มโนมยิทธิ ครึ่งกำลัง ทำไม่ได้เลยครับ ทำอย่างไรดี

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย wrong, 31 มกราคม 2010.

  1. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    อันดับแรก ต้องเคารพพระรัตนตรัยแบบสุดหัวใจนะครับ นั่นหมายความว่า เราไปพระนิพพานได้ด้วยกำลังของพระพุทธเจ้า เราไม่ได้ไปด้วยกำลังตนเองนะครับ ดังนั้นอย่าสงสัยว่าเราจะไปไม่ได้ เพราะบารมีพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่นัก

    อันดับสอง ต้องเชื่อว่าศีล 5 เราบริสุทธิ์นะครับ ก็อาราธนาตอนนั้น แถมอยู่ในห้อง ศีลจะหมองได้อย่างไรจริงมั้ยครับ

    อันดับสาม ต้องเชื่อว่า เราเกิดมาก็ต้องตายครับ ไม่มีใครไม่ตาย ดังนั้นถ้าเรายังหายใจอยู่ ก็คือ เรายังไม่ตายครับ (จับลมหายใจเข้าออก)

    อันดับสี่ คือ ภาวนาพุทโธ หรือ นะมะ พะธะ ครับ นึกถึงพระพุทธเจ้าให้ได้ หรือ นึกภาพพระที่ชอบครับ

    ถ้าคุณทรงอารมณ์พระโสดาบันแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ

    ตัดความสงสัยออก แล้วใช้ใจสัมผัสครับ อย่าคิดว่า จะใช้ตาดูนะครับ

    เพราะมโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ทางใจครับ

    ถ้าใช้ตาดู เขาเรียก ทิพยจักขุญาณครับ

    โมทนา

    ปล.ลองดูนะครับ ขอให้ถึงซึ่งพระนิพพานนะครับ วางกำลังใจสบายๆครับ
     
  2. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    นึกถึงสถานที่ไหนก็ได้ที่เราชอบครับ ผมจัดทริปไปวัดท่าซุงทุกเดือน

    น้องติดตามในห้องนี้นะครับ เดือนหน้าถ้าว่าง ไปด้วยกันก็ได้ครับ

    โมทนาครับ
     
  3. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    การเห็นเป็นแบบที่อ้างอิงใช่มั้ยครับ
    อย่างเรานึกถึงพระพุทธรูปที่ชอบที่จำได้ ก็ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ แล้ว
    ภาพก็จะเข้ามาอยู่ในใจเรา จนชัดเจนขึ้นแบบนั้นใช่มั้ยครับ
    ผมก็เริ่มฝึกจริงจังมา 2 วันแล้ว
     
  4. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    อยากไปเหมือนกันครับ แ่ต่อะไรดีดีมักจะอยู่ไกลจากผม ฉะนั้นผมก็เลยพยายาม
    หาเอาเองหน่ะ(k)(k)
     
  5. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ฝึกจาก DVD ได้ครับ รอนิดนึง เดี๋ยวส่งให้ครับ

    โมทนา
     
  6. มหาบุตร

    มหาบุตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +79
    สวัสดีครับท่านผู้ฝึกที่ดี ต้องไม่มีความอย่ากได้ คืออยากได้ในสิ่งที่กำลังทำ ลดความสำคัญในตัวต้นให้มาก พิจารณาให้เห็นว่ารางกาย ไม่มีในเรา เราไม่มีในร่างกาย ไม่ใช้เรา
    แล้วไม่ต้องคิดถึง การเห็นสิ่งได้ นึกถึง ความดีของพระพุทธเจ้าให้มาก แล้วทำเป็นปกติก็ จะรู้เองครับ
     
  7. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327
    นั้นแหละ
    นึกไว้ในใจ ไม่ใช่นึกที่ตา
     
