พูดถึงกระแสความว่าง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย to2504, 8 กรกฎาคม 2008.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไม่เอา ก็ ไม่ง้อ รุป่าว ตัวใครตัวมัน

    ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

    [​IMG]
     
  2. พิญณ์

    พิญณ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +19
    พูดถึงกระแสความว่าง

    มันเหมือนกระแสไฟฟ้าป่าว นุกว่าถ้าว่างแล้วมันคงไม่เห็นเป็นกระแสแล้วล่ะ แตเป็นความรู้สึกที่เราไม่คิด ไม่ยึดติด แต่ไม่ขาดสติในความไม่คิดนั้น
     
  3. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ตอนที่รู้ จิตเรา ย่อมรู้สึกแล้ว

    แต่พอไม่ทิ้งรู้ มันจะไปรู้ กลายเป็นคำพูด เป็นความคิด

    การรู้สึก แล้ว ทิ้งรู้ คือ คงสภาวะรู้สึกไว้ อย่าให้ถลำไปคิด

    การที่ถลำไปคิด มันเกิดจาก ตัณหาใครรู้ หรือ สงสัย หรือ หลงไปคิด

    การที่เข้าไปรู้เป็นความรู้ ภาวะนั้น คือ ภาวะของจิตที่มีโมหะมูลจิตมาสัมปยุตแล้ว

    ในทางอภิธรรม การ รู้สึกไว้ แล้วคงไว้เป็นปัจจุบัน โมหะมูลจิตจะเข้าแทรก
    สู่ดวงจิตไม่ได้ เมื่อนั้น คือ ภาวะ ตื่น คือ ภาวะพุทธ แต่จะเกิดเป็นขณะสั้นๆ
    เท่านั้น

    แต่หากมีสมาธิ โมหะมูลจิตจะเข้าแทรกจิตไม่ได้เลย ความสว่าง ตื่น จะมี
    ระยะนานขึ้น และการที่โมหะมูลจิตเข้าสัมปยุตดวงจิตไม่ได้ ความคิดนั้น
    จึงขาดอัตโนมัติ

    ฟังดูน่ากลัว ที่เราจะหยุดคิด แต่แท้จริงมันเป็นเพียงขณะสั้นๆ แม้เราก็มอง
    ไม่ออกว่าเราหยุดคิดไปตอนไหน จึงได้แต่ตามรู้ ตามรู้สึก และดูที่ผล ที่
    มีความสว่าง เบาจิต เบาใจ รับรู้ที่วิบาก

    การอบรมอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็คือ การแหวกอวิชชา เป็นการเห็นวิถีจิตแหวก
    อวิชชา เป็นจังหวะสั้นๆ ไม่ได้ทำให้การกระทำของเราต้องบิดพลิ้วผิดเพี้ยน
    แต่การกระทำที่เนื่องกับกิเลส หากปราศจากไปจากเราแล้ว ย่อมเป็นสุข
     
  4. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    และเนื่องจากเราเน้นการอบรมจิต ในการดูส่วนที่เป็นกิเลส ดังนั้น สิ่งที่ขาด
    หรือตกไปจากชีวิต ก็คือ ทุคติภพ

    สิ่งที่เป็นกุศล ไม่ได้ส่งผลร้าย จึงดำเนินไปตามปรกติ เป็นไปเพื่อสุคติภพ
    ตามภูมิธรรมที่จำแนกกุศลจิตเหล่านั้นได้ ( หมายถึง ต้องดูกุศลจิตด้วย )

    เพราะมันยังเป็นภพชาติอยู่

    ดูไปเรื่อยๆ จนรู้แจ่มแจ้ง ทุกจิต ว่าล้วนเกิดดับ ไม่ใช่รู้ชื่อดวงจิตทั้งหมด
    แค่รู้ว่าทุกๆจิตล้วนตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ ก็จะมีกระบวนการวางจิตลงเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2008
  5. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อย่าเปรียบเทียบกับสมมติ ให้รู้สึก แล้วคงความ รู้ในตัวรู้สึกนั้นพอ หาก
    พยายามเอามาเทียบความรู้ ความหมาย นั้นคือ โดนอวิชชาหรอก แต่ก็
    ไม่เป็นไร ให้รู้ไปว่า นี่คือ ภาวะโดนอวิชชาหรอก ก็ให้มันหรอกไปก่อน
    แต่ต้องรู้สึกไว้ด้วย

