้ทั้งจากทางกายและทางจิตของฌาน,หรือมิจฉาสมาธิโดยไม่รู้ตัวเพราะนันทิหรือตัณหา หรือเพราะไม่รู้(อวิชชา) ทําให้จิตส่งในไปคอยแอบเสพรสอยู่รํ่าไปตลอดเวลาทั้งขณะที่รู้ตัวและโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยไม่รู้ตัวโดยการเลื่อนไหลไปเองตามธรรมชาติของจิต จนในที่สุดกลายเป็นองค์ธรรมสังขารที่ได้เคยชิน,สั่งสม,อบรม,ประพฤติ,ปฏิบัติไว้(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)ที่สามารถกระทำหรือเกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เกิดการเลื่อนไหลจมแช่อยู่ในสมาธิฌานหรือองค์ฌานต่างๆ อย่างเบาๆ แต่เกือบตลอดเวลาได้เอง แทบทุกขณะจิต แม้แต่ในขณะหลับ อันจักต้องเป็นเช่นนั้นเอง และบางครั้งจากการกระทําบางอย่างโดยไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติของทุกข์) เช่น นำไปใช้งานในทางที่ผิด หรือทางโลกๆ, มักจมแช่หรือแช่นิ่งอยู่ภายในนั้นโดยไม่รู้ตัว อันยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันเป็นผลร้ายต่อผู้ปฏิบัติอย่างรุนแรงในที่สุด, ดังมีคำกล่าวของเหล่าพระอริยเจ้าในเรื่องมิจฉาฌานสมาธิไว้ดังนี้

    "การบำเพ็ญจิตให้สงบจนเกิดกำลังแล้ว ก็ไม่ควรที่จะทำความสงบอย่างเดียว เพราะถ้าทำแต่ความสงบไม่พิจารณาทุกขสัจจ์ ก็จะเป็นเฉพาะฌาน ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิผิด ไม่พ้นทุกข์ ต้องพิจารณาทุกข์จึงจะพ้นทุกข์" (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    ในหนังสือ"อตุโล ไม่มีใดเทียม" ได้มีการกล่าวถึงพลังจิตหรือสมาธิไว้ดังนี้"พลังจิตที่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงหลังจากเกิดสมาธินั้น หมายถึงว่า จิตนั้นจะยกสภาวะธรรมขึ้นมาพิจารณาไตร่ตรองให้เกิดวิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาแล้วปัญญานั้นก็จะแจ่มแจ้งดีกว่าจิตที่ไม่เกิดสมาธิ หรือจิตที่ไม่มีสมาธิ" (น. ๒๒๒)

    "พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบไม่ได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็ได้แค่นั้นแหละ ยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัดภพ ชาติ ตัณหา อุปาทานได้ ให้ละสุขนั่นเสียก่อน แล้วพิจารณาขันธ์๕ให้แจ่มแจ้งต่อไป" (น.๔๙๕)

    มีผู้อยากฟังความคิดความเห็นเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของหลวงปู่ และยกบุคคลมาอ้างว่าท่านผู้นั้น ท่านผู้นี้ระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ
    หลวงปู่ว่า
    "เราไม่เคยสนใจเรื่องอย่างนี้ แค่อุปจารสมาธิก็เป็นไปได้แล้ว ทุกอย่างมันออกไปจากจิตทั้งหมด อยากรู้อยากเห็นอะไร จิตมันบันดาลให้รู้ให้เห็นได้ทั้งนั้น และรู้ได้เร็วเสียด้วย หากพอใจเพียงแค่นี้ ผลที่ได้ก็คือ ทําให้กลัวการเวียนว่ายตายเกิดในภพที่ตํ่า แล้วก็ตั้งใจทําดี บริจาคทาน รักษาศีล แล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน พากันกระหยิ่มยิ้มย่องในผลบุญของตัว, ส่วนการที่จะขจัดกิเลสเพื่อทําลาย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงนั้น อีกอย่างหนึ่งต่างหาก" (น.๔๙๙)

