พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    หุหุ ... เห็นด้วยครับท่านรองฯ นอกจาก Up Software Design for Rak Phra Wang Na Only! แล้วยังต้องมี Up Memory จาก Gigabyte เป็น Terabyte แล้วกระมัง ... เนื่องจากของเก่ายังไปไม่ถึงไหน ของใหม่ยังมาให้ศึกษาเรื่อยๆ คิดได้ไงคนโบราณ ครอบจักรวาลจริงๆ งานนี้ยิ่งกว่ากบ(เขียด(ลูกกบ))ในสระน้อยเสียอีก :p
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ
    กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย

    ไป่เห็นชะเลไกล กลางสมุทร
    ชมว่าน้ำบ่อน้อย สุดล้ำลึกเหลือ

    (เป็นคำพูดของท่านอาจารย์ประถม อาจสาครที่ท่านสอนผม)

    [​IMG]
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ทำงานในระบบเปิด
    Prof. Vicharn Panich - สภามหาวิทยาลัย - ทำงานในระบบเปิด

    <TABLE><TBODY><TR><TD width="10%">[​IMG] </TD><TD class=username style="PADDING-RIGHT: 8px" width="25%">Prof. Vicharn Panich
    The Knowledge Management Institute
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมมีข้อสังเกต (ไม่ทราบว่าผิดหรือเปล่า) ว่าราชการมีวัฒนธรรมปิด มีความลับเยอะ มีเอกสารที่ประทับตราปกปิดมาก โดยที่หลายครั้งเมื่อถามว่าทำไมต้องปกปิดก็ตอบไม่ได้ชัด ที่แน่ชัดคือถือปฏิบัติต่อๆ กันมา
    วัฒนธรรมปิดนี้แสดงออกภายในองค์กรด้วย คือต่างหน่วยที่ห้องทำงานอยู่ติดกันยังไม่รู้กันว่าอีกหน่วยหนึ่งกำลังทำงานสำคัญๆ เชิงริเริ่มอะไรบ้าง
    กว่า ๒๐ ปีมาแล้ว ผมไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยในอินโดนีเซีย เพื่อสร้างเครือข่ายวิจัยธาลัสซีเมีย ไปที่หน่วยวิจัยหน่วยหนึ่ง เขาขอปรึกษาวิธีการอย่างหนึ่งที่เราเก่งแต่เขายังทำไม่เป็น พอไปที่อีกหน่วยหนึ่งที่อยู่ห้องติดกัน เขาแสดงผลงานเรื่องที่ถูกถามพอดี ผมจึงดวงตาเห็นธรรม ว่าในสังคมที่วิชาการไม่ค่อยก้าวหน้า นักวิชาการในสถาบันเดียวกันจะเอาแต่แข่งขัน ไม่มุ่งร่วมมือกัน ไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ในขณะที่เมื่อผมไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาหรือญี่ปุ่น ผมจะเห็นความร่วมมือข้ามหน่วยข้ามศาสตร์ เพื่อค้นหาวิธีการหรือความรู้ที่รุดไปข้างหน้าสู่ขอบฟ้าวิชาการหรือความรู้ใหม่
    ผมมีนิสัยส่วนตัวที่ชอบความเปิดเผย และชอบทำงานแบบเปิดออกสู่การรับรู้ ร่วมมือ กับภายนอกหน่วยงาน เพราะผมเจียมตัวเจียมใจว่าเรียนมาน้อย ความรู้น้อย จึงต้องหาทางเรียนรู้แลกเปลี่ยนกับคนเก่งๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เก่งกว่าเรา
    ชีวิตแนวนี้ ให้ประโยชน์มาก ทำให้เราไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ทำให้เราเคลื่อนสู่แนวทางสร้างสรรค์ง่าย สิ่งที่จริงๆ แล้วไม่น่าจะทำได้ ก็ทำได้ และหลายๆ ครั้ง ได้ผลดีอย่างไม่น่าเชื่อ ผมคิดว่า นี่คือพลังคออร์ดิค ซึ่งจะต้องทำงานในระบบเปิด
    ผมทำงานกับ “คณะกรรมการ” จำนวนมาก ยิ่งนับวันก็ยิ่งเห็นว่าคณะกรรมการเหล่านี้จะต้องหาวิธีทำงานสร้างสรรค์ ไม่ตกอยู่ในวงจรการทำงานแบบ routine ตามที่ปฏิบัติต่อๆ กันมา และต้องหาทางใช้พลังสร้างสรรค์ที่อยู่นอกคณะกรรมการด้วย ซึ่งที่จริงในหลักการจัดการสมัยใหม่เรียกว่า มี networking นั่นเอง
    สมัยเด็กๆ ผมเคยจดโคลงสุภาษิตโลกนิติจำนวนมาก เอาไว้ท่องเตือนใจตนเอง บทหนึ่งว่าดังนี้
    รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ
    กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย
    ไป่เห็นชะเลไกล กลางสมุทร
    ชมว่าน้ำบ่อน้อย มากล้ำ ลึกเหลือ
    คำว่า ชะเล พิมพ์ถูกแล้ว แปลว่าทะเลนั่นแหละ

    ลองคิดให้ดีๆ เถิดครับ สุภาษิตนี้สอนให้เราทำงานในระบบเปิด ยิ่งถ้าเอาสุภาษิตนี้ + วิธีการ เคออร์ดิค จะยิ่งเกิดพลังของระบบเปิดอย่างเหลือคณา นี่คือความท้าทายยิ่งต่อ กพร. ที่มีภารกิจปฏิรูประบบราชการ ถ้าราชการยังมีวัฒนธรรมปิดอย่างเดิม การปฏิรูประบบราชการก็จะอยู่แค่ระดับผิวๆ เท่านั้น
    ระบบปิด ความสร้างสรรค์น้อย และเกิดยาก ระบบเปิด เกิดความสร้างสรรค์ง่าย


    ิจารณ์ พานิช
    ๖ มี.ค. ๕๒
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมเคยได้ยินบทนี้มาอีกบท

    สมเด็จ เสร็จแน่นอน
    ผงสุพรรณ ฝันไปเถอะ
    ซุ้มกอ รออีกนาน
    นางพญา บ้าไปเลย
    พระรอด จอดสนิท (ถ้าจำไม่ผิด)

    แต่เรื่องพระสมเด็จ ผมว่า หาง่ายครับ และที่ว่าหาง่ายนั้น ต้องสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2415 สร้างโดยช่างสิบหมู่แห่งวังหน้า นำเข้าพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวงที่วัดบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ่า งั้นอย่าไปเป็นกบ เดี๋ยวโดน .....

    [​IMG]

    แต่ถ้าไปเป็นไกรทอง โอเคนะครับ อิอิ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    โคลงโลกนิติ ตัวอย่าง ประวัติ โคลงโลกนิติ
    ⤅?Ⅱ?ԵԠ?ч͂蒧 ?ÐǑ?Ԡ⤅?Ⅱ?ԵԦlt;/a>


    ๑. ที่มาของ โคลงโลกนิติ

    ที่มา โคลงโลกนิติ เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร มีทั้งที่เขียนเป็นภาษาบาลีและภาษา
    สันสกฤต ที่เขียนเป็นภาษาบาลี คือ คัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์) ธรรมนีติ ราชนีติ ธรรมบท ชาดก และที่ไม่ทราบอีก ส่วนที่เขียนเป็นภาษาสันสกฤต คือ จาณักยศตกะ วยาการศตกะ และ หิโตปเทศ ในจำนวนนี้คัมภีร์ที่เป็นที่มาที่สำคัญที่สุด คือ คัมภีร์โลกนิติซึ่งได้เป็นที่มาของโคลงโลกนิติ ถึง ๗๓ บท (โคลงโลกนิติที่นำมาเรียนมี ๔๒บท) และที่สำคัญรองลงไปก็คือ
    คัมภีร์ธรรมนีติ อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า คาถาใดในคัมภีร์โลกนิติที่เป็นที่มาของโคลงโลกนิติ คาถานั้นมักจะปรากฏอยู่
    ในคัมภีร์ธรรมนีติเช่นกัน การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคัมภีร์โลกนิตินั้นได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์ธรรมนีติ
    ถึงแม้ว่าในบทส่งท้ายของโคลงโลกนิติจะแจ้งว่า มีจำนวนโคลงทั้งสิ้น ๔o๘ บท แต่เมื่อสอบดูแล้วพบว่า มีเพียง ๔o๒ บท
    เท่านั้น ในจำนวนนี้ที่ทราบมาอย่างชัดเจนมีด้วยกันทั้งหมด ๑๕๓ บท ที่สันนิษฐานว่ามาจากคัมภีร์ต่างๆ มี ๒๙ บท ที่มีอุปมาอุปไมยจากชาดกหรือนิทานไทยแท้แต่โบราณมี ๕ บท ที่มีเนื้อความตรงกับวรรณคดีอื่นๆ ๖ บท ที่เกิดจาก
    การสร้างสรรค์ของกวีมี ๑o๙ บท ที่ปรากฏคาถาแต่ยังไม่ทราบที่มามี ๒๔ บท และที่ยังไม่ทราบที่มามี ๗๓ บท นอกจากนี้ก็ยังมีโคลงโลกนิติอีกจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏในต้นฉบับตัวเขียน แต่ปรากฏอยู่ในประชุมจารึกวักพระเชตุพนฯ และประชุมโคลงโลกนิติ ซึ่งกรมศิลปากรเป็นผู้รวบรวม และอ้างว่าเป็นพระนิพนธ์ของกรมพระยาเดชาดิศรเช่นกัน
    ในกลุ่มนี้มีโคลงจำนวน ๓๑ บท ซึ่งสามารถทราบที่มาได้
    ในบรรดาที่มาของโคลงโลกนิตินั้น สังเกตได้ว่า คัมภีร์ภาษาบาลีนั้นมีอิทธพลต่อโคลงโลกนิติมากกว่าคัมภีร์สันสกฤต
    ส่วนชื่อของโคลงโลกนิติ เพราะเหตุที่มาจากคัมภีร์โลกนิติในชั้นแรกจึงใช้ชี่อว่าโลกนิติตามชื่อคัมภีร์ซึ่งเป็นที่มา ต่อมาเมื่อมีการแต่งโคลงโดยอาศัยคัมภีร์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก คัมภีร์โลกนิติก็มิใช่เป็นคัมภีร์เดียวที่เป็นที่มา
    ของโคลงโลกนิติ อนึ่ง มีโคลงโลกนิติจำนวนมากที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของกวี ดังนั้น ชื่อของโคลงโลกนิติจึงน่าจะมีความหมายในวงกว้างว่า ชี้ หรือ แนะ (ประโยชน์) ให้แก่โลก ​

    [​IMG]
    ๒. ลักษณะของโคลงโลกนิติ
    โคลงโลกนิติเริ่มด้วยการยกโคลงแม่บทซึ่งเป็นโคลงที่แต่งถูกต้องตามข้อบังคับ เช่น เอก ๗ โท 4 ไม่มีเอกโทษ
    โทโทษ ไม่มีการใช้คำตายแทนเสียงเอก เป็นต้น
    โคลงโลกนิติ แต่งได้ถูกต้องตามข้อบังคับของโคลง มีการใช้คำสัมผัสให้ไพเราะยิ่งขึ้นโดยใช้สัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคแรกกับคำแรกของวรรคหลัง
    รวมทั้งสัมผัสภายในวรรคด้วย ขณะเดียวกันก็มีวิธีการรวบคำเพื่อให้ถูกต้องตามข้อบังคับด้วย ​

    [​IMG]
    ๓. คุณค่าของกวีนิพนธ์ประเภทโคลง (โคลงโลกนิติ)
    ๓.๑ คุณค่าด้านวรรณศิลป์
    กวีมีความฉลาดและแยบคายในการประพันธ์ให้ผู้อ่านเห็นภาพ และเกิดความซาบซึ้งในโวหารเปรียบเทียบ มีการเลือกสรรถ้อยคำที่ใช้อย่างประณีตบรรจง ใช้คำสั้นแต่มีความหมายลึกซึ้ง ไพเราะทั้งเสียง ทั้งจังหวะ และเมื่ออ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะก็ยิ่งจะได้รับรสของคำประพันธ์มากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างคำประพันธ์ต่อไปนี้ ​
    <TABLE width="70%" border=0><TBODY><TR><TD>“ปลาร้าพันห่อด้วย</TD><TD>ใบคา </TD></TR><TR><TD>ใบก็เหม็นคาวปลา </TD><TD>คละคลุ้ง </TD></TR><TR><TD>คือคนหมู่ไปหา </TD><TD>คบเพื่อน พาลนา </TD></TR><TR><TD>ได้แต่รายร้ายฟุ้ง </TD><TD>เฟื่องให้เสียพงศ์” </TD></TR></TBODY></TABLE>


    จากคำประพันธ์ข้างต้นเป็นการใช้สัมผัสอักษรเล่นคำที่ทำให้เสียงไพเราะ มีจังหวะ ใช้คำง่ายๆ คมคาย ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพอย่างแจ่มชัดและจดจำคำกลอนได้ง่าย
    การใช้โวหารภาพพจน์
    โคลงโลกนิติมีการใช้โวหารภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่ทำผู้อ่านได้เข้าถึงสาระของบทกวีดียิ่งขึ้น เช่น
    ภาพพจน์อุปมา คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งเพื่ออธิบายสิ่งนั้นให้ชัดเจนขึ้น เช่น ​
    <TABLE width="75%" border=0><TBODY><TR><TD>“นาคีมีพิษเพี้ยง </TD><TD>สุริโย </TD></TR><TR><TD>เลื้อยบ่ทำเดโช </TD><TD>แช่มช้า </TD></TR><TR><TD>พิษน้อยหยิ่งยโส </TD><TD>แมลงป่อง </TD></TR><TR><TD>ชูแต่หางเองอ้า</TD><TD>อวดอ้างฤทธี” </TD></TR></TBODY></TABLE>
    โคลงบทนี้มีการอุปมาหรือการเปรียบเหมือนว่า งูนั้นมีพิษมากมายมหาศาลเหมือนดวงอาทิตย์ที่มีแสงสว่าง
    เป็นดวงพลังอันยิ่งใหญ่ ภาพพจน์อุปลักษณ์ เป็นการแสดงความเปรียบแสโทษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยการ
    กล่าวถึงอีกสิ่งหนึ่งแทน เพื่อโยงไปถึงเรื่องที่ต้องการอธิบาย เช่น ​
    <TABLE width="75%" border=0><TBODY><TR><TD>“อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า</TD><TD>มาถนอม </TD></TR><TR><TD>สูงสุดมือมักตรอม </TD><TD>อกไข้ </TD></TR><TR><TD>เด็ดแต่ดอกพะยอม </TD><TD>ยามยาก ชมนา </TD></TR><TR><TD>สูงก็สอยด้วยไม้ </TD><TD>อาจเอื้อมเอาถึง” </TD></TR></TBODY></TABLE>
    โคลงบทนี้ใช้อุปลักษณ์ในคำว่า ดอกฟ้า เปรียบเป็นสิ่งที่อยู่สูงยากที่จะเอื้อมถึง หากคิดจะเอื้อมก็อาจจะทำได้ลำบากหรือมีอุปสรรคมากมาย และเปรียบ ดอกพะยอม เป็นสิ่งที่อยู่ในระดับต่ำ
    ลงมากว่าดอกฟ้า แม้มีอุปสรรคแต่ก็น่าจะฝ่าฟันไปได้ไม่อยาก ซึ่งอาจเป็นการกล่าวถึงบางสิ่งบางอย่างที่มนุษย์ต้องการจะไขว่คว้ามาเป็นของตน เช่น ความรัก เป็นต้น
    [​IMG]
    ๓.๒ คุณค่าด้านเนื้อหา
    โคลงโลกนิติเป็นวรรณคดีประเภทคำกลอน เป็นโคลงสุภาษิตเพื่อสอนให้เป็นคนดีปฏิบัติตนให้ถูกต้องในสังคม เป็นโคลงที่เข้าใจแก่นแท้และธรรมชาติของมนุษย์ทั้งทางโลก และทางธรรม เช่น
    การใช้ทรัพย์ สอนให้รู้จักใช้ทรัพย์อย่างถูกวิธี ให้จัดสรรปันส่วนในการใช้จ่าย เช่น ​
    “ทรัพย์มีสี่ส่วนไซร้ ปูนปัน
    ภาคหนึ่งพึงเกียดกัน เก็บไว้
    สองส่วนเบ็ดเสร็จสรรพ์ การกิจ ใช้นา
    ยังอีกส่วนควรให้ จ่ายเลี้ยงตัวตน”
    ลักษณะของคนดี สอนให้รู้ว่าคนดีควรมีลักษณะอย่างไร เช่น
    “ให้ท่านท่านจักให้ ตอบสนอง
    นบท่านท่านจักปอง นอบไหว้
    รักท่านท่านควรครอง ความรักเรานา
    สามสิ่งนิ่งนี้เว้นไว้ แต่ผู้ทรชน”
    ความรัก-ความชัง สอนให้รู้ถึงสัจธรรมของมนุษย์ว่า เมื่อรักกันอยู่ไกลเพียงไหนก็เหมือนใกล้ แต่เมื่อเกลียดชังถึงอยู่ใกล้ก็เหมือน***งไกล ทั้งนี่เพราะ “ใจมนุษย์” เป็นผู้กำหนด เช่น
    “รักกันอยู่ฟ้า เขาเขียว
    เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง
    ชังกันบ่แลเหลียวตาต่อ กันนา
    เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง”

