รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. olelovedog

    olelovedog Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +42
    สวัสดีครับ ผมมีปัญหาในการฝึกสมาธิดังนี้ครับ
    เมื่อผมนั่งสมาธิไปได้สักระยะหนึ่งแล้วพอจิตเหมือนจะเริ่มสงบแต่ไม่รู้ทำไมทุกครั้งรู้สึกเหมือนว่าตัวเองหลับครับ แล้วก็หาคำตอบไม่ได้ว่านั่นเราหลับจริงหรือว่าเป็นอาการของสมาธิ
    รบกวนช่วยตอบด้วยครับผม
     
  2. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    กราบขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ

    ผมมานั่งนึกดู ทบทวนการปฏิบัติของตัวเอง ก็รู้สึกเหมือนคำตอบของคุณชัดบอกไว้ครับ
    คือตั้งใจมากเกินไปนั่นเอง ทำให้เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว เวลานั่งสมาธิก็จดจ่อกับ
    อาการที่เกิดขึ้นและมีความอยากให้สำเร็จเร็วๆด้วยครับ ทั่งที่แต่ก่อนจะทำแบบสบายๆ
    ได้ก็ช่างไม่ได้ก็ช่าง ก็ขอน้อมรับคำแนะนำเพื่อที่จะนำไปปฏิบัติให้ดียิ่งๆขึ้นต่อไปครับ

    ขอบพระคุณมากครับ
     
  3. wuttichai0329

    wuttichai0329 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,015
    ค่าพลัง:
    +741
    น่านับถือจริง ๆ ครับ ท่านชัดนี่ถามอะไรตอบได้ ยังกะปุจฉวิสัชนาอย่างนั้นแหละ เฮอ ๆ ตอบได้ตรงกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ นี่แหละพอนึกหาคำถามได้ก็ต้องนึกถึงท่านชัดนี่แหละก่อนใครเพื่อน ฮ่า ๆ อีกอย่างใช้ เจโตฯ ได้คล่องมากครับ ถ้าต่อยคนระยะไกลนี่ ถ้าเทียบกับรักษาคนระยะไกล รักษาคนระยะไกลเห็นท่าจะดีกว่าเยอะ มีประโยชน์เยอะ ความจริง ก็คิดว่าจะรักษาคนดีกว่า แต่ก่อนผมก็ค่อนข้างจะเป็นมิจฉาทิฐฐิ อยู่เหมือนกัน พอเอาเข้าจริง ๆ เห็นทีต้องเปลี่ยนเป็นสัมมาทิฐฐิ จะดีกว่ากัน ฮ่า ๆ คุยกับท่านชัดนี่ ได้เพิ่มเติมความรู้พิเศษเยอะเลย จนจะเปลี่ยนผมให้เป็นสัมมาทิฐฐิด้วยอันนี่ขอบพระคุณมาก ครับ สุดท้ายอยากจะฝากบอกกรซิบเบา ๆ ว่า [อย่าเพิ่งลา..นะ ขนช่วยกัน เฮอ ๆ ] เจโตท่านแจ่มจริง ๆ น่านับถือยิ่งแล้ว 5555 ลาก่อน....
     
  4. choosake

    choosake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    482
    ค่าพลัง:
    +647
    สวัสดีครับ คุณชัด
    ผมทราบแล้วครับว่า ติดอะไร ต้อนนี้ทะลุผ่านไปด้วยแล้วครับ หืดขึ้น คอที่เดี่ยว กิเลศมันเล่นเอาครับ

    ได้หนังสือหลวงพ่อช่วยไว้ครับ แต่ไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เห็นจะนำมาโพสได้หรือเปล่า

    อยากได้คำแนะนำเรื่อง วิปัสนา ครับ ขอบคุณครับ
     
  5. อุมาเทวี

    อุมาเทวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +264
    ขอถามค่ะ
    เคยฝึกแบบ ยุบหนอ พองหนอ มาก่อนนี้แล้ว แต่มีผู้แนะนำให้ใช้คำภาวนา พุท โธก็เลยเปลี่ยนคำภาวนา

    ตอนนี้สนใจอยากจะฝึก มโนมยิทธิ ก็เลยลองทำเองที่บ้าน

    ใช้คำภาวนา พุท โธ และจับภาพพระพุทธรูป ลืมตาและหลับตาสลับกันไป
    สักพักก็เกิดอาการ ตัวโยกไปมา แต่ก็ยังภาวนาอยู่ (ตัวโยกทั้ง ๆ ที่ลืมตา)
    ซึ่งเมื่อก่อนเคยเกิดอาการตัวโยกตอนที่หลับตา คำถามคือควรทำอย่างไรต่อไปคะ

    และอีกอย่างคือก่อนนอนก็จะนอนสมาธิไปด้วย แต่มีความรู้สึกว่าเหมือนตัวเองไม่ได้หลับเลยทั้งคืน รู้ตัวตลอด แต่ก็เหมือนว่าร่างกายเราได้ออกไปที่นั่นที่ตลอด บางคืนก็เหมือนไปเจออะไรร้าย ๆ บางคืนก็เหมือนตัวเองกลับไปเยี่ยมญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว บ่อยมาก
    พอตอนเช้ามาก็ไม่มีอะไร ไม่มีอาการเพลียเลย ปกติทุกครั้งแต่เหมือนไม่ได้ฝันนะคะ เสมือนจริงมาก ต่างจากเมื่อก่อนที่ไม่เคยภาวนาก่อนนอนก็จะรู้ว่าฝันค่ะ

    เพราะอะไรคะ ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ และตั้งใจจะไปฝึกมโนมยิทธิให้ได้ ขอคำแนะนำด้วยค่ะควรไปฝึกที่ใดดี
     
  6. รักในหลวงครับ

    รักในหลวงครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +101
    เดือน1แล้วครับที่ผมฝึกสมาธิไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าไหร่เลยเฮะๆ
    ผมอยากจะถามว่า
    ปกติผมนั่งสมาธิวันละ10-15นาที มันน้อยไปหรือป่าวควรนั่งให้นานกว่านี้ดีไหมสัก1ช.ม.
    แล้วจับลม3ฐานอ่าเอาสติไปไว้ที่ฐานของลมทั้ง3 หรือ เอาสติไปไว้ที่ฐานเดียวเเล้วรอจิตนิ่งมันจึงจะครบ3ฐาน และทำสมาธิในห้องที่เเคบๆอากาศถ่าเทไม่สะดวกปิดหน้าต่างด้วยมันมีผลต่อการทำสมาธิไม่ได้หรือไม่
     
  7. ชวนพิชฌ์

    ชวนพิชฌ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +153
    สวัสดีค่ะคุณ Xorce
    สมาชิกใหม่ค่ะ ได้อ่านคำแนะนำของคุณแล้วรู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งค่ะ.ได้เปิดหาคำแนะนำมาโดยตลอดตั้งแต่เป็นสมาชิกมาวันนี้ได้ความกระจ่างมากขึ้นจึงเข้ามาขอบคุณด้วยใจจริง "ขอบคุณค่ะ" และขอคำแนะนำด้วยค่ะว่าสถานที่ฝึกเพื่อปฎิบัติใน กทม มีที่ใหนบ้าง (เดิมตั้งใจจะไปสระบุรีแต่ไม่สะดวก) ขออนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
    ชวนพิชฌ์ แซ่ตั้ง
     
  8. Dhamma T-PO

    Dhamma T-PO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +184
    สวัสดีครับคุณ Xorce

    ขออนุโมทนากับคุณ
    Xorce ด้วยนะครับกับการเสียสละเวลาที่มาให้ความรู้และคำแนะนำแก่พวกเรา