    ในหนังสือส่องทางสมถวิปัสสนาของหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี ก็ได้มีกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ทั้ง ๒ ทาง คือแบบสมถะหรือสมาธิล้วนๆ และอีกแบบหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า แนวนี้เดินสมํ่าเสมอกว่าแนวสมถะล้วนๆ คือ แนวสมถวิปัสสนา กล่าวคือใช้สมาธิเป็นบาทฐานของวิปัสสนานั่นเอง ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้ "บริกรรมหรือเพ่งอย่างนั้นเหมือนกัน(หมายถึงเหมือนสมถะ) แต่ไม่ให้จิตสงบ คือน้อมจิตให้เข้าไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว(webmaster - เช่นในข้อธรรม หรือนิมิตอันดีงามถูกต้องเช่นอสุภหรือธาตุ นำมาเป็นกสิณ) เพ่งพิจารณานิมิตนั้นให้เป็นธาตุหรือเป็นอสุภ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์เป็นต้น เมื่อเห็นชัดแล้วจิตจะรวมลงไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว หรือจะเป็นสมาธิ หรือจะเกิดปัญญาให้สลดสังเวชก็ได้ พูดย่อๆ เรียกว่าหัดสมถะเป็นไปพร้อมกันกับวิปัสสนา"
    "ฌาน ได้แก่ การเพ่ง และเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว จะเป็นกสิณ หรืออะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ข้อสำคัญจะต้องให้จิตจับจ้องอยู่ในเฉพาะอารมณ์อันนั้นเป็นใช้ได้ เบื้องต้นจะต้องตั้งสติควบคุมจิตให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างแน่นแฟ้น เมื่อจิตถอนออกจากอารมณ์อื่นมารวมอยู่ในอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เสวยความสุขอันไม่เคยได้รับมาแต่ก่อน จิตก็จะยินดีและน้อมเข้าไปสู่เอกัคคตารมณ์อย่างยิ่ง เรียกว่าเพ่งเอาความสุขอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์เป็นอารมณ์ของฌานต่อไป จนเป็นเหตุให้เผลอตัวลืมสติไปยึดมั่นเอาเอกัคคตาว่าเป็นของบริสุทธิ์และดีเลิศ จิตตอนนี้จะรวมวูบเข้า ภวังค์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับเผลอสติ หรือลืมสติไปเสียเลยอยู่พักหนึ่ง แล้วจึงรู้สึกตัวขึ้นมา แต่ผู้ที่เคยเป็นบ่อยและชำนาญแล้ว จะมีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกันแต่เป็นไม่แรง และนิมิตหรือความรู้อะไรจะเกิดก็มักเกิดในระยะนี้ เมื่อนิมิตและความรู้เกิดขึ้นแล้ว จิตที่อยู่ในเอกัคคตานั้นจะวิ่งตามไปอย่างง่ายดาย จิตที่อยู่ในเอกัคคตารมณ์เป็นของเบาและไวต่ออารมณ์มาก (อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวในการกระทบเช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิดต่างๆ - webmaster) ที่เรียกว่า จิตส่งใน เป็นภัยต่อผู้เจริญฌานอย่างยิ่ง บางทีอาจทำให้เสียผู้เสียคนไปก็มี ฌานมีเอกัคคตารมณ์เป็นเครื่องวัดในที่สุด แต่ไม่มีปัญญาจะพิจารณาสังขารให้เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณได้ กิเลสของผู้ได้ฌานก็คือมานะแข็งกระด้างทิฐิถือรั้นเอาความเห็นของตัวว่าเป็นถูกทั้งหมด คนอื่นสู้ไม่ได้ เรื่องนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของฌานหรือทิฐินิสัยเดิมของแต่ละบุคคลอีกด้วย ผู้ที่ผ่านเรื่องนั้นมาด้วยกันแล้วหรือมีจิตใจสูงกว่าเท่านั้นจึงจะแก้และแสดงให้เขาเห็นจริงตามได้ ถ้าแก้ไม่ตกก็เสียคนไปเลย" จาก โมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    "....แล้วการที่เรามาใช้ปัญญาพิจารณา เหตุผลต่างๆ ที่จิตใจมันยึดมั่นถือมั่นอยู่นั้น อันนั้นมันเป็นวิธีการที่จะละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นให้หมดไปสิ้นไป แต่ลำพังสมาธินั้น เพียงแต่ระงับความอยากความหิวไปได้ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นเอง ส่วนที่จะละความอยากความหิวให้มันขาดเด็ดออกไปจากจิตใจได้ ต้องอาศัยปัญญา....ปัญญานั้นก็ต้องเกิดจากสมาธิ (เป็นฐานกำลัง ไม่ใช่จากสมาธิโดยตรงๆ- webmaster)....ฯ." จาก บุญญาพาชีวิตรอด โดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    "..ผู้ที่เป็นสมาธิ ถ้าไม่ออกพิจารณาทางด้านปัญญา จะเป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นตลอดไป จนกระทั่งวันตาย ก็หาเป็นนิพพานได้ไม่ หาเป็นปัญญาได้ไม่.." จาก หลักเกณฑ์การปฏิบัติสมาธิ - ปัญญา (๓ พ.ศ. ๒๕๔๑) โดย พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

    http://nkgen.com/16.htm

    http://palungjit.org/threads/ติดสุข-ในฌานและสมาธิ.251472/

    เครดิต คุณหลงเข้ามา


    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2011
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    .. ฌาน เพื่อระงับกามอารมณ์ชั่วคราว ฌานจิต ไม่ใช่กามาวจรจิตเพราะเป็นจิตอีกภูมิหนึ่ง ฌานจิตรู้อารมณ์กรรมฐานด้วย สมาธิที่แนบแน่น ทางมโนทวาร ขณะที่ฌานจิตเกิดนั้นไม่รับรู้กามอารมณ์ จึงระงับกิเลสที่ข้องอยู่กับกามอารมณ์ ฌานจิต คือ รูปาวจรจิต (รูปฌานจิต) และ อรูปาวจรจิต (อรูปฌานจิต) อรูปฌานละเอียดกว่ารูปฌาน เพราะอารมณ์กรรมฐานของอรูปฌานไม่ใช่รูป ซึ่งจะได้กล่าวถึงความแตกต่างของรูปฌานและอรูปฌานในโอกาสต่อไป


    นอกจาก กามาวจรจิต รูปาวจรจิต และ อรูปาวจรจิต ยังมีอีกภูมิหนึ่งคือ โลกุตตรจิต (จิตที่พ้นจากโลก) ซึ่งมี พระนิพพาน เป็นอารมณ์ ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมมีโลกุตตรจิต โดยมีนิพพานเป็นอารมณ์


    สำหรับฌานจิตนั้น ฌานจิต ไม่มีสี เสียง กลิ่น รส หรือโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ ฌานจิตรู้อารมณ์กรรมฐานทางมโนทวาร ในฌานวิถีนั้น วิถีจิตขณะแรก ๆ เป็นกามาวจรจิตซึ่งรู้อารมณ์กรรมฐานนั้นเอง ต่อจากนั้นฌานจิตจึงเกิด ฌานวิถีจิตเกิดตามลำดับดังนี้ คือ


    กามาวจรจิต
    มโนทวาราวัชชนจิต
    บริกัมม์ (เตรียมปรุงให้อัปปนาสมาธิเกิด)
    อุปจาร (ใกล้ต่อการเป็นอัปปนา)
    อนุโลม (คล้อยต่ออัปปนาสมาธิ)
    โครตภู (จิตที่ข้ามจากกามภูมิ)