    [​IMG]
    ๓.๓ คุณค่าด้านสังคม
    โคลงโลกนิติเป็นโคลงที่มีคุณค่าต่อสังคมมาก เพราะเปรียบเสมือนเป็นกระจกส่องให้เห็นถึงพฤติกรรมของความเป็นมนุษย์ที่มีผลต่อสังคม โคลงโลกนิติจึงเปรียบเป็นคู่มือในการใช้ครองเรือนให้มีความสุข ดำรงตนเป็นคนดีอยู่ในสังคมอย่างถูกทำนองคลองธรรม เนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องนี้จึงมีผลอย่างมากต่อผู้อ่านที่จะทำให้เข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิด หรือสารที่ผู้แต่งต้องการสื่อออกมา อันจะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดีขึ้น
    [​IMG]
    .๔ การนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน
    โคลงโลกนิติเป็นวรรณคดีคำสอนซึ่งแสดงให้เห็นวิธีการใช้ชีวิตให้เป็นสุข และสามารถปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบที่ดีของสังคม สาระที่ปรากฏอยู่ในโคลงผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตได้ เช่น
    การใฝ่ศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าในยุคสมัยใดการเรียนถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงควรขยันหมั่นเพียร เพราะความรู้ไม่มีใครสามารถขโมยไปได้และยังสามารถใช้เลี้ยงชีพของตนได้อีกด้วย ดังโคลงบทนี้
    “ความรู้ดูยิ่งล้ำ สินทรัพย์
    คิดค่าควรเมืองนับ ยิ่งไซร้
    เพราะเหตุจักอยู่กับ กายอาต-มานา
    โจรจักเบียนบ่ได้ เร่งรู้เรียนเอา”
    การเลือกคบคน การดำรงอยู่ในสังคมย่อมพบเจอกับผู้คนมากมาย ยากที่จะรู้ว่าใครดีหรือร้ายจากการตัดสินแค่ภายนอกเท่านั้น ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาให้ถ่องแท้ก่อนจะตัดสินว่าเป็นคนเช่นไร ดังโคลงบทนี้
    “ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ
    ภายนอกแดงดูฉัน ชาดบ้าย
    ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน
    ดุจดังคนใจร้าย นอกนั้นดูงาม”
    ให้รู้จักปล่อยวาง บางสิ่งบางอย่างในโลกนี้เราก็ไม่สามารถห้ามไม่ให้เกิดขึ้นได้ เช่น การนินทา ซึ่งอยู่คู่กับสังคมตลอดเวลา หากไม่รู้จักปล่อยวางเก็บคำนินทามาคิดก็อาจทำให้ชีวิตไม่เป็นสุข ดังนั้นเมื่อห้ามไม่ได้จึงควรปล่อยให้ผ่านเลยไปเพราะการนินทานั้นเป็นธรรมดาของโลก ดังโคลงบทนี้
    “ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน
    ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้
    ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า
    ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทา”
    นอกจากนี้ยังมีคำสอนอื่นๆที่น่าสนใจอีก เช่น การให้รู้จักทำบุญกุศล ให้มีความกตัญญูต่อบิดามารดา อย่าเอาเปรียบเพื่อนพ้อง การเลือกคบเพื่อน และการรู้จักการให้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางที่ควรปฏิบัติตาม หากสามารถเรียนรู้ที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตก็จะทำให้ได้ประโยชน์จากการอ่านวรรณคดีอย่างแท้จริง

    [​IMG]
    คุณค่าโคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมคำสอนที่มีคุณค่ายิ่งในการครองตน ให้คติข้อคิดเตือนใจ รู้บาปบุญคุณโทษ รู้ถูกผิด มีความเข้าใจได้ง่าย เสมือนกระจกเงาที่ส่องตัวตนของมนุษย์ เพื่อปลุกปลอบใจตนเองในยามตกทุกข์ได้ยาก ให้เกิดความมานะอดทนต่อสู้ขยันขันแข็งไม่ย่อท้อ ดังนั้นโคลงโลกนิติ เป็นเรื่องสุภาษิตที่ให้คุณค่าทั้งคติธรรมและคติโลก ควรแก่การศึกษาและนำไปประพฤติเพื่อความสงบสุขของชีวิต
    คุณค่าด้านวรรณศิลป์
    โลกนิติ เป็นการประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ มีโคลงกระทู้บางบท มีการรักษาระเบียบแบบแผนถูกต้อง ใช้คำที่เข้าใจง่าย มีการนำสำนวนโวหาร สุภาษิตมาเปรียบเทียบให้คิด
    1. บทที่ไพเราะทั้งคำและความหมาย
    .....เหมหงส์เลี้ยงชีพด้วย......สาคร
    ช้างพึ่งพนาดร....................ป่าไม้
    ภุมราบุษบากร.....................ครองร่าง ตนนา
    นักปราชญ์เลี้ยงตัวได้..........เพื่อด้วยปัญญา
    2. การใช้ภาษาที่ทำให้เกิดจินตภาพ
    การใช้โวหารให้เกิดจินตภาพเป็นศิลปะการแต่งบทประพันธ์ที่นิยมกันมากมีอยูหลายบทในโคลงโลกนิติ เช่น
    .....จระเข้ข้ามน่านน้ำ.............ไฉนหา ภักษ์เฮย
    รถใหญ่กว่ารัถยา..................ยากแท้
    เสือใหญ่กว่าวนา...................ไฉนอยู่ ได้แฮ
    เรือเขื่องคับชะแลแล้..............แล่นโล้ไปไฉน
    3. การใช้ภาษาที่เกินความเป็นจริง
    กลวิธีนี้ทำให้เกิดความฉงนแล้ววกมาสั่งสอนให้สติเป็นศิลปะ
    .....ห้ามเพลิงไว้อย่าให้............ มีควัน
    ห้ามสุริยแสงจันทร์.................ส่องไซร้
    ห้ามอายุให้หัน........................คืนเล่า
    ห้ามดั่งนี้ไว้ได้.........................จึ่งห้ามนินทา
    4. การใช้ภาษาเปรียบเทียบกับสิ่งของใกล้ตัวให้เห็นจริง
    เป็นการนำสิ่งของใกล้ตัวที่พบเห็นอยู่เสมอมาใช้เป็นคติเตือนใจ จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
    .....แม้นมีความรู้ดั่ง.................สัพพัญญู
    ผิบ่มีคนชู..............................ห่อนขึ้น
    หัวแหวนค่าเมืองตรู.................ตาโลก
    ทองบ่รองรับพื้น....................ห่อนแก้วมีศรี
    5. การนำธรรมชาติมากล่าวเชิงเปรียบเทียบ
    เป็นศิลปะที่กวีใช้ในการแต่งคำประพันธ์กันมากและเมื่อคิตตามจะทำให้เกิดความประทับใจและเห็นความเป็นจริงตามไปด้วย
    .....ก้านบัวบอกลึกตื้น...............ชลธาร
    มารยาทส่อสันดาร....................ชาติเชื้อ
    โฉดฉลาดเพราะคำขาน...............ควรทราบ
    หย่อมหญ้าเ***่ยวแห้งเรื้อ............บอกร้ายแสลงดิน
    6. การใช้คำสำนวนไทยมาเป็นกระทู้
    การนำคำสำนวนพังเพยมานำหน้าโคลง เป็นศิลปะการแต่งคำประพันธ์ที่เพราะกินใจมากเช่น สอนให้คนไม่ประมาท ให้มีสติ
    .....ช้างสาร หกศอกไซร้.............เสียงา
    งูเ*** กลายเป็นปลา..................อย่าต้อง
    ข้าเก่า เกิดแต่ตา......................ตนปู่ ก็ดี
    เมียรัก อยู่ร่วมห้อง..................อย่าไว้วางใจ

    [​IMG]
    คุณค่าด้านค่านิยมทางสังคม ​
    สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันเหมือนญาติ มีความเชื่อถือผู้ใหญ่กว่า มีความเกรงใจกัน เห็นใจกัน และพึ่งพาอาศัยกันได้ ผู้ใหญ่จึงเมตตาว่ากล่าวตักเตือนด้วยความหวังดี เอื้ออาทร เอ็นดูเหมือนลูกเหมือนหลาน แต่มักสอนเป็นนัย ให้คิดเพื่อแก้ไขตนเอง หรือหลีกเลี่ยงป้องกัน ในโคลงโลกนิติได้ตักเตือนเป็นเรื่องราวต่างๆ ดังนี้
    1. เรื่องการศึกษาเล่าเรียน
    ให้เห็นคุณค่าของความรู้ที่สูงส่งและไม่มีใครแย่งชิงไปได้
    .....ความรู้ดูยิ่งล้ำ...................สินทรัพย์
    คิดค่าควรเมืองนับ..................ยิ่งไซร้
    เพราะเหตุจักอยู่กับ.................กายอาต มานา
    โจรจักเบียนบ่ได้....................เร่งรู้เรียนเอา

    2. เรื่องวาจาหรือคำพูด
    ชี้ให้เห็นว่าคำพูดสามารถบอกถึงวงศ์ตระกูลของตนได้
    .....วัดช้างเบื้องบาทรู้...............จักสาร
    วัดอุทกชักกมุทมาลย์.................แม่นรู้
    ดูครูสดับโวหาร.......................สอนศิษย์
    ดูตระกูลเผ่าผู้.........................เพื่อด้วยเจรจา
    3. เรื่องการให้และชมเชยผู้อื่นด้วยความปรารถนาดี
    ในสังคมไทยเชื่อว่าถ้าให้ผู้อื่นแต่สิ่งดีๆแล้วย่อมได้รับสิ่งดีตอบสนอง ดังนี้
    .....ให้ท่านท่านจักให้.................ตอบสนอง
    นบท่านท่านจักปอง...................นอบไหว้
    รักท่านท่านควรครอง................ความรัก เรานา
    สามสิ่งนี้เว้นไว้.........................แต่ผู้ทรชน
    การยกย่องชมเชย ควรทำให้เหมาะกับเวลา โอกาสและบุคคล ดังนี้
    .....ยอข้ายอเมื่อแล้ว.................การกิจ
    ยอยกครูยอสนิท......................ซึ่งหน้า
    ยอยาติประยูรมิตร...................เมื่อลับ หลังแฮ
    คนหยิ่งแบกยศบ้า....................อย่ายั้งยอควร
    4. เรื่องความเชื่อของคนในสมัยก่อน
    คนไทยสมัยก่อนจะเห็นว่าการเป็นเจ้าคนนายคน มียศศักดิ์นั้นดีจึงต้องหาเจ้านายอุปถัมภ์ ซึ่งสังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
    .....เจ้านายใช้ชุบเลี้ยง..............คนขาม
    สินทรัพย์มั่งเมียงาม................ง่ายได้
    บ่าวไพร่พรั่งพรูตาม................ไหลหลั่ง มานา
    สมบัติบุญส่งให้......................แปลกหน้าตาเดิม
    5. การรักษาความซื่อสัตย์เป็นเรื่องสำคัญมาก
    คนไทยสมัยก่อนจะถือว่าเมื่อพูดแล้วจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ดังที่พูด
    .....เสียสินสงวนศักดิ์ไว้............วงศ์หงส์
    เสียศักดิ์สู้ประสงค์..................สิ่งรู้
    เสียรู้เร่งดำรง........................ความสัตย์ ไว้นา
    เสียสัตย์อย่าเสียสู้...................ชีพม้วยมรณา
    [​IMG]
    คุณค่าด้านการนำไปใช้ในชีวิต ​
    โคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมคำสอนที่ให้ประพฤติปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ทำในสิ่งที่ควรทำ ละเว้นในส่วนที่ควรละเว้น จึงเป็นการควบคุมการใช้ชีวิตประจำวันให้เกิด ประโยชน์ ทั้งด้านการศึกษา การประกอบอาชีพการงานอย่างพอเพียง และสอนด้านการทำจิตใจให้สงบสุข พอใจในสิงที่มีอยู่

    1. ให้ใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมกับวัย
    สอนให้ปฏิบัติตนตั้งแต่เป็นเด็กจนวัยชราอย่างน่าสนใจ
    .....ปางน้อยสำเหนียกรู้............เรียนคุณ
    ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน.................ทรัพย์ไว้
    เมื่อกลางแก่แสวงบุญ..............ธรรมชอบ
    ยามหง่อมทำใดได้...................แต่ล้วนอนิจจัง
    2. ให้เป็นคนมีความตั้งใจจริง
    การทำสิ่งใดให้ทำอย่างสม่ำเสมอไม่ทอดทิ้ง ต้องใส่ใจฝึกฝนจึงจะเกิดความชำนาญและประสบความสำเร็จได้ดี
    ......เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม..............คนตรี
    อักขระห้าวันหนี........................เนิ่นช้า
    สามวันจากนารี.........................เป็นอื่น
    วันหนึ่งเว้นล้างหน้า...................อับเศร้าศรีหมอง
    3. ให้เลือกคบคน
    สอนไม่ให้คบคนชั่วจะทำให้เสียหายไปทั้งตระกูล และจะเป็นที่ตำหนิติเตียนไปไม่สิ้นสุด
    .....คบกากาโหดให้...................เสียพงศ์
    พาตระกูลแหมหงส์...................แหลกด้วย
    คบคนชั่วจักปลง......................ความชอบ เสียนา
    ตราบลูกหลานเหลนม้วย.............ไม่ม้วยนินทา
    4. ไม่โอ้อวดหรืออวดความรู้ของตน
    การโอ้อวดตนเองนั้นไม่เป็นผลดีทั้งตนเองและผู้อื่น เพราะไม่มีใครชอบและจะทำให้เกิดความอับอายภายหลังได้
    .....นาคีมีพิษเพี้ยง..................สุริโย
    เลื้อยบ่ทำเดโช.......................แช่มช้า
    พิษน้อยยิ่งยโส......................แมลงป่อง
    ชูแต่หางเองอ้า......................อวดอ้างฤทธี
    5. มีความกตัญญูรู้คุณจึงจะเจริญ
    การรู้จักบุญคุณเป็นสิ่งที่ดียิ่ง
    .....คุณแม่หนาหนักเพี้ยง...........พสุธา
    คุณบิดรดุจอา.........................กาศกว้าง
    คุณพี่พ่างศิขรา.......................เมรุมาศ
    คุณพระอาจารย์อ้าง.................อาจสู้สาคร
    6. ให้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
    ไม่โลภ อยากได้ อยากมีอย่างผู้อื่น รู้จักทำมาหากิน ใช้จ่ายอย่างประหยัดก็มีความสุขได้
    .....เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม..............ใจตาม
    เรายากหากใจงาม....................อย่าคร้าน
    อุตส่าห์พยายาม.......................การกิจ
    เอาเยี่ยงอย่างเพื่อนบ้าน............อย่าท้อทำกิน
    7. ให้รู้จักเจียมตน ไม่ทะเยอทะยาน
    ไม่ทำสิ่งที่เกินกำลังความสามารถของตน และทำเป็นไม่รู้เสียบ้างเพื่อความปลอดภัยของตนเอง
    .....เจียมใดจักเท่าด้วย..............เจียมตัว
    รู้เท่าท่านทำกลัว.......................ว่อนไว้
    อย่ามึนมืดเมามัว......................โมหะ
    สูงนักมักเหมือนไม้...................หักด้วยลมแรง
    8. สอนเรื่องความรัก
    ให้ใช้สติไม่อาจเอื้อมเกินไปจะทำให้เกิดทุกข์แต่ก็ควรมีความพยายามอย่างพอควรบ้าง
    .....อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า...........มาถนอม
    สูงสุดมือมักตรอม...................อกไข้
    เด็ดแต่ดอกพะยอม..................ยามยาก ชมนา
    สูงก็สอยด้วยไม้......................อาจเอื้อมเอาถึง
    9. ให้พึ่งตนเอง
    อยู่อย่างไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    .....ถึงจนทนสู้กัด....................กินเกลือ
    อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ..................พวกพ้อง
    อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ.............สงวนศักดิ์
    โซก็เสาะใส่ท้อง........................จับกินเนื้อเอง
    [​IMG]