    เคยตั้งคำถามถามคุณ Xorce ไปแล้วครั้งนึงครับได้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจในการปฏิบิติมากเลยครับ

    ขอตั้งคำถามนะครับ

    ตอนนี้ผมเริ่มปฏิบัติต่อรู้สึกว่าเป็นสมาธิเร็วขึ้น ผมใช้อานาปาณสติ กำหนดลมหายใจพุท-โธได้สักพัก รู้สึกหวืบครับแล้วก็รู้สึกว่ามันช่างสบายจังครับ รู้สึกว่าตัวหายไป ลมหายใจก็เบามาก นั่งไปเรื่อยๆ เหมือนว่าจะหลับ ครับ แล้วซักพักพอประคองจิตกลับมาได้ คราวนี้รู้สึกว่าจิตเราไม่สนใจอะไรรอบข้างเลยครับ เสียงก็ไม่สนใจ อยู่อย่างนั้น คราวนี้ผมก็มาคิดว่าอยากลองเจริญวิปัสนาดูครับ แต่ก็ไม่รู้จะใช้อะไรมาพิจารณา (อยากให้คุณ Xorce ช่วยแนะนำครับ) แต่ตอนนั้นผมลองพิจารณาไตรลักษณ์ โดยพิจารณา ในการที่ผมเริ่มมานั่งอยู่ตรงนี้(เป็นการเกิดขึ้น) พอนั่งอยู่ก็เป็น(ตั้งอยู่) แล้วพอเราลุกขึ้นก็เป็น(ดับไป ) พิจารณาอย่างนี้ ครับพอออกจากสมาธิก็รู้สึกหดหู่ครับแต่ป็นไม่นานความหดหู่ก็หายไป

    1.ผมควรพิจารณาหรือยังครับแล้วควรพิจารณาเรื่องอะไร
    2.สมาธิตอนนี้รู้สึกว่าเป็นเร็วกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ไม่ทราบว่าเป็นฌานหรือยังครับไม่แน่ใจ
    3.ก่อนหน้านี้รู้สึกว่าตัวมันหวิวๆอยู่ทั้งวันเลยครับรู้สึกสบาย ขนาดนอนแกว่งขาอยู่บ้านยังสบายเลยครับ เป็นอยู่ได้3-4วัน พอไปเที่ยวปีใหม่กลับมามันก็หายครับ อาการอย่างนี้เรียกว่า ทรงฌานหรือเปล่าครับ
    4.ถ้าสมมุติว่าคนที่ทรงฌานอยู่ทั้งวันแล้วเกิดโดนรถชนตาย จะได้ไปเกิดเป็นพรหมหรือเปล่าครับ
    5.ตั้งแต่ฝึกมาเคยเกิดปิติตัวสั่นแค่ครั้งเดียวเองครับผมปกติหรือเปล่าครับ ช่วงหลังมานี้ไม่เคยเกิดเลยครับจะมีก็แต่เห็นภาพอะไรก็ไม่รู้เหมือนว่าแหวกเข้าไปมองน่ะครับ
    6.ผมควรฝึกอย่างไรต่อไปครับ อยากฝึกแบบมโนมยิทธิเหมือนกันครับไม่รู้ว่ามีคอร์สฝึกในช่วงนี้หรือเปล้าครับ

    ขอบคุณมากครับ
     
  9. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    <TABLE class=tborder id=post2841384 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->kananun<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2841384", true); </SCRIPT>
    หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: May 2006
    ข้อความ: 9,112
    พลังการให้คะแนน: 9996 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_2841384 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- google_ad_section_start -->มีโทรแจ้งมา ขอให้เปิดสอนคนใหม่ๆเพิ่มอีก ในวันเสาร์ที่ 16 มค. นี้เวลา 9.00 น.ครับ และสอนยาวถึงบ่าย

    เป็นหลักสูตรปูพื้นฐานสมาะเบื้องต้น ท่านใดสนใจก็ขอเชิญได้ครับ


    และต่อไปจะได้กำหนดการสอนสมาธิเบื้องต้น เดือนละ 1 ครั้งจะได้รวมครั้งเดียว

    จากนั้นในแต่ละเดือนจะสอนสมาธิแยกตาม ความเข้มข้นขึ้นเป็น กสิณ 10 อรูป เป็นขั้นกลาง

    และไล่ขึ้นไปเป็นขั้นสูง รวมไปถึงการประยุกต์ เช่นการนำสมาธิรักษาโรค สมาธิสำหรับเด็ก ประมาณนี้ครับ

    รายละเอียดจะได้แจ้งให้ทราบในกระทู้นี้ครับ

    ปรับเวลาใหม่ครับ<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
    " จิตใจที่ดีงามจะคงอยู่ตลอดไป "

    วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ
    แจกเหรียญทำน้ำมนต์เพื่อบรรเทาภัยพิบัติ ทั่วประเทศไทย

    บัญชี เพื่องาน พลังจิตพิชิตภัยพิบัติ คณานันท์ ทวีโภค
    บัญชี ออมทรัพย์ ธ.กรุงเทพ สาขาคลองสานเลขที่ 151-0-91868-1
    บัญชี เพื่องานพระบรมสารีริกธาตุ และ การสร้างพระเจ้าองค์แสน
    ธ.กรุงเทพ สาขาสยามพารากอน เลขที่ 855-0-14998-6
    <!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    <TABLE class=tborder id=post2807799 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ณ.<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2807799", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jan 2006
    ข้อความ: 2,441
    พลังการให้คะแนน: 551 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_2807799 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-2576485761337625";/* 250x250, created 31/01/09 */google_ad_slot = "7252767143";google_ad_width = 250;google_ad_height = 250;//--> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 250px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 250px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><IFRAME id=google_ads_frame1 style="LEFT: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px" name=google_ads_frame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-2576485761337625&output=html&h=250&slotname=7252767143&w=250&lmt=1263605068&flash=10.0.22.87&url=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ff178%2F%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-kananun-164984-32.html&dt=1263605068765&correlator=1263605068765&frm=0&ga_vid=167775879.1263389903&ga_sid=1263604532&ga_hid=1496916560&ga_fc=1&ga_wpids=UA-7034934-1&u_tz=420&u_his=2&u_java=1&u_h=800&u_w=1280&u_ah=800&u_aw=1280&u_cd=32&u_nplug=0&u_nmime=0&biw=1260&bih=621&ref=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ff178%2F%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-kananun-164984-33.html&fu=0&ifi=1&dtd=M&xpc=Z2CJB5hIOA&p=http%3A//palungjit.org" frameBorder=0 width=250 scrolling=no height=250 allowTransparency></IFRAME></INS></INS>
    "เอามาเรียกน้ำย่อย..."