    ฌานจิต
    อัปปนา (สมาธิที่แนบแน่นในอารมณ์)


    สำหรับบางบุคคล บริกัมม์อาจไม่เกิด ฉะนั้น หลังจากที่มโนทวาราวัชชนจิตดับแล้ว จะมี กามาวจรจิต เกิดก่อนฌานจิตเพียง 3 ดวง เท่านั้น แทนที่จะมี 4 ดวง โคตรภู (จิตที่ข้ามจากกามภูมิ) เป็นจิตดวงสุดท้ายในวิถีนั้นซึ่งเป็นกามาวจรจิต
    ในวิสุทธิมัคค์ ปฐวีกสิณนิทเทศ กล่าวถึงฌานวิถีจิตที่เกิดเป็นครั้งแรก ข้อความในวิสุทธิมัคค์ ปฐวีกสิณนิทเทส กล่าวว่า ฌานจิตเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวเท่านั้น เมื่อดับไปแล้วภวังคจิตก็เกิดสืบต่อ ต่อจากนั้นก็เป็นวิถีของกามาวจรจิตซึ่งเกิดทางมโนทวาร พิจารณาฌานที่เพิ่งเกิดและดับไปแล้ว ข้อความในวิสุทธิมัคค์กล่าวว่า อัปปนาสมาธิจะ "ดำรง" อยู่ตราบเท่าที่จิตสงบจากนิวรณธรรมอย่างแท้จริง ก่อนอื่นจะต้องระงับกามฉันทะโดยพิจารณาโทษของกามฉันทะ และระงับ "นิวรณธรรม" อื่น ๆ


    ฌานจิตเป็นกุศลกรรมขั้นสูง เมื่อฌานจิตเกิด นิวรณธรรม คือ กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา สงบระงับชั่วคราว ขณะนั้นจึงเป็นความสงบที่แท้จริง อย่างน้อยชั่วในขณะนั้น


    ในบทที่แล้ว เราได้ศึกษาว่า ผู้ที่ต้องการเจริญสมถะเพื่อบรรลุฌานจิต ต้องเจริญองค์ฌาน 5 ซึ่งระงับนิวรณธรรมดังนี้คือ วิตก (สภาพธรรมที่จรดหรือตรึกในอารมณ์) วิจาร (สภาพธรรมที่ประคองอารมณ์) ปีติ (สภาพธรรมที่ปลาบปลื้ม) สุข (ความรู้สึกโสมนัส) สมาธิ (สภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์)
    ฌานจิตเจริญขึ้นเป็นลำดับขั้น และฌานที่สูงขึ้นแต่ละขั้นก็ละเอียดขึ้น ๆ รูปฌานจิตมี 5 ขั้น ปฐมฌานจิตนั้นจะต้องมีองค์ฌานครบทั้ง 5 แต่ในฌานขั้นสูงขึ้นไปก็จะลดองค์ฌานไปตามลำดับ เมื่อบรรลุทุติยฌาน ก็ละวิตก ทุติยฌานจิตแนบแน่นในอารมณ์กรรมฐานได้โดยไม่ต้องอาศัย วิตก (ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่นำจิตสู่อารมณ์และทำกิจจรดในอารมณ์นั้น) ส่วนองค์ฌานอีก 4 องค์ ยังเกิดกับทุติยฌานจิต


    เมื่อบรรลุตติยฌานจิต ก็ละ วิจารเจตสิก ฌานขั้นนี้ไม่จำเป็นต้องมีวิตกและวิจารที่จะทำให้จิตแนบแน่นในอารมณ์กรรมฐาน ฉะนั้นจึงมีองค์ฌานที่เหลือเพียง 3 องค์ คือ ปีติ สุข และ เอกัคคตา (สมาธิ) เมื่อบรรลุจตุตถฌานก็ละปีติ มีแต่โสมนัสเวทนา แต่ไม่มีปีติ เมื่อละปีติได้แล้ว ฌานจิตขั้นนี้จึงสงบขึ้น ประณีตขึ้น เมื่อบรรลุปัญจมฌานก็ละ สุขเวทนา มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วยแทนสุขเวทนา ผู้บรรลุฌานขั้นนี้ไม่ยินดีในโสมนัสเวทนา แต่องค์ฌานซึ่งเป็น เอกัคคตา ยังคงมีอยู่


    ขณะที่บรรลุฌานขั้นที่สอง บางท่านละได้ทั้งวิตกและวิจาร ฉะนั้น ในฌานจิตขั้นที่สาม จึงละปีติได้ และในฌานจิตขั้นที่ 4 จึงละสุขได้ ฉะนั้น ท่านเหล่านั้นจึงมี ฌานจิต 4 ขั้นเท่านั้น แทนที่จะมี 5 ขั้น ด้วยเหตุนี้เองจึงกล่าวได้ว่า
    รูปฌานมี 4 ขั้น หรือ 5 ขั้น (จตุตกนัย และ ปัญจกนัย) ในพระสูตรที่กล่าวถึงรูปฌาน 4 ขั้นนั้น กล่าวโดยจตุตกนัย


