พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" height=161 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="103%" border=0><TBODY><TR><TD width="21%" height=161 rowSpan=2>[​IMG]</TD><TD width="58%" height=52>พระราชประวัติ


    </TD><TD width="24%" height=161 rowSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="58%" height=109>ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    กับพระนางเธอพระองค์เจ้ารำเพยภิรมย์ ซึ่งต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น
    สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ตรงกับวันแรม
    ๓ ค่ำ เดือน ๙ ปีฉลู ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
    อันมีความหมายว่าเครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว ทรงมีพระอนุชาและพระขนิษฐา
    ร่วมพระราชชนนีเดียวกัน ๓ พระองค์ ดังมีรายพระนามดังนี้
    ๑. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจันทรมณฑลโสภณภควดี
    สิ้นพระชนเมื่อพระชนมายุ ๙ พรรษา ต่อมาได้รับการสถาปนาพระอัฐิขึ้นเป็น
    สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์

    ๒. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจาตุรนรัศมี
    ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงฯ และได้รับพระอิสริยยศสูงสุด
    เป็นที่ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ต้นราชสกุล จักรพันธุ์

    ๓. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษี
    ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงภานุพันธุ์วงศ์วรเดช
    และได้รับเฉลิมพระยศเป็นที่ กรมพระภานุพันธุ์วงศ์วรเดช ในสมัยรัชกาลที่ 6
    จวบจนสมัยรัชกาลที่ 7 จึงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศให้ขึ้นที่
    สมเด็จพระบรมราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข ทรงเป็นต้นราชสกุล ภาณุพันธุ์

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๙
    ในบรรดาพระราชโอรส พระราชธิดา ๘๒ พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ในปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ขณะพระชามายุ ๙ พรรษา ได้รับการสถาปนาเป็น
    กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ต่อมาเมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ก็ได้เฉลิมพระยศเป็น
    กรมขุนพินิตประชานาถ และในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการในกรมมหาดเล็ก
    กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า และได้โดยเสด็จพระราชบิดาไปทอดพระเนตร
    สุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ จนประชวรด้วยพระโรคไข้ป่าอย่างหนักทั้ง ๒ พระองค์
    และในวันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ สมเด็จพระราชบิดาของพระองค์ก็เสด็จสวรรคต
    บรรดาข้าราชการ ขุนนางตลอดจนพระราชวงศ์ทั้งปวง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญพระองค์
    ขึ้นสืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี
    ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ๑๐ วัน และยังทรงพระประชวรหนักอยู่
    โดยครั้งนั้นมี เจ้าพระยาศร๊สุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
    และได้สถาปนากรมหมี่นวิชัยชาญ ขึ้นเป็นที่สมเด็จพระมหาอุปราช
    ทรงพระนามว่า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
    และในวันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ จึงทรงสละราชสมบัติออกผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา
    แล้วทรงลาผนวชเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖
    หลังจากนั้นจึงทรงเข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน ปีนั้นเอง
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสีและเจ้าจอมรวม ๙๒ พระองค์
    มีพระราชโอรส ๑๒ พระองค์ พระราชธิดา ๔๔ พระองค์
    ในระหว่างที่พระองค์ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัตินั้น
    พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม
    ทรงประกอบพระราชกรณียกิจมากมายสุดคณานับ
    อันนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแห่งราชอาณาจักรสยาม จนเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ
    จวบจนวาระสุดท้ายแห่งพระชนชีพ
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ
    กระทั่งเวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓
    พระองค์ก็ เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ปี
    สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย
    โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้ทรงคิดถวาย
    ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑)
    พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย
    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย
    [​IMG]
    รายพระนามพระอัครมหสี ในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง

    ๑. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตนพระบรมราชเทวี

    (อัครมเหสีองค์แรก) หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม โดยได้พระนามนี้มาก็เพราะว่า
    เรือพระที่นั่งของพระองค์เกิดล่มระหว่างทางเสด็จไปพระราชวังบางปะอินทำให้สิ้นพระชนม์
    พร้อมกับ พระธิดา ที่มีพระชนมายุ เพียง ๒ พรรษา เท่านั้น
    ส่วน สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ก็มีพระชันษา
    ย่างเข้า ๒๑ พรรษา (๑ ปี ๙ เดือน ๒๐ วัน ) และก็กำลังทรงพระครรภ์ ๕ เดือน อยู่ดัวย
    อุบัติเหตุ เกิดที่ บางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓

    ๒. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี
    (อัครมเหสีองค์ที่ ๒) พระองค์ก็คือสมเด็จย่าของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
    ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ต่อมาได้เลื่อนพระยศเป็น
    สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
    สิ้นพระชนม์เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ มีพระชนมายุ ๙๓ พรรษา

    ๓. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
    ทรงเป็น พระราชชนนีใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    พระองค์ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
    ในช่วงที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสยุโรป
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (เสด็จครั้งแรก)
    พระองค์ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระชนม์เมื่อ
    วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ มีพระชนมายุ ๕๖ ปี



    [​IMG]


    กลับหน้าจารึกในสยาม หน้ารัชกาลที่ ๕

    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/ex01.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2007
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/siam_kanhomthai.htm

    ความหมายของ "ขนมไทย" ในงานมงคล
    [​IMG]
    ขนมไทย เป็นขนมหวานของไทยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถือเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติซึ่งอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน ในสมัยก่อนขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล งานประเพณี งานประเพณี งานทางศาสนา หรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ที่เห็นมีขนมหลากหลายกินทุกวันหลังสำรับคาวหวาน หรือกินเป็นของว่าง ก็ล้วนแต่คิดประดิดประดอยขึ้นภายหลังแล้วทั้งสิ้น รวมถึงขนมจากต่างชาติที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการเมืองก็ถูกดัดแปลงให้มีรูปรสลักษณะเป็นแบบไทยๆ จนบางที่คนนึกกันไปว่าเป็นขนมไทยแท้ดั้งเดิมก็มี แต่แท้ที่จริงแล้วขนมไทยแท้ๆนั้น จะมีส่วนประกอบเพียงสามอย่าง คือ แป้ง น้ำตาล มะพร้าว โดยการทำขนมไทยนี้เป็นการบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของคนไทยในเรื่องความอดทน ใจเย็น ละเอียดลออ และช่างสังเกต ทั้งยังได้แฝงความหมายอันลึกซึ้งไว้ในชื่อของขนมไทยแต่ละอีกชนิดด้วย
    ขนมทองหยิบ ทองหยอด ทองพลู ทองโปร่ง ทองม้วน ทองเอก เป็นขนมมงคล เชื่อกันว่าจะมีเงินทองใช้อย่างล้นเหลือไม่รู้จักหมดสิ้น
    ขนมเม็ดขนุน มีในงานมงคลต่างๆ ให้ความหมายว่า ทำกิจการใดก็จะมีคนคอยสนับสนุน ค้ำจุน ช่วยเหลือไม่มีวันตกต่ำ
    ขนมชั้น นิยมทำในงานฉลองยศ เพราะหมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์ คนไทยในสมัยโบราณทำขนมถึง 9 ชั้น ถือเคล็ดกันว่าจะได้ก้าวหน้า
    ข้าวเหนียวแดง กาละแม เป็นขนมที่นิยมทำกันในช่วงงานเทศกาลสงกรานต์ปีใหม่ไทย เนื่องต้องอาศัยหลายแรงมาช่วยกันกวนขนม จึงถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยมิตรไมตรี อันจะเป็นความดีงามในชีวิตภายภาคหน้าสืบต่อไป
    ขนมข้าวเหนียวแก้ว หากมีขนมนี้ใช้ในงานมงคลใดๆชีวิตก็จะมีความเหนียวแน่น เป็นปึกแผ่นมั่นคง
    ขนมฝอยทอง หากใช้ในงานแต่งงาน ถือเคล็ดกันว่า ห้ามตัดให้สั้นต้องปล่อยให้ยืดยาวอย่างนั้น เพราะคู่บ่าวสาวจะได้รักกันยืนยาวและครองคู่อยู่ด้วยกันตลอดไป
    ขนมจ่ามงกุฎ นิยมทำกันในงานฉลองยศ ฉลองตำแหน่ง เพราะมีความหมายว่าจะมีลาภยศอันสูงส่ง เป็นนิมิตหมายอันดีในหน้าที่การงานสืบไป
    ขนมเทียนหรือขนมนมสาว ให้ความหมายถึงความสว่างไสว ความรุ่งโรจน์ของชีวิต
    ขนมพอง ขนมลา ขนมไข่ปลา ขนมดีซำ เป็นขนมที่ใช้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ ทำกันในงานเทศกาลสารทของชาวใต้ มีความหมายต่างกันไป เช่น ขนมพองแทนพาหนะ ขนมลาแทนเครื่องนุ่งห่ม ขนมไข่ปลาแทนเครื่องประดับ ขนมดีซำใช้ต่างแหวน กำไล เป็นต้น
    ข้าวต้มมัด มีในงานตักบาตรเทโว เล่ากันว่าเกิดจากชาวเมืองไปคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้า แล้วจะทำบุญตักบาตรด้วยข้าวต้มมัดเพราะเป้นของสะดวกและกินง่าย ส่วนข้าวต้มลูกโยน บ้างก็ว่าชาวบ้านที่ไปเบียดเสียดต้องการจะตักบาตรแต่เข้าไปไม่ถึง องค์พระพุทธเจ้าจึงต้องใช้วิธีโยนข้าวต้มนี้เอา
    ขนมถ้วยฟู ขนมปุยฝ้ายมีความหมายว่าความรุ่งเรืองความเฟื่องฟูของชีวิต
    ขนมโพรงแสมเป็นขนมแต่งงานที่เก่าแก่และมีมานานชนิดหนึ่ง โบราณท่านเปรียบขนมนี้ว่า เสมือนเสาบ้านที่คูบ่าวสาวจะอยู่กันได้ยั่งยืนตลอดไป
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/siam/wandek.htm

    คำขวัญวันเด็กตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 - ปัจจุบัน
    สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
    • <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2502 ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2503 ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2504 ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2505ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2506 ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียร
    • พ.ศ. 2507 ---งดจัดงานวันเด็ก --- (เนื่องจากมีการกำหนดวันเด็กแห่งชาติใหม่จากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมเป็นเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ทำให้ไม่สามารถดำเนินการจัดงานได้ทัน จึงได้เลื่อนไปจัดในปี 2508)
    สมัยจอมถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
    • <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2508 เด็กจะเจริญต้องรักเรียนและเพียรทำดี<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2509 เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะบากบั่น และสมานสามัคคี<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2510 อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เรียนดี และ มีความประพฤติเรียบร้อย<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2511 ความเจริญและความมั่นคงของไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2512 รู้เรียนรู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2513เด็กประพฤติดีและศึกษาดีทำให้มีอนาคตแจ่มใส<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2514 ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2515 เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
    • พ.ศ. 2516เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
    สมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
    • <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2517 สามัคคีคือ พลัง
    • พ.ศ. 2518เด็กคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความดี
    สมัย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
    • พ.ศ. 2519เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี
    สมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี
    • พ.ศ. 2520 รักชาติศาสน์ กษัตริย์ เป็น คุณสมบัติของเยาวชนไทย
    สมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
    • <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2521 เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2522เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
    • พ.ศ. 2523 อดทน ขยันประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
    สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
    • <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2524 เด็กไทยมีวินัย ใจซื่อสัตย์ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2525 ขยัน ศึกษาใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2526 รู้หน้าที่ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย และคุณธรรม<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2527 รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดี มีความคิด สุจริต ใจมั่น หมั่นศึกษา<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2528 สามัคคีมีวินัย ใฝ่คุณธรรม<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2529 นิยมไทยใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2530 นิยมไทยมีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2531 นิยมไทยมีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    • พ.ศ. 2532 รักชาติศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี
    • <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2533 รักชาติศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    • พ.ศ. 2534 รู้หน้าที่มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
    สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
    • พ.ศ. 2535 สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
    สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
    • <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2536ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2537 ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    • พ.ศ. 2538สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    สมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี
    • พ.ศ. 2539 มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
    สมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี
    • พ.ศ. 2540รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพย์ติด
    สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
    • <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2541 ขยันซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2542 ขยันซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย<LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2543 มีวินัยใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
    • พ.ศ. 2544 มีวินัยใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
    สมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
    • <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2545เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2546เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2547รักชาติ รักพ่อ แม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่น <LI class=MsoNormal>พ.ศ. 2548 เด็กรุ่นใหม่ต้อง ขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
    • พ.ศ. 2549 เด็กฉลาดต้องขยันอ่าน ขยันคิด
    สมัยพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
    • พ.ศ. 2550 มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/siam_name_bangkok.htm