    จากนั้นพวกเราบางส่วนก็ได้ไปเยี่ยมชมพร้อมฝึกสมาธิที่
    "เมตตาภิรมณ์สถาน" บ้านลาดหญ้า

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->

    <!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ณ.อดีต ณ.ปัจจุบัน ณ.อนาคต คือ ณ.<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
  12. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ขอโทษด้วยครับ
    เนื่องจากผมติดธุระ และวิบากนิดหน่อย ทำให้คอมพิวเตอร์ใช้ไม่ได้ไปซักระยะนึงครับ
    ตอนนี้ผมจะกลับมาตอบกระทู้เหมือนเดิมแล้วครับ
     
  13. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Thamsin ครับ

    1.ถามการนั่งสมาธิครับ เวลานั่งสมาธิจะถึงจุดหนึ่งที่ไม่รู้สึกอะไรเลยที่มือ คือไม่รู้ว่ามือที่วางอยู่ไปอยู่ที่ไหนครับ ต้องลองกระดิกดูถึงจะทราบว่าวางอยู่ที่ตัก<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    2.ถามเรื่องบางครั้งตอนแผ่เมตตาจะพูดภาษาที่แปลไม่ออก คืออะไรครับ

    ต้องลองทำความเข้าใจก่อนนะครับ ว่า
    อาการสั่นก็ดี พูดภาษาที่เราไม่เข้าใจก็ดี โยกโคลง กระโดดหรือกระทั่งเกือบจะเต้นไปเต้นมาก็ดี
    ยังไม่ใช่จุดสำคัญ ยังไม่ใช่เป้าหมายของการทำสมาธิ
    อาการเหล่านี้ เป็นเพียงสิ่งอาการธรรมดาที่อาจจะพบเจอได้ในการทำสมาธิ เป็นเพียงทางผ่าน ในช่วงอุปจารสมาธิครับ
    ถือว่าเป็นอาการปีติประเภทหนึ่ง ที่ไม่ควรจะใส่ใจ ติดใจ หรือพยายามทำให้มันเกิดขึ้น
    ซึ่งไม่มีความสำคัญมากในระยะยาว เมื่อเราเจริญจิตไปซักระยะเราจะไม่ติดใจ สนใจ หรือพานพบเจอกับสภาวะเหล่านี้

    ตอนนี้ขอให้ถอยออกจิตออกมาก่อนครับ แล้วกลับมาพิจารณาก่อนว่าเราปฏิบัติธรรมนี้เราปรารถนาสิ่งใด
    เรามาปฏิบัติ เจริญจิต ก็เพื่อความสุขทางใจ ซึ่งเป็นอารมณ์ของความชุ่มเย็น ความอิ่มเอิบ ความแช่มชื่น ความเบิกบาน ความสงบ การได้พักผ่อนทางจิต อารมณ์ที่มีความละเอียดอ่อน นุ่มนวล อ่อนโยนมากยิ่งขึ้น
    การเจริญจิต หรือพัฒนาการทางจิตที่เป็นสัมมาทิษฐิ จะส่งผลให้มีความชุ่มเย็นทางใจที่มากขึ้น
    แต่การเจริญจิตที่ไม่ถูก ที่เป็นมิจฉาทิษฐินั้น จะส่งผลให้จิตใจมีความเร่าร้อน แห้งแล้ง หงุดหงิดง่าย ใจร้อน อารมณ์หนัก เกร็ง เคร่งเครียด สับสน เหนื่อยล้ามากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม

    หากการฝึกสมาธิไม่ได้ทำให้จิตใจของเรามีความชุ่มเย็นมากขึ้นไปกว่าเดิม
    เราก็ควรที่จะย้อนกลับมาพิจารณาว่า การปฏิบัติจิตของเราณขณะนี้
    เราเลือกแนวทาง วางอารมณ์ ตั้งกำลังใจ มีเป้าหมาย มีเส้นทางที่เราจะเดินไปถูกต้องแล้วหรือยัง

    อันดับแรก การเจริญจิต เราไม่ได้ต้องการ หรือตั้งเป้าหมายให้เกิดปีติ
    การสั่นก็ดี เต้นโยกโคลงก็ดี หรือพูดภาษาที่เราไม่เข้าใจก็ดี
    ไม่ใช่จุดที่วัดความก้าวหน้าในการฝึกจิตของเรา
    เครื่องวัด คือ ความชุ่มเย็นทางใจของเรา ความสุขทางใจของเรา
    เราภาวนาเพื่อให้เราโยกโคลงดิ้นไปดิ้นมา หรือเพื่อความสงบ เพื่อพระนิพพาน
    ลองย้อนกลับมาพิจารณาดูครับ

    อันดับสอง การภาวนาจะต้องทำด้วยใจที่เบาสบาย ผ่อนคลาย มีความแช่มชื่น รอยยิ้มในหัวใจ ความสงบ อารมณ์ใจที่ลื่นไหลต่อเนื่องไม่ติดขัด
    ไม่ใช่การเร่ง การคั้น การบีบ การกระแทก ความรุนแรง ความเคร่งเครียด

    อันดับสาม เมื่อภาวนาไปแล้วความคิด การซัดส่ายของจิตจะช้าลง เบาลง จิตจะลื่นไหล ต่อเนื่อง สบาย สงบระงับ ชุ่มเย็น ละเอียดประณีตมากขึ้น
    ไม่ใช่ภาวนาไปแล้ว จิตยิ่งติดขัด ยิ่งอึดอัด ยิ่งกระสับกระส่าย ยิ่งเร่าร้อน ยิ่งหนัก ตึง เคร่งเครียด เกร็งมากกว่าเดิม
    ถ้าภาวนาแบบนี้ จิตของเราจะไปสุดที่ไหน การโยกจนกลิ้งไปกลิ้งมา การเครียด หนัก อัดเกร็ง จนความเครียดอัดเข้ามาอย่างถึงที่สุด จิตเร่าร้อน ซัดส่าย อึดอัดใจ ดั่งเปลวไฟ
    แล้วอาการแบบนี้จะเป็นพัฒนาการ หรือความก้าวหน้าทางจิตได้อย่างไร

    การภาวนาที่ถูกนั้น
    ยิ่งภาวนาจิตยิ่งเย็น ยิ่งเบายิ่งสบาย ลมหายใจราบรื่น ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ลมหายใจช้าลงเบาลง ความคิดลดน้อยลง จิตสงบขึ้น จิตเริ่มรวมตัว ลมหายใจก็เบาสบาย ช้าลง เบาลงเรื่อยๆ ใจเกิดความสบายมากขึ้นๆ จนกระทั่งลมหายใจหายไป จิตหยุดนิ่ง ความคิดทั้งหลายหายไป เหลือแต่ความนิ่ง เอกคตารมณ์ การที่จิตรวมเป็นหนึ่ง เหลือแต่ความสบาย ความเบาของจิต จิตลอยเด่น
    สว่างจากกำลังของสมาธิ จากกำลังของเมตตา ความประภัสสรของดวงจิต
    สะอาดจากนิวรณ์ จากกิเลส จากความวุ่นวายใจ
    สงบ สงัดจากความคิด ความฟุ้งซ่าน จิตได้พักผ่อนอยู่ในความเบาสบาย หยุดนิ่ง ชุ่มเย็น

    เมื่อเราเห็น ความต่างของการภาวนาที่วางอารมณ์ใจ ตั้งกำลังใจ มีเป้าหมายที่ถูกกับที่ผิดแล้ว
    ก็ให้เราลองปรับทิศทาง ลองย้อนกลับมาพิจารณา ย้อนกลับมาดูว่า
    เรามีจุดใดที่ควรจะปรับปรุงบ้าง และปรับทิศทาง แนวทาง วิธีการในการภาวนาของเราให้ถูกต้อง
    เพื่อให้เมื่อภาวนาแล้ว ให้จิตเกิดความสบาย ความชุ่มเย็น มากกว่าความเร่าร้อน

    ลองย้อนกลับไปอ่านในวิธีการเจริญเมตตาที่ผมได้ลงเอาไว้ดูนะครับ
    แล้วจะพบว่าการฝึกสมาธิก็ดี การเจริญเมตตาก็ดี เป็นเรื่องของอารมณ์จิต มากกว่าอาการทางร่างกาย

    ขอให้สามารถเข้าถึงซึ่ง อารมณ์จิตที่มีความชุ่มเย็น เบาสบาย สงบ หยุดนิ่ง เบิกบาน งดงาม อิ่มเอิบ ประภัสสร สว่างไสว และปราศจากซึ่งความเร่าร้อน ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ต้องการตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ

    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010
  14. ศิษย์น้อย

    ศิษย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +3,047
    ร่วมอนุโมทนาสาธุ กับผู้ให้ธรรมทาน และผู้น้อมรับไปปฏิบัตินะครับ...สาธู
     