    คำศัพท์จากโคลงโลกนิติ
    กาน้ำ = นกชนิดหนึ่งตัวสีดำเหมือนกา คอยาว ว่ายน้ำเหมือนเป็ดมักอยู่รวมกันเป็นฝูง คอยดำน้ำดักปลากินเป็นอาหาร
    [img>http://www.thaitv3.com/life/j3.jpg</img]
    กาบก = อีกา
    ขุก = พลัน ทันทีทันใด
    ขุดขอด = ขุดคุ้ย ค่อนขอด
    ต่างเทศ = ต่างบ้านต่างเมือง
    ติดชายขอดไว้ = (น้ำเงิน) ติดตัวไปด้วย ขอดชายพกไปด้วย ขอดชายพก หมายถึง การนุ่งผ้าชิ้นหรือโสร่งแล้วขมวดชายบนตรงกลางตัวให้เหลือชายไว้สำหรับนำสตางค์ใส่ลงไปแล้วผูกไว้
    โทษท่าน = ความผิดของผู้อื่น
    ไทท้าวท่วยเทวา = เทวดาและผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย
    แน่นเท้าวันตาย = แน่นแฟ้นมั่นคงตราบเท่าวันตาย
    บนอื่น = บ่นเสียงดัง อื้น คือ เอื้อน พูด
    ประมาทเหมือนดับไต = ชั่วร้ายฤาเห็นหากมีความประมาทก็เปรียบเสมือนดับไฟมืด สิ่งถูกสิ่งผิดจะมองเห็นหรือ
    เป็นครู = เป็นบทเรียนสอนใจ เป็นการให้ความรู้
    เป็นบรรทัด = มีความซื่อตรง
    ไป่หมั้น = คือ ไป่มั่น หรือ ไม่แน่นหนา
    ผ่อนเลี้ยงอาตมา = ได้ทยอยนำออกมาเลี้ยงตัว ได้ประทังชีวิต
    พ่อ = คำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือเอ็นดูรักใคร่
    [img>http://www.sahadentalcenter.com/lifetips_clip_image002.gif</img]
    เพื่อ = เพราะ ด้วย
    มฤษา = มุสา ไม่จริง เท็จ
    มลน = ลนลาน
    ร่วมไร้ = คู่กับความยากจน
    ริรอบ = คิดอย่างรอบคอบ
    วิชาเฉกยาติดขมขื่น = วิชาความรู้เปรียบดังยาซึ่งรักษาโรคได้แม้รสจะขมขื่น
    สวะปะคอ = วัชพืชพันคอ
    สายดิ่ง = เครื่องมือใช้สำหรับวัดระยะความลึก อาจทำด้วยเชือกผูกกับก้อนหิน ใช้หย่อนลงไปในน้ำหรือบ่อ
    ส่ำ = หมู่ เหล่า
    เสมอ = เท่าเทียมกับ เหมือนกับ ปานกับ
    หมั่นปัญญา = ฝึกฝนใช้ปัญญา
    หยิบบ่ศัพท์ = ฟังไม่ได้ศัพท์
    หลับตาแต่ได้ = หลับหูหลับตาพูดไป
    หึง = นาน
    ให้พิจารณ์ = ความพิจารณาไตร่ตรอง
    อย่าเปล่ากาย = อย่าไปตัวเปล่า
    อย่าฟังดาย = อย่าฟังเปล่า ๆ หรือฟังอย่างไม่ตั้งใจ
    สดับหมั้น = คือ สดับมั่น จำให้แม่นยำ มั่นคง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2009
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%">ปลาร้าพันห่อด้วย</TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ใบคา</TD></TR><TR><TD width="47%">ใบก็เหม็นคาวปลา </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">คละคลุ้ง</TD></TR><TR><TD width="47%">คือคนหมู่ไปหา </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">คบเพื่อน พาลนา</TD></TR><TR><TD width="47%">ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง</TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">เฟื่องให้เสียพงศ์๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>การคบคนชั่วหรือคนพาลย่อมนำมาซึ่งความมัวหมอง ตรงกับสำนวน
    คบพาลพาลพาไปหาผิด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ใบพ้อพันห่อหุ้ม
    </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">กฤษณา </TD></TR><TR><TD width="47%">หอมระรวยรสพา </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">เพริศด้วย </TD></TR><TR><TD width="47%">คือคนเสพเสน่หา </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">นักปราชญ์</TD></TR><TR><TD width="47%">ความสุขซาบฤาม้วย </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ดุจไม้กลิ่นหอม๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>การคบคนดีย่อมนำซึ่งความสุขและชื่อเสียง ตรงกับสำนวน
    คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">มีพรรณ </TD></TR><TR><TD width="47%">ภายนอกแดงดูฉัน </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ชาดบ้าย </TD></TR><TR><TD width="47%">ภายในย่อมแมลงวัน </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">หนอนบ่อน</TD></TR><TR><TD width="47%">ดุจดังคนใจร้าย </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">นอกนั้นดูงาม๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>การคบการคบคนอย่ามองเพียงความงดงามภายนอก ตรงกับสำนวน
    รู้หน้าไม่รู้ใจ หรือ ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ขนุนสุกสล้างแห่ง </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">สาขา </TD></TR><TR><TD width="47%">ภายนอกเห็นหนามหนา </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">หนั่นแท้</TD></TR><TR><TD width="47%">ภายในย่อมรสา </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">เอมโอช</TD></TR><TR><TD width="47%">สาธุชนนั้นแล้ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">เลิศด้วยดวงใจ๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>การคบให้มองที่ความงามภายในเหมือนกับขนุน ตรงกับสำนวน
    ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> คนพาลผู้บาปแท้ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ทุรจิต </TD></TR><TR><TD width="47%">ไปสู่หาบัณทิต </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ค่ำเช้า </TD></TR><TR><TD width="47%">ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">บ่ทราบ ใจนา</TD></TR><TR><TD width="47%">คือจวักตักเข้า </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ห่อนรู้รสแกง๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>คนเลวที่แม้คบคนดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็ยังไม่สามารถปรับปรุงตัวได้เป็น
    เสมือนจวักตักแกงที่แม้จะอยู่ในหม้อแกงแต่ไม่อาจรู้รสของแกงได้ ตรงกับ
    สำนวน สีซอให้ควายฟัง หรือตักน้ำรดหัวตอ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> หมูเห็นสีหราชท้า </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ชวนรบ </TD></TR><TR><TD width="47%">กูสี่ตีนกูพบ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ท่านไซร้ </TD></TR><TR><TD width="47%">อย่ากลัวท่านอย่าหลบ</TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">หลีกจาก กูนา</TD></TR><TR><TD width="47%">ท่านสี่ตีนอย่าได้ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">วากเว้วางหนี๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>ผู้ต่ำต้อยที่ไม่รู้จักประมาณตน อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อน ตรงกับสำนวน
    ถ่มน้ำลายรดฟ้า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> สีหราชร้องว่าโอ้ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">พาลหมู </TD></TR><TR><TD width="47%">ทรชาติครั้นเห็นกู </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">เกลียดใกล้ </TD></TR><TR><TD width="47%">ฤามึงใคร่รบดนู</TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">มึงมาศ เองนา</TD></TR><TR><TD width="47%">กูเกลียดมึงกูให้ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">พ่ายแพ้ภัยตัว๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>ผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจที่วางเฉยไม่ลงมาต่อกรด้วย พฤติกรรมของราชสีห์
    ตรงกับสำนวน อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> กบเกิดในสระใต้ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">บัวบาน </TD></TR><TR><TD width="47%">ฤาห่อนรู้รสมาลย์ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">หนึ่งน้อย </TD></TR><TR><TD width="47%">ภุมราอยู่ไกลสถาน</TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">นับโยชน์ ก็ดี</TD></TR><TR><TD width="47%">บินโบกมาค้อยค้อย </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">เกลือกเคล้าเสาวคนธ์๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>คนที่อยู่ใกล้ของมีค่าแต่ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของ ตรงกับสำนวน
    ใกล้เกลือกินด่าง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ไม้ค้อมมีลูกน้อม </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">นวยงาม </TD></TR><TR><TD width="47%">คือสัปบุรุษสอนตาม </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ง่ายแท้ </TD></TR><TR><TD width="47%">ไม้ผุดังคนทราม</TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">สอนยาก</TD></TR><TR><TD width="47%">ดัดก็หักแหลกแล้ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ห่อนรื้อโดยตาม๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>กิ่งไม้ที่อ่อนค้อมย่อมดัดตามรูปทรงได้ง่ายกว่าไม้ที่แก่หรือผุ
    เช่นเดียวกับการสอนคน สอนคนที่พร้อมจะรับฟังง่ายกว่าการสอนคนที่
    อวดดี เชื่อมั่น หรือคนที่ไม่ดี อาจจะใช้ได้กับสำนวน
    ตักน้ำรดหัวตอ ไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> นาคีมีพิษเพี้ยง </TD><TD width="44%">สุริโย </TD></TR><TR><TD width="47%">เลื้อยบ่ทำเดโช </TD><TD width="44%">แช่มช้า </TD></TR><TR><TD width="47%">พิษน้อยหยิ่งโยโส</TD><TD width="44%">แมลงป่อง</TD></TR><TR><TD width="47%">ชูแต่หางเองอ้า </TD><TD width="44%">อวดอ้างฤทธี๚ะ๛</TD></TR><TR><TD width="47%">Naga surpasses in</TD><TD width="44%">venom.</TD></TR><TR><TD width="47%">Passing, he seldom </TD><TD width="44%">ever strikes</TD></TR><TR><TD width="47%">Scuttling much in pomp, </TD><TD width="44%">scorpion.</TD></TR><TR><TD width="47%">Tail higher in his pride. </TD><TD width="44%">than poison has he. </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>ผู้มีความรู้ ความสามารถย่อมไม่อวดตนหรือคุยโม พฤติกรรมของนาคีตรงกับ
    ้ ตรงกับสำนวนคมในฝัก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">นักเรียน </TD></TR><TR><TD width="47%">ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ผ่ายหน้า </TD></TR><TR><TD width="47%">คนเกียจเกลียดหน่ายเวียน</TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">วนจิต</TD></TR><TR><TD width="47%">กลอุทกในตระกร้า </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">เปี่ยมล้นฤามี๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>คนที่มีความหยันหมั่นเพียรแม้ทำกิจการใดที่ยากก็ย่อมสำเร็จ
    (ทั่งคือแท่งเหล็ก) แต่คนเกียจคร้านทำสิ่งใดไม่สำเร็จเหมือนกับการ
    ตักน้ำในตะกร้า (อุทก=น้ำ) พฤติกรรมของปราชญ์ตรงกับสำนวน
    หนักเอาเบาสู้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> งาสารฤาห่อน***น </TD><TD width="47%">หดคืน </TD></TR><TR><TD width="47%">คำกล่าวสาธุชนยืน </TD><TD width="47%">อย่างนั้น </TD></TR><TR><TD width="47%">ทุรชนกล่าวคำฝืน</TD><TD width="47%">คำเล่า</TD></TR><TR><TD width="47%">หัวเต่ายาวแล้วสั้น </TD><TD width="47%">เล่ห์ลิ้นทรชน๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>คำพูดของคนที่ยึดมั่นในคำพูดเปรียบเสมือนงาช้างที่งอกแล้วไม่หดคืน
    แต่คำพูดของคนชั่ว (ทุรชน) ย่อมกลับไปกลับมาเหมือนหัวเต่าที่ผลุบ ๆ
    โผล่ ๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%" height=39> ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ </TD><TD width="44%" height=39>มีควัน </TD></TR><TR><TD width="47%">ห้ามสุริยแสงจันทร์ </TD><TD width="44%">ส่องไซร้ </TD></TR><TR><TD width="47%">ห้ามอายุให้หัน</TD><TD width="44%">คืนเล่า</TD></TR><TR><TD width="47%">ห้ามดังนี้ไว้ได้ </TD><TD width="44%">จึ่งห้ามนินทา๚ะ๛</TD></TR><TR><TD width="47%">Tell fire not to smoke, </TD><TD width="44%">do try!</TD></TR><TR><TD width="47%">Tell the sun not to shine, </TD><TD width="44%">try it!</TD></TR><TR><TD width="47%">Tell age, don't decline </TD><TD width="44%">to death!</TD></TR><TR><TD width="47%">All such accomplished, </TD><TD width="44%">can you end slander.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>การห้ามธรรมชาติทั้ง ๔ ประการไม่ให้ดำเนินไปว่าเป็นสิ่งที่ยากแล้ว
    การห้ามไม่ให้คนนินทายังยากกว่า ตรงกับสำนวน
    อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน


    แม้องพระปฏิมายังราคิน มนุษย์เดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>๏ภูเขาเหลือแหล่ล้วน </TD><TD>ศิลา</TD></TR><TR><TD>หามณีจินดา </TD><TD>ยากได้</TD></TR><TR><TD>ฝูงชนเกิดนานา </TD><TD>ในโลก</TD></TR><TR><TD>หานักปราชญ์นั้นไซร้ </TD><TD>เลือกแล้วฤๅมี๚</TD></TR><TR><TD>Mountains give only </TD><TD>bare stones.</TD></TR><TR><TD>Rarely one finds diamonds</TD><TD>of worth.</TD></TR><TR><TD>Midst millions scarcely none </TD><TD>is sage.</TD></TR><TR><TD>Truly, there's a dearth </TD><TD>of the wise among men. </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="55%">๏พริกเผ็ดใครเผ็ดให้ </TD><TD width="45%">ฉันใด</TD></TR><TR><TD width="55%">หนามย่อมหนามเองใคร </TD><TD width="45%">เซี่ยมให้</TD></TR><TR><TD width="55%" height=21>จันทร์กฤษณาไฉน </TD><TD width="45%" height=21>ใครอบ หอมฤๅ</TD></TR><TR><TD width="55%">วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้ </TD><TD width="45%">เพราะด้วยฉลาดเอง๚</TD></TR><TR><TD width="55%">Hot chilies generate heat</TD><TD width="45%">and health.</TD></TR><TR><TD width="55%">Thorns sharpen themselves,</TD><TD width="45%">indeed.</TD></TR><TR><TD width="55%">Flowers do flowers help </TD><TD width="45%">in fragrance.</TD></TR><TR><TD width="55%">Wise men do not need </TD><TD width="45%">wisdom from fools. </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>๏ภูเขาเอนก ล้ำ </TD><TD>มากมี</TD></TR><TR><TD>บ่มิหนักแผ่นธรณี </TD><TD>หน่อยไซร้</TD></TR><TR><TD>หนักนักแต่กระลี </TD><TD>ลวงโลก</TD></TR><TR><TD>อันจักทรงทานได้ </TD><TD>แต่พื้นนรกานต์๚</TD></TR><TR><TD>Mountains bear on earth</TD><TD>and seas. </TD></TR><TR><TD>Even so, they're free</TD><TD>of weight. </TD></TR><TR><TD>Heavy Evil, be</TD><TD>earth's load. </TD></TR><TR><TD>Hell alone rebates</TD><TD>the load of sins. </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>๏ดารามีมากน้อย </TD><TD>ถึงพัน</TD></TR><TR><TD>บ่เปรียบกับดวงจันทร์ </TD><TD>หนึ่งได้</TD></TR><TR><TD>คนพาลมากอนันต์ </TD><TD>ในโลก</TD></TR><TR><TD>จะเทียบเท่าปราชญ์ไซร์ </TD><TD>ยากแท้ฤๅถึง๚</TD></TR><TR><TD>Millions though the stars </TD><TD>combine, </TD></TR><TR><TD>Never can they outshine</TD><TD>the moon. </TD></TR><TR><TD>Millions can one find</TD><TD>small men on earth. </TD></TR><TR><TD>Can one just so soon</TD><TD>discover a sage? </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>๏ถึงจนทนสู้กัด </TD><TD>กินเกลือ</TD></TR><TR><TD>อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ </TD><TD>พวกพ้อง</TD></TR><TR><TD height=26>อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ </TD><TD height=26>สงวนศักดิ์</TD></TR><TR><TD height=29>โซก็เสาะใส่ท้อง </TD><TD height=29>จับเนื้อกินเอง๚</TD></TR><TR><TD>Penniless live on</TD><TD>salt preferably</TD></TR><TR><TD>Than to seek charity </TD><TD>from friends.</TD></TR><TR><TD>A tiger, though hungry, </TD><TD>will starve</TD></TR><TR><TD>Rather than take offence </TD><TD>of being fed by hand.</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ตีนงูงูไซร้หาก </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">เห็นกัน </TD></TR><TR><TD width="47%">นมไก่ไก่สำคัญ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ไก่รู้ </TD></TR><TR><TD width="47%">หมู่โจรต่อโจรหัน</TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">เห็นเล่ห์ กันนา</TD></TR><TR><TD width="47%">เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ปราชญ์รู้ เชิงกัน๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>คนประเภทเดียวกันย่อมรู้เท่าทันซึ่งกันและกัน ตรงกับสำนวน
    ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> เว้นวิจารณ์ว่างเว้น </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">สดับฟัง </TD></TR><TR><TD width="47%">เว้นที่ถามอันยัง </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ไป่รู้ </TD></TR><TR><TD width="47%">เว้นเล่าลิขิตสัง-</TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">เกตว่าง เว้นนา</TD></TR><TR><TD width="47%">เว้นดั่งกล่าวว่าผู้ </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ปราชญ์ได้ฤามี๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>คนที่จะเป็นปราชญ์นั้นต้องยึดถือหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ. จิ. ปุ.ลิ.
    ฟัง คิด ถาม เขียน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%" height=44> รู้น้อยว่ามากรู้ </TD><TD width="44%" height=44>เริงใจ </TD></TR><TR><TD width="47%">กลกบเกิดอยู่ใน </TD><TD width="44%">สระจ้อย </TD></TR><TR><TD width="47%">ไป่เห็นชเลไกล</TD><TD width="44%">กลางสมุทร</TD></TR><TR><TD width="47%">ชมว่าน้ำบ่อน้อย</TD><TD width="44%">มากล้ำลึกเหลือ๚ะ๛</TD></TR><TR><TD width="47%">So little yet so much </TD><TD width="44%">one knows, </TD></TR><TR><TD width="47%">Like a frog which grows </TD><TD width="44%">in a puddle, </TD></TR><TR><TD width="47%">knowing not oceans so </TD><TD width="44%">ever vast, </TD></TR><TR><TD width="47%">becomes befuddled </TD><TD width="44%">by its small world. </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>คนที่อยู่ในโลกหรือสังคมที่แคบย่อมคิดว่าสิ่งที่ตนพบเห็นนั้นยิ่งใหญ่แล้ว
    ตรงกับสำนวน กบในกะลา อึ่งอ่างในกะลา หิ่งห้อยในกะลา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE height=162 width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ </TD><TD width="44%">วงศ์หงส์ </TD></TR><TR><TD width="47%">เสียศักดิ์สู้ประสงค์ </TD><TD width="44%">สิ่งรู้ </TD></TR><TR><TD width="47%">เสียรู้เร่งดำรง</TD><TD width="44%">ความสัตย์ ไว้นา</TD></TR><TR><TD width="47%">เสียสัตย์อย่าเสียสู้ </TD><TD width="44%">ชีพม้วยมรณา๚ะ๛</TD></TR><TR><TD width="47%">Robbed of wealth, your pride</TD><TD width="44%">maintain.</TD></TR><TR><TD width="47%">Robbed of pride, do gain</TD><TD width="44%">things wise.</TD></TR><TR><TD width="47%">Robbed of wisdom, a gain</TD><TD width="44%">to faith.</TD></TR><TR><TD width="47%">Robbed even of life</TD><TD width="44%">in faith ye be. </TD></TR><TR><TD colSpan=2 height=24>ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช แปล โดย: เทาชมพ นำเสนอ 10 พ.ค. 2548 - 10:49:37