    การเปรียบเทียบภาวะชิงช้านั้น ใกล้เคียงความรู้สึก เริ่มเห็นฐานจิต

    แต่จะไม่เฉลยไปมากกว่านี้ เพราะ คุณชอบคิด
     
  6. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    เด็กน้อยแมว เข้าใจพูดนะ แงว แงว
     
  7. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    คุณ พิญณ์ มีวาสนาเป็นครูคน ดังนั้น จิตมันจะห้ามไม่ได้ในการสงสัย
    ในการเฝ้นหา คำเปรียบเทียบ เพื่อเอามาอธิบาย ให้รู้ทัน อนุสัยตัวนี้ด้วย

    ให้ดีให้วางลงก่อน ไม่อย่างนั้น จะเป็นอุปสรรค เว้นแต่ต้องการเป็นพุทธภูมิ
     
  8. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ขณะจิตนั้น เร็วมาก สามารถไปยังที่ไหนๆ ในจักรวาลเพียงน้อม

    ดังนั้น ไม่ควรคิดไปว่า มันเร็วขนาดไหน เพราะเข้าข่ายอยากรู้
    ฌาณวิสัย ซึ่งเป็นอจินไตย

    ดังนั้น เราจึงทำได้แค่ตามรู้ ก็พอแล้ว

    เมื่อ ตามรู้เรื่อยๆ ไม่สงสัย ไม่มีราคะ นิวรณ์ไม่ครอบงำ
    จิตคุณจะไวขึ้นเองเป็นลำดับ จนกระทั่งทัน ณ ปัจจุบันขณะ

    การทัน ณ ปัจจุบันขณะ นั้น คือ ผลพึงควร ไม่ต้องเร็วไปกว่า
    นี้ และไม่ช้ากว่านี้

    จะทำอย่างไร ทำให้มีความต่อเนื่อง ก็คือ รู้ทันเป็นปัจจุบันไว้
    เนืองๆ นั้นเอง เมื่อรู้ทันทุกขณะจิตต่อเนื่อง ภาวะนั้นเรียกว่า
    สัมมาสมาธิ อันเป็นสมาธิในโพธิปักขยิธรรม ไม่ใช่ สมาธิที่
    ปรากฏในกรรมฐานลองลงไปจากสติปัฏฐาน 4
     
  9. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ช่วยขยายความหน่อยค่ะ คุณเอกวีร์
     
  10. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ผึ้งถามสั้น ควรแสดงผลที่ปรากฏอยู่ ความสุขใจที่ยินดีอยู่ กำกับด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2008
  11. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    หาฐานของจิต ปัจจุบัน... -- อันนี้ จริงแล้วพอทันความชอบใจ ไม่ชอบใจ มันจะรู้สึกเองว่า
    จิตมารวมอยู่จุดๆหนึ่งในกายเรานี้แหละ ( แต่บางคนรวมแต่ไปอยู่ข้างนอก ไปรู้สึกโลกว่าง
    เปล่าอยู่ข้างนอก อันนี้คือรู้ไม่ทันความชอบใจในความสุขจากความว่างอากาสาวิญจน )

    หาจุดที่จิต ไม่คิด คืออะไร -- อันนี้ จริงเพื่อดูตัวความชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือ ตัวตัณหา มันผุด
    ถ้าเกิด มันจะคิด ตอนที่รู้ทันตัวตัณหา จะเห็นจิตส่าย ในนอก ในนอก มันจะเลื่อนฐานการส่าย
    ไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง รวมลงที่ ฐาน เมื่อนั้นจะนิ่ง