  15. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ choosake ครับ

    มักจะมีเพื่อน ๆ ที่ปฏิบัติด้วยกัน ถาม เสมอ ๆ ว่า ถึงไหนแล้ว ขั้นไหนแล้ว
    ผมจะตอบทุกครั้งว่า เท่าเดิมมั่ง ไม่รู้มั่ง เพราะผมไม่รู้ว่าจะเอาอะไรเป็นเครื่องวัด
    ได้แต่ตอนนู้น ที่ไปฝึกที่ สวนลุม พี่คนที่สอน(ลืมชื่ออีกและตู)

    เขาแอบดูจิตผม เลยบอกให้ว่า ได้มโนมยิทธิแล้วนิ เหอะ ๆ ๆ ๆ ถ้ามานั่งดูจิตตัวเอง ก็กลัวจะเป็นอุปทาน เข้าข้างตัวเองตลอดเพราะดูที่ไร แม่งใสขาว ทุกที

    ขาวใสก็ถูกแล้วครับ ถ้าจิตเป็นฌาณ ก็จะสีแบบนั้น
    แต่ยังไม่พอครับ จะต้องให้จิตเป็นเพชร ประกายพรึก มีความสว่างไสว มีรัศมี ความชุ่มเย็น อิ่มเอิบ ละเอียด ประณีต นุ่มนวล เบาสบายอยู่ตลอดเวลา
    ซึ่งเพชรประกายพรึกนี่ คนละเรื่องกับขาวใสเลยครับ คิดว่าตอนนี้น่าจะเข้าใจแล้ว
    เป็นความงดงาม เบิกบาน ประภัสสรของจิตระดับต่อไป ที่เราจะต้องเข้าให้ถึงครับ

    ลองใช้มโนยิทธิดูนู้น ดูนี้ ก็ไม่ชัวร์เท่าไหร่ที่ไม่เกี่ยวกับความเป็นทิพย์นะครับ เช่น รถที่จะผ่านสีอะไร อะไรประมาณนี้

    เน้นดูที่ภาพพระ ภาพวิมาน และดูที่จิตของเราดีกว่าครับ ของที่เห็นยากที่สุดก็คือจิตของตัวเอง
    มองให้เห็นว่า ยังมีกิเลส ข้อบกพร่อง หรือจุดใดที่ควรจะปรับปรุง
    ถ้าเราเห็นจิตของตัวเองได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ขัดเกลาแก้ไขส่วนที่ไม่ดีทุกๆอย่างให้หมดไป และพัฒนาส่วนที่ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งๆขึ้นไปอีก
    เราก็สามารถจะมองเห็นสิ่งอื่นๆได้ทั้งหมด
    แต่ถ้าจิตของเรา เรายังมองให้เห็นไม่ได้
    ถึงจะมองเห็นสิ่งที่เหลือได้เกือบทั้งหมด ก็ไม่มีความหมาย หรือไม่เกิดประโยชน์เช่นกันครับ

    บางครั้งก็ลอง เปิดตำรา(เวปท่าขนุน) ไปท่องนรก เอาแค่ชื่อขุม ขอบารมีพระไป เห็นเป็นยังไงค่อยมาดู เนื้อหาว่า ตรงกันเปล่า ก็ไม่ค่อยจะได้เรื่องสักไหร่

    ความชัดเจนขึ้นอยู่กับ กิเลสของเราเอง ก่อนจะไปไหน ให้เราขึ้นไปเจริญวิปัสสนาไล่สังโยชน์10ข้อให้ครบก่อน พิจารณาตัดร่างกาย อาการ32 ผ่อนคลายอาการทางกาย ความรู้สึกทางร่างกาย ให้ผ่อนคลาย ให้เบาให้หมดไป
    ขอสัมผัสอารมณ์พระนิพพานจากพระท่าน ให้ชุ่มเย็น อิ่มเอิบ หล่อเลี้ยงเต็มจิตของเราก่อน
    หลวงพ่อท่านสอนว่า ก่อนจะไปไหนต้องขึ้นไปข้างบนก่อน
    และผมแนะนำว่า ควรจะแช่ข้างบนให้จิตใจเกิดความสะอาด ชุ่มเย็น เบาสบายในอารมณ์พระนิพพานจนถึงที่สุดก่อน
    ที่เหลือเป็นเรื่องของชั่วโมงบินแล้วครับ แต่ถ้าอารมณ์พระนิพพานเย็นเต็มดวงจิตเมื่อไหร่ จะเห็นได้ชัดเจนแจ่มใสครับ
    ผมแนะนำให้ไปข้างบนให้หมดก่อน แล้วค่อยไปข้างล่างครับ เห็นของสวยๆให้หมดก่อน ค่อยไปดูของที่ไม่สวยไม่งาม จิตจะปรับระดับ ปรับอารมณ์ได้ง่ายกว่า เหมือนค่อยๆเดินขึ้นบรรไดไป
    ไล่สวรรค์ พรหม อรูป ให้หมดก่อน

    ก็เลยนั่ง สมาธิ ขึ้นไปกราบพระ กับให้ท่านสอน พิจารณาร่างกาย ตัดนู้น ตัดนี้ เกี่ยวกับ ตัดกิเลส สะมากกว่าครับ

    ถูกแล้วครับ เมื่อพิจารณา ตัดเสร็จหมดแล้ว ต้องขอสัมผัสอารมณ์พระนิพพานด้วยนะครับ
    ไม่งั้นจะไม่เย็นถึงที่สุด
    และเราให้เราแผ่เมตตาควบอารมณ์พระนิพพานเป็นรัศมีเพชร ส่องสว่างไปยังทั้งจักรวาลด้วยครับ
    เพื่อชำระทั้งใจของเรา และเผื่อแผ่ให้ทุกๆดวงจิตได้สัมผัสกับอารมณืเช่นเดียวกันกับที่เราสัมผัส ซึ่งจะชุ่มเย็นมากกว่าการที่เราสัมผัสอยู่คนเดียว

    รบกวนถามครับ
    1. การปฏิบัิติ มีเครื่องวัดด้วยหรือว่าถึงระดับไหน อย่างไร พิสูจน์ได้อย่างไร

    เครื่องวัดในการปฏิบัติธรรมก็มีอยู่เยอะครับ
    ในการทำสมาธิ ระดับของการหายใจ ความแรงหรือเบา ลื่นไหลต่อเนื่องหรือติดขัด ช้าหรือเร็ว จำนวนครั้งที่หายใจต่อนาที เป็นเครื่องวัดระดับของฌาณหรือระดับของสมาธิ
    ยิ่งลมหายใจช้า เบา ลื่นไหล ต่อเนื่อง เบาสบาย สงบระงับมากเท่าไหร่ จิตยิ่งรวมตัว ระดับสมาธิยิ่งสูงเท่านั้น
    ถ้าฌาณ4 ร่างกายก็จะไม่หายใจ ไม่รู้สึกถึงลมหายใจ
    ส่วนในการฝึกกสิณ ความสวยงามของภาพกสิณ คือเครื่องวัด
    ยกตัวอย่างกสิณสีแดง ภาพกกสิณก็จะเริ่มจากสีแดง เปลี่ยนเป็นสีขาว เปลี่ยนเป็นแก้ว และเปลี่ยนเป็นเพชรประกายพรึกระยิบระยับ สว่างไสว โชติช่วง

    การวัดตามระดับของสังโยชน์ที่ตัดได้
    สังโยชน์สามข้อแรก เราตีจนขาดได้รึยัง เอาหลักๆ สามข้อแรกให้ได้ก่อนครับ เอาให้ชัวร์ให้ขาดกระจุยให้ได้
    ส่วนข้ออื่นๆก็ต้องทำให้เบาบางลงด้วย
    คือถ้าอีก7ข้อ ไม่เบาบางลงบ้าง สามข้อแรกก็จะขาดไม่ได้เช่นกัน เพราะมีความสัมพันธ์ความเนื่องกันอยู่