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>การรักษาความสัตย์สำคัญเหนือสิ่งใด ตรงกับสำนวน
    เสียชีพอย่าเสียสัตย์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ตัดจันทน์ฟันม่วงไม้ </TD><TD width="44%">จัมบก </TD></TR><TR><TD width="47%">แปลงปลูกหนามรามรก </TD><TD width="44%">รอบเรื้อ </TD></TR><TR><TD width="47%">ฆ่าหงส์มยุรนก</TD><TD width="44%">กระเหว่า เสียนา</TD></TR><TR><TD width="47%">เลี้ยงหมู่กากินเนื้อ </TD><TD width="44%">ว่ารู้ลีลา๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>การทำลายสิ่งที่ก่อประโยชน์เพื่อสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ สอนให้ตระหนัก
    ถึงความคุ้มค่าในกิจที่ทำ ตรงกับสำนวน
    ขี่ช้างจับตั๊กแตน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ยูงตาม</TD></TR><TR><TD width="47%">ทรายเหลือบหางยูงงาม </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">ว่าหญ้า</TD></TR><TR><TD width="47%" height=29>ตาทรายยิ่งนิลวาน </TD><TD width="9%" height=29></TD><TD width="44%" height=29>พรายเพริศ</TD></TR><TR><TD width="47%">ลิงว่าหวัวหวังหว้า </TD><TD width="9%"></TD><TD width="44%">หว่าดิ้นโดดตาม๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>การหลงเชื่อในสิ่งที่ผิด หรือการหลงผิด โดยขาดการไตร่ตรอง อาจจนำมา
    ซึ่งอันตรายถึงชีวิต เช่นนกยูงมองจากที่สูงเห็นสายน้ำที่คดเคี้ยวไกล ๆ
    ว่าเป็นงู กระโดดลงไปตาย เนื้อทรายมองแพหางนกยูงเป็นหญ้าก็กระโดด
    หมายจะกิน ก็ตายตามไป ขณะเดียวกันลิงเห็นตาทรายที่โผล่พ้นน้ำเป็น
    ลูกหว้าก็กระโดดหมายจะกินอีก ต่างตายตามไปด้วย ตรงกับสำนวน
    เห็นผิดเป็นชอบ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> พระสมุทรสุดลึกล้น </TD><TD width="44%">คณนา </TD></TR><TR><TD width="47%">สายดิ่งทิ้งทอดมา </TD><TD width="44%">หยั่งได้ </TD></TR><TR><TD width="47%">เขาสูงอาจวัดวา</TD><TD width="44%">กำหนด</TD></TR><TR><TD width="47%">จิตมนุษย์นี้ไซร้ </TD><TD width="44%">ยากแท้หยั่งถึง๚ะ๛</TD></TR><TR><TD width="47%">Fathoms deep though the seas </TD><TD width="44%">may be, </TD></TR><TR><TD width="47%">Measurable are the seas</TD><TD width="44%">in depth. </TD></TR><TR><TD width="47%">Scaled can mountains be</TD><TD width="44%">in height. </TD></TR><TR><TD width="47%">Immeasurable is the depth,</TD><TD width="44%">this heart of man. </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="75%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>ความลึก ความสูง ขนาดของสิ่งใดที่ยิ่งใหญ่มนุษย์สามารถวัดได้
    แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจสามารถวัดได้คือจิตใจของคน กวีสอนให้ระวัง
    ในการเชื่อหรือคบคน ตรงกับสำนวน
    รู้หน้าไม่รู้ใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> รักกันอยู่ขอบฟ้า </TD><TD width="44%">เขาเขียว </TD></TR><TR><TD width="47%" height=34>เสมออยู่หอแห่งเดียว </TD><TD width="44%" height=34>ร่วมห้อง </TD></TR><TR><TD width="47%">ชังกันบ่แลเหลียว</TD><TD width="44%">ตาต่อ กันนา</TD></TR><TR><TD width="47%">เหมือนขอบฟ้ามาป้อง </TD><TD width="44%">ป่าไม้มาบัง๚ะ๛</TD></TR><TR><TD width="47%">Though divided by sky</TD><TD width="44%">and sea,</TD></TR><TR><TD width="47%">Love brings thy lover to thee</TD><TD width="44%">forever.</TD></TR><TR><TD width="47%">Divided would ye be </TD><TD width="44%">in hatred,</TD></TR><TR><TD width="47%">Under a sky cleft asunder, </TD><TD width="44%">though heaven be one.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>กวีสอนให้คนรักกัน เพราะหากอยู่ใกล้ชิดในสังคมเดียวกันมาโกรธ
    หรือขุ่นเคืองกัน ย่อมสร้างอึดอัดให้ทั้งสองฝ่าย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ให้ท่านท่านจักให้ </TD><TD width="44%">ตอบสนอง </TD></TR><TR><TD width="47%">นบท่านท่านจักปอง </TD><TD width="44%">นอบไหว้ </TD></TR><TR><TD width="47%">รักท่านท่านควรครอง</TD><TD width="44%">ความรัก เรานา</TD></TR><TR><TD width="47%">สามสิ่งนี้เว้นไว้ </TD><TD width="44%">แต่ผู้ทรชน๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>โคลงบทนี้สอนให้คนรู้จักกตัญญู การเป็นผู้ให้ซึ่งกันและกัน ตรงกับสำนวน
    หมูไปไก่มา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> แม้นมีความรู้ดั่ง </TD><TD width="44%">สัพพัญญู </TD></TR><TR><TD width="47%">ผิบ่มีคนชู </TD><TD width="44%">ห่อนขึ้น </TD></TR><TR><TD width="47%">หัวแหวนค่าเมืองตรู</TD><TD width="44%">ตาโลก</TD></TR><TR><TD width="47%">ทองบ่รองรับพื้น </TD><TD width="44%">ห่อนแก้วมีศรี๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>สอนให้คนที่มีความรู้ความสามารถตระหนัก ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
    เพราะแม้นว่ามีความสามารถปานใดก็ตามหากขาดคนสนับสนุน
    ส่งเสริม ก็ยากที่จะมีใครเห็น เฉกเช่นเดียวกับ เพชรพลอย งดงาม
    เมื่อมีแหวนทองรองรับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม </TD><TD width="44%">ดนตรี </TD></TR><TR><TD width="47%">อักขระห้าวันหนี </TD><TD width="44%">เนิ่นช้า </TD></TR><TR><TD width="47%">สามวันจากนารี</TD><TD width="44%">เป็นอื่น</TD></TR><TR><TD width="47%">วันหนึ่งเว้นล้างหน้า </TD><TD width="44%">อับเศร้าศรีหมอง๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>โคลงบทนี้สอนให้เป็นผู้เอาใจใส่ปฏิบัติต่อกิจที่ทำอยู่เป็นนิจ เพื่อ
    ผลประโยชน์แก่ตน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ใครจักผูกโลกแม้ </TD><TD width="44%">รัดรึง </TD></TR><TR><TD width="47%">เหล็กเท่าลำตาลตรึง </TD><TD width="44%">ไป่หมั้น </TD></TR><TR><TD width="47%">มนตร์ยาผูกนานหึง</TD><TD width="44%">หายเสื่อม</TD></TR><TR><TD width="47%">ผูกเพื่อไมตรีนั้น </TD><TD width="44%">แน่นเท้าวันตาย๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>ไม่มีเสน่หาหรือมนตร์ใดที่จะผูกมัดคนให้คงมั่นต่อกันเท่าไมตรี ความ
    เอื้ออาทรที่ดีต่อกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ผจญคนมักโกรธด้วย </TD><TD width="44%">ไมตรี </TD></TR><TR><TD width="47%">ผจญหมู่ทรชนดี </TD><TD width="44%">ต่อตั้ง </TD></TR><TR><TD width="47%">ผจญคนจิตโลภมี</TD><TD width="44%">ทรัพย์เผื่อ แผ่นา</TD></TR><TR><TD width="47%">ผจญอสัตย์ให้ยั้ง </TD><TD width="44%">หยุดด้วยสัตยา๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>สอนให้ใช้คุณธรรมต่าง ๆ เมื่อจะต้องคบค้าสมาคมกับบุคคลต่าง ๆ ที่มี
    พฤติกรรมตามที่กล่าวถึง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> คนใดคนหนึ่งผู้ </TD><TD width="44%">ใจฉกรรจ์ </TD></TR><TR><TD width="47%">เคียดฆ่าคนอนันต์ </TD><TD width="44%">หนักแท้ </TD></TR><TR><TD width="47%">ไป่ปานบุรุษอัน</TD><TD width="44%">ผจญจิต เองนา</TD></TR><TR><TD width="47%">เธียรท่านเยินยอแล้ </TD><TD width="44%">ว่าผู้มีชัย๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>การชนะใจตนเองคือความยิ่งใหญ่ เป็นที่ยอมรับมากว่าการที่ชนะผู้อื่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ความรู้ดูยิ่งล้ำ </TD><TD width="44%">สินทรัพย์ </TD></TR><TR><TD width="47%">คิดค่าควรเมืองนับ </TD><TD width="44%">ยิ่งไซร้ </TD></TR><TR><TD width="47%">เพราะเหตุจักอยู่กับ</TD><TD width="44%">กายอาต มานา</TD></TR><TR><TD width="47%">โจรจักเบียนบ่ได้ </TD><TD width="44%">เร่งรู้เรียนเอา๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=54>ความรู้มีความสำคัญที่สุด เพราะไม่มีใครสามารถมาเบียดเบียนไปได้</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> คนใดโผงพูดโอ้ </TD><TD width="44%">อึงดัง </TD></TR><TR><TD width="47%">อวดว่ากล้าอย่าฟัง </TD><TD width="44%">สัปปลี้ </TD></TR><TR><TD width="47%">หมาเ***เล่าอย่าหวัง</TD><TD width="44%">จักขบ ใครนา</TD></TR><TR><TD width="47%">สองเหล่าเขาหมู่นี้ </TD><TD width="44%">ชาติเชื้อเดียวกัน๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=58>คนที่คุยโวโอ้อวด ชอบพูดข่มขู่ จะไม่กล้าทำจริง เหมือนหมาที่เ***
    แต่ไม่กัด ตรงกับสำนวน หมาเ***ใบตองแห้ง หรือ หมาเ***มักไม่กัด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง </TD><TD width="44%">เมล็ดงา </TD></TR><TR><TD width="47%">ปองติฉินนินทา </TD><TD width="44%">ห่อนเว้น </TD></TR><TR><TD width="47%">โทษตนเท่าภูผา</TD><TD width="44%">หนักยิ่ง</TD></TR><TR><TD width="47%">ป้องปิดคิดซ่อนเร้น </TD><TD width="44%">เรื่องร้ายหายสูญ๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=65>ธรรมชาติของคนมักจะมองเห็นแต่ความผิดของผู้อื่น ขณะเดียวกัน
    ความผิดพลาดของตนแม้ใหญ่หลวงก็พยายามปกปิด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ราชาธิราชน้อม </TD><TD width="44%">ในสัตย์ </TD></TR><TR><TD width="47%">อำมาตย์เป็นบรรทัด </TD><TD width="44%">ถ่องแท้ </TD></TR><TR><TD width="47%" height=36>ฝูงราษฎร์อยู่ศรีสวัสดิ์</TD><TD width="44%" height=36>ทุกเมื่อ</TD></TR><TR><TD width="47%">เมืองดั่งนี้เลิศแล้ </TD><TD width="44%">ไพร่ฟ้าเปรมปรีดิ์๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=60>ประเทศหรือสังคมใดก็ตามที่มีผู้นำและข้าราชการอยู่ในศีลธรรม มีศีลสัตย์
    ประชาชน ย่อมอยู่อย่างสงบสุขตรงกับสำนวนไพร่ฟ้าหน้าใส
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> คนใดละพ่อทั้ง </TD><TD width="44%">มารดา </TD></TR><TR><TD width="47%">อันทุพพลชรา </TD><TD width="44%">ภาพแล้ว </TD></TR><TR><TD width="47%">ขับไล่ไม่มีปรา</TD><TD width="44%">นีเนตร</TD></TR><TR><TD width="47%">คนดั่งนี้ฤาแคล้ว </TD><TD width="44%">คลาดพ้นไภยัน๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=60>บุคคลใดก็ตามที่ละเลย ละทิ้งการดูแลบิดามารดา ที่ชราภาพ หรือทุพพลภาพ ย่อมนำมาซึ่งภัยอันตรายสู่ตัวเอง ตรงกับสำนวน ลูกอกตัญญู
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> หอมกลิ่นดอกไม้ที่</TD><TD width="44%">นับถือ</TD></TR><TR><TD width="47%">หอมแต่ตามลมฤา</TD><TD width="44%">กลับย้อน</TD></TR><TR><TD width="47%">หอมแห่งกลิ่นกล่าวคือ</TD><TD width="44%">ศีลสัตย์ นี้นา </TD></TR><TR><TD width="47%">หอมสุดหอมสะท้อน</TD><TD width="44%">ทั่วใกล้ไกลถึง๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>กลิ่นหอมของดอกไม้ แม้หอมอย่างไร กลิ่นโชยไปตามลมเท่านั้น แต่ชื่อเสียง
    หรือคำสรรเสริญของคนที่มีศีลธรรมกลับหอมไปอย่างทั่วถึงกว่า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ก้านบัวบอกลึกตื้น</TD><TD width="44%">ชลธาร </TD></TR><TR><TD width="47%">มารยาทส่อสันดาน </TD><TD width="44%">ชาติเชื้อ </TD></TR><TR><TD width="47%">โฉดฉลาดเพราะคำขาน</TD><TD width="44%">ควรทราบ</TD></TR><TR><TD width="47%">หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ </TD><TD width="44%">บอกร้ายแสลงดิน๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=125>ความยาวของก้านบัวสามารถบอกความลึกตื้นของแหล่งน้ำที่มันอยู่ได้ มารยาทบอกให้ทราบถึงความเป็นไปของชาติตระกูลคำพูดของคนสามารถแสดง
    ให้เห็นว่าบุคคลนั้น ฉลาด เขลา ชั่ว หรือเลว เหมือนกับที่หญ้าเหี่ยวแห้งบอก
    ถึงความไม่สมบูรณ์ของดิน ตามตรงกับสำนวนสำเนียงส่อภาษา กริยาส่อสกุล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า </TD><TD width="44%">มาถนอม </TD></TR><TR><TD width="47%">สูงสุดมือมักตรอม </TD><TD width="44%">อกไข้ </TD></TR><TR><TD width="47%">เด็ดแต่ดอกพยอม</TD><TD width="44%">ยามยาก ชมนา</TD></TR><TR><TD width="47%">สูงก็สอยด้วยไม้ </TD><TD width="44%">อาจเอื้อมเอาถึง๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=80>โคลงบทนี้กวีสอนให้รู้จักประมาณตน ใฝ่ฝัน หรือปรารถนาในสิ่งที่เป็นไปได้
    จะได้ไม่ต้องพบกับความผิดหวังเจ็บปวด หากมีพฤติกรรมตรงข้ามกับสิ่งที่กล่าว
    ตรงกับสำนวนดอกฟ้ากับหมาวัด หรือ กระต่ายหมายจันทร์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ </TD><TD width="44%">มังสา </TD></TR><TR><TD width="47%" height=37>นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา </TD><TD width="44%" height=37>ไป่อ้วน </TD></TR><TR><TD width="47%">สองสามสี่นายมา</TD><TD width="44%">กำกับ กันแฮ</TD></TR><TR><TD width="47%">บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน </TD><TD width="44%">บาทสิ้นเสือตาย๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>การทำกิจการใดก็ตามหากมีคนเบียดบังผลประโยชน์ หรือโกงกิน
    คนโกงกินหนึ่งคน ผลงานของก็ย่อมไม่สมบูรณ์ และยิ่งมีคนโกงกินมาก
    กิจการนั้นย่อมไม่สำเร็จ ตรงกับสำนวน
    คดในข้องอในกระดูก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> โคควายวายชีพได้ </TD><TD width="44%">เขาหนัง </TD></TR><TR><TD width="47%">เป็นสิ่งเป็นอันยัง </TD><TD width="44%">อยู่ไซร้ </TD></TR><TR><TD width="47%">คนเด็ดดับสูญสัง</TD><TD width="44%">ขารร่าง</TD></TR><TR><TD width="47%">เป็นชื่อเป็นเสียงได้ </TD><TD width="44%">แต่ร้ายกับดี๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=81>สัตว์อย่างวัวหรือควายเมื่อตายไปแล้วยังทิ้งเขา กระดูกหนังไว้ให้ทำประโยชน์
    ได้ ส่วนคนสิ่งที่จะทิ้งไว้เบื้องหลังความตายให้คนกล่าวถึงก็คือ ความดีหรือ
    ความชั่วเท่านั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ถึงจนทนสู้กัด </TD><TD width="44%">กินเกลือ </TD></TR><TR><TD width="47%">อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ </TD><TD width="44%">พวกพ้อง </TD></TR><TR><TD width="47%">อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ</TD><TD width="44%">สงวนศักดิ์</TD></TR><TR><TD width="47%">โซก็เสาะใส่ท้อง </TD><TD width="44%">จับเนื้อกินเอง๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD>โคลงบทนี้กวีสอนให้คนหยิ่งในศักดิ์ศรีไม่เบียดเบียนผู้อื่นเพื่อแสวงหา
    ผลประโยชน์ให้ตนเอง เหมือนเสือที่ล่าเหยื่อเองเป็นอาหาร ตรงกับสำนวน
    อดเยี่ยงเสือ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> บางคาบภาณุมาศขึ้น</TD><TD width="44%">ทางลง ก็ดี </TD></TR><TR><TD width="47%">บางคาบเมรุบ่ตรง</TD><TD width="44%">อ่อนแอ้</TD></TR><TR><TD width="47%">ไฟยมดับเย็นบง-</TD><TD width="44%">กชงอก ผานา </TD></TR><TR><TD width="47%">ยืนสัตย์สาธุชนแท้</TD><TD width="44%">ห่อนเพี้ยนสักปาง๚ะ๛</TD></TR><TR><TD colSpan=2>บางครั้งพระอาทิตย์นั้น อาจขึ้นทางทิศตะวันตกได้