    ยังมีจุด ที่จิต ไม่ทำงาน -- อันนี้ จริงเพื่อดูตอนที่มันมารวมที่ฐานแล้ว มันเคลื่อนออกไป
    จากฐาน ก็เพราะ ความชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือ ตัวตัณหา มันเกิด

    ยังต้องฝึกอีก ไม่ใช่แค่นี้ อันนี้ คือ ตั้งไข่ล้ม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2008
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
  13. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ไม่ใช่ดูอย่างนั้น อย่าไปตั้งคำถามหาว่าใครสั่ง ให้ดูเฉยๆ

    ถ้าตั้งคำถามไว้ก่อน จิตมันจะควานหาคำตอบไปตอบ จะทำ
    ให้ติดในภพนั้น ได้คำตอบตามนั้น แต่ไม่ใช่พ้นทุกข์ เป็นเพียง
    ความพอใจในการได้คำตอบ
     
  14. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ผึ้งนั่งสมาธิทุกวันนะ เป็นปกติ แต่ทุกวัน ในเวลา ขยับตัวจะวิปัสสนา ดูเรื่อย ๆ รู้สึกตัวตลอด เผลอก็รู้ว่าเผลอ มันต้องมีบ้างเป็นธรรมดาที่เผลอ เพราะจิตบังคับไม่ได้ แต่เราก็รู้สึกตัวแล้ว ว่าได้เผลอ ก็ถือว่ายังครองสติอยู่ได้ ส่วนผลจากการปฏิบัติ ตอนนี้ผึ้ง ใจโปร่งโล่ง และกายเบาสบาย แต่ไม่ได้ยึดติด ตามดูไปเรื่อย ๆ มานะยังมีอยู่เยอะ เวลาที่เราว่าง เราก็รู้ว่าว่าง แต่มันจะว่างแค่แป๊บเดียว ซักพัก จิตมันจะรู้เอง ว่าแท้จริง ว่างที่เราว่ามันว่างเนี่ย มันไม่ได้ว่างเลย มันถูกกดให้ว่าง ไม่เป็นธรรมชาติ เราจึงควรปล่อยให้มันเป็นธรรมชาติของมัน เมื่อมันเกิดกิเลศเข้ามา มันย่อมมี อยู่ที่เวลา ของมัน เมื่อมันอิ่มตัว มันก็จะดับไปเอง มันเป็นกฎของไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดา เพียงให้เรารู้สึกตัวพอค่ะ รู้เท่านั้น
     
  15. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ แต่ละท่านก็ล้วนให้ความเห็นดี ๆ ทั้งนั้นครับ อนุโมทนา

    ผมอยากให้ทุกท่านได้เห็นกันในความว่าง ที่ต่างกัน ในสองกาลสองวาระ ที่อาจดูเป็นเรื่องเดียวกัน หรือคนละเรื่องก็ได้ แล้วแต่จะตีความ

    ความว่างแรก เป็นความว่างที่เกิดขึ้น ณ ขณะจิตปัจจุบัน

    ในความว่างนี้ ไม่ซีเรียสมากนักในความคิดของผม อ้าว ว่างแล้วยังต้องซีเรียสอะไรอีก สักครู่ ผมจะแสดงความเห็นต่อไป

    ที่ว่าไม่ต้องซีเรียสเพราะถ้าเราว่างเป็น จิตเราก็เบาสบาย แต่ถ้าตอนนี้เราว่างไม่เป็นหรือคิดว่าว่างแล้วแต่จริงๆ ยังไม่ว่างจริงยังพอแก้ตัวกันได้

    เมื่อถึงความว่างจริง เราก็จะรู้ได้ทันทีว่าที่ผ่านมาว่างจริงหรือไม่

    แต่ว่างที่สองนั้น ถ้าท่านว่างไม่จริง จะส่งผลให้ยังต้องเวียนว่ายไปในวัฏฏะอีก ไม่รู้จักเท่าไหร่ จะได้ร่างกายมนุษย์เหมือนในปัจจุบันหรือไม่