    ความเป็นมาของการขนานนามและเรียกชื่อ...กรุงเทพมหานคร
    [​IMG]

    กรุงเทพมหานคร ราชธานีแห่งที่ ๔ ของไทย ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี และยังสามารถดำรงความเป็นราชธานีอยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้
    หากย้อนกลับไปในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี กรุงเทพมหานคร เป็นเพียงที่ตั้งของชุมชนเล็กๆบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/story_7.htm

    การแสดงบารมีในราชสำนักฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่ 5
    [​IMG]
    ราชสำนักฝ่ายใน ... ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวนั้น มีผู้นิยมวิ่งเต้นส่งบุตรหลานเข้าไปถวายตัวเป็นข้าหลวงในวังมากเป็นจำนวนมาก ผู้ใดมีช่องทางคุ้นเคยรักใคร่กับใคร ก็ช่วยชักนำกันถวายตัวเป็นข้าหลวงของบรรดาเจ้านายพระบรมวงศ์ พระมเหสี หรือเจ้าจอมชั้นผู้ใหญ่ เพื่อที่จะมีโอกาสได้รับการฝึกฝนขนบธรรมเนียม จรรยามารยาท และวิชาการชั้นสูงต่างๆ สำหรับกุลสตรี ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นโอกาสอันดีในการแสวงหาโชควาสนา ที่จะได้ถวายตัวรับราชการเป็นข้าหลวงพนักงาน หรือจนกระทั่งอาจได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้รับไว้เป็นข้าบาทบริจาริกา
    การที่บรรดาพระบรมวงศ์ พระภรรยาเจ้าและพระภรรยามีบริวารในสังกัดเป็นจำนวนมากนี้ จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในสังคมไทย ตลอดจนการแสดงถึงอำนาจบารมีของเจ้านายในแต่ละสำนัก ทั้งยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้านายผู้เป็นเจ้าสำนักกับองค์พระมหากษัตริย์ ในกรณีที่ผู้เข้ามาถวายตัวเป็นข้าในสำนักนั้นเกิดเป็นที่โปรดปราน จนได้เป็นบาทบริจาริกา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสตรีที่เข้ามาสู่บารมีของเจ้านายในแต่ละสำนักนั้นมักเป็นญาติ หรือญาติของผู้พำนักอยู่ในสำนักนั้น หรือขุนนางที่เจ้าสำนักคุ้นเคยหรือไว้วางใจ
    ในต้นรัชกาลเจ้าสำนักส่วนใหญ่มักเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในชั้นผู้ใหญ่ เช่น สำนักของสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ซึ่งดำรงพระอิสริยยศเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี เนื่องจากได้ทรงเป็นผู้ถวายการอภิบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยสำนักของพระองค์นั้นมีข้าราชสำนักมาจากหลายสายสกุล และหลายท่านได้เลื่อนฐานะเป็นพระภรรยาเจ้าและพระภรรยา นอกจากนี้ยังมีสำนักของพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมวดี กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ พระพี่นางพระองค์ใหญ่ และสำนักท้าววรจันทร (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4) ซึ่งเป็นท้าวนางผู้ใหญ่ มีหน้าที่บังคับบัญชาพระสนมกำนัลท้าวนาง เถ้าแก่ พนักงานมโหรีฝ่ายใน ตลอดจนข้าราชการฝ่ายในทุกระดับชั้น สำนักกรมหลวงวรเสรฐสุดา (พระองค์เจ้าบุตรี) พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3 โดยพระองค์เจ้าบุตรีนี้ทรงเคยเป็นผู้ถวายอภิบาลสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 5
    ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระภรรยาเจ้า และพระภรรยามากขึ้น จึงได้แยกสำนักออกมาจากเจ้านายที่เคยสังกัดอยู่ โดยพระภรรยาเจ้า และพระภรรยาที่จะสามารถมีสำนักเป็นของตนเองได้นั้น ต้องอาศัยคุณสมบัติหลายประการ เช่น ด้านชาติตระกูล มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเป็นที่โปรดปราน หรือได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนเป็นที่โปรดปราน เป็นต้น สำนักที่มีบทบาทสำคัญได้แก่
    สำนักของ
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/word-thai13.htm

    น้ำพริกผัด กับ น้ำพริกเผา

    ม.ล. เนื่อง นิลรัตน์ อดีตข้าหลวงในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี ได้อธิบายความแตกต่างระหว่าง "น้ำพริกเผา" กับ "น้ำพริกผัด" ไว้ดังนี้
    "...พูดถึงน้ำพริกเผา ต้องกล่าวถึงเสียหน่อย น้ำพริกเผาในวังไม่เหมือนน้ำพริกเผาที่ขายเกลื่อนตามตลาดเดี๋ยวนี้ น้ำพริกใส่ขวดขายเดี๋ยวนี้ปิดฉลากว่า น้ำพริกเผา เปิดฝาออกน้ำมันลอยหนาเต็มขวด อย่างนี้ในวังเรียกว่า "น้ำพริกผัด" เพราะเมื่อเคล้าผสมเสร็จแล้ว ต้องเอาใส่กระทะผัด ขณะตำใส่กากหมูลงไปด้วยเล็กน้อย เวลาเอาขึ้นผัดน้ำมันจึงออกมาจากกากหมูเป็นมันลอย ในวังใช้สำหรับทาข้าวตังปิ้งหรือขาดตังทอด ทาขนมปังกรอบ ทาขนมปังปอนด์ เอาไว้ใช้เป็นเครื่องว่างของเจ้านายเล็กๆ น้ำพริกผัดนี้เก็บไว้ไม่ได้นาน จะกินได้อย่างมากเดือนเดียว ทิ้งไว้นานเหม็นหืน
    ส่วนน้ำพริกเผาไม่มีอะไรเกี่ยวกับน้ำมัน เขาเผาพริกแห้งบางช้างเม็ดใหญ่ๆ เอามาล้างน้ำเอาเม็ดออกให้หมด ใส่กระด้งตากแดดให้แห้งสนิท ปอกหัวหอมเล็กหั่นฝอย ตากแดดให้แห้กรอบ หั่นกระเทียมหัวเล็กไม่ต้องปอกเปลือก หั่นขวางหัวใส่กระด้งฝัดเอาเปลือกบางๆ ปลิวออกไป แล้วตากแดดให้แห้ง เมื่อทั้ง ๓ อย่างแห้งดีแล้วเอามาแยกกันคั่วไฟอ่อนๆ แต่ละอย่างให้กรอบ แยกตำแต่ละอย่างให้ละเอียด แล้วเอาใส่ "แล่ง" กรองอีกทีจะได้ละเอียดแบบยานัตถุ์เลย แล้วเขาเอาทั้ง ๓ อย่างมารวมกันในหม้อเอากุ้งแห้งตัวโตๆ ที่ป่นแล้วไว้เป็นปุย เอาใส่รวมลงไปแล้วใส่น้ำปลาดีชั้นหนึ่ง ใส่น้ำตาลทรายเหยาะนิดเดียว อย่าให้ออกหวาน ต้องการเค็มรสเดียว คนให้เข้ากันอยู่นาน จนเข้ากันดีแล้วจึงนำขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ อย่าหยุดมือคนเพราะจะไหม้ด้วยน้ำพริกผสมข้น ได้ที่แล้วเอาลงมา พอเย็นตักใส่ขวดโหล เก็บไว้ใช้ในห้องเครื่องได้เป็นปี ไม่มีน้ำมันที่จะเหม็นหืน ไม่มีการเสียหรือราขึ้น เขาไว้ใช้ใส่แกงต้มยำ ไว้พล่า ไว้ยำ ไว้ละลายกับน้ำปลามะนาวน้ำตาลเป็นเครื่องจิ้ม จะทาข้างตังขนมปังสด-แห้งกินได้ทั้งนั้น..." (พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เจ้าตำรับเครื่องต้นวังสวนสุนันทา : ดวงฤทธิ์ แคล้วปลอดทุกข์ : นิตยสารศิลปากร)
    คงจะได้เห็นกันอย่างชัดเจนแล้วนะครับว่าน้ำพริกเผา กับน้ำพริกผัด แตกต่างกันอย่างไร นำพริกชนิดไหนควรเรียกว่า "น้ำพริกเผา" น้ำพริกชนิดไหนควรเรียกว่า "น้ำพริกผัด" และสูตรการทำน้ำพริกทั้ง 2 ชนิดนี้ในวังทำแตกต่างอย่างไรกับปัจจุบัน

     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/article/Queen_Nares.htm

    แกะรอย "หลังบ้าน" สมเด็จพระนเรศ ในเอกสารต่างชาติ
    วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 28 ฉบับที่ 03
    สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์
    + + + + +

    พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่ถูกชำระเรียบเรียงขึ้นในสมัยศรีอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มักจดบันทึกเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศ (หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สมเด็จพระนเรศวร) ไว้แต่เฉพาะเรื่องการศึกสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้านข้างเคียง จนมองข้ามเรื่องราวส่วนพระองค์ที่เกี่ยวเนื่องกับเจ้านายฝ่ายในหรือ "หลังบ้าน" ในภาษาชาวบ้านสามัญยุคปัจจุบัน

    แม้พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาจะมิได้กล่าวถึง "หลังบ้าน" หรือพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศไว้เลย แต่เรื่องราวของบรรดาพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศกลับไปปรากฏอยู่ในเอกสารต่างชาติถึง ๕ ฉบับด้วยกัน คือ จดหมายเหตุบาทหลวงมาร์เซโล เด ริบาเดเนอิรา ของสเปน, จดหมายเหตุฟานฟลีตของฮอลันดา, พงศาวดารละแวกของเขมร, คำให้การขุนหลวงหาวัดและพงศาวดารของพม่า


    สมเด็จพระอัครมเหสีของสมเด็จพระนเรศ ในจดหมายเหตุสเปน

    History of the Philippines and Other Kingdom เป็นจดหมายเหตุสเปนที่บาทหลวงมาร์เซโล เด ริบาเดเนอิรา (Marcelo de Ribadeneira, O.F.M.) เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของบาทหลวงนิกายฟรานซิสกัน ที่เคยพำนักอยู่ในพระนครศรีอยุทธยาระยะหนึ่ง ซึ่งพรรณนาถึงกรุงพระนครศรีอยุทธยาในห้วง พ.ศ. ๒๑๒๕ ปลายรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๑๒-๓๓) และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๓๙ ในต้นรัชสมัยสมเด็จพระนเรศ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๓๓-๔๘)

    เนื้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่งมีสมเด็จพระอัครมเหสีและพระราชโอรสผู้ทรงพระเยาว์โดยเสด็จมาด้วย ข้าพเจ้าเห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากพระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์นี้หมายถึงสมเด็จพระนเรศแล้ว ข้อถกเถียงเรื้อรังเกี่ยวกับเรื่องที่สมเด็จพระนเรศมีพระราชโอรสหรือไม่นั้นจะยุติลงในฉับพลันทันที จดหมายเหตุบาทหลวงมาร์เซโล เด ริบาเดเนอิรา เล่าว่า

    "...ครั้งหนึ่งบาทหลวงนิกายฟรานซิสกันได้เห็นพระเจ้าแผ่นดินประทับในเรือพระที่นั่งที่ตกแต่งประดับประดาแล้วล้วนไปด้วยพระปฏิมากร เพื่อจะเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระอารามแห่งหนึ่ง มีเรือสี่ลำแล่นล่วงหน้าไปก่อนเรือพระที่นั่ง เพื่อเป็นการค้ำประกันความปลอดภัยของพระเจ้าแผ่นดิน เรือเหล่านี้บรรทุกผู้คนเป่าแตรเงินเล็กๆ เพื่อป่าวประกาศการเสด็จพระราชดำเนินถึง บรรดาเรือล้วนมีรูปทรงวิจิตรพิสดารและแกะสลักอย่างน่าพิศวงด้วยรูปปฏิมาประดับประดาอย่างหรูหรา ก่อเกิดความรู้สึกประทับใจถึงโขลงช้างที่ลอยเหนือน่านน้ำ ด้วยเรือเหล่านี้ลอยเลื่อนไปเบื้องหน้าและท้ายเรือโลดทะยาน