  8. kylethai

    kylethai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +168
    ได้ไม่ได้ให้ถือ อิทธิบาท 4 เป็นสำคัญครับ มีความมุ่งมั่นในสิ่งที่จะทำเดี๋ยวก็สำเร็จครับ

    ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
    ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
    ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
    ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่ง
     
  9. พลังทิพย์

    พลังทิพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2009
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +239
    1.อารธนาบารมีพระท่านและหลวงพ่อฤาษีให้ปฏิบัติได้ชัดเจนแจ่มใส
    2.ขอขมาพระรัตนตรัย
    3.ภาวนาว่า นะมะพะธะ (นะมะพะธะ แปลว่าขอไหว้พระพุทธเจ้า )
    4.ความคิดให้อยู่ที่คำภาวนา
    5.ลมหายใจเข้าออกให้เป็นไปสบายๆ ไม่ต้องดูละเอียด
    6.คิดที่คำภาวนาไปเรื่อยๆจนใจสบาย แล้วความคิดที่ตามมาหลังใจสบายแล้วนั่นแหละใช่เลย
    มโนมยิทธิจะเป็นความคิดที่วาบมาขณะที่จิตบริสุทธิ์ ถ้าบุญบารมีเรายังมีน้อยจะยังไม่เห็นภาพ

    *เสริมพลังโดยหมั่นทำสังฆทานบ่อยๆจะทำได้ง่ายขึ้น
    *จำอารมณ์ที่ใจเราสบายๆไว้ คราวหน้าก็ทำอารมณ์ให้เหมือนเดิม จะไปได้ง่ายขึ้น
     
  10. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    ขอถามข้อสงสัยอีกนะครับเราเริ่มปฏิบัติครั้งแรกภาพจะมัวๆแล้วได้ฟังหลวงพ่อเทศน์ว่าให้เชื่อจิตแรกที่รู้ ถ้างั้นเราจะรู้ได้นี่มันต้องเข้าขั้นญานก่อนใช่มั้ยครับ ไม่ได้ึคิดหรือจินตนาการไปเอง
    ถ้างั้นที่เขาฝึกกันจริงๆก็ต้องให้นั่งสมาธิผ่านไปก่อนพอสมควร ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ ถ้าั้งั้นในช่วงแรกเราจับภาพพระ แล้วที่นีเราก็ทำสมาธิไปสักพัก อาจารย์ก็จะมาถามว่าเห็นสีอะไร ไปจุฬามณีหรือยัง เห็นเทวดามั้ย นี่คือไม่ใช่ความคิด ไม่ใช่จินตนาการ แต่มันจะเกิดขึ้นมาเองใช่มั้ยครับ แล้วที่ฟังเทศน์หลวงพ่อท่านว่าเข้าไปจุฬามณีหรือยัง ถ้ายังไม่เข้าก็สมมุติว่าเข้า(ผมก็เลยสงสัยว่าเป็นการคิด จินตนาการเหรอครับ)
    สรุปที่สงสัย
    1.เป็นการเห็นเองโดยการปราศจากการคิด การปรุงแต่ง การจินตนาการ
    2.หรือเป็นการคิด การจินตนาการ เพื่อให้จิตชินจนเป็นสมาธิขี้นมา
    ขอคำแนะนำด้วยครับ
     
  11. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ตัดสงสัยแล้วจะได้ครับ คุณถามมาเยอะแสดงว่า ยังสงสัยอยู่พอสมควร

    หลวงพ่อท่านบอกว่า "โง่สักวัน แล้วจะฉลาด"

    ลองทำดูครับ ท่านบอกว่าอะไร ก็ทำตามนั้นครับ

    โมทนา
     
  12. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    ครับต่อไปนีผมจะเลิกสงสัย:'(
     
  13. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ผมหมายถึงตอนฝึกนะครับ
     
  14. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    เมื่อคืนนั่งสมาธิ

    ไตรลักษณ์ หรือ กฏธรรมชาติ คือ ลักษณะสามัญของสรรพสิ่งซึ่งมีลักษณะประกอบกัน 3 ประการ คือ

