ฝึกกสิณทำให้บรรลุธรรมเพื่อถึงนิพพานได้ไหม ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ลิงเมืองละโว้, 24 มกราคม 2008.

  1. wuttichai0329

    wuttichai0329 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,015
    ค่าพลัง:
    +741
    สาธุ
    กับผู้มีปัญญาทุกท่าน ขอให้ท่านสำเร็จมรรคผลนิพพานเร็ว ๆ ๆ ๆ ด้วยเถิด อนุโมทนาสาธุ
     
  2. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,983
    สาธุๆๆๆ ฟังเทศน์จากหลวงพ่อดีกว่าครับ

    ท่านเล่าได้ครบแล้ว...

    เพราะกสิณเป็นกรรมฐาน
     
  3. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    เรื่องกสิณนี้ก็มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกเหมือนกันครับ


    [๓๔๑] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
    ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญอภิภายตนะ (คือเหตุเครื่องครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึก
    และอารมณ์) ๘ ประการ. คือ
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
    ข้อที่หนึ่ง.
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
    ข้อที่สอง.
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
    ข้อที่สาม.
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดี และมี
    ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
    ข้อที่สี่.
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน
    มีรัศมีเขียว. ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่า ผ้าที่กำเนิด
    ในเมืองพาราณสีมีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว
    ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
    อภิภายตนะข้อที่ห้า.
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน
    มีรัศมีเหลือง. ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่า
    ผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน
    มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณ
    เหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ
    อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก.
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน
    มีรัศมีแดง. ดอกบานไม่รู้โรยอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่า ผ้าที่กำเนิด
    ในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง
    ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
    อภิภายตนะข้อที่เจ็ด.
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน
    มีรัศมีขาว. ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่า ผ้าที่กำเนิด
    ในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว
    ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
    อภิภายตนะข้อที่แปด.
    ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอภิภายตนะ ๘ นั้นแล
    สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
    [๓๔๒] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
    ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ ๑๐ คือ
    ๑. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๒. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๓. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๔. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๕. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๖. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๗. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโลหิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๘. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๙. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๑๐. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อย
    ทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
    ก็เพราะสาวกทั้งหลายปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญกสิณายตนะ ๑๐ นั้นแล
    สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

    ที่มา:
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=5498&Z=6022
     
  4. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ขอเพิ่มเติม
    ตอบคำถามตามหัวข้อนะครับ:-

    ถ้าคนฝึกกสิณล้วนๆไม่ทำให้บรรลุมรรคผลน่ะครับ เพราะอานิสงส์ของกสิณทำให้ได้ ฌาน1-8 และอภิญญาทั้ง 5 แต่ถ้าจะบรรลุมรรคผลก็ต้องต่อด้วยการยกจิตไปพิจารณาขันธ์ 5 ให้เห็นตามความเป็นจริงที่เรียกว่า "วิปัสสนา" น่ะครับ

    แต่นักปฏิบัติก็สามารถฝึกกสิณเป็นบาทฐานเบื้องต้น พออินทรีย์เริ่มแก่กล้าก็ต่อวิปัสสนาได้เช่นกันครับ ดังเช่น พระนางอุบลวรรณาเถรี(ภิกษุณีผู้เลิศในด้านเป็นผู้มีฤทธิ์),พระสาคตะ(อรหันต์ผู้เลิศในด้านเป็นผู้เชี่ยวชาญในเตโช(ไฟ)สมาบัติ) ทั้งสองท่านนี้ก็ใช้กสิณเป็นบาทฐานแล้วค่อยเจริญวิปัสสนาภายหลังครับ
     