    "เรือสี่ลำเหล่านี้หยุดที่พระอารามแห่งหนึ่งบนชายฝั่ง เพราะพวกเขาคาดหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเจริญพระพุทธมนต์และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตามติดมาอย่างใกล้ชิดเรือสี่ลำนั้นเป็นเรืออื่นๆ อีกหลายลำที่ใหญ่กว่านั้น แต่ละลำบรรทุกผู้คนมากมายที่แต่งกายด้วยเครื่องแบบประเภทต่างๆ เรือแต่ละลำมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แห่งราชสำนัก ๑ คน แล้วจากนั้นเป็นพระราชกุมารพระองค์เยาว์ที่สุดในพระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จปรากฏพระองค์ในเรือพระที่นั่งที่ตกแต่งอย่างหรูหรามาก ตามติดมาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีและสาวสรรกำนัลใน สมเด็จพระอัครมเหสีประทับแต่เพียงลำพังพระองค์ และบรรดานางกำนัลนั่งในเรือลำอื่นที่ตกแต่งอย่างน่าอัศจรรย์ และกั้นด้วยม่านอย่างรอบคอบจนเป็นไปได้ที่จะสามารถมองผ่านม่านจากภายในออกมาสู่โลกภายนอกได้ โดยที่คนภายนอกไม่เห็นคนภายใน

    "สุดท้ายที่มาถึงในกระบวนพยุหยาตราโดยชลมารคคือองค์พระมหากษัตริย์ ประทับในเรือพระที่นั่งขนาดกว้างใหญ่ที่ดูแต่ไกลเหมือนนกกระยางตัวมหึมาที่แผ่ปีกอันกว้างใหญ่ออกมา เป็นเรือพระที่นั่งปิดทองทั้งองค์ และโดยที่ฝีพายมีเป็นจำนวนมาก อิริยาบถในการพายของพวกเขาจึงดูเหมือนนกตัวใหญ่เหินลมเหนือท้ายเรือพระที่นั่ง พระเจ้าแผ่นดินประทับเหนือพระราชบัลลังก์ เคียงข้างพระองค์เป็นสาวน้อยผู้เลอโฉมข้างละ ๒ คนคอยถวายอยู่งานโบกพัด เพื่อให้พระองค์ทรงสดชื่นจากความร้อนระอุของดวงอาทิตย์ ทันทีที่เรือพระที่นั่งหยุดลง ฝูงชนก็ผลักดันกันไปข้างหนึ่งและหมอบราบลง และยกมือขึ้นประนมในลักษณาการศิโรราบจนกระทั่งพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินผ่านไป แล้วเรือพระที่นั่งของพระราชกุมารผู้ทรงพระเยาว์ก็ติดตามมาพรั่งพร้อมด้วยเหล่าขุนนางชั้นสูง

    "เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินถึงพระอาราม พระองค์ได้รีบเสด็จไปถวายเครื่องราชสักการะแด่พระปฏิมากรทั้งหลาย และหลังจากนั้นพระองค์ได้เสด็จลงสรงสนานกลางสระน้ำใสในปริมณฑลของพระอาราม บรรดาเจ้าพนักงานภูษามาลาและชาวที่ได้อัญเชิญน้ำสรงปริมาณหนึ่งไว้เพื่อสักการบูชา และพวกเขาได้อยู่งานถวายพระมูรธาภิเษก จนกระทั่งพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่พระราชวัง"

    แม้เรื่องราวของเหตุการณ์จะไม่อาจระบุได้อย่างแน่ชัดว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามที่เสด็จฯ ทางชลมารคครั้งนั้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชผู้พ่อหรือสมเด็จพระนเรศผู้ลูกกันแน่ แต่เหตุการณ์ในลำดับถัดไปกลับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ช่วยในการไขปริศนาในข้อนี้ได้ จดหมายเหตุบาทหลวงมาร์เซโล เด ริบาเดเนอิรา เล่าต่อไปว่า

    "บรรดาบาทหลวงของนิกายฟรานซิสกันของเราได้มีโอกาสอันหายากยิ่งในการที่ได้เห็นการเสด็จออกรับแขกเมืองจากกัมพูชา ได้มีการสร้างบ้านพักทันทีสำหรับคณะราชทูต เป็นบ้านพักที่กว้างขวางและตกแต่งประดับประดาอย่างหรูหรา ใกล้ที่พักนั้นเป็นหอสูงทรงแคบที่พวกเขาได้จารึกชื่อและความเป็นมาของคณะราชทูตกัมพูชาโดยจารเป็นตัวอักษรเขมร ด้วยพิธีกรรมอันเอิกเกริกตามควรแก่ฐานะของคณะราชทูต พวกเขาได้กระตุ้นให้ฝูงชนโบกธงทิว แกว่งไกวหอก ถือคันธนูและธนู เมื่อการทั้งหลายทั้งปวงเตรียมพร้อมสรรพแล้ว ทหารนักล่า ๖,๐๐๐ คน และทหารธนู ๑๒,๐๐๐ คน ได้ตั้งแถวเรียงรายตามชายฝั่งน้ำ เพื่อต้อนรับการมาถึงของคณะราชทูต แตรเดี่ยวเล็กและแตรทองเหลืองดังกังวานขึ้นในอากาศ เมื่อราชทูตขึ้นบก ราชทูตมีข้าราชสำนักชั้นสูงติดตามไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินซึ่งประทับรอคอยเขาอยู่อย่างสง่างาม"

    เมื่อนำเอาเหตุการณ์ในจดหมายเหตุสเปนมาสอบเทียบเคียงกับพระราชพงศาวดารฯ พระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ของไทย พบว่ารัชกาลสมเด็จพระนเรศมีการกล่าวถึงพระราชพิธีอาสวยุทธและการต้อนรับคณะทูตกัมพูชาที่เดินทางมาถวายเครื่องราชบรรณาการยังราชสำนักศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับเหตุการณ์ที่พระเจ้าแผ่นดินสยามเสด็จฯ ทางชลมารคและการเสด็จออกรับทูตกัมพูชาในจดหมายเหตุสเปน ความว่า

    "ลุศักราช ๙๔๕ ปีมะแมศกเบญจศก สมเด็จพระนเรศเป็นเจ้า ครั้นเสร็จการพระราชพิธีอาสวยุทธแล้ว มีพระราชบริหารสั่งให้เกณฑ์ทัพเตรียมไว้ และพลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย กำหนดเดือนอ้ายจะยกไปตีกรุงกัมพูชาธิบดี..."

    "ลุศักราช ๙๔๙ ปีกุนนพศก ราชบุตรนักพระสัฏฐาผู้เป็นพญาละแวก เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จไปปราบ ขณะเมื่อทหารข้าหลวงเข้าเมืองละแวกในเพลากลางคืนนั้น ราชบุตรมาอยู่หน้าที่ ครั้นทัพไทยเข้าเมืองได้แล้วความกลัวก็มิได้ไปหาบิดา หนีออกจากหน้าที่กับบ่าวประมาณ ๓๐ คน เข้าป่า พากันหนีไปถึงแดนเมืองล้านช้าง ครั้นรู้ข่าวว่ากองทัพหลวงเสด็จพระราชดำเนินกลับไปกรุงพระมหานครศรีอยุธยาแล้ว ก็พากันกลับมายังเมืองละแวก เสนาบดีที่เหลืออยู่กับสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรจึงพร้อมกันยกพระราชบุตรท่านขึ้นราชาภิเษกเป็นพญาละแวกครอบครองแผ่นดินแทนบิดา

    "พญาละแวกครั้นได้ครองสิริสมบัติแล้ว ก็อุตสาหะบำรุงสมณพราหมณาจารย์โดยยุติธรรมราชประเพณีมาได้เดือนเศษ จึงตรัสปรึกษาเสนาบดีกระวีมุขทั้งหลายว่า แต่ก่อนพระราชบิดาเราไปกระทำเสี้ยนหนามต่อกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา มิได้เกรงพระเดชเดชานุภาพ สมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์อันทรงอิศวรภาพดุจสุริยเทวบุตรจันทรเทวบุตรอันมีรัศมีสว่างโลกธาตุ ความพินาศฉิบหายจึงถึงพระองค์แลญาติประยูรวงศ์ในกรุงกัมพูชาธิบดี แลครั้งนี้เราจะทำดุจพระบิดานั้นมิได้ ว่าจะอ่อนน้อมขอเอาพระเดชเดชานุภาพสมเด็จพระเจ้ากรุงเทพมหานครศรีอยุทธยาเป็นที่พึ่งที่พำนัก ความสุขสวัสดีจะได้มีแก่เรา ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด เสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวงกราบทูลว่า ซึ่งพระองค์ดำรัสนี้ควรนัก ขอพระราชทานให้แต่งดอกไม้เงินทองเครื่องราชบรรณาการ มีพระราชสาสน์ไปอ่อนน้อมโดยราชประเพณีเมืองขึ้นเมืองออกกรุงเทพมหานครแล้ว ความสิริสวัสดีพิพัฒนมงคลก็จะบังเกิดมีไปตราบเท่ากัลปาวสาน

    "พญาละแวกได้ฟังดังนั้นยินดีนัก จึงให้แต่งดอกไม้ทองเงิน จัดเครื่องราชบรรณาการเป็นอันมาก แล้วแต่งลักษณะราชสาสน์ให้ออกญาวงศาธิบดี พระเสน่หามนตรี หลวงวรนายก เป็นทูตานุทูตจำทูลพระราชสาสน์ คุมเครื่องราชบรรณาการมา

    "ครั้นถึงด่านปราจีนบุรี กรมการก็คุมทูตานุทูตเข้าไปยังกรุงเทพมหานคร เสนาบดีนำเอากิจจานุกิจกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัวดำรัสให้เบิกทูตเฝ้า ณ มุขเด็จหน้าพระที่นั่งมังคลาภิเษก ตรัสพระราชปฏิสันถาร ๓ นัดแล้ว พระศรีภูริปรีชาก็อ่านพระราชสาสน์ในลักษณะนั้นว่า ข้าพระองค์ผู้ครองกรุงอินทปัตถ์กุรุรัฐราชธานี ขอถวายบังคมมาแทบพระวรบาทบงกชมาศ สมเด็จพระผู้จอมมงกุฎราชกรุงทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสถาน ด้วยพระบิดาข้าพระองค์มิได้รักษาขอบขัณฑเสมาโดยราชประเพณี กระทำพาลทุจริตมิได้รู้จักกำลังตนกำลังท่าน มาก่อเกิดเป็นปรปักษ์แก่กรุงเทพมหานคร อุปมาดังจอมปลวกมาเคียงเขาพระสิเนรุราชบรรพต มิดังนั้นดุจมิคชาติตัวน้อยองอาจยุทธนาการด้วยพญาราชสีห์อันมเหศวรศักดานุภาพก็ถึงแก่กาลพินาศจากไอสุริยสวรรยานั้น ก็เพื่อผลกรรมอันได้กระทำมาแต่ก่อน แลข้าพระองค์ครองแผ่นดินเมืองละแวกครั้งนี้จะได้เอาเยี่ยงอย่างพระบิดานั้นหามิได้ จะขอเอาพระเดชเดชานุภาพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ปกเกล้าปกกระหม่อมดุจฉัตรแก้วแห่งท้าวมหาพรหม อันมีปริมณฑลกว้างขวางร่มเย็นไปทั่วจักรวาล ข้าพระองค์ขอถวายสุวรรณหิรัญรัตนมาลาบรรณาการมาโดยราชประเพณี สืบไปตราบเท่ากัลปาวสาน

    "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟัง ก็มีพระทัยเมตตาแก่พระสุธรรมราชา พญาละแวกองค์ใหม่เป็นอันมาก สั่งให้ตอบพระราชสาสน์ไปว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้อาฆาตจองเวรแก่ราชบุตรนัดดานักพระสัฏฐาหามิได้ แลซึ่งบิดาท่านเป็นไปจนถึงกาลนิราลัยนั้น ก็เพื่อเวรานุเวรแต่อดีตติดตามมาให้ผลเห็นประจักษ์ แลให้พญาละแวกองค์ใหม่นี้ครอบครองไพร่ฟ้าประชาราษฎรโดยยุติธรรมราชประเพณีพระมหากษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนนั้นเถิด แล้วสั่งให้เจ้าพนักงานตอบเครื่องราชบรรณาการ แล้วพระราชทานเสื้อผ้าเงินตราแก่ทูตานุทูตโดยสมควร อยู่สามวันทูตก็กราบถวายบังคมลาไปยังกรุงกัมพูชาธิบดี"