    1. อนิจจัง - กฏแห่งการเกิดขึ้น ความไม่เที่ยง
    2. ทุกขัง - กฏแห่งการเสื่อมไป เดินไปสู่การแตกสลาย ความไม่คงที่
    3. อนัตตา - กฏแห่งการเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้ว ความไม่มีตัวตน ไม่เหลือตัวตนให้เห็น ความไม่เที่ยง แตกสลายดับไปได้
    อันบัญญัติขึ้นเพื่อ ขันธ์ 5 หรือ สภาพ 5 ส่วนที่ประกอบกันจนเกิดเป็นสรรพสิ่งในธรรมชาติ คือ

    1. รูป คือ ส่วนที่เป็นสภาพ สสาร รูปร่าง วัตถุ
    2. เวทนา คือ ส่วนของความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังการรับรู้ ความรู้สึก ทุกข์ สุข หรือ ไม่สุข
    3. สัญญา คือ ส่วนที่จำได้ หมายรู้ในอารมณ์ 6 (นั่นคือ รูปะ – รูปหรือสิ่งที่เห็น, สัททะ – เสียง, คันธะ – กลิ่น, รสะ – รส, โผฎฐัพพะ – สิ่งที่ถูกต้องหรือสัมผัสกาย, ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ – อารมณ์หรือความนึกคิดที่เกิดกับใจ)
    4. สังขาร คือ ส่วนที่ปรุงแต่งจิต
    5. วิญญาณ คือ ส่วนที่มารับรู้อารมณ์ที่เกิดจากการกระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ซึ่งถือเป็นระบบสมมุติ เรียกว่า สังขตธรรม คือ ธรรมที่ถูกปรุงแต่งได้ ประกอบด้วย

    1. อุปปาโท ปัญญายติ มีการเกิดปรากฏ
    2. วะโย ปัญญายติ มีการเสื่อมปรากฏ
    3. ฐิตัสสะ อัญญะฐัตตัง ปัญญายติ เมื่อตั้งอยู่ มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
    ส่วนระบบวิมุตติ หรือ นิพพาน เรียกว่า อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ถูกปรุงแต่งไม่ได้ ประกอบด้วย

    1. นะ อปุปาโท ปัญญายติ ไม่ปรากฏการเกิด
    2. นะ วะโย ปัญญายติ ไม่ปรากฏการเสื่อม
    3. นะ ฐิตัสสะ อัญญะฐัตตัง ปัญญายติ เมื่อตั้งอยู่ ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
    ธรรมชาติและสรรพสิ่งมีการเกิดและการดับ การที่ผู้ใดเฝ้ามองเฝ้าสังเกตเห็นธรรมชาติและสรรพสิ่งที่เกิดและดับไปอยู่ ตลอดเวลา โดยไม่เห็นสาระสำคัญในความเห็นหรือการรับรู้ซึ่งการเกิดการดับเหล่านั้น ไม่ อยากรู้ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางได้ เนื่องจากเข้าใจถึงความเป็นรูปกับนาม กายกับจิต และอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งไม่เที่ยง เข้าใจว่าสิ่งที่เรามีอยู่ครองอยู่นั้นแตกสลายดับไปได้ เรียกว่าผู้นั้น กำลังเข้าถึงสภาวะที่ไม่เกิดไม่ตาย ไม่ได้แตกสลาย ไม่ดับ เนื่องจากจิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย จิตดำรงอยู่ในสภาวะวิมุตติหรือนิพพาน จิตไม่หวาดสะดุ้ง จิตรู้ว่า การเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์สิ้นแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ควรทำไม่มีอีกแล้ว การที่จิตจะสามารถมาอยู่ที่สภาวะนี้ได้ ผู้นั้นต้องเจริญสติ
    มหาสติปัฏฐานสูตร คือ พระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญสติไปสู่ความพ้นทุกข์ อันประกอบด้วย 4 หมวดใหญ่ คือ