    รูปฌานทั้งหมดมีได้ถึง 5 ขั้น ฉะนั้นจึงมี รูปาวจรกุศลจิต 5 (รูปฌานกุศลจิต) ฌานจิตเป็นกุศลกรรมขั้นสูง ฉะนั้น ผลคือกุศลวิบากจึงเป็นขั้นสูงด้วย ฌานจิตไม่ทำให้เกิดวิบากในชาตินั้น ผลของฌานจิต คือการเกิดในภพภูมิที่สูงขึ้น คือ เกิดในรูปพรหมภูมิ ถ้ารูปาวจรกุศลจิตจะให้ผลในชาติหน้า รูปาวจรกุศลจิตจะเกิดก่อนจุติจิต ปฏิสนธิจิตของชาติหน้าจึงเป็นรูปาวจรวิบากจิต ซึ่งเกิดในรูปพรหมภูมิที่ควรแก่ฌานนั้น ๆ รูปาวจรวิบากจิตรู้อารมณ์กรรมฐานเดียวกับ
    รูปาวจรกุศลจิตที่เกิดก่อนจุติจิตของชาติก่อน รูปาวจรกุศลจิต 5 ดวงเป็นปัจจัยให้เกิด รูปาวจรวิบากจิต 5 ดวง
    รูปาวจรวิบากจิตทำกิจ ปฏิสนธิ ภวังค์ และ จุติ เท่านั้น
    มี รูปาวจรกิริยาจิต 5 ดวง ซึ่งเป็นจิตของพระอรหันต์ผู้บรรลุรูปฌาน พระอรหันต์ไม่มีกุศลจิต แต่มีกิริยาจิตแทน ฉะนั้น รูปาวจรจิตจึงมีทั้งหมด 15 ดวง คือ
    รูปาวจรกุศลจิต 5 ดวง
    รูปาวจรวิบากจิต 5 ดวง
    รูปาวจรกิริยาจิต 5 ดวง


    ผู้ที่บรรลุฌานขั้นสูงสุด และเห็นโทษของรูปฌานที่ยังมีรูปเป็นอารมณ์ อาจปรารถนาที่จะเจริญ อรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ อรูปฌานมี 4 ขั้น อรูปฌานขั้นที่หนึ่งคือ อากาสานัญจายตนฌาน การที่จะบรรลุอรูปฌานขั้นต้นได้นั้น จะต้องบรรลุรูปฌานขั้นสูงสุดโดยมีกสิณใดกสิณหนึ่งในหมวดกสิณเป็นกรรมฐาน (กสิณเป็นอารมณ์กรรมฐานของรูปฌาน เช่น วัณณะกสิณ หรือ ปถวีกสิณ) ยกเว้นอากาศกสิณ และมีความชำนาญยิ่งด้วย


    จาก www.dharma-gateway.com
    เครดิต เต้าเจี้ยว
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เครดิต คุณหลงเข้ามา[​IMG]

    เครดิต เต้าเจี้ยว[​IMG]pity_pig
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ติดสมาธิ --- เทศน์ของหลวงตามหาบัว

    มีสมาธิใช้ปัญญา

    ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า หลังจากที่ท่านอาจารย์โหมความเพียรในพรรษาที่๑๐ จนจิตได้เจริญขึ้นเรื่อย ๆ สมาธิของท่านมีความแน่นหนามั่งคง แต่ท่านก็ติดสมาธินี้อยู่ถึง ๕ ปีเต็ม ยังไม่ได้ก้าวเข้าสู่ปัญญา จนกระทั่งหลวงปู่มั่นได้ไล่ให้ออกจากสมาธิ ท่านจึงมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมยิ่งขึ้นไปอีก ดังจะเห็นได้จากเทศน์ของท่านที่ได้รวบรวมมา

    ในเทศน์ของท่านอาจารย์ที่อ่านในหนังสือต่าง ๆ จึงพบว่า ท่านสอนและเตือนบรรดาศิษย์อยู่เสมอ ให้ระวังว่าจะติดสมาธิจนกระทั่งวันตาย

    ติดสมาธิ

    "...เพราะสมาธินี้เป็นความสุขที่พอจะให้ติดได้ถึงติดได้คนเรา ความสุขในสมาธิก็พออยู่แล้ว จิตใจไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ พอจิตหยั่งเข้าสู่ความรู้อันเดียวแน่วอยู่อย่างนั้น ไม่อยากออกยุ่งกับอะไรเลย ตาไม่อยากดู หูไม่อยากฟัง มันเป็นการยุ่งกวน รบกวนจิตใจของเราให้กระเพื่อมเปล่า ๆ

    เมื่อจิตได้แน่วแน่อยู่ในสมาธินั้น อยู่สักกี่ชั่วโมงก็อยู่ได้ นี่ละมันติดได้อย่างนี้เอง สุดท้ายก็นึกว่าความรู้ที่เด่น ๆ อยู่นี้เองจะเป็นนิพพาน อันนี้จะเป็นนิพพาน จ่อกันอยู่นั้นว่าจะเป็นนิพพาน ๆ

    สุดท้ายมันก็เป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นละจนกระทั่งวันตาย ก็จะต้องเป็นสมาธิและติดสมาธิจนกระทั่งวันตาย
    ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์มาฉุดมาลาก ผมเองก็คือหลวงปู่มั่นมาฉุดมาลาก เถียงกันหน้าดำตาแดง

    จนกระทั่ง พระทั้งวัดแตกฮือกันมาเต็มอยู่ใต้ถุน นี่เพราะฟังการโต้กับหลวงปู่มั่น ไม่ใช่โต้ด้วยทิฐิมานะอวดรู้อวดฉลาดนะ โต้ด้วยความที่เราก็เข้าใจว่าจริงอันหนึ่งของเรา ท่านก็จริงอันหนึ่งของท่าน สุดท้ายก็หัวเราแตกเพราะท่านรู้นี่

    เราพูดทั้ง ๆ ที่กิเลสเต็มหัวใจ แต่เข้าใจว่าสมาธินี่มันจะเป็นนิพพาน แต่เข้าใจว่าสมาธินี่มันจะเป็นนิพพาน แล้วสุดท้ายท่านก็ไล่ออกมา..."