    การพระราชพิธีอาสวยุทธที่กระทำกันใน จ.ศ. ๙๔๕ ปีมะแมเบญจศก (พ.ศ. ๒๑๒๖) นั้นน่าจะผิด เพราะปีศักราชดังกล่าวยังคงอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชผู้พ่อ แต่เมื่อสอบกับพระราชพงศาวดารฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์แล้ว ควรปรับเป็น จ.ศ. ๙๕๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๓๖) ช้ากว่ากัน ๑๐ ปี ดังนั้นการต้อนรับทูตกัมพูชาใน จ.ศ. ๙๔๙ ปีกุนนพศก (พ.ศ. ๒๑๓๐) ควรปรับปีศักราชให้ช้าตามไปด้วยอีก ๑๐ ปีเช่นกัน จึงควรเป็น จ.ศ. ๙๕๙ ปีระกานพศก (พ.ศ. ๒๑๔๐) โดยทั้งสองเหตุการณ์จะอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศทั้งสิ้นตรงตามที่กล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารฯ พระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)

    กฎมณเฑียรบาลที่ตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า พระองค์ที่ ๔ (สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) เล่าถึงการพระราชพิธีอาสยุชแข่งเรือ (อาสวยุทธ) ไว้ว่า

    "เดือน ๑๑ การอาสยุชพิทธี มีหม่งครุ่มซ้ายขวา ระบำหรทึกอินทเภรีดนตรี เช้าธรงพระมหามงกุฎราชาประโภค กลางวันธรงพระสุพรรณมาลา เอย็นธรงพระมาลาสุกหร่ำสภักชมภู สมเดจ์พระอรรคมเหสีพระภรรยาธรงพระสุวรรณมาลา นุ่งแพรลายทองธรงเสื้อ พระอรรคชายาธรงพระมาลาราบนุ่งแพรดารากรธรงเสื้อ ลูกเธอหลานเธอธรงศิรเพศมวยธรงเสื้อ พระสนมใส่สนองเกล้าสภักสองบ่า สมรรถไชยเรือต้นสรมุกขเรือสมเดจ์พระอรรคมเหสี สมรรถไชยไกรสรมุกขนั้นเปนเรือเสี่ยงทาย ถ้าสมรรถไชยแพ้ไซ้เข้าเหลีอเกลีออี่มศุกขเกษมเปรมประชา ถ้าสมรรถไชยชำนะไซ้จะมียุข"

    ส่วนพระราชโอรสผู้ทรงพระเยาว์ที่ตามมาในกระบวนเสด็จฯ ทางชลมารคของสมเด็จพระนเรศและสมเด็จพระอัครมเหสีนั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่าพระองค์คงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนเรศที่ประสูติแต่สมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์เดียวกันนี้เอง พระองค์จึงควรมีฐานันดรศักดิ์เป็นที่ "สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า" รัชทายาทผู้มีสิทธิธรรมในราชบัลลังก์ศรีอยุทธยา โดยจะเป็นรองก็แต่สมเด็จเอกาทศรุทรอิศวร (สมเด็จพระเอกาทศรถ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๔๘-๕๓) ซึ่งสมเด็จพระนเรศทรงยกย่องให้เกียรติพระอนุชาร่วมพระชนนีผู้นี้ให้มีฐานะสูงส่งเสมอด้วยพระองค์ ดังพบพระราชพงศาวดารฯ ฉบับความพิสดารเรียกสมเด็จพระนเรศและสมเด็จเอกาทศรุทรอิศวรรวมกันว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์"
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/article/Queen_Nares.htm


    แกะรอย "หลังบ้าน" สมเด็จพระนเรศ ในเอกสารต่างชาติ
    วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 28 ฉบับที่ 03
    สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์
    + + + + +

    "พระมณีรัตนา" พระอัครมเหสีของสมเด็จพระนเรศ
    ในคำให้การขุนหลวงหาวัดของพม่า

    คำให้การขุนหลวงหาวัด (พระราชพงศาวดารแปลจากภาษารามัญ) ความจริงเป็นเอกสารฉบับเดียวกับคำให้การชาวกรุงเก่า (พงศาวดารไทยตามฉบับพม่า) ตามต้นฉบับในหอเมืองร่างกุ้งของพม่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า หลังจากกองทัพพม่าตีพระนครศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าได้จดคำให้การของเชลยศึกที่เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยศรีอยุธยา โดยอาศัยล่ามมอญที่รู้ภาษาไทยจดคำให้การเป็นภาษามอญ แล้วค่อยแปลเป็นภาษาพม่าในภายหลัง ซึ่งปัจจุบันได้ข้อยุติแล้วว่าคำให้การชาวกรุงเก่าเป็นเอกสารฉบับเดียวกับโยธยา ยาสะเวง (พงศาวดารอยุธยา) ของพม่า ได้เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชพระราชบิดาใน จ.ศ. ๙๕๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๒๑๓๓) ความว่า

    "ส่วนพระนเรศวรนั้น ก็เข้าไปกรุงศรีอยุธยา ก็เสด็จเข้าสู่พระราชฐาน อันอัครมหาเสนาบดีและมหาปุโรหิตทั้งปวง จึงทำการปราบดาภิเษกแล้วเชื้อเชิญขึ้นให้เสวยราชสมบัติ จึงถวายอาณาจักรเวนพิภพแล้วจึงถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ และเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้ง ๕ ทั้งเครื่องราชูปโภคทั้งปวงอันครบครัน แล้วจึงถวายพระนามใส่ในพระสุพรรณบัตรสมญา แล้วฝ่ายในกรมจึงถวายพระมเหษีพระนามชื่อพระมณีรัตนา แล้วถวายพระสนมกำนัลทั้งสิ้น แล้วครอบครองราชสมบัติเมื่อจุลศักราช ๙๕๒ ปีขาลโทศก อันพระเอกาทศรถนั้นก็เปนที่มหาอุปราช"

    เมื่อคราวที่สมเด็จพระนเรศเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในกรุงพระนครศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๑๓๓ กรมฝ่ายในได้ทูลเกล้าฯ ถวาย "พระมณีรัตนา" ขึ้นเป็นพระอัครมเหสี พร้อมด้วยพระสนมอีกจำนวนหนึ่ง ตามทรรศนะของข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระนางคงเป็นเจ้าหญิงที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ละโว้สายสุพรรณภูมิของสมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิวรราชาธิราช (ครองราชย์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๐๖ และครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๑๑๐-๑๒) และสมเด็จพระมหินทราธิราช (ครองราชย์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๑๐๖-๑๐ และครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๑๑๒) โดยอาศัยการเทียบเคียงจากพระนามของ "พระรัตนมณีเนตร" เจ้านายฝ่ายในสมัยสมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิวรราชาธิราชที่มีพระนามคล้ายคลึงกัน

    คำให้การขุนหลวงหาวัดเล่าถึงเรื่องราวของพระรัตนมณีเนตรว่า

    "ครั้นต่อมาพระเจ้าล้านช้างได้ทรงทราบว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุธยามีช้างเผือกถึง ๗ ช้าง จึงทรงจัดพระราชธิดามีนามว่ารัตนมณีเนตร กับเครื่องบรรณาการให้ทูตจำทูลพระราชสาสน์เจรีญทางพระราชไมตรีเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา มีใจความในพระราชสาสน์ทูลขอช้างเผือกด้วย พระมหาจักรวรรดิ์ก็พระราชทานช้างเผือกพังให้ กิตติศัพท์อันนั้นทราบไปถึงพระเจ้าหงษาวดีๆ ก็ทรงพระพิโรธ ตรัสว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาไม่อยู่ในยุติธรรม ไปผูกไมตรีกับพระเจ้าล้านช้าง ให้ช้างเผือกพังไปกับพระเจ้าล้านช้าง เมื่อทำสัตย์สาบานกับเรานั้นว่านอกจากเราแล้วจะไม่ให้แก่ใครเลย ตรัสแล้วก็ให้พวกพลทหารไปคอยซุ่มสกัดทาง คอยแย่งชิงช้าง ซึ่งพระมหาจักรวรรดิ์พระราชทานไปแก่พวกล้านช้าง เมื่อทูตเมืองล้านช้างนำช้างไปถึงที่พวกหงษาวดีซุ่มอยู่ พวกหงษาวดีก็ออกสกัดฆ่าฟันพวกล้านช้างแย่งชิงเอาช้างเผือกพังไปได้ นำไปถวายพระเจ้าหงษาวดี..."

    เรื่องที่พระเจ้าล้านช้างถวาย "พระรัตนมณีเนตร" พระราชธิดาแด่พระมหาจักรวรรดิ์พระเจ้าแผ่นดินศรีอยุธยา เพื่อแลกเปลี่ยนกับช้างเผือกนั้น แท้ที่จริงมีเค้าโครงเรื่องมาจากเหตุการณ์ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิวรราชาธิราช สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์ศรีสัตนาคนหุตทูลขอ "พระเทพกษัตรเจ้า" (พระราชพงศาวดารฯ ฉบับความพิสดารเรียก "พระเทพกษัตรีย์") พระราชธิดาในที่ประสูติแต่ "พระสุริโยทัย" พระอัครมเหสีที่สิ้นพระชนม์กับคอช้างแทนพระราชสวามีในศึกหงสาวดี จ.ศ. ๙๑๐ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๙๑) ซึ่งเป็นตระกูลวงศ์กตัญญูอันประเสริฐ สำหรับเป็นที่พระอัครมเหสี (เอกอัครราชกัลยาณี) ของพระองค์เมื่อ จ.ศ. ๙๒๕ กุนศก (พ.ศ. ๒๑๐๖)

    แต่ขณะนั้น "พระเทพกษัตรเจ้า" ประชวรอย่างหนัก สมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิวรราชาธิราช จึงทรงตัดสินพระทัยส่ง "พระแก้วฟ้า" พระราชธิดาที่ประสูติแต่พระสนมไปแทน แต่เมื่อทางสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงทราบว่าเจ้าหญิงศรีอโยทธยาที่ส่งไปมิใช่ "พระเทพกษัตรเจ้า" จึงแต่งทูตนำ "พระแก้วฟ้า" มาส่งคืนยังราชสำนักศรีอโยทธยาใน จ.ศ. ๙๒๖ ชวดศก (พ.ศ. ๒๑๐๗) แล้วขอพระราชทาน "พระเทพกษัตรเจ้า" อีกครั้งตามที่พระองค์ได้ทรงตั้งพระทัยไว้แต่แรก พระราชพงศาวดารฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์เล่าว่า

    "ศักราช ๙๒๕ กุนศก...ในปีเดียวนั้น พระเจ้าล้านชางให้พระราชสาส์นมาถวายว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้า แลทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พระเจ้าหล้านช้าง แลครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้าทรงพระประชวร จึงพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระแก้วฟาพระราชบุตรีให้แก่พระ (เจ้า) หลานชาง

    "ศักราช ๙๒๖ ชวดศก พระเจ้าล้านช้างจึงให้เชิญสมเด็จพระแก้วฟ้าพระราชบุตรีลงมาส่งยังพระนครษรีอยุทธยา แลว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้านั้น แลจึงพระราชทานสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าไปแก่พระเจ้าล้านช้าง ครั้งนั้นพระเจ้าหงษารู้เนื้อความทั้งปวงนั้น จึงแต่งทัพมาซุ่มอยู่กลางทาง แลออกชิงเอาสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าได้ ไปถวายแก่พระเจ้าหงษา..."