    แต่ถ้าคร่าวๆ ผมก็คิดว่า วัดกันที่ความเย็น ความสุข สว่างไสวของจิต ยิ่งใกล้พระนิพพานมากเท่าไหร่ จิตยิ่งมีความงดงาม ละเอียดประณีต นุ่มนวล อ่อนโยน ชุ่มเย็น ประภัสสร ความเคารพนอบน้อมในพระรัตนตรัย มากยิ่งขึ้นเท่านั้น


    2. กสิณที่ว่าได้ หรือไม่ได้ อยู่ที่ สามารถ อธิฐานฤทธิ์ เท่านั้นหรือเปล่า (ผมใช้เป็นกำลังให้เป็นสมาธิลอง อธิฐานฤทธิ์ก็มิได้เกิดผลใด ๆ คิดว่าน่านะวางกำลังใจไม่ถูก)

    กสิณนั้นถึงได้แล้ว ก็ใช่ว่าจะใช้ฤทธิ์ได้ การใช้ฤทธิ์ได้เป็นอีกขั้นนึง
    เหมือนเราเรียนจบแล้ว ก็ต้องไปฝึกงานอีกที
    อันนี้เราได้กสิณแล้ว ก็ต้องมาขั้นฝึกใช้ก่อน
    ซึ่งขั้นนี้ก็ต้องให้พระอภิญญาท่านมาสอนแล้วครับ
    ถ้าจะอธิษฐานทำน้ำมนต์ รักษาโรค หรืออะไรที่เบื้องต้น
    เราได้มโนมยิทธิแล้ว ก็ขึ้นไปขอบารมีพระท่านข้างบน ขอให้เป็นน้ำมนต์ได้เลยครับ
    แต่ว่าถ้าจะอิทธิวิธี เหาะเหินเดินอากาศ ล่องหนหายตัว ดำดิน อันนี้ต้องรอก่อนครับ เป็นอีกขั้นนึง

    3. บางครั้งผมก็ สับสน งง ๆ เหมือนกัน ว่าตอนนี้นั่งถึง ณาญไหน คือไม่สามารถแยะแยกอารมณ์ได้ชัดเจนเท่าที่ควร เป็นเพราะว่ามันชินหรือเปล่าเลยไม่เห็นความต่างของกำลังจิต

    จุดสำคัญของมโนมยิทธินะครับ คือ ต้องสัมผัสให้ถึงอารมณ์ด้วยครับ
    คืออย่าเห็นแต่ภาพ แต่ให้ใจสัมผัสอารมณ์ ของสถานที่ หรือดวงจิตในบริเวณนั้นๆด้วย
    เช่น สวรรค์ จะมีอารมณ์ของจิต แบบนึง จะมีความเย็น มีปีติ ความสว่างไสว มีแสงสีมาก
    พรหม จะมีอารมณ์จิตอีกแบบนึง จะมีความชุ่มเย็น สงบระงับ นิ่งมากกว่า จะไม่มีแสงสี ไม่มีการเคลื่อนของจิตมากเท่าสวรรค์
    อรูปพรหม ก็จะ ว่างๆ นิ่งๆ ลอยไปลอยมา ไม่มีอะไร นอกจากความว่าง
    พระนิพพาน จะสว่างเป็นเพชรระยิบระยับ ชุ่มเย็น ประภัสสร ยิ่งใหญ่อลังการกว่า สววรค์พรหมอย่างเปรียบกันนไม่ได้ หมดกิเลสแล้ว หมดภารกิจหน้าที่แล้ว ได้พักผ่อนตลอดไป
    ถ้าเทียบกับพรหมแล้ว พระนิพพานถือว่าเย็นกว่า และเบากว่าอย่างเทียบกันไม่ติด พรหมยังมีความหนักของจิตมากกว่าพระนิพพาน
    พอเราเห็นอารมณ์จิตในแต่ละขั้นชัดเจนแล้ว เราจึงจะทราบว่าตอนนี้จิตเราอยู่ระดับไหน
    แล้วจะเจริญต่อไปอย่างไร

    แล้วจริงๆ เราก็ควรจะขอบารมีพระท่านเพื่อขอดู อารมณ์ว่าพระอริยเจ้าแต่ละระดับท่านมีอารมณ์จิตอย่างไร
    เพื่อให้เราเข้าใจ และเห็นเป้าหมายในการพัฒนาจิตอย่างชัดเจน ว่าจะต้องทำให้เข้าถึงอารมณ์นี้ๆให้ได้

    สุดท้่ายนี้ ถ้าไม่เป็นการรบกวนเิกินไป ดูจิต ผมให้ด้วยนะครับ เพราะบางครั้งก็เหมือนไม่ติดอะไร แต่มันก็ไปต่อไม่ถูก แต่มันก็ทำของมันไปเรื่อย ๆ ก็เลยไม่รู้ว่าจะถามอะไร

    สรุปง่าย ๆ ไม่รู้ตัวครับ ประมาณว่า อ้าวได้แล้วหรอ อุปทานมากกว่า ฝึก ย้ำ ๆ จุดเดิม ทบทวนเรื่อย ๆ อะครับ

    เคยติดวิจิกิจฉาขั้นละเอียด คือ ลังเลสงสัยหรือไม่แน่ใจว่า ตกลงเราถึงระดับนี้ระดับนั้นแล้วหรือยัง
    ซึ่งเกิดจากความอยากได้ อยากใช้ ฌาณ ญาณมากเกินไป

    แต่ตอนนี้ผ่านไปแล้ว
    ตอนนี้ให้เน้นวิปัสสนาญาณ กับเจริญเมตตา พรหมวิหาร4เยอะๆครับ
    ให้เราใช้กำลังของเมตตาในการตัด พิจารณาสังโยชน์ แต่ละข้อๆ ไล่ขึ้นไป
    แล้วจะทำอย่างไร
    ทำสามข้อแรกให้ดูครับ
    ข้อแรก สักกายทิษฐิ เมื่อเราเจริญเมตตาจนจิตของเรามีความสุขชุ่มเย็นอย่างถึงที่สุดแล้ว
    กายทิพย์ของเรา ณ ขณะนี้ มีความสวยงาม มีความงดงามขนาดไหน
    แล้วลองนำมาเทียบกับกายมนุษย์ของเรา ที่มีทั้งปอดตับไต ไส้พุง อาการ32 สกปรกเลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปหมด
    ถ้าเราตายขึ้นมาตอนนี้ ด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตาของเรา อย่างแย่ที่สุดเราก็เป็นพรหม หรือไปพระนิพพาน
    ร่างกายที่เป็นพรหม หรือพระวิสุทธิเทพ กับร่างกายของความเป็นมนุษย์
    เราอยากได้แบบไหนมากกว่ากัน กายมนุษย์ก็ไม่น่าปรารถนา เอากายทิพย์ดีกว่า
    ถ้าร่างกายของเราตายลงเมื่อไหร่ มันก็จะกลายไปเป็นธาตุดินน้ำลมไฟ กลายไปเป็นอาหารของสัตว์อื่นตามสภาวะของธรรมชาติ
    เราก็ให้ร่างกายเรากับสัตว์น้อยใหญ่ ได้กัดกิน ได้เป็นอาหาร ด้วยความยินดี ด้วยความเมตตา โดยไม่เสียดายแม้แต่ประการใด
    สลายสักกายทิษฐิ สละร่างกายออกไปด้วยกำลังของเมตตาของเรา
    ตายเมื่อไหร่เรามีความเป็นพรหม เรามีพระนิพพานเป็นที่ไปเท่านั้น