    (ความลึกลับซับซ้อนของจิตวิญญาณ หน้า ๓๔๑)

    สุขในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน

    "...ทีแรกไปหาท่านเมื่อไร ท่านถามว่า 'สบายดีเหรอ สงบดีเหรอ' 'สงบดีอยู่' เราก็ว่าอย่างนี้ ท่านก็ไม่ว่าอะไร พอนานเข้า ๆ ก็อย่างว่านั่นแหละ 'เป็นยังไง ท่านมหาสบายดีเหรอใจ' สบายดีอยู่ สงบดีอยู่' 'ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ'

    ฟังซิ ทีนี้ขึ้นละนะ พลิกเปลี่ยนไปหมดสีหน้าสีตาอะไร แสดงท่าทางออกหมดแล้วนะนี่ จะเอาเต็มที่ละจะเขกเต็มที่ละ 'ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ' ท่านว่า 'ท่านรู้ไหมสุขในสมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม สมาธิก็เหมือนกับเนื้อติดฟันนั้นแหละ มันสุขขนาดไหน เนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม ๆ' นี้เราไม่ลืมนะ จากนั้นมา 'ท่านรู้ไหมว่า สมาธิทั้งแท่งนั้นละคือตัวสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหม ' นั่น

    ตรงนี้มันก็ต่อยกับท่านอีก ดูซิ 'ถ้าหากสมาธิเป็นตัวสมุทัยแล้ว สัมมาสมาธิจะให้เดินที่ไหน' นั่นเอาซิโต้ท่าน 'มันก็ไม่ใช่สมาธิตายนอนตายอยู่อย่างนี้ซิ สมาธิของพระพุทธเจ้าสมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่' นั่นเห็นไหมท่านใส่เข้าไป 'สมาธินอนตายอยู่นี้เหรอเป็นสัมมาสมาธิน่ะ เอ้า ๆ พูดออกมาซิ' มันก็ยอมละซิ

    พอออกจากท่านไปแล้ว โห นี่เราไปเก่งมาจากทวีปไหนนี่ เรามอบกายถวายตัวต่อท่านเพื่อศึกษาอรรถศึกษาธรรมหาความจริง ทำไมวันนี้จึงมาโต้กันกับท่าน ยิ่งกว่ามวยแชมเปี้ยนเขานี่ มันเป็นยังไง

    เรานี้มันไม่เกินครูเกินอาจารย์ไปแล้วเหรอ และท่านพูดนั้นท่านพูดด้วยความหลงหรือใครเป็นหลงล่ะ เอาละที่นี่ย้อนเข้ามาหาตัวเอง ถ้าไม่ตั้งประพฤติปฏิบัติตามที่ท่านสอนนี้ มาหาท่านทำไม ถ้าว่าเราวิเศษวิโสแล้วทำไมเราจึงต้องมาหาครูอาจารย์ที่ตนว่าไม่วิเศษล่ะ แต่เราก็ไม่เคยดูถูกท่านแหละ นี่หมายความว่าตีเจ้าของ ย้อนขึ้นมาเข่นเจ้าของ..."

    (ความลึกลับซับซ้อนของจิตวิญญาณ หน้า๓๔๒-๓๔๓)

    หลักของใจ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]


    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7.164858/
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    หนังสือ นี่ไปแอบถ่ายของเขามาเหรอครับทำไมไม่อุดหนุนซื้อเขามาหน่อยละครับ อิ อิ อิ
     
  13. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ป้าขรัว ป้าขรัว
    วานช้วยน้องที เอากันทีละเเผ่น เเกะออกมาทีละใบ

    ตามที่ได้อ่านมาเเล้วทั้งหมด นั้น ถ้าจะเป็นจริง ดังที่ป้าว่ามา มิผิดเพี้ยนเเต่ประการใด
    ทั้งติดในสุข ทั้งหลงในฌาณ เห็นว่าจะมีครบเป็นเเน่
    เเล้วถ้าจะออกมาให้มันหันไปทาง สัมมา เเบบจริงเเท้เเน่นอนนั้น มีวิธีเช่นไรกันเจ้าค่ะ
    ต้องทําเช่นไร
    สวด ภาวณา รึ คงมิใช้เป็นเเน่ อ้อนวอน รึ ก็ คงไม่พบเป็นเเน่ หรือว่าต้องให้ ตาย กันไปเสียก่อนจึงจะเห็นถึงเเสง สัมมา ดังที่กล่าวมาข้างต้น

    บางคนท่านว่า นั่งๆไป เดี๋ยวก็เจอเอง
    นั่งๆไปเดี่ยวก็ เห็นเอง
    เเล้วจะให้ไปเห็นอะไร ในเมื่อที่เห็นมา ก็ไม่เห็นมีสักทางที่จะให้มันหลุด มีเเต่ เพลิน มีเเต่สุขค์ มีเเต่นิ่งๆ เบาๆ เก็บเอามา พิจารณาอะไรไม่ได้สักอย่าง

    เเล้ว สัมมาที่ว่าเนี้ยล่ะ เขาไปซุกอยู่ ตรงมุมไหน

    หากจะให้จับเอาที่เห็น ที่เป็น มาพิจารณา ว่านั่นไม่เที่ยง นี่ไม่ตรง ไม่มีอะไรเที่ยงซักอย่าง

    เเล้วไง เเล้วยังไงต่อกันละเจ้าค่ะ
    พอโพสขึ้นถามคําตอบก็เหมือนเดิม นั่นมิใช้ สัมมา น่ะ นั่นมิใช้ทางน่ะ จ้าาาาาาา อีน้องก็รู้อยู่เต็มใจเเล้วว่ามันไม่ใช้ เเล้วต้องทําเยี่ยงไรกันหรือเจ้าค่ะถึงจะใช้ ถึงจะเป็น ถึงจะเห็น
    เเล้วที่นั่งพิมอยู่นี่ ก็ มิได้เบื่อได้ท้อ อะไร
    เพียงเเต่ สงสัยเพื่อว่าเมื่อไปถูกทางเเเล้วมันจะได้เข้าร่อง เข้ารอย ได้ดีขึ้น