    เชลยศึกศรีอยุทธยาเมื่อครั้งเสียกรุงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เริ่มลืมเลือนเรื่องที่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์ศรีสัตนาคนหุต (พระเจ้าล้านช้าง) ส่งทูตมาทูลขอ "พระเทพกษัตรเจ้า" จากสมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิวรราชาธิราชไปเสียบ้างแล้วในบางส่วน จึงเล่าผิดเพี้ยนปนเปกันไปว่า สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงเป็นผู้ส่งพระราชธิดามาถวายแด่สมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิวรราชาธิราช ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่า "พระรัตนมณีเนตร" เป็นพระนามที่แปลงมาจากพระนามของ "พระแก้วฟ้า" อย่างแน่นอน

    การที่ "พระมณีรัตนา" มีพระนามคล้ายคลึงกับ "พระรัตนมณีเนตร" (พระแก้วฟ้า) นั้น อาจมีนัยยะสำคัญบางประการที่บ่งบอกว่า พระนางเป็นเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เก่าของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชและสมเด็จพระมหินทราธิราช มากกว่าที่จะเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือจากราชวงศ์สุโขทัย (พระร่วง) ด้วยกันกับสมเด็จพระนเรศ

    การที่สมเด็จพระนเรศทรงอภิเษกสมรสกับพระมณีรัตนาเจ้าหญิงจากราชวงศ์ละโว้สายสุพรรณภูมิ อาจมีส่วนในการสร้างเสริมสิทธิธรรมในราชบัลลังก์ศรีอยุทธยา ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเพิ่งทรงสถาปนาขึ้นใหม่ภายหลังจากที่พิชิตกรุงพระนครศรีอโยทธยาได้สำเร็จใน พ.ศ. ๒๑๑๒ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการจรรโลงสถาบันกษัตริย์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์สุโขทัย (พระร่วง) จากหัวเมืองฝ่ายเหนือให้หยั่งรากมั่นคง

    ด้วยความที่ "พระมณีรัตนา" และ "พระรัตนมณีเนตร" มีพระนามคล้ายคลึงกันอย่างมากจนแทบแยกกันไม่ออก ข้าพเจ้าจึงสงสัยว่า "พระมณีรัตนา" อาจเป็นบุคคลเดียวกับ "พระรัตนมณีเนตร" คือ "พระแก้วฟ้า" พระขนิษฐาต่างพระมารดาของ "พระวิสุทธิกษัตรีย์" (มีพระนามเดิมว่า "พระสวัสดิราช") พระนางจึงมีศักดิ์เป็นพระมาตุจฉาของสมเด็จพระนเรศ และพระนางอาจกินตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีอีกทางหนึ่งด้วยก็เป็นได้? เพราะไม่พบหลักฐานยืนยันว่า "พระแก้วฟ้า" ถูกพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองนำตัวไปยังราชสำนักหงสาวดีเมื่อคราวเสียกรุงใน พ.ศ. ๒๑๑๒
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/article/Queen_Nares.htm



    แกะรอย "หลังบ้าน" สมเด็จพระนเรศ ในเอกสารต่างชาติ

    วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 28 ฉบับที่ 03
    สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์
    + + + + +

    "โยธยามี้พระญา" พระมเหสีอยุทธยาของสมเด็จพระนเรศ
    ในพงศาวดารพม่า

    เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๙๔-๒๑๒๔) ทรงพิชิตเมืองเชียงใหม่ได้ใน พ.ศ. ๒๑๐๑ พระองค์ทรงปล่อยให้เจ้านายเชียงใหม่ยังคงปกครองบ้านเมืองอยู่ตามเดิม จนกระทั่งพระนางวิสุทธิเทวีเจ้าสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๑๒๑ การสืบทอดสันตติวงศ์ในเมืองเชียงใหม่เกิดขาดช่วง พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองจึงโปรดให้ "อนรธาเมงสอ" พระราชโอรสเสด็จไปเสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่แทน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกพระองค์ว่า "ฟ้าสาวัตถีนรธามังคอย"

    พระเจ้าเชียงใหม่อนรธาเมงสอ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๒๑-๕๐) เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองที่ประสูติแต่ "ราชเทวี" พระมเหสี ซึ่งมีนามเดิมว่า "สิ่นทวยละ" เป็นพระธิดาของจตุคามณิแห่งดีแปยิน พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองโปรดให้พระเจ้าเชียงใหม่อนรธาเมงสออภิเษกสมรสกับ "เซงพยูเชงเมดอ" (แปลว่ามารดาเจ้าช้างเผือก) พระธิดาของพระเจ้าแปรตะโดธรรมราชาพระอนุชาของพระองค์

    พระเจ้าเชียงใหม่อนรธาเมงสอมีพระราชโอรสธิดาด้วยมารดาเจ้าช้างเผือกทั้งสิ้น ๓ พระองค์ด้วยกัน

    ๑. "เมงตุลอง" (พระราชพงศาวดารฯ ฉบับความพิสดารเรียกพระองค์ว่า พระทุลอง) หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองทรงสวรรคตใน พ.ศ. ๒๑๒๔ และพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงพระเชษฐาไม่ทรงพระปรีชาสามารถเยี่ยงพระราชบิดา พระเจ้าเชียงใหม่อนรธาเมงสอจึงหันมาสวามิภักดิ์ต่อราชสำนักศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศเสด็จยกทัพขึ้นไปตีเมืองหงสาวดีเป็นครั้งที่ ๒ พระองค์มีพระราชกำหนดให้พระเจ้าเชียงใหม่อนรธาเมงสอยกทัพโดยเสด็จไปในราชการสงครามด้วย แต่พระองค์ทรงติดขัดเรื่องที่ออกญารามเดโชข้าหลวงศรีอโยทธยาที่ขึ้นไปเป็นเจ้าเมืองเชียงแสนได้เกลี้ยกล่อมผู้คนไว้เป็นกำลังจำนวนมาก ทำให้เจ้าเมืองล้านนาต่างพากันกระด้างกระเดื่องต่อพระองค์จนไม่อาจทิ้งเมืองไปได้ จึงมีรับสั่งให้เมงตุลองพระราชโอรสคุมทัพเชียงใหม่ไปช่วยราชการสงครามแทนพระองค์ หลังเสร็จศึกหงสาวดีครั้งที่ ๒ เมงตุลองได้เสด็จลงมาประทับอยู่ยังราชสำนักศรีอโยธยา และพระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับพระธิดาองค์โตของสมเด็จพระนเรศ ครั้น "พระมหาเทวี" พระมารดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ พระเจ้าเชียงใหม่อนรธาเมงสอทรงขอพระราชทานเมงตุลองกลับขึ้นไปแต่งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพพระมหาเทวียังเมืองเชียงใหม่ แล้วส่ง "พระไชยธิป" พระอนุชาของเมงตุลองมาเป็นตัวจำนำแทน

    ๒. "พระไชยธิป" พระอนุชาของเมงตุลอง (พระทุลอง) ปรากฏพระนามอยู่ในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับความพิสดารของไทย แต่ไม่ปรากฏพระนามในพงศาวดารพม่า สันนิษฐานว่าพระองค์น่าจะเป็นพระอนุชาร่วมอุทรของเมงตุลอง พระองค์ทรงมาประทับยังพระนครศรีอโยทธยาในฐานะตัวจำนำแทนพระเชษฐา

    ๓. "โยธยามี้พระญา" พระราชธิดาองค์โตของพระเจ้าเชียงใหม่อนรธาเมงสอ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ในคำอธิบายพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระราชหัตถเลขาว่า พระเจ้าเชียงใหม่อนรธาเมงสอทรงถวายพระราชธิดาให้แก่สมเด็จเอกาทศรุทรอีศวรในคราวเดียวกับที่เปลี่ยนเอาพระไชยธิปมาเป็นตัวประกันแทนเมงตุลอง ภายหลังพระนางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศ พงศาวดารพม่าจึงมักเรียกพระนางว่า โยธยามี้พระญา แปลว่ามเหสีอยุธยา

    เรื่องราวของโยธยามี้พระญา (มเหสีอยุทธยา) พบมีบันทึกอยู่แต่ในพงศาวดารพม่า และน่าเสียดายที่เรื่องราวของพระนางค่อยๆ เลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยและพม่า ภายหลังจากที่พระนางเสด็จมาประทับอยู่ยังราชสำนักศรีอยุทธยาในฐานะพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศ


    "เจ้าขรัวมเหสีจันทร์" พระชายาม่ายของสมเด็จพระนเรศ
    ในจดหมายเหตุฟานฟลีตของฮอลันดา

    จดหมายเหตุฟานฟลีต (The Historical Account of the War of Succession Following the Death of King Pra Interajasia, 22nd King of Ayuthian Dynasty) เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet) หัวหน้าสถานีการค้าบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาประจำพระนครศรีอยุทธยาเรียบเรียงขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๖๐๔ (นับอย่างไทยโบราณอยู่ในห้วง พ.ศ. ๒๑๘๒) ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๗๒-๙๙) ได้กล่าวถึงพระชายาม่ายของสมเด็จพระนเรศ (พระองค์ดำ) ไว้ในเหตุการณ์เมื่อครั้งพระอินทราชา (พระเจ้าทรงธรรมครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๕๔-๗๑) กริ้วพระหมื่นศรีสรรักษ์ (พระเจ้าปราสาททอง) และน้องชาย (สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราชครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๙๙) ที่ไปทำร้ายพระยาแรกนาขวัญ

    "ขณะนั้นออกญากลาโหมเพิ่งมียศเป็นพระหมื่นศรีสรรักษ์ และมีอายุประมาณ ๑๘ ปี วันหนึ่งเมื่อมีการทำพิธีนี้เขาได้อยู่ที่ชนบทนั้นด้วย โดยมากับน้องชายซึ่งบัดนี้เป็นฝ่ายหน้าหรือมหาอุปราช ทั้ง ๒ คนขี่ช้างมีบ่าวไพร่ติดตามมาหลายคน และได้โจมตีพระยาแรกนาอย่างดุเดือด ดูเหมือนว่ามีเจตนาจะฆ่าพระยาแรกนาและกลุ่มผู้ติดตามทั้งหมดด้วย ฝ่ายองครักษ์เห็นดังนั้นก็เข้าต่อสู้ป้องกันพระเจ้าแผ่นดินปลอม ต่อต้านสองขุนนางหนุ่ม และขว้างก้อนหินไปถูกน้องชายได้รับบาดเจ็บ พระหมื่นศรีสรรักษ์ก็ถอดดาบและโถมเข้าสู้อย่างดุเดือด จนพระยาแรกนาและองครักษ์จำต้องถอยหนี พระยาแรกนากลับมายังพระราชวังและนำความกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวถึงเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดยพระหมื่นศรีสรรักษ์เป็นผู้ก่อ

    "พระเจ้าอยู่หัวกริ้วเป็นกำลังถึงเรื่องความชั่วร้ายที่ได้เกิดขึ้น พระองค์รับสั่งให้ค้นหาตัวพระหมื่นศรีสรรักษ์ และให้นำมายังพระราชวัง แต่คนชั่วผู้นี้รู้ตัวดีว่ามีผู้ติดตามจับ จึงซ่อนตัวอยู่ในโบสถ์กับบรรดาพระสงฆ์ และไม่กล้าเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินในขณะที่ทรงพิโรธหนัก เมื่อพระเจ้าแผ่นดินไม่อาจลงโทษให้สมกับพระอารมณ์ขุ่นเคืองได้ ออกญาศรีธรรมาธิราชจำต้องได้รับผลการกระทำนี้ พระองค์รับสั่งว่าจะประหารชีวิตเขาถ้าหากไม่นำตัวบุตรชายมาเฝ้า พระหมื่นศรีสรรักษ์เมื่อทราบข่าว จึงออกจากที่หลบซ่อนมาเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว และทูลขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ถูกมหาดเล็กจับตัวไว้ พระเจ้าแผ่นดินทรงฟันเขา ๓ ทีที่ขาทั้ง ๒ ข้าง จากหัวเข่าลงมาถึงข้อเท้า แล้วพระองค์จับเขาโยนเข้าไปในคุกใต้ดิน รับสั่งให้พันธนาการไว้ด้วยโซ่ตรวนที่ส่วนทั้ง ๕ ของร่างกาย พระหมื่นศรีสรรักษ์ถูกจำขังอยู่ในคุกมืดเป็นเวลา ๕ เดือน จนกระทั่งเจ้าขรัวมณีจันทร์ (Zian Croa Mady Tjan) ชายาม่ายของพระเจ้าอยู่หัวในพระโกศ คือพระ Marit หรือพระองค์ดำ ได้ทูลขอ จึงได้กลับเป็นที่โปรดปรานอีก"

    จดหมายเหตุฟานฟลีตในฉบับแปลภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสเรียกพระนามพระชายาม่ายของสมเด็จพระนเรศ (พระมะริด) ว่า "เจ้าขรัวมณีจันทร์" (Zian Croa Mady Tjan) พึงสังเกตว่าพระนามนี้ดูคล้ายคลึงกับ "พระมณีรัตนา" พระอัครมเหสีที่ปรากฏอยู่ในคำให้การขุนหลวงหาวัด จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นบุคคลเดียวกัน

    แต่เมื่อสอบย้อนกลับไปยังต้นฉบับภาษาฮอลันดาโบราณพบว่า เยเรเมียส ฟาน ฟลีต จดพระนามพระชายาม่ายในสมเด็จพระนเรศว่า "Tjau Croa Mahadijtjan" แตกต่างจากฉบับแปลภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสอย่างเห็นได้ชัด ข้าพเจ้าเห็นควรแปลถ่ายพระนามของพระนางเป็นภาษาไทยว่า "เจ้าขรัวมเหสีจันทร์" มากกว่า "เจ้าขรัวมณีจันทร์" ตามฉบับแปลภาษาไทย

    ด้วยเหตุนี้เจ้าขรัวมเหสีจันทร์จึงน่าจะเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระนเรศคนละพระองค์กับ "พระมณีรัตนา" ในคำให้การขุนหลวงหาวัด เยเรเมียส ฟาน ฟลีต กล่าวถึงเจ้าขรัวมเหสีจันทร์แค่เพียงครั้งเดียว โดยมิได้กล่าวถึงภูมิหลังความเป็นมาของพระนาง

    แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า เจ้าขรัวมเหสีจันทร์ผู้นี้ต้องมีความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งกับพระหมื่นศรีสรรักษ์ (พระเจ้าปราสาททอง) อย่างแน่นอน เพราะมิเช่นนั้นพระนางผู้เป็นเจ้านายฝ่ายในชั้นผู้ใหญ่คนสำคัญคงไม่กล้าออกหน้าให้การช่วยเหลือพระหมื่นศรีสรรักษ์ผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ให้พ้นโทษอย่างแน่นอน ซึ่งข้อสงสัยนี้ต้องสอบค้นหาความจริงกันต่อไป


    "พระเอกกษัตรีย์" พระมเหสีเชลยศักดิ์ของสมเด็จพระนเรศ
    ในพงศาวดารละแวกของเขมร

    พงศาวดารละแวก ฉบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ พระองค์แก้วเจ้านายเขมรได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งโปรดให้ขุนสาราบรรจงปลัดกรมอาลักษณ์พระราชวังบวรฯ แปลเป็นภาษาไทยใน จ.ศ. ๑๑๗๐ (พ.ศ. ๒๓๕๑) กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศยกทัพไปตีเมืองละแวกได้สำเร็จใน จ.ศ. ๙๕๖ ปีมะเมียฉศก (พ.ศ. ๒๑๓๗) สมเด็จพระราชโองการ พระบรมราชารามาธิราชธิบดี (นักพระสัตถา) กษัตริย์กัมพูชาหนีไปซ่อนตัวอยู่ที่เมืองศรีสันธร ส่วนพระศรีสุริโยพรรณพระอนุชาผู้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปโยราชออกถวายบังคมยอมแพ้ สมเด็จพระนเรศจึงนำตัวพระศรีสุริโยพรรณและพระราชวงศ์เขมรกลับมาเป็น "เชลยศักดิ์" ยังพระนครศรีอยุทธยา ภายหลังสมเด็จพระนเรศโปรดให้แต่งตั้ง "พระเอกกษัตรีย์" พระราชธิดาในพระศรีสุริโยพรรณเป็นพระมเหสีใน จ.ศ. ๙๕๗ ปีมะแมสัปตศก (พ.ศ. ๒๑๓๘)

    "ครั้น ณ ปีมะเมียฉศก (พ.ศ. ๒๑๓๗) สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า พระองค์ได้สมบัติในเมืองละแวก สมดุจหนึ่งพระทัยปรารถนาแล้ว พระองค์ก็เลิกกองทัพกลับมาศรีอยุทธยา แล้วพระองค์ให้นำมาซึ่งพระศรีสุริโยพรรณกับพระมเหสี พระราชบุตร พระราชธิดา และพระศรีไชยเชษฐ พรรคพวกพระศรีสุริโยพรรณเข้ามาอยู่เมืองกรุงศรีอยุทธยาด้วย ให้ตั้งบ้านอยู่นอกกำแพงกรุง และเมื่อพระนเรศเป็นเจ้านำเอาซึ่งพระศรีสุริโยพรรณนั้นมา พระชันษาพระศรีสุริโยพรรณนั้นได้ ๓๘ ปี แล้วจึงสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้านำเอาพระราชธิดาพระศรีสุริโยพรรณพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเอกษัตรี เป็นพระมเหสีพระนเรศวรเป็นเจ้า ในปีมะแมสัปตศก (พ.ศ. ๒๑๓๘)"

    แต่เอกสารฝ่ายไทยอย่างพระราชพงศาวดารฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ซึ่งให้ข้อมูลที่แม่นยำกว่ากล่าวว่า เหตุการณ์เมื่อคราวเสียเมืองละแวกให้แก่กองทัพสมเด็จพระนเรศนั้นเกิดขึ้นใน จ.ศ. ๙๕๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๓๖) ปีศักราชเร็วกว่าพงศาวดารละแวก ๑ ปี

    "ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก... ณ วัน ๖ฯ๑๐๒ ค่ำ เวลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาท เสด็จพยุหบาตราไปเอาเมืองละแวก แลตั้งทัพชัยตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้นได้ตัวพญาศรีสุพรรในวัน ๑ฯ๑๔ ค่ำนั้น"

    ด้วยเหตุนี้เหตุการณ์เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศโปรดให้แต่งตั้ง "พระเอกกษัตรีย์" ขึ้นเป็นที่พระมเหสี ในพงศาวดารละแวก เมื่อ จ.ศ. ๙๕๗ ปีมะแมสัปตศก (พ.ศ. ๒๑๓๘) ควรปรับปีศักราชให้เร็วกว่าตามไปด้วย ๑ ปี การสถาปนา "พระเอกกษัตรีย์" เป็นพระมเหสีควรเกิดขึ้นใน จ.ศ. ๙๕๖ ปีวอกฉศก (พ.ศ. ๒๑๓๗)

    หลังจากสมเด็จพระนเรศพิชิตเมืองละแวกได้ใน พ.ศ. ๒๑๓๖ อาณาจักรกัมพูชาก็ขาดเสถียรภาพ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติภายในกลุ่มเจ้านายเขมรจนถึงขั้นเป็นจลาจล ส่งผลให้เมืองละแวกว่างกษัตริย์ลง ในที่สุด สมเด็จพระเทวีกษัตรีย์และขุนนางเขมรได้แต่งพระราชสาสน์เข้ามากราบบังคมทูลสมเด็จพระนเรศ เพื่อขอพระราชทานพระศรีสุริโยพรรณ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๔๔-๖๑) กลับไปครองราชสมบัติเมืองละแวก พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) เล่าว่า

    "ลุศักราช ๙๕๒ ปีขาลโทศก ในเมืองละแวกไซร้ เมื่อพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ยกทัพหลวงเสด็จไปปราบราชศัตรูในเมืองละแวก แลเทเอาครัวอพยพทั้งปวงเสด็จมายังกรุงพระนครแล้ว อยู่ภายหลังมาจึงลูกพญาละแวกซึ่งหนีไปอยู่เมืองล้านช้างนั้นก็คืนมายังเมืองละแวก ประมูลไพร่พลทั้งปวง ได้เป็นพญาละแวกแล้วแต่งดอกไม้เงินทองเครื่องบรรณาการมาถวายทุกปีมิได้ขาด ครั้นพญาละแวกนั้นพิราลัยไซร้ หาผู้จะปกครองแผ่นดินเมืองละแวกนั้นมิได้ จึงสมณะพราหมณาจารย์แลมุขมนตรีทั้งปวงแต่งดอกไม้เงินทอง แลเครื่องบรรณาการมาถวายบังคมพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ขอพระสุพรรมาธิราชผู้น้องพญาละแวกก่อนนั้นไปครองแผ่นดินเมืองละแวก

    "พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็ทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องราชาบริโภคสำหรับพระมหากษัตริย์ ให้เอาพระศรีสุพรรมาธิราชไปเป็นพญาละแวก แลตรัสให้พญาสวรรคโลก พญาพันธารา แลพลทหารสามพันเอาพระศรีสุพรรมาธิราชไปส่งถึงเมืองละแวก โดยทางเรือปีขาลโทศกนั้น"

    แม้พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาจะระบุถึงเหตุผลที่สมเด็จพระนเรศทรงตัดสินพระทัยส่งพระศรีสุริโยพรรณศัตรูเก่ากลับไปครองราชย์เป็นกษัตริย์กัมพูชา แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า "พระเอกกษัตรีย์" พระมเหสีเชลยศักดิ์ ผู้นี้น่าจะคงมีส่วนในการเพ็ดทูลโน้มน้าวพระทัยให้สมเด็จพระนเรศตัดสินพระทัยส่งพระบิดาของพระนางไปเสวยราชสมบัติยังเมืองละแวก นอกจากนี้พระนางอาจเข้าไปมีบทบาทในการดำเนินนโยบายการเมืองระหว่างประเทศของราชสำนักศรีอยุทธยาและกัมพูชาไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว


    "หลังบ้าน" สมเด็จพระนเรศ

    ตามทรรศนะของข้าพเจ้า หากคำให้การขุนหลวงหาวัดยังพอมีข้อเท็จจริงตกตะกอนนอนก้นอยู่บ้าง สมเด็จพระอัครมเหสีในสมเด็จพระนเรศที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุสเปนคงเป็นพระองค์เดียวกับ "พระมณีรัตนา" โดยสมเด็จพระนเรศมีพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระนางด้วย ๑ พระองค์ และพงศาวดารพม่ายังให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า สมเด็จพระนเรศทรงมีพระราชธิดาอีก ๑ พระองค์ พระนางได้อภิเษกสมรสกับเมงตุลอง (พระทุลอง) พระราชโอรสของพระเจ้าเชียงใหม่อนรธาเมงสอ แสดงว่าสมเด็จพระนเรศมีพระราชโอรสธิดาเท่าที่สอบค้นได้อย่างน้อย ๒ พระองค์

    "โยธยามี้พระญา" (มเหสีอยุทธยา) เจ้าหญิงพม่าผู้เป็นพระราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่อนรธาเมงสอ พระนางทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนเรศด้วยเหตุผลทางการเมืองเป็นสำคัญ

    "เจ้าขรัวมเหสีจันทร์" ในจดหมายเหตุฟานฟลีตนั้น พระองค์ทรงดำรงพระชนมชีพมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม และพระนางคงมีบทบาทสำคัญในราชสำนักฝ่ายในมิใช่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งเข้าใจว่าเป็นคนละพระองค์กับ "พระมณีรัตนา" พระอัครมเหสี

    ทางด้าน "พระเอกกษัตรีย์" พระมเหสีเชลยศักดิ์ในพงศาวดารละแวกนั้นไม่เป็นปัญหาให้ต้องขบคิด เพราะเอกสารเขมรระบุชัดว่า พระนางเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณกษัตริย์เมืองละแวก

    แม้พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาจะมุ่งเน้นแต่จดบันทึกพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ จนมองข้ามบทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์ของ "หลังบ้าน" พระมเหสีคู่พระบารมีทั้ง ๔ พระองค์ของสมเด็จพระนเรศ แต่เรื่องราวของพระนางกลับมิได้เลือนหายไปตามกาลเวลา โดยมีเอกสารต่างชาติต่างภาษาเป็นเครื่องยืนยันถึงความมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ศรีอยุทธยาที่ถูกบดบังจากเมฆหมอกแห่งความไม่รู้มาเนิ่นนานหลายศตวรรษ

    <!--msnavigation-->
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/word-thai5.htm

    ความหมายของพระราชพิธี รัฐพิธี พิธี
    พระราชพิธี หมายถึง งานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯกำหนดไว้ตามราชประเพณี ซึ่งจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี ก่อนถึงงานพระราชพิธี จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีหมายกำหนดการพระราชพิธีที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชกรณียกิจ โดยปกติแล้วผู้มีตำแหน่งเฝ้าฯ ในพระราชพิธีดังกล่าว เว้นแต่จะเป็นพระราชพิธีส่วนพระองค์หรือเป็นการภายใน ตัวอย่างพระราชพิธีประจำปี เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
    รัฐพิธี หมายถึง งานที่รับบาลกราบบังคมทูลขอพระมหากรุณาฯให้ทรงรับไว้เป็นงานพราชพิธี มีหมายกำหนดการที่กำหนดไว้เป็นประจำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน ซึ่งเห็นได้ว่าแตกต่างจากพระราชพิธีตรงที่ว่าแทนที่พระมหากษัตริย์จะทรงกำหนด กลับเป็นว่ารัฐบาลเป็นฝ่ายกำหนด แล้วขอพระราชทานอัญเชิญเสด็จพระราชดำเนิน ตัวอย่างรัฐพิธี เช่น วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ รัฐพิธีแรกนาขวัญ วันปิยมหาราช วันรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
    พิธี หมายถึง งานที่ผู้ใดก็ตามจัดขึ้นตามลัทธิ ตลอดจนแบบอย่างธรรมเนียมประเพณี การปฏิบัติ ของในแต่ละสังคมและท้องถิ่น อาทิเช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ พิธีอุปสมบท เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีพิธีสำคัญของพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาล แต่มิได้กำหนดเป้นพระราชพิธี หรือรับพิธี เช่น พิธีรับรองพระราชพิธีรับรองพระราชอาคันตุกะ และพิธีรับรองผู้นำหรือประมุขของต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล เป็นต้น