  5. Fame

    Fame เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +266
    การฝึกกสิณนั้น สามารถนำมาพิจารณาเป็นวิปัสสนาญาณได้ โดยพิจารณาถึงพระไตรลักษณ์ว่า อันกสิณนี้ก็ยังมีความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเป็นปรกติ อันเป็นธรรมดาของโลกนี้ ขึ้นชื่อว่าความเกิดก็เป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายก็เป็นทุกขื การพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ เมื่อนอบน้อมใจพิจารณาตามนี้แล้ว ก็จะเห็นความเป็นธรรมดาว่ากสิณนี้แม้ฝึกได้แล้ว ก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงนอบน้อมพิจารณาต่ออีกว่า อันขึ้นชื่อว่าการเกิดจะไม่มีสำหรับข้าพเจ้าอีกต่อไป ข้าพเจ้าปรารถนาอย่างเดียว คือพระนิพพาน...สาธุๆขออนุโมทนาคะ
     
  6. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ขอเพิ่มเติมนะครับ ตามแบบพระพุทธพจน์:-

    ถ้าผู้ใดเจริญกสิณจนสำเร็จกสิณ อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวิโมกข์ครับ หรือวิโมกข์จะมีอยู่ 8 แบบ โดยหมายเอาผู้ที่ฝึกกสิณกับผู้ที่ได้อรูปฌานด้วย โดยถ้าผู้ใดได้วิโมกข์ 8 นี้(เข้าถึงด้วยสภาวะได้สัมผัสด้วยกาย) พร้อมกับตัดกิเลสได้ ก็จะเป็นพระอริยะบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุติ ครับ


    [298] วิโมกข์ 8 (ความหลุดพ้น, ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่างๆ
     
  7. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม:-

    สังเกตได้ว่าหลักการเจริญกสิณในพระสูตรนั้น จะเน้นในการนำเอากสิณกองนั้นน้อมเข้ามาในกายตนแล้วแผ่กสิณนั้นออกไปโดยรอบกายตน โดยพิจารณาสิ่งต่างๆตามลักษณะของธาตุในกองกสิณนั้นๆ ตาม ค.ห.ที่ 27 ซึ่งถ้านำมาเปรียบเทียบกับ ข้อมูลในเรื่องของพระอริยะบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุติ ก็จะสังเกตได้ว่า การได้สัมผัสวิโมกข์ด้วยกายนั้นเป็นเช่นไร

    ทั้งนี้เป็นข้อสังเกตของผมเองที่ว่าการเจริญกสิณตามในพระพุทธพจน์จริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่การเพ่งมองนิมิตแต่เพียงภายนอกเท่านั้น แต่ต้องน้อมเอากสิณแต่ละกองที่ตนฝึกได้นั้นน้อมกลับเข้ามาในกายตนโดยพิจารณากสิณควบคู่ไปกับอารมณ์และความรู้สึกในกายตนด้วยน่ะครับ

    (ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกับหลักสติปัฏฐาน 4 คือให้เห็น กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แล้วก็จะได้นัยยะตรงกันที่ต้องน้อมจิตเข้ามาภายในกายของตนน่ะครับ อาจเข้ากันได้กับหมวดการพิจารณาธาตุทั้ง 4 ในฐานกาย หรือถ้าเอาอวัยวะภายในเช่นผมมาเป็นกสิณกรรมฐานก็อาจจะเข้าได้กับหมวดป่าช้าหรืออสุภะด้วย จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมอานิสงส์ของกายคตาสติในพระสูตรจึงมีการกล่าวถึงการได้อภิญญาเอาไว้ด้วยน่ะครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กุมภาพันธ์ 2008
  8. ขอมจำแลง

    ขอมจำแลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +1,273
    ดีครับ คุณWIT นำไปเป็นธรรมสัญญา เพื่อยกข้อธรรมมาพิจารณาภายภาคหน้า สาธุ
     
  9. ขอมจำแลง

    ขอมจำแลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +1,273
    หากภูมิธรรมของพระโสดาบันท่านว่า เพียงกำลังสมาธิในปฐมฌานก็สามารถบรรลุธรรมขั้นนี้ได้ครับ แต่ทั้งนี้ปัญญาต้องเกิดบ้างแล้วนะครับ
     
  10. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    วิปัสสนาญาณ พิจารณาขันธ์ ๕ ครับ พิจารณาไปเรื่อยๆ บ่อยๆ จิตจะค่อยๆ คลาย ความยึดติดในร่างกาย เอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...