    แม้นเขาพระสุเมรุ ยังมีวันเอน
    ไฟนรกที่ร้อนแรงยังดับ ลงได้ ดอกบัวสามารถงอกจากบนหน้าผา
    แต่คำสัตย์ แห่งสาธุชนนั้น ไม่มีเปลี่ยนแปลง
    จากกัลยาณมิตร (ปิยะสิทธิ์ บำรุงพฤกษ์ )
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว </TD><TD width="44%">แหนงหนี </TD></TR><TR><TD width="47%">หาง่าย หลายหมื่นมี </TD><TD width="44%">มากได้ </TD></TR><TR><TD width="47%">เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี-</TD><TD width="44%">วาอาตม์</TD></TR><TR><TD width="47%">หากยาก ฝากผีไข้ </TD><TD width="44%">ยากแท้จักหา๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=78>โคลงบทนี้กวีเตือนสติการคบเพื่อน ให้รู้จักระมัดระวัง อย่าประมาท
    เพราะเพื่อนในคราที่มีความสุขนั้นหาง่ายมาก แต่เพื่อนที่ไปมาหาสู๋
    ในครามีทุกข์นั้นหายากยิ่ง ตรงกับสำนวนเพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%" height=40> อ่อนหวานมานมิตรล้น </TD><TD width="44%" height=40>เหลือหลาย </TD></TR><TR><TD width="47%">หยาบบ่มีเกลอกราย </TD><TD width="44%">เกลื่อนใกล้ </TD></TR><TR><TD width="47%">ดุจดวงศศิฉาย</TD><TD width="44%">ดาวดาษ ประดับนา</TD></TR><TR><TD width="47%">สุริยส่องดาราไร้ </TD><TD width="44%">เมื่อร้อนแรงแสง๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=115>คนที่พูดจาอ่อนหวานย่อมมีเพื่อนชอบคบค้าสมาคม เหมือนกับ ดวงจันทร์ (ศศิ)
    ที่ส่องแสงนวลเย็นต่างมีดาวมารายรอบ ส่วนคนพูดจากระด้างหยาบคาย ย่อมไม่
    มีใครคบค้าสมาคมเหมือนความร้อนแรงของดวงอาทิตย์ที่ทำให้ดวงดาว
    ลับหาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> ยอข้ายอเมื่อแล้ว </TD><TD width="44%">การกิจ </TD></TR><TR><TD width="47%">ยอยกครูยอสนิท </TD><TD width="44%">ซึ่งหน้า </TD></TR><TR><TD width="47%">ยอญาติประยูรมิตร</TD><TD width="44%">เมื่อลับ หลังแฮ</TD></TR><TR><TD width="47%">คนหยิ่งแบกยศบ้า </TD><TD width="44%">อย่ายั้งยอควร๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=93>การจะกล่าวชื่นชมหรือยกยอใครต้องใช้ให้ถูกกาลเทศะ ให้เป็นไปตาม
    จุดมุ่งหมาย แต่สำหรับคนที่บ้ายศศักดิ์ ถือเกียรติสำคัญยิ่งควรพูดจา
    ยกยออยู่เป็นนิจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="67%"> พริกเผ็ดใครให้เผ็ด </TD><TD width="33%">ฉันใด </TD></TR><TR><TD width="67%">หนามย่อมแหลมเองใคร </TD><TD width="33%">เซี่ยมให้ </TD></TR><TR><TD width="67%">จันทน์กฤษณาไฉน </TD><TD width="33%">ใครอบ หอมฤๅ </TD></TR><TR><TD width="67%">วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้ </TD><TD width="33%">เพราะด้วยฉลาดเอง ๚ะ๛</TD></TR><TR><TD width="67%">Hot chilies generate heat </TD><TD width="33%">and health. </TD></TR><TR><TD width="67%">Thorns sharpen themselves,</TD><TD width="33%">indeed. </TD></TR><TR><TD width="67%">Flowers do flowers help</TD><TD width="33%">in fragrance.</TD></TR><TR><TD width="67%">wise men do not need </TD><TD width="33%">wisdom from fools. </TD></TR><TR><TD colSpan=2>คนที่มีดีด้วยตนเอง</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="47%"> สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ </TD><TD width="44%">ในตน </TD></TR><TR><TD width="47%" height=34>กินกัดเนื้อเหล็กจน </TD><TD width="44%" height=34>กร่อนขร้ำ </TD></TR><TR><TD width="47%">บาปเกิดแก่ตนคน</TD><TD width="44%">เป็นบาป</TD></TR><TR><TD width="47%">บาปย่อมทำโทษซ้ำ </TD><TD width="44%">ใส่ผู้บาปเอง๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center bgColor=#fff7ff border=0><TBODY><TR><TD height=74>ทุกสิ่งย่อมมีสาเหตุที่มา หากเราคิดร้าย โกรธขึ้ง ผลจะส่งให้เรานั่นแหละ
    ไม่สบายใจ เหมือนสนิมเหล็กที่กัดกร่อนตัวเอง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>๏ ใครจักผูกโลกแม้ </TD><TD>รัดรึง</TD></TR><TR><TD>เหล็กเท่าลำตาลตรึง</TD><TD>ไป่หมั้น</TD></TR><TR><TD>มนต์ยาผูกนานหึง </TD><TD>หายเสื่อม</TD></TR><TR><TD>ผูกเพื่อไมตรีนั้น</TD><TD>แน่นเท้าวันตาย๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=73>การผูกมิตรหรือการสร้างความผูกพันต้องใช้การผูกด้วยไมตรีเท่านั้น สิ่งอื่น ๆ ไม่มีความยั่งยืนเท่า ตรงกับร่ายสุภาษิต
    " ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง" (หึงในที่นี้ เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่านาน บ่มิหึง คือไม่นาน)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ความเพียรเป็นอริแล้ว</TD><TD>เป็นมิตร</TD></TR><TR><TD>คร้านเกียจเป็นเพื่อนสนิท </TD><TD>ร่วมไร้</TD></TR><TR><TD>วิชาเฉกยาติด </TD><TD>ขมขื่น</TD></TR><TR><TD>ประมาทเหมือนดับไต้ </TD><TD>ชั่วร้ายฤๅเห็น๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=74>ความเพียรทำได้ยาก ต้องทำด้วยความอดทน เป็นเสมือนศัตรู หากสุดท้ายผลที่ได้คือสิ่งที่ดีเปรียบเสมือนมิตรความเกียจคร้าน
    ในเบื้องต้นทำให้ผู้ฏิบัติรู้สึกสบายเปรียบเสมือนเป็นเพื่อนสนิท พร้อมที่จะปฏิบัติ
    ิเช่นนั้นได้ทุกเมื่อ แต่สุดท้ายกลับส่งผลเสียแก่ผู้ปฏิบัติ การเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ
    ก็เช่นกัน ผู้ปฏิบัติไม่มีความสุขเลยแต่สุดท้ายกลับได้ความรู้ ส่วนความประมาท
    เหมือนคนที่เดินไปโดยปราศจากแสง (ไต้ คบเพลิงที่ทำจากเปลือกเสม็ด+ยางของ
    ต้นไม้ยาง)ย่อมไม่เห็นสิ่งชั่วร้ายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> เห็นใดจำให้แน่ </TD><TD>นึกหมาย</TD></TR><TR><TD>ฟังใดอย่าฟังดาย</TD><TD>สดับหมั้น</TD></TR><TR><TD>ชนม์ยืนอย่าพึงวาย </TD><TD>ตรองตรึก ธรรมนา</TD></TR><TR><TD>สิ่งสดับทั้งนั้น</TD><TD>ผิดเพี้ยนเป็นครู๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>สอนเรื่องการรับข่าวสารข้อมูลอย่าฟังหรืออ่าน ให้ผ่านหูไปเฉย ๆ ให้คิดไตร่ตรอง
    อยู่เสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นบทเรียนได้ (สดับหมั้น จำให้แม่นยำ หมั้น
    มาจากมั่น ในที่นี้ หมั้นเป็นโทโทษ แทนมั่น)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> อย่าโทษไทท้าวท่วย</TD><TD>เทวา</TD></TR><TR><TD>อย่าโทษสถานภูผา</TD><TD>ย่านกว้าง</TD></TR><TR><TD>อย่าโทษหมู่วงศา </TD><TD>มิตรญาติ</TD></TR><TR><TD>โทษแต่กรรมเองสร้าง</TD><TD>ส่งให้เป็นเอง๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=56>สอนให้รู้จึกคิดไม่โทษอะไรง่าย ๆ ควรไตร่ตรองว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากการกระทำของเราเองใช่หรือไม่
    ตรงกับร่ายสุภาษิต "โทษตนผิดพึงรู้"​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง</TD><TD>เมล็ดงา</TD></TR><TR><TD>ปองติฉินนินทา</TD><TD>ห่อนเว้น</TD></TR><TR><TD>โทษตนเท่าภูผา</TD><TD>หนักยิ่ง</TD></TR><TR><TD>ป้องปิดคิดซ่อนเร้น</TD><TD>เรื่องร้ายหายสูญ๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=59>ธรรมชาติของคนมักมองเห็นความผิดของผู้อื่นใหญ่กว่าของตัวเอง ในที่นี้ใช้คำเปรียบเทียบ ระหว่าง ภูผา กับเมล็ดงาซึ่งแตกต่างกันอย่างมากมาย</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> เดินทางต่างเทศให้</TD><TD>พิจารณ์</TD></TR><TR><TD>อาสน์นั่งนอนอาหาร</TD><TD>อีกน้ำ</TD></TR><TR><TD>อดนอนอดบันดาล </TD><TD>ความโกรธ</TD></TR><TR><TD>ห้าสิ่งนี้คุณล้ำ</TD><TD>เลิศล้วนควรถวิล๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=54>เมื่อเดินทางไปต่างถิ่นควรตรวจตราเรื่องของที่พัก อาหารและน้ำ ไม่เห็นแก่การนอน
    เป็นใหญ่ รู้จักระงับอารมณ์ ไม่โกรธฉุนเฉียวง่าย
    ปกป้องตัวเองทั้งเรื่องของอารมณ์ ร่ายกายและจิตใจ (ต่างเทศ คือต่างบ้าน
    ต่างเมือง ต่างถิ่น)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> เป็นคนคลาดเหย้าอย่า </TD><TD>เปล่ากาย</TD></TR><TR><TD>เงินสลึงติดชาย</TD><TD>ขอดไว้</TD></TR><TR><TD>เคหาอย่าสูญวาย </TD><TD>ข้าวเปลือก มีนา</TD></TR><TR><TD>เฉินฉุกขุกจักได้ </TD><TD>ผ่อนเลี้ยงอาตมา๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=75>สอนอย่าให้ประมาท เมื่อออกจากบ้านต้องมีเงินทองติดตัวเสมอ เผื่อความ
    จำเป็นฉุกเฉิน ที่บ้านก็เช่นกัน
    ต้องมีเสบียงอาหารพร้อม (ติดชายขอดไว้ นำเงินติดชายพก คือเหน็บไว้ใน
    ชายผ้าข้างสะเอว)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> พายเถิดพ่ออย่ารั้ง </TD><TD>รอพาย</TD></TR><TR><TD>จวนตะวันจักสาย</TD><TD>ส่องฟ้า</TD></TR><TR><TD>ของสดสิ่งควรขาย</TD><TD>จักขาด ค่าแฮ</TD></TR><TR><TD>ตลาดเลิกแล้วอ้า</TD><TD>บ่นอื้นเอาใคร ๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=70>สอนให้รู้จักใช้เวลาและโอกาส อย่าปล่อยให้เวลาผ่านเลยไป ตรงกับสำนวน
    "น้ำขึ้นให้รีบตัก"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ทรัพย์มีสี่ส่วนไซร้ </TD><TD>ปูนปัน</TD></TR><TR><TD>ภาคหนึ่งพึงเกียดกัน </TD><TD>เก็บไว้</TD></TR><TR><TD>สองส่วนเบ็ดเสร็จสรรพ์ </TD><TD>การกิจ ใช้นา</TD></TR><TR><TD>ยังอีกส่วนควรให้</TD><TD>จ่ายเลี้ยงตัวตน๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=75>การบริหารจัดการกับเงินทอง ต้องรู้จักแบ่งสรรปันส่วนทำบัญชี ค่าใช้จ่าย
    อย่างมีระบบโดยเงิน 1ใน 4 ส่วนต้องเก็บออมไว้ยามจำเป็น​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ย่าขุดขอดท่านด้วย</TD><TD>วาจา</TD></TR><TR><TD>อย่าถากท่านด้วยตา</TD><TD>ติค้อน</TD></TR><TR><TD>ฟังคำกล่าวมฤษา</TD><TD>โสตหนึ่ง นะพ่อ</TD></TR><TR><TD>หยิบบ่ศัพท์กลับย้อน</TD><TD>โทษให้กับตน ๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=73>(มฤษา คือมุสา พูดไม่จริง พูดเท็จ)
    สอนไม่ให้เป็นคนก้าวร้าวทำร้ายผู้อื่นด้วยคำพูดหรือสายตา
    ตรงกับร่ายสุภาษิต "อย่าขุดคนด้วยปาก อย่าถากคนด้วยตา "​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> กาน้ำดำดิ่งด้น </TD><TD>เอาปลา</TD></TR><TR><TD>กาบกคิดใคร่หา</TD><TD>เสพบ้าง</TD></TR><TR><TD>ลงดำส่ำมัจฉา</TD><TD>ชลชาติ</TD></TR><TR><TD>สวะปะคอค้าง</TD><TD>ครึ่งน้ำจำตาย๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=104>กาน้ำ หมายถึงนกชนิดหนึ่งคอยาว ว่ายน้ำเหมือนเป็ด จับปลาเป็นอาหาร
    กาบก คืออีกา การทำตามหรือเอาอย่างผุ้อื่นโดยไม่พิจารณาไตร่ตรองย่อมนำไปสู่
    ความหายนะได้ ตรงกับสำนวน"ช้างขี้ ขี้ตามช้าง"
    (สวะปะคอ วัชพืชที่ลอยอยู่ในน้ำพันคอ)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> ไปเรือนท่านไซร้อย่า</TD><TD>เนานาน</TD></TR><TR><TD>พูดแต่พอควรการ </TD><TD>กลับเหย้า</TD></TR><TR><TD>ริร่ำเรียนการงาน </TD><TD>เรือนอาต มานา</TD></TR><TR><TD>ยากเท่ายากอย่าเศร้า </TD><TD>เสื่อมสิ้นความเพียร๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=66>สอนมารยาท ให้รู้จักเกรงใจคนไม่รบกวนเวลาของผู้อื่นและให้รู้จักใช้เวลาว่าง
    ให้เป็นประโยชน์ อยุ่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน
    ตรงกับร่ายสุภาษิต "ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน"​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> เป็นคนคิดแล้วจึ่ง</TD><TD>เจรจา</TD></TR><TR><TD>อย่ามลนหลับตา</TD><TD>แต่ได้</TD></TR><TR><TD height=21>เลือกสรรหมั่นปัญญา </TD><TD height=21>ตรองตรึก</TD></TR><TR><TD>สติริรอบให้ </TD><TD>ถูกแล้วจึงทำ๚ะ๛</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=65>
    (มลน หมายถึง ลนลาน) สอนให้คิดก่อนพูด คำพูดนั้นอาจทำร้ายทั้งตนเองและผู้อื่นได้
    ซึ่งคำพูดเปรียบเสมือนลูกปืนเมื่อพูดออกไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="56%"> ปางน้อยสำเหนียกรู้</TD><TD width="44%">เรียนคุณ</TD></TR><TR><TD width="56%">ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน</TD><TD width="44%">ทรัพย์ไว้</TD></TR><TR><TD width="56%">เมื่อกลางแก่แสวงบุญ</TD><TD width="44%">ธรรมชอบ</TD></TR><TR><TD width="56%">ยามหง่อมทำใดได้</TD><TD width="44%">แต่ล้วนอนิจจัง๚</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD> คุณแม่หนาหนักเพี้ยง </TD><TD>พสุธา</TD></TR><TR><TD>คุณบิดรดุจอา-</TD><TD>กาศกว้าง</TD></TR><TR><TD>คุณพี่พ่างศิขรา</TD><TD>เมรุมาศ</TD></TR><TR><TD>คุณพระอาจารย์อ้าง</TD><TD>อาจสู้สาคร๚</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="63%"> เย็นเงาพฤกษ์มิ่งไม้</TD><TD width="37%">สุขสบาย</TD></TR><TR><TD width="63%">เย็นญาติสุขสำราย</TD><TD width="37%">กว่าไม้</TD></TR><TR><TD width="63%">เย็นครูยิ่งพันฉาย</TD><TD width="37%">กษัตริย์ยิ่ง ครูนา </TD></TR><TR><TD width="63%">เย็นร่วมพระเจ้าให้</TD><TD width="37%">ร่มฟ้าดินบน๚</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="63%"> วิชาควรรักรู้</TD><TD width="37%">ฤๅขาด</TD></TR><TR><TD width="63%">อย่าหมิ่นศิลปศาสตร์</TD><TD width="37%">ว่าน้อย</TD></TR><TR><TD width="63%">รู้จริงสิ่งเดียวอาจ</TD><TD width="37%">มีมั่ง</TD></TR><TR><TD width="63%">เลี้ยงชีพช้าอยู่ร้อย</TD><TD width="37%">ชั่วลื้อเหลนหลาน๚</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="63%"> อย่าหมิ่นของเล็กนั้น </TD><TD width="37%">สี่สถาน</TD></TR><TR><TD width="63%">เล็กพริกพระกุมาร</TD><TD width="37%">จิดจ้อย </TD></TR><TR><TD width="63%">งูเล็กเท่าสายพาน </TD><TD width="37%">พิษยิ่ง </TD></TR><TR><TD width="63%">ไฟเล็กเท่าหิ่งห้อย </TD><TD width="37%">อย่าได้ดูแคลน๚</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ⤅?Ⅱ?ԵԠ?ч͂蒧 ?ÐǑ?Ԡ⤅?Ⅱ?ԵԦlt;/a>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    <TABLE class=tborder style="BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px" cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=tcat colSpan=2>
    ข้อความส่วนตัว: แจ้งการโอน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=tborder id=post cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">25 สิงหาคม 2552, 02:09 PM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right></TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>nongnooo<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Nov 2006
    ข้อความ: 2,956
    ได้ให้อนุโมทนา: 17,331
    ได้รับอนุโมทนา 22,499 ครั้ง ใน 2,698 โพส
    พลังการให้คะแนน: 943 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_ style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><CENTER>แจ้งการโอน