    ข้อที่สอง วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย
    เมตตาเป็นอารมณืที่มีความอ่อนโยน นุ่มนวล
    ก้ให้เราเจริญเมตตาให้จิตมีความนอบน้อม นุ่มนวลอย่างถึงที่สุด
    แล้วกราบพระด้วยจิตที่เต็มเปี่ยมด้วยความอ่อนน้อม ความงดงาม ความละเอียด ประณีต
    กราบให้ถึงพระพุทธเจ้าจริงๆ
    แล้วเราก็ตั้งใจว่า ด้วยจิตที่มีความอ่อนน้อมของข้าพเจ้านี้
    ข้าพเจ้าขอถือเอา คุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆเจ้า ทุกท่านทุกพระองค์ เป็นสรณเป็นที่พึ่งสูงสุด ตลอดไป ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกภพชาติ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
    อธิษฐานย้ำไปสามครั้ง
    ขอให้วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยทั้งหลาย ความไม่มั่นใจในบารมีของพระพุทธเจ้า ความแข็งกระด้างของจิต ความไม่เคารพในพระรัตนตรัยทั้งหลาย
    ขอให้สลายหายไปจากดวงจิตของข้าพเจ้าด้วยกำลังของพรหมวิหาร เมตตานี้ นับแต่ขณะจิตนี้ไปด้วยเทอญ
    สลายวิจิกิจฉาให้หมดไปจากใจของเรา

    สังโยชน์ข้อที่สาม การปรามาส การลูบคลำศีล การไม่มีศีล5
    อารมณ์ศีลของพระอริยเจ้า แตกต่างจากศีลของปุถุชน
    ศีลของปุถุชน ต้องบังคับ ต้องฝืนใจ มีอาการฝืนใจ ห้ามใจไม่ให้ละเมิด ฝืนใจในการทำความดี
    ศีลของพระอริยเจ้า เกิดจากการมีความรักความเมตตา พรหมวิหาร4 มาก จนทำร้าย จนเบียดเบียนใครไม่ลง กลายเป็นการฝืนใจในการทำความชั่ว เป็นหิริโอตัปปะ เกรงกลัวละอายต่อบาป ละเมิดศีลลง
    เราก็เจริญเมตตาให้เต็มดวงจิตของเรา และมารักษาศีลที่เมตตาของเรา
    ตราบใดที่อารมณ์เมตตา อารมณืสมาธิเรายังอยู่ เราจะละเมิดศีลไม่ลงโดยอัตโนมัติ
    ดังนั้นหากเราทรงเมตตา ทรงสมาธิ ทรงภาพพระ ทรงมโนเอาไว้ได้ตลอดเวลา
    ก็ทำกับเรามีศีลที่เกิดจากเมตตา ศีลของพระอริยเจ้าอยู่กับเราได้ตลอดไป
    สังโยชน์ข้อที่สามก็ขาดไป สลายหายไป ด้วยเมตตาของเรา

    จากนั้นให้พิจารณาเจริญจิตสลาย ล้างสังโยชน์ด้วยเมตตา ด้วยพรหมวิหาร4 จนครบทั้งสิบข้อ
    และปิดท้ายด้วยการ ขอสัมผัสอารมณ์พระนิพพาน จิตจะเกิดความชุ่มเย็น ความอิ่มเอิบ ความแช่มชื่น ความสว่าไสว ประภัสสร กายทิพย์จะงดงามอย่างถึงที่สุด
    แล้วเราก็แผ่เมตตาควบกับอารมณ์พระนิพพานนี้ให้ส่องสว่างไปยังทั้งจักรวาล
    ปรารถนาให้ทุกๆดวงจิตมีพระนิพพานเป็นที่สุดได้โดยเร็ว ได้ในชาติปัจจุบัน
    เมื่อเราปรารถนาให้ผู้อื่นได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ตัวเราเองก็จะได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
    ถ้าทรงอารมณ์เมตตาควบอารมณ์พระนิพพานเอาไว้ได้ตลอดเวลาไม่เคลื่อนเลย
    ก็เป็นอารมณ์ของพระอริยเจ้าแล้วครับ

    เจริญจิตจนหลุดพ้น ด้วยเมตตาเจโตวิมุติ คือใช้เมตตา พรหมวิหาร ในการตัด ล้าง สลาย สังโยชน์ จนหมดสิ้นไป
    หากเดินจิตแบบนี้ได้อย่างเต็มที่ ทุกๆวัน วันละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย
    มีพระนิพพานเป็นที่สุดในชาตินี้แน่นอนครับ

    ขอให้ทุกๆดวงจิต สามารถเจริญเมตตาจนเข้าถึงซึ่งเมตตาเจโตวิมุติ ตัดสังโยชน์ได้ขาดด้วยกำลังของเมตตาอัปปมาณฌาณ เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ในฉับพลันทันใดด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2010
  16. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อคืนก่อน จิตผมตก คิดเรื่องไม่ดีทำเรื่องไม่ดี มารเลยมาครอบงำหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ ความรู้สึกตอนนั้น รู้สึกถูกทับอยู่แน่น ผมพยายามร้องเรียกให้คนมาช่วยก็ไม่มีเสียงไม่มีใครได้ยิน อ้าปากแต่เสียงไม่ออก ขยับตัวก็ไม่ได้ ไม่ได้หายใจ แรงก็มีแต่ต้านไม่ได้พอฝืนแล้วมันก็เ้ด้งกลับมาอยู่ที่เดิม ในใจไม่รู้สึกกลัวเลย นึกถึงพระ พระท่านก็เปร่งประกายสว่างมากสีขาวนวลๆสีทองหลังจากนั้นผมก็เผลอหลับไป ตื่นขึ้นมาจำเหตุการได้หมด แต่เหตุการ แบบนี้มันทำให้ผมเกิดความสงสัยขึ้นฝังจิตฝังใจ ทำอย่างไรมันก็ยังกลับมาสงสัยในเรื่องนี้ เพราะเป็นมาครั้งที่3แล้ว ครั้งที่1ครั้งที่2กลัวมากจนไม่กล้านอนห้องตัวเองและไม่ได้นึกถึงพระเลย ครั้งนี้ครั้งที่3ไม่กลัวเลยแม้แต่นิดเดียว
    ตอนนี้ผมเริ่มกลับมาอารมณ์หนักอีกแล้วคับ ~~; ต้องกลั้นหายใจหรือ อัดลมมันจะช่วยได้สักพัก แต่ก็ไม่ลืมที่จะดูลมและคำภาวะนา นึกได้ก็ภาวนา เลย
    อนูโมทนากับคำตอบนะครับคุณชัด

    ขอให้ภัยพิบัติต่างๆอย่างกลายมาไม่ถึงผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติธรรม ด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มกราคม 2010
  17. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    วิธีการเดินจิตสู่ความสงบ ด้วยอารมณ์สบาย