    จะได้พบพระพุทธศาสนาเป็นสัมมาทิฏฐิไหม ซึ่งอนาคตชาติใหม่ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ชาติปัจจุบันนี้แหละคือของจริง เป็นมนุษย์จริง ๆ

    พบพระพุทธศาสนาจริง ๆ เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่แล้วจริง ๆ ถ้าไม่คิดหวังในชาตินี้มัวรออยู่แต่ภายหน้า ดูท่าจะประมาทกันเกินไปหน่อย

    ว่างที่สองที่อยากพูดถึงคือการว่างในขณะจะดับจิตสุดท้ายเพื่อเข้าสู่การดับโดยรอบอย่างถาวร

    ผมอยากจะเปิดเผยถึงกุณแจสำคัญอันจะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจที่ถ่องแท้ เพื่อจะดับจิตสุดท้ายได้อย่างงดงามหมดจด เฉียบขาด ( แหมเหมือนหนังจีนเลย )

    <TABLE class=tborder style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px" cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR title="โพส 1338264" vAlign=top><TD class=alt1>กุญแจอันนี้ก็คือ ปฏิจจะสมุปบาท นั่นเอง

    การที่เราเห็นปฏิจจะสมุปบาทอย่างถ่องแท้ จะทำให้เราเข้าใจได้อย่างชัดเจนถึงการเกิดขึ้นของจิต การคงอยู่ของจิต และการดับไปของจิต

    เราจะเห็นต้นตอต้นเหตุของการเกิดในแต่ละครั้งได้อย่างชัดเจน เห็นการสืบต่อเนื่องในการเกิดโดยลำดับของจิต เห็นการดับไปของจิตได้อีกด้วย

    เมื่อเราชัดเจนในจิตก่อนเกิด จิตที่ยังไม่ได้เกิด และสามารถควบคุมการเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะรู้ชัดด้วยตัวเราเองได้ขณะที่เราดับจิตสุดท้ายในขณะที่จิตยังไม่เกิด