    </CENTER>
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>เรียนคุณหนุ่ม

    ผมได้ฝากเงินจำนวน 500บาทเข้าบัญชี 1890131288 เพื่อฝากร่วมทำบุญ ผาผึ้งในวันเสาร์นี้ด้วยครับ
    ขอบคุณครับ

    __________________
    ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ
    "พระวังหน้า ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้....."

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    .

    รับทราบครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อนามัยโลกเตือน ไข้หวัด 2009 คืนชีพ ระบาดหนักระลอก2

    ไข้หวัดใหญ่ Health ไข้หวัด2009 คืนชีพ ระบาด ระลอก 2


    [​IMG]

    ไข้หวัด 2009​


    ผอ.อนามัยโลกเตือนเชื้อ ไข้หวัด 2009 คืนชีพ ระบาดหนักระลอก 2 (ข่าวสด)

    ผอ.อนามัยโลก (WHO) เตือนมีแนวโน้มว่าการแพร่ระบาดของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จะรุนแรงหนักขึ้น

    นางมาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เรียกร้องให้ทั่วโลกเร่งเตรียมพร้อมรับมือกับการ แพร่ระบาดระลอก 2 ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยระบุว่าการระบาดครั้งนี้ จะยิ่งรุนแรงหนักและคร่าชีวิตผู้คนมากขึ้น แม้ในปัจจุบันการระบาดของโรคเริ่มลดลงในซีกโลกใต้ แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ โดยเฉพาะในซีกโลกเหนือ ยิ่งต้องเตรียมพร้อมเฝ้าระวัง เนื่องจากใกล้ถึงฤดูการแพร่ระบาดของไข้หวัดตามฤดูกาล

    ขณะนี้มีรายงานว่า บริษัทยา 20 แห่งทั่วโลก กำลังเร่งมือผลิตวัคซีนต้านไวรัสเอช 1 เอ็น 1 ต้นเหตุของไข้หวัด 2009 เพื่อนำออกจำหน่ายในเชิงการค้า ภายหลังจากเชื้อไวรัสหวัด 2009 ได้แพร่กระจายไป 177 ประเทศและดินแดน ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 1,799 คน

    ซีโนแว็ก บริษัทเวชกรรมยาของจีน เผยว่า การทดลองฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในมนุษย์เสร็จสิ้นเรียบร้อย โดยให้ผลดีหลังฉีดเพียงเข็มเดียว ขณะที่องค์การอนามัยโลกเรียกร้องขอให้จีนแจกจ่ายวัคซีนที่ผลิตได้เองให้แก่ประเทศต่างๆ ​

    อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก ระบุด้วยว่า ผู้ป่วยไข้หวัด 2009 ที่ร่างกายแข็งแรง และมีอาการป่วยไม่รุนแรงนัก หรือป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ธรรมดาไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส แต่ควรให้ยาชนิดนี้แก่ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะมีอาการแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ สตรีมีครรภ์ คนชราอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และติดเชื้อเอชไอวี

    นอกจากนี้ ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 ทุกคนในกลุ่มเหล่านี้ คือ เด็ก ผู้ป่วยอาการหนัก และมีปัญหาการหายใจ เจ็บหน้าอก หรือร่างกายอ่อนแอมาก ควรได้รับยาทามิฟลูในทันที และอาจได้รับมากกว่าจำนวนโดสที่ให้ในปัจจุบัน


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    [​IMG]
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รับส่งลูกไม่ควรมองข้าม

    สดจากจิตวิทยา

    นฤภัค ฤธาทิพย์ /กรมสุขภาพจิต

    ˹ѧ

    โรงเรียนเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่เด็กๆ เป็นที่ที่เด็กจะได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหาวิชาในตำราเรียน เรียนรู้การปรับตัวการใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อน กฎกติกาการอยู่ร่วมกันในสังคม

    พ่อแม่จึงให้ความสำคัญและไว้วางใจในการส่งลูกไปโรงเรียน แม้จะรู้สึกกังวลอยู่บ้างว่าลูกจะเป็นอย่างไรเมื่อต้องห่างอ้อมอกพ่อแม่สู่โลกภายนอกตามลำพัง ในช่วงแรกของการไปโรงเรียน พ่อแม่อาจไปรับส่งลูกด้วยตนเอง แต่เมื่อเริ่มเข้าที่เข้าทางพ่อแม่หลายคนที่มีภาระอาจเริ่มให้ลูกไปกลับรถโรงเรียน เพื่อความสะดวกของแต่ละครอบครัว อย่างไรก็ตาม การที่พ่อแม่ไปส่งลูกที่โรงเรียนบ้างก็เป็นสิ่งที่ดี เพื่อที่จะได้พูดคุยกับคุณครูประจำชั้น ถึงพฤติกรรมและพัฒนาการของลูกที่โรงเรียน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลูก ปัญหารวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ กับคุณครู เพื่อช่วยให้พ่อแม่รู้จักลูกเพิ่มมากขึ้น และครูก็จะได้มีข้อมูลในการดูแลและพัฒนาเด็กได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้การที่พ่อแม่ไปรับหรือส่งลูกด้วยตนเองบ้างยังช่วยให้ลูกรู้สึกดี อบอุ่น รู้สึกว่าพ่อแม่รักและตัวเขายังเป็นคนสำคัญของพ่อแม่


    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdPQzB5TlE9PQ==
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2009
  12. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่ะรู้สึก ลุงข้างบ้านผมจามีนาคร๊าบ หุ หุ
     
  13. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    555 น่าอิจฉา ตาลุงจริงๆ ครับ หุ หุ
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ฟู่จิงฉิ่งจุ้ย : แบกหนามขอขมา
    China - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 สิงหาคม 2552 17:24 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>
    负荆请罪

    负(fù) อ่านว่า ฟู่ แปลว่า แบก หรือสะพาย
    荆 (jīng) อ่านว่า จิง แปลว่า กิ่งของต้นเชสเต้ ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ดอกสีม่วง มีหนามแหลม
    请罪 (qǐng zuì) อ่านว่า ฉิ่งจุ้ย แปลว่า ขอให้ผู้อื่นยกโทษให้ตน
      

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=253 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=253>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในสมัยสงครามระหว่างรัฐ (จั้นกั๋ว) ซึ่งบ้านเมืองแบ่งออกเป็นรัฐต่างๆ 7 รัฐ ประกอบด้วย รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเอียน รัฐหาน รัฐเจ้า รัฐเว่ย และรัฐฉิน โดยในบรรดา 7รัฐนี้ นับว่ารัฐฉินกล้าแข็งที่สุด ทำให้รัฐฉินมักจะข่มเหงรัฐเจ้าอยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง อ๋องรัฐเจ้าส่งขุนนางชั้นสูงในปกครองผู้หนึ่ง นามว่า ลิ่นเซียงหยู ไปยังรัฐฉินเพื่อเจรจาต่อรอง เมื่อลิ่นเซียงหยูได้เข้าเฝ้าอ๋องรัฐฉิน ก็ได้อาศัยสติปัญญาและความกล้าหาญเป็นหน้าเป็นตาให้กับอ๋องรัฐเจ้าได้มากโข เมื่ออ๋องรัฐฉินเห็นว่ารัฐเจ้ามีคนเก่งกล้าเช่นนี้ในปกครอง จึงไม่กล้าดูแคลนรัฐเจ้าอีกต่อไป

    อ๋องรัฐเจ้าเห็นว่าลิ่นเซียงหยูทำความดีความชอบครั้งใหญ่ จึงได้เลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้ว่าการรัฐ และภายหลังได้เป็นเสนาบดีในที่สุด(เทียบเท่าตำแหน่งอัครเสนาบดีในยุคหลัง)

    การที่อ๋องรัฐเจ้าให้ความสำคัญกับลิ่นเซียงหยูถึงเพียงนี้ กลับเป็นการสุมเพลิงพิโรธให้กับแม่ทัพรัฐเจ้า นามว่าเหลียนโพว ซึ่งเขาเฝ้าคิดว่า “ข้านั้นเสี่ยงชีวิตในสงครามเพื่อรัฐเจ้าถึงเพียงนี้ ความดีความชอบเทียบไม่ได้กับลิ่นเซียงหยูเชียวหรือ? ลิ่นเซียงหยูอาศัยเพียงลมปาก ไร้ความสามารถอื่นใด กับดำรงตำแหน่งสูงกว่าข้า หากข้าพบหน้าลิ่นเซียงหยูที่ไหน จะทำให้มันได้อับอายขายหน้าทีนั้น ดูซิว่ามันจะทำอันใดข้าได้! ”

    ความของเหลียนโพวครั้งนี้ ได้ล่วงรู้ถึงหูลิ่นเซียงหยู เขาจึงรีบกำชับคนในบังคับบัญชาทุกคนว่าหากคราใดบังเอิญได้พบกับลูกน้องของเหลียนโพว ก็ขอให้ยอมลงให้คนเหล่านั้นเสีย อย่าให้มีเรื่องมีราวต่อกัน จากนั้นนาน ตัวเขาเองได้นั่งเกี้ยวออกจากบ้านหากได้ยินว่า เหลียนโพวอยู่ในบริเวณนั้น ก็จะรีบสั่งให้แบกเกี้ยวหลบไปก่อน รอจนเหลียนโพวจากไปค่อยเดินทางต่อ