    1. การตามดูรู้เท่าทันกายภายนอก (รูปร่าง สัญฐาน กาย) และกายภายใน (ลมหายใจ) ว่าตกอยู่ในกฏไตรลักษณ์
    2. การตามรู้เท่าทันเวทนา ว่าตกอยู่ในกฏไตรลักษณ์ ด้วยใจที่เป็นกลาง วางเฉย
    3. การตามดูรู้เท่าทันจิตในลักษณะต่าง ๆ จนเห็นตามกฏไตรลักษณ์
    4. การตามดูรู้เท่าทันธรรม สังเกตสภาวธรรมที่เกิดขึ้นทางกาย เวทนา จิต ด้วยใจที่เป็นกลาง ว่ามันเกิดขึ้นอย่างไร มีสภาวะผันแปรอย่างไร ดำรงอยู่อย่างไร โดยไม่ไปวิพากษ์ วิจารณ์ ตัดสิน หรือคัดสรร จนเกิดความโล่งโปร่งทางจิต ปล่อยวางความยึดติดถือมั่นในกาย เวทนา จิต ธรรมได้อย่างสมบูรณ์
    การเจริญสติสามารถปฏิบัติได้ในทุกที่ ทุกขณะ นั่นคือ นำสติไปกำกับทุกครั้งที่คิด ทุกงานที่ทำ ทุกคำที่พูด เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้อย่างต่อเนื่อง กายจะสงบ วาจาสงบ ใจสงบ ตระหนักรู้ถึงกฏไตรลักษณ์ และสามารถกลับมาดูความทุกข์ของตน ความผิดของตน และแก้ไขปัญหาตนเองได้ เมื่อแก้ไขปัญหาตนเองได้ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาทุกเรื่องได้ ใช้ชีวิตประจำวันอย่างบริโภคพอดี อยู่พอดี มีพอดี ประพฤติดี ปฏิบัติดี พูดดี และคิดดี
    หากต้องการเข้าใจถึงกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์ เราควรศึกษาหลัก ปฏิจจสมุปบาท
    ปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ ว่าด้วยการเกิดขึ้นของสิ่งทั้งหลายที่อาศัยซึ่งกันและกัน อันเนื่องมาจากเหตุและปัจจัย กล่าวคือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ไล่ไปตามลำดับ โดยปฏิจจสมุปบาท มีองค์ 12 ดังนี้

    1. อวิชชา คือ ความไม่รู้ในไตรลักษณ์ และ อริยสัจ 4 ทำให้ไปคลุกเคล้ากิเลศด้วยความเขลา
    2. สังขาร คือ การนึกคิดเพื่อปรุงแต่งกาย วาจา ใจ
    3. วิญญาณ คือ รู้จักจำแนกแยกแยะอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    4. นามรูป คือ การปรากฏของนามธรรมและรูปธรรม กายและใจ
    5. สฬายตนะ คือ สภาวะที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัส หรือ เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์
    6. ผัสสะ คือ การรับรู้ปรากฏการณ์ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    7. เวทนา คือ ความรู้สึก หรือ ทัศนคติภายหลังการรับรู้ อันได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
    8. ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ความปรารถนาใน กามตัณหา (หรือ ความอยากได้) ภพตัณหา (หรือ ความอยากเป็น) และ วิภวตัณหา (หรือ ความไม่เป็น)
    9. อุปาทาน คือ ความยึดติด ยึดมั่นถือมั่นในกาม ทิฏฐิ ลัทธิ พิธีการ วาทะ
    10. ภพ คือ การมีภาระหน้าที่ ภาวะทางใจ อันเป็นกระบวนการกำหนดพฤติกรรมให้สอดคล้องกับอุปทาน อันได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ
    11. ชาติ คือ การเกิดเป็นตัวตน เกิดอัตตา รับภพไว้ในครอบครอง แบกน้ำหนักตามบทบาทในกระบวนการพฤติกรรมที่กำหนดสมมุติไว้
    12. ชรามรณะ คือ ความเสื่อม ความสูญสลาย ความแตกดับแห่งตัวตน อันเป็นสาเหตุแห่งทุกข์
    ในเบื้องต้นเราได้กล่าวถึงไตรลักษณ์แล้ว ยังมี อริยสัจ 4 หรือ ความจริง 4 ประการ ซึ่งควรตระหนักถึง อันได้แก่