    เมื่อก่อนตอนเข้ามาใหม่ๆ มีหลายท่านบอกให้ไป คว้าเอาสมาธิมาให้ได้ก่อน ทําไปก่อน ปฎิบัติไปก่อน พอได้สมาธิเเล้ว ค่อยมาคุยกันใหม่

    น้องเองก็ไม่รู้หลอกว่าสมาธิ ที่จําต้องได้มาก่อนนั้น มันเเค่ไหน ระดับไหนถึงจะพอใจพวก พี่ๆ เเต่ก็ปฎิบัติ มาโดยตลอด ทั้งนั่งสมาธิ ทั้งสวดมนต์ ทั้งวิเคราะนั่น นู้นนี่ ทั้ง คัดบทสวดลงในหน้ากระดาษ ใครให้ทําอะไร ก็ทําตามหมด มิได้ เกี่ยงอน อะไรทั้งสิ้น
    จนปจุบัน เริ่มตามอารมณ์ ตามกิเลศของตนได้เกือบจะทุกครั้ง บางครั้งพิม อะไรโพสอะไร รู้หมด รู้ว่านั้นมันเกินออกมาจากใจ รู้ว่านั้นมันเกินออกมาจากสติ รู้ว่านั้นมันเป็นกิเลศ ส่วนที่เกินออกมา
    ถึงสิ่งที่รู้มันจะน้อยนิดเมื่อเทียบกับ คําว่า สัมมา เเต่ก็ดีใจที่ได้มีโอกาศ รู้ กะเขาบ้าง

    เเล้วทีนี้ล่ะ ต้องทํายังไงต่อกันล่ะเจ้าค่ะ

    นั่งต่อไป
    วิเคราะต่อไป
    นิ่งๆ เย็นๆ ต่อไป เดี๋ยวมันจะมาเองหรือเจ้าค่ะ



    รบกวน ป้าขรัว หรือใครๆก็ตามที่ช้วยเเจงถเเหลงไข ชี้ทาง ช้วยบอกทีเถอะเจ้าค่ะ

    ขอบคุณเจ้าค่ะ
     
  14. joohappy

    joohappy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +1
    ซัก1ปีน่าจะเบื่อแล้วจะไปเองวาง

    ของผมได้ใหม่ๆๆก็ตื่นเต้นอยากอยู่นานๆเกือบปีกว่าจะชำนาญ เข้าๆๆออกๆๆจนเบื่อ แล้วจะวางไปเอง มีประโยชน์ในการพักจิตนะครับ
     
  15. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    เมื่อได้เเล้ว

    อยากทราบว่า เมื่อพี่ได้มาเเล้ว พี่ไปไหนต่อหรือค่ะ
    สิ่งที่ได้มา ช้วยอะไรได้บ้างกับการ นําสิ่งที่ได้กลับไปพิจารณา เรื่องอื่นต่อไปเช่น
    ขัน นิวร เเละอื่นๆ
    หรือว่าพอได้มาเเล้วก็จบกันไป
    อยากทราบน่ะค่ะ ว่า ได้มาเเล้วจะไปไหนต่อดี

    ขอบคุณค่ะ
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ป้าขรัว มาแว้ววววววว!!!

    เเกะออกมาทีละใบ ทีละดอกส์ เนาะ

    ทั้งติดในสุข ทั้งหลงในฌาณ เห็นว่าจะมีครบเป็นเเน่ [​IMG]

    เเล้วถ้าจะออกมาให้มันหันไปทาง สัมมา ต้องทําเช่นไร [​IMG]

    ที่เห็นมา มีเเต่ เพลิน มีเเต่สุขค์ มีเเต่นิ่งๆ เบาๆ สัมมาที่ว่าเนี้ยล่ะ เขาไปซุกอยู่ ตรงมุมไหน

    [​IMG] ป้าขรัว ขอแพล่มว่า ก็ที่เห็นเนี่ยะ เพลิน นิ่งๆ เบาๆ เนี่ย เรียกว่า มีสติรู้ใจตัวเอง
    รู้อาการจิตของตัวเองตามจริง รู้ทันตัวเองตามจริง เนี่ยเรียกว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    เกิดสัมมาปัญญาเห็นความจริงของโลกของตัวเอง แร้ว อ่า
    รู้แบนนี้ไปเรื่อยๆ ไม่เพียรไม่พัก มันจะสะสมสติ สะสมปัญญรู้ มากขึ้นเรื่อยๆ อ่า
    การช่วยให้รู้ตรงนี้ได้มากขึ้น สติมีกำลังตั้งมั่นมากขึ้น การอบรมจิตด้วยการสวดมนต์
    จะช่วยให้มีสติตั้งมั่นรู้ได้ยาวนานขึ้น มีกำลังจิตมากขึ้น จิตมีสมาธิตั้งมั่นรู้ได้ดีขึ้น
    ส่วนระยะหวังผลของแต่ละคนเนี่ย เมื่อไรไม่รู้นะ ว่าจะอิ่ม จะเต็ม เมื่อไร ถ้าถึงจุดที่ใช่พอดี
    จิตเขาจะเดินมรรคต่อไปได้เอง ตอนนี้ป้าขรัวก็ยัง อยู่ที่จุดนี้แหละ จุดที่ยังต้องภาวนา
    แบบไม่เพียรไม่พัก สะสมสติสะสมการเห็นสะสมปัญญรู้ความจริงของตัวเองไปเรื่อยๆ
    มันอิ่มมื่อไร ก็เมื่อนั้น แต่ระหว่างทาง เราจะรู้ตัวว่ามีพัฒนาการดีขึ้น ประสาทสัมผัสไวขึ้น
    มีสติมีปัญญามากขึ้น เผลอขาดสติน้อยลง หัวเราะให้กับตัวเองได้ หัวเราะให้กับความหลง
    ของตัวเองได้ ขำๆกับกิเลสของเราเอง ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับเรื่องโลกๆ เห็นทุกอย่างตามที่
    มันเป็น เลิกแบกโลก เลิกคิดเล็กคิดน้อย พิจารณาเรื่องต่างๆตามจริง ก็หลงน้อยลง
    ใส่ใจเรื่องภายนอกน้อยลง กลับมาดูสภาวะธรรมต่างๆของตัวเองมากขึ้น สนใจตัวเอง
    มากขึ้น ยุ่งเรื่องของคนอื่นน้อยลง