    ฝ่ายผู้ใต้บังคับบัญชาของเหลียนโพว เมื่อเห็นศัตรูของเจ้านายยอมหลีกทางให้เจ้านายตนถึงเพียงนี้ ก็ได้นึกลำพองใจอย่างยิ่ง เมื่อได้พบหน้ากับลูกน้องของลิ่นเซียงหยูคราใด ก็จะพากันหัวเราะเยาะเย้ย ทำให้ลูกน้องของลิ่นเซียงหยูหมดความอดทน ถึงได้เอ่ยถามผู้เป็นนายว่า “ตำแหน่งของท่านนั้นนับว่าสูงกว่าแม่ทัพเหลียน เขาด่าว่าท่าน เหตุใดท่านจึงเอาแต่หลบหลีก ยอมลงให้เขา ยิ่งทำให้เขาดูถูก หากเป็นเช่นนี้ต่อไป พวกข้าน้อยก็คงทนไม่ได้เช่นกัน”

    ลิ่นเซียงหยูเอ่ยชี้แจงด้วยอาการสงบว่า “เทียบกันแล้ว แม่ทัพเหลียนกับอ๋องรัฐฉิน ผู้ใดน่าเกรงกลัวกว่ากัน?” ทุกคนต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ย่อมเป็นอ๋องรัฐฉิน” ลิ่นเซียงหยูจึงกล่าวสืบไปว่า “เช่นนั้นก็ถูกแล้ว แม้แต่อ๋องรัฐฉิน ข้ายังไม่กลัว เหตุใดข้าต้องกลัวแม่ทัพเหลียน แต่เจ้าต้องเข้าใจว่า ในเวลานี้ ที่อ๋องรัฐฉินยอมรามือไม่เข้าโจมตีรัฐเจ้า ก็เพราะเกรงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของขุนนางทั้งฝ่ายบู๊และบุ๋นภายในรัฐเรา ข้าและแม่ทัพเหลียนเปรียบไปก็เหมือนเสือ 2 ตัว หากกัดกัน ไม่แคล้วตัวใดตัวหนึ่งต้องเจ็บหนักหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต กลายเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐฉินเปิดฉากโจมตีได้ พวกเจ้าลองคิดดู ว่าเรื่องของประเทศชาติหรือเรื่องส่วนตัวสำคัญกว่ากัน”

    เมื่อเหล่าลูกน้องได้ฟังคำชี้แจงก็รู้สึกตื้นตันใจเป็นอันมาก จากนั้นคราใดบังเอิญได้พบกับกลุ่มของแม่ทัพเหลียนโพว ก็จะพยายามหลบลี้หลีกทางให้ตลอดมา

    ความของลิ่นเซียงหยู สุดท้ายก็ไปเข้าหูของแม่ทัพเหลียนโพวเช่นกัน ทำให้แม่ทัพเหลียนเกิดความละอายใจยิ่งนัก ถึงขั้นถอดเสื้อออกทั้งยังแบกกิ่งไม้ที่เต็มไปด้วยหนาม เดินทางไปบ้านของลิ่นเซียงหยู เมื่อพบหน้าเขาจึงคุกเข่าลง ที่หลังยังคงแบกกิ่งหนาม และร้องขอให้ลิ่นเซียงหยูโบยตี แต่ลิ่นเซียงหยูกลับดึงกิ่งไม้เหล่านั้นทิ้งไปสิ้น ประคองแม่ทัพเหลียนลุกขึ้นพร้อมทั้งหาเสื้อผ้าให้สวมใส่เป็นอย่างดี ภายหลังทั้งสองกลายเป็นสหายร่วมรบ ผู้หนึ่งบู๊ ผู้หนึ่งบุ๋น ร่วมแรงกันปกป้องบ้านเมือง

    ต่อมา “ฟู่จิงฉิ่งจุ้ย” หรือ “แบกหนามขอขมา” กลายมาเป็นสำนวน แปลว่า ยอมรับความผิดของตนเองโดยไร้ข้อโต้แย้ง และกล่าวขอโทษด้วยความจริงใจ

    สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง หรือส่วนขยายนาม

    ตัวอย่างประโยค
    我今特来寻贤弟,负荆请罪
    วันนี้ฉันเดินทางมาพบน้องเสียนโดยเฉพาะ เพื่อ
    ~
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"พิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุ" บางรัก แหล่งรวมพระธาตุทั่วทุกสารทิศ
    Travel - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 สิงหาคม 2552 15:43 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บรรยากาศขรึมขลังในพิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สาธุ......

    หลังฉันได้มากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ภายใน "พิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุ" เขตบางรัก ซึ่งแม้จะเป็นเพียงห้องเล็กๆ แต่ภายในนั้นเต็มไปด้วยพระบรมธาตุมากมายที่รวบรวมมาจากทั่วทุกสารทิศ อันเกิดจากศรัทธาของผู้ก่อตั้ง

    ที่พิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุนอกจากฉันจะได้อิ่มเอมใจหลังกราบพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ยังได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับพระบรมธาตุกับคุณปราโมช ประสพสุขโชคมณี ประธานชมรมรักษ์พระบรมธาตุแห่งประเทศไทย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานมากมายบริเวณที่บูชาพระบรมธาตุ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> คุณปราโมช เล่าให้ฉันฟังว่า พระบรมสารีริกธาตุ หรือพระบรมธาตุ ซึ่งหมายถึง พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้านั้นมีตำนานการเกิดที่เชื่อกันว่า ตามที่ได้รู้กันมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆจะมีพระชนมายุยืนยาว สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง และจะมีพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะรวมกันเป็นแท่งเดียว ไม่สามารถแบ่งไปประดิษฐานตามที่ต่างๆได้ จึงจำเป็นต้องสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ในที่แห่งเดียว

    ต่อมาในสมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ทรงเล็งเห็นว่าพระองค์มีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 ปี ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อน และยังมีอีกมากที่เกิดมาไม่ทันในสมัยของพระองค์ หากได้อัฐิธาตุของพระองค์ไปอุปัฏฐากบูชา จะได้บุญกุศลเป็นอันมาก จึงทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แตกย่อยลงเป็น 3 สัณฐาน เว้นแต่ธาตุทั้ง 7 ประการ ที่ไม่ไหม้ไฟ ได้แก่ คือ พระเขี้ยวแก้ว 4, พระรากขวัญ(ไหปลาร้า) 2 และพระอุณหิส(หน้าผาก) 1

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระอรหันตธาตุของพระอานนท์ สัณฐานดั่งใบบัวเผื่อน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> โดยพระเขี้ยวแก้วองค์ที่ 1 เบื้องบนขวา ประดิษฐานในเจดีย์จุฬาโลกมณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รวมอยู่กับเกศาของพระพุทธเจ้าตอนที่ปลงเสด็จออกบวช, พระเขี้ยวแก้วองค์ที่ 2 เบื้องล่างซ้าย อยู่กับพญานาคในโลกบาดาล, พระเขี้ยวแก้วองค์ที่ 3 เบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน, ส่วนพระเขี้ยวแก้วองค์ที่ 4 เบื้องล่างขวา ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา

    ส่วนพระรากขวัญ เบื้องซ้าย ประดิษฐาน ณ พรหมโลก, พระรากขวัญเบื้องขวา ประดิษฐาน ณ เมืองอนุราชสิงหฬ และพระอุณหิส ประดิษฐาน ณ เมืองอนุราชสิงหฬ เช่นกัน ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุทั้ง 7 ส่วนนี้ถือเป้นพระบรมสารีริกธาตุไม่แตกกระจาย อันหมายถึง ยังคงความเป็นรูปเป็นร่างสมบูรณ์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระอรหันตธาตุต่างๆที่มีครบตามตำราโบราณ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ส่วนพระบรมสารีริกธาตุประเภทแตกกระจาย คือ ส่วนอื่นๆนอกเหนือจาก 7 ส่วนนั้น คือจะไม่เหลือส่วนที่เด่นชัดขนาดเล็กสุดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสาร และขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่ว มีตำนานเล่าว่า กษัตริย์อินเดียจาก 8 แคว้นต้องการพระบรมสารีริกธาตุจึงได้ต่อสู้กัน เดือดร้อนถึงโทณพราหมณ์ นักปราชญ์แห่งกุสินาราต้องนำตุมพะทองคำมาตวงแบ่งเป็น 8 ส่วนเท่าๆกันแจกจ่ายให้นำไปบูชาตามแคว้นต่างๆ

    คุณปราโมช เล่าถึงสัณฐานต่างๆของพระบรมสารีริกธาตุว่ามีหลากหลายลักษณะ ทั้งสัณฐานแก้วใสดุจเพชร สัณฐานดั่งเมล็ดข้าวสาร สัณฐานดั่งเมล็ดถั่วแตก สัณฐานดั่งเมล็ดดั่งเมล็ดงา สัณฐานดั่งเมล็ดเมล็ดพันธุ์ผักกาด พระบรมสารีริกธาตุวรรณะพรรณหลากสี วรรณะดั่งทองอุไร วรรณะดั่งงาช้าง วรรณะดั่งแก้วมุกดา และยังมีพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่สามารถระบุสัณฐานได้อีกด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระธาตุพระสิวลีเถระ สัณฐานดั่งผลยอป่า</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นอกจากนี้ยังมี "พระบรมธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า" อันหมายถึง พระอัฐิของพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยมิต้องมีใครมาสั่งสอน แต่ว่าท่านก็มิได้สั่งสอนใครให้บรรลุมรรคหรือตั้งมั่นพระศาสนาจนเป็นปึกแผ่นดั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ดังนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่มีพระสงฆ์ หรือพระสาวก

    โดยพระปัจเจกพระพุทธเจ้าสามารถบังเกิดขึ้นพร้อมกันได้หลายพระองค์ในยุคนั้นๆ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติยังเกิดขึ้นในโลกครั้งละหนึ่งพระองค์เท่านั้น ซึ่งการนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้ามีผลอานิสงส์ด้านลาภสักการะมาก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระธาตุของพระอริยสงฆ์มากมายมากมายภายในพิพิธภัณฑ์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับพิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุแห่งนี้ ภายในมีพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระบรมธาตุพระปัจเจกพระพุทธเจ้าให้ได้กราบไหว้บูชา พร้อมทั้งยังได้เห็นลักษณะรูปทรงสัณฐานกันอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงแค่นั้น ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังได้รวบรวมเอา "พระอรหันตธาตุ" สมัยพุทธกาล ที่ได้ระบุไว้ตามตำราโบราณทั้ง 47 รูป ครบถ้วน

    อาทิ พระธาตุพระอัญญาโกณฑัญญะ พระเถระผู้บวชเป็นคนแรก สัณฐานงอนช้อยดั่งงาช้าง พรรณสีขาวดั่งดอกมะลิตูม สีเหลือง สีดำ, พระธาตุพระสารีบุตรเถระ พระเถระผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เลิศด้านมีปัญญามาก ลักษณะสัณฐานกลมเป็นปริมณฑล รีเป็นไข่จิ้งจก เป็นดั่งรูปบาตรคว่ำ พรรณสีขาวสังข์ สีพิกุลแห้ง สีหวายตะค้า หรือสีน้ำตาลอ่อน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระธาตุพระปุณณเถระ สัณฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พระธาตุพระโมคคัลลานะเถระ พระเถระผู้เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้เป็นเลิศด้นมีฤทธิ์มาก สัณฐานพระธาตุกลมเป็นปริมณฑล รีเป็นผลมะตูม คล้ายเมล็ดทองหลาง เมล็ดสวาด เมล็ดคำ พรรณสีเหลืองหวายตะค้า ขาวสังข์ เขียวช้ำใน ลายคล้ายไข่นก ลายเป็นรอยร้าวคล้ายสายเลือด, พระธาตุพระสิวลีเถระ พระเถระผู้เป็นเลิศด้านผู้มีลาภสักการะมาก สัณฐานดั่งผลยอป่า เมล็ดในพุทรา เมล็ดมะละกอ พรรณสีขาว สีเหลืองหวายตะค้า สีพิกุลแห้ง สีแดงดั่งหม้อไหม้ สีเขียวดั่งดอกผักตบ

    พระธาตุพระอานนท์เถระ พระเถระผู้เป็นเลิศด้านพหูสูต สัณฐานดั่งใบบัวเผื่อน พรรณสีขาวดั่งเงิน สีดำอย่างน้ำรัก เหลืองหวายตะค้า, พระธาตุพระปุณณเถระ พระเถระผู้สั่งสมบุญบารมีมามาก สัณฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส พรรณสีขาว สีดอกพิกุลแห้ง เป็นต้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระอัฐิธาตุของพระอริยสงฆ์ผู้เพียบพร้อมในธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หากใครอยากยลและสักการะพระอรหันตธาตุให้ครบทั้ง 47 รูปตามตำราโบราณก็ต้องมาที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้กันเอง เพราะถ้าจะให้ฉันเขียนเล่าจนหมดครบถ้วนกระบวนความคงจะยาวหลายตอนทีเดียว นอกจากนี้ยังมีอัฐิและพระธาตุของพระอริยสงฆ์อีกมากมาย

    เช่น ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ อ.เมือง จ.ลำปาง, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร, พระราชพรหมยานเถระ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี, พระอาจารย์ประยุทธ ธัมมยุตโต วัดป่าผาลาด อ.เมือง จ.กาญจนบุรี, พระธาตุหลวงปู่ทวด สามีราโม วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี, อัฐิธาตุสมเด็จพระวันรัต วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ เป็นต้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราชฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> แม้ว่าพิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุแห่งนี้จะเล็ก แต่ก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ และพระธาตุ อัฐิพระอริยสงฆ์มากมาย เพื่อให้ประชาชนได้กราบสักการบูชา พร้อมทั้งได้เห็นและศึกษาพระบรมธาตุต่างๆได้อย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีคุณปราโมชและเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ และเล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับพระบรมธาตุให้ได้รู้และเข้าใจกันมากขึ้นด้วย

    ซึ่งนอกจากจะกราบสักการบูชาพระบรมธาตุต่างๆด้วยจิตใจที่แน่วแน่เป็นบุญกุศลแล้ว ก็ต้องไม่ลืมที่จะประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อันเป็นหัวใจของพุทธศาสนาที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหนๆเราก็สามารถทำได้สบายๆเลย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุอื่นๆ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    พิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุ ชมรมรักษ์พระบรมธาตุแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์พลอยเอเชีย ถนนมเหสักข์ ซอย2 เขตบางรัก กรุงเทพฯ โทร.08-6337-4255

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ระวังเชื้อโรคใน"ตู้เย็น"
    Travel - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 สิงหาคม 2552 14:47 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=222 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=222>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> "ตู้เย็น" เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่แทบทุกบ้านจะต้องมีไว้ใช้ เพราะตู้เย็นช่วยให้เรามีน้ำเย็นๆ ดื่มแก้กระหาย มีน้ำแข็งไว้ให้เราดับร้อนเวลาที่อุณหภูมิพุ่งสูงปรี๊ด และประโยชน์ที่สำคัญอีกอันหนึ่งของตู้เย็นก็คือไว้ใช้เก็บอาหารให้ได้นานขึ้น ทั้งอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ และผักสดต่างๆ และอาหารสำเร็จรูปที่อาจยังกินไม่หมด ก็สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อยืดระยะเวลาการบูดเน่าได้

    แต่บางบ้านเห็นตู้เย็นเป็นที่ขังลืม แช่ข้าวของต่างๆ ไว้มากมายจนหยิบออกมาใช้ไม่ทั่วถึง ผักสดบางอย่างก็เริ่มเน่าหรือราขึ้นบ้าง อาหารบางอย่างก็เริ่มเน่าเสีย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะจะทำให้เกิดแบคทีเรียร้ายในตู้เย็น หรือแบคทีเรียลิสเทอเรีย (Listeria) ที่สามารถเจริญได้ดีที่อุณหภูมิตู้เย็น โดยเฉพาะเมื่อมีการเก็บรักษาอาหารไม่ถูกวิธี ก็จะทำให้แบคทีเรียยิ่งเจริญเติบโต และหากแบคทีเรียนั้นเข้าสู่ร่างกายคนก็จะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตถึง 30 เปอร์เซ็นต์

    ดังนั้นหากไม่อยากให้เกิดแบคทีเรียมาปนเปื้อนกับอาหารที่เรากินเข้าไป ก็จะต้องระมัดระวัง โดยหากเป็นผักสดควรเก็บไว้ประมาณ 3-4 วัน เนื้อสัตว์สดเก็บได้ประมาณ 5 วัน และหากจะนำมาประกอบอาหารก็ต้องล้างให้สะอาดก่อน ส่วนอาหารที่ปรุงสุกแล้วควรกินให้หมดไม่ควรแช่ตู้เย็น แต่ถ้าจำเป็นก็ต้องปิดฝาให้เรียบร้อยแล้วจึงนำเข้าตู้เย็น ที่สำคัญก็คือต้องทำความสะอาดตู้เย็นเป็นประจำ อย่าให้มีของเหลือค้างเป็นดีที่สุด
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    นำมาให้ได้รู้ว่า กฎแห่งกรรม ตามเร็วเหมือนจรวด