    ***************************************************

    ที่มา http://www.geocities.com/roy_bilan222/word-thai4.htm
    ... คำไทยใบลาน ...
    ราชาศัพท์คำว่า สวรรคต, ทิวงคต, สิ้นพระชนม์, ชีพิตักษัย, พิราลัย, อสัญกรรมและอนิจกรรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้นิยามไว้ว่า ตาย ทั้ง 7 คำ โดยแต่ละคำนั้นจะนำไปใช้แตกต่างกันตามฐานะของแต่ละบุคคล ดังนี้
    สวรรคต เป็นคำราชาศัพท์ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น
    ทิวงคต เป็นคำราชาศัพท์ใช้แก่พระยุพราชหรือเจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ

    สิ้นพระชนม์ เป็นคำราชาศัพท์ใช้แก่เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช
    ชีพิตักษัย เป็นคำราชาศัพท์ใช้แก่หม่อมเจ้าว่า ถึงชีพิตักษัย
    พิราลัย เป็นคำราชาศัพท์ใช้สำหรับเจ้าประเทศราช และสมเด็จเจ้าพระยา
    อสัญกรรม เป็นคำราชาศัพท์ใช้สำหรับข้าราชการชั้นเจ้าพระยาตาย ใช้ว่า ถึงแก่อสัญกรรม
    อนิจกรรม เป็นคำราชาศัพท์ข้าราชการชั้นพระยาพานทองตาย ใช้ว่า ถึงแก่อนิจกรรม

    ***************************************************************************
    ... คำไทยใบลาน ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2007
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.arts.chula.ac.th/~complit/lithist/documents/wangna/mongkon.htm

    กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
    ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชรัชทายาท มีความสำคัญรองลงมาจากพระเจ้าแผ่นดิน มีอำนาจรักษาพระนครได้กึ่งหนึ่ง เรียกเป็นสามัญว่า "วังหน้า"
    ตำแหน่งพระมหาอุปราชหรือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นยังไม่มีการตั้งพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีแต่ตำแหน่งลูกหลวงไปครองเมืองต่างๆ เมืองลูกหลวงได้แก่ เมืองพิษณุโลก สุพรรณบุรี ลพบุรี สวรรคโลก สิงห์บุรี กำแพงเพชร และชัยนาท เมืองหลานหลวงได้แก่เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี กฎมนเทียรบาล กล่าวถึงยศเจ้านายว่า พระราชกุมารที่เกิดด้วยพระอัครมเหสีเป็นสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า พระราชกุมารที่เกิดด้วยแม่ยั่วเมือง เป็นพระมหาอุปราช พระราชกุมารที่เกิดด้วยลูกหลวงเป็นพระเจ้าลูกเธอกินเมืองเอก เกิดด้วยหลานหลวง เป็นพระเจ้าลูกเธอกินเมืองโท เกิดด้วยพระสนมเป็นพระเยาวราช ตามหลักฐานที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารนั้น มีเจ้าไปครองเมืองไม่กี่พระองค์ และเมื่อเริ่มประเพณีตั้งวังหน้าประทับในพระนคร จึงเลิกประเพณีการตั้งเจ้านายไปครองเมือง
    การตั้งพระมหาอุปราชเริ่มมีเค้าในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๑ (พระมหาธรรมราชา) แต่ยังไม่ได้ตั้งเป็นตำแหน่งพระมหาอุปราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับ ณ พระราชวังจันทรเกษม ซึ่งตั้งอยู่หน้าวังหลวง คำว่า "วังหน้า" คงจะเกิดขึ้นสมัยนี้ ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นครองราชย์ ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเอกาทศรถให้รับพระราชโองการ มีพระเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน ถึงรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๓ (สมเด็จพระเอกาทศรถ) จึงตั้งเจ้าฟ้าสุทัศน์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เป็นพระมหาอุปราช รับพระบัณฑูร อีก ๖ รัชกาลต่อมา คือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๔ (เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์) สมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ (พระเจ้าทรงธรรม) สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ (พระเชษฐาธิราช) สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๕ (พระเจ้าปราสาททอง) และสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๖ (เจ้าฟ้าชัย) ไม่มีการตั้งพระมหาอุปราช เริ่มตั้งอีกครั้งหนึ่งในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๗ (พระศรีสุธรรมราชา) คือ ทรงตั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชภาคินัย เป็นพระมหาอุปราช ประทับที่พระราชวังจันทรเกษมตามตำแหน่ง
    ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ไม่ได้ทรงตั้งผู้ใดเป็นพระมหาอุปราช เมื่อสวรรคตพระเพทราชาจึงปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ทรงตั้งหลวงสรศักดิ์ บุตรบุญธรรมเป็นพระมหาอุปราชประทับ ณ วังหน้า และทรงตั้งนายจบคชประสิทธิ์ ผู้มีความชอบช่วยให้ได้ราชสมบัติขึ้นเป็นเจ้า พระราชทานวังหลังให้เป็นที่ประทับ แล้วจึงให้บัญญัตินามเรียกสังกัดวังหน้าว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เรียกสังกัดวังหลังว่า กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข นอกจากนี้ยังตั้งเจ้าพระยาสุรสงครามให้มียศเสมอกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขด้วย
    รัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ (ขุนหลวงสรศักดิ์) ทรงตั้งพระเจ้าฟ้าเพชร พระราชโอรสองค์ใหญ่เป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงตั้งเจ้าฟ้าพร พระราชโอรสองค์น้อยเป็นพระบัณฑูรน้อย เจ้าฟ้าเพชรได้ครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ (พระเจ้าท้ายสระ) ทรงตั้งเจ้าฟ้าพร พระอนุชาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตอนปลายรัชกาล สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ ทรงมอบราชสมบัติแก่เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสองค์ที่ ๒ แทนที่จะมอบแก่พระมหาอุปราช จึงเกิดศึกกลางเมือง พระมหาอุปราชทรงมีชัยชนะ เสด็จขึ้นปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พระเจ้าบรมโกศ) แต่ยังคงประทับ ณ วังหน้าตามเดิม
    ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิาชที่ ๓ (พระเจ้าบรมโกศ) ทรงแต่งตั้งพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ๒ ครั้ง ครั้งแรก พ.ศ. ๒๒๘๔ ทรงอุปราชาภิเษก เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ประทับในพระราชวังหลวง เพราะสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ยังประทับที่วังหน้า ต่อมาเกิดเพลิงไหม้วังหน้าใน พ.ศ. ๒๒๘๗ จึงย้ายมาประทับในพระราชวังหลวง ครั้นปลูกสร้างพระราชมนเทียรในวังหน้าเสร็จแล้ว จึงโปรดให้พระมหาอุปราชเสด็จไปประทับตามตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์นี้ ต่อมาได้รับพระราชอาญาจนสิ้นพระชนม์
    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พระเจ้าบรมโกศ) ทรงมีพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าอีก ๒ พระองค์ คือ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ทรงพระราชดำริว่าเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตมีพระปรีชาสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งพระมหาอุปราชมากกว่าเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี จึงทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตเป็นพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ประทับอยู่ในพระราชวังหลวง มิได้ออกไปประทับ ณ วังหน้า ส่วนเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นได้เสด็จออกทรงผนวช
    เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชได้เพียงปีเดียว สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ก็เสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้ครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ อยู่ในราชสมบัติไม่นานก็ถวายราชสมบัติแก่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระเชษฐา แล้วเสด็จออกทรงผนวช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ได้บรมราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ ในรัชกาลของพระองค์ไม่มีพระมหาอุปราช ตราบจนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.arts.chula.ac.th/~complit...na/mongkon.htm


    กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

    หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว บ้านเมืองเป็นจลาจล เพราะต่างฝ่ายต่างตั้งตนเป็นเจ้าพระยาวชิรปราการ (สิน) เจ้าเมืองกำแพงเพชรสามารถกู้อิสรภาพปราบก๊กต่างๆ และรวมคนไทยเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ณ กรุงธนบุรี ราชธานีแห่งใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ และตลอดรัชกาลของพระองค์ก็ไม่ได้ตั้งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
    พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติและวิทยาลัยนาฏศิลปในปัจจุบัน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๔๕ อีกสามปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงพระราชทานอุปราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรให้ดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่โปรดให้ประทับที่พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี และประทับอยู่จนกระทั่งสิ้นรัชกาลที่ ๑ อนึ่ง ในคราวเดียวกันนี้ ได้โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงเสนานุรักษ์เป็นพระบัณฑูรน้อย ด้วย
    พ.ศ. ๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ สมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล
    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และเสด็จประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล ตามตำแหน่ง
    หลังจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้วใน พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สืบมา ได้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดินดังเช่นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงยกย่องสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและโปรดให้แก้ไขประเพณีฝ่ายพระราชวังบวรฯ ให้สมพระเกียรติยศสมเด็จพระอนุชาธิราช หลายประการ เป็นต้นว่า เปลี่ยนคำเรียกวังหน้าทางราชการจาก "พระราชวังบวรสถานมงคล" เป็น "พระบวรราชวัง" ให้เรียกพระราชพิธีอุปราชาภิเษกเป็น "พระราชพิธีบวรราชาภิเษก" เปลี่ยนพระนามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ จากแบบเดิมว่า "พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" เป็นพระนามอย่างพระเจ้าแผ่นดิน ว่า"สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศรังสรรค์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" และเปลี่ยนคำขานรับสั่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จาก "พระบัณฑูร" เป็น "พระบวรราชโองการ" ฉะนั้นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลนี้จึงมีพระเกียรติยศสูงกว่าสมัยใด พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับ ณ พระบวรราชวังตามตำแหน่ง
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.arts.chula.ac.th/~complit...na/mongkon.htm



    กรมพระราชวังบวรสถานมงคล


    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC].ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพระชนม์เพียง ๑๕ พรรษา คณะพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีปรึกษากันอัญเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นับเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกที่มิได้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน และพระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงแต่งตั้งเอง[/FONT]
    พ.ศ. ๒๔๒๘ กรมพระราชขวังบวรวิไชยชาญสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ประกาศยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชฝ่ายหน้า แล้วประกาศสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ดำรงตำแหน่งรัชทายาทตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชฝ่ายหน้า จึงยกเลิกตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คงมีแต่ประเพณีการสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ตำแหน่งรัชทายาท ซึ่งยังปฏิบัติสืบมาจนปัจจุบัน
    พระนามกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ในระหว่างที่ยังดำรงพระชนม์ชีพในแต่ละรัชกาล เรียกพระนามตำแหน่งว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลเหมือนกัน ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถวายพระนามกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๓ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและสะดวกแก่การขานพระนาม ดังนี้
    • กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๑ ถวายพระนามว่า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
    • กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๒ ถวายพระนามว่า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
    • กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๓ ถวายพระนามว่า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ
    ส่วนในรัชกาลของพระองค์เอง ได้สถาปนาพระยศสมเด็จพระอนุชาธิราชเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดิน จึงปรากฏพระนามดังกล่าวมาแล้ว
    ปรากฏในสาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๗ ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนคำนำหน้าพระนามกรมพระราชวังบวรสถานมงคลรัชกาลที่ ๑-๓ จากคำว่า "กรมพระราชวังบวร" เป็น "สมเด็จพระบวรราชเจ้า" ทุกพระองค์ พระนามกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติให้เรียกว่า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
    ดู กรมศิลปากร. อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ก เล่ม ๑. กรุงเทพฯ ๒๕๒๖, หน้า ๑๒๕-๑๓๐.
    <HR>บรรณานุกรม
    จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยพระยศเจ้าต่างกรม และยศขุนนาง. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. ๒๔๖๕.
    จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดาร กับเรื่องราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช. โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๗๙.
    ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๓ ตำนานวังหน้า. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
    ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕. บริษัทรัฐภักดีจำกัด, ๒๔๙๓.
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder id=post33360 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: 0px solid; BORDER-TOP: 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid">05-01-2007, 07:43 PM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: 0px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" align=right>#25 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: 0px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 0px solid" width=175 rowSpan=2>Pichet_m<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_33360", true); </SCRIPT>



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_33360 style="BORDER-RIGHT: 1px solid">รบกวบอีกครั้งนะครับ คุณ Sithiphong
    ผมได้โอนเงินจำนวน 1,500 บาท ร่วมทำบุญเพิ่มเติม เมื่อวานนี้ (30-04-07) 18.09 น. มีความประสงค์ จะบูชาพระสมเด็จชุดพิเศษ 3 คังนี้
    1. สมเด็จวังหน้า เนื้อขาว
    2. สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า รักน้ำเงิน
    3. สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า รักดำ
    4. สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า รักแดง
    อย่างละ 1 องค์ ช่วยจัดส่งตามที่อยู่นี้