    หากจะให้จับเอาที่เห็น ที่เป็น มาพิจารณา ว่านั่นไม่เที่ยง นี่ไม่ตรง ไม่มีอะไรเที่ยงซักอย่าง

    [​IMG] นราสภา เห็นความไม่เที่ยงแร้ว แต่มันไม่รู้สึกใช่ป่าว มันไม่สะเทือนใช่ป่าว

    ป้าขรัวก็เห็นเหมือนกันว่ามันไม่เที่ยงแต่เห็นแร้วมันก็เฉยๆ ไม่มีอะไรสะเทือนเลื่อนลั่น
    เพราะว่าเราเห็นเรารู้ แต่เราเก็ทไม่ได้ คนที่จะเก็ทจะสะเทือนจนเกิดญาณรู้ความไม่เที่ยง
    นั้นมันอยู่ลึกกว่าเรา แปลกไหม เหมือนนราสภาจะตกหลุมรักใครซักคนมันต้องมีอารมณ์
    รักเกิดมาจากส่วนลึกในใจข้างในของเราใช่ไหม เราบอกให้ใจเราไปรักคนโน้นรักคนนี้
    เราไปบังคับใจเราได้ไหม เราสั่งมันได้ไหม สังให้รัก สั่งให้เลิกรัก สั่งให้เลิกเศร้า สั่งให้
    เลิกบ้า สั่งให้ห้ามหัวเราะตอนเผลอๆ อาการที่จิตมันทำของมันเอง จิตวิญญาณสะเทือน
    ในเรื่องใดๆ นั่นแหละ ธรรมะแท้เกิดจริง ทั้งรัก โลภ โกรธ หลง ชังเกลียด ชอบไม่ชอบ
    เราสะสมรู้ในเรื่องพวกนี้มาจนมันซึมลึกอยู่ในจิตวิญญาณของเราจนเป็นอัตโนมัติ
    จิตวิญญาณของเรามันก็เลยทำได้แค่นี้ เดินวิถีจิตด้วย รัก โลภ โกรธ หลง เป็นปกติ
    พอเรามาฝึกจิต ทำฌาณ ทำสมาธิ พิจารณาความไม่เที่ยง จิตวิญาณของเรามันก็ทำตาม
    ที่เราจูง เรานำตลอด เรารู้ตลอด แต่จิตวิญญาณของเรามันไม่รู้กับเราด้วย
    เพราะมันรู้สึกเองไม่ได้ เพราะมันไม่เคยฝึกรู้ตัวแบบนี้ จิตมันไม่เคยรู้ตัวเอง!!!

    การฝึกในทางสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็คือฝึกทวนรู้กลับมาที่ตัวเราเอง รู้ที่ตัวเราเอง
    รู้ว่าตัวเองเพลิน นิ่ง ว่าง เข้าฌาณ ออกฌาณ หลงติดสุขในฌาณ รู้จักสภาวะธรรม
    ของตัวเองตามจริง ว่ามันเปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ ไม่เที่ยง รู้ๆไปแบบนี้
    จนกว่ามันจะสะเทือนเข้าไปถึงจิตวิญญาณที่อยู่ลึกในภายในของเรา ให้จิตวิญญาณ
    ของเรามันแสดงตัวเอง เดินอารมณ์เอง โดยเรามีสติรู้ตัว ดูตัวเองไปเฉยๆ ไม่จูง
    ไม่นำ ปล่อยให้ธรรมชาติของเราเรียนรู้ตัวเอง คนที่มีอารมณ์ศิลป์จะเข้าใจตรงนี้
    คนที่ขาดอารมณ์ศิลป์ ขาดจินตนาการ แห้งแล้ง จะเข้าใจยาก พวกจิตวิญาณหลับไหล
    ก็จะไม่เข้าใจ คนที่ทำงานด้วยจิตวิญญาณที่ตื่นตัว การดึงจิตวิญญาณของตัวเอง
    ออกมาฝึกรู้ ฝึกทำสมาธิได้ ก็จะรู้ว่าฝึกให้เกิดสติเกิดปัญญารู้ด้วยจิตวิญญาณจะเป็นอย่างไร
    ตรงนี้ เรียกจิตตื่น เรียกมรรค ดำเนินในทางสัมมาทิฏฐิ ถูกตัวถูกที่ถูกทาง
    ฝึกได้เป็นเนื้อเป็นหนังตน เมื่อเพียรไปถึงจุดที่จิตวิญญาณเกิดญาณรู้ความไม่เที่ยง
    มันจะสะเทือนรู้เองว่าใช่หรือไม่ เหมือนอาการคนตกหลุมรักครั้งแรกมันสะเทือนเลื่อนลั่น
    เหมือนโลกถล่มตรงหน้า อาย เขิน ตะลึง ก็คาดว่า อาการจิตสะเทือนเพราะเกิดญาณรู้และ
    เก็ทเข้าใจความไม่เที่ยง เกิดปล่อยวางโลกปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น หรือเข้าถึงอารมณ์
    พระนิพพาน ก็น่าจะเป็นอาการประมาณนี้ ที่เราบิ๊วท์เองยังไงก็ไม่ใช่ มันต้องระดับจิตวิญญาณ