    ---------------------------------------------------

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>พระสลด! นาทีฉีดยา 2 นักโทษประหาร “เศร้าน้ำตาอาบแก้ม-ขอจับชายผ้าเหลืองส่งดวงวิญญาณ”
    Crime - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ทีมข่าวอาชญากรรม</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 สิงหาคม 2552 17:45 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>จนท.ราชทัณฑ์ช่วยกันฉีดสเปรย์ใช้ชะแลงงัดประตูผี เรือนจำบางขวาง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>พระเดินนำส่งวิญญาณ 2 นักโทษประหารคดีค้ายา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ญาติช่วยกันยกโลงศพนักโทษประหารไปประกอบพิธีทางศาสนา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ช่วยกันแบกโลงศพผ่านประตูผี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>จังหวะที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์กำลังไขกุญแจโซ่ตรวนล่ามขาสองนักโทษหลังประหารใส่โลงศพ “ประตูผี” บางขวางดันเปิดไม่ออก จนต้องใช้สเปรย์โซแนกซ์ช่วยฉีดกัดสนิมที่เกรอะกรัง-ใช้ชะแลงกระทุ้งเปิดจึงนำศพนักโทษคดีค้ายาออกมาได้ ด้านพระครูวัดบางแพรกใต้ เผยนาทีฉีดยาประหารหนึ่งในนักโทษเศร้าน้ำตาอาบแก้ม ส่วนอีกคนขอจับชายผ้าเหลืองส่งดวงวิญญาณ

    วันนี้ (25 ส.ค.) เมื่อเวลา 08.00 น.ที่เรือนจำกลางบางขวาง ถ.นนทบุรี 1 ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี ซึ่งได้ทำการประหารชีวิตนักโทษจำนวน 2 ราย คือ นักโทษเด็ดขาดชาย บัณฑิต เจริญวานิช อายุ 54 ปี กับนักโทษเด็ดขาดชาย จิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ อายุ 45 ปี ผู้ต้องหาคดียาเสพติดด้วยการฉีดยาพิษไป เมื่อวานที่ผ่านมา (24 ส.ค.) นั้น ปรากฏว่า ในช่วงเช้าได้มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จากเรือนจำมาทำการตรวจสอบความพร้อมของประตูด้านที่ติดกับวัดบางแพรกใต้ ซึ่งประตูดังกล่าวชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่เรือนจำเรียกกันจนติดปากว่า “ประตูผี” เนื่องจากใช้เป็นประตูสำหรับนำศพนักโทษที่ถูกประหารชีวิตออกมาเพียงประตูเดียวเท่านั้น

    โดยในวันนี้ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้นำกุญแจมาไขเปิดประตู ปรากฏว่า ไม่สามารถเปิดกุญแจได้ เนื่องจากทั้งประตูและดอกกุญแจเกรอะกรังไปด้วยสนิม จึงต้องชะลอการนำศพออกมาจากด้านในของเรือนจำ อีกทั้งภายในเรือนจำซึ่งมองลอดผ่านทางประตูผี พบว่า เจ้าหน้าที่กำลังไขกุญแจโซ่ตรวนที่ล่ามอยู่ที่ขาของนักโทษทั้งสองคนก่อนจะนำใส่โลงศพ ซึ่งเป็นโลงที่ได้รับบริจาคมาจากผู้ใจบุญ จนกระทั่งต่อมาหลังพิธีการเสร็จสิ้นลงแล้ว เจ้าหน้าที่ได้นำสเปรย์ยี่ห้อโซแนกซ์มาทำการฉีดขอบประตู และแม่กุญแจอยู่นานแต่ก็ยังไม่ออก จึงต้องใช้ชะแลงช่วยกันกระทุ้งบานประตู จนเปิดจึงสามารถนำศพนักโทษทั้งสองคนออกมาได้

    โดยศพแรกที่นำออกมาเป็นศพของนักโทษเด็ดขาดชาย จิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ มีญาติเป็นชาย 1 คน หญิง 1 คน เดินถือกระถางธูป มีพระครูศรีนนทวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดบางแพรกใต้ เดินนำหน้า ซึ่งศพของนักโทษเด็ดขาดชาย จิรวัฒน์ ได้ถูกนำไปตั้งยังศาล “ทวิธานถุกูล” ภายในวัดบางแพรกใต้ ขณะที่ศพที่สองที่นำออกมา คือ ศพของนักโทษเด็ดขาด บัณฑิต เจริญวานิช ได้ถูกนำขึ้นรถตู้เพื่อไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่ย่านฝั่งธน โดยมี อาจารย์ ศุภิดา พิสมัย นำนักเรียนชั้น ม.1 ถึง ม.4 จากโรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 จำนวน 80 คน มาศึกษาเพื่อให้เห็นถึงสัจธรรมในบาปบุญคุณโทษ

    ด้าน พระครูศรีนนทวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดบางแพรกใต้ ซึ่งเป็นพระรูปเดียวที่เข้าไปเทศนาธรรมแก่นักโทษทั้งสองคน เปิดเผยถึงนาทีที่ฉีดยาพิษ ว่า นักโทษเด็ดขาดชาย บัณฑิต นั้น มีอาการเศร้าเสียใจ น้ำตาไหลอาบแก้มตลอดเวลา ขณะที่นักโทษเด็ดขาดชาย จิรวัฒน์ นั้นเงียบ นิ่งสงบ ก่อนที่จะขอจับชายผ้าเหลือง เพื่อที่ดวงวิญญาณจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์

    “อาตมาเองก็รู้สึกสงสารและเห็นใจในชะตากรรมของเขาทั้งสอง แต่เรื่องของเวรกรรมนั้นขึ้นอยู่กับการกระทำ ไม่มีใครสามารถลบล้างความผิดได้” พระครูศรีนนทวัฒน์ กล่าว

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ่า อาบ้านตรงข้ามผม มาบอกผมว่า แกมีอยู่ 2 มีพระนางพญา และ พระรอด

    ผมยังไปขอชมอยู่บ่อยๆ

    เอ๊ะ เจ้าของวัดไ....... และพี่ท่านนึง ผมได้ยินแว่วๆมาว่า มีครบครับ
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์เผย ในหลวง-ราชินี ทรงห่วงไทยทะเลาะกัน



    [​IMG]

    [​IMG]
    ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ


    ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ร่ำไห้ เผย"ในหลวง -ราชินี"อยากให้ไทยอยู่รอด-สามัคคี เรียกร้องเลิกทะเลาเบาะแว้ง (มติชนออนไลน์)

    "วสิษฐ" เผย "ในหลวง-ราชินี"กำลังโดนคนบางพวกลบหลู่ ให้ร้าย โจมตีอย่างโจ่งครึ่ม ใช้เว็บไซต์เถื่อนเป็นเครื่องมือ ขณะที่ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ร่ำไห้บนเวทีอภิปราย เผยทั้ง 2 พระองค์ ทรงอยากเห็นเมืองไทยอยู่รอด เรียกร้องอย่าขัดแย้งกัน อย่าทะเลาะเบาะแว้งกันเลย

    เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ที่หอประชุมกองทัพเรือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กองทัพเรือ และสำนักราชเลขาธิการ ร่วมกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ "ร้อยดวงใจ เทิดไท้องค์ราชินี" พร้อมทำพิธีเปิดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนัก ราชเลขาธิการ ระยะที่ 2 เว็บไซต์เผยแพร่พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมี ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ และนายอาสา สารสิน ราชเลขาธิการ ร่วมเป็นประธานเปิดงาน

    ในงานดังกล่าวมีการบรรยายพิเศษหัวข้อ "พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย" โดยท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

    ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ นางสนองพระโอษฐ์ที่ถวายงานรับใช้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาประมาณ 40 ปี กล่าวว่า ทุกคนทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2498 ไม่ว่าจะทุรกันดารอย่างไรทั้งสองพระองค์ทรงเสด็จฯไปทุกหนทุกแห่ง พระองค์จะสอนเสมอว่าให้คุยกับราษฎรอย่างเคารพนบนอบ คิดว่าเขาเป็นพี่เป็นน้อง

    ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ กล่าวอีกว่า ไม่เฉพาะคนยากคนจนตามต่างจังหวัดเท่านั้นที่ทรงช่วยเหลือ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังทรงช่วยเหลือประชาชนในเรื่องต่างๆ อีกด้วย เช่น ครอบครัวได้รับอุบัติเหตุจากการปาหิน วัยรุ่นอาชีวะที่ถูกลูกหลงจากการทะเลาะวิวาทของ 2 สถาบัน เด็กชายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือเด็กชาวเขากำพร้า 2 คนที่เขียนจดหมายร้องทุกข์มายังสำนักพระราชวังขอพระราชทานความช่วยเหลือ ซึ่งพระองค์ทรงช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้เป็นอย่างดี

    ในตอนท้าย ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ กล่าวพร้อมร่ำไห้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงทำทุกสิ่งทุกอย่างให้กับคนไทย ทรงทำมาอย่างยาวนาน แต่ทุกคนได้มีความคิด ได้เล่าต่อกันหรือไม่ ทุกพระราชกรณียกิจ ทุกโครงการของพระองค์ ไม่เคยหนีจากประชาชน แล้วไม่เคยเอาอะไรมาเป็นของพระองค์เลย ทรงทำให้กับแผ่นดิน ทรงทำให้กับประชาชน

    "สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงห่วงใยประชาชนตลอดเวลา พระองค์มีแต่ให้ (น้ำเสียงขาดหายไป ก่อนที่จะพูดออกมาด้วยน้ำเสียงอันสั่นเครือ) แล้วสิ่งที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงให้มา ก็คือสิ่งที่ถาวร ทรงทำทุกอย่างให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ให้ประชาชนมีกินไปชั่วลูกชั่วหลาน" ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ กล่าว

    ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ กล่าวอีกว่า พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในโครงการต่างๆ มันไม่ได้เป็นตัวเงิน ที่เอามาแจก คนนั้นเอาไปเท่านี้ คนนี้เอาไปเท่านั้น เงินใช้เมื่อไหร่ก็หมด แต่ว่าสิ่งที่พระองค์ให้เป็นสิ่งถาวร เป็นสิ่งที่จะอยู่คู่กับบ้านเรา คู่กับแผ่นดินเรา ทรงให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ เชิดหน้าชูตาประเทศชาติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงทำงานศิลปาชีพขึ้นมา เป็นมรดกของชาติให้ ไปดูได้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม กว่าจะทำขึ้นมาได้ ยากเย็น

    "งานเหล่านี้ไม่ได้ทำวันนี้ พรุ่งนี้เสร็จ แต่ทรงทำมานับ 10 ปี ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งนั้น จนบัดนี้ มรดกของชาติทั้งถมทอง งานคร่ำ ที่เกือบจะสูญหายไปถูกนำกลับมาสืบสานไว้แล้ว อยากให้ทุกคนได้มองเห็นสิ่งเหล่านี้ และมองดูพระองค์ด้วยว่า ทรงทำงานอย่างไร พูดภาษาง่ายๆ พระองค์ทรงทำงานด้วยหัวใจ ทรงทำงานทุ่มเททั้งหัวใจของพระองค์ให้กับประชาชนคนไทยด้วยความรัก" ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ กล่าวน้ำเสียงสั่นเครือ (น้ำตาเริ่มไหล)

    รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ทั้งสองพระองค์ ทรงมีพระชนมายุมากแล้ว ทำไมพวกเราถึงไม่ตอบแทนพระองค์ด้วยการทำให้พระองค์ชื่นใจ เห็นผลงานที่ทรงทำตรงนั้นตรงนี้ ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข เมืองไทยเชิดหน้าชูดตาได้ คนไทยเก่ง คนไทยมีเมืองไทยที่งดงาม สวยงาม ทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ รุ่นโต ถ่ายทอดกันมาเป็นสังคมไทยที่อยู่เย็นเป็นสุข ในวันที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุมากแล้ว เราให้อะไรกับพระองค์บ้าง ให้ความชื่นใจอะไรกับพระองค์บ้าง (พูดพลางร้องไห้ น้ำเสียงสั่นเครือ)

    "ทรงไม่ต้องการอะไรเลย ต้องการอย่างเดียว ทรงอยากเห็นเมืองไทยอยู่รอด คนไทยด้วยกันสามัคคีกัน ช่วยกันธำรงชาติบ้านเมืองให้ยั่งยืนต่อไป อย่าขัดแย้งกัน อย่าทะเลาะเบาะแว้งกันเลย ทรงทำมาตลอด 60 ปี ทำไมคนไทยถึงปล่อยให้พระองค์เห็นคนไทยเป็นอย่างนี้ ทำไมไม่ทำให้พระองค์ชื่นใจ" ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์กล่าวและ ได้เชิญชวนเหล่าทหารเรือที่มาร่วมฟังการบรรยายนับร้อยคนลุกขึ้นร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี



    [​IMG]



    ด้าน พล.ต.อ.วสิษฐ กล่าวว่า เคยรับราชการเป็นหัวหน้านายตำรวจประจำราชสำนัก ถวายความปลอดภัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 12 ปี ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใช้ใกล้ชิดทำให้ได้ตระหนักถึงน้ำพระทัยของทั้งสอง พระองค์ที่มีต่อประชาชนคนไทยเป็นอย่างมาก สำหรับสมเด็จพระนางเจ้าฯ นอกจากทรงเป็นแม่ของพระราชโอรสและพระราชธิดาแล้ว ยังทรงเป็นแม่ของแผ่นดินด้วย

    "ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ฯ จนบัดนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงไม่เคยห่างจากพระองค์เลย อะไรที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงมีส่วนร่วมรู้เห็นตลอดเวลา ในสมัยที่ผมรับราชการเบื้องพระยุคลบาทเป็นสมัยที่บ้านเมืองไม่สงบจากพวก คอมมิวนิสต์ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ไม่เคยหยุดทรงงาน ไม่ทรงท้อถอยหวั่นเกรง ยังคงเสด็จฯ เยี่ยมประชาชนในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่สีแดงด้วยความห่วงใย พสกนิกรของพระองค์" พล.ต.อ.วสิษฐ กล่าว

    อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ กำลังตกเป็นเป้าของการลบหลู่ การให้ร้าย การโจมตีอย่างโจ่งครึ่มโดยคนบางพวก บางประเภท ตนกล้าเรียนให้ทราบ แม้ไม่มีการยืนยันจากรัฐบาล แต่ตนยืนยันจากความรู้ การสังเกตของตนเอง พบว่า สิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้น ตอนนี้มีเว็บไซต์เถื่อนที่กำลังทำอย่างนี้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ อยู่อย่างต่อเนื่องและไม่หยุดยั้ง และขอเตือนให้ทราบว่าผู้ที่เราเคารพสักการะ ผู้ที่เป็นผู้สืบทอดการปกครองแบบราชาธิปไตยมากว่า 700 ปี กำลังถูกทำลาย โดยคนพวกหนึ่ง สิ่งที่คนไทยต้องตระหนักและช่วยกันคือปกป้อง สถาบันที่อยู่คู่เมืองไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

    "มาวันนี้ขอวิงวอนท่านทั้งหลายว่า แม้ศัตรูจะยังไม่ถืออาวุธ แต่กำลังใช้วิธีย้อมหัวของเรา ย้อมหัวใจของเราให้หลงผิด สิ่งที่ทำได้คืออย่ายอมให้พี่น้อง ลูกหลานเข้าใจผิด แต่ต้องทำความเข้าใจ และเผยแพร่ สอนผู้อื่นให้รู้ว่า เมืองไทยอยู่ได้เพราะ 3 สิ่งนี้ คือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เราต้องทำ ถ้าเราไม่ทำ เราจะเกิดสงครามที่สาหัสมาก อย่าทำให้เกิด แต่ทำได้ด้วยการถ่ายทอดให้ทุกคนรู้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงทำอะไรมาแล้วกว่า 60 ปี ให้เราทุกคนช่วยกัน" พล.ต.อ.วสิษฐ กล่าว

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักราชเลขาธิการ ได้จัดทำเว็บไซต์เผยแพร่พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ www.ohmpps.go.th/queen โดยได้รวบรวมข้อมูล พระราชกรณียกิจ พระบรมฉายาลักษณ์ที่หาชมได้ยาก พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาท ลงในระบบสืบค้นและระบบเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นคลังข้อมูลดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน นำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลปฐมภูมิอันทรงคุณค่า เป็นหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์


    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 89_36.jpe
      89_36.jpe
      ขนาดไฟล์:
      11.7 KB
      เปิดดู:
      149
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 สิงหาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...