    การที่จะทำให้จิตรวมตัวได้นั้น เราก็ต้องเข้าใจอารมณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติ ว่าต้องใช้อารมณ์อย่างไร
    อารมณ์ที่ต้องใช้ก็คือ อารมณ์สบาย ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ
    อารมณ์ที่ผ่อนคลายทางร่างกายก็คือ ต้องให้ร่างกายของเราได้พักผ่อน มีที่พิงหลัง นั่งบนพื้นที่ที่มีความนุ่มสบายเหมาะสมกับร่างกายของเรา อยู่ในอิริยาบถที่เรารู้สึกสบาย กล้ามเนื้อ ความรู้สึกทางกายทั้งหมดก็ให้เราผ่อนคลาย ทำให้ใจของเราผ่อนคลาย วางจากร่างกายให้มากที่สุด
    เมื่อจิตของเราผ่อนคลาย วาง จากร่างกาย จนกายเกิดความสบายแล้ว จิตเองก็จะเกิดความสบายเช่นกัน
    จากนั้นก็ค่อยๆผ่อนคลายจิตใจ คือ ผ่อนคลายจากความคิด ให้ใจของเราได้พักผ่อน สงบ หยุด พักจากความคิด การคิดก็คือการใช้จิตกำ จับเอาเรื่องต่างๆเอาไว้
    เมื่อใจของเราคลายออก สลายออก จากอาการกำ อาการดึง อาการจับ ความคิดต่างๆ
    ใจก็จะได้สัมผัสกับความสงบ กับความสุข ความแช่มชื่น ความอิ่มใจ ความเบิกบานใจจากการได้พักผ่อนจากความคิด
    และก็ประคองอยู่ในอารมณ์นี้ตราบเท่าที่เราต้องการ
    ในบางครั้งที่ทำสมาธิ เราอาจจะมีอาการที่ใช้ความพยายามมากเกินไป อารมณ์หนักไป เร่งรัดเกินไป ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ใจไม่รวมตัว ไม่สงบ ไม่ได้พักผ่อน ไม่ได้หยุดพัก
    ดังนั้นให้เราปรับความคิดใหม่ว่า อันดับแรกเราไม่ได้ภาวนาเพื่อให้ใจสงบ แต่เราภาวนาเพื่อให้ใจสบาย
    เมื่อเราคิดแบบนี้เราจะรู้สึกว่า การภาวนา คือ การพักผ่อน ไม่ใช่ภารกิจ ไม่ใช่หน้าที่ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องฝืนใจทำ
    แต่เป็นสิ่งที่เรารู้สึกสบายใจ ผ่อนคลาย อิ่มใจ มีความสุขเบาสบายใจที่ได้ทำ

    และเวลาที่จิตรวมตัว แท้ที่จริงแล้ว ก็เกิดจากการที่เราผ่อนคลายทั้งร่างกาย และจิตใจ จนจิตเกิดความสบาย
    เมื่อจิตเกิดความสบาย ความผ่อนคลาย จิตจึงจะรวมตัว
    ตอนนี้เรารู้เหตุที่ทำให้จิตรวมตัวแล้ว ซึ่งก็คือ อารมณ์สบาย ผ่อนคลาย สลายออก คลายออก อารมณ์ที่จิตได้พักผ่อน ได้หยุดพัก ได้สงบ ได้สว่าง ได้อิ่มเอิบ ได้มีความสุขจากการได้พักจากความคิด

    ต่อไปนี้เวลาจะทำสมาธิ ให้จัดร่างกายให้สบาย มีที่พิงหลัง มีเบาะรองนั่ง มีเก้าอี้ จัดร่างกายให้สบาย อยู่ในอิริยาบถให้ได้พักผ่อนมากที่สุด นั่งพิงสบายก็นั่งพิง นอนสบายก็นอน
    แล้วพอร่างกายผ่อนคลาย ได้พักผ่อนแล้ว
    ก็มาผ่อนคลายที่จิตใจต่อ ร่างกายจะเกิดความสงบระงับ จิตใจจะเกิดความสงบระงับ
    ดิ่งรวมเป็นสมาธิ ปราศจากความคิด หยุดนิ่งทันที และประคองได้ยาวนาน เป็นฌาณละเอียดได้ง่าย
    การจะประคองให้ยาวนาน ก็มาประคองที่อารมณ์สบาย ความสบาย ความรู้สึกที่ใจได้พัก
    เมื่อเราเข้าใจจุด อารมณ์ การประคองที่ถูก ที่ตรงจุด เราก็สามารถจะทรงสมาธิได้อย่างง่ายดาย ได้ดั่งใจ ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ต้องการ โดยไม่ยากจนเกินไป
    เพราะการทรงสมาธิคือการทำให้ใจสบาย
    หากทำให้ใจสบาย ผ่อนคลาย อิ่มใจได้เมื่อไหร่จิตจะเป็นสมาธิเมื่อนั้น

    ขอให้ลองปรับ ลองคลาย ความตึงเครียดที่ไม่รุ้ตัว หรือความพยายามที่บางครั้งมากเกินไป ให้กลายเป็นความสบาย การพักผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ
    จิตจะเกิดความสงบได้อย่างรวดเร็ว ได้ตลอดไป ทุกครั้งทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ต้องการ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
     
  18. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ NICKAZ ครับ

    ลมหายใจหาย ประสาทสัมผัสหาย จิตเลือนหายไปด้วย จะเป็นขั้นละเอียดยิ่งขึ้นหรือไม่?<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่กรุณาแนะนำครับ ระหว่างนี้ก็ลองไปปฏิบัติทบทวนไปเรื่อย เรื่องอรูปฌาณที่ได้กรุณาแนะนำไว้ใน "ของขวัญวันพ่อ" น่าสนใจครับ แต่ใจยังสนใจในเรื่องของรูปฌาณอยู่ เนื่องจากมีอะไรให้ทดลองอีกเยอะ เลยลองเล่นไปเรื่อยๆก่อน

    เคยสงสัยว่าในสภาวะลมหายใจหาย ประสาทสัมผัสหาย เหลือแต่จิตโดดๆนี่ แล้วจิตยึดถืออะไรเป็นอารมณ์ จึงทดลองใหม่อีกครั้ง ว่าจิตจะไปได้ลึกถึงแค่ไหนกับสภาวะอย่างนี้ ขณะที่ถึงลมหายใจหาย ประสาทสัมผัสหาย เหลือแต่จิตเปล่าๆนี้ เลยลองเพิกถอนความรู้สึกของการมีอยู่ของจิตออกไปเสีย ไม่สนใจการมีอยู่ของจิต ปรากฎว่าจิตมันเลยเถิด เตลิดไปไกลกว่าที่คาดไว้เยอะ ชั่วขณะหนึ่งสั้นๆ มีความรู้สึกเหมือนว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่เหลืออะไรเลย ลมหายใจก็ไม่มี ประสาทสัมผัสก็ไม่มี จิตก็ไม่มี รอบข้างเวิ้งว้าง ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย เหมือนอยู่ในที่โล่งๆ ขาวโพลนไปหมด อาณาเขตกว้างไกลไม่สิ้นสุด ตกใจครับ สมาธิเลยถอย ไปจับลมหายใจ คำภาวนาตามเดิม (ถอยไปไกลเลยครับ)

    อันนี้เป็นอารมณ์ของอรูปขั้นละเอียดเลยครับ
    ซึ่งบางครั้ง เราจะมีอารมณ์ของความรู้สึกกลัวกับความว่างนั้น
    เพราะเวลาว่างจากอรูปละเอียดมันจะว่างจากทุกๆอย่าง จนแทบจะไม่รู้สึกถึงการมีอยู่ของจิต
    ซึ่งมีทั้งคุณและโทษในตัวเอง
    โทษก็คือเป็นจุดที่มีหลายท่านหลงว่าเป็นพระนิพพานกันได้ง่าย
    และหากไปเกิดเป็นอรูปพรหม เราจะทำอะไรไม่ได้นอกจากใช้บุญที่มีจนหมดเกลี้ยง แล้วกลับมาสร้างบุญใหม่ตั้งแต่ต้น