    ขอบคุณล่วงหน้าครับ

    นับถือ
    พิเชษฐ์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ***************************************************************

    รับทราบครับ โมทนาสาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2007
  15. sira

    sira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +1,331
    วันนี้ผมเอารูปพระเจดีย์มาลง เพิ่มครับ และนำหนังสือสัญญา เกี่ยวกับ การก่อสร้างพระเจดีย์ มาให้ทุกๆๆท่านที่ร่วมทำบุญ ดูครับผม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • CCE00000.jpg
      CCE00000.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      304
    • CCE00001.jpg
      CCE00001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      619.8 KB
      เปิดดู:
      261
    • CCE00002.jpg
      CCE00002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      565.5 KB
      เปิดดู:
      254
    • CCE00004.jpg
      CCE00004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      474.9 KB
      เปิดดู:
      238
    • CCE00005.jpg
      CCE00005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      598.3 KB
      เปิดดู:
      225
    • CCE00006.jpg
      CCE00006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      442.5 KB
      เปิดดู:
      232
  16. mail2wissnu

    mail2wissnu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,179
    ค่าพลัง:
    +7,865
    อยาก ร่วมทำบุญ โดยขอรับ สมเด็จกรมท่า กับ สมเด็จวังหน้าสีขาว ยังมีอีกไหมครับ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03eco08060550&day=2007/05/06&sectionid=0305


    วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6002​

    เตือนระวังกองทุนเถื่อน




    นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ได้รับเบาะแสเกี่ยวกับการให้บริการที่ต้องสงสัยว่าไม่ได้รับอนุญาตเกิดขึ้นซึ่งในแต่ละกรณี มีวงเงินเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนไม่น้อย บ่อยครั้งที่ผู้ชักชวนใช้ผลตอบแทนที่สูงผิดปกติมาเป็นสิ่งล่อใจ แต่ก็ไม่ได้นำเงินไปลงทุนจริง ส่วนมากจะเป็นการให้ไปชักชวนบุคคลอื่นต่อ ลักษณะเดียวกับแชร์ลูกโซ่ ซึ่งในที่สุดผู้ที่หลงเชื่อส่งเงินไปให้ผู้ชักชวนก็จะได้รับความเสียหาย ดังนั้น หากประชาชนได้รับการชักชวนให้ลงทุน จะต้องพิจารณาข้อมูลโดยละเอียดและรอบคอบถึงลักษณะการลงทุนและความเป็นไปได้ของผลตอบแทน รวมทั้งต้องตรวจสอบข้อมูลว่าผู้ให้บริการอยู่ในรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. หรือไม่ ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

    "เนื่องจากมีผู้ชักชวนให้ประชาชนลงทุนในกองทุนรวม Swiss Cash โดยมีบริษัท Swiss Mutual Fund เป็นผู้บริหารจัดการกองทุน ให้บริการลงทุนผ่านทางอินเตอร์เน็ต และรับประกันผลตอบแทน 25% ต่อเดือนนั้น ก.ล.ต.ขอเตือนประชาชนว่า ต้องลงทุนในบริษัทจัดการและกองทุนรวมที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. เท่านั้น จึงจะได้รับคุ้มครองตามกฎหมาย สำหรับบริษัท Swiss Mutual Fund นั้น ไม่ได้อยู่ในรายชื่อที่ก.ล.ต.อนุญาตแต่อย่างใด" นายประสงค์กล่าว

    (กรอบบ่าย)

    [FONT=Tahoma,]หน้า 9<[/FONT]
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03bud06060550&day=2007/05/06&sectionid=0307


    วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6002​

    ทางแห่งความชั่ว


    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด



    กิเลสภายในใจที่เป็นต้นกำเนิด หรือเหตุแห่งความชั่วร้ายทั้งปวง ที่เกิดแล้วได้รับการสนับสนุนให้พอกพูนมากยิ่งขึ้น เป็นทางแห่งความชั่ว มี 3 ประการ

    1.โลภะ ความอยากได้สิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน ด้วยอาการอันไม่ชอบธรรม โลภะนี้หากปล่อยให้เกิดขึ้นแล้วจะมีบริวารตามมา เช่น เป็นคนมักมาก มักตระหนี่ถี่เหนียว ชอบหลอกลวง ฉ้อโกง ลักขโมย ปล้นทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นต้น

    ความอยากที่เป็นความต้องการของร่างกาย เช่น ความอยากกินข้าวเพราะหิว อยากดื่มน้ำเพราะความกระหาย ความอยากได้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งหุ่ม เพื่อป้องกันความหนาวร้อน หรืออยากได้สิ่งต่างๆ มาเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตแล้วได้มาด้วยการประกอบอาชีพสุจริต เช่นนี้ไม่จัดเป็นโลภะ ความอยากในทางที่ดี เช่น ความอยากประสบความสำเร็จการศึกษา เป็นต้น ทางธรรมเรียกว่า ฉันทะ คือแรงจูงใจใฝ่สำเร็จ

    2.โทสะ คิดทำร้ายผู้อื่นอย่างไร้ความเมตตา หรือคิดจะทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ทำให้บาดเจ็บ อับอาย เดือดร้อน หรือเสียทรัพย์สินต่างๆ อันเนื่องมาจากความไม่พอใจ โกรธเกลียด หากปล่อยให้โทสะเกิดขึ้นจะมีบริวารตามมา เช่น เป็นคนมีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย ขัดเคืองใจ จองล้างจองผลาญ จองเวรกัน ทำร้ายกัน ฆ่ากัน คำพูดคำจาหยาบคาย ใส่ร้ายกัน

    โทสะจัดเป็นกิเลสที่ร้ายแรงอย่างหนึ่งที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมันจะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในตัวของผู้นั้น นับตั้งแต่ทำลายระบบความคิด ทำลายสุขภาพกายและสุขภาพจิต บุคคลใดก็ตามถ้าปล่อยให้โทสะครอบงำใจบ่อยๆ ตนเองจะกลายเป็นบุคคลประเภทมองโลกในแง่ร้าย ชอบก่อกรรมทำอันตรายแก่ตนและคนในสังคม

    3.โมหะความหลงไม่รู้จริง โดยที่ไม่รู้สภาพความเป็นจริงว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร ความโง่เขลาเบาปัญญา เป็นอาการมืดมนในจิตใจ ไม่สามารถคิดอะไรตามความเป็นจริงได้ โมหะจึงเปรียบเหมือนกับความมืด ถ้าความมืดปกคลุมในที่ใด คนที่ทำอะไรอยู่ในความมืด ก็อาจทำผิดพลาดได้หลายอย่าง ตั้งแต่น้อยๆ จนถึงมากที่สุด คนที่ถูกโมหะครอบงำจิตใจมีอาการเช่นเดียวกัน อาจทำความผิดพลาดได้ทุกอย่าง

    นับตั้งแต่เข้าใจผิดกัน ทะเลาะวิวาทกัน ทำร้ายกันด้วยวิธีต่างๆ รวมทั้งการทำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตาย หากปล่อยให้โมหะเกิดขึ้นแล้วจะมีบริวารตามมา เช่น คิดฟุ้งซ่าน ว่ายากสอนยาก เห็นผิดเป็นชอบ เห็นชั่วเป็นดี เป็นต้นเหตุให้โลภะ และโทสะเกิดขึ้น สามารถทำร้าย

    ทำลายชีวิตตนเองพร้อมคนรอบข้างให้เสียหายได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2007
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03eco29070550&day=2007/05/07&sectionid=0305


    วันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6003​

    พระราชพิธีพืชมงคล ฤกษ์ไถหว่าน10พ.ค.


    คอลัมน์ รายงานพิเศษ



    [​IMG]พระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า "วันพืชมงคล" ซึ่งจะมีพิธีเก่าแก่ที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาล โดยจะจัดให้มีขึ้นในราวเดือนหกของทุกปี ประกอบไปด้วยพิธีกรรม 2 พิธีที่กระทำร่วมกัน คือ

    พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้นปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี

    และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว เพื่อที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว

    ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงมีจุดมุ่งหมายประการสำคัญเพื่อสร้างสิริมงคล บำรุงขวัญเกษตรกรให้เกิดความมั่นใจในการทำนา และมีความเชื่อมั่นว่าพืชพันธุ์ที่ลงทุนทำการเพาะปลูกนั้นจะได้ ผลผลิตดี มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอต่อความต้องการ รวมไปถึงทางราชการหรือผู้ปกครองบ้านเมือง ให้การดูแลเอาใจใส่ ส่งผลให้การเกษตรกรรมของประเทศย่อมพบกับความเจริญรุ่งเรือง

    สำหรับวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี"50 ตามปฏิทินหลวงได้กำหนดให้ วันพุธที่ 9 พ.ค.50 มีพระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ ซึ่งประกอบพระราชพิธีวันแรกที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งจะถือเป็นวันเกษตรกรด้วย

    ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ จะประกอบพระราชพิธี วันพฤหัสบดีที่ 10 พ.ค.50 <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเป็นประธาน งานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี"50 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ด้านทิศใต้ โดยมีฤกษ์การไถหว่านอยู่ในช่วงเวลา 08.19-08.59 น.

    สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่พระยาแรกนาเป็นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยตำแหน่ง ซึ่งในปีนี้ นายบรรพต หงษ์ทอง จะทำหน้าที่นี้เป็นปีสุดท้าย เนื่องจากจะเกษียณอายุราชการ

    ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีคู่หาบทองและคู่หาบเงิน จะพิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการหญิงโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป

    ในปีนี้ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ น.ส.รัตน์ติยา แจ้งจร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6ว สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และน.ส.คมจันทร์ สรงจันทร์ นักวิชาการเกษตร 5 กรมวิชาการเกษตร

    เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ น.ส.นุชจรี วัชรวงษ์ไพบูลย์ นักวิชาการเกษตร 5 กรมส่งเสริมการเกษตร และน.ส.พันธ์ทิพย์ จารุเสน นักวิชาการตราวจสอบบัญชี 6ว กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

    นอกจากพระยาแรกนา และเทพีคู่หาบทอง เทพีคู่หาบเงินจะเป็นส่วนสำคัญในพระราชพิธีนี้แล้ว ยังมีพระโคแรกนาขวัญ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานคัดเลือกพระโคจำนวน 2 คู่ เพื่อใช้ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

    โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ จะคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม คือ ต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์ มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 ซ.ม. ความยาวของลำตัวไม่น้อยกว่า 120 ซ.ม. ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180 ซ.ม.

    โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่าย ไม่ดุร้าย เขามีลักษณะสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงาม มีขวัญหน้าขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้องตามลักษณะที่ดี กีบและข้อเท้าแข็งแรง ถ้ามองดูด้านข้างของลำตัวจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม

    โดยในปีนี้กรมปศุสัตว์ได้คัดเลือกพระโคจำนวน 2 คู่ คือ

    พระโคแรกนา 1 คู่ ได้แก่ พระโคเทิด และพระโคทูน

    พระโคสำรอง 1 คู่ ได้แก่ พระโคโรจน์ และพระโคเลิศ

    พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์เพื่อทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย หรือเรียกว่า บุพพัณณปรัณณชาติ หมายถึง พืชที่เป็นอาหารทุกชนิด

    บุพพัณณปรัณณชาติ ที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้น เป็นข้าวเปลือกมีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว และเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ รวม 40 อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาวกับเผือกมันต่างๆ

    นอกจากนี้ ยังมีข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนา บรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่ง เงินคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดเกล้าฯ ให้ปลูกในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล

    ในวันประกอบพระราชพิธี จะมีการพยากรณ์ถึงความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศ ซึ่งพระยาแรกนาจะตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายหยิบผ้านุ่งแต่งกาย แต่ละผืนล้วนมีความหมายแตกต่างกัน ดังนี้

    หยิบได้ผ้า 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่

    หยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

    หยิบได้ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้าง ไม่ได้ผลเต็มที่

    นอกจากการเสี่ยงทายผ้านุ่งแล้ว สิ่งที่เลี้ยงพระโคทั้ง 7 สิ่ง ยังมีความหมายการเสี่ยงทายอีก ได้แก่ ข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี

    ถั่วหรืองา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ทักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

    น้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

    และเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

    นอกจากจะมีพระราชพิธีพืชมงคลซึ่งทำกันเป็นประจำทุกปีแล้ว ยังเป็นวันเกษตรกรอีกด้วย โดยนับตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้เป็น "วันเกษตรกร" เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคล เพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา
     

แชร์หน้านี้

Loading...