    1. ทุกข์ สภาพปัญหาในขอบเขตของไตรลักษณ์
    2. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ อันได้แก่ ตัณหา
    3. นิโรธ สภาพการพ้นทุกข์ ละวางความยึดมั่นถือมั่น
    4. มรรค แนวทางการดับทุกข์
    มรรควิธี หรือ แนวทางการดับทุกข์ มีความเหมาะสมในแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่มรรควิธีที่เลือกปฏิบัตินั้นควรอยู่ภายใต้ มรรค 8
    มรรค 8 สามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็น ไตรสิกขา ซึ่งประกอบด้วย

    • ศีลสิกขา คือ การปฏิบัติรักษาศีล

    1. พูดชอบ
    2. กระทำชอบ
    3. ประกอบอาชีพชอบ

    • สมาธิสิกขา คือ การพัฒนาคุณภาพจิตให้สว่าง สะอาด สงบเยือกเย็น ประกอบด้วย

    1. ความเพียรพยายามชอบ
    2. ตั้งสติระลึกชอบ
    3. ตั้งจิตชอบ

    • ปัญญาสิกขา คือ รู้เข้าใจสรรสิ่งตามความเป็นจริง ประกอบด้วย

    1. ความเห็นชอบ
    2. ดำริริเริ่มชอบ
    บางครั้งการที่เราได้เข้าใจธรรมชาติ ได้เรียนรู้ธรรมะ คิดปฏิบัติในทางที่ชอบ ย่อมมีส่วนช่วยให้กายสงบ วาจาสงบ ใจสงบในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้(k)(k)
     
  15. wrong

    wrong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +126
    ตอนนี้ยังฝึกไม่สำเร็จนะครับ ยังไม่สามารถสัมผัสหรือเห็นทางใจได้
    แต่ประโยชน์ที่ผมคิดว่าได้จากการฝึกสมาธิคือตื่นไวขึ้นกว่าแต่ก่อนที่จะตื่นก็เมื่อนาฬิกาปลุกดังเท่านั้น เดี๋ยวนี้ตื่นก่อนนาฬิกาปลุกครับ ดีจัง

    ตอนเริ่มฝึกใหม่ๆ แค่การนึกภาวนา นะมะพะธะ ยังรู้สึกว่า ไม่ชินและไม่ชัดในใจเลยครับ แต่เดี๋ยวนี้เริ่ม นะมะพะธะ ได้ชัดขึ้นแล้ว ผมยังรู้สึกว่าการนึกถึงภาพพระในใจนั้นยังยากอยู่นะครับ แต่การจับลมหายใจและภาวนานั้นรู้สึกว่าทำได้สบายขึ้น