    ส่วนคุณก็คือ เป็นบ่อเกิดของปฏิสัมภิทาญาณ4 คุณธรรมวิเศษชั้นสูงในพระพุทธศาสนา
    และผู้ที่เข้าถึงอรูปหากเจริญจิตพิจารณา ธรรมด้วยอรูปจะทำให้สามารถบรรลุธรรมได้โดยฉับพลันทันใด
    ยิ่งเป็นอรูปละเอียดด้วยแล้ว กำลังในการพิจารณายิ่งสูงขึ้นไปอีก
    อรูปก็คือ สภาวะวัตถุทางโลกสลายหายกลายเป็นความว่างเวิ้งว้างว่างเปล่าไปหมด
    ทั้งลมหายใจ ร่างกาย ความรู้สึกทางร่างกาย แม้แต่ความรู้สึกทางจิตใจ การรับรู้ก็สลายหายไปด้วย เหลือเพียงแต่ความว่างเวิ้งว้างสีขาว ไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ
    เราสามารถใช้สภาวะนี้ ในการกำหนดพิจารณาสลายสังโยชน์ ที่เรามีจนหมดไล่ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงสิบ ความรักโลภโกรธหลง สลายหายไปได้หมดด้วยกำลังของอรูป

    โดยวิธีการเดินจิต ให้เราเข้าฌาณ4 สภาวะที่ลมหายใจดับไป จิตของเราหยุดนิ่ง ปราศจากความคิด เหลือแต่จิตโดดๆ จิตเห็นจิต เห็นสภาวะของตัวเองได้ชัดเจน
    จากนั้นให้เคลื่อนจิตต่อเข้าสู่อรูปฌาณ ดับความรู้สึก สลายความรู้สึกทางใจให้หมดไป
    กลายเป็นความว่างเวิ้งว้างว่างเปล่าสีขาว ว่างจากการรับรู้ การรู้สึกทางใจทุกอย่าง มีแต่ความว่างเปล่าแผ่ขยายออกไปยังทุกทิศทาง ว่างดังอยู่กลางจักรวาล ที่สว่างไสว
    จากนั้นให้ถอยจิตลงมาจนเราสามารถพิจารณาได้
    และพิจารณาในสังโยชน์ข้อที่1 สักกายทิษฐิ ความยึดติดในร่างกายของเรา
    จนเราเห็นว่าร่างกายของนี้ มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ซักวันก็ต้องพังทลายแตกสลายหายไป ไม่อาจจะอยู่ยงคงได้ตลอดไป มีดรคภัยไข้เจ็บอยู่เป็นนิจ ไม่มีความน่าปรารถนาทุกประการ และไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ตัวเราจริงๆคือดวงจิตอันประภัสสร
    เราขอสลายความยึดติดในร่างกายของเรา สักกายทิษฐิ สังโยชน์ข้อที่หนึ่งให้สลายหายไปด้วยกำลังของอรูปฌาณด้วยเทอญ
    จากนั้นเคลื่อนจิตกลับสู่อรูปฌาณอีกครั้ง อรูปฌาณละเอียดได้ยิ่งดี
    สัมผัสอารมณ์จิตที่ว่าง สลาย คลาย สะอาดปราศจาก สังโยชน์ข้อที่1
    ประคองเอาไว้ซักระยะ จากนั้นจึงถอนจิตกลับมาพิจารณาในสังโยชน์ข้อที่สอง
    พิจารณา สลับกับการเข้า อรูปฌาณ ไล่ไปทีละข้อ สลายกิเลสออกไปทีละข้อ
    ถอยหน้าถอยหลัง เข้าออกจนคล่องแคล่ว
    วิปัสสนาแล้วอรูป อรูปแล้ววิปัสสนา
    หากพิจารณาได้แบบนี้ นอกจากจะสามารถตัดสลายสังโยชน์ได้อย่างรวดเร็วจนน่าอัศจรรย์ใจแล้ว
    ยังจะได้คุณวิเศษ ครบทุกอย่างในพระพุทธศาสนา ทั้งวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณ4 รวมตัวกันโดยรวดเร็ว
    หากสามารถเข้าอรูปละเอียดสลับกับวิปัสสนาญาณ ไล่สังโยชน์ไปทีละข้อ ได้อย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง ทำทุกๆวัน
    ตายเมื่อไหร่มีพระนิพพานเป็นที่ไปอย่างแน่นอนครับ

    สรุปว่ายังทดลองไม่ไ้ด้เรื่องไม่ได้ราวอยู่เช่นเดิม ว่าในสภาวะลมหายใจหาย ประสาทสัมผัสหาย เหลือแต่จิตนี้ จิตยึดถืออะไรเป็นอารมณ์ ซึ่งผมคิดว่าต้องมีอะไรเป็นอารมณ์สักอย่างหนึ่ง เพราะขึ้นชื่อว่ารูปฌาณนั้น ย่อมต้องมีรูปเป็นอารมณ์ใช่ไหมครับ เห็นทีผมคงต้องทดลองต่อไปอีกเรื่อยๆ

    อารมณ์ที่ยึดเอาไว้ในรูปฌาณ ในฌาณ4 ในสภาวะที่เหลือแต่จิตโดดๆ คือ
    อารมณ์ของความสบาย อาการหยุดนิ่ง พักผ่อนของจิต อารมณ์ที่จิตได้พักจากความคิด เกิดความชุ่มเย็น อิ่มเอิบเบาสบาย ปราศจากซึ่งลมหายใจ
    โดยเน้นที่อารมณ์สบาย อาการหยุด การพักผ่อนจากความคิดของจิตเป็นสำคัญครับ
    ส่วนรูปที่ว่าเห็นในรูปฌาณนี้ คือจะเห็นสภาวะ เห็นภาพ หรือหน้าตาของจิตตัวเอง

    โดยจะเห็นแตกต่างกันไป เช่น เห็นเป็นดวงแก้วกลม เป็นดวงผู้รู้ เห็นเป็นกายทิพย์ หรือเห็นเป็นภาพกสิณที่กำหนด
    ส่วนอรูปฌาณ เรียกว่าอรูป ก็เพราะกำหนดความว่างเปล่า การว่างจากความรู้สึกการรับรู้ทุกอย่าง ความไม่มีอะไรอยู่ ว่างเหมือนอยู่ท่ามกลางจักรวาลไร้ผนังไร้ขอบเขตไร้เพดานมากขวางกั้นเป็นอารมณ์

    ขอให้ลองเจริญจิตสลับระหว่างอรูปฌาณ และวิปัสสนาญาณ ให้เกิดความคล่องแคล่ว สามารถเข้าออกได้ดั่งใจ
    แล้วสังโยชน์ทั้งหลายจะสลาย คลาย ถูกล้าง ถูกตัดออกไป ได้โดยง่ายดายได้โดยฉับพลัน ได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ได้ด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  19. budsayamasp

    budsayamasp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +278

    สาธุค่ะอาจารย์

    บุษยมาส
     
  20. ตถาตา.

    ตถาตา. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +30
    ผมมีความเห็นว่าคนที่ปฏิบัติส่วนใหญ่มักหลง อยากได้ฌาณ อยากรู้ว่าตัวเองถึงฌาณที่เท่าไรกันแล้วมันก็เลยไม่ค่อยเกิดผลเท่าที่ควรเพราะตัณหายังมีอยู่

    "ตัณหาที่จะเกิด จะเกิดขึ้นได้อย่างไรย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย"
    "ตัณหาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย"
    "ตัณหาที่ละได้แล้ว จะไม่ให้เกิดขึ้นอีกด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย"
    ข้อความข้างต้นนี้ดีมาก ๆสำหรับผมเลย พยายามละเท่าที่จะทำได้ทุกสิ่งอยู่ที่ความเพียร
    ลองถามตัวเองดูว่าที่มานั่งปฏิบัติกรรมฐานเพื่ออะไร เพื่อละความทุกข์หรือเปล่า
    ถ้าต้องการละความทุกข์แล้ว ก็ควรปฏิบัติตามแนวทางขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกวิธีทาง เพื่อละกิเลสตัณหาให้สิ้นซาก
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...