    นี่คือการดับที่สง่างามที่สุด เป็นการดับโดยรอบ ดับทั้งรูปร่างกาย และดับทั้งจิตใจ

    </TD></TR><TR><TD class=thead colSpan=2>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2008
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณคีตเสวี มีสัมมาทิฎฐิ เห็นถูกทาง
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความเห็นที่ ๓๔ โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๓ ๐๘:๒๕:๒๐
    คุณหมอ Lee ถามคำถามอีกข้อหนึ่งว่า "ถามต่อเลยครับ จะให้สติแมวอ้วนตื่นไวๆ ทรงนาน ควรได้สมาธิลึกๆ มาช่วยประคองไหมครับ หรือไม่เกี่ยวกันครับ"
    ขอเรียนว่าสัมมาสมาธิ เป็นเพียงเครื่องช่วยให้สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา หมายถึงสัมมาสมาธิทำให้จิตพ้นจากอำนาจของนิวรณ์ และเป็นกลางต่ออารมณ์ หากถูกนิวรณ์ครอบงำ จิตจะมีอคติและไม่เป็นกลางในการรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง สรุปว่า สัมมาสมาธิ ทำให้จิตมีคุณภาพที่จะ รู้ ได้ถูกต้อง และว่องไวด้วย เพราะสิ่งใดแปลกปลอมเข้ามาในจิตนิดเดียว สติก็จะรู้ทันอย่างรวดเร็ว
    แต่การทรงนานนั้น ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริตรู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว
    ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
    เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
    เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
    เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
    เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
    ทีนี้นักปฏิบัติที่รู้ตัวได้เกือบทั้งหมดพากันมาตายตรงนี้ครับ คือพอรู้ว่าเผลอ เพ่ง หรือมีกิเลสตัณหาแล้ว แทนที่จะรู้แล้วหยุดอยู่เพียงนั้น กลับเกิดความอยากตามมาทันที คืออยากให้ความรู้ตัวนั้นต่อเนื่องยาวนาน แล้วไม่รู้ทันว่า ความอยากเกิดขึ้นแล้ว ผลก็คือ รู้ตัวได้วับเดียว ตอนที่รู้ทันจิตว่าเผลอ เพ่ง ฯลฯ ถัดจากนั้นก็หลงอีก คือถูกตัณหาครอบงำเอาโดยไม่รู้ตัว
    การมีสติแต่ละครั้ง ก็เหมือนเราเอาปลายดินสอกดจุดๆ หนึ่งลงบนกระดาษ ถ้านานๆ จะมีสติสักที จุดก็อยู่ห่างๆ กัน แต่ถ้ามีสติบ่อยๆ จุดก็ต่อกันกลายเป็นเส้น ความจริงเส้นไม่มีอยู่ฉันใด สติที่ต่อเนื่องก็ไม่มีอยู่จริงฉันนั้น คือสติมันเกิดดับพร้อมกับจิตเป็นขณะๆ ไปเท่านั้น แต่ถ้าจิตเกิดมาแล้ว มีสติกำกับอยู่บ่อยๆ เข้า ผู้ปฏิบัติก็จะรู้สึกว่าตนมีสติอยู่อย่างต่อเนื่องแล้ว
    ผมจึงกล่าวกับพวกเราบ่อยๆ ว่า เผลอบ่อยๆ ดีกว่าเผลอวันละครั้ง คือเผลอตั้งแต่ตื่นจนหลับ เพราะพอรู้ว่าเผลอคราวหนึ่ง ก็คือมีสติคราวหนึ่ง ถ้ารู้ตัวว่าเผลอถี่ยิบ ก็คือมีสติถี่ยิบ
    ถ้าจิตมีฉันทะ (ไม่ใช่เรามีฉันทะ) ที่จะคอยรู้ สติก็จะเกิดบ่อยๆ เป็นขณะๆ ไป แต่ถ้าจิตไม่มีฉันทะคือไม่พอใจที่จะปฏิบัติ มีแต่ เรา พยายามเคี่ยวเข็นจะให้จิตเขาตั้งใจปฏิบัติ แบบนั้นการปฏิบัติก็กระโดกกระเดกไปเรื่อยๆ ผมก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่า จะปลูกฉันทะให้จิตได้อย่างไร เพราะผมเกิดมาชาตินี้ จิตเขามีฉันทะที่จะปฏิบัติของเขาเองอยู่แล้ว เคยได้ยินว่า ผู้ใดมีปัญญา เห็นโลกมีแต่ความทุกข์ความเดือดร้อน ก็จะมีฉันทะที่จะออกจากกองทุกข์ แต่ถ้าจิตได้รับการอบรมจนเป็นนิสัยแล้ว จิตเขาจะขยันปฏิบัติ โดยไม่ต้องรอให้ถูกความทุกข์อันสาหัสเล่นงานเสียก่อน
    แต่ถ้าผู้ใดรู้ตัวได้ชำนิชำนาญขึ้นแล้ว มีเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติต่อเนื่อง ได้แก่การเจริญสติปัฏฐานนั่นเอง โดยการหาอารมณ์ปรมัตถ์มาเป็นวิหารธรรม หรือเครื่องอยู่ที่ถนัดอันหนึ่ง เพื่อให้จิตมีสติคอยเฝ้าระลึกรู้ไว้ให้ต่อเนื่อง พอเผลอออกจากสิ่งนั้นปุ๊บ ก็รู้ปั๊บโดยอัตโนมัติ แต่ผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐานได้ จะต้องเตรียมจิตให้มีคุณภาพเสียก่อน ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ คือรู้ตัวไม่เป็น จะรู้ปรมัตถธรรมไม่ได้ ไปลงมือทำสติปัฏฐานเข้า ก็จะกลายเป็นการทำสมถะทุกคราวไป
     
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เผลอก็รู้ว่าเผลอ อันนี้ดี มันต้องมีบ้างเป็นธรรมดาที่เผลอ ตรงนี้มีสรุป จริงแล้ว รู้ว่าเผลอไป
    จมไปในเผลอก็ได้ ไม่ต้องดิ้นออกมา ที่เห็นว่าดิ้นออกมา เพราะมีการสรุป คือ ใช้คิด เอา
    ทิฏฐิไปข่ม ผู้ภาวนาที่เป็นกลางต่อสภาวะจริง อะไรจะเกิดขึ้น จะช่างมัน ไม่มีรังเกลียดแล้ว
    หาข้อสรุปเพื่อดีดออกมา

    เพราะจิตบังคับไม่ได้ แต่เราก็รู้สึกตัวแล้ว ว่าได้เผลอ ก็ถือว่ายังครองสติอยู่ได้ ถือว่ามีโยนิโส ขออนุโมทนา

    ส่วนผลจากการปฏิบัติ ตอนนี้ผึ้ง ใจโปร่งโล่ง และกายเบาสบาย อันนี้คือภาวะกุศลที่เข้าถึง
    ได้ทันที ธรรมะของพระพุทธองค์ไม่ใช่ของคนที่เนิ่นช้า ปัจจัตตังแท้ที่ควรกล่าว
    ประกาศ ที่ชวนคนมาดู เป็นอกาลิโก ผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึงทันที

    แต่ไม่ได้ยึดติด ตามดูไปเรื่อย ๆ มานะยังมีอยู่เยอะ สาธุที่เห็นกิเลส

    เวลาที่เราว่าง เราก็รู้ว่าว่าง แต่มันจะว่างแค่แป๊บเดียว ซักพัก จิตมันจะรู้เอง ว่าแท้จริง ว่างที่
    เราว่ามันว่างเนี่ย มันไม่ได้ว่างเลย มันถูกกดให้ว่าง สาธุ ที่มีความเป็นกลางต่อความว่าง
    เพราะรู้ทันความชอบใจในความว่าง จึงละวางความชอบใจ ไม่ได้เกี่ยวกับความว่างหรอก
    ตัวปัญหาที่ถูกคลี่คลายไปคือ ความชอบใจ

    ไม่เป็นธรรมชาติ เราจึงควรปล่อยให้มันเป็นธรรมชาติของมัน สาธุในการนมัสสิการธรรม
    เหตุเพราะเพียรในการรู้ทุกข์ ไม่ใช่หนีการรู้ทุกข์ หรือเอาชนะทุกข์ ทางที่หนีการรู้ทุกข์
    คือทางของศาสนาพราหม์ ทางที่เอาชนะทุกข์ คือ ศาสนาเชน

    เมื่อมันเกิดกิเลศเข้ามา มันย่อมมี อยู่ที่เวลา ของมัน เมื่อมันอิ่มตัว มันก็จะดับไปเอง ไม่ได้เกี่ยว
    กับมันอิ่มตัว เป็นเพราะ หยุดพอใจ หรือ หยุดไม่พอใจ มันจึงวางของมันเอง

    มันเป็นกฎของไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดา เพียงให้เรารู้สึกตัวพอค่ะ รู้เท่านั้น

    อย่าพึ่งสรุปไปว่าเห็นไตรลักษณ์ แต่น้อมไปก่อนด้วยการคิดได้ แต่ต้องเข้าใจว่า ยังไม่
    เห็นไตรลักษณ์ที่แท้ โดยความเป็นจริงแล้ว ไตรลักษณ์มีหรือไม่ จิตจะเป็นผู้เห็น หาก
    ยังเป็นเราเห็น ก็แปลว่า ยังไม่เห็นไตรลักษณ์จริง แต่ก็ปล่อยไป ไม่ต้องแก้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2008
  19. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    แจ่ม
     
  20. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    โอ้! เล่นวิจารณ์ เป็นประโยคเลยเนอะ แจ่มดี คุณเอกวีร์ เอางั้นเลยนะคะ อิอิ ก็ดีเหมือนกาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...