    มีบางครั้งที่ตอนนอน ก่อนจะหลับภาวนา นะมะพะธะ ไปเรื่อยๆ ก็ฟุ้นซ่านอยู่ตลอดนะครับ คิดโน่นคิดนี่แต่ไม่ทิ้งคำภาวนา เมื่อเวลาผ่านไปไม่รู้นานเท่าไร อยู่ดีๆความคิดฟุ้งซ่านหายไปหมดเลย ก็ตื่นเต้นนิดๆเพราะไม่ชิน รู้สึกจิตมันสงบลงอย่างรวดเร็ว (ผมว่ามันเร็วเกินไปนะ) แล้วมันรู้สึกว่าเหมือนเป็นอุโมงค์แล้วมีแสงสีขาวอยู่ปลายทาง เรากำลังเคลื่อนที่ขึ้นไปหาแสงนั้น แต่ไม่สามารถไปถึงปลายทางได้นะครับ พอใกล้ๆแล้วมันคอยจะร่วงลงมาเรื่อยเลย - -"
    สุดท้ายแล้วก็ฟุ้งซ่านฝันอะไรไปเรื่อยเปื่อย ฝันว่าลอยไปลอยมาอยู่ในห้อง แต่สนุกดีครับ:cool: อยากทำแบบนี้ได้บ่อยๆ
     
  16. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ตัดสงสัยได้แล้ว

    ให้ตัดความอยากด้วยครับ

    มโนฯ ต้องกำลังใจพอดีครับ มากไปก็ไม่ได้ น้อยไปก็ไม่ได้ครับ

    โมทนา
     
  17. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    เป็นเหมือนผมเลยตื่นเช้า แต่ก่อนนอนซมอยู่บนที่นอน 8 โมงถึงจะตื่น อยากจะฝึกจริงๆจังๆ ให้ถูกต้องตามที่หลวงพ่อท่านสอน วันก่อนอาราธนาบารมีของพระพุทธเจ้า พอเห็นเอาตาดูมันก็เลยจะลืมตาซะงั้น ลืมไปว่าให้ใช้ใจดู โมโหตัวเองจนอยากจะควักลูกกะตาถวายพระพุทธเจ้าซะเลย ไม่รู้ละตอนนั้นมันคิดอย่างนั้นจริงๆนะ
     
  18. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    ขึ้นพานครูต้องไปขึ้นที่ไหนครับ กรณีอยู่ที่บ้านเราจัดสิ่งของเองได้ใช่ไหมครับแล้วของที่จัดแล้วเอาไปไว้ที่ไหนหรือครับ เห็นมีคนแนะนำฝึกเองที่บ้านก็ได้ แล้วมีอาการกระตุกเหมือนที่บางท่านเล่าให้ฟังหรือป่าว
     
  19. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    เห็นตรงกันครับ
     
  20. คนบรรพต

    คนบรรพต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2007
    โพสต์:
    647
    ค่าพลัง:
    +4,456
    ฝึกแบบคนไม่รู้นั่นแหละครับ



    ขอแนะนำให้ฝึกแบบที่เรียกว่าโง่ ๆ ไปก่อนครับ เพราะผมก็เริ่มฝึกแบบโง่ ๆ มาเหมือนกัน จากไม่รู้อะไรเลย ก็ทำตามที่ครูบอก เห็นก็บอกเห็น ไม่เห็นก็บอกไม่เห็น ตามที่จิตเราคิดครั้งแรก ไม่ลังเลสงสัยใด ๆ เห็นสีขาวก็บอกสีขาว สีอะไรก็บอกไปตามนั้น ไม่ต้องอยากไปรู้ไปเห็นใด ๆ เหมือนครูเป็นไกล์พาเราไปยังที่ที่เราไม่เคยไป เราก็ตามท่านไป ท่านแนะนำอะไรก็จดจำไว้ ท่านถามอะไรเห็นแบบไหนก็ตอบแบบนั้นในแวบแรกของจิตที่คิดนั่นแหละครับ จะถูกจะผิดขอให้ได้ตอบ ครูท่านจะชี้แนะเองครับผม

    หรือไม่ก็ศึกษาจาก DVD ที่คุณ komodo จะจัดส่งให้นั่นแหละครับ
    ตัดความสงสัยให้ได้ ตัดความยากรู้อยากเห็นให้ได้ สักวันคุณจะเข้าถึงซึ่งแก่นของพระธรรมครับผม
     

แชร์หน้านี้

Loading...