    แพล่มมาตั้งเยอะ พา งง หนักกว่าเดิมไหม นี่ แหะแหะ

    สรุปว่า นราสภา เริ่มเห็นสภาะธรรมได้ถูก รู้ตัว ว่าหลง รู้ตัวว่ามันไม่ใช่ ก็ดำริออก
    แต่ว่า ก็ทำทางไว้ถูกแล้วแต่ไม่รู้ตัวว่าทำถูกแล้ว ไม่รู้ว่ารู้แบบนี้ (รู้ตัวเองตามจริง)
    คือทางสัมมา ที่เหลือก็รู้ไปแบบนี้เนืองๆ รู้นิ่ง รู้เพลิน รู้หลง รู้ว่ามันไม่เที่ยง
    ซ้ำๆย้ำๆไปจนกว่าจิตวิญญาณมันจะเก็ท จะสะเทือน รับรู้ความจริงตรงกับที่เรารู้
    ไม่พัก ไม่เร่งเพียร ดำเนินชีวิตด้วย ศีล ประกอบด้วยมรรคแปด จิตวิญญาณจะเร่งไม่ได้
    มันจะเป็นจะเดินมรรค เอง เมื่อถึงเวลา

    สงสัย รู้ว่าสงสัย
    งง รู้ว่า งง
    นิวรณ์เกิด รู้ว่านิวรณ์เกิด
    อะไรเกิดขึ้นที่ใจ โทสะ โมหะ โลภะ เกิดที่ใจ ให้รู้
    รู้ๆไปที่ตัวเอง เห็นสภาวะธรรมของตัวเอง

    นี่แหละ ทางสัมมา ในความเห็นของป้าขรัวนะ

    ที่เหลือทำความเข้าใจ เลือกทางเดิน และให้มั่นใจหนทางของตัวเอง

    ถูกเป็นครู
    ผิดเป็นครู

    รู้ถูกเป็น รู้ผิดเป็น ประสบการณ์จะสอนตัวเราเอง และเป็นครูของเราเอง ทำเองรู้เอง









     
  17. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    จับใจ ชัดเจน ไร้ข้อสงสัยใดๆที่จะให้ถามต่อ

    งั้นน้องจะสะสม หยอดกระปุกต่อไปเรื่อยๆ เดี๋ยวพอมันเต็มเเล้วจะทุบเอาไปฝาก ธนาคาร

    งั้นต่อจากนี้ไปน้องขอรบกวน พ่อ เเม่ พี่ น้อง ช้วยสอดส่องจับผิด จับถูก ตําหนิ ติเตียน รวมถึงด่าว่า รุมกระทืบกันได้ตามอําเภอใจ เมื่อ เห็นว่ามีข้อความในการ ถาม ตอบ กระทู้บรรทัดใหนก็ตามที่ ดูว่าจะวิ่งออกไปนอกลู่ นอกทาง
    เพราะ น้องใช้เวปนี้ นี่เเหล่ะ เป็นเหมือน ของ คอยลองวิชาอยู่บ่อยๆ

    รบกวนด้วยค่ะ เห็นเมื่อไรเข้าไปโพสด่า โพสถาม โพสลอง กันได้ทุกคนค่ะ

    ขอบคุณป้าขรัว เเละ ทุกๆคนที่หลวมตัวเข้ามาอ่าน

    ขอบคุณจากใจค่ะ อย่าลืมน่ะค่ะ รู้สึกร้อนวิชา อยากลองขึ้นมาตะหงิ ตะหงิ หุ หุ หุ


    ส่วนที่กําลัง ผยองพองขน ท้าทายอยู่นี่ ก็มิใช้อื่นใด เเค่อยากยั่วให้คนอ่านเกิดอารมณ์ หมั่นใส้อยากตามมาด่า เพื่อ จะได้ลองวิชาไปด้วยในตัว

    ว่าเเต่ว่าพี่ที่เขาเอาการบ้านมาให้คัดลายมือเนี้ยยย หายไปไหนเเล้วก็ไม่รู้ อยากเชิญเขามาลองเทสดูจังว่า ที่เขาสอนไว้เนี้ยมันได้ที่ดีรึยัง

    ขอบคุณค๊าาาาาา
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    โตะโลง ความสนาม นี่ใครอะ?


    [​IMG][​IMG]

    [​IMG]
     
  19. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    น่าจะเป็นกายหยาบของ 151020 ซามูไรพ่อลูกอ่อน เเห่ง ท้องทุ่งปากะย่อ เย่อ ๆ

    เเล้วก็น่าจะมีความสัมพัน เเบบลึกซึ้ง สมานกลมเกรียวกันกับ ควายธนู ใจโหดที่ไล่ขวิด คนเเก่ท้องสิบสองเดือนที่หน้า เซเว่นอีเลฟเวอร์ ที่กําลังเป็นข่าวดัง ไปทั่วทั้ง สามโลก เป็นเเน่เจ้าค่ะ

    หรือถ้าจารย์ใหญ่ยังมิหายข้องหทัย ก็ เรียนเชิญ นั่ง ฌาณ สืบชะตาดูได้ทาง หลุมดําเเชลเเนล ยี่สิบสี่ซั้วโมง นะเจ้าค๊าาาาา

    ด้วยความปราถณาดีจาก นราสพาน เเห่งบ้านหลุมดําวิลเลจจจจจจจจจจจจจ
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

แชร์หน้านี